รมช.มนัญญา กล่าวว่า สหกรณ์การเกษตรยั่งยืนแม่ทาจำกัด

ได้ให้ความสำคัญและความร่วมมือในการดำเนินการตามนโยบายต่างๆ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมถึงนโยบายที่สำคัญของกรมส่งเสริมสหกรณ์ด้วยดีเสมอมา สหกรณ์ฯ และชุมชน ได้ขับเคลื่อนนโยบายสำคัญ และงานเร่งด่วนตามนโยบายรัฐบาลได้หลายเรื่อง โดยเฉพาะโครงการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล (คทช.) ตั้งแต่ปี 2558 จำนวน 6 ชุมชน ใน 4 จังหวัด และชุมชนแม่ทาเป็นชุมชนแรกเริ่มในโครงการดังกล่าว ซึ่งสหกรณ์การเกษตรยั่งยืนแม่ทา จำกัด ได้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชุมชน

เพื่อสนองต่อโครงการ คทช. มาโดยตลอด โดยเฉพาะการส่งเสริมอาชีพให้แก่เกษตรกรสมาชิกในชุมชนให้มีความอยู่ดีกินดีอย่างพอเพียง และยั่งยืน ตามหลักและวิธีการของสหกรณ์ การรู้จักนำวิถีแนวคิดของคนรุ่นใหม่มาผสมผสานกับคนรุ่นเก่า การอยู่ร่วมกันแบบมีส่วนร่วม การจัดสรรปันส่วน และการควบคุมตามระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะแผนการส่งเสริมการเกษตรแบบอินทรีย์ในสหกรณ์ ซึ่งสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการด้านเกษตรอินทรีย์ พ.ศ. 2560-2565 โครงการ คทช. เป็นการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำหน้าที่เป็นคณะอนุกรรมการในด้านส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ มีหน้าที่จัดทำแผนการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพและการตลาด พัฒนาระบบสาธารณูปโภค รวมถึงคุณภาพชีวิตและการสร้างรายได้ในรูปแบบสหกรณ์หรือรูปแบบอื่นที่เหมาะสม

“โครงการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาลในพื้นที่ ตำบลแม่ทา อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ นับว่าเป็นพื้นที่ต้นแบบ ให้แก่พื้นที่โครงการ คทช.หลายๆ แห่ง ได้นำไปศึกษาและใช้แนวคิดของชุมชนแห่งนี้ไปปรับใช้ ส่วนหนึ่งของความสำเร็จ เกิดจากความเข้มแข็งของผู้นำชุมชน ความร่วมมือจากชาวแม่ทา และองค์กรทางเศรษฐกิจในชุมชน อย่างสหกรณ์ที่พยายามขับเคลื่อนร่วมกับชุมชนอย่างมีเอกภาพ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ระบบสหกรณ์ ยังคงมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของสมาชิกในชุมชนแห่งนี้ ให้ดียิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ และฝากความหวังไว้กับคนรุ่นใหม่ ให้ช่วยกันขับเคลื่อน ระบบเกษตรและการตลาดอินทรีย์ ที่สร้างความปลอดภัยต่อสุขภาพผู้คนในสังคม สร้างความมั่นคงทางรายได้ของคนในชุมชน ให้มีความเข้มแข็ง และยั่งยืน เพื่อให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติราชการ และวิสัยทัศน์ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปี 2565 คือ ภาคเกษตรมั่นคง เกษตรกรมั่งคั่ง ทรัพยากรเกษตรยั่งยืน ต่อไป” รมช.มนัญญา กล่าว

สำหรับพื้นที่ชุมชนบ้านแม่ทา อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ในโครงการจัดที่ดินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล มีพื้นที่รับมอบจากกรมป่าไม้ 2,323 แปลง 1,190 ราย รวมพื้นที่ 7,282 ไร่ คทช.จังหวัดอนุญาตให้ราษฎรเข้าทำประโยชน์ 1,374 ราย 2,693 แปลง พื้นที่ 5,586 ไร่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้ส่งเสริมสนับสนุน อาทิ การสนับสนุนเครื่องจักรและอุปกรณ์ ในปีงบประมาณ 2561 ในโครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของเกษตรกร (ไทยนิยม ยั่งยืน) ดังนี้ 1. อุปกรณ์ตัดแต่งผลลิตการเกษตร จำนวน 127,000 บาท 2. ห้องเย็นจัดเก็บผลผลิตการเกษตร จำนวน 400,000 บาท และ 3. ปรับปรุงอาคารรับซื้อผลผลิตการเกษตร จำนวน 369,500 บาท นอกจากนี้ ยังส่งเสริมด้านการผลิตพืชผักอินทรีย์ของชุมชน ทั้งในด้านการวางแผนการผลิต การวิเคราะห์สำรวจตลาด การสำรวจภาวะเศรษฐกิจ โดยให้สหกรณ์เป็นเจ้าของโรงเรือน และให้บริการไปยังสมาชิกชุมชน ทั้งที่เป็นสมาชิกและไม่เป็นสมาชิก โดยมี อบต.แม่ทา เป็นที่ปรึกษา ขณะนี้มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการ จำนวน 70 คน โดยตั้งแต่ปี 2558-2564 ที่ผ่านมา สหกรณ์สามารถบริการชุมชนในเรื่องของการส่งเสริมการปลูกพืชผักอินทรีย์ จำนวนทั้งสิ้น 158 ชนิด

ผู้เขียนได้มีโอกาสพบปะกับ คุณบูรณาการ ตาคำ หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า หมอส่ง ท่านเป็นบุคคลที่มีความรู้ที่ได้เรียนจบระดับปริญญาถึง 3 สาขา คือ สาธารณสุขศาสตร์ นิติศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์ มีความสามารถในด้านการเป็นวิทยากร พิธีกรในงานต่างๆ และมีประสบการณ์ในการทำงานสถานีอนามัย สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)

คุณบูรณาการ หรือ หมอส่ง เล่าให้ฟังว่า จากประสบการณ์ที่ทำงานกับชุมชน ชาวบ้าน และเกษตรกร พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกพืชเชิงเดี่ยวไว้เพื่อจำหน่าย นำเงินที่ได้จากการขายผลผลิตหรือจากการรับจ้างนำไปซื้อพืช ผัก ผลไม้ มาบริโภคในครัวเรือน ซึ่งโดยส่วนใหญ่เกษตรกรมีรายได้น้อยอยู่แล้ว และมีภาระค่าใช้จ่ายทั้งในการประกอบอาชีพ การศึกษาของลูกหลาน ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ทั้งยังต้องมาใช้จ่ายในเรื่องของการซื้อพืชผักผลไม้อีก ทั้งที่พืชผักผลไม้หลายชนิดเราสามารถปลูกไว้กินเองได้ ไม่ว่าจะปลูกไว้ในบริเวณหัวไร่ปลายนา บริเวณบ้าน ในกระถาง ในยางรถยนต์ ในกระบอกไม้ ฯลฯ แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่ยอมทำ จึงเป็นที่มาของภาระค่าใช้จ่ายที่มากกว่ารายได้ จึงเกิดเป็นภาระหนี้สิน

คุณบูรณาการ บอกด้วยว่า จากที่เขาเองเป็นลูกหลานเกษตรกร รู้ถึงสภาพปัญหาดังกล่าวเป็นอย่างดี เมื่อได้มีโอกาสเรียนถึงระดับปริญญา มีโอกาสได้ไปศึกษาดูงานในที่ต่างๆ มีโอกาสเป็นวิทยากรในการอบรมหลายเวที ประกอบกับความชอบอ่านหนังสือเป็นการส่วนตัว โดยเฉพาะหนังสือที่เกี่ยวข้องกับงานด้านเกษตร จึงนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้กับครอบครัว ด้วยการปลูกผักไว้กินในครัวเรือน สร้างเรือนเพาะชำไว้หน้าบ้าน ปลูกผักในกระถาง และน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) มาปฏิบัติ จึงได้รวบรวมแนวความคิดต่างๆ ส่งเสริมให้เพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมงาน และเกษตรกร นำไปปรับใช้ในครอบครัว ซึ่งการพูดอย่างเดียวอาจจะไม่พอ จึงต้องทำเป็นแบบอย่างที่ดี ให้เห็นได้ชัดเจนด้วย

ที่มาของบ้านสวนเกษตรผสมผสานแบบบูรณาการ “BURANAKARN MODE” มาจากชื่อของคุณ บูรณาการเอง จากเดิมที่ดินใช้ทำนา ซึ่งคุณแม่ได้แบ่งให้กับลูก 6 คน คนละ 1 ไร่ ตัวคุณบูรณาการเป็นลูกคนสุดท้อง เป็นเพียงคนเดียวที่ทำงานราชการ แต่มีความเป็นลูกเกษตรในสายเลือด จึงอยากทำเป็นแบบอย่างให้กับบุคคลโดยทั่วไป ในการจัดสรรและสรรค์สร้างที่ดินที่มีเพียง 1 ไร่ ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยวางแนวทางให้เหมาะสมกับสไตล์ของตัวเอง ที่ต้องทำงานราชการ ใช้เวลาที่ว่างจากการทำงานและงานกิจกรรมต่างๆ ในวันหยุด จึงเป็นที่มาของบ้านสวนเกษตรผสมผสานแบบบูรณาการ “BURANAKARN MODE”

“เกษตร 1 ไร่ ได้กิน ได้ใช้ ได้ความสุข การได้กิน คือ มีการเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ ปลา กบ เป็ด ไก่ สุกร พืชเกือบทุกต้นที่ปลูกสามารถใช้ทำเป็นอาหารได้ ไม่ว่าจะใช้กินใบ กินดอก กินผล กินหัว กินต้น ซึ่งตอนนี้ปลูกไปแล้วหลายชนิด ตัวอย่าง เช่น มะรุม มะพร้าว ฝรั่ง กล้วย อ้อย ไผ่ มะขามป้อม มะไฟ ขนุน มะม่วง ทับทิม มะนาว ชมพู่ ดอกแค เพกา มะเขือ ขิง ข่า ตะไคร้ ผักบุ้ง บัวบก ผักกูด ฯลฯ สามารถใช้ทำเป็นอาหารได้เกือบทุกชนิด ได้ใช้ คือ พืชจำพวกไผ่ ได้แก่ ไผ่จีนเขียวเขาสมิง ไผ่รวก ไผ่ซางคำ สามารถใช้ทำรั้ว จักสาน ทำเฟอร์นิเจอร์ กิ่งไม้ ใบไม้ ที่ได้จากการตัดแต่งกิ่ง สามารถใช้ทำฟืน ทำปุ๋ยหมัก ใช้คลุมดิน ได้ความสุข คือ ได้ปลูกบ้านหลังเล็กๆ ไว้สำหรับพักผ่อน คลายร้อน คลายเครียด การเลี้ยงสัตว์ การให้อาหารสัตว์ การปลูกไม้ดอกไม้ประดับ เกิดความสวยงาม ทำให้เกิดความสุขทางใจ การได้มีกิจกรรมการทำงานกับครอบครัว เป็นการสร้างครอบครัวให้อบอุ่น”

คุณบูรณาการ ฝากทิ้งท้ายไว้ว่า นี่คือแนวคิด ได้คิดและได้ทำ ตามรูปแบบที่คิดว่าน่าจะมั่นคงและยั่งยืน และยังคงต้องทำต่อไป เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในพื้นที่อันจำกัด นางสาวอุษา โทณผลิน ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 11 อุบลราชธานี (สศท.11) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า “ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์” นับเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ เนื่องจากอุตสาหกรรมอาหารสัตว์มีความต้องการสูง ซึ่งผลผลิตเกือบทั้งหมดได้นำมาใช้เป็นวัตถุดิบหลักในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารสัตว์อีกทั้งนโยบายภาครัฐมีโครงการส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดูทำนา เพื่อเป็นทางเลือกให้กับเกษตรกรในการปลูกพืชทดแทนการปลูกข้าวนาปรัง ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้มั่นคงมากขึ้น

สศท.11 ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเกษตรกรมีการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ รุ่น 2 (ข้าวโพดหลังนา) ปลูกช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ ของปีถัดไป และเก็บเกี่ยวผลผลิตช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน จากข้อมูลพยากรณ์ ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2565 คาดว่า ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รุ่น 2 (ข้าวโพดหลังนา) ปีเพาะปลูก 2564/65 มีเนื้อที่ปลูกรวม 65,383 ไร่ ลดลงจากปีที่ผ่านมาที่มีจำนวน 66,006 ไร่ (ลดลงร้อยละ 0.94) ผลผลิตรวม 53,281 ตัน ลดลงจากปีที่ผ่านมาที่มีจำนวน 53,465 ตัน (ลดลงร้อยละ 0.34) ทั้งนี้ เนื้อที่ปลูกและผลผลิตรวมลดลงเล็กน้อย เนื่องจากเกษตรกรบางส่วนมีการปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกพืชอื่น ประกอบกับช่วงกระทบแล้งฝนทิ้งช่วงและพบการระบาดของหนอนกระทู้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในบางพื้นที่ ส่งผลให้ผลิตบางส่วนเสียหาย ส่วนผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ร้อยละ 0.61 เนื่องจากเกษตรกรดูแลใส่ใจต้นข้าวโพดมากขึ้น

สำหรับต้นทุนการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รุ่น 2 (ข้าวโพดหลังนา) ปีเพาะปลูก 2564/65 เฉลี่ยอยู่ที่ 5,240 บาท/ไร่/รอบการผลิต ให้ผลผลิตเฉลี่ย 817 กิโลกรัม/ไร่ ราคาขายข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ความชื้น 14.50% เฉลี่ยอยู่ที่ 8.75บาท/กิโลกรัม เกษตรกรได้ผลตอบแทนเฉลี่ย 6,911 บาท/ไร่/รอบการผลิต คิดเป็นผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย (กำไร) 8,089 บาท/ไร่/รอบการผลิต ซึ่งในช่วงนี้เกษตรกรบางส่วนเริ่มทยอยเก็บเกี่ยวผลผลิตบ้างแล้วในบางพื้นที่ แต่ส่วนใหญ่อยู่ระหว่างรอการเก็บเกี่ยวผลผลิตที่จะออกเต็มที่ช่วงเดือนเมษายน เพื่อส่งจำหน่ายให้กับโรงงานรับซื้อที่ตั้งอยู่ในพื้นที่

ทั้งนี้ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นพืชทางเลือกที่น่าสนใจ โดยภาครัฐมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกมากขึ้น เนื่องจากเป็นพืชที่ใช้น้ำน้อยเพียง 450-500 ลูกบาศก์เมตร/ไร่ มีระยะเวลาเพาะปลูกสั้น 100-110 วัน และยังให้ผลตอบแทนสูงเมื่อเทียบกับการทำนาปรัง ซึ่งนอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงเรื่องน้ำในการเพาะปลูกแล้ว การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ยังช่วยตัดวงจรชีวิตของโรคและแมลงศัตรูข้าวได้ด้วย อย่างไรก็ตาม เกษตรกรควรรวมกลุ่มผลิต นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ เพื่อให้สามารถลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต รวมถึงเกษตรกรควรมีการวางแผนการผลิตให้ผลผลิตออกเป็นรุ่นอย่างต่อเนื่องควบคู่ไปด้วย เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของผู้รับซื้อ

นอกจากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ยังมีพืชทางเลือกอื่นๆ ที่น่าสนใจ ช่วยลดปริมาณการใช้น้ำและช่วยสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกร ในพื้นที่ อาทิ ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดฝักอ่อน เป็นต้น สามารถเพาะปลูกได้ทุกภูมิภาค

หากเกษตรกร หรือท่านที่สนใจข้อมูลสถานการณ์การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของจังหวัดอุบลราชธานี สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณขวัญชัย มูลปุ๊ก มีสวนตั้งอยู่เลขที่ 215 หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านเหล่า อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ซึ่งอยู่ติดกับอ่างเก็บน้ำแม่ปืม จึงไม่มีปัญหาเรื่องน้ำ ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดของการทำการเกษตรในทุกกิจกรรม แปลงนี้เคยปลูกมะละกอ ก็ได้ผลดีในระยะแรก จากนั้นก็มีปัญหาโรคจุดวงแหวน จึงเลิกปลูกไป มาพบกับสมุนไพรชนิดหนึ่งที่คนเหนือมักจะใช้เป็นเครื่องปรุงสำหรับการทำลาบเหนือ นั้นก็คือ ดีปลี ซึ่งเมื่อลงมือปลูกแล้วพบว่า ไม่เพียงแต่ใช้เป็นเครื่องปรุงลาบได้อร่อยแล้วยังพบว่า ใช้ประกอบเป็นเครื่องยาในหลายตำรับของยาแผนโบราณอีกด้วย

ชื่อวิทยาศาสตร์ Piper retrofractum Vahl ชื่อสามัญ long pepper วงศ์ Piperaceae ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้เถารากฝอย ออกบริเวณข้อเพื่อใช้ยึดเกาะ ใบเดี่ยวรูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 7-10 เซนติเมตร สีเขียวเข้มเป็นมัน ดอก ช่อ ออกที่ซอกใบ ดอกย่อยอัดกันแน่น แยกเพศ ผล เป็นผลสด มีสีเขียว เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดง รสเผ็ดร้อน

ส่วนที่ใช้ ราก เถา ใบ ดอก ผลแก่จัดแต่ยังไม่สุก หรือตากแดดให้แห้ง ลักษณะทั่วไปดีปลีเป็นไม้เลื้อยที่มีรากออกตามข้อและเกาะพันสิ่งอื่นได้ ส่วนของลำต้นค่อนข้างกลมและเรียบ มีทั้งต้นตัวผู้และต้นตัวเมีย ใบ เป็นแบบสลับ ตัวใบคล้ายรูปไข่ ขอบขนานหรือรูปไข่เรียว ปลายใบแหลม โคนใบมักมนกลมหรือแหลม เนื้อโคนใบสองข้างไม่เท่ากัน ผิวใบด้านบนมัน ใบมีขนาดกว้าง 3-8 เซนติเมตร ยาว 6-18 เซนติเมตร เส้นใบที่บริเวณโคนใบมี 3-5 เส้น ดอกออกเป็นช่อและออกตรงข้ามกับใบ ช่อรูปคล้ายทรงกระบอกปลายเรียวมน เมื่อเป็นผลมีรูปร่างค่อนข้างกลม ฝังตัวแน่นอยู่กับแกนช่อรูปทรงกระบอกปลายเรียวมน ยาว 2.5-7 เซนติเมตร เมื่อแก่จะมีสีแดงสด

ดีปลีมีการปลูกเชิงการค้ามาเป็นเวลานาน เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตยาแผนโบราณ มีทั้งการปลูกเป็นพืชหลักและการปลูกในสวนผลไม้เป็นพืชเสริม แหล่งผลิตสำคัญที่มีภูมิอากาศที่เหมาะสมและเป็นที่รู้จักของผู้ค้าสมุนไพร ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี นอกจากนี้ แหล่งผลิตอื่นๆ ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี นครปฐม และนครศรีธรรมราช ดีปลีเป็นพืชอายุหลายปี ดังนั้น ควรเลือกพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีความร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี เพื่อป้องกันโรครากเน่าโคนเน่าซึ่งเป็นปัญหาสำคัญ การใช้ค้างควรใช้ค้างที่มีความแข็งแรง มีอายุการใช้งานนาน เนื่องจากดีปลีมีอายุยืน

การเปลี่ยนค้างบ่อยเป็นการสิ้นเปลือง และทำให้ดีปลีชะงักการเจริญเติบโต ประการต่อไปที่ต้องคำนึงถึงคือจำนวนแรงงาน ดีปลีเป็นพืชที่ต้องการการดูแลมากพอสมควร ทั้งการให้น้ำ การใส่ปุ๋ย การกำจัดวัชพืช และการเก็บเกี่ยว ดังนั้น ควรมีแรงงานในครอบครัวหรือแรงงานจ้างเพียงพอที่จะสามารถดูแลจัดการได้ในทุกขั้นตอนการผลิต ประการสุดท้ายคือ การตากแห้งและการเก็บรักษา เป็นสิ่งสำคัญมากเพื่อให้มีคุณภาพดี ไม่มีเชื้อรา หรือมอดเข้าทำลาย ทำให้เสียคุณภาพ และขายได้ราคาต่ำ

สรรพคุณและวิธีใช้ แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และปวดท้อง แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน (เกิดจากธาตุไม่ปกติ) ใช้ดอกแก่ 1 กำมือ (ประมาณ 10-15 ดอก) ต้มเอาน้ำดื่ม ถ้าไม่มีดอกใช้เถาต้มแทนได้

แก้ไอและขับเสมหะ ใช้ดอกแก่แห้ง หรือช่อผลแก่แห้ง ประมาณ 0.5 ช่อ ฝนกับน้ำมะนาวแทรกเกลือกวาดคอ หรือจิบบ่อยๆ

สภาพพื้นที่เพาะปลูกที่เหมาะสม ดีปลีชอบดินร่วนไม่มีน้ำขัง มีอินทรียวัตถุมาก ทนความแห้งแล้งได้ดี ฤดูที่เหมาะสม คือต้นฤดูฝน พันธุ์และการขยายพันธุ์ ใช้เพาะเมล็ดหรือเถา ส่วนมากนิยมใช้เถา การเลือกพันธุ์ เลือกต้นพันธุ์ที่อายุ 1-2 ปี ที่สมบูรณ์ แข็งแรง ปราศจากโรคและแมลงทำลาย พันธุ์ที่นิยมปลูก พันธุ์พื้นเมือง

การปลูกดีปลี การเตรียมดิน การกำจัดวัชพืชและเศษวัสดุ ไถพรวน ตากดินประมาณ 7-15 วัน จากนั้นใส่ปุ๋ยคอกที่ย่อยสลายดีแล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน อัตรา 2 ตันต่อไร่ และควรใส่ปูนขาวเพื่อปรับความเป็นกรดด่างของดินให้มีค่า pH 5.5-6.5

การเตรียมพันธุ์ ใช้ยอดแก่ปลูก 3-4 ยอดต่อค้าง แทงบอลออนไลน์ ปักชำส่วนยอดให้รากเดินดีก่อน ยอดที่จะนำมาชำ ให้ใช้ยอดกระโดงหรือยอดที่แยกออกด้านข้าง ตัดต่ำกว่ายอดลงมา 5 ข้อ แล้วเอาดินเหนียวหุ้ม 2 ข้อล่าง เพื่อเพิ่มความชื้นให้แตกรากเร็วขึ้น ไม่เช่นนั้นจะเหี่ยวเฉา จากนั้นจึงนำยอดไปชำลงในถุงจนกระทั่งแตกรากแล้วจึงนำไปปลูก เกษตรกรอาจไม่เพาะชำกล้า แต่ใช้วิธีปลูกทันทีก็ได้ โดยตัดยอดดีปลีประมาณ 5 ข้อ แล้วนำไปปลูกติดกับเสาค้างเลย 3-5 ยอดต่อเสา ฝังลงดินประมาณ 3 ข้อ นำยอดทั้งหมดผูกติดกับเสาค้างเพื่อให้รากยึดเกาะที่เกิดขึ้นใหม่ เกาะติดกับเสาค้าง จากนั้นพรางแสงด้วยทางมะพร้าวประมาณ 2 สัปดาห์ ต้นดีปลีก็สามารถเจริญเติบโตได้โดยไม่ต้องพรางแสงอีกต่อไป เมื่อปลูกเสร็จแล้วควรมีการพูนโคนและทำร่องน้ำให้มีความลาดเอียงเล็กน้อยเพื่อให้น้ำไหลผ่านสะดวก

การปลูก ค้างที่ใช้ปลูกดีปลีเป็นค้างไม้หรือค้างปูนเช่นเดียวกับพริกไทย การเตรียมเสาค้าง เกษตรกรทั่วไปนิยมใช้เสาค้างไม้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10-15 เซนติเมตร เป็นไม้เนื้อแข็ง มีอายุการใช้งาน 10-20 ปี ซึ่งในอดีตสามารถหาได้ง่ายและมีราคาถูก การใช้ค้างไม้ ต้นดีปลีสามารถยึดเกาะได้เป็นอย่างดี แต่ปัจจุบันเสาค้างไม้หายากและมีราคาสูงทำให้เกษตรกรหันมาใช้เสาคอนกรีตสำหรับทำค้าง เสาคอนกรีตสี่เหลี่ยมขนาด 15×15 เซนติเมตร สูง 2.5 เมตร สามารถหาได้ง่าย แม้จะมีข้อเสียบ้างเมื่ออุณหภูมิสูงจะเก็บความร้อน ทำให้รากของดีปลีที่ใช้ยึดเกาะกับเสาค้างคอนกรีตไม่สามารถยึดเกาะได้ดีเท่าค้างไม้ เตรียมค้างไม้แก่นหรือเสาซีเมนต์ ขนาดประมาณ 4×4 นิ้ว ฝังลงดินให้สูงพ้นดินประมาณ 3-3.5 เมตร ระยะปลูก 1.20×1.20 เมตร ขุดหลุมขนาด 50x50x50 เซนติเมตร

ดินที่ใส่หลุมควรเป็นหน้าดินผสมปุ๋ยอินทรีย์ในอัตราส่วน ปุ๋ย : ดิน ประมาณ 1 : 5 ใช้ยอดพันธุ์ดีปลี ค้างละ 2 ยอด ให้อยู่ตรงข้ามกัน หรือปลูกด้านใดด้านหนึ่ง หลุมละ 2 ยอด เมื่อปลูกเสร็จบังแสงแดดด้วยทางมะพร้าว รดน้ำให้ชุ่มสม่ำเสมอทุกวัน มัดยอดให้ติดกับค้าง เมื่อยอดดีปลีเจริญขึ้นไปจนกว่าดีปลีจะขึ้นสุดค้าง ใช้เสาไม้แก่น หรือเสาซีเมนต์ หรือวัตถุอื่นๆ ที่ทนหลายปี ความยาวของเสา 4-5 เมตร ฝังลงดิน 0.5-1 เมตร เอาเถาดีปลีที่ชำจนแตกรากใหม่มีข้อและแตกยอดใหม่แล้วเกาะติดกับต้นเสา ในระยะแรกต้องใช้ลวดหรือเชือกช่วยยึดหลวมๆ ขึ้นไปตามลำดับ จนกว่าเถาดีปลีจะเกาะต้นเสาได้ดี จึงไม่ต้องใช้เชือกยึด

การบำรุงรักษา ในฤดูร้อนควรให้น้ำสม่ำเสมอ อย่าให้น้ำขังท่วมราก หากรากแช่น้ำข้ามคืนดีปลีจะตาย ใส่ปุ๋ยบ้างเพื่อให้ต้นแข็งแรงและผลดก

การดูแลรักษา การให้น้ำ ควรให้น้ำแบบน้ำหยด ประหยัดทั้งน้ำและแรงงาน ตลอดจนเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติงาน หรือการให้น้ำแบบหัวฉีด การใส่ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น มูลวัว มูลไก่ และปุ๋ยหมัก ปีละ 2 ครั้ง ช่วงต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝน เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของต้นดีปลีและเพิ่มผลผลิต

การกำจัดวัชพืช ใช้แรงงานคนถอนวัชพืชสม่ำเสมอ เพราะว่าดีปลีเป็นพืชที่ค่อนข้างอ่อนแอ

โรคและแมลง พบโรคแอนแทรกโนส โรคใบจุด แมลงจำพวกเพลี้ยแป้ง และด้วงงวง

การเก็บเกี่ยว ระยะเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม ดัชนีการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม คือเก็บเกี่ยวในระยะที่ผลแก่จัดเริ่มมีสีส้มแดงเรื่อๆ แต่ยังไม่สุก เนื้อแน่นแข็ง ไม่นิ่ม จะเป็นระยะที่ดีปลีมีกลิ่นฉุนจัดที่สุด ผลต้องไม่สุกแดงเกินไปหรือเขียวไป วิธีการเก็บเกี่ยว เก็บเกี่ยวผลเมื่อแก่จัดแต่ยังไม่สุก โดยการใช้กรรไกรตัดผลออกจากต้น ใส่ตะกร้าที่สะอาด ใน 1 กิ่งสามารถเก็บผลดีปลีได้ 2-3 ผลต่อครั้ง การเก็บเกี่ยวแต่ละรุ่นใช้ระยะเวลาห่างกัน 1-2 เดือน