รองประธานทุเรียนแปลงใหญ่จังหวัดจันทบุรี กล่าวว่า เห็นด้วยกับ

ปัญหาทุเรียนอ่อนที่มาจาก 3 กลุ่ม คือ ชาวสวน พ่อค้า และโรงคัดบรรจุ ทุกวันนี้อาชีพหลักชาวสวนจันทบุรี ปลูกพืชเศรษฐกิจ ทุเรียน เงาะ มังคุด ลำไย ซึ่งต้องหันมาพัฒนาคุณภาพ อย่างเช่น ทำ GAP ซึ่งเกษตรกรต้องพัฒนาให้ผลผลิตมีคุณภาพ มีการจดบันทึกข้อมูลทุกขั้นตอนการผลิต เกษตรกรจะใช้เชือกแยกสีโยงทุเรียนแต่ละรุ่น แล้วยังมีการจดบันทึกอย่างละเอียด และดูแลในช่วงเก็บผลผลิต

เชื่อว่าเกษตรกรจะไม่ตัดทุเรียนอ่อนแน่นอน แต่เกษตรกรยังคงประสบปัญหาทุเรียนอ่อนในช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวมาตลอดทุกๆ ปี บางครั้งมีเหตุสุดวิสัยปัญหาภัยธรรมชาติ ทุเรียนจะได้รับความเสียหาย ทุเรียน 1 ไร่ 25 ต้น มูลค่าประมาณ 500,000 บาท ในขณะที่รัฐบาลจ่ายเงินชดเชยให้ ไร่ละ 1,690 บาท ไม่คุ้มทุน จึงสมยอมร่วมมือกับพ่อค้าตัดทุเรียนอ่อนที่ได้รับความเสียหาย หรือตัดเพราะราคาทุเรียนจูงใจ จึงเป็นเรื่องของจิตสำนึกของเกษตรกรที่ต้องช่วยกันปลูกฝัง

ส่วนพ่อค้าคนกลางที่มาเหมาทุเรียน มือตัดไม่มีความรู้ ความชำนาญ หรือต้องการความรวดเร็ว บางครั้งตัดหมดทั้งต้นที่เรียกว่า “คว่ำหนาม” จึงมีทุเรียนอ่อนติดไปอย่างแน่นอน ตรงนี้มือตัดต้องผ่านการอบรมและขึ้นทะเบียนมีใบรับรอง เพราะคนไม่ได้มีอาชีพปลูกทุเรียน จะตัดทุเรียนโดยไม่มีความรู้ไม่ได้ ส่วนโรงคัดบรรจุหากได้รับมาตรฐาน GMP จะคัดคุณภาพทุเรียนได้ค่อนข้างดี หรือถ้ามีมือตัดเองต้องขึ้นทะเบียนมีใบรับรองเช่นกัน แต่ยังมีล้งรับซื้อที่ไม่ได้มาตรฐาน GMP ทำตัวเหมือนพ่อค้าคนกลางรับซื้อ รับเหมาทุเรียนไปส่งโรงคัดบรรจุส่งออก จะเน้นปริมาณและมีทุเรียนอ่อนติดไป เมื่อโรงคัดบรรจุคัดออกจะนำไปขายให้แผงค้าส่ง ค้าปลีก

เจอทุเรียนอ่อน แจ้งความเอาผิดได้

พ.ต.อ. นิพนธ์ พูลสวัสดิ์ ผู้กำกับการ (สอบสวน) กลุ่มงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรจังหวัดจันทบุรี กล่าวว่า การตัดการขายทุเรียนอ่อน ด้อยคุณภาพ มีกฎหมายควบคุมอยู่หลายฉบับ คือ พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 47 จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 271 ผู้ใดโดยเจตนาหลอกลวงขายสินค้าเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดคุณภาพ มีความผิดอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือ มาตรา 341 จำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ มาตรา 343 จำคุกไม่เกิน 5 ปีปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ ทั้งนี้ ผู้ซื้อทุเรียนอ่อนต้องแจ้งความกับสถานีตำรวจในท้องที่เพื่อเอาผิดกับผู้ขาย ที่ผ่านมาจังหวัดจันทบุรีได้รับแจ้งความและดำเนินคดีแล้ว เมื่อปี 2558 มีส่งฟ้องศาลลงโทษปรับ 3,000 บาท จำคุก 2 เดือน แต่ศาลปรานีรอลงอาญา และที่จังหวัดระยอง แผงทุเรียนถูกจำคุก 15 วัน ซึ่งน่าจะเป็นการปรามได้ แต่ยังคงมีอยู่ ขอร้องพ่อค้าแม่ค้าอย่ารับซื้อทุเรียนอ่อนมาขาย เจ้าของสวนจะต้องรักษาคุณภาพสินค้า อย่าปล่อยให้พ่อค้าตัดทุเรียนอ่อนออกสู่ตลาด

คุณเมรินี โมรมัต ผู้อำนวยการกลุ่มกำกับและพัฒนาเศรษฐกิจการค้า สำนักงานพาณิชย์จังหวัดจันทบุรี กล่าวว่าผู้บริโภคมีสิทธิที่ได้รับไม่ให้ถูกเอาเปรียบ ตาม พ.ร.บ. ควบคุมสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 ผู้ประกอบการรับซื้อต้องแสดงราคา สินค้าเกษตร แยกชนิด ขนาด เพื่อให้เกษตรกรได้เปรียบเทียบราคา และตัดสินใจว่าผลผลิตที่มีคุณภาพจะขายให้ล้งไหน และเกษตรกรควรเน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ จะได้ราคาดี ทำให้รายได้คุ้มค่า ส่วนผู้ค้าปลีกควบคุมให้แสดงราคาจำหน่ายตามคุณภาพ ให้ผู้บริโภคได้มีสิทธิเลือกบริโภค เลือกสินค้าคุณภาพ ป้องกันการฉวยโอกาสขึ้นราคา ทั้งนี้มีบทลงโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท ต่อความผิด 1 ครั้ง หากพบเห็นผู้ค้าเอาเปรียบ แจ้งสายด่วน 1569

“ปัญหาทุเรียนอ่อน” จะเป็นทางตันหรือไม่ ผู้บริโภคและผลการจับกุมจะเป็นคำตอบ พืชทุกชนิดที่ปลูกจำเป็นต้องได้รับน้ำใช้อย่างพอเพียงจึงจะทำให้งอกงามเจริญเติบโตสมบูรณ์ แต่เมื่อปี 2562 ทุกพื้นที่ทั่วประเทศไทยฝนตกน้อยมาก ทำให้เขื่อน อ่างเก็บน้ำ แม่น้ำหรือลำคลอง มีปริมาณน้ำน้อยตามไปด้วย กรมส่งเสริมการเกษตรจึงได้วางมาตรการ/โครงการช่วยเหลือเกษตรกรฤดูแล้ง ปี 2562/63 โดยให้เกษตรกรปลูกพืชอายุสั้นใช้น้ำน้อยที่ได้ผลตอบแทนดีกว่า หรือแปรรูปผลผลิตเกษตร ทำงานหัตถกรรม หรือทำงานวิสาหกิจชุมชน เพื่อเป็นการยกระดับรายได้นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตให้มีความมั่นคง

คุณทวี มาสขาว รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เล่าให้ฟังว่า เมื่อปี 2562 ประเทศไทยเกือบทุกพื้นที่มีฝนตกน้อยมาก ทำให้แหล่งกักเก็บน้ำหลายแห่งมีปริมาณน้ำลดลงไปกว่าปีที่ผ่านมา แม่น้ำหรือลำคลองบางแห่งปริมาณน้ำก็แห้งขอด ส่งผลกระทบต่อการผลิตการเกษตรในหลายด้าน กรมส่งเสริมการเกษตรจึงได้วางมาตรการ/โครงการช่วยเหลือเกษตรกรในสถานการณ์ฤดูแล้ง ปี 2562/63 ไว้ 8 มาตรการ ดังนี้

การเฝ้าระวังน้ำเค็มรุก 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครปฐม สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ ราชบุรี กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และฉะเชิงเทรา ดำเนินการช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2563 ลักษณะโครงการเป็นการสำรวจพื้นที่เสี่ยง แจ้งเตือนข่าวสารสถานการณ์แล้งขาดแคลนน้ำ เยี่ยมเยียน ติดตามให้คำแนะนำทางวิชาการในการดูแลรักษาสวน การให้น้ำ ลดการใช้ปุ๋ย เพื่อป้องกันความเค็มที่จะสร้างความเสียหายแก่พืช แนะนำเกษตรกรให้รักษาความชื้นในแปลง เช่น ลอกดินเลนในร่องสวนมาปิดบนแปลงหรือโคนต้น การใช้วัสดุคลุมดินรักษาความชื้นเพื่อช่วยประหยัดน้ำ หรือทำการตัดแต่งกิ่ง

การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ ให้เกษตรกรร่วมใจรับมือภัยแล้ง ดำเนินการเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2563 พื้นที่ 77 จังหวัด เป็นการสร้างการรับรู้ทุกด้านเพื่อรับมือกับภัยแล้ง ด้วยการจัดทำสื่อบอกสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับภัยแล้ง สร้างการรับรู้ในการช่วยเหลือต่างๆ ของโครงการรัฐ วิธีปรับตัวการดูแลรักษาพืชช่วงฤดูแล้ง การสำรองน้ำ การใช้น้ำอย่างประหยัด ระวังป้องกันสถานการณ์น้ำเค็มหรือปฏิบัติตามแผน การนำเสนอกรณีเกษตรกรตัวอย่างในพื้นที่ที่ประสบความสำเร็จในการรับมือกับภัยแล้ง หรือเผยแพร่ข้อมูลวิชาการผ่านช่องทางสื่อต่างๆ

ให้เกษตรกรเข้าถึงข้อมูลและบริการของรัฐ รวมทั้งการปฏิบัติตามสถานการณ์แล้ง
โครงการบูรณาการกิจกรรมและความร่วมมือในพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำนอกเขตชลประทานเพื่อส่งเสริมการสร้างรายได้แก่เกษตรกร ดำเนินการช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2563 พื้นที่ 77 จังหวัด ลักษณะโครงการเป็นการบูรณาการโครงการ/กิจกรรม ปี 2563 ในรูปแบบการพัฒนางานส่งเสริมการเกษตรเชิงพื้นที่จากงบประมาณปกติ หรืองบประมาณในพื้นที่ที่มาสนับสนุนให้เกษตรกรมีอาชีพเสริมเพื่อให้มีรายได้ช่วงฤดูแล้ง เช่น การหัตถกรรม แปรรูปผลผลิตเกษตรหรือวิสาหกิจชุมชน ให้ความรู้การปรับตัวในภาวะแล้งและพิจารณาต่อยอดโครงการตามความต้องการของชุมชนเดิม โดยดำเนินการในพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ ดังนี้

พื้นที่พืชฤดูแล้งที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำนอกเขตชลประทาน 20 จังหวัด 54 อำเภอ 109 ตำบล พื้นที่ไม้ผลนอกเขตชลประทานที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร 30 จังหวัด 207 อำเภอ 1,068 ตำบล

ได้แจ้งเตือนเกษตรกรให้ทราบสถานการณ์ ติดตามเยี่ยมเยียน สร้างการรับรู้ และแนะนำข้อควรปฏิบัติ

– พื้นที่พืชฤดูแล้งที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ 20 จังหวัดและพื้นที่อื่นๆ ไม่ปลูกพืชฤดูแล้งเกินแผน ให้ใช้น้ำอย่างประหยัดและรู้คุณค่า

– พื้นที่ไม้ผลเสี่ยงขาดแคลนน้ำ 30 จังหวัด ให้คำแนะนำการดูแลรักษาสวนไม้ผล เช่น การใช้วิธีเขตกรรม ประสานการช่วยเหลือจากหน่วยงานที่จะให้การสนับสนุนแหล่งน้ำ

โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลายฤดูนาปรัง ปี ..ดำเนินการเดือนพฤศจิกายน 2562-พฤษภาคม 2563 พื้นที่ 24 จังหวัด ได้ส่งเสริมและขยายผลพื้นที่การปลูกพืชหลากหลายและใช้น้ำน้อยในช่วงฤดูแล้งทดแทนการทำนาปรัง และเชื่อมโยงกับระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ สนับสนุนการเชื่อมโยงตลาด จัดทำแปลงเรียนรู้ พัฒนาความรู้จากเจ้าหน้าที่และเกษตรกร

5. โครงการส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อยเพื่อสร้างรายได้แก่เกษตรกร (แผนปฏิบัติการฟื้นฟูเยียวยาเกษตรกรผู้ประสบภัยฝนทิ้งช่วงและอุทกภัย ปี 2562) พื้นที่ 39 จังหวัด ส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อยเพื่อสร้างรายได้แก่เกษตรกรผู้ประสบภัย และดำเนินการในช่วงฤดูแล้งปี 2562/63 ได้สนับสนุนเป็นเงินเพื่อซื้อเมล็ดพันธุ์ ซึ่ง ธ.ก.ส.จะโอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรสำหรับการปลูกพืชใช้น้ำน้อย ดังนี้

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ให้เกษตรกร 100,000 ครัวเรือน พื้นที่ 1 ล้านไร่ อัตราไร่ละ 245 บาท

– ถั่วเขียว ให้เกษตรกร 50,000 ครัวเรือน พื้นที่ 0.4 ล้านไร่ อัตราไร่ละ 200 บาท

6. โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูทำนา ปี 2562/63 ดำเนินการเดือนธันวาคม 2562-พฤษภาคม 2563 พื้นที่ 27 จังหวัด ลักษณะโครงการเป็นการส่งเสริมความรู้การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดูการทำนาอย่างถูกต้องให้กับเกษตรกรในช่วงฤดูแล้ง ปี 2562/63 เชื่อมโยงการตลาดเครือข่ายผู้รับซื้อผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดูทำนาให้เกิดการกระจายการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในช่วงฤดูแล้งเพื่อนำมาผลิตเป็นอาหารสัตว์เพิ่มมากขึ้น เพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ

7. การถ่ายทอดความรู้และการจัดวันสาธิตในพื้นที่ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ดำเนินการเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2563 พื้นที่ 77 จังหวัด จัดเป็นวันถ่ายทอดเทคโนโลยี (Field Day) ให้กับเกษตรกรในพื้นที่แล้งทั่วประเทศ 882 ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ด้วยการปรับหลักสูตร เพิ่มเนื้อหาองค์ความรู้ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ภัยแล้ง เช่น การใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า การดูแลรักษาพืชด้วยวิธีเขตกรรม การทำอาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้ในช่วงฤดูแล้ง เช่น การแปรรูป ถนอมอาหารหรือหัตถกรรม การปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมวันสาธิตเริ่มต้นฤดูการผลิตใหม่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ภัยแล้ง

8. โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ ดำเนินการเดือนมกราคม-มีนาคม 2563 พื้นที่ 77 จังหวัด เป็นการนำวิชาการจากหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าไปบริการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ที่จะต้องได้รับการแก้ไขโดยหน่วยงานจัดเจ้าหน้าที่ องค์ความรู้ เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์เข้าไปบริการในพื้นที่ และประชาสัมพันธ์นัดหมายเกษตรกรให้มารับบริการ โดยเน้นหนักการรับมือกับสถานการณ์แล้ง แจ้งสถานการณ์และวิธีการปรับตัว รวมทั้งความช่วยเหลือ เช่น เทคนิคการใช้น้ำอย่างประหยัด ช่องทางรับการช่วยเหลือเรื่องแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร การรักษาความชื้นในแปลงโดยการผลิตและใช้วัสดุคลุมดิน การป้องกันกำจัดศัตรูพืชในช่วงฤดูแล้ง

คุณทวี เล่าให้ฟังในท้ายนี้ว่า กรมส่งเสริมการเกษตรได้สั่งการให้สำนักงานเกษตรจังหวัด สำนักงานเกษตรอำเภอ ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรทราบสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง และจัดทีมฝ่าวิกฤตแล้งเพื่อเป็นหน่วยเคลื่อนเร็วลงพื้นที่ ตรวจติดตาม เยี่ยมเยียน สร้างการรับรู้ ให้คำแนะนำทางวิชาการในการดูแลรักษาพืชช่วงฤดูแล้ง การแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกรในพื้นที่ และประสานกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกร

การที่เกษตรกรตื่นตัวปลูกพืชอายุสั้นที่เหมาะสมกับพื้นที่เพื่อสู้วิกฤตน้ำน้อย หรือการปรับเปลี่ยนมาแปรรูปผลผลิตการเกษตร การหัตถกรรมหรือทำกิจกรรมวิสาหกิจชุมชน ก็เป็นไปตามมาตรการ/โครงการช่วยเหลือเกษตรกรในสถานการณ์ฤดูแล้ง ปี 2562/63 ที่กรมส่งเสริมการเกษตร ใช้เป็นแนวทางแก้ปัญหาเพื่อช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เงินแสนบาทในช่วงฤดูแล้งนี้ สอบถามข้อมูลเพิ่มได้ที่สำนักงานเกษตรจังหวัด หรือสำนักงานเกษตรอำเภอ ในพื้นที่ก็ได้นะครับ

“แก้วมังกร” หรือ Dragon fruit เป็นพืชในตระกูลแค็กตัสหรือสกุลหนึ่งของกระบองเพชร เป็นพืชไม้เลื้อย มีพื้นเพดั้งเดิมอยู่ในแถบอเมริกากลาง โดยบาทหลวงชาวฝรั่งเศสเป็นผู้นำเข้ามาทางประเทศเวียดนาม เมื่อ 100 ปี ที่ผ่านมา จนกระทั่งเป็นผลไม้ประจำถิ่นของเวียดนาม ปลูกในเชิงการค้าเป็นจำนวนมากในเวียดนาม สำหรับประเทศไทยเริ่มรู้จักผลไม้ชนิดนี้อย่างแพร่หลาย เมื่อ พ.ศ. 2534 เนื่องจากมีการนำเข้าต้นพันธุ์ดีจากเวียดนามมาปลูกเพื่อเป็นพืชเศรษฐกิจ โดยพันธุ์ที่มีการนำเข้ามาในช่วงแรกเป็นพันธุ์เนื้อในสีขาว ต่อมาอีกระยะหนึ่งจึงมีการนำเข้าแก้วมังกรพันธุ์เนื้อในสีแดง ซึ่งเป็นพันธุ์มาจากไต้หวัน เข้ามาปลูกในประเทศไทย

และมีอีกหลายสายพันธุ์ที่ทั้งนำเข้ามาจากต่างประเทศและเกิดขึ้นจากการผสมพันธุ์ในบ้านเรา ลำต้นเลื้อยของแก้วมังกรนั้นเป็นกิ่ง 3 แฉก และมีรอยหยักโดยตลอด รูปร่างนี้จึงดูคล้ายครีบมังกร จึงเป็นอีกหนึ่งที่มาของชื่อ แก้วมังกร นั่นเอง แต่ละแฉกของแก้วมังกรนั้นจะอวบน้ำเต่งตึง แท้ที่จริงแล้วนั้นกิ่งที่เราเห็นไม่ใช่ลำต้นที่แท้จริง แต่เป็นใบที่เปลี่ยนรูปมา ลำต้นจริงๆ นั้นอยู่ภายในศูนย์กลางของแฉก ซึ่งก็เป็นลักษณะของตกระบองเพชรรูปแบบหนึ่ง

ลักษณะของต้นแก้วมังกร ลำต้นเป็นแฉก 3 แฉก สีเขียว อวบน้ำ มีความยาวประมาณ 5 เมตร ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นส่วนของใบที่เปลี่ยนรูปร่างไป ส่วนลำต้นที่แท้จริงอยู่ในตำแหน่งที่เป็นศูนย์กลางของแฉกทั้ง 3 บริเวณตาข้างจะมีหนาม 1-5 หนาม มีรากทั้งในดินและรากอากาศ

ดอกมีขนาดใหญ่ เกิดบริเวณปลายกิ่งในช่วงเดือนเมษายน เมื่อบานมีลักษณะคล้ายปากแตร โดยจะบานในช่วงหัวค่ำจนถึงเช้า มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกจะมีความยาวประมาณเกือบ 1 ฟุต ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม เป็นช่วงที่แก้วมังกรให้ผลผลิต

ผลมีลักษณะเป็นสันเหลี่ยมทู่ๆ เรียงรายอยู่ทั่วไปบนผิวเปลือก เปลือกหนา มีสีชมพูอมส้ม ภายในผลเมื่อผ่าออกจะมีเนื้อสีขาวขุ่นหรือสีชมพู ในเนื้อจะมีเมล็ดเล็กๆ สีดำ คล้ายกับเมล็ดงาฝังตัวอยู่ ตาข้างๆ ของต้นแก้วมังกรจะมีหนามอยู่โดยทั่วไป ตำแหน่งที่มีหนามนั้นคือ ส่วนที่จะเกิดเป็นดอกและผลแก้วมังกรต่อมานั่นเอง

แก้วมังกร ปัจจุบันกลายเป็นผลไม้อีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมในการปลูกเชิงการค้าในบ้านเรา ซึ่งก่อนหน้านี้ปลูกมากในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกของไทย ซึ่งต่อมาพื้นที่เพาะปลูกแก้วมังกรกลับมาปลูกมากในเขตอำเภอภูเรือ จังหวัดเลย และได้รับความนิยมบริโภคไม่แพ้ผลไม้ชนิดอื่น โดยเฉพาะสุภาพสตรีส่วนใหญ่ใช้บริโภคเพื่อลดน้ำหนัก (ลดความอ้วน) เมื่อมีคนใดคนหนึ่งสามารถลดน้ำหนักได้จริง ทำให้มีการใช้ผลแก้วมังกรนี้เป็นองค์ประกอบของการควบคุมน้ำหนักของสุภาพสตรีในปัจจุบัน

นอกจากนี้ คุณสมบัติของแก้วมังกรมีพอสมควร โดยมี

สารมิวซิเลจ (Muciage) สารพวกนี้เป็นโพลีแซ็กคาไรด์เชิงซ้อน มีลักษณะคล้ายวุ้น หรือเยลลี่ ช่วยดูดน้ำตาลกลูโคส โดยเฉพาะในคนที่เป็นเบาหวาน โดยไม่พึ่งอินซูลิน ลดไตรกลีเซอไรด์ และคอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นในเลือดต่ำ เพิ่มธาตุเหล็กอีกด้วย

แก้วมังกรอุดมไปด้วยไฟเบอร์ ซึ่งมีปริมาณสูงมาก จึงช่วยในเรื่องของระบบการขับถ่าย ในส่วนของเนื้อมีสาร Complex Polysaccharides เป็นตัวที่ช่วยลดการดูดซึมไตรกลีเซอไรด์ ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด นอกจากนี้ ยังมีธาตุเหล็ก บรรเทาโรคโลหิตจาง รวมถึงแร่ธาตุอีกมากมาย ทั้ง วิตามินบี 1 บี 2
บี 3 วิตามินซี ฟอสฟอรัส โปรตีน และแคลเซียม

ผลแก้วมังกรมีคุณค่าทางอาหาร มีสรรพคุณป้องกันโรคหัวใจ ความดันโลหิต ตับ เบาหวาน มะเร็งลำไส้ และต่อมลูกหมาก เสริมสร้างภูมิต้านทานกระดูก ฟัน และกล้ามเนื้อ และในแก้วมังกรเนื้อแดงนั้นยังมีสารไลโคปีนที่สามารถต่อต้านมะเร็งได้อีกด้วย ด้วยรสชาติที่หวานน้อยประกอบกับคุณค่าทางโภชนาการของแก้วมังกรที่มีมากมายเช่นนี้ จึงทำให้เป็นผลไม้ที่หลายๆ คนชื่นชอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่รักสุขภาพ กลัวความหวาน กลัวไขมัน ต้องการลดความอ้วน ควบคุมน้ำหนัก รวมถึงผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานด้วย

คุณสมคิด บุญทูล เจ้าของสวน “สวนแก้วมังกรสมคิด” บ้านเลขที่ 36/2 หมู่บ้านยางตะพาย ตำบลบึงบัว อำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร เล่าว่า ตนเองและครอบครัวเริ่มมาปลูกแก้วมังกร เนื่องจากความชอบก่อน มีเพื่อนบ้านปลูกอยู่ เห็นว่าต้นแก้วมังกรออกดอกสวย จึงศึกษาว่า ถ้าตนเองจะปลูกแก้วมังกรนั้นยากหรือไม่ ซึ่งพบว่าแก้วมังกรเป็นพืชที่ปลูกง่าย ออกดอกง่าย ติดผลดก ยิ่งปลูกเชิงการค้าแล้วแก้งมังกรเป็นพืชที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูงมาก ปลูกเพียง 1 ปี ก็เริ่มมีผลให้เก็บได้แล้ว ประกอบกับครอบครัวมีอาชีพทำนาชอบทำการเกษตร อีกอย่างมองว่าจังหวัดพิจิตรไม่มีคนปลูกแก้วมังกรแบบเป็นสวน ถ้าปลูกแล้วก็คิดว่าจะขายแค่ในจังหวัดก็คงจะเพียงพอ จึงตัดสินใจปลูกแก้วมังกร ประมาณ 8 ไร่ ปลูกได้ราว 900 หลัก ตอนนี้ต้นอายุได้ 2 ปีเศษ ซึ่งตอนนี้สร้างรายได้เป็นอย่างดี ช่วยเสริมรายได้จากการทำนาที่พอมีเวลาดูแลในช่วงที่รอเกี่ยวข้าว ซึ่งคุณสมคิดอธิบายว่าในบ้านเรานั้นจะปลูกแก้วมังกรอยู่ 3 สายพันธุ์ หลักๆ คือ

หนึ่ง แก้วมังกรพันธุ์เวียดนาม ซึ่งมีลักษณะผลใหญ่ เนื้อขาวครีม เปลือกแดงอมชมพู รสหวานจัด กลีบใหญ่และห่าง เป็นสายพันธุ์ที่ปลูกมากที่สุดในบ้านเรา

สอง แก้วมังกรพันธุ์ไทย ซึ่งมีลักษณะผลเล็กกว่าพันธุ์เวียดนาม เนื้อขาวครีม เปลือกแดงอมชมพู รสหวานอมเปรี้ยว กลีบเล็กและถี่กว่าพันธุ์เวียดนาม และ

สาม แก้วมังกรพันธุ์ไต้หวัน ซึ่งมีลักษณะเนื้อแดง เปลือกแดง และมีขนาดผลเท่าแก้วมังกรพันธุ์ไทย

โดยคุณสมคิดนั้นเลือกปลูกแก้วมังกรสายพันธุ์ “เวียดนาม” ทั้งหมด เนื่องจากเป็นที่นิยมในบ้านเรามากที่สุด มีรสชาติหวาน ผลใหญ่ แต่ก็ปลูกพันธุ์เนื้อแดงบ้างเล็กน้อยเผื่อลูกค้าบางคนชอบให้เป็นทางเลือก

วิธีการปลูกแบบแปลงลงดิน ขุดหลุมฝังเสา ลึกประมาณ 50 เซนติเมตร ฝังเสาหลักที่ให้ต้นแก้วมังกรออกรากเกาะยึด จะเป็นเสาปูนหรือเสาท่อน้ำทิ้ง (ข้างในกลวง) ก็แล้วแต่ ฝังให้เสาสูงจากพื้นประมาณ 1.5-2.0 เมตร มีระยะห่างระหว่างหลัก ประมาณ 3-3.5 เมตร ด้านบนของหลักทำเป็นร้านให้กิ่งของแก้วมังกรแผ่ขยายออกไปรอบๆ โดยเลือกใช้ยางมอเตอร์ไซค์เก่า เนื่องจากมีราคาถูกและมีอายุการใช้งานหลายปี นำเสาใส่ลงไปในหลุมที่ขุดอัดดินให้เสาแน่น จากนั้นนำปุ๋ยคอกเก่ามาโรยรอบๆ เสา พรวนดินรอบๆ เสาปลูกให้เป็นรัศมีออกไปประมาณ 30-50 เซนติเมตร จากนั้นนำต้นแก้วมังกรที่สั่งซื้อเอาไว้ซึ่งตัดกิ่งแก่สดจากสวนนำมาปลูกเลยโดยไม่ต้องมาปักชำอนุบาลก่อน เพื่อจะไม่ต้องเสียเวลาในการเตรียมถุงดำ เตรียมวัสดุปลูก แรงงาน เพื่อใช้ในการปักชำกิ่งแก้วมังกรอีกนานนับเดือน

นำท่อนแก้วมังกร ซึ่งคุณสมคิดเล่าว่าที่สวนจะใช้กิ่งแก้วมังกรที่มีความยาว 50-80 เซนติเมตร โดยไม่ได้ตัดแบ่งให้สั้นลงเลย ได้ให้เหตุผลว่า เนื่องจากท่อนพันธุ์ที่ได้มามีราคาไม่แพงมากนัก ประมาณ ท่อนละ 15 บาท มาจากสวนที่จังหวัดเลย เนื่องจากเขาก็ตัดแต่งทิ้งออกจากต้นด้วย และดูว่าแก้วมังกรเป็นพืชที่ออกรากง่าย จึงใช้ท่อนพันธุ์ที่ยาวปลูกเลย เพื่อให้ต้นแก้วมังกรเลื้อยขึ้นค้างได้ไว การปลูกนั้นทำได้ไม่ยากเลย ขุดหลุมเพียงเล็กน้อย ขุดลึกประมาณ 5 เซนติเมตร ถ้าสังเกตต้นแก้วมังกรนั้น ต้นจะเป็นสามเหลี่ยม ซึ่งจะมีด้านหนึ่งที่ราบแบน ให้เอาด้านที่ราบแบนหันเข้ากับผิวเสาปูน เนื่องจากด้านที่ราบแบนนั้นจะเป็นบริเวณที่เกิดราก เอาดินกลบ เป็นอันเสร็จ

ปลูก 4 ต้น หรือด้านละ 1 ต้น ของเสาปูน อย่าลืมใช้เชือกฟางมัดต้นแก้วมังกรให้ยึดกับเสาปูนให้พอประคองต้นแก้วมังกร ไม่ต้องมัดแน่นมากนัก มัดเพื่อป้องกันไม่ให้ต้นล้มหรือว่าหัก และหมั่นมัดยอดแก้วมังกรที่แตกออกมาใหม่ให้แนบกับเสาปูนอยู่เสมอจนกว่าจะขึ้นถึงยอดเสาปูน ผลจากการปลูกแบบนี้พบว่า อัตราการรอดตายเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์

หลังปลูกเลี้ยงได้ประมาณ 8-10 เดือน เมื่อต้นแก้วมังกรออกยอดสูงพ้นเกินเสาเล็กน้อย ให้ใช้มือเด็ดหรือตัดตรงปลายยอดทิ้ง เพื่อเป็นการทำให้ต้นแก้วมังกรแตกยอดออกมาใหม่จำนวนหลายยอด หมั่นถอนหญ้าหรือตัดหญ้าที่ขึ้นตรงโคนต้นทิ้งเป็นประจำ เพื่อให้ต้นแก้วมังกรได้รับอาหารเต็มที่โดยไม่ต้องแย่งอาหารกับต้นหญ้า

เมื่ออายุต้นครบ 2 ปี หลังจากที่ต้นแก้วมังกรออกผลจนหมด ในช่วงเดือนตุลาคมควรตัดแต่งกิ่งให้สวยงาม โดยเลือกกิ่งที่เสียหายโดยมดทำลายหรือกิ่งที่เกิดซ้อนทับกันมากๆ ออก ให้มีช่องว่างและสัดส่วนพอดี ไม่มากเกินไป เพราะว่าจะทำให้ค้างรับน้ำหนักมากเกินความจำเป็น

การตัดแต่งกิ่งโดยการตัดกิ่งที่ให้ผลผลิตแล้ว สมัครเว็บบาคาร่า โดยการตัดออก ประมาณ 50 เซนติเมตร ของความยาวกิ่ง แต่ถ้ากิ่งยาวไม่ถึงก็ให้ตัดเกือบชิดข้อที่แตกออกมาจากกิ่งเดิม โดยทั่วไปการตัดแต่งกิ่งแก้วมังกรที่นิยมคือ แบบตัดออก 50-60 เปอร์เซ็นต์ ของกิ่งที่มีอยู่ จะทำให้การเกิดกิ่งใหม่เร็วขึ้นและสมบูรณ์

ประโยชน์ของการตัดแต่งกิ่งแก้วมังกร คือช่วยเสริมสร้างให้แก้วมังกรมีผลผลิตดีขึ้น 25-30 เปอร์เซ็นต์ หรือมากกว่านี้แล้วแต่สภาพพื้นที่ปลูก ดังนั้น การตัดแต่งกิ่งจำเป็นต้องทำทุกปี เพื่อให้ผลผลิตแก้วมังกรเกิดขึ้นกับกิ่งที่แตกใหม่ซึ่งยังสาวอยู่ กิ่งมีความสมบูรณ์มากที่สุด กิ่งที่ออกใหม่จะสมบูรณ์แข็งแรงกว่า พร้อมที่จะออกดอกออกผลในปีถัดไป เราควรตัดกิ่งที่ปลายไม่แหลมออก ปลายที่ไม่แหลมสั้นๆ ทู่ๆ มันจะไม่ยืดและเวลากิ่งแก่ก็จะออกผลช้ากว่ากิ่งที่ปลายแหลม ส่วนกิ่งที่ตัดควรทิ้งนอกแปลงแล้วกำจัด ไม่ควรทิ้งไว้ในแปลงจะทำให้เป็นแหล่งสะสมโรคและแมลง และกิ่งแก้วมังกรจะแตกรากในแปลงเรายิ่งจะกำจัดได้ยากขึ้น

หลังการตัดแต่งกิ่งสังเกตดูดีๆ กิ่งที่ออกลูกติดผลมักเป็นกิ่งที่มีปลายกิ่งห้อยย้อยลงดิน เพราะฉะนั้นกิ่งไหนที่ชี้ขึ้นฟ้าควรตัดทิ้งเลย เอาไว้ก็แย่งอาหารกิ่งที่จะออกดอกเสียหมด ระหว่างที่เตรียมความพร้อมกิ่งเพื่อให้ติดผล ถ้ามีกิ่งแตกมาใหม่ เมื่อเห็นได้ชัดเจนแน่นอนแล้วว่าไม่ใช่ตาดอกแน่นอน สะกิดกิ่งที่แตกมาใหม่เหล่านี้ทิ้งไปเสียบ้าง อย่าเสียดายเอาไว้มันเสียทุกกิ่ง มันจะได้มีอาหารสะสมไปออกดอกบ้าง เพราะกิ่งที่แตกใหม่เหล่านี้แย่งอาหาร

คุณสมคิด เล่าย้อนกลับไปว่า ได้ปลูกแก้วมังกรเมื่อเดือนมกราคม 2558 พอเดือนพฤษภาคม 2559 แก้วมังกรก็ที่สวนก็ออกดอกรุ่นแรก เก็บผลได้ต้นเดือนสิงหาคม 2559 และเก็บผลผลิตยาวต่อเนื่องมาถึงสิ้นเดือนตุลาคม 2559 คือแก้วมังกรจะทยอยออกมาเรื่อยๆ ราว 8-9 รุ่น
ใน 1 ปี ซึ่งเท่าที่สังเกตคือ ต้นแก้วมังกรจะออกดอกเดือนเว้นเดือน ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน ผสมกันเองหรือผสมข้ามดอกข้ามต้นได้ การนับอายุการเก็บเกี่ยวเบื้องต้น สามารถนับอายุดอกตั้งแต่เริ่มแทงออกมาขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียวถึงดอกบาน 15 วัน อายุผลตั้งแต่ผสมติดหรือกลีบดอกร่วงถึงเก็บเกี่ยว 30 วัน ผลแก้วมังกรจะแก่เก็บจำหน่ายได้ ดอกแก้วมังกรจะเริ่มบานตั้งแต่เวลาเย็น ประมาณ 15.00-09.00 น. ในช่วงเช้าของอีกวัน

หลังเก็บเกี่ยวไปแล้วอีก 15-30 วัน จะมีดอกชุดใหม่ตามออกมาอีก การออกดอกนั้นแก้วมังกรจะออกดอกติดผลดีในฤดูกาลที่ช่วงกลางวันยาวกว่ากลางคืน โดยช่วงเดือนเมษายน-ตุลาคม สามารถออกดอกได้ตลอด ครั้นถึงช่วงเดือนพฤศจิกายน-มีนาคม หรือช่วงอากาศหนาวเย็นจะพักต้นและไม่ออกดอก หรือช่วงอากาศหนาวเย็นแม้จะออกดอกตามธรรมชาติได้ แต่จำนวนดอกจะน้อยกว่าช่วงอากาศร้อน