รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า สำหรับการเก็บตัวอย่างสินค้า

ส่งไปตรวจยังห้องปฏิบัติการของหน่วยงานต่างๆ ทั้ง 7 วันของการปฏิบัติภารกิจใน 7 ตลาดสด พื้นที่กรุงเทพมหานคร มีรายละเอียดดังนี้ กรมปศุสัตว์เก็บตัวอย่างส่งห้องปฏิบัติการ ทั้งเนื้อหมู เนื้อไก่ และเนื้อวัว รวม 59 ตัวอย่าง เพื่อตรวจหายาปฏิชีวนะ สารเร่งเนื้อแดงตกค้าง และตรวจจุลินทรีย์ รวมทั้งตรวจประเมินสุขอนามัยสถานที่จำหน่ายเนื้อสัตว์ และใบอนุญาตจำหน่ายเนื้อสัตว์ พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์แนะนำโครงการเนื้อสัตว์ปลอดภัยใส่ใจผู้บริโภค หรือปศุสัตว์ OK ให้แพร่หลาย ด้านกรมประมงเก็บตัวอย่างปลานิลและกุ้งขาว รวม 14 ตัวอย่าง ส่งห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจหายาปฏิชีวนะตกค้าง พร้อมสุ่มตรวจหาสารฟอร์มาลิน 32 ตัวอย่าง ด้วยชุดทดสอบ ไม่พบสารฟอร์มาลินในตัวอย่างสัตว์น้ำทั้งหมด ส่วนกรมวิชาการเกษตรเก็บตัวอย่างผักสดและผลไม้จำนวนรวม 36 ตัวอย่าง ส่งห้องปฏิบัติการตรวจหาสารเคมีตกค้างและจุลินทรีย์ต่อไป

วันที่ 9 เมษายน 2560 บรรดาต้นคูณกว่า 1,000 ต้น ได้พร้อมใจกันออกดอกสีเหลืองอร่าม สร้างสีสันสวยงาม อยู่ริมถนนมิตรภาพ เส้นผ่านตัวเมืองนครราชสีมา เป็นระยะทางยาวกว่า 10 กิโลเมตร ตั้งแต่บริเวณหน้าสถานีขนส่งจังหวัดนครราชสีมาแห่งที่ 2 ไปจนถึงสะพานต่างระดับ ต.จอหอ อ.เมืองนครราชสีมา เป็นบรรยากาศที่สวยงามต้อนรับการเดินทางกลับภูมิลำเนา ของประชาชนชาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงเทศกาลสงกรานต์ได้เป็นอย่างดี

โดยต้นคูณเหล่านี้ แขวงทางหลวงนครราชสีมาที่ 2 ได้นำมาปลูกไว้ เพื่อสร้างความร่มรื่นให้กับ 2 ข้างทาง อีกทั้งยังช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับถนนทุกสายที่มีเกาะกลางถนนด้วย และเมื่อถึงช่วงเดือนเมษายนของทุกปี ต้นคูณเหล่านี้จะพร้อมใจกันออกดอกตามฤดูกาล โดยดอกคูณจะมีลักษณะออกเป็นช่อระย้า สีเหลืองอ่อนเต็มต้น ก่อนที่จะเริ่มผลิใบช่วงเดือนพฤษภาคม ดังนั้นจึงถือว่าเป็นดอกไม้ประจำฤดูร้อน สร้างสีสันสวยงาม ต้อนรับเทศกาลสงกรานต์ได้เป็นอย่างดี

กรมอุตุนิยมวิทยารายงานสภาพอากาศประจำวันที่ 9 เมษายน 2560 ดังนี้

ลักษณะอากาศทั่วไป พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคกลาง สำหรับภาคใต้มีฝนลดลงแต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่

ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง

สำหรับหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมทะเลอันดามันแล้ว และลมตะวันออกที่พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณภาคใต้มีฝนลดลง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้ ภาคเหนือ อากาศร้อนในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-42 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

ภาคกลาง อากาศร้อนในตอนกลางวัน กับมีอากาศร้อนจัดและฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ภาคตะวันออก มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. อุทยานเจ้าไหมฯ ร่วมกับทีมสัตวแพทย์จุฬาฯ ติดตั้งสัญญาณดาวเทียมติดตามพฤติกรรมพะยูน ครั้งที่ 2 รอบนี้เป็นพะยูนเพศผู้ ตั้งชื่อว่า “จักรี” ก่อนปล่อยออกสู่ทะเลตรัง โดยบูรณาการทำงานภายใต้ทฤษฎี “วิ่งผลัด” ลดช่องว่างความผิดพลาดให้น้อยที่สุด

ดร.มาโนช วงศ์สุรีรัตน์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จ.ตรัง เปิดเผยว่า ตามที่อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม ได้ดำเนินโครงการติดตามพฤติกรรมของพะยูนในทะเลตรัง เพื่อการอนุรักษ์พะยูนและแหล่งหญ้าทะเล ด้วยการจับพะยูนติดตั้งสัญญาณดาวเทียมติดตามตัวครั้งที่ 2 หลังจากที่เคยทำการติดตั้งมาแล้ว ราวปี 2558 รอบนี้ถือว่าประสบความสำเร็จอีกครั้ง จากความพยายามและความร่วมมือทุกฝ่าย ร่วมกับ ทีมสัตวแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย รศ.สัตวแพทย์หญิง (สพญ.) ดร.นันทริกา ชันซื่อ ผอ.ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำฯ ครูดรล์ รัตนทัศนีย์ หัวหน้าสาขาวิชาผลิตสื่อภาพยนตร์ และ dive media ครูสอนดำน้ำ NAUI และเครือข่ายประมงพื้นบ้าน ประกอบด้วย กลุ่มอนุรักษ์พะยูนบ้านฉางหลาง และกลุ่มอนุรักษ์พะยูนบ้านเจ้าไหม ที่สำคัญคือการทำงานเป็นทีมวอร์คและมาตรฐานการทำงานสูงมาก จากจำนวน 40-50 คน ร่วมกันภายใต้ทฤษฎี “วิ่งผลัด” หมายถึงต้องลดช่องว่างความผิดพลาดให้น้อยที่สุด จึงทำให้งานประสบความสำเร็จ

ดร.มาโนช กล่าวว่า เมื่อวันที่ 6 เม.ย.2560 ทีมสำรวจได้ออกทำงานตั้งแต่ 06.00-16.00 น. พบพะยูนจำนวน 7 ตัว วางอวน 3 ครั้ง พะยูนหลุดออกจากวงล้อมไปได้ ต่อมาวันที่ 7 เม.ย.2560 ออกทำงานตั้งแต่เวลา 05.30-11.00 น.บริเวณหาดหยงหลำ เขตอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม อีกครั้ง พบพะยูนจำนวน 4 ตัว โดยครั้งที่ 4 ประสบความสำเร็จทีมงานพบพะยูนเพศผู้ ความยาว 2.5 เมตร ตัวประมาณ 200-250 กิโลกรัม ทีมงานได้ตั้งชื่อว่า “จักรี” จากนั้นทีมสัตวแพทย์จุฬาฯ จึงได้ทำการเจาะเลือดพะยูน และเก็บตัวอย่าง DNA เพื่อวิเคราะห์มีการเก็บภาพอัตลักษณ์บริเวณหางที่เป็นลักษณะเฉพาะตัวไว้แล้วรอผลข้อมูลจากดาวเทียมในแต่ละวันต่อไป โดยงานอนุรักษ์พะยูนอย่างเป็นระบบเริ่มขึ้นอีกครั้ง และครั้งนี้เราได้พบเห็นพัฒนาการของพฤติกรรมพะยูนในอีกขั้นหนึ่ง และจะเฝ้าสังเกตเก็บรายละเอียดเพื่อรายงานต่อไป

กรมทางหลวง แนะนำเส้นทางเลือกในการเดินทาง เพื่อเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการเดินทางให้แก่ประชาชน ดังนี้ ภาคเหนือ เส้นทางที่ 1 (กรุงเทพฯ-นครสวรรค์) จากกรุงเทพฯ ไปถนนรังสิต (ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน)-อยุธยา-อ่างทอง-สิงห์บุรี (ใช้ทางหลวงหมายเลข 32 ถนนสายเอเชีย)-มโนรมย์ (ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน) มุ่งหน้านครสวรรค์

เส้นทางที่ 2 (กรุงเทพฯ-นครสวรรค์) จากกรุงเทพฯ ไป จ.นนทบุรี (ใช้ทางหลวงหมายเลข 340)-สุพรรณบุรี (ใช้ทางหลวงหมายเลข 340)-ชัยนาท (ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน) มุ่งหน้าสู่นครสวรรค์

เส้นทางที่ 3 (กรุงเทพฯ-นครสวรรค์) จากกรุงเทพฯ ไปนครปฐม (ใช้ทางหลวงหมายเลข 346)-สุพรรณบุรี (ใช้ทางหลวงหมายเลข 321)-อุทัยธานี (ทางหลวงหมายเลข 333) มุ่งหน้าสู่นครสวรรค์

เส้นทางที่ 4 (กรุงเทพฯ-พิษณุโลก) จากกรุงเทพฯ ไปรังสิต-วังน้อย-สระบุรี-ลพบุรี (ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน)-ตากฟ้า (ใช้ทางหลวงหมายเลข 11) จากนั้นมุ่งหน้าสู่พิษณุโลก

สายอีสาน 4 เส้นทางหนีรถหนึบ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เส้นทางที่ 1 (กรุงเทพฯ-นครราชสีมา) จากกรุงเทพฯ ไป วังน้อย (ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน)-สระบุรี-ปากช่อง-สีคิ้ว (ใช้ทางหลวงหมายเลข 2 ถนนมิตรภาพ) จากนั้นมุ่งหน้าสู่นครราชสีมา

เส้นทางที่ 2 (กรุงเทพฯ-นครราชสีมา) จากกรุงเทพฯ ไปสระบุรี (ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน)-ม่วงค่อม (ใช้ทางหลวงหมายเลข 205)-ท่าหลวง (ใช้ทางหลวงหมายเลข 2256)-ด่านขุนทด (ใช้ทางหลวงหมายเลข 2148)-ขามทะเลสอ (ใช้ทางหลวงหมายเลข 2068) จากนั้นมุ่งหน้าสู่นครราชสีมา

เส้นทางที่ 3 (กรุงเทพฯ-นครราชสีมา) จากกรุงเทพฯ ไปสระบุรี (ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน)-ม่วงค่อม (ใช้ทางหลวงหมายเลข 205)-ท่าหลวง (ทางหลวงหมายเลข 2256)-บัวชุม, หนองสอง (ใช้ทางหลวงหมายเลข 2234,2247)-ปากช่อง (ใช้ทางหลวงหมายเลข 2422) จากนั้นมุ่งหน้าสู่นครราชสีมา เส้นทางที่ 4 (กรุงเทพฯ-นครราชสีมา) จากกรุงเทพฯ ไปนครนายก (ใช้ทางหลวงหมายเลข 305)-บ้านนา (ใช้ทางหลวงหมายเลข 3051, 33)-แก่งคอย (ใช้ทางหลวงหมายเลข 3222)-ปากช่อง (ใช้ทางหลวงหมายเลข 2 ถนนมิตรภาพ) จากนั้นมุ่งหน้าสู่นครราชสีมา

ตะวันออกแนะใช้มอเตอร์เวย์

ภาคตะวันออก เส้นทางที่ 1 (กรุงเทพฯ-ระยอง-จันทบุรี-ตราด) จากกรุงเทพฯ ไปมอเตอร์เวย์-เมืองพัทยา (ใช้ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7)-กระทิงลาย-บ้านโป่ง (ใช้ทางหลวงหมายเลข 36) จากนั้นมุ่งหน้าสู่ ระยอง จันทบุรี และตราด

เส้นทางที่ 2 (กรุงเทพฯ-ระยอง-จันทบุรี-ตราด) จากกรุงเทพฯ ไปมอเตอร์เวย์ (ใช้ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7)-บ้านบึง-บ้านโป่ง (ใช้ทางหลวงหมายเลข 344) จากนั้นมุ่งหน้าสู่ ระยอง จันทบุรี และตราด

เส้นทางที่ 3 (กรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง-จันทบุรี-ตราด) จากกรุงเทพฯ ไปมอเตอร์เวย์ – ชลบุรี (ใช้ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 หรือทางหลวงหมายเลข 3 ถนนสุขุมวิท)-แยกกระทิงลาย-เมืองพัทยา (ใช้ทางหลวงหมายเลข 3 ถนนสุขุมวิท) จากนั้นมุ่งหน้าสู่ ระยอง จันทบุรี และตราด

เส้นทางที่ 4 (กรุงเทพฯ-พัทยา) จากกรุงเทพฯ ไปถนนบางนา-ตราด ทางหลวงหมายเลข 34 มุ่งหน้าสู่ จ.ชลบุรี จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 3 ถนนสุขุมวิท มุ่งหน้าสู่เมืองพัทยา

เส้นทางที่ 5 (กรุงเทพฯ-พัทยา) จากกรุงเทพฯ ไปเมืองพัทยา (ใช้ทางหลวงหมายเลข 3 ถนนสุขุมวิท)

วงแหวนตะวันออกสู่ภาคกลาง

ภาคกลาง เส้นทางที่ 1 (กรุงเทพฯ-อ่างทอง) จากกรุงเทพฯ ไปรังสิต-ต่างระดับคลองหลวง (ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน)-เชียงรากน้อย (ใช้ทางหลวงหมายเลข 3214)-ใช้ทางหลวงหมายเลข 347 มุ่งหน้าสู่อ่างทอง

เส้นทางที่ 2 (กรุงเทพฯ-อ่างทอง) จากกรุงเทพฯ ไปรังสิต-ต่างระดับคลองหลวง (ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน)-ต่างระดับบางปะอิน-อยุธยา (ใช้ทางหลวงหมายเลข 32) จากนั้นมุ่งหน้าสู่อ่างทอง

เส้นทางที่ 3 (กรุงเทพฯ-อ่างทอง) จากกรุงเทพฯ ไปวงแหวนตะวันออก (ใช้ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9)-ต่างระดับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.)-วังน้อย (ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน)-ถนนโรจนะ (ใช้ทางหลวงหมายเลข 309) จากนั้นมุ่งหน้าสู่อ่างทอง

สายใต้ฉลุย 3 เส้นทาง

ภาคใต้ เส้นทางที่ 1 (กรุงเทพฯ-ประจวบคีรีขันธ์) จากกรุงเทพฯ ไปสมุทรสาคร-สมุทรสงคราม (ใช้ทางหลวงหมายเลข 35 ถนนพระราม 2)-แยกวังมะนาว-เพชรบุรี (ใช้ทางหลวงหมายเลข 4 ถนนเพชรเกษม) จากนั้นมุ่งหน้าสู่ประจวบคีรีขันธ์

เส้นทางที่ 2 (กรุงเทพฯ-ประจวบคีรีขันธ์) จากกรุงเทพฯ ไปสามพราน-นครชัยศรี-นครปฐม-ราชบุรี-แยกวังมะนาว-เพชรบุรี (ทางหลวงหมายเลข 4 ถนนเพชรเกษม) จากนั้นมุ่งหน้าสู่ประจวบคีรีขันธ์

เส้นทางที่ 3 (กรุงเทพฯ-ประจวบคีรีขันธ์) จากกรุงเทพฯ ไปถนนบรมราชชนนี (ทางหลวงหมายเลข 338 ปิ่นเกล้า-นครชัยศรี)-นครชัยศรี-นครปฐม-ราชบุรี-แยกวังมะนาว-เพชรบุรี (ใช้ทางหลวงหมายเลข 4 ถนนเพชรเกษม) จากนั้นมุ่งหน้าสู่ประจวบคีรีขันธ์

หากประชาชนต้องการสอบถามข้อมูลเส้นทางเพิ่มเติมหรือแจ้งเหตุด่วนเหตุร้ายระหว่างการเดินทางสามารถติดต่อได้ที่สายด่วนกรมทางหลวง โทร. 1586 (โทร.ฟรีทุกเครือข่ายตลอด 24 ชั่วโมง) ศูนย์บริการข้อมูลทางหลวงพิเศษ (มอเตอร์เวย์) โทร.1586 กด 7 และตำรวจทางหลวง โทร. 1193 (ตลอด 24 ชั่วโมง)

หลายคนคงใจคอไม่ดี เมื่อกระทรวงวัฒนธรรมประกาศนามนางสงกรานต์ปี 2560 คือ “นางกาฬกิณีเทวี” หรือนางกิริณีเทวี ทรงพาหุรัด ทัดดอกมณฑา อาภรณ์แก้วมรกต ภักษาหารถั่วงา หัตถ์ขวาทรงขอช้าง หัตถ์ซ้ายทรงปืน เสด็จไสยาสน์หลับเนตร(นอนหลับตา) มาเหนือหลังกุญชร(ช้าง) เป็นพาหนะ

เกณฑ์พิรุณศาสตร์ ปีนี้ อังคาร เป็นอธิบดีฝน บันดาลให้ฝนตก 300 ห่า ตกในเขาจักรวาล 120 ห่า ตกในป่าหิมพานต์ 90 ห่า ตกในมหาสมุทร 60 ห่า ตกในโลกมนุษย์ 30 ห่า เกณฑ์ธาราธิคุณ ชื่อ อาโป(ธาตุน้ำ) น้ำมาก น้ำท่วม

ที่มีคำทำนายในทางโหราศาสตร์จากสมาคมโหราศาสตร์นานาชาติ ระบุไว้ว่า เกณฑ์พิรุณศาสตร์ ปีนี้ อังคาร เป็นอธิบดีฝน บันดาลให้ฝนตก 300 ห่า ตกในเขาจักรวาล 120 ห่า ตกในป่าหิมพานต์90 ห่า ตกในมหาสมุทร 60 ห่า ตกในโลกมนุษย์ 30 ห่าเกณฑ์ธาราธิคุณ ชื่อ “อาโป”(ธาตุน้ำ) น้ำมาก น้ำท่วมเกณฑ์นาคราชให้น้ำ ปีระกา นาคราชให้น้ำ 4 ตัว ขอทำนายว่า ฝนต้นปีน้อย กลางปีงาม แต่ปลายปีมากแล ฯ

เกณฑ์ธัญญาหาร ชื่อ “วิบัติ” ข้าวกล้าในไร่นา จะเกิดกิมิชาติ คือ มีด้วงมีแมลงรบกวน ข้าวกล้า จะได้ผล 1 ส่วน เสีย 5 ส่วน บ้านเมืองจะเกิดยุทธสงคราม จะฆ่าฟันกัน จะนิราชจากกัน จะฉิบหายเป็นอันมากแล ฯ โดยที่ต้องน่าตกใจคือ เมื่อย้อนไปปี 2554 ที่น้ำท่วมใหญ่ทั่วสารทิศนางสงกรานต์ของปีนั้นก็คือ “นางกาฬกิณีเทวี” เช่นเดียวกัน จากนี้คงต้องดูว่าหลังจากเดือนเม.ย.ไปแล้ว บ้านเมืองจะประสบชะตากรรมเช่นใด

ปล.เป็นความเชื่อส่วนบุคคล โปรดใช้วิจารณญานในการอ่าน กลายเป็นกระเเสวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์ เมื่อเพจเฟซบุ๊ก เครือข่ายต้นไม้ในเมือง :: Thailand Urban Tree Network ได้โพสต์ภาพเเละข้อความระบุใจความว่า

ต้องตัดให้เหี้ยน? เพื่อไม่ให้ใบไม้หล่นลงคลอง!!! นี่คือเหตุผล ที่ทำจดหมายขอให้จ้างคนมาตัดต้นไม้ริมคลองประปายาวตลอดทั้งถนน! ตัดให้เตี้ย ห้ามสูงเกิน 6 เมตร?? #คนประชาชื่นทนไม่ไหว ออกมารวมตัวขอเจรจา #หยุดตัดได้ครึ่งถนน แต่คงต้องคุยกันต่ออีกยาวว เฮ้อ.. #ปรบมือรัวๆ สายตรวจต้นไม้ ผู้ทำหน้าที่พลเมือง
ทั้งนี้หลังการเผยแพร่ภาพเเละข้อความดังกล่าว มีผู้เข้ามาแสดงความคิดเห็นเเละมีการเเชร์ต่อจำนวนมาก อ่านเพิ่มเติมที่เพจเฟซบุ๊ก เครือข่ายต้นไม้ในเมือง :: Thailand Urban Tree Network

วันที่ 9 เมษายน 2560 นายวิศิษฐ์ เบญจพิทักษ์กุล นายอำเภอโพทะเล , นายวิเชียร จุลพันธ์ นายกอบต.ท่าบัว ได้ร่วมกันลงพื้นที่เพื่อติดตามความคืบหน้าของการเสนอของบประมาณการขุดลอกและพัฒนาบึงสรรพงาย ซึ่งมีเนื้อที่ 351 ไร่ ตั้งอยู่ที่ด้านหลังของที่ว่าการอำเภอโพทะเลและด้านหลังของวิทยาลัยชุมชนโพทะเล โดยก่อนหน้านี้ราษฎรในพื้นที่ อ.โพทะเล มีความต้องการให้กรมชลประทานช่วยดำเนินการขุดลอกเพื่อจะได้มีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และเป็นแก้มลิงเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้งในพื้นที่ รวมถึงจะได้เป็นแหล่งน้ำเพื่อทำน้ำประปาและเป็นแหล่งเรียนรู้การเกษตรตามแนวพระราชดำริ ซึ่งโครงการดังกล่าวเคยมีการเสนอไปยังรัฐบาลเมื่อ พ.ศ.2558

ล่าสุด พล.ท.ฉลวย แย้มโพธิ์ใช้ ได้นำหนังสือของราษฎรส่งตรงถึงอธิบดีกรมชลประทานและได้ส่งผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าทำการสำรวจเพื่อเขียนแผนออกแบบประเมินวงเงินที่จะดำเนินการเพื่อขออนุมัติ ซึ่งคาดว่าปลายปี 60 หรือ ปี 2561 น่าจะมีความคืบหน้าเป็นรูปธรรม

นายทินกร รัตนพัวพันธ์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานพิจิตร pixelhunter.me ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า บึงสรรพงายเนื้อที่ 351 ไร่ ของอำเภอโพทะเล โครงการดังกล่าว นายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ สนช. ได้เป็นผู้เสนอโครงการและยังติดตามความคืบหน้าทุกระยะ ซึ่งล่าสุดเมื่อเดือนมีนาคม ได้เชิญอธิบดีกรมชลประทานรวมถึงชลประทานจังหวัดพิจิตร เข้าชี้แจงกับ กมธ.เกษตร ที่รัฐสภา ซึ่งอธิบดีได้สั่งการให้สำนักงานชลประทานที่ 3 จังหวัดพิษณุโลก ส่งช่างมาดำเนินการสำรวจออกแบบประเมินวงเงิน ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เงินเกือบ 200 ล้านบาท ในการดำเนินการให้บึงสรรพงายไม่ใช่เป็นแค่เพียงแหล่งน้ำหรือแก้มลิงธรรมดาแต่จะพัฒนาให้เป็นแลนด์มาร์คด้านการเรียนรู้รวมถึงจะให้มีตลาดน้ำหรือตลาดชุมชนริมบึงสรรพงายเพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวรองรับผู้ที่มานมัสการหลวงพ่อเงินวัดบางคลานและหลวงพ่อเงินวัดท้ายน้ำอีกด้วย

วันที่ 9 เมษายน 2560 นายสำออย รัตนวิจิตร นายกสมาคมประมงพื้นบ้านเรือเล็ก จ.ระยองได้ร้องเรียนว่าบริเวณพื้นที่ป่าชายเลนคลองท่าครกหมู่ 8 เขตติดต่อป่าชายเลน สะพานรักษ์แสม พื้นที่จัดตั้งธนาคารปูแสม ต.เนินฆ้อ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวอนุรักษ์ป่าชายเลนที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของอ.แกลง จ.ระยอง มีกลุ่มนายทุนเข้าไปเลี้ยงหอยนางรมบริเวณป่าชายเลน โดยการใช้ไม้ไผ่ผูกติดกับรากไม้ต้นโกงกาง ใช้เชือกติดก้อนปูนซิเมนต์แขวนไม้ไผ่ห้อยลงในคลอง ใกล้กันก็มีการทำแพไม้ไผ่เลี้ยงหอยนางรม นับวันจะเพิ่มมากขึ้น วอนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าตรวจสอบหาทางป้องกันอาจเกิดผลกระทบป่าชายเลนขึ้นได้ จากนั้น นายสุรินทร์ สินรัตน์ ประธานเครือข่ายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน(ทสม.) จ.ระยอง และนายมาโนช ยั่งยืน ประธานธนาคารปูแสม ต.เนินฆ้อ ลงเรือเข้าไปตรวจสอบพื้นที่ป่าชายเลนคลองท่าครก พบแพทำด้วยไม้ไผ่ผูกเชือกเลี้ยงหอยนางรม เป็นบริเวณกว้าง นอกจากนี้ยังใช้ไม่ไผ่ลอดใต้รากต้นโกงกางผูกเชือกห้อยลงน้ำเลี้ยงหอยนางรมจำนวนมาก

นายสำออย กล่าวว่าสาเหตุที่ร้องเรียน 1.เนื่องจากวิธีการเลี้ยงหอยนางรมโดยการใช้ไม่ไผ่ผูกติดกับรากต้นโกงกาง เมื่อหอยนางรมเติบโตเป็นตัวขนาดใหญ่ น้ำหนักจะเพิ่มมากขึ้น จะทำให้รากต้นโกงกางฉีกและหัก รวมทั้งขยะลอยมาติดบริเวณรากโกงกาง มีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ย่อมทำให้เกิดผลกระทบระบบนิเวศป่าชายเลน 2. หากปล่อยให้นายทุนเข้ามาเลี้ยงหอยนางรม มีรายได้เป็นกอบเป็นกำ คนก็จะแห่เข้ามาเลี้ยงมากขึ้น 3. หากเกิดการแย่งชิงพื้นที่ป่าชายเลนเพื่อเลี้ยงหอยนางรม ป่าชายเลนจะเกิดความเสียหายมากขึ้น และ 4. ปัจจุบันนี้มีแรงงานต่างด้าวเข้าไปหากินในพื้นที่ป่าชายเลนมากขึ้น ในที่สุดก็จะเกิดปัญหาเหมือนทำแพเลี้ยงหอยนางรมพื้นที่บริเวณคลองลาวน ต.สุนทรภู่ ปล่อยปละละเลยกันมานานพอชาวบ้านได้ประโยชน์ จนเกิดปัญหาก็ไปให้เขารื้อถอน

“นอกจากนี้มีนายทุนขับรถรับ-ส่ง ว่าจ้างแรงงานต่างด้าวเข้าไปจับหอย ปู ปลา ดักอวน ทอดแห บริเวณรอยต่อพื้นที่ป่าชายเลนปากน้ำประแสร์ ช่วงวันเสาร์ อาทิตย์ นายทุนจะรับซื้อเนื้อหอย และเปลือกจำนวนมาก เราเป็นผู้ดูแลพื้นที่ป่าชายเลนคิดว่าแกะหอยที่กำลังวางไข่ควรจะเว้นไว้ ห้ามเก็บหอยขนาดเล็ก ควรจับแต่หอยขนาดใหญ่ ซึ่งมีหลายชนิด อาทิ หอยปากมน หอยตระค้อน หอยจุ๊บแจง หอยปากบิด หอยพอกและหอยกาบเป็นต้น” นายสำออย กล่าว