รวมค่าใช้จ่ายในการประดิษฐ์ ประมาณ 960 บาท อุปกรณ์

ทั้งหมดสามารถหาได้ง่ายในท้องตลาดและราคาไม่สูง บางอย่างอาจไม่ต้องซื้อหาการปลูกข้าวด้วยเครื่องโรยข้าวงอก

เครื่องโรยข้าวงอกจะมีความกว้างประมาณ 2 เมตร สามารถโรยเมล็ดพันธุ์ข้าวได้ในคราวเดียวกันประมาณ 10 แถว แต่ละแถวมีระยะห่าง 20 เซนติเมตร ซึ่งในแต่ละแถวจะมีระยะการโรยตัวของกลุ่มเมล็ดพันธุ์ข้าวงอกห่างกัน ประมาณ 20 เซนติเมตร

อย่างไรก็ตาม จะต้องเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าวงอกก่อน จะต้องแช่เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ต้องการปลูก แช่น้ำ 1 คืนและบ่มไว้อีก 1 วัน เพื่อให้เมล็ดพันธุ์ข้าวงอกเพียงเล็กน้อย ก่อนปลูก

สำหรับต้นทุนการปลูก การปลูกข้าวด้วยเครื่องโรยข้าวงอก ในพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้เมล็ดพันธุ์ข้าว ประมาณ 7-8 กิโลกรัม และใช้แรงงานคนเพียง 1 คน เท่านั้น สามารถปลูกได้ประมาณ 4 ไร่ ต่อ 1 วัน การเตรียมดินเพื่อเพาะปลูกนั้น คุณเลียน อธิบายว่า การเตรียมดินในแปลงนาเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้เครื่องโรยข้าวงอกนั้น ปฏิบัติเช่นเดียวกับการเตรียมแปลงนา สำหรับหว่านน้ำตม เพียงแต่ต้องปรับระดับผิวนาให้สม่ำเสมอและระบายน้ำออกให้หมดก่อนโรยเมล็ดพันธุ์ข้าว แต่ผิวหน้าดินนายังต้องแฉะอยู่ด้วย การปลูกข้าวด้วยเครื่องโรยข้าวงอก มีค่าใช้จ่ายงบประมาณ 320 บาทต่อ 1 ไร่

เมื่อเทียบกับการปลูกด้วย หว่าน จะใช้เวลา ประมาณ 20 นาที ต่อพันธุ์ข้าว 15 กิโลกรัม ต่อ 1 ไร่ ประมาณ 438 บาท หรือปักดำด้วยแรงงานคน จะใช้เวลา 8 ชั่วโมง พันธุ์ข้าว 7 กิโลกรัม ต่อ 1 ไร่ ประมาณ 203 บาท ค่าแรงประมาณ 1,050 บาท

เกษตรกรท่านใดสนใจ เครื่องโรยข้าวงอก นวัตกรรมจากภูมิปัญญาชาวบ้าน สามารถติดต่อและสอบถามได้ที่ ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวสกลนคร เลขที่ 99 หมู่ที่ 8 ต.ม่วงไข่ อ.พังโคน จ.สกลนคร โทร. 0-4272-8517-8

สมัยอดีต ม้า เป็นสัญลักษณ์หนึ่งของสัตว์ที่ถูกนำมาเป็นพาหนะในการเดินทาง การขนย้าย และใช้ประโยชน์ในชุมชน ที่อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี แต่ละบ้านก็มีม้าไว้ใช้เป็นพาหนะเดินทางในอดีตเช่นกัน เมื่อเวลาล่วงเลยมาถึงยุคของคุณพ่อของคุณสนธยา สื่อออก เห็นประวัติการใช้ม้าในพุทธกาลเกี่ยวกับประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดกันมา คือประเพณีการบวช ให้นาคขึ้นหลังม้าไปที่โบสถ์ จึงนำมาเป็นประเพณีปฏิบัติสืบต่อกันมา แต่ก็ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย แม้กระทั่งในอำเภอบ้านโป่ง ก็มีเพียง 3-4 หลัง ที่นำม้าไปใช้ในงานประเพณีเช่นนี้

ยุคนั้น คุณพ่อของคุณสนธยา ไม่ได้รับเป็นเม็ดเงิน แต่ขอรับเป็นข้าวเปลือก 1 ถัง เงินหกสลึง และเหล้าขาว 1 ขวด ในการนำม้าไปช่วยงาน แต่ต่อมางานประเพณีมีว่าจ้างมากขึ้นเรื่อยๆ จนเข้าสู่ยุคที่คุณสนธยา เข้ามาดูแลแทนคุณพ่อ ก็มีผู้ใช้บริการเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จึงเริ่มให้เป็นเม็ดเงิน ซึ่งระยะแรกก็ตามแต่ศรัทธาของผู้ที่ขอให้นำม้าไปช่วยงาน ต่อมา จึงเริ่มคิดค่าใช้จ่ายเป็นตัวเลขที่แน่ชัด เพื่อให้เป็นมาตรฐาน

ปัจจุบัน มีการรวมกลุ่มของผู้เลี้ยงม้าในอำเภอบ้านโป่ง หลายกลุ่ม เพื่อรับงานประเพณีที่ต้องใช้ม้าเป็นส่วนประกอบ และยังมีจังหวัดอื่นๆ อีกหลายจังหวัด ที่สืบทอดประเพณีโบราณ นำม้ามาใช้ในงานพิธีต่างๆ โดยเฉพาะงานบวช แต่รูปแบบการใช้อาจแตกต่างกัน

กลุ่มของคุณสนธยา เป็นกลุ่มหนึ่งในอำเภอบ้านโป่ง ที่เป็นที่รู้จักมักคุ้น และมีชื่อเสียงโด่งดังไปไกลข้ามภาค เรียกได้ว่ากระจายไปทั่วประเทศ เพราะการควบคุมม้าให้อยู่ในระเบียบแบบแผน มีกฎเกณฑ์ของการนำม้ามาใช้ในงานประเพณีอย่างถูกต้อง และที่สำคัญ ไม่เคยมีสักครั้งที่ทำให้เสียงาน

คุณสนธยา บอกว่า การควบคุมให้ได้ตามที่ผู้ว่าจ้าง หรือเจ้าภาพงานนั้นๆ ต้องการ ขึ้นอยู่กับการฝึกม้าของเรา การควบคุมม้าให้อยู่ในสถานการณ์ที่ไม่อาจคาดคะเนได้ เพราะทุกงานมีโอกาสที่จะเกิดปัญหาได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะการควบคุมไม่ให้คนเข้ามาแหย่ม้า จะทำให้ม้าตกใจหรืออารมณ์เสีย จนทางเราไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้

“ก่อนรับงาน นอกเหนือจากค่าว่าจ้างที่ตกลงกันตามขอบเขตของงาน ระยะทางแล้ว ยังต้องทำความเข้าใจกับเจ้าของงานที่มาว่าจ้างก่อนว่า ต้องไม่ให้คนนอก คนเมา คนไม่สมประกอบ หรือคนที่ขาดสติเข้ามาใกล้ม้า มาแหย่ม้า เพราะจะทำให้ม้าตื่นตกใจ งานที่กำลังดำเนินไปด้วยดีอาจจะเสียได้”

การนำม้าออกรับงานต่างๆ คุณสนธยา บอกว่า ต้องเป็นม้าที่ผ่านมาฝึกมาแล้วเท่านั้น

ม้า ในกลุ่มของคุณสนธยา เป็นม้าลูกผสม นำเข้าม้าเทศมาจากต่างประเทศ นำมาผสมเข้ากับม้าไทยที่มีอยู่ คุณสนธยา บอกว่า ม้าลูกผสมที่ได้จะมีความอดทน ความแข็งแกร่ง ตามลักษณะของม้าไทย และได้โครงร่างสูงใหญ่ หนา เหมือนม้าเทศ เพราะลักษณะแบบม้าแกลบ ม้าแคระ การนำมาใช้งานประเพณีจะไม่ได้รับความนิยม

การผสมพันธุ์ม้า ต้องให้ม้าเพศเมียอายุมากกว่า 3 ปี ส่วนพ่อพันธุ์ควรมีอายุไม่ต่ำกว่า 4 ปี จึงจะผสมได้ หากต่ำกว่านั้นโอกาสได้ลูกม้าที่ไม่สมบูรณ์สูงมาก

การผสม ต้องสังเกตให้ม้าเพศเมียเป็นสัด แล้วจึงปล่อยม้าเพศผู้ไปอยู่ด้วยกันในคอก ม้าเพศเมียจะแสดงอาการอยากเข้าหาม้าเพศผู้ และถ้าม้าเพศเมียยอมให้ผสมแล้ว เราก็นำม้าเพศผู้ออกจากคอกได้ และนับจากวันที่ผสมไปอีกประมาณ 21 วัน หรือการเป็นสัดครั้งต่อไปของม้าเพศเมียตัวนั้น ให้นำม้าเพศผู้เข้าไปไว้ในคอกเดียวกัน หากม้าเพศเมียแสดงอาการอยากเข้าหาม้าเพศผู้ แสดงว่าการผสมครั้งที่ผ่านมาไม่ติด เพราะถ้าผสมติด ม้าเพศเมียจะไม่ยอมให้ม้าเพศผู้เข้าใกล้

การตั้งท้องของม้า อยู่ที่ 10 เดือนโดยประมาณ ม้าตกลูกครั้งละ 1 ตัว กรณีม้าแฝดพบ 1 ใน 100 และลูกม้าจะไม่แข็งแรง โอกาสตายทั้งคู่มีสูงมาก

เมื่อใกล้คลอด นมม้าจะตั้งเต้า ฐานนมจะกว้างมาก และมีน้ำนมหยด ให้นำเชือกที่ผูกหรือล่ามไว้ออก จากนั้นปล่อยไว้ในคอก ทำความสะอาดคอกให้ดี เมื่อถึงเวลาคลอด ม้าจะลงนอนบิดไปมา จากนั้นเมื่อคลอดก็จะเลียรกที่ออกมากับลูกม้า แม่ม้าจะทำความสะอาดเอง โดยไม่ต้องเข้าไปช่วย หลังคลอด ปล่อยให้ลูกม้าอยู่กับแม่ม้านาน 6 เดือน แล้วจึงแยกออก

อาหารปกติของม้า มีอาหารเม็ดสำเร็จรูป หญ้าแพงโกล่า หญ้าขน แคลเซียม

ม้าปกติ จะให้หญ้าสดวันละ 6 กิโลกรัม ต่อตัว อาหารเม็ดเช้าและเย็น ครั้งละ 1 กิโลกรัม ต่อตัว และให้มากให้ช่วงที่ม้าต้องฝึกหนักเพื่อเตรียมออกงาน ส่วนม้าตั้งท้อง จะให้อาหารเสริมเป็นแคลเซียมแขวนไว้ในคอก และให้อาหารเม็ดตลอดการตั้งท้อง เพื่อให้ได้วิตามิน โปรตีน และเกลือแร่ครบถ้วน

หญ้าสดจะต้องหามาให้ม้าทุกวัน ส่วนหญ้าแพงโกล่า เป็นหญ้าที่มีโปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ ครบถ้วน จึงให้สลับกัน เพราะม้ากินได้ทั้งวัน

การอาบน้ำม้าก็เป็นเรื่องจำเป็น ควรอาบทุกๆ 2 วัน ใช้แชมพูสระผมปกติ ช่วยให้ม้าสบายตัว หลังอาบเสร็จก็ปล่อยให้ม้าวิ่งเล่นนอกคอก

สำหรับโรคในม้า ก็มีเหมือนสัตว์อื่นทั่วไป แต่ไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวลมากสำหรับคนเลี้ยงม้า ยกเว้น โรคเอดส์ในม้า ซึ่งโรคนี้หากพบจะต้องทำลายม้าทิ้ง และสามารถตรวจพบได้โดยการเจาะเลือดตรวจ และควรตรวจทุกๆ 4 เดือน เพราะไม่มีวิธีรักษา นอกจากนี้ ยังมีโรคในม้าอีกชนิดที่เมื่อพบต้องทำลายทิ้ง คือ โรคเซอร่า ที่ม้าจะมีอาการป่วยไม่เกิน 3 วัน จากนั้นทิ้งตัวลงเสียชีวิตทันที

ลูกม้า หลังแยกจากแม่ม้าแล้ว ยังไม่เริ่มฝึก เพราะม้ายังเด็ก การเริ่มฝึกม้าต้องให้ม้ามีอายุไม่ต่ำกว่า 1 ปีครึ่ง เพราะกระดูกหลังและโครงสร้างอื่นยังแข็งแรงไม่เต็มที่ หากนำมาฝึก อาจทำให้เกิดปัญหาเรื่องกระดูกและโครงสร้างของม้าได้ การนำลูกม้าออกมาฝึก ต้องเริ่มจากนำมาสร้างความคุ้นเคยกับคนก่อน ด้วยการลูบคลำ สร้างความสนิทสนม เมื่อลูกม้าเริ่มเชื่อง ก็เริ่มนำยางในรถยนต์คล้องที่ขา ใช้เชือกผูกอ้อมด้านหลัง เพื่อดึงจากบริเวณกลางท้องขึ้นมาเป็นรูปตัววี เป็นการฝึกให้ม้ายกขาตามจังหวะกลองในแตรวง

จากนั้นเริ่มนำกระสอบทรายถ่วงบนหลังม้า ให้น้ำหนักทิ้งลงด้านข้างตัวม้า แต่ให้ม้ารู้สึกว่ามีน้ำหนักอยู่บนหลัง น้ำหนักของกระสอบทรายที่ใช้ ไม่ต่ำกว่า 50 กิโลกรัม ซึ่งเป็นน้ำหนักที่ใกล้เคียงกับน้ำหนักคน

การฝึกให้ม้าทำตามคำสั่ง ก็ขึ้นกับเทคนิคของแต่ละที่ เช่น การฝึกม้าให้นอน ทำโดยการใช้เชือกผูกขาหน้าข้างขวา แล้วดึงขึ้นมาให้ขางอ แล้วจับขาข้างซ้ายของม้า ใช้ไม้เคาะเบาๆ ที่หน้าแข้งซ้าย เพื่อให้ม้าคุกเข่าลง เมื่อม้าทำได้ ก็ค่อยๆ ต้อนขาหลังให้เอนลงไปนอน

การฝึกม้าแต่ละตัว ใช้ระยะเวลาแตกต่างกัน ขึ้นกับนิสัยม้า อย่างเร็ว 5-6 เดือนก็ฝึกได้ แต่บางตัวใช้เวลาเป็นปี คุณสนธยา บอกว่า ม้าแต่ละตัวมีนิสัยไม่เหมือนกัน และคนจับม้าหรือผู้ดูแลม้าก็อาจจะเข้ากับม้าได้ไม่ทุกตัวเช่นกัน ต้องลองให้จับหรือฝึก หากเข้ากันได้การฝึกจะไปได้รวดเร็วมาก แต่ถ้าเข้ากันไม่ได้ อาจต้องเปลี่ยนคนฝึกเลยทีเดียว

ในทุกเช้าจะปล่อยม้าออกไปวิ่งออกกำลังกายยังแปลงปล่อย ทำความสะอาดคอก เปลี่ยนน้ำ และให้อาหารไว้ หรือจับอาบน้ำก่อนนำมาฝึก บ่ายแก่ๆ นำกลับเข้าคอก

การรับงาน ต้องให้ม้ามีอายุไม่ต่ำกว่า 3 ปี และต้องฝึกให้มั่นใจว่าไม่เกิดปัญหาขณะอยู่ในงาน และสามารถควบคุมม้าได้เมื่อเกิดกรณีใดๆ ก็ตาม คุณสนธยา บอกว่า ในกลุ่มมีม้าจำนวนมาก นอกเหนือจากรับงานประเพณีแล้ว การว่าจ้างแสดงละคร ออกกองถ่ายก็ยังรับ และที่ผ่านมามีการว่าจ้างม้าจำนวนหลายสิบตัวเพื่อเข้าถ่ายภาพยนตร์หลายเรื่อง ก็ได้รับการไว้เนื้อเชื่อใจมาแล้ว และรับฝึกม้าด้วย แต่ก็ขึ้นกับม้าว่าตอบสนองได้ดีแค่ไหน อาจใช้เวลามากน้อยไม่เท่ากัน ดังนั้น ค่าฝึกจึงคิดตามระยะเวลาและความยากง่ายในการฝึก

หากท่านใดสนใจ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ไม่ได้ไกลเกินจะไปเยี่ยมชม คุณสนธยาและกลุ่ม พร้อมเปิดให้เข้าไปพูดคุย เพราะยังมีเรื่องของความเชื่อเกี่ยวกับการเลือกซื้อม้าตามแบบโบราณไทย ที่คุณสนธยา บอกว่า เป็นสิ่งที่คนเลี้ยงม้าควรรู้ แม้จะพิสูจน์ไม่ได้ว่าเป็นสิ่งที่ควรเชื่อหรือไม่ แต่ในฐานะคนไทย ก็ไม่ควรมองข้ามหรือละเลย

เข้าไปพูดคุยกันได้ แต่ขอให้โทรศัพท์นัดหมายก่อน เพราะในทุกวันมีกิจกรรมฝึกม้าและรับงานไว้ไม่เว้นแต่ละวัน

ติดต่อได้ที่ คุณสนธยา สื่อออก หมู่ที่ 9 บ้านคอกวัว ตำบลนครชุมน์ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี โทรศัพท์ (092) 620-2204 หรือ เข้าชมหน้าเฟซบุ๊ก ที่ อาชาแดนซ์ ทไวไลท์โชว์ ในตามตำราแพทย์แผนไทย มักจะบอกไว้เสมอว่า วัยชรา หรือปัจฉิมวัย จะเริ่มที่อายุ 32 ปี เป็นต้นไป โดยในวัยกลุ่มนี้ มักจะเริ่มมีปัญหาสุขภาพ โรคของความเสื่อมต่างๆ เพิ่มขึ้น ดังนั้น จึงควรเริ่มต้นดูแลสุขภาพเพื่อชะลอความเสื่อมต่างๆ ไว้ นอกจากนี้ ปัจฉิมวัย ยังเป็นช่วงวัยที่มีวาตะ (ธาตุลม) เป็นเจ้าเรือน คือจะมีคุณสมบัติแห้งและเย็นของวาตะจะแสดงผลอย่างชัดเจนในปัจฉิมวัยตอนปลาย คือ น้ำหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ จะแห้ง ผิวจะแห้ง ธาตุไฟจะอ่อนแรง การย่อยอาหารจะไม่ดี ทำให้มีอาการท้องอืดท้องผูกง่าย ทั้งยังมีอาการนอนไม่หลับ ความคิดสับสน เป็นต้น

ดังนั้น ยาบำรุงสำหรับผู้สูงอายุส่วนใหญ่ควรจะเป็นยาบำรุงธาตุ ซึ่งมักจะประกอบด้วยสมุนไพรที่รสเผ็ด อุ่น ฉุน หอม เพื่อช่วยย่อยอาหาร เช่น พริกไทย สมุนไพรที่มีรสขมเพื่อไปกล่อมตับทำให้ตับไม่ร้อนเกินไป สามารถทำงานในการสร้างไฟธาตุ (น้ำย่อย) ได้ปกติ เช่น ขมิ้น สมุนไพรเพื่อช่วยในการขับถ่าย เช่น สมอ สมุนไพรที่มีคุณสมบัติชุ่มชื้น เช่น มะตูม รากสามสิบ ยอ และมีสมุนไพรรสมันเพื่อไปชดเชยความแห้ง เช่น แห้วหมู ถ้าหากต้องการบำรุงสมรรถภาพทางเพศก็ควรเป็นยาบำรุงที่มีสมุนไพร อย่างกระชายรวมด้วย

ตัวอย่าง ตำรับยาอายุวัฒนะ ชะลอวัยไกลโรค

ตำรับที่ 1 : มะตูมแห้ง 1 ส่วน กล้วยน้ำว้าดิบตากแห้ง 1 ส่วน พริกไทย 2 ส่วน ผสมกันบดเป็นผง เวลาปั้นเม็ดใช้มะตูมแห้งต้มเคี่ยว เอาน้ำมาผสมกับยาผงในครกตำให้เข้ากันดีแล้วปั้นเป็นเม็ด เม็ดละ 500 มิลลิกรัม หรือจะใช้น้ำผึ้งผสมผงยาก็ได้ รับประทานครั้งละ 3 เม็ด ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ เช้า-เย็น บำรุงกำลัง ไม่อ่อนเพลีย ไม่เหนื่อยง่วง บำรุงประสาท กินประจำ จะไม่แก่เร็ว

ตำรับที่ 2 : รากสามสิบ 1 ชั่ง รากโคกกระสุน 1 ตำลึง บอระเพ็ด 15 ตำลึง ตำผงเอาน้ำผึ้ง 1 ตำลึง คลุกตั้งไฟให้สุก อย่าให้ไหม้ กินครั้งละหัวแม่มือทุกวัน กินแล้วมีกำลังดังหนุมาน งามดังพรามนะละเทพ มีปัญญาดังพระมโหสถ เสียงเพราะดังนกการเวก

ตำรับที่ 3 : หึ่งอากาศ (น้ำผึ้ง) พาดยอดไม้ (บอระเพ็ด) ไหง้ธรณี (แห้วหมู) หนีสงสาร (ผักเสี้ยนผี) ไปนิพพานไม่กลับ (ขมิ้น) อย่างละเท่าๆ กัน ทำเป็นลูกกลอนขนาดเท่าเมล็ดพุทราไทย กินครั้งละ 1-2 เม็ด เช้า เย็น

ตำรับที่ 4 : บอระเพ็ด 18 บาท กระเทียม 9 บาท เหง้ากระชาย 6 บาท พริกไทยล่อน 3 บาท ดีปลี 3 บาท ขิงแห้งหนัก 3 บาท แห้วหมู 3 บาท ยาดำ 3 บาท ย่านาง 3 บาท ลูกยอแห้ง 39 บาท นำทั้งหมดบดผงผสมน้ำผึ้ง นำมาปั้นเป็นลูกกลอนขนาดเท่าเมล็ดพุทราไทย กินครั้งละ 2 เม็ด เช้า เย็น กินแล้วไม่รู้จักเหนื่อย

ตำรับที่ 5 : บัวบก 1 กระเทียม 1 ลูกยอ 1 พริกไทย 1 ตำเป็นผง ผสมน้ำผึ้ง ปั้นเป็นลูกกลอน 2 เม็ด เช้า-เย็น เอามะตูมนิ่มตากแดดแห้ง 20 บาท กระชายตากแห้ง แห้วหมูตากแห้ง พริกไทยล่อน สิ่งละ 10 บาท รวมตำเป็นผงละลายน้ำผึ้ง ปั้นลูกกลอน กินแล้วไม่แก่เฒ่า ไม่มีโรค

ตำรับที่ 6 : ให้เอาลูกยอเท่ากับอายุตัวเอง พริกไทยหนักสองบาท ดีปลีหนักสองบาท แล้วเอาน้ำตาลทรายหนักหนึ่งกิโลกรัมเทลงไปในโหลเจ็ดวัน ให้กินวันละหนึ่งลูกจนกว่าจะหมด

ตำรับที่ 7 : บอระเพ็ด 7 ถ้วย กานพลูเท่าอายุ มะขามเปียกสด 5 ถ้วย ใบมะขามแขก 1 ถ้วย เกลือไทย 3 ถ้วย บดเป็นผงกินกับน้ำร้อน ครั้งละ 1 ช้อนชา เช้า-เย็น กินเป็นประจำร่างกายจะแข็งแรงปราศจากโรคภัยเบียดเบียน

ตำรับที่ 8 : ท่านให้เอาต้นเหงือกปลาหมอ หนัก 3 ตำลึง พริกไทยล่อน หนัก 1 ตำลึง หัวแห้วหมู หนัก 1 ตำลึง ตากให้แห้ง ตำผงละลาย ผสมน้ำผึ้ง กินหลังอาหารเย็น ทำให้ตาแจ่มใส่ บำรุงเส้นรักษาน้ำเหลือง

ตำรับที่ 9 : ท่านให้เอา พริกไทยล่อน แห้วหมู กระชาย บอระเพ็ด สิ่งละ 3 บาท ทำผง ละลายน้ำผึ้งกินดีนักแล ตำรับที่ 10 : ท่านให้เอาหัวแห้วหมู รากแจง สมอเทศ สมอไทย สมอพิเภก สมอดีงู กระเทียม ดีปลี ขิงแห้ง หัวข่าเล็ก บอระเพ็ด มะขามป้อม ยาขนานนี้ดีมาก ท่านให้สิ่งละเท่าๆ กัน ทำเป็นยาผง ละลายน้ำผึ้งเป็นกระสาย กินหลังอาหารเย็น ยาขนานนี้ คนอายุ 30 ปีขึ้นไป ก็กินได้ นอกจากนั้น คนที่ท้องผูกก็ดีมาก เพราะมันมีการระบายน้อยๆ

ตำรับที่ 11 : แห้วหมู กระชาย พริกไทย หนักสิ่งละ 5 ตำลึง ต้มตากแดดตากน้ำค้างกินเช้าเย็น หรือจะปั้นเม็ดกินกับน้ำผึ้งก็ได้ ตำรับที่ 12 : รากสามสิบหนัก 600 กรัม บอระเพ็ดหนัก 600 กรัม ใบหนาดหนัก 600 กรัม ใบมะตูมหนัก 600 กรัม ยาทั้งหมดตากแดดให้แห้งแล้วบดเป็นผง ผสมน้ำผึ้งเดือนห้ากิน เป็นยาอายุวัฒนะแล

พลังงาน เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ในยุคนี้ และนับวันจะมีราคาแพงขึ้น และการใช้ก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์จึงเป็นพลังงานทดแทนที่น่าสนใจ

เช่น คุณสุภีร์ ดาหาร ผู้ใหญ่บ้านบ้านหนองโข่ย หมู่ 19 ต.ท่าพระ อ.เมือง จ.ขอนแก่น ผู้ใหญ่สุภีร์ เล่าให้ฟังว่า มีพื้นที่ประมาณ 5 ไร่ ทำฟาร์มเห็ดเป็นหลัก โดยผลิตก้อนเชื้อเห็ดหลากหลายชนิดออกจำหน่าย ได้แก่ เห็ดโคนญี่ปุ่น (เห็ดยานางิ) ก้อนละ 12 บาท เห็ดบด เห็ดขอนขาว และเห็ดเป๋าฮื้อ ก้อนละ 8 บาท เห็ดนางฟ้า-นางรม ก้อนละ 7 บาท ส่วนดอกเห็ดโคนญี่ปุ่น กิโลกรัมละ 200 บาท เห็ดบด กิโลกรัมละ 100 บาท เห็ดขอนขาวและเห็ดเป๋าฮื้อ กิโลกรัมละ 80 บาท เห็ดนางฟ้า-นางรม กิโลกรัมละ 60 บาท นอกจากนี้ยังทำกิจกรรมลักษณะไร่นาสวนผสมได้แก่ ปลูกมะม่วง ไผ่ ชะอม มะละกอ เลี้ยงกบในบ่อซีเมนต์ ปลาดุกในบ่อซีเมนต์ การผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากก้อนเชื้อเห็ด มีรายได้หมุนเวียนตลอดปี

ที่ฟาร์มแห่งนี้ ใช้เป็นที่ทำการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลท่าพระ เป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการเพาะเห็ด การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งแต่ละเดือนจะมีการจัดอบรมเกษตรกรและเป็นแหล่งศึกษาดูงาน และยังจัดประกอบอาหารเลี้ยงผู้เข้าอบรมและศึกษาดูงานอีกด้วย ซึ่งต้องใช้ก๊าซในการหุงต้มเดือนละประมาณ 1 ถังประกอบกับในการทำก้อนเชื้อเห็ดต้องนึ่งฆ่าเชื้อวันละหลายชั่วโมงหมดก๊าซเดือนละประมาณ 8 ถัง รวม 9 ถังต่อเดือนคิดเป็นเงินประมาณ 2,700 บาท

จากปัญหาดังกล่าว จึงคิดจะลดต้นทุนโดยการผลิตผลิตก๊าซชีวภาพแบบบอลลูนใช้ในฟาร์มเนื่องจากทำง่ายและประหยัด มูลค่าวัสดุและค่าก่อสร้างรวมประมาณเพียง 5,500 บาท ทำได้ ดังนี้

การเตรียมสถานที่/ก่อสร้าง 1.เตรียมสถานที่กว้าง 4 เมตร ยาว 6 เมตร มุงหลังคาด้วยซาแรน

2.ขุดหลุมขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 4 เมตร ลึก 50 เซนติเมตรนำดินที่ขุดขึ้นมาทำเป็นคันดินรอบขอบบ่อ

3.นำถุงพลาสติกสีดำขนาดใหญ่วางลงหลุมในแนวนอนตามความยาวของหลุม ด้านปากถุงเป็นทางเข้าของมูลสัตว์หรือวัสดุหมัก โดยทำถังซีเมนต์ต่อกับท่อพีวีซีมัดปากถุงให้แน่นสนิท ส่วนด้านก้นถุงต่อท่อพีวีซีมัดกับถุงดำพร้อมกับขุดขุมฝังท่อซีเมนต์เพื่อรองรับมูลสัตว์ที่ผ่านการหมักแล้ว ซึ่งเมื่อวางถังหมักแบบบอลลูนแล้วจะเห็นถุงดำหรือถังหมักโผล่พ้นดินประมาณ 2 ใน 3 ส่วน ด้านบนของถังหมักให้เจาะรูแล้วใส่ท่อเพื่อลำเลียงก๊าซไปยังครัวหรือสถานที่ที่จะหุงต้ม

การปฏิบัติและการใช้งาน

1.เติมมูลสัตว์ครั้งแรกประมาณ 1,000 ก.ก.โดยผสมน้ำอัตราเท่าๆกันใส่ลงในท่อซีเมนต์ ซึ่งมูลสัตว์จะไหลลงถังหมัก ใช้เวลาประมาณ 7-10 วันก็เกิดก๊าซ สามารถใช้หุงต้มได้ ละ

2.หลังจากนั้นให้เติมมูลสัตว์ 2 วัน/ครั้งๆละ 1 ถังสีโดยผสมน้ำเท่ากันเทลงในถัง หรือหากไม่มีมูลสัตว์ก็ใช้เศษอาหารที่เหลือจากการประกอบเลี้ยงผู้เข้าอบรมก็ได้ โดยผสมน้ำอัตรา 1:1 คนให้เข้ากันแล้วเทใส่ลงไป

การปรับใช้กับการนึ่งก้อนเชื้อเห็ด จะต้องนึ่งประมาณ 3 ชั่วโมง โดยชั่วโมงแรกจะใช้ก๊าซถังเพราะต้องใช้กำลังไฟค่อนข้างสูง แต่หลังจากอุณหภูมิได้ที่แล้ว (ประมาณ 90 องศาเซลเซียส) ปรับมาใช้ก๊าซชีวภาพแทน