รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ระบุถึงประโยชน์ที่เกษตรกร

จะได้รับจากการเข้าร่วมโครงการ ว่า เกษตรกรสามารถลดค่าใช้จ่ายในการรับภาระเลี้ยงดูลูกโค โดยเมื่อลูกโคเข้าสู่ระบบฟาร์มกลางของสหกรณ์จะได้รับการเลี้ยงดูอย่างดีตามหลักวิชาการ ส่งผลให้มีอัตราการเจริญเติบโตและสมบูรณ์สูงกว่าการเลี้ยงเองที่ฟาร์มของเกษตรกร และยังเพิ่มโอกาสในการผสมเทียมติดเร็วขึ้น ซึ่งหมายถึงเกษตรกรจะมีรายได้จากการรีดนมได้เร็วขึ้นเช่นกัน ขณะเดียวกันการเลี้ยงโคนมที่ถูกหลักวิชาการนั้น ยังทำให้โคสาวสามารถเพิ่มผลผลิตน้ำนมดิบได้เฉลี่ย 1-3 กก./ตัว/วัน นอกจากนี้ การที่เกษตรกรนำลูกโคเข้ามาฝากที่ธนาคารฯ จะส่งผลให้มีเวลาเพิ่มมากขึ้นในการดูแลฟาร์มโคของตนเองได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งยังเป็นการช่วยลดภาระและช่วยลดต้นทุนในการเลี้ยงโคนมให้แก่เกษตรกรอีกด้ว

ผลจากการดำเนินโครงการฯ ตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา สามารถบริหารจัดการต้นทุนและเพิ่มรายได้ให้แก่สมาชิกสหกรณ์ โคนมเป็นอย่างดี มีเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมเข้าร่วมโครงการรวม 431 ราย รับฝากโค รวม 1,515 ตัว มูลค่า 18,180,000 บาท มีการไถ่ถอนโคคืน 1,285 ตัว มูลค่าถอนคืนรวม 51,400,000 บาท จึงนำไปสู่แนวคิดในการขยายผล โดยการส่งเสริมสมาชิกให้ยกระดับจากการเป็นเกษตรกร ผู้เลี้ยงรายบุคคล พัฒนาไปสู่การเป็นผู้ประกอบการรายย่อย ขณะเดียวกันก็จะสนับสนุนให้สหกรณ์โคนมขนาดเล็กรวมตัวกันในรูปธนาคารโคนมทดแทน และมีการสร้างฟาร์มกลางเลี้ยงโคนมร่วมกัน ซึ่งจะทำให้มีการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถดำเนินการธุรกิจการเลี้ยงโคนมได้อย่างครบวงจรและเกินจุดคุ้มทุน อันจะนำไปสู่ประโยชน์ของสมาชิกสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมในที่สุด

ทั้งนี้ ปัจจุบันมีธนาคารโคมนมทดแทนฝูงของสหกรณ์ รวม 8 แห่ง แบ่งเป็นในปี 2559 ประกอบด้วย สหกรณ์โคนมผาตั้ง จำกัด จ.เชียงใหม่, สหกรณ์โคนมการเกษตรไชยปราการ จำกัด จ.เชียงใหม่, สหกรณ์โคนมพิมาย จำกัด จ.นครราชสีมา ต่อมาในปี 2560 ได้ขยายผลต่อไปยังสหกรณ์โคนมบ้านบึง จำกัด จ.ชลบุรี, ชุมนุมสหกรณ์โคนมภาคใต้และตะวันตก จำกัด จ.ประจวบคีรีขันธ์, สหกรณ์โคนมพัทลุง จำกัด จ.พัทลุง, สหกรณ์โคนมลำพูน จำกัด จ.ลำพูน และสหกรณ์โคนมขอนแก่น จำกัด จ.ขอนแก่น ขณะที่ในปี 2561 จะพัฒนาขยายผลไปยังสหกรณ์ โคนมที่มีศักยภาพและความพร้อม เพิ่มเติมอีก 5 แห่ง ซึ่งจะดำเนินการคัดเลือกสหกรณ์โคนมที่จะเข้าร่วมโครงการใน เดือนกุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้

สำหรับแนวทางการพัฒนาสหกรณ์โคนมในปี 2561 กรมฯได้วางแผนไว้โดยแบ่งออกเป็น 5 ระดับ ประกอบด้วย 1.การวางแผน กลยุทธ์เพื่อขยายขนาดที่เหมาะสมในสหกรณ์โคนม 51 แห่ง ที่มีปริมาณน้ำนมต่ำกว่า 10 ตัน/วัน 2. พัฒนาปริมาณน้ำนมโคในสหกรณ์ 17 แห่ง ที่มีปริมาณน้ำนม 10-20 ตัน/วัน 3. พัฒนายกระดับการดำเนินธุรกิจ ในสหกรณ์ 23 แห่ง ที่มีปริมาณน้ำนม 20-50 ตัน/วัน 4.พัฒนาตามศักยภาพการดำเนินธุรกิจ ในสหกรณ์ 5 แห่ง ที่มีปริมาณน้ำนม 50-100 ตัน/วัน และ5. การวางแผนพัฒนาความก้าวหน้าในสหกรณ์ 4 แห่ง ที่มีปริมาณน้ำนม 100 ตัน/วันขึ้นไป

มิว ลักษณ์นารา และ อาย กมลเนตร พิธีกรคู่สุดน่ารักประจำรายการ แท็กทีมเปิดฉากปฏิบัติการภารกิจพิชิตหวานกันต่อให้สำเร็จที่จังหวัดนางาซากิ เมืองท่าอันสำคัญที่อยู่ในภูมิภาคคิวชูของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีเรื่องราวเกี่ยวกับวัฒนธรรมอันหลากหลายให้สองสาวได้ไปเรียนรู้มากมายในครั้งก่อน มาในสัปดาห์นี้สองสาวขอออกเดินทางไปพร้อมกับ“คุณฟูจิตะ โทโมโกะ” ผู้ประกาศข่าวประจำช่อง NIB เช่นเคย เพื่อไปทำภารกิจจาก เชฟสึจิงุจิ กันที่ร้านขนมแห่งเมืองโอมุระ พร้อมเปิดประสบการณ์การทำน้ำส้มง่ายๆสไตล์ญี่ปุ่น และเรียนรู้การทำขนมที่ใช้ส้มเป็นส่วนผสมแบบเจาะลึกทุกขั้นตอน ทั้งมูสส้มอันแสนละมุนและไดฟุกุส้ม ปิดท้ายด้วยการพาไปสัมผัสบ้านพักน่ารักๆสไตล์ญี่ปุ่น และการต้อนรับอันอบอุ่นของผู้คนที่นี่

เริ่มต้นภารกิจพิชิตหวาน สองสาวเดินทางมาที่โอมุระ ยูเมะ ฟาร์ม ชุชุ (Omura Yume Farm ChouChou) หรือเรียกสั้นๆว่าร้าน ชุชุ (Chou Chou) เปิดมาแล้วกว่า 18 ปี คุณฟูจิตะ พาอายและมิวชมบรรยากาศในโซนแรกที่ขายขนมปังและไอศกรีมโฮมเมด โดยใช้วัตถุดิบธรรมชาติจากไร่นี้ นอกจากนี้ยังมีผักผลไม้ และผลิตภัณฑ์แปรรูปต่างๆให้ได้เลือกซื้อกลับบ้านกันด้วย จากนั้นพามาเรียนรู้วิธีการทำน้ำส้มสดๆสไตล์ญี่ปุ่น และสองสาวได้ทำน้ำส้มปั่นสไตล์ไทยให้คุณฟูจิตะชิมเป็นการแลกเปลี่ยน ส่วนภารกิจในการเรียนรู้การทำขนมครั้งนี้ สาวอายและมิวยังได้ลองทำมูสส้มและไดฟุกุส้ม โดยได้รับคำแนะนำจาก เชฟคานาโกะ เอ็นโด เชฟประจำร้าน ที่คอยให้คำแนะนำทุกขั้นตอน เสร็จเรียบร้อยสองสาวเลยได้ชิมขนมฝีมือของตัวเอง ทั้งเนื้อมูสของมูสส้มแต่ละชั้นที่ละมุนและแสนจะลงตัว และไดฟุกุส้ม ที่ใช้ส้มฉ่ำหวานผลโตๆทั้งลูก อร่อยจนเพลินเลยทีเดียว

ความหวานของสองสาวมิวและอาย แห่งจังหวัดนางาซากิ ประเทศญี่ปุ่นครั้งนี้ จะน่าค้นหาและน่าสัมผัสขนาดไหน ติดตามได้ใน “Japan Sweets ภารกิจพิชิตหวาน” เสาร์ที่ 13 มกราคม 2561 นี้ เวลา 16.00 น. เป็นต้นไป ทางช่อง 28 (3SD)

รัฐบาลสหรัฐระบุว่า ปี 2560 ที่ผ่านมา เป็นปีที่มีมูลค่าความเสียหายอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติ ทั้งไฟไหม้ ภัยหนาว น้ำท่วม และพายุเฮอริเคน สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐ คิดเป็นมูลค่าถึง 306,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 10,098,000 ล้านบาท

รายงานข่าวระบุว่า ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในปี 2560 ราว 16 ครั้ง สร้างความเสียหายถึง 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือมากกว่า และทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 362 คน แต่ตัวเลขความเสียหายที่แท้จริงน่าจะเพิ่มสูงขึ้นอีกหลังการประเมินความเสียหายในเปอร์โตริโกแล้วเสร็จ

มูลค่าความเสียหายในปี 2560 แซงหน้าปี 2559 ที่เคยครองตำแหน่งเดิมด้วยมูลค่าความเสียหายรวม 215,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยความเสียหายหลักๆ มาจากเฮอริเคนหลายลูกที่พัดถล่มทำให้ปี 2560 ครองสถิติความเสียหายที่เกิดจากเฮอริเคนที่สูงที่สุดในประวัติศาตร์สหรัฐ โดยเฮอริเคนฮาร์วีย์ครองอันดับ 1 ที่ 125,000 ล้านดอลลาร์ แต่ก็ยังน้อยกว่าเฮอริเคนแคทรีนาที่พัดถล่มเมื่อปี 2548 ขณะที่ไฟป่าและภัยหนาวก็สร้างความเสียหายอย่างหนักเช่นกัน

ปีที่ผ่านมายังถือเป็นปีที่อากาศในสหรัฐร้อนที่สุดเป็นลำดับ 3 ตามหลังปี 2555 และ 2559 ค่าเฉลี่ยนอุณหภูมิในสหรัฐอยู่ที่ 12.2 องศาเซลเซียส ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของศตวรรษที่ 20 โดยรวม โดยอุณหภูมิในทุกรัฐของสหรัฐยังสูงขึ้นเรื่อยๆ นับจากปี 2569 เป็นต้นมา

กระทรวงเกษตรฯ พร้อมมาตรการแก้ปัญหาสับปะรด ร่วมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สับปะรดปี 60 – 69 เดินหน้าแนวทางการขับเคลื่อนตามยุทธศาสตร์ ระยะที่ 1 เจาะ 2 กลุ่มเป้าหมาย คือ จังหวัดที่อยู่ในรัศมีรอบกลุ่มโรงงาน และห่างไกลโรงงาน ด้าน สศก. คาด การผลิตปี 61 เนื้อที่เก็บเกี่ยว และผลผลิตจะเพิ่มขึ้น เนื่องจาก ช่วงปี 58 – 59 ราคาอยู่ในเกณฑ์ดี เกษตรกรจึงขยายพื้นที่ปลูก

นางอัญชนา ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงสถานการณ์การผลิตสับปะรดว่า ปัจจุบัน ไทยมีแหล่งปลูกสำคัญ ได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์ ระยอง ราชบุรี ชลบุรี พิษณุโลก และเพชรบุรี โดยปี 2560 พบว่า เนื้อที่เก็บเกี่ยวรวมทั้งประเทศ 0.527 ล้านไร่ ผลผลิต 2.175 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 4,129 กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากปี 2559 ร้อยละ 6.68 ร้อยละ 7.94 และ ร้อยละ 1.15 ตามลำดับ เนื่องจาก ช่วงปี 2558 – 2559 ราคาอยู่ในเกณฑ์ดี เกษตรกรขยายพื้นที่ปลูกในพื้นที่รกร้าง โดยผลผลิตจะออกมากในช่วงเดือน มีนาคม – พฤษภาคม และช่วงตุลาคม – ธันวาคม สำหรับช่วงตุลาคม – ธันวาคม 2560 มีผลผลิตประมาณ 0.655 ล้านตัน หรือร้อยละ 30.11 ของผลผลิตทั้งหมด เพิ่มขึ้นจาก 0.409 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปี 2559 ร้อยละ 16.31

ราคาที่เกษตรกรขายได้สับปะรดโรงงาน ปี 2560 อยู่ที่กิโลกรัมละ 4.95 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 10.18 บาท ของปี 2559 ร้อยละ 51.37 โดย ณ ธันวาคม กิโลกรัมละ 3.08 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 3.15 บาท ของเดือนพฤศจิกายน ร้อยละ 2.22 และลดลงจากกิโลกรัมละ 8.84 บาท ของเดือนธันวาคม 2559 ร้อยละ 65.15

ราคาที่เกษตรกรขายได้สับปะรดบริโภคสด ปี 2560 อยู่ที่กิโลกรัมละ 10.47 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 13.45 บาท ของปี 2559 ร้อยละ 22.15 ซึ่ง ณ เดือนธันวาคม 2560 กิโลกรัมละ 8.02 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.25 บาท ของเดือนพฤศจิกายน 2560 ร้อยละ 13.29 และลดลงจากกิโลกรัมละ 14.49 บาท ของเดือนธันวาคม 2559 ร้อยละ 44.65

ทั้งนี้ ราคาลดลงเนื่องจาก ช่วงปี 2558 -2559 ราคาสับปะรดอยู่ในเกณฑ์สูง ทำให้เกษตรกรมีการขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในจังหวัดที่ไม่มีโรงงานแปรรูปสับปะรดตั้งอยู่ ประกอบกับสับปะรดที่ปลูกในปี 2559 เริ่มให้ผลผลิต ส่งผลให้ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก รวมทั้งสภาพอากาศแปรปรวน ส่งผลให้คุณภาพผลผลิตไม่ตรงตาม ความต้องการของโรงงานแปรูปสับปะรด และผลจากราคาส่งออกที่มีแนวโน้มลดลง ซึ่งตัวแทนการค้า (Broker) คงระดับราคารับซื้อไว้

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้กำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาสับปะรด โดยคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2560 เห็นชอบแนวทางการขับเคลื่อนตามยุทธศาสตร์สับปะรดปี 2560 – 2569 และการบริหารจัดการผลผลิตสับปะรดในช่วงปลายปี 2560 ดังนี้

แนวทางการบริหารจัดการผลผลิตสับปะรดในช่วงปลายปี 2560 คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาและแก้ไขปัญหาด้านการตลาดและการส่งออกสับปะรด โดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประสานผู้ประกอบการ ผ่านกลไกประชารัฐ เพื่อเชื่อมโยงการรับซื้อผลผลิตสับปะรดจากเกษตรกรกระจายไปยังพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ มีการส่งเสริมการส่งออกสับปะรดผลสดไปยังตลาดค้าชายแดน ผลักดันการจัดทำบันทึกข้อตกลง (MOU) ระหว่างเกษตรกรและโรงงานแปรรูปเพื่อรักษาเสถียรภาพราคา นอกจากนี้มีการติดตามสถานการณ์ช่วงเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2561

แนวทางการบริหารจัดการในช่วงผลผลิตออกสู่ตลาดมากช่วงที่ 1 ปี 2561 (มีนาคม – พฤษภาคม 2561) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย สศก. จะร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์เพื่อเตรียมแนวทางและมาตรการรองรับต่อไป ซึ่งหากมองถึงสถานการณ์การผลิตสับปะรด ปี 2561 (ข้อมูล ณ ธันวาคม 2560) สศก. คาดว่าจะมีเนื้อที่เก็บเกี่ยว 0.581 ล้านไร่ ผลผลิต 2.462 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 4,233 กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากปี 2560 ร้อยละ 10.43 ร้อยละ 13.22 และร้อยละ 2.52 ตามลำดับ เนื่องจาก ช่วงปี 2558 – 2559 ราคาอยู่ในเกณฑ์ดี เกษตรกรขยายพื้นที่ปลูกในพื้นที่ไม่เคยปลูกสับปะรดมาก่อน รวมทั้งต้นสับปะรดปีแรกให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นผลผลิตออกสู่ตลาดมากตั้งแต่เดือน มีนาคม โดยผลผลิตช่วง มีนาคม – พฤษภาคม 2560 ประมาณ 0.869 ล้านตัน (ร้อยละ 35.31 ของผลผลิตทั้งหมด) เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2560 ร้อยละ 9.30

การบริหารจัดการระยะยาว จะขับเคลื่อนตามยุทธศาสตร์สับปะรดปี 2560 – 2569 ประกอบด้วย

ด้านการผลิต โดยคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาและแก้ไขปัญหาด้านการผลิตสับปะรด มีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นหน่วยงานหลัก กำหนดพื้นที่เหมาะสมและกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาศักยภาพและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสับปะรดโรงงาน ภายใต้ Agri-Map โดยคลอบคลุม เกษตรกรที่มีพื้นที่ปลูกสับปะรดในรัศมีรอบโรงงาน 50 – 100 กม. กลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ และเกษตรกรที่เพาะปลูกในจังหวัดที่ไม่มีโรงงานแปรรูป โดยใช้กลไกระดับพื้นที่ ผ่านทาง Single Command จังหวัด ร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำแผนงาน/โครงการด้านการผลิต ระยะที่ 1 (ปี 2561 – 2564) และให้ สศก. ประเมินผลโครงการด้านการผลิต ระยะที่ 1 เพื่อการวางแผนจัดทำแผนงาน/โครงการ ระยะที่ 2 (ปี 2565 – 2569) ต่อไป

ด้านการแปรรูป โดยคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาและแก้ไขปัญหาด้านอุตสาหกรรมแปรรูปสับปะรด มีกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นหน่วยงานหลัก กำหนดแนวทางการขับเคลื่อนในการพัฒนาการแปรรูปและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่อุตสาหกรรมสับปะรดของไทย 5 ด้าน ได้แก่ 1) ศึกษาวิจัยและส่งเสริมการนำนวัตกรรม 2) ส่งเสริมการเพิ่มผลิตภาพ 3) ควบคุมคุณภาพบรรจุภัณฑ์สับปะรดให้ได้มาตรฐาน 4) การให้สิทธิประโยชน์หรือมาตรการจูงใจเพื่อส่งเสริมการลงทุน และ 5) การแปรรูปผลิตภัณฑ์ใหม่จากสิ่งเหลือใช้จากกระบวนการแปรรูป

ด้านการตลาดและการส่งออก steelexcel.com โดยคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาและแก้ไขปัญหาด้านการตลาดและการส่งออกสับปะรด มีกระทรวงพาณิชย์ เป็นหน่วยงานหลัก ดำเนินการรณรงค์และส่งเสริมการบริโภคสับปะรดและผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ ส่งเสริมการเจรจาทางการค้าเพื่อขยายตลาดใหม่ ส่งเสริมการสร้างตราสินค้า ศึกษา วิจัยความต้องการสับปะรดและผลิตภัณฑ์ ส่งเสริมการรวบรวม จำหน่าย และส่งออกสับปะรดผลสด โดยผ่านกลไกรูปแบบประชารัฐ

ทั้งนี้ แนวทางการขับเคลื่อนตามยุทธศาสตร์สับปะรดด้านการผลิต ระยะที่ 1 (ปี 2561- 2564) คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาและแก้ไขปัญหาด้านการผลิตสับปะรด มีมติเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2560 ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการส่งเสริม 2 กลุ่ม คือ§

กลุ่มที่ 1 จังหวัดที่อยู่ในรัศมีรอบกลุ่มโรงงานฯ 100 กิโลเมตร เพื่อกำหนดเป็นพื้นที่ส่งเสริมการปลูกสับปะรดเพื่อส่งเข้าโรงงานแปรรูปสับปะรด รวม 12 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุทัยธานี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสาคร เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด

กลุ่มที่ 2 จังหวัดที่มีการปลูกสับปะรดโรงงานแต่อยู่ห่างไกลจากที่ตั้งของโรงงานแปรรูปสับปะรด กำหนดให้เป็นพื้นที่ส่งเสริมการปลูกสับปะรดเพื่อเน้นการบริโภคผลสด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย พะเยา ลำปาง อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม ชัยภูมิ ชุมพร สุราษฎร์ธานี กระบี่ นครศรีธรรมราช และพัทลุง ซึ่งจะเน้นการสร้างตราสัญลักษณ์สินค้า (Brand Name) การจดสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) โดยเชื่อมโยงผ่านกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ ไปยังผู้ส่งออก /Modern Trade/การค้าชายแดน

ขณะนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมกับคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนงานนโยบายสำคัญและการแก้ไขปัญหาภาคเกษตรระดับจังหวัด พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำแผนงาน โครงการ งบประมาณ ให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทั้ง 2 กลุ่ม

วันที่ 10 มกราคม 2561 เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า เช้านี้อุณหภูมิต่ำสุดยอดดอยอินทนนท์ลดต่ำลงจากวานนี้เหลือ 6 องศาเซลเซียส สูงสุด 15 องศาเซลเซียส แต่ไม่เกิดเหมยขาบ หรือน้ำค้างแข็ง อย่างที่คาดการณ์ไว้แต่อย่างใด

ทำให้นักท่องเที่ยวกว่า 6,000 คน ผิดหวังที่ไม่มีปรากฏการณ์น้ำค้างแข็ง แต่สภาพอากาศที่หนาวจัด และแสงอาทิตย์ยามเช้ายังสร้างความประทับใจและเรียกเสียงฮือฮาในความสวยงามของธรรมชาติที่เห็นเป็นอย่างมาก

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับตัวเมืองเชียงใหม่และเขตอำเภอรอบนอกอุณหภูมิลดลงเช่นกันเฉลี่ย 19-24 องศาเซลเซียส ไม่หนาวจัดอย่างที่คาด อย่างไรก็ตามศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ รายงานว่า ในระหว่างวันที่ 10-11 มกราคม 2561 ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนอง และอุณหภูมิจะลดลงอย่างรวดเร็ว 6-8 องศาเซลเซียส อาจทำให้สภาพอากาศหนาวจัดได้

การยางแห่งประเทศไทย ยืนยัน การประมูลปุ๋ยโปร่งใส ดำเนินการตาม พ.ร.บ. การยางฯ ตรงตามวัตถุประสงค์ กำกับดูแลโดยคณะอนุกรรมการฯ ที่มาจากทั้งหน่วยราชการและตัวแทนเกษตรกรทุกขั้นตอน สามารถตรวจสอบได้ พร้อมย้ำ ปัจจัยการผลิตไม่ใช่ทุนให้เปล่า ต้องใช้ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้

นายสุนันท์ นวลพรหมสกุล รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย ในฐานะรองโฆษกการยางแห่งประเทศไทย กล่าวแจงประเด็นที่มีผู้กล่าวหาการจัดซื้อปุ๋ยของ กยท.ว่า การจัดหาปุ๋ยให้ชาวสวนยางที่ได้รับทุนปลูกแทน เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 มาตรา 37 วรรค 2 ที่ได้บัญญัติไว้ว่า การปลูกแทน ให้ส่งเสริมและสนับสนุนโดยการจ่ายให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางซึ่งยางพันธุ์ดี พันธุ์ไม้ยืนต้น พันธุ์พืช ปุ๋ย เครื่องมือเครื่องใช้ จัดบริการอย่างอื่นช่วยเหลือ หรือจ่ายเงินให้ก็ได้

ทั้งนี้จะจัดให้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างก็ได้ ซึ่งการดำเนินการจ่ายค่าปุ๋ยที่ผ่านมา มีการดำเนินการในหลายรูปแบบ ทั้งการจ่ายเป็นเงินให้เกษตรกรไปซื้อปุ๋ยใส่เอง การโอนสิทธ์การรับเงินค่าปุ๋ย ให้กลุ่ม/สถาบันเกษตรกรเป็นผู้จัดหาปุ๋ยให้ และการยางแห่งประเทศไทย (หรือในฐานะ สกย. เดิมที่เป็นผู้ดูแลเรื่องนี้) เป็นผู้จัดหาให้ ซึ่งแต่ละวิธีมีทั้งข้อดีและข้อเสียรวมถึงวิธีปฏิบัติที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้ การจัดหาปุ๋ยสำหรับช่วงตั้งแต่กลางปีงบประมาณ 2560 (1 เมษายน 2560) เป็นต้นไป กยท.

ได้มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการบริหารจัดการปุ๋ยของการยางแห่งประเทศไทยที่มีผู้แทนจากภาครัฐและภาคเกษตรกรในการทำหน้าที่เสนอแนวทาง ติดตาม กำกับ และตรวจสอบการบริหารจัดการปุ๋ย พร้อมทั้ง ยังมีตัวแทนคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย เป็นผู้พิจารณาเลือกแนวทางที่เหมาะสม เพื่อมอบเป็นนโยบายในการทำงานเรื่องนี้ของ กยท. ทั้งนี้ การดำเนินดังกล่าวมีมติเห็นชอบให้การยางแห่งประเทศไทย เป็นผู้ดำเนินการจัดหาปุ๋ยตามข้อบังคับคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทยว่าด้วยการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยางพารา พ.ศ.2559 และใช้วิธีการประมูลทางอิเลคทรอนิกส์ เป็นไปอย่างโปร่งใส และเป็นธรรม