ม.เกษตรฯเดินเกมรุก 6 ยุทธศาสตร์ ให้ประชาชนทุกกลุ่ม

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในฐานะสถาบันการศึกษา รับนโยบายของกระทรวง อว.ในการนำนวัตกรรมการศึกษา KU-Lifelong Learning ที่สร้างโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายวัยแรงงาน และวัยผู้สูงอายุได้เข้าถึงการศึกษาเรียนรู้ด้านสุขภาพเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต Health Science กำหนด 6 ยุทธศาสตร์เชิงรุก มุ่งเป้าความสำเร็จให้สังคมไทยมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อ และสนับสนุนต่อการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต คนไทยเป็นคนดี คนเก่ง มีคุณภาพ พร้อมสำหรับวิถีชีวิตในศตวรรษที่ 21

ดร.พัชรินรุจา จันทโรนานนท์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัย และนวัตกรรม (อว.)เป็นประธานเปิดตัวโครงการนำร่องเชิงนโยบายการบูรณาการส่วนงานเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิต ณ ห้องประชุมวัฒนา สวรรยาธิปัติ สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม อาคารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และนำเสนอแนวคิดในประเด็น “โอกาสการเข้าถึงการศึกษา และนวัตกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต” กล่าวถึงแนวคิดการดำเนินโครงการของมหาวิทยาลัย ร่วมกับ ภาครัฐ เอกชน และชุมชนเพื่อสร้างโอกาสให้ประชาชนทุกกลุ่มช่วงวัย

กลุ่มวัยแรงงาน ได้เข้าถึงระบบการเรียนรู้ตลอดช่วงชีวิตตอบสนองความต้องการ เพิ่มโอกาสที่จะยกระดับทักษะการบริหารจัดการการเงินของตนเองและครอบครัว และพัฒนาแรงงานฝีมือให้มีความชำนาญพิเศษ และต่อยอดความรู้เพื่อเป็นผู้ประกอบการใหม่ กลุ่มผู้สูงอายุ มีแผนส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเป็นพลังในการขับเคลื่อนประเทศ โดยมีแผนส่งเสริมการทำงานหลังเกษียณ พัฒนาทักษะอาชีพในการหารายได้ การมีงานทำที่เหมาะสมกับศักยภาพ การเสริมสร้าง ฟื้นฟูสุขภาพ และการป้องกันโรค ซึ่งสถาบันการศึกษามีส่วนสำคัญที่จะส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับกลุ่มวัยแรงงาน และกลุ่มผู้สูงอายุได้

ผศ.ดร.นิคม แหลมสัก รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและกิจการเพื่อสังคม ประธานคณะทำงานนโยบายบูรณาการส่วนงานเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต มก. กล่าวว่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในฐานะสถาบันการศึกษา รับนโยบายของกระทรวง อว.ในการนำนวัตกรรมการศึกษา KU-Lifelong Learning ที่สร้างโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายวัยแรงงาน และวัยผู้สูงอายุได้เข้าถึงการศึกษาเรียนรู้ด้านสุขภาพเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต Health Science กำหนด 6 ยุทธศาสตร์เชิงรุก ได้แก่

1.การส่งเสริมบทบาทการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ครอบครัว และชุมชนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

2. การส่งเสริมให้ชุมชุนเป็นฐานในการสร้างสุขภาวะที่ดีในทุกพื้นที่

3.การใช้สื่อและสื่อสารมวลชนในการปลูกฝังค่านิยม และวัฒนธรรมของคนในสังคม

4. การเปลี่ยนโฉมบทบาท “อาจารย์” ให้เป็นอาจารย์ยุคใหม่

5.การปลูกฝังค่านิยม และวัฒนธรรมโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน

6.การวางพื้นฐานระบบรองรับการเรียนรู้ โดยใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์ม

ภายใต้ตัวชี้วัดด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต สุขภาวะ และความเป็นอยู่ที่ดีของคนไทย และผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา การเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งความมุ่งหวังสำเร็จของการบูรณาการส่วนงาน KU Lifelong Learning คือ 1.สังคมไทยมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อ และสนับสนุนต่อการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต 2.คนไทยเป็นคนดี คนเก่ง มีคุณภาพ พร้อมสำหรับวิถีชีวิตในศตวรรษที่ 21 สำหรับ KU Lifelong Learning เป็นหนึ่งในกรอบแนวคิด KUniverse ของท่านอธิการบดีอีกด้วย

ด้าน ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้นำเสนอกรอบแนวคิด KUniverse ว่า “เป็นการพลิกโฉมของมหาวิทยาลัย โดยนำองค์ความรู้ทุกอย่างมาบูรณาการร่วมกัน นำสินค้าและบริการคุณภาพเป็นตัวนำและโยงมาสู่การเรียนการสอน ประกอบกับในขณะนี้มหาวิทยาลัยมีนโยบายสำคัญที่จะเปิดการเรียนการสอนสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือคณะแพทยศาสตร์ขอให้ทุกท่านติดตามและช่วยกันสนับสนุน” การดำเนินโครงการนำร่องเชิงนโยบายการบูรณาการส่วนงานเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิต ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จะเป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนในการพัฒนาตนเองให้ได้ผลสัมฤทธิ์ต่อไป

การเปิดตัวโครงการยังได้มีการนำเสนอประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ด้านสุขภาวะที่เหมาะกับคนทุกวัย ได้แก่ “โครงการนำร่อง : นวัตกรรมยกระดับผลิตภัณฑ์ เห็ดเป็นยา อาหารที่ดี และคลินิกเพื่อสุขภาพ โดย ดร.อานนท์ เอื้อตระกูล สถาบันอานนท์ ไบโอเทค “การกีฬา นำพาสุขภาวะที่ดี” โดย ดร.ชัชชัย ชเว (“โค้ชเช”ผู้ฝึกสอนกีฬาเทควนโด้ทีมชาติไทย) และ ร้อยโทหญิง ชนาธิป ซ้อนขำ (“โค้ชเล็ก”อดีตนักเทควนโด้ทีมชาติไทย) ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.อิษฎี กุฎอินทร์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา “ดนตรีบำบัด เพื่อสุขภาวะที่ดีในทุกช่วงวัย” โดย ผศ.ดร.ธงรบ รื่นบรรเทิง คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ รับชมการแสดงดนตรีบำบัด เพื่อสร้างสรรค์คุณภาพชีวิตที่ดี โดย วง KU Wind

หลังจากมีการเปิดตัวโครงการคณะทำงานนี้จะมีการจัดกิจกรรมที่ตอบโจทย์การเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับประชาชนอีกหลายกิจกรรม โดยมีเป้าหมายคือ 1.เพื่อพัฒนาสู่ตลาดอนาคต 2.เพื่อการรับรู้และตระหนักถึง โอกาสการเข้าถึงการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา และ 3.เพื่อนำนวัตกรรมและบริการคลินิกสุขภาพมาพัฒนาทักษะให้เข้าถึงตลาดงานในอนาคตมากยิ่งขึ้น.

ศูนย์ผลิตภัณฑ์นม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้ผลิตสินค้า นมเกษตร และน้ำดื่มตราเกษตร จัดงาน “นมเกษตรทำดี ปีที่ 60” เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองศูนย์ผลิตภัณฑ์นม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก้าวขึ้นสู่ปีที่ 60 วางยุทธศาสตร์การดำเนินงานสำคัญในปี 2565 ขับเคลื่อนธุรกิจตั้งเป้าเป็น Holding Company มุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ครอบคลุมผู้บริโภคทุกกลุ่ม ปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจสู่เป้าหมายการเติบโตอย่างยั่งยืน เน้นพัฒนาเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจตาม S-curves BCG Model สอดคล้องวิสัยทัศน์มหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้วิจัยและสร้างนวัตกรรมระดับโลก เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานของศาสตร์แห่งแผ่นดิน

ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่าปีนี้เป็นปีสำคัญที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ครบรอบ 79 ปี ก้าวสู่ปีที่ 80 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีเป้าหมายสำคัญตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นไป เพื่อจะขับเคลื่อนการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยและหน่วยงานทุกหน่วยงาน ให้สนับสนุนการพัฒนาเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทยตาม S-curves BCG Model ด้วยนโยบายเชิงรุกที่เรียกว่า KUniverse โดยอุตสาหกรรมการเกษตรเป็นส่วนสำคัญที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจประเทศไทย ซึ่งบทบาทสำคัญของมหาวิทยาลัย

ในก่ารดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ประกอบด้วยบทบาทสำคัญคือ การสร้างองค์ความรู้ให้กับนิสิต เกษตรกร และผู้ประกอบการ การมุ่งเน้นการวิจัยพัฒนาที่นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าและบริการของ SMEs และเกษตรกรรม ให้บริการรับรองคุณภาพและมาตรฐานสินค้า เพื่อยกระดับความน่าเชื่อถือของสินค้าและบริการ ติดอาวุธให้เกษตรกร และผู้ประกอบการผ่านงานบริการวิชาการและปรึกษา สร้าง KU Market Place ที่ใช้หลักการเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) สร้าง KU Business Ecosystem พร้อมทั้งผนึกกำลังการส่งเสริมผ่านทุกวิทยาเขตของมหาวิทยาลัย จัดตั้ง Spin-Off Company ภายใต้ KU Holding Company เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานที่สนับสนุนภาคเอกชนได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์นม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นหน่วยงานที่มีความพร้อมในด้านต่างๆ ดำเนินกิจการด้วยความใส่ใจสังคม ดูแลทั้งเกษตรกร นิสิต สายส่งนม อีกทั้งการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ และมุ่งมั่นสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อมุ่งสู่ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง ตามนโยบายธุรกิจแนวใหม่ตามโมเดล BCG ซึ่งถือว่าเป็นการเตรียมความพร้อมสู่การเป็น KUniverse โดยคาดหวังว่า ศูนย์ผลิตภัณฑ์นม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จะเป็นหน่วยงานต้นแบบในการสร้างธุรกิจ การจัดตั้ง Holding Company ให้เห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม และตั้งเป้าหมายให้ก้าวไปถึงการเป็นแบรนด์ในระดับสากล เนื่องจากเรามองเห็นถึงโอกาสและความเป็นไปได้ในการขยายผลสู่หน่วยงานอื่นๆ ของมหาวิทยาลัยในการดำเนินงานเข้าสู่รูปแบบของการทำเป็นธุรกิจให้มากขึ้น

ด้าน ผศ.ดร.นุชนาถ มั่งคั่ง รองอธิการบดีฝ่ายการเงินและทรัพย์สิน เปิดเผยว่า ศูนย์ผลิตภัณฑ์นม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีเป้าหมายการพัฒนาผลิตภัณฑ์นมให้มีคุณภาพและมาตรฐาน สนับสนุนเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม มุ่งเน้นเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ลดต้นทุนในการผลิตและรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมพาสเจอร์ไรซ์ภายใต้ชื่อ “นมเกษตร” ในโครงการ KU Fresh Milk ที่มีผลิตภัณฑ์อื่น อาทิ นมรสชาติต่างๆ 9 รสชาติ โยเกิร์ตรสธรรมชาติ และไอศกรีมโยเกิร์ต นอกจากนี้เรายังผลิตน้ำดื่มตราเกษตร

เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ซึ่งนับจากนี้ไป เราจะเน้นกลยุทธ์การทำการตลาดเชิงรุก พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มุ่งเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อมุ่งสู่ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง Premium value โดยนมเกษตร ได้จัดให้มีการประกวดไอเดียเชิงนวัตกรรม ในโครงการประกวด Milk Design Contest เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์โยเกิร์ตพร้อมดื่มชนิดเข้มข้น และกรีกโยเกิร์ต ที่จะสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับนมเกษตร และการนำเสนอรูปแบบธุรกิจให้นมเกษตร ตอบโจทย์ของผู้บริโภคในยุค 2030 ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมากจากนิสิตหลากหลายคณะ

นอกจากนี้ โครงการนมเกษตรทำดีปีที่ 60 เรามีกิจกรรมทำเพื่อสังคม อาทิ กิจกรรมส่งมอบสุขภาพที่ดี โดยการสนับสนุนนมเกษตร ในโอกาสต่างๆ ให้กับสังคม ชุมชน โดยมีเป้าหมายส่งมอบนมเกษตร 60 กิจกรรมหรือชุมชน และยังมีกิจกรรมร่วมสมทบทุน / บริจาค โดยให้บุคลากรของศูนย์ผลิตภัณฑ์นม มก. และเครือข่ายอาทิ สายส่ง คนกลาง ตัวแทน ซัพพลายเออร์ เข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรม นมเกษตรทำดี ปีที่ 60 ตลอดปี 2565 โดยตั้งเป้าการทำดีของบุคลากรของศูนย์ผลิตภัณฑ์นม มก 60 วัน /คน/ปี ผศ. ดร.นุชนาถ ให้ข้อมูลเพิ่มเติม

ด้าน ผศ.รัชด ชมภูนิช รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิตและพัฒนาอย่างยั่งยืน กล่าวแสดงความยินดี ถึงความสำเร็จของศูนย์ผลิตภัณฑ์นม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จากการมุ่งมั่นผลิตสินค้าด้วยการใช้องค์ความรู้ การศึกษาวิจัย ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพเป็นที่น่าเชื่อถือของผู้บริโภค อีกทั้งมีการต่อยอดทั้งด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ นอกจากนี้ ยังสามารถตอบโจทย์ด้านการมุ่งสู่เป้าหมายของ UNSDGs ด้าน Zero Hunger การลดความหิวโหย ลดความยากจน นมเกษตรแบ่งปันและสร้างงานสร้างอาชีพในช่วงการแพร่ระบาดของวิกฤติโควิด-19 ช่วยให้ประชาชนมีงานทำจากการเข้ามาเป็นสายส่งนมให้กับนมเกษตร เป็นต้น นอกจากนี้นมเกษตร

ยังตอบโจทย์เป้าหมายความยั่งยืนด้าน Good Health and Well-being เพราะนมเกษตรเป็นนมเพื่อสุขภาพตลอดจนให้การสนับสนุนกิจกรรมด้านกีฬาต่างๆ ของมหาวิทยาลัยมาอย่างต่อเนื่อง นับว่าศูนย์ผลิตภัณฑ์นมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นต้นแบบธุรกิจที่พัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการดำเนินธุรกิจ สอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่เน้นเรื่องวิถีแห่งความยั่งยืน ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถสร้างเครือข่ายและบรรลุเป้าหมาย Partnership for the Goals เนื่องจากมีหลายหน่วยงานทางภาคเอกชนได้เห็นถึงโอกาสในการทำธุรกิจและเปิดโอกาสสร้างเครือข่ายให้นมเกษตรได้เข้าสู่ตลาดสากลต่อไป

เภสัชกร ดร.พิสิฐ อุ่ยรุ่งโรจน์ นายกสมาคมปริญญาโทสำหรับผู้บริหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้แสดงความยินดีที่ศูนย์ผลิตภัณฑ์นม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก้าวขึ้นสู่ปีที่ 60 พร้อมให้ความเห็นว่างานวิจัยทางด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ทางศูนย์ผลิตภัณฑ์นม มก. ทำมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้นมเกษตรมีคุณภาพเป็นที่น่าเชื่อถือ มีวิตามินแร่ธาตุที่จำเป็นเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรงและมีภูมิต้านทาน ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการใช้ชีวิตทุกวันนี้ ในฐานะนายกสมาคม ExMBA ก็จะช่วยผลักดันให้เกิดการต่อยอดทางด้านธุรกิจ ซึ่งในปัจจุบันมีศิษย์เก่าที่ประสบความสำเร็จและสามารถที่จะสร้างเครือข่ายให้นมเกษตรเป็นที่รู้จักแพร่หลายมากขึ้น นอกจากนี้ สมาคมฯ ยังสามารถให้การสนับสนุนทางด้านการตลาด การอบรมให้ความรู้ด้าน Digital Marketing ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่ง ในการสนับสนุนการพัฒนาธุรกิจของศูนย์ผลิตภัณฑ์นม มก ตามนโยบาย BCG ของมหาวิทยาลัย

นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์ SME ไทยกล่าวชื่นชมว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา นมเกษตรได้สร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัย ด้วยประวัติอันยาวนานได้มีการสั่งสมชื่อเสียงและคุณภาพของนมเกษตร อีกทั้งการพัฒนาแปรรูปต่อยอดผลิตภัณฑ์ได้อีกหลากหลาย อาทิ โยเกิร์ต และ ชีสเป็นต้น นับเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถเพิ่มคุณค่าได้ ทั้งนี้ ทางสมาพันธ์ จะร่วมผลักดันนมเกษตร ให้เป็นที่ยอมรับแพร่หลายมากขึ้น ทั้งด้านการเชื่อมโยงเครือข่าย การทำการตลาดการประชาสัมพันธ์ ซึ่งผลิตภัณฑ์นมเกษตรสามารถสร้างประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการ SME ในแต่ละพื้นที่ที่สนใจทำธุรกิจได้ เช่นการเป็นสายส่งนม นับว่าเป็นแนวคิดที่ดีมากของอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการนำเอาหน่วยงานที่มีศักยภาพ มาสร้างคุณประโยชน์เพื่อช่วยผู้ประกอบการให้มีธุรกิจและกระจายรายได้ ซึ่งต่อไปในอนาคตนมเกษตรจะไม่เป็นเพียง Local Brand แต่จะขยายสู่การเป็นแบรนด์ระดับสากลต่อไป

ภายในงาน “นมเกษตรทำดี ปีที่ 60” มีการแนะนำตัวแทนคนรุ่นใหม่ดื่มนมเกษตร KU Milk ICON อาทิ นายนิปุณ แก้วเรือน (น้องต้นกล้า) นิสิตปี 2 คณะวิศวกรรมศาสตร์ น.ส.นันทิภัทร ภาระ (น้องฟ้า) นิสิตปี 1 คณะวนศาสตร์ และนักกีฬาเทควันโดของชมรมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นายชาคริต วาสประเสริฐสุข (น้องริว) นิสิตปี 2 คณะมนุษย์ศาสตร์ และนักกีฬาทีมฟุตบอลเกษตรศาสตร์ เอฟซี ดร.ชเว ยอง-ช็อก (โค้ชเช) จากคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา ดร.สง่า ดามาพงษ์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์เครือข่ายนมดีทุกวัยดื่มได้ทุกวัน มีการจัดแสดงนิทรรศการ และผลงานนิสิตในโครงการประกวดนวัตกรรมนมเกษตร KU Milk Design Contest / การประกวด Dairy and KU Milk Model โดย ผศ.ดร. อรช กระแสอินทร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ / การประกวด KU Milk and Circular Living Idea โดย รศ.ดร.วีรเชษฐ์ จิตตาณิชย์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร เพื่อเป็นการตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านการดูแลสิ่งแวดล้อมของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ติดต่อศูนย์ผลิตภัณฑ์นม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทางช่องทาง Email: kudc@ku.ac.th www.daily.ku.ac.th FB : นมเกษตร

กรมส่งเสริมการเกษตรจัดงานรณรงค์ลดการเผาในท้องถิ่น พื้นที่ภาคตะวันออก และนำร่องสาธิตเทคโนโลยีการจัดการเศษวัสดุการเกษตรทดแทนการเผา ภายใต้โครงการส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตร ปี 2565 เผยผลการดำเนินงานมาต่อเนื่องตั้งแต่ปี 47 ลดการเผาลงได้จริง

รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ให้ความสนใจกิจกรรมในงาน
นางอัญชลี สุวจิตตานนท์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตรจัดงานรณรงค์ลดการเผาในท้องถิ่น ภายใต้โครงการส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตร ปี 2565 ณ แปลงสาธิตศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนตำบลบางเตย อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรลดการเผาในพื้นที่การเกษตร และปรับเปลี่ยนวิธีการทำการเกษตรมาทำการเกษตรแบบปลอดการเผา โดยการสร้างและพัฒนาเครือข่ายเกษตรปลอดการเผา เพื่อเร่งรัด จัดการ และแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตร

ซึ่งดำเนินการต่อเนื่องมาตั้งแต่ ปี 2547 ปัจจุบันได้กำหนดแนวทางสร้างเครือข่ายเกษตรกรปลอดการเผาโดยใช้กลไกของศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) หรือศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) หรือกลุ่มเกษตรกรให้ได้ 294 เครือข่ายในพื้นที่ 60 จังหวัด พร้อมจัดอบรมหลักสูตรถ่ายทอดความรู้และพัฒนาศักยภาพเกษตรกรให้สามารถเป็นวิทยากรด้านการทางการเกษตรปลอดการเผา นำเสนอทางเลือกและสาธิตการใช้เทคโนโลยีการเกษตรทดแทนการเผา เพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติและสร้างจิตสำนึกของเกษตรกรให้ยอมรับ การทำการเกษตรแบบปลอดการเผา รวมทั้งจัดกิจกรรมนำร่องสาธิตเทคโนโลยีการจัดการเศษวัสดุการเกษตรทดแทนการเผา หรือส่งเสริมการปรับเปลี่ยนการปลูกพืชเพื่อแก้ปัญหาการเผาอย่างยั่งยืน ซึ่งจะพิจารณาใช้เทคโนโลยีการจัดการเศษวัสดุการเกษตรทดแทนการเผาที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่

สำหรับกิจกรรมภายในงานรณรงค์ลดการเผาในท้องถิ่น ซึ่งจัดขึ้นที่แปลงสาธิตศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนตำบลบางเตย อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา มีกิจกรรมสร้างการรับรู้ และกิจกรรมเสนอทางเลือกลดการเผา ดังนี้

1) การบรรยายความรู้เรื่องการแก้ปัญหาและมาตรการป้องกันและผลกระทบจากการเผาต่อสุขภาพ และแจกเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตร และการจัดการเศษวัสดุทดแทนการเผา ได้แก่ การไถกลบทดแทนการเผา การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ฯลฯ

2) กิจกรรมสาธิตการฉีดพ่นน้ำหมัก และการไถกลบตอซัง

3) ฐานเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักจากวัสดุการเกษตร น้ำหมักย่อยสลายตอซัง และการใช้ประโยชน์จากวัสดุทางการเกษตร “การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า” “การทำแซนวิชอาหารปลา” และการใช้เครื่องจักรกลทางการเกษตร

4) การให้บริการตรวจวัดอุณหภูมิ และตรวจสารเคมีในเลือด และ

5) การจำหน่ายผลผลิตผลิตภัณฑ์จากวิสาหกิจชุมชนและเกษตรกรในท้องถิ่น

รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวอีกว่า ปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตรถือเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ เสื่อมโทรม ส่งผลต่อการผลิตพืชของเกษตรกร และยังเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ ก่อให้เกิดก๊าซพิษ หมอกควันสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนและเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งยังส่งผลเสียต่อการทำอาชีพการเกษตรโดยตรง ซึ่งผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตรโดยกรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2564 จากการสำรวจจากดาวเทียม TERRA และ AQUA

ระบบ MODIS ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 31 พฤษภาคม 2564 โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (Gistda) พบจุดความร้อน (Hotspot) ในประเทศไทยลดลง คิดเป็นร้อยละ 51.71 คือปี 2564 จำนวน 12,705 จุด ปี 2563 จำนวน 26,310 จุด ซึ่งจุดความร้อนอยู่ในพื้นที่การเกษตร ลดลงร้อยละ 47.17 คือปี 2564 จำนวน 3,320 จุด ปี 2563 จำนวน 6,285 จุด ในขณะที่พื้นที่ภาคตะวันออก 9 จังหวัด ก็มีแนวโน้มจุด Hotspot ลดลงต่อเนื่อง คือพบ Hotspot ปี 2563 จำนวน 1,471 จุด และปี 2564 จำนวน 1,057 จุด จากพื้นที่การเกษตรรวม จำนวน 10,506,992 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ปลูกข้าว 2,224,707 ไร่ ยางพารา 2,042,592 ไร่ ไม้ผล 1,172,571 ไร่ มันสำปะหลัง 898,990 ไร่ และอื่น ๆ 1,145,936 ไร่

สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) หรือ สวพส. ได้ตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบของหมอกควันและไฟป่าที่เกิดขึ้น โดยสวพส.มีภารกิจในการนำองค์ความรู้จากโครงการหลวงมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของชุมชนบนพื้นที่สูง ให้คนกับป่าอยู่ร่วมกันได้โดยการเพิ่มพื้นที่สีเขียว ลดการเผาเพื่อการเกษตร เน้นการทำเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นผลให้จุดความร้อน (Hotspot) ในพื้นที่สูงลดลง และมีแนวโน้มว่าจะลดลงอย่างต่อเนื่อง

นายวิรัตน์ ปราบทุกข์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง เปิดเผยว่า หากเอ่ยถึงปัญหาหมอกควันและไฟป่าในประเทศไทยคงจะทราบกันดีว่าปัญหานี้มีมานานหลายปี โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือนั้นนับว่าเป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก โดยในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนพฤษาภาคม 2563 เกิดจุดความร้อนสะสมในพื้นที่การดูแลของ สวพส. 8 จังหวัด จำนวน 7,322 จุด ทำให้ป่าต้นน้ำลำธารเสียหาย และค่า PM 2.5 สูงมาก ก่อให้เกิดปัญหาในการใช้ชีวิตของประชาชน ซึ่งในส่วนของการแก้ไขปัญหานั้นทุกส่วนของภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะมีการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการต่าง ๆ และที่เห็นเป็นประจำทุกปีคือการพ่นน้ำ การดับไฟป่า การจัดทำแนวกันไฟ และอีกหลาย ๆ กิจกรรม ซึ่งยังไม่สามารถที่จะลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อมได้ จากปัญหาดังกล่าว สวพส. ได้ขยายองค์ความรู้จากโครงการหลวงมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้งการทำการเกษตรแบบไม่เผา โดยการจัดพื้นที่รายแปลงที่เหมาะสม เน้นการใช้พื้นที่น้อยให้มีรายได้มาก ใช้พืชผักที่ขายได้ในราคาสูงและทำได้ตลอดทั้งปี

สวพส. ได้ดำเนินงานการเพิ่มพื้นที่สีเขียว โดยส่งเสริมการปลูกไม้ผลและกาแฟใต้ร่มเงาในพื้นที่ป่า และการประสานกับหน่วยงานภาคีในการช่วยเหลือชุมชนบนพื้นที่สูงให้มีวิถีชีวิตที่ดีและพอมีพอกินตามหลักปรัชญาเศรฐกิจพอเพียง โดยการทำการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กล่าวคือ เมื่อชาวบ้านมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทำให้ชาวบ้านมีเวลาที่จะดูแลป่าไม้ที่อยู่รอบชุมชนมากขึ้น เพิ่มพื้นที่สีเขียวและพื้นที่ทำการเกษตรที่มีไม้ยืนต้น ไม่บุกรุกทำลายป่า โดยการทำเกษตรแบบไม่เผา ส่งผลให้ในปี 2564 นี้ จุดความร้อน (Hotspot) ในพื้นที่การดูแลของ สวพส. 8 จังหวัด มีจำนวนลดลงมากถึง 70 % เมื่อเทียบกับปี 2563 และบางพื้นที่ไม่มีจุดความร้อนเกิดขึ้นเลย

ด้าน นายเดชธพล กล่อมจอหอ นักวิชาการส่งเสริมและพัฒนา สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง กล่าวว่า โครงการลุ่มน้ำสาละวินที่ทางสวพส. เข้าไปดำเนินการ มีพื้นที่ทั้งหมดล้านกว่าไร่ ครอบคุมพื้นที่จังหวัดตากและแม่ฮ่องสอน ซึ่งเมื่อย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ปัญหาเรื่องการเผาเพื่อทำการเกษตรเกิดขึ้นเยอะมาก สวพส. จึงส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปดำเนินงานด้วยการสร้างความคุ้นเคยกับผู้นำชุมชนและชาวบ้าน และการนำองค์ความรู้จากโครงการหลวงมาเป็นต้นแบบในการพัฒนาพื้นที่สูงในทุกมิติ เพื่อให้ชุมชนมีวิถีชีวิตที่ดีขึ้น ให้คนอยู่กับป่าได้อย่างลงตัว ส่งผลให้ปัจจุบันการเผาป่าและจุด Hotspot ในพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวินลดลงอย่างต่อเนื่อง และบางพื้นที่อย่างพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงตามแบบโครงการหลวงสบโขงไม่เกิดจุดความร้อนแม้แต่จุดเดียว ส่งผลให้ชุมชนในพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวินมีวิถีชีวิตที่ดีขึ้น มีการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำให้มีรายได้ตลอดทั้งปี

“จะเห็นได้ว่าการดำเนินงานของ สวพส. คือการลงพื้นที่และเข้าให้ถึงตัวชาวบ้าน โดยเริ่มจากผู้นำชุมชนก่อน ด้วยสร้างความเข้าใจและความเชื่อมั่น ซึ่งเป็นผู้มีส่วนสำคัญในทุกขั้นตอนของการพัฒนา ทำให้ชาวบ้านเปิดใจยอมรับพร้อมที่จะปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ และเห็นความสำคัญของปัญหาการเผาในพื้นที่เกษตร ทั้งนี้ทรัพยากรธรรมชาติเป็นของทุกคนและเพื่อให้คงอยู่สืบต่อไปให้ลูกหลานในอนาคต ทางเดียวที่เราจะสู้ได้ คือ การนำองค์ความรู้เข้าไปแก้ปัญหา ซึ่งสิ่งนี้เป็นความตั้งใจของสวพส. ร่วมกับ มูลนิธิโครงการหลวง ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยตั้งเป้าลดจุด Hotspot ในพื้นที่ให้ได้มากที่สุด ให้คนและป่าอยู่ร่วมกันเพื่อการรักษา

เมื่อวันที่ 16 ก.พ.65 นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อติดตามงานนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ณ แปลงใหญ่มังคุด ต.นาเรียง อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช (วิสาหกิจชุมชนคัดคุณภาพมังคุดบ้านศาลาใหม่) เพื่อตรวจเยี่ยม และรับทราบปัญหาจากเกษตรกรผู้ผลิตมังคุดในพื้นที่ โดยมี นายเกรียงศักดิ์ รักษ์สีทอง นายอำเภอพรหมบุรี กล่าวต้อนรับ นายอุดมเกียรติ เกิดสม เกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครศรีธรรมราช นายภูวเดช วุฒิวงศ์วัฒ เกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช นายอนุชา ยาอีด ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จ.สงขลา พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และเกษตรกรสมาชิกแปลงใหญ่มังคุด ต.นาเรียง ร่วมให้การต้อนรับ และนางพัลวลี ภูมาวงค์ ประธานแปลงใหญ่มังคุด ต.นาเรียง รายงานข้อมูลผลการดำเนินงานและสถานการณ์ปัญหา

สำหรับแปลงใหญ่มังคุด ต.นาเรียง จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2562 มีสมาชิก จำนวน 42 ราย มีพื้นที่ 343 ไร่ ปริมาณผลผลิตมังคุด เมื่อปี 2563 ประมาณ 103 ตัน ปัญหาที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ ปัญหาราคาผลผลิตมังคุดตกต่ำ การขาดเงินทุน อุปกรณ์ และโรงเรือนแปรรูปผลผลิต การขาดแคลนแรงงานในการเก็บเกี่ยวและคัดเกรดผลผลิตมังคุด ทั้งนี้ นายอลงกรณ์ ได้ให้แนวการการขับเคลื่อนและการสนับสนุนแปลงใหญ่ตามนโยบายการส่งเสริมการผลิตแปลงใหญ่ ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยพัฒนายกระดับแปลงใหญ่ให้เป็น Start Up หรือ SMEs เกษตร การจัดอบรมผู้นำและสมาชิกแปลงใหญ่ให้เป็นผู้ประกอบการ เพื่อทำการเกษตรสู่การเป็นเกษตรมูลค่าสูง การรักษาคุณภาพมังคุดและปรับระบบการขนส่งผ่านระบบ Cold Chain การศึกษาวิจัยและพัฒนามังคุด โดยศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC) ด้านการแปรรูป การสกัดสารสำคัญจากมังคุด เพื่อมุ่งสู่การทำเกษตรมูลค่าสูง

จากนั้น นายอลงกรณ์ ได้เดินทางมายังศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช และเป็นประธานการประชุมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้านภาคการเกษตรทั้งระบบของจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช (นายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์) ได้มอบหมายให้ นายไตรรัตน์ ไชยรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ให้การต้อนรับ และร่วมประชุม พร้อมด้วยนายอยุทธ์ เชาวลิต รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช นางเอกอนงค์ บัวมาศ พาณิชย์จังหวัดนครศรีธรรมราช นายวัชรินทร์ ไชยานุพงศ์ อุตสาหกรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้แทนในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ที่ประชุมได้รายงานสรุปแนวทางการพัฒนาจังหวัดนครศรีธรรมราช มีประเด็นที่สำคัญ ดังนี้ 1) การบริหารจัดการเกษตรและอุตสาหกรรมสู่มาตรฐานครบวงจรและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 2) การพัฒนาการท่องเที่ยวบนพื้นฐานธรรมะ ธรรมชาติ และศิลปวัฒนธรรม 3) การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน 4) การพัฒนาคน ชุมชน สังคมให้น่าอยู่ และเข้มแข็งตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 5) การรักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อย และ 6) การส่งเสริมศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ ปี 2565 ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน ยางพารา ผลผลิตผลไม้ 4 ชนิด (ทุเรียน มังคุด เงาะ และลองกอง) ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง และการพิจารณาการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้านภาคการเกษตรทั้งระบบของจังหวัดนครศรีธรรมราช (การบริหารจัดการผลไม้ทั้งระบบ) เพื่อเตรียมความพร้อมในการแก้ไขปัญหาผลผลิตที่อาจจะเกิดขึ้นและมีผลกระทบต่อเกษตรกร ซึ่งจังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่ปลูกไม้ผลเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ทุเรียน มีพื้นที่ปลูก 89,265 ไร่ ผลผลิต (คาดคะเนสถานการณ์ ปี 2565) จำนวน 69,182 ตัน มังคุด พื้นที่ปลูก 96,620 ไร่ ผลผลิต จำนวน 66,919 ตัน เงาะ พื้นที่ปลูก 12,845 ไร่ ผลผลิต จำนวน 8,870 ตัน และลองกอง พื้นที่ปลูก 14,566 ไร่ ผลผลิต จำนวน 4,350 ตัน ซึ่งมีการดำเนินการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

ด้านการพัฒนาคุณภาพผลผลิต สมัครพนันออนไลน์ การถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการพัฒนาคุณภาพผลไม้ทั้งในและนอกฤดู ส่งเสริมการผลิตตามระบบมาตรฐาน GAP ในการรับรองมาตรฐาน GAP มีแผนการดำเนินงาน ปี 2565 จำนวน 1,458 แปลง ได้แก่ ทุเรียน 605 แปลง มังคุด 547แปลง มะพร้าว 112 แปลง ส้มโอ 92 แปลง โกโก้ 40 แปลง สละ 34 แปลง เงาะ 20 แปลง ลองกอง 4 แปลงฝรั่ง 4 แปลง จำนวนแปลงสะสมทั้งหมด ปี 2547-2565 จำนวน 12,576 แปลง 11,125 ราย 57,277.3968 ไร่ มีแผนการบริหารจัดการการผลิต การพัฒนาองค์กรเกษตรกรและสร้างความเข้มแข็งให้องค์กรเกษตรกร การจัดการด้านการตลาดและโลจิสติกส์ โดยสำนักงานพาณิชย์จังหวัด อบรมให้ความรู้การบริหารจัดการด้านการตลาดออนไลน์ และการวางแผนเตรียมความพร้อมสำหรับฤดูกาลผลิตมังคุด ปี 2565