ยี่หุบ…เด่นตรงออกดอกเก่ง ยี่หุบเป็นไม้ไทยอีกชนิดหนึ่งที่น่าสนใจ

ด้วยจัดอยู่ในประเภทไม้ดอกที่มีกลิ่นหอมคล้ายคลึงกับจำปีและมณฑา ออกดอกให้ผู้ปลูกได้ตลอดทั้งปี ในบริเวณรอบบ้านหากได้ต้นยี่หุบไปปลูก จะช่วยสร้างความสวยงามให้กับสวนหย่อมหน้าบ้านได้เป็นอย่างมาก รวมถึงกลิ่นของยี่หุบก็มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่หอมหวลชวนให้หลง

ดอกยี่หุบนี้จะมีกลิ่นหอมมากในชช่วงเย็น พลบค่ำไปจนถึงช่วงเช้ามืด แม้ดอกจะออกได้ตลอดทั้งปี แต่ดอกยี่หุบหากบานแล้วจะหุบในช่วงระยะเวลาสั้นๆ จึงได้รับฉายาว่า “ยี่หุบ” ยี่หุบเป็นไม้ดอกที่มีกลิ่นหอมสามารถนำไปปลูกประดับทำให้ผู้ปลูกรู้สึกสบายตาพร้อมกับสบายใจไปกับกลิ่นอันหอมของไม้ดอกชนิดนี้ได้

ยี่หุบมีชื่อทางวิทยาสาสตร์ว่า Magnolia coco (Lour.) DC จัดอยู่ในวงศ์ MAGNOLIACEAE ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับ จำปี จำปา

มีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น เช่น ยี่หุบหนู , ยี่หุบน้อย (เชียงใหม่) ยี่หุบถูกจัดให้เป็นไม้พุ่มเตี้ยหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 2-4 เมตร ลำต้นมีสีน้ำตาลปนสีเทา แตกกิ่งเป็นพุ่มแหลม ก้านปลายกิ่งสีเขียวเข้ม

ใบของต้นยี่หุบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว รูปร่างคล้ายกับใบหอก ส่วนปลายใบแหลมเป็นรูปลิ่ม ใบมีขนาดความกว้างประมาณ 6-8 เซนติเมตร ยางประมาณ 10-15 เซนติเมตร

ดอกยี่หุบจะออกเป็นช่อสั้นๆ ช่อละประมาณ 5-8 ดอก โดยดอกที่ออกนั้นจะออกตามซอกใบใกล้กับบริเวณปลายกิ่ง ก้านดอกยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร ดอกยี่หุบมีสีขาวนวลหรือในบางครั้งเป็นสีเหลืองอ่อนนวล

กลีบดอกยี่หุบนั้นใน 1 ดอกมีประมาณ 6-12 กลีบ แต่ละกลีบยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร ลักษณะดอกเป็นรูปกลมรี กลีบดอกหนาอวบน้ำ เมื่อดอกบานจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4-5 เซนติเมตร

ยี่หุบออกผลเป็นกลุ่มมีลักษณะกลมรี ขนาดความกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 4.5 เซนติเมตร ผิวของผลยี่หุบขรุขระ เปลือกแข็งหนา เมื่อแก่ผลจะแตกออก โดยภายในมีเมล็ดสีแดงสด

ยี่หุบสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง สำหรับต้นยี่หุบนี้ไม่ชอบที่มีแสงแดดมากนัก ชอบแต่เพียงแสงแดดรำไร สามารถอยู่ในพื้นที่แฉะได้ การปลูกต้นยี่หุบนี้สามารถนำเมล็ดมาเพาะกับดินร่วนผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ได้

หากต้องการปลูกยี่หุบภายในกระถางไม่ควรตั้งกระถางไว้กลางแดดแต่ให้โดดแดดเพียงรำไรเท่านั้น เนื่องจากใบของยี่หุบจะไหม้และดอกที่ออกจะบานไม่สมบูรณ์ ควรปลูกไว้ใต้ต้นไม้อื่นหรือที่มีร่มเงา

ด้วยข้อดีของยี่หุบที่สามารถออกดอกให้ชมได้ตลอดปี จึงสมควรที่ไม้ชนิดนี้ จะเป็น 1 ในสมาชิกของพรรณไม้น่าปลูก คุณแดง บุญมี หรือ ลุงแดง เจ้าของไร่พริกไทยสดพันธุ์ซีลอน “ไร่ลุงแดง บ้านเผ่าไทย” บ้านเลขที่ 4 หมู่ที่ 8 บ้านเผ่าไทย ตำบลชมพู อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก โทร. (084) 906-0967 เกษตรกรที่ผันตัวเองจากเดิมที่เคยทำไร่ข้าวโพด ทำนา มาปลูกพริกไทย เพื่อจำหน่ายเป็นพริกไทยสด สร้างรายได้นับแสนบาทต่อปี

ลุงแดง ย้อนกลับไปว่า เดิมก็เหมือนเพื่อนเกษตรกรทั่วไปในแถบนี้ที่จะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และทำนาข้าว ได้บ้างไม่ได้บ้างแต่ก็ต้องทำทุกปี ซึ่งทำมานานมาก แต่ก็ได้เพียงพอใช้จ่าย เมื่ออายุมากขึ้นก็มองหาพืชชนิดใหม่ที่ทำงานหนักน้อยลง ปลูกครั้งเดียวแต่เก็บเกี่ยวได้นาน

ลุงแดง เล่าว่า เมื่อ 3 ปีก่อนได้เจอเพื่อนเกษตรกรปลูกพริกไทยอยู่ จึงได้มีโอกาสพูดคุยเรื่องการปลูกพริกไทย และทราบว่าเป็นพืชที่ปลูกเพียงครั้งเดียว แต่เก็บเกี่ยวได้นานนับ 10 ปี แล้วยังให้ผลผลิตเป็นอย่างดีในพื้นที่โซนนี้ ที่สำคัญราคาพริกไทยสดมีราคาค่อนข้างดีและมีความต้องการมากพอสมควร
การลงทุนปลูกในครั้งแรก ลุงแดงได้ขอซื้อพันธุ์กลับมาทดลองปลูกเพียงไม่กี่ต้นเพื่อนำมาทดลอง แต่ผลพบว่าพริกไทยที่นำมาปลูกให้ผลผลิตเป็นอย่างดี ติดผลดก ใช้กินในครัวเรือน แบ่งเพื่อนบ้าน จากนั้นจึงตัดสินใจปลูกแบบจริงจัง จำนวน 360 หลัก โดยใช้ระยะปลูก ระหว่างต้น 2 เมตรxระหว่างแถว 2.5 เมตร และในปีที่ผ่านมาได้ขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มอีก 200 หลัก ซึ่งขยายพื้นที่เพิ่มออกไปอีก ประมาณ 1,000 หลัก

ลุงแดง เล่าย้อนกลับไปว่า ตอนที่ปลูกพริกไทยครั้งแรกนั้น กว่าจะเตรียมแปลงและระบบน้ำเสร็จราวปลายเดือนพฤศจิกายน ซึ่งกำลังเข้าสู่ช่วงหน้าแล้งและอากาศหนาว แต่ลุงแดงก็ลองปลูกดู เพราะดูแล้วว่าพริกไทยค่อนข้างทนแล้งได้ แต่ขอให้มีน้ำช่วยก็ปลูกเลย พอปลูกไป

แม้อากาศจะแล้งแต่เมื่อต้นพริกไทยได้น้ำอย่างสม่ำเสมอพบว่า ต้นพริกไทยอยู่ได้ แตกยอดมาใหม่ใบเขียว จับมัดขึ้นเสาไปเรื่อยๆ จนสูงท่วมหลัก ซึ่งหลักในตอนนั้น ใช้เสาสูง 2.50 เมตร ฝังเสาลงดินไป 50 เซนติเมตร ประมาณ 9 เดือน หลังปลูก ต้นพริกไทยก็ออกดอกเต็มไร่เลย ผลผลิตดีและสูงขึ้นเรื่อยๆ หลังปีที่ 2 ขึ้นมา
ต่อมาก็ลองขยายพันธุ์ดูบ้าง ก็มีปักชำ โดยตัดกิ่งมาเป็นท่อนๆ ชำในถุงดำแล้วทำกระโจมมุงหลังคาพลาสติกอบไว้สัก 1 เดือน แต่เปอร์เซ็นต์การรอดไม่ค่อยดีนัก จะได้ต้นพันธุ์แค่ 50% เท่านั้น ก็มาเปลี่ยนวิธีการขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่ง
ซึ่งนำขุยมะพร้าวแช่น้ำไว้สัก 1 คืน บีบน้ำให้พอหมาด แล้วยัดใส่ถุงขนาดเล็ก ใช้มีดกรีดถุงผ่าครึ่งถุง นำไปประกบตามข้อพริกไทย เพราะส่วนข้อจะเป็นส่วนที่จะออกราก เพียง 30-45 วัน รากพริกไทยก็จะเดินเต็มถุง พอรากเปลี่ยนสีจากสีขาวเป็นสีน้ำตาลก็จะเหมาะสมในการตัดส่งขายหรือมาอนุบาลชำลงถุง แต่มีข้อจำกัดคือ สามารถตอนได้เฉพาะหน้าฝนเท่านั้น จึงจะได้ผลดีเกือบ 100% ลุงแดง กล่าว
พื้นที่ปลูก และการลงเสา

ขั้นตอนแรก คือการไถแปรหน้าดิน และปรับสภาพความร่วนซุยของหน้าดิน โดยการไถพรวน เนื่องจากบริเวณแปลงปลูกมีความสูงต่ำไม่เท่ากัน บางส่วนเป็นดิน บางส่วนเป็นดินปนหินกรวด ก็ได้มีการไถพรวน และกำจัดสิ่งกีดขวางออกไปก่อน ประเด็นสำคัญคือ ควรจะมีการไถพรวนเพื่อให้ดินร่วนซุยก่อนเริ่มปลูก เนื่องจากรากของพริกไทยจะขยายออกไปในดิน
ถ้าหากดินมีความร่วนซุย รากก็จะขยายออกไปรอบข้างได้ดี ทำให้ต้นโตไว

ขั้นตอนต่อไปคือ การขุดหลุมลงเสา โดยระยะห่างระหว่างเสา คือ 2.5×2.5 เมตร (สาเหตุที่เว้นระยะห่างค่อนข้างมาก เนื่องจากเมื่อต้นโตเต็มที่ จะได้มีพื้นที่สำหรับเข้าไปเก็บผลผลิต หรือตัดหญ้าใส่ปุ๋ย) โดยหลุมที่ขุดมีขนาด กว้าง 15 เซนติเมตร ลึก 10 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก ผสมกับสารป้องกันปลวกแมลง (ฟูราดาน)
หลังจากลงเสาเสร็จเรียบร้อย ขั้นตอนต่อไปคือ วางระบบน้ำ ทางไร่เลือกใช้ท่อ PE สาเหตุที่ใช้ท่อ PE เนื่องจากทนแดด ทนฝนได้ดี เหยียบได้ไม่แตกหัก อายุการใช้งานนานกว่าท่อ PVC โดยท่อใหญ่ที่ต่อจากปั๊มสำหรับจ่ายน้ำแต่ละแถว ใช้ท่อ PE ขนาด 60 มิลลิเมตร และต่อเข้าแถวด้วยท่อ PE ขนาด 20 mm. 2 bar. จากนั้นส่วนที่ต่อเข้าเสาแต่ละเสา ใช้ท่อ PE mini เมื่อเตรียมเสร็จเรียบร้อย ก็จัดการนำต้นพันธุ์ที่เตรียมไว้มาลงปลูกได้เลย โดยปลูกเสาละ 4 ต้น มัดลำต้นพริกไทยติดกับหลักไว้ เพื่อให้ต้นโตเกาะหลักขึ้นไปเรื่อยๆ

วิธีปลูกและดูแลรักษา
การเตรียมการก่อนปลูก เริ่มจากการเตรียมดิน แปลงปลูกจะต้องเป็นพื้นที่ที่มีการระบายน้ำได้ดี ปรับพื้นที่ไม่ให้มีสภาพน้ำขัง ไม่ชื้นแฉะหรือเป็นแอ่งน้ำ ไถพรวนดินลึก 40-60 เซนติเมตร ปรับปรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ โดยการใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 2-3 ตันต่อไร่ เพื่อให้ดินสามารถดูดซับธาตุอาหารได้ดี หากดินเป็นกรด ควรปรับด้วยปูนขาว หรือปูนโดโลไมต์ เพื่อให้ความเป็นกรดน้อยลง ตากดิน 15 วัน ยกแปลงเป็นลอนลูกฟูก

วิธีปลูก ปลูกค้างละ 1 หลุม ปลูกห่างจากโคนค้าง ประมาณ 15 เซนติเมตร ขุดหลุมพรวนรอบเสา ผสมดินกับปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอกเก่า นำกิ่งพันธุ์ที่เตรียมไว้ ขุดหลุมปลูกแค่เท่าถุงดินเดิม ปลูกหลุมละ 1 ต้น รอบเสา 4 ด้าน ก็จะใช้ทั้งหมด 4 ต้น ต่อเสา ให้ปลายยอดเอนเข้าหาค้าง หันด้านที่มีราก (ตีนตุ๊กแก) ออกด้านนอกค้าง กลบดินให้แน่น รดน้ำให้ชุ่ม

เทคนิคนำกิ่งลงชำถุง
ลุงแดง แนะนำว่า ถ้าได้รับกิ่งพันธุ์แบบตุ้มตอน แกะถุงพลาสติกที่ห่อหุ้มรากออกก่อนอย่างเบามือ พยายามอย่าให้ขุยมะพร้าวที่รากยึดไว้แตก ตัดตุ้มโดยใช้กรรไกรหรือมีดคัตเตอร์ตัดเชือกปอที่รัดตุ้มไว้หัวท้ายออกทั้งหมด
เมื่อแกะตุ้มเสร็จก็นำกิ่งพันธุ์ลงถุงดำโดยใส่ดินไปก่อน ประมาณครึ่งถุงแล้วค่อยเอากิ่งพันธุ์ส่วนที่เป็นรากวางลงไปกลางถุง เอามืออีกข้างจับยอดไว้ไม่ให้ต้นพันธุ์เอนไปมา แล้วเอามืออีกข้างตักดินใส่ให้เต็มถุง กดดินบริเวณรอบๆ กิ่งพันธุ์ให้แน่น
จากนั้นรดน้ำ รออีกประมาณ 45 วัน จึงค่อยนำลงปลูกในแปลงปลูก อย่ารดน้ำมากเกิน เอาแค่ชื้นพอดี และควรพักต้นพันธุ์ไว้ในที่ร่มรำไร อากาศถ่ายเทได้ดี ขั้นตอนก็มีเพียงเท่านี้ พื้นที่วางต้นชำ ควรวางบนพื้นดินที่มีความชื้นตลอด แต่น้ำไม่ขัง
ข้อควรระวังการชำกิ่ง
ข้อควรระวังที่สำคัญคือ ห้ามนำถุงกล้าพริกไทยวางบนปูนหรือแผ่นพลาสติกใดๆ เพราะพริกไทยจะแตกยอดสวยงามให้เห็นในระยะแรกเท่านั้น แต่ต่อมารากจะค่อยๆ ถูกทำลายด้วยเชื้อรา เช่น เชื้อราไฟทอปทอร่าที่เป็นสาเหตุของโรครากเน่าและจะยืนต้นตายในที่สุด เพราะการระบายน้ำที่ก้นถุงไม่ดี รวมถึงอุณหภูมิบนพื้นผิววัสดุด้วย
การดูแลรักษา
เริ่มจากการใส่ปุ๋ย จะใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ปุ๋ยดังกล่าวจะช่วยปรับสภาพความเป็น กรด-ด่าง ของดินให้เหมาะกับการเจริญเติบโตของพริกไทย และช่วยปรับโครงสร้างของดิน ทำให้ดินโปร่ง ร่วนซุย สามารถดูดซับความชื้นและเพิ่มแร่ธาตุ ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15, 8-24-24 และ 12-12-17+Mg ให้พิจารณาเลือกใส่สูตรใดสูตรหนึ่งตามความเหมาะสม เช่น
ปีที่ 1 ใส่ปุ๋ยเคมี ประมาณ 300-500 กรัม ต่อค้าง แบ่งใส่ 3 ครั้ง ต่อปี หรือตามความเหมาะสม
ปีที่ 2 ใส่ปุ๋ยเคมี 1 กิโลกรัม ต่อค้าง แบ่งใส่ 3 ครั้ง หรือตามความเหมาะสม
ปีที่ 3 และปีถัดไป ใส่ปุ๋ยเคมี 1.5 กิโลกรัม ต่อค้าง แบ่งใส่ 3 ครั้ง หรือตามความเหมาะสม
ครั้งที่ 1 ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 หลังจากเก็บเกี่ยวพริกไทย เพื่อฟื้นความสมบูรณ์ของต้นพริกไทย
ครั้งที่ 2 ปุ๋ยเคมี สูตร 8-24-24 ประมาณเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน เพื่อเร่งการออกดอกและติดผล
ครั้งที่ 3 ปุ๋ยเคมี สูตร 12-12-17+Mg ประมาณเดือนกันยายน-ตุลาคม เพื่อบำรุงผล
ส่วนปุ๋ยทางใบและฮอร์โมนบำรุง สามารถใช้ได้ตามความสะดวก ซึ่งช่วยส่งเสริมให้ดีขึ้น
ลุงแดง อธิบายว่า การใส่ปุ๋ยไม่มีสูตรตายตัว คงขึ้นอยู่กับการเจริญเติบโตและระยะของการให้ผลผลิตบนต้นและการสังเกตของเจ้าของไร่
การให้น้ำ
เลือกระบบน้ำตามสภาพแวดล้อมที่ให้พริกไทยได้รับน้ำอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอทั่วทั้งแปลง การให้น้ำแบบร่อง ต้องปรับพื้นที่ให้เรียบและมีความลาดเท การใช้มินิสปริงเกลอร์ เป็นวิธีที่ประหยัดน้ำกว่า ระยะเวลาการให้น้ำ หลังปลูกควรรดน้ำทุกวัน หรือวันเว้นวัน เมื่อพริกไทยตั้งตัวได้ ลดเหลือ 2-3 วัน ต่อครั้ง พริกไทยที่ให้ผลผลิตแล้ว ควรให้ 3-4 วัน ต่อครั้ง ตามสภาพดินฟ้าอากาศ
ในฤดูแล้งอาจประหยัดการให้น้ำโดยการคลุมดินในแปลงปลูกด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง แต่ในฤดูฝนไม่ควรคลุมดินจนชิดโคนต้น ควรเว้นห่างเพื่อไม่ให้โคนต้นชื้นแฉะเกินไป และเกิดโรค เตรียมให้น้ำระบายออกจากแปลงปลูกอย่างรวดเร็ว และขณะดินชื้นแฉะไม่ควรเหยียบย่ำในแปลง จะทำให้ดินแน่นทึบ รากเสียหายได้
การขึ้นค้าง
หลังจากปลูกพริกไทยได้ประมาณ 30-50 วัน พริกไทยจะเริ่มแตกยอดอ่อน ให้เลือกยอดอ่อนที่สมบูรณ์ไว้ต้นละประมาณ 3 ยอด ที่เหลือตัดทิ้งไป จัดยอดให้เรียงขนานขึ้นรอบค้าง อย่าให้ยอดทับกัน เพราะจะทำให้ได้ทรงพุ่มที่ไม่ดี ใช้เชือกฟางผูกยอด ให้แนบติดกับค้าง โดยผูกข้อเว้นข้อ ผูกยอดจนกระทั่งยอดท่วมค้าง ใช้เวลาประมาณ 10-12 เดือน
กรณีที่ต้องการเลี้ยงเถาเพื่อใช้ทำพันธุ์ขยายพื้นที่ปลูกในปีต่อไป หรือเพื่อจำหน่ายยอดคืนทุน เมื่อพริกไทยอายุ 1 ปี ตัดเถาให้เหลือ 50 เซนติเมตร จากระดับผิวดิน เมื่อพริกไทยแตกยอด จัดยอดขึ้นค้างเช่นเดียวกับปีแรก จนกว่าพริกไทยจะสูงเลยค้างไปประมาณ 30 เซนติเมตร ให้ผูกไว้บนยอดค้าง

ลุงแดงมุงซาแรนพรางแสง 60 เปอร์เซ็นต์ ให้แปลงปลูกพริกไทยใน 1 ปีแรก โดยอธิบายว่า ปัจจุบันอากาศบ้านเราร้อนมาก การปลูกพริกไทยจึงมีต้นทุนเพิ่ม คือต้องมุงซาแรน เพื่อช่วยพรางแสงให้ เพื่อลดความร้อนจากแสงแดดให้ต้นพริกไทยและรักษาความชื้นแต่หลังจากที่ต้นพริกไทยปลูกไปได้สัก 1 ปี ก็จะรื้อซาแรนพรางแสงออกไป เพราะพริกไทยสามารถปรับสภาพได้ และทรงพุ่มสูงถึงยอดเสาปูนซึ่งจะมีร่มเงาขึ้นมาทดแทน

การขายผลผลิต
ลุงแดง เล่าว่า ตอนนี้พริกไทยสดไม่พอขาย ไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าที่สั่งเข้ามา ยังมารวมถึงออเดอร์จากบริษัทที่เข้ามาติดต่อที่ต้องการให้จัดส่งวันละหลายๆ ตัน ให้ราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 95 บาท
“แต่เราคือ ที่ไร่กับเพื่อนเกษตรกรที่เริ่มปลูกยังไม่สามารถรวบรวมจำนวนได้มากขนาดนั้น ตอนนี้ขายแค่พ่อค้าหลายๆ เจ้า ก็ไม่เพียงพอ เราต้องจัดสรรแบ่งให้พ่อค้า โดยพยายามไม่ผูกมัดผูกขาดกับพ่อค้าเพียงเจ้าเดียว พ่อค้าบางเจ้าถึงกับช่วยออกค่าเก็บให้เจ้าของไร่เลยทีเดียว อย่างเช่น ให้ค่าเก็บ กิโลกรัมละ 10 บาท ก็เงินค่าเก็บทั้งเจ้าของไร่และคนงานทีเดียว”
“ราคาก็มีขึ้นลง อย่างหน้าแล้งหรือหน้าร้อนที่ราคาแพง กิโลกรัมละ 250-280 บาท หรือช่วงเวลาถูก คือราวๆ ช่วงหลังเดือนสิงหาคมเป็นต้นไป ที่พริกไทยออกเยอะ เป็นช่วงฤดูของพริกไทย ก็เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50-80 บาท แล้วราคาจะมาขยับสูงขึ้นอีกก็หลักร้อยบาทขึ้นไปในช่วงหน้าหนาว คือราวเดือนธันวาคมเป็นต้นไป”

ลุงแดง อธิบายเพิ่มว่า พริกไทยเป็นพืชที่ออกดอกติดผลแบบทะวายออกเกือบทั้งปี เฉลี่ยจะออกดอกติดผลราวๆ 5-6 รุ่น จะออกดอกต่อเมื่อมีการแตกยอดใหม่ แล้วหลังออกดอกได้สัก 1 เดือน ก็จะเริ่มเก็บเกี่ยวได้ หรือถ้าราคาไม่ดี เกษตรกรก็สามารถดึงเวลาไม่เก็บออกจากต้นก็ได้ พริกไทยสามารถอยู่บนต้นได้ 2-3 เดือน ทีเดียว แถมยิ่งเก็บช้าน้ำหนักก็ยิ่งดีด้วย
ถือเป็นข้อดีอีกอย่างของการปลูกพริกไทย เกษตรกรรอราคาที่พอใจก็จะเก็บได้ การขายลุงแดงจะขายแบบรวม ไม่คัดแยกเกรด ซึ่งพ่อค้าก็จะเอาไปคัดแยกเกรด เช่น ช่อยาว ช่อตรง เม็ดเต็มช่อ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
แต่สำหรับเกษตรกรจะขายแบบคละรวมจะดีกว่า หนึ่งลดขั้นตอน ผลผลิตถูกรับซื้อไปทั้งหมด

ระยะนี้จะมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกแก้วมังกรเฝ้าระวังการระบาดของโรคลำต้นจุดสีน้ำตาลและผลเน่า มักพบโรคในระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต จะพบแสดงอาการเริ่มแรกที่กิ่งอ่อนหรือผลอ่อนมีจุดสีเหลือง จากนั้นพัฒนาเป็นตุ่มนูนเล็กสีน้ำตาล คล้ายสีสนิมเหล็ก บางครั้งพบแผลสีเหลืองฉ่ำน้ำ หากอาการรุนแรงแผลจะเน่า ถ้าเป็นที่กิ่งจะทำให้เนื้อเยื่อตรงแผลหลุดเห็นเป็นรูหรือเว้าแหว่ง สำหรับผลที่มีอาการรุนแรง จะทำให้กลีบผลไหม้แห้งเป็นสีดำ และผลเน่าในที่สุด

สำหรับแนวทางในการป้องกันโรคลำต้นจุดสีน้ำตาลและผลเน่า ให้เกษตรกรเลือกใช้ต้นพันธุ์ที่แข็งแรงปลอดโรค และควรลดการให้ปุ๋ยไนโตรเจน เพราะแก้วมังกรเป็นพืชอวบน้ำ อาจทำให้พืชอ่อนแอเกิดการระบาดมากขึ้น จากนั้น ให้หมั่นสำรวจทำความสะอาดกำจัดวัชพืชโคนต้น เก็บกวาดเศษซากพืชส่วนที่เป็นโรคใต้ต้นออกไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ

หลีกเลี่ยงการตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคของพืชทำให้เกิดแผลน้อยที่สุด ซึ่งแผลจะเป็นช่องทางให้เชื้อสาเหตุของโรคเข้าทำลายพืชได้ง่าย อีกทั้งเกษตรกรควรล้างทำความสะอาดอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ทางการเกษตรต่างๆ ให้สะอาด และผึ่งแดดให้แห้งหลังการใช้งานทุกครั้งอยู่เสมอ เมื่อได้นำไปใช้กับต้นที่เป็นโรคในแปลงที่มีการระบาดก่อนนำกลับมาใช้ใหม่ในครั้งต่อไป

นอกจากนี้ เกษตรกรควรให้น้ำแก้วมังกรเฉพาะในช่วงเช้า หลีกเลี่ยงการให้น้ำในช่วงบ่ายหรือเย็น เพื่อช่วยลดการสะสมความชื้นในทรงต้นไม่ให้มีมากเกินไป กรณีระบาดมาก หลังจากตัดแต่งกิ่งเสร็จแล้วให้เกษตรกรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชโพรคลอราซ 45% อีซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารแมนโคเซบ 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารอะซอกซีสโตรบิน + ไดฟีโนโคนาโซล 20% + 12.5% เอสซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่นให้ทั่วต้น 2 ครั้ง ทุก 5-7 วัน ในระยะติดดอกพ่นอีก 2 ครั้ง ทุก 7 วัน และให้หยุดพ่นก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิตแก้วมังกรอย่างน้อย 15 วัน

“มะละกอ” จัดเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางอาหารสูง หาซื้อได้ง่ายและราคาไม่สูงมากนัก แต่เดิมคนไทยจะคุ้นเคยกับ “มะละกอพันธุ์แขกดำ” และ “พันธุ์แขกนวล” โดยพันธุ์แขกดำนำมาบริโภคได้ทั้งดิบและสุก ในขณะที่พันธุ์แขกนวลนิยมนำมาทำเป็นส้มตำ

ด้วยความที่ “ส้มตำ” นั้นเป็นที่นิยมของทั่วทุกภาพ ปัจจุบันเกษตรกรไทยเริ่มขยายพื้นที่ปลูกมะละกอพันธุ์ทานดิบอย่าง “ครั่ง” กันมากขึ้น เนื่องจากเป็นสายพันธุ์มะละกอไทยที่พัฒนาสายพันธุ์ขึ้นมาเพื่อบริโภคดิบ เพื่อนำมาทำส้มตำโดยเฉพาะ เนื้อกรอบและรสชาติอร่อยมาก

นอกจากนั้น ยังมีมะละกออีกหลายๆ สายพันธุ์ที่น่าจะเป็นทางเลือกใหม่สำหรับเกษตรกรที่คิดจะปลูกและบริโภค เช่น มะละกอ “ขอนแก่น 80” และมะละกอยักษ์ “เรดแคริเบี้ยน” เป็นต้น “มะละกอแขกดำศรีสะเกษ” สายพันธุ์มะละกอที่ดีพันธุ์หนึ่งของไทย เป็นมะละกอไทยอีกสายพันธุ์หนึ่งที่ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ กรมวิชาการเกษตร ได้รวบรวมพันธุ์มะละกอแขกดำจากจังหวัดราชบุรีและจังหวัดนครราชสีมา โดยได้นำเมล็ดมาปลูกในระหว่างปี พ.ศ. 2527-2533 เพื่อศึกษาและคัดเลือกสายพันธุ์แขกดำที่ให้ผลผลิตสูงและได้ตั้งชื่อสายพันธุ์ว่า “แขกดำศรีสะเกษ” ปัจจุบันมะละกอสายพันธุ์นี้มีการขยายพื้นที่ปลูกกันทั่วประเทศ เนื่องจากสามารถนำมาบริโภคได้ทั้งดิบและสุก

ลักษณะ ดีเด่นของมะละกอแขกดำศรีสะเกษ สมัคร Royal Online เป็นมะละกอที่ให้ผลผลิตดกและติดผลไว ถ้ามีการบำรุงรักษาที่ดีพอประมาณจะให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อต้น ประมาณ 50 กิโลกรัม/ปี และให้ผลผลิตสูงกว่ามะละกอแขกดำที่มีปลูกอยู่ทั่วไป (มีรายงานผลผลิตจากแปลงศึกษาและรวบรวมพันธุ์มะละกอแขกดำอื่นๆ โดยกรมส่งเสริมการเกษตร ผลผลิตได้เฉลี่ยเพียง 6-12 กิโลกรัม ต่อต้น/ปี เท่านั้น) นอกจากนั้น ยังพบว่ามะละกอแขกดำศรีสะเกษมีความบริสุทธิ์ของสายพันธุ์สูงกว่า

สำหรับลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของมะละกอแขกดำศรีสะเกษ จะเริ่มออกดอกเฉลี่ย 130 วัน หลังจากลงหลุมปลูก เมื่อมะละกอเริ่มติดผลแรกต้นจะมีความสูงประมาณ 1.50 เมตร และเก็บเกี่ยวผลดิบเมื่อผลมีอายุ ประมาณ 3-4 เดือน หลังจากดอกบาน และเก็บเกี่ยวผลสุกเมื่อผลมีอายุได้ 5-6 เดือน น้ำหนักผลเฉลี่ย 1.28 กิโลกรัม

เมื่อผ่าดูลักษณะภายในผลสุกจะมีเนื้อสีแดงอมส้ม ความหนาของเนื้อ 2.5 เซนติเมตร มีความหวานเฉลี่ย 10-13 องศาบริกซ์ คุณสมบัติพิเศษอีกประการหนึ่งของมะละกอ “แขกดำศรีสะเกษ” คือสามารถนำมาบริโภคได้ทั้งดิบและสุก นอกจากนั้น ยังปลูกเพื่อส่งขายโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปเป็นผลไม้กระป๋อง

“ครั่ง” มะละกอเพื่อใช้ทำส้มตำโดยเฉพาะ ลักษณะประจำพันธุ์ของมะละกอพันธุ์ครั่งมีดังนี้ “เมื่อต้นมะละกอมีอายุ 1-3 เดือน จะมีสีแดงอมม่วงอ่อนตามก้านใบและเป็นจุดๆ ตามลำต้น เมื่อต้นมีอายุได้ 5 เดือน สีที่ก้านและจุดประตามต้นจะหายไป เมื่อผลผลิตแก่จะมีความยาวของผลเฉลี่ย 47 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางผลเฉลี่ย 9 เซนติเมตร น้ำหนักผลเฉลี่ย 1.9 กิโลกรัม และมีจำนวนผลเฉลี่ย 38 ผล ต่อต้น

ลักษณะเด่นของมะละกอพันธุ์ครั่งเหมาะที่จะใช้เป็นมะละกอเพื่อการทำส้มตำ เนื่องจากเนื้อมีสีขาวขุ่น กรอบและหวาน ถ้าปล่อยให้ผลสุกเนื้อจะมีสีเหลืองอมส้ม รสชาติหวาน (เปอร์เซ็นต์ความหวานเฉลี่ย 12.7 องศาบริกซ์)

สรุป ลักษณะโดยภาพรวมของมะละกอพันธุ์ครั่งที่ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเกษตร จังหวัดมหาสารคาม (พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง) ได้คัดเลือกและพัฒนาสายพันธุ์ขึ้นมาใหม่ดังนี้

1. เนื้อของผลหนาประมาณ 2.15 เซนติเมตร มีความกรอบ เนื้อดิบสีขาวขุ่น (เนื้อไม่แข็งกระด้าง) รสชาติหวานเล็กน้อยแต่หวานกว่าพันธุ์แขกนวลซึ่งมีรสชาติจืด แม้จะมีการปลิดผลลงจากต้นแล้ว นานเป็นเวลา 5-7 วัน รสชาติของมะละกอยังคงสภาพความกรอบได้ดี

2. มะละกอพันธุ์ “ครั่ง” ยังคงมี 3 เพศ คือ ต้นกะเทย ต้นตัวผู้และต้นตัวเมีย เกษตรกรที่นำเมล็ดไปปลูกจะต้องมีการคัดเลือกต้นในแปลงอีกครั้งหนึ่ง แต่สำหรับผลผลิตมะละกอที่ได้จากต้นตัวเมียยังคงมีลักษณะของผลที่เป็นทรง ยาวอยู่ ไม่เหมือนกับมะละกอสายพันธุ์อื่นที่มีผลเป็นทรงกลม