รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตร

สหกรณ์ เปิดเผยว่า หากกล่าวถึงสินค้าเกษตรสำคัญที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงสุด (Top4) ของจังหวัดนนทบุรี ได้แก่ ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง ทุเรียน และกล้วยไม้ โดยพบว่า เกษตรกรได้ผลตอบแทนสุทธิ (กำไร) จากการผลิตข้าวนาปี ในพื้นที่มีความเหมาะสมมากและเหมาะสมปานกลาง (S1/S2) เฉลี่ย 1,447 บาท/ไร่ ส่วนพื้นที่มีความเหมาะสมน้อยและไม่เหมาะสม (S3/N) เกษตรกรได้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 1,393 บาท/ไร่ ข้าวนาปรัง พื้นที่ S1/S2 ได้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 932 บาท/ไร่ ในขณะที่พื้นที่ S3/N ได้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 842 บาท/ไร่ ทุเรียน ได้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 44,068 บาท/ไร่ และ กล้วยไม้ ได้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 253,386 บาท/ไร่

เมื่อพิจารณาพื้นที่ปลูกข้าวจังหวัดนนทบุรี พบว่า ปัจจุบันมีพื้นที่มีความเหมาะสมมากและปานกลางสำหรับปลูกข้าว จำนวน 139,336 ไร่ ในขณะที่พื้นที่มีความเหมาะสมน้อยและไม่เหมาะสมสำหรับปลูกข้าวมีจำนวน 15,363 ไร่ โดยปัจจุบันเกษตรกรได้มีการปรับการเพาะปลูกข้าวให้เร็วขึ้นในพื้นที่ราบลุ่ม เพื่อให้เก็บเกี่ยวทันก่อนฤดูน้ำหลากเพื่อเป็นที่รองรับน้ำและพื้นที่บางส่วนเกษตรกรได้มีการปรับเปลี่ยนการผลิตและพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพเพื่อเพิ่มมูลค่าอย่างหลากหลาย ได้แก่

การทำนาบัว (บัวฉัตร) แหล่งผลิตอยู่ที่ อำเภอบางใหญ่ และ อำเภอบางกรวย มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 27,313 บาท/ไร่/ปี เกษตรกรได้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 10,887 บาท/ไร่/ปี การทำนาผักบุ้งน้ำ อายุปลูก-เก็บเกี่ยว 90 วัน มีต้นทุนการผลิต 7,474 บาท/ไร่ เกษตรกรได้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 11,526 บาท/ไร่/รอบการผลิต การปลูกผักต่างๆ หมุนเวียนให้เหมาะสมกับฤดูกาลและความต้องการของตลาด อาทิ เช่น กุยช่าย เก็บใบและดอกกุยช่ายขาย มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 49,387 บาท/ไร่/ปี ได้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 31,813 บาท/ไร่/ปี กะเพราแดง

มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 59,576 บาท/ไร่/ปี ได้ผลตอบแทนสุทธิ เฉลี่ย 12,425 บาท/ไร่/ปี ผักกาดหอม อายุเก็บเกี่ยว 50 วัน มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 10,482 บาท/ไร่ ได้ผลตอบแทนสุทธิ เฉลี่ย 1,518 บาท/ไร่/รอบการผลิต รวมทั้งการปลูกไม้ดอกไม้ประดับต่างๆ เช่น ปลูกต้นดอกรัก ซึ่งเป็นไม้ยืนต้น ทนแล้ง สามารถปลูกตามคันนาหรือปลูกแซมในพื้นที่ว่างเปล่า เก็บผลผลิตได้ตลอดปี มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 24,514 บาท/ไร่/ปี ได้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 25,486บาท/ไร่/ปี ทั้งนี้ ผักบุ้งน้ำ กุยช่าย กะเพราแดง ผักกาดหอม และดอกรัก แหล่งผลิตอยู่ที่ อำเภอไทรน้อยและ อำเภอบางบัวทอง นอกจากนี้ หากเกษตรกรมีการปลูกแซมไม้ดอกอื่นๆ ได้แก่ ต้นดอกจำปี ดอกดาหลา และ เตยหอม เป็นต้น ก็จะช่วยสร้างรายได้ให้เกษตรกรอีกด้วย

ด้าน นายชีวิต เม่งเอียด ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 จังหวัดชัยนาท (สศท.7) กล่าวเสริมว่า ในส่วนของตลาดรับซื้อนั้น จังหวัดนนทบุรีมีที่ตั้งใกล้แหล่งรับซื้อ เช่น ตลาดไท ตลาดปากคลองตลาด ซึ่งช่วยลดต้นทุนค่าขนส่งและรักษาคุณภาพของสินค้าได้ ทั้งนี้ การร่วมวางแผนการผลิตสินค้าให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด เกษตรกรจะได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับการลงทุนมากที่สุด สิ่งสำคัญการมีข้อมูลด้านการผลิตและการตลาดจะเป็นข้อมูลเชื่อมโยงเพิ่มช่องทางการตลาดได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม จังหวัดนนทบุรีได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำเค็ม จึงควรมีแหล่งเก็บกักน้ำในช่วงฤดูฝนไว้ใช้ในหน้าแล้ง ทั้งนี้ ท่านที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมข้อมูลพืชทางเลือกในพื้นที่ภาคกลาง สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สำนักงาน

กล้วย เป็นพืชปลูกง่ายโตไว ปลูกได้ทุกภูมิภาคของประเทศไทย กาบใบนำไปทำกระทง นำไปแทงหยวกทำเป็นสิ่งประดิษฐ์ใช้ในงานพิธีต่างๆ ใบตองนำไปห่อทำอาหารคาว-หวาน หรือผลกล้วยสุกกินอร่อยได้คุณค่าทางโภชนาการ ผู้ปลูกกล้วยบางคนปลูกเพื่อขายหน่อ บางคนปลูกเพื่อขายผลกล้วยดิบ-กล้วยสุก หรือบางคนปลูกกล้วยเพื่อตัดใบขาย ซึ่งล้วนเป็นทางเลือกที่ผู้ปลูกต่างก็มุ่งเพื่อก่อให้เกิดรายได้ โดยเฉพาะการ ปลูกกล้วยตัดใบ อาชีพเงินแสน เส้นทางอาชีพที่สร้างความมั่นคงให้กับเกษตรกรจังหวัดอ่างทอง เป็นเรื่องราวที่น่าสนใจที่นำมาบอกเล่าสู่กัน

จังหวัดอ่างทองมีพื้นที่ปลูกกล้วยน้ำว้า 15,258 ไร่ การปลูกกล้วยมีทั้งเป็นการปลูกแบบสวนหลังบ้านเพื่อได้ผลผลิตไว้กินไว้ใช้ในครัวเรือน และปลูกในเชิงการค้าเพื่อก่อให้เกิดรายได้จากการขายผลผลิตกล้วย เกษตรกรมีพื้นที่ปลูกกล้วยตั้งแต่ 3 ไร่ขึ้นไป และสำหรับเกษตรกรที่ปลูกกล้วยเพื่อตัดใบขายในแต่ละปีจะมีรายได้ปีละกว่าแสนบาท

เป้าหมายสำคัญในการส่งเสริมให้มีการปลูกกล้วยเพื่อตัดใบขายคือ ผู้ปลูกต้องเลือกหน่อพันธุ์ดีปลอดโรคมาปลูก มีการใส่ปุ๋ยให้น้ำพอเพียง ทำแนวป้องกันลม และต้องป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูกล้วยไม่ให้เข้าทำลายใบกล้วยให้แตก ฉีกขาด ใบเหลือง หรือใบเป็นรูพรุน ซึ่งหากปฏิบัติได้ก็ทำให้ได้ใบกล้วยสวยสมบูรณ์พร้อมตัดไปขายได้เงิน

แมลงศัตรูกล้วยที่สำคัญได้แก่ หนอนม้วนใบ มันจะกัดกินที่ริมใบให้แหว่งเข้าไปเป็นทางยาว ตั๊กแตนผี ตัวอ่อนและตัวแก่ชอบกัดกินใบ หนอนกระทู้ ตัวอ่อนชอบกัดกินใบตองอ่อนที่ยังไม่คลี่ใบ หรือกัดแทะกลางใบให้ทะลุเป็นรูโตตามขนาดและวัยของตัวหนอน และหนอนร่าน มันชอบกัดกินใบที่กำลังเปลี่ยนจากสีตองอ่อนเป็นสีเขียวแก่ การป้องกันและกำจัด แมลงศัตรูกล้วยดังกล่าว ถ้าพบไม่มากให้จับไปทำลายทิ้ง หากพบว่ามีจำนวนมากให้กำจัดด้วยสารเคมีเช่น พาราเทล ที เอ็น ฟอส พาราท๊อป และการใช้สารเคมีให้ปฏิบัติตามคำแนะนำในฉลากและควรใส่สารจับใบผสมลงไปด้วย

ยังมีแมลงศัตรูกล้วยอีกพวกหนึ่งได้แก่ มวนร่างแห มันจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบกล้วย ทำให้ใบเหี่ยว ด้วงเต่าแตง ตัวแก่ชอบกัดกินใบตองยอดอ่อน หนอนปลอก หนอนตัวอ่อนชอบกัดกินใบเพื่อนำมาทำปลอกหุ้มตัว ทำให้ใบฉีกขาดเสียหาย การป้องกันและกำจัด แมลงศัตรูกล้วยดังกล่าว ทำได้ด้วยการเลือกหน่อพันธุ์ที่แข็งแรงไม่มีโรคมาปลูก รักษาสวนกล้วยให้สะอาดเพื่อไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของศัตรูกล้วย หากเกษตรกรปฏิบัติได้ตามนี้ก็จะทำให้การปลูกกล้วยตัดใบ ได้ใบตองสวยสมบูรณ์ขายได้เงินแสนและเป็นช่องทางทำให้เกษตรกรมีความมั่นคงยิ่งขึ้น

ป้าอำนวย อินโอภาส เกษตรกรผู้ปลูกกล้วยน้ำว้าตัดใบ เป็นชาวตำบลบางระกำ อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง เล่าให้ฟังว่า ปลูกกล้วยน้ำว้า 5 ไร่ ปลูกกล้วยมาหลายสิบปีแล้ว เมื่อปลายปี 2554 เกิดน้ำท่วมนานทำให้ต้นกล้วยตายไปหมด เมื่อน้ำลดเข้าสู่ภาวะปกติได้ไปซื้อหน่อพันธุ์กล้วยน้ำว้าจากแหล่งพันธุ์ดีที่เชื่อถือได้มาปลูก กล้วยเป็นพืชที่ปลูกง่ายเจริญเติบโตไว ปลูก 6-8 เดือนก็เริ่มตัดใบขายได้เงินแล้ว จะตัดใบทุกวันหรือวันเว้นวัน นำใบที่ตัดมาซอยแล้วพับใบให้เป็นมัดหรือแหนบ แต่ละวันจะได้ 30-40 แหนบๆ ละ 10 กิโลกรัม ถ้านำไปขายที่ตลาดในเมืองจะขาย 12-15 บาทต่อกิโลกรัม ทำให้แต่ละวันจะมีรายได้จากการตัดใบขาย 3-500 บาท

การตัดใบ จะตัดทั้งใบอ่อนและใบเขียว เลือกตัดใบที่ไม่แตกหรือแตกบ้างแต่เพียงส่วนน้อย การตัดใบอ่อน จะตัดใบอ่อนที่อยู่ส่วนยอดของต้นกล้วยลงมาถึงใบที่ 3-4 นำใบที่ตัดมาซอยแล้วพับใบทำเป็นมัดหรือแหนบละ 10 กิโลกรัม ถ้านำไปขายที่ตลาดพ่อค้าจะซื้อ 10-13 บาทต่อกิโลกรัม ตัดใบอ่อน 1 วันจะพักต้น 2-4 วันเพื่อรอให้แตกใบยอดก่อนจึงวนมาตัดใหม่ ถ้าตัดใบอ่อนหมดทั้งดงหรือสวนก็พักต้น 15 วันเพื่อรอให้ต้นกล้วยแตกใบยอดก่อนจึงวนมาตัดใบอีกครั้ง

การตัดใบเขียว ได้ตัดใบที่ไม่แตกหรือแตกบ้างแต่เพียงส่วนน้อย นำใบที่ตัดมาซอยแล้วพับทำเป็นมัดหรือแหนบละ 10 กิโลกรัม นำไปวางไว้หน้าสวนเพื่อขายให้กับพ่อค้าที่เข้ามารับซื้อในราคา 10-13 บาทต่อกิโลกรัม หรือนำไปขายที่ตลาดในเมืองพ่อค้าจะรับซื้อในราคา 12-15 บาทต่อกิโลกรัม จะตัด 3-4 ครั้งจะพักต้น 10-15 วันจึงจะวนกลับมาตัดอีก

ป้าอำนวย อินโอภาส เล่าให้ฟังว่า สำหรับต้นแม่ที่กำลังออกเครือจะไม่ตัดใบ แต่จะตัดใบจากหน่อข้างต้นแม่ที่มีความสูง 1.20 เมตรและเป็นต้นที่มีความสมบูรณ์ ใบสวยไม่ฉีกขาดนำไปขายได้ จากที่ได้ปลูกตัดใบมานานก็พอทำให้มีเงินแสนจากการขายใบตอง พอกินพออยู่และครอบครัวมีความเข็มแข็งมั่นคง

ป้าละเอียด เผือกพันธุ์ เกษตรกรปลูกกล้วยน้ำว้าตัดใบขาย เล่าให้ฟังว่า ปลูกกล้วย 5 ไร่ ได้ปลูกถั่วฝักยาว 370 หลุม บวบ 50 หลุมและปลูกมะระ 100 หลุมเป็นพืชแซมเสริมรายได้ ในพื้นที่ใกล้กันได้ปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้ 100 ต้น

ส่วนการปลูกกล้วยตัดใบ ได้ตัดทั้งใบอ่อนและใบเขียว ใบที่ตัดได้จะนำมาซอยแล้วพับใบทำเป็นมัดหรือแหนบละ 10 กิโลกรัม แต่ละครั้งที่ตัดจะได้ 25-40 แหนบ ตัดใบ 3-4 ครั้งจะพักต้น 10-15 วันเพื่อให้ต้นกล้วยเจริญเติบโตจึงวนกลับมาตัดใบอีกครั้ง ใบตองที่ตัดได้จะนำไปวางที่หน้าสวนเพื่อขายให้กับพ่อค้าที่เข้ามารับซื้อในราคา 10-13 บาทต่อกิโลกรัม และในช่วงที่รอตัดใบรอบใหม่ ได้ไปดูแลใส่ปุ๋ยให้น้ำบำรุงต้นมะม่วงน้ำดอกไม้ให้เจริญเติบโตรอการเก็บเกี่ยว และดูแลเก็บเกี่ยวพืชผักไปขาย ซึ่งจากที่ได้ปลูกกล้วยตัดใบและปลูกพืชผักแซมทำให้มีผลผลิตขายก็พอทำให้ได้เงินแสน ช่วยให้ครอบครัวพอมีพอกินและอยู่ได้อย่างมั่นคง

เรื่องราวการ ปลูกกล้วยตัดใบ..อาชีพเงินแสน ผู้ปลูกจะประสบความสำเร็จได้ต้องเลือกหน่อพันธุ์ดีปลอดโรคมาปลูก ใส่ปุ๋ยให้น้ำพอเพียง แล้วต้องป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูกล้วยไม่ให้เข้าทำลายใบก็จะทำให้ได้ใบกล้วยดีมีคุณภาพขายได้เงินแสน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ป้าอำนวย อินโอภาส หมู่ 1 ตำบลบางระกำ อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง โทร.089-984-4064 หรือป้าละเอียด เผือกพันธุ์โทร.089-984-4064

“ขยะ” หนึ่งในปัญหาใหญ่ของคนทั่วโลก ซึ่งรวมถึงประเทศไทยของเราด้วย แม้หลายๆ คนจะเริ่มนำขยะมารีไซเคิลกันบ้างแล้ว แต่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนี้ ล้วนส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นวงกว้าง เกิดเป็นมลพิษทางอากาศ ทางน้ำ และพื้นดิน อย่างที่เห็นข่าวกันบ่อยๆ ในหลายพื้นที่ เช่น เกิดโรคติดต่อในชุมชนที่มีขยะเยอะ สัตว์น้ำเผลอกินขยะเข้าไปจนเสียชีวิต พื้นดินเกิดการปนเปื้อนของสารเคมีในปริมาณที่สูง เป็นต้น

จากการประชุมโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (ชลบุรี, ระยอง, ฉะเชิงเทรา) หรือ EEC โครงการภาครัฐที่ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพื่อก้าวสู่ประเทศไทย 4.0 เมื่อต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เปิดเผยข้อมูลที่น่าสนใจว่า สถิติ ปี 2561 ประเทศไทยมีปริมาณขยะมูลฝอยมากถึง 27.8 ล้านตัน เฉลี่ยเป็นอัตราการเกิดขยะ 1.15 กิโลกรัม/คน/วัน ในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถกำจัดขยะมูลฝอยได้เพียง ร้อยละ 34 จากปริมาณขยะที่เกิดขึ้นเท่านั้น ทั้งนี้สถิติของหลายปีที่ผ่านมาชี้ให้เห็นว่ามีแนวโน้มที่ปัญหาขยะมูลฝอยของไทยจะทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ

“ขยะ” ปัญหาใหญ่ เริ่มแก้ง่ายๆ ที่ “เรา”

จริงอยู่ที่ “ขยะ” เป็นปัญหาใหญ่ แต่วิธีการแก้ไขสามารถเริ่มต้นทำได้ง่ายมาก เพียง ‘คัดแยกขยะ’ ก่อนทิ้งทุกครั้ง เพื่อเป็นการลดปริมาณขยะที่ออกจากบ้าน ช่วยลดปริมาณขยะตกค้างในพื้นที่ได้ถึง ร้อยละ 95 และช่วยลดงบประมาณในการกำจัดขยะลงได้ด้วย ก่อนคัดแยกต้องมาทำความรู้จักขยะและถังขยะให้ครบถ้วนก่อน บอกเลยว่าไม่ได้มีแค่ขยะเปียกกับขยะทั่วไปเท่านั้น แต่มีด้วยกันทั้งหมด 5 ประเภท ดังนี้

ขยะอินทรีย์ หรือที่เรียกกันติดปากว่า ขยะเปียก เป็นขยะที่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ เช่น เศษอาหาร เศษใบไม้ พืชผัก ผลไม้ต่างๆ ทิ้งลงถังสีเขียว
ขยะรีไซเคิล เป็นขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ผ่านกระบวนการเปลี่ยนรูปร่างต่างๆ เช่น กระดาษ ขวดแก้ว ขวดพลาสติก พลาสติก โลหะ อโลหะ ทิ้งลงถังสีฟ้า
ขยะทั่วไป เป็นขยะที่ย่อยสลายยากและไม่คุ้มค่าในการนำไปรีไซเคิล เช่น ถุงพลาสติก ถุงขนม เปลือกลูกอม ทิ้งลงถังสีเหลือง
ขยะอันตราย เป็นขยะที่ต้องเก็บรวบรวมแล้วนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันอุบัติเหตุและมลพิษ เช่น ขยะอิเล็กทรอนิกส์ บรรจุภัณฑ์สารเคมีต่างๆ ทิ้งลงถังสีแดง
“ขยะ” แยกเสร็จแล้วไปไหน!?

เมื่อเราคัดแยกขยะแล้ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะนำขยะต่างๆ ไปสู่กระบวนการต่อไป เช่น ขยะรีไซเคิลจะถูกส่งต่อไปสร้างมูลค่าเพิ่ม และขยะที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้แล้วก็จะถูกนำไปกำจัดด้วยวิธีที่ถูกสุขาภิบาลอย่างการฝังกลบ แต่ในปัจจุบันปริมาณขยะเยอะขึ้น พื้นที่ที่จะใช้ฝังกลบได้มีน้อยลง ขยะเก่าเริ่มส่งกลิ่นเหม็น ก่อให้เกิดมลพิษอื่นๆ ตามมา เรียกได้ว่าเป็นการกำจัดที่ไม่เกิดประโยชน์เท่าไรนัก ตอนนี้หลายๆ ประเทศรวมถึงไทยเอง จึงมีการกำจัดขยะที่ช่วยสร้างประโยชน์เพิ่มขึ้น และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นั่นก็คือ “โรงงาน หรือสถานที่กำจัดขยะ” ที่สามารถกำจัดขยะได้ครั้งละปริมาณมากๆ ทำให้ค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะถูกลง และสามารถนำพลังงานที่เกิดจากการทำลายขยะมาใช้ต่อไปได้อีกด้วย หรือที่เรียกว่าขยะอาร์ดีเอฟ (RDF) หรือขยะเชื้อเพลิงนั่นเอง

ยกตัวอย่างเช่น โครงการบริหารจัดการขยะครบวงจร จ.ระยอง ในพื้นที่ EEC ที่ให้ความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อม จึงดำเนินการจัดตั้งโรงงานกำจัดขยะเต็มรูปแบบขึ้นมา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดขยะให้ชาวระยอง เพิ่มมูลค่าของขยะ และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากการกำจัดขยะแบบฝังกลบ

นอกจากนี้ ศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยรวมแบบครบวงจร ยังคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วยคือ

จัดการบ่อฝังกลบขยะให้ถูกหลักสุขาภิบาล ด้วยการฝังกลบเถ้ามูลฝอยติดเชื้อ
จัดการวางระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อผึ่ง พื้นที่รวม 30 ไร่
มีห้องปฏิบัติการตรวจสอบคุณภาพน้ำที่ได้มาตรฐาน
มีระบบบำบัดมลพิษทางอากาศที่ได้มาตรฐานทั้งในอาคารคัดแยกขยะเชื้อเพลิง RDF และเตาเผามูลฝอยติดเชื้อ
การคัดแยกขยะ นอกจากจะช่วยลดปัญหาขยะล้นเมืองแล้ว ยังช่วยให้กระบวนการกำจัดขยะทำงานง่ายขึ้นด้วย ทั้งลดระยะเวลา ค่าใช้จ่าย และพลังงาน ทำให้ขยะทุกชิ้นถูกส่งต่อไปยังที่ที่เหมาะสม ถูกกำจัดอย่างถูกวิธี หรือถูกนำกลับมาใช้ใหม่ได้มากขึ้น ส่งผลดีต่อคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ในระยะยาว

“รู้แบบนี้แล้ว อย่ารอช้า เริ่มคัดแยกขยะกันเลยวันนี้ เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของโลกเรา” เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้เขียนมีโอกาสร่วมคณะสื่อมวลชนจากส่วนกลางติดตาม คุณประสงค์ ประไพตระกูล อธิบดีกรมการข้าว ลงพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด ไปตรวจสอบคุณภาพข้าวทั้งระบบ ย้อนรอยเส้นทางกว่าจะเป็นข้าวสาร Q และข้าวพันธุ์แท้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นผู้บริโภค ยกระดับข้าวไทยให้เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน

ตั้งแต่ต้นน้ำ-ปลายน้ำ

การลงพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดในครั้งนี้ ทำให้รู้ว่า เกษตรกรชาวนาไทยจำนวนมากกำลังเร่งปรับตัวเพื่อก้าวสู่ระบบตรวจสอบและรับรองมาตรฐานข้าว ตามมาตรฐานสินค้าเกษตร ขณะเดียวกัน กรมการข้าวก็ได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการโรงสีข้าว ในการเชื่อมโยงข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร เพื่อรวบรวมและคัดบรรจุเป็นข้าวสาร Q ต่อไป

คุณประสงค์ ประไพตระกูล อธิบดีกรมการข้าว กล่าวว่า กรมการข้าวให้ความสำคัญในเรื่องการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานข้าว เพื่อยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตร สร้างความปลอดภัยและความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ซึ่งกว่าจะเป็นสินค้าข้าวสารที่ได้รับเครื่องหมาย Q การันตีคุณภาพจะต้องผ่านการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานข้าว ดังนี้

มาตรฐานเมล็ดพันธุ์ข้าว (GAP Seed) เริ่มจากเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ทราบแหล่งที่มาที่เชื่อถือได้ ไม่ว่าจะเป็นเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP Seed หรือเมล็ดพันธุ์ข้าวของกรมการข้าว หรือเมล็ดพันธุ์ที่ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 และที่แก้ไข เพิ่มเติม
มาตรฐานข้าว GAP หรือมาตรฐานข้าวอินทรีย์ เกษตรกร/กลุ่มเกษตรกร/ผู้ขอการรับรอง ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของกรมการข้าวและตามมาตรฐานข้าว GAP หรือมาตรฐานข้าวอินทรีย์ รวมทั้งยินยอมให้ผู้ตรวจประเมินของกรมการข้าวเข้าตรวจประเมินและสุ่มเก็บตัวอย่างเพื่อนำมาวิเคราะห์คุณภาพข้าวหรือสารตกค้าง เมื่อผ่านการตรวจประเมินจะได้รับใบรับรองตามมาตรฐานนั้นๆ

มาตรฐานโรงสีข้าว GMP ผู้ประกอบการแปรสภาพข้าวเปลือกเป็นข้าวสาร ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของกรมการข้าวและตามมาตรฐานโรงสีข้าว GMP และต้องผ่านการตรวจประเมินจึงจะได้รับใบรับรองตามมาตรฐานโรงสีข้าว GMP
มาตรฐานผลิตภัณฑ์สินค้าข้าว ผู้ประกอบการคัดบรรจุข้าวสาร ยื่นคำร้องขอการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์สินค้าข้าวขึ้นอยู่กับประเภทสินค้าข้าว และยินยอมปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของกรมการข้าวและตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์สินค้าข้าวแต่ละประเภท พร้อมทั้งให้ผู้ตรวจประเมินของกรมการข้าวเข้าตรวจประเมินและสุ่มเก็บตัวอย่างข้าวเพื่อนำมาวิเคราะห์คุณภาพข้าวหรือสารตกค้าง

เมื่อผ่านการตรวจประเมินจะได้รับใบรับรองตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์สินค้าข้าวประเภทนั้นๆ ซึ่งมาตรฐานผลิตภัณฑ์สินค้าข้าวมีอยู่ด้วยกัน 5 ประเภท ได้แก่ ข้าวหอมมะลิไทย ข้าวหอมไทย ข้าวไทย ข้าวสีไทย และข้าวกล้องงอก โดยยื่นขอการรับรองกับกองตรวจสอบรับรองมาตรฐานข้าวและผลิตภัณฑ์ กรมการข้าว เมื่อได้รับการรับรองแล้วสามารถยื่นขออนุญาตใช้เครื่องหมายรับรองข้าวพันธุ์แท้ ซึ่งอนุญาตให้ใช้แสดงคู่กับเครื่องหมายรับรองมาตรฐาน Q ในข้าว 12 พันธุ์ คือ กข 6 กข 15 กข 21 กข 43 กข 59 ปทุมธานี 1 พิษณุโลก 80 ขาวดอกมะลิ 105 ทับทิมชุมแพ สังข์หยด มะลินิลสุรินทร์ และข้าวเหนียวลืมผัว

ใช้ระบบตรวจสอบอิเล็กทรอนิกส์ “Rice Cert”

คุณประสงค์ ประไพตระกูล อธิบดีกรมการข้าว กล่าวว่า ปัจจุบัน กรมการข้าวได้นำระบบ Rice Certification System : Rice Cert ซึ่งเป็นการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานข้าวระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ตรวจประเมินและรับรองระบบการผลิตตามมาตรฐานสินค้าเกษตรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้าวทั้งระบบการผลิต ภายใต้การให้บริการ Government Cloud Service (G-cloud) ของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (สพร.) หลักการตรวจ ประเมินและให้การรับรองจะยึดตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17065

สำหรับมาตรฐานสินค้าเกษตรที่เกี่ยวข้องกับข้าวที่ได้จัดทำระบบฐานข้อมูลภายใต้ระบบ Rice Cert. ประกอบด้วย

ข้าว GAP ซึ่งเป็นการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับข้าวหอมมะลิไทย และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับข้าว
ข้าวอินทรีย์ (ข้าว ORG) ตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ตาม มกษ.9000
เมล็ดพันธุ์ข้าว GAP(GAP Seed) การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับเมล็ดพันธุ์ข้าว ตาม มกษ.4406
โรงสีข้าว GMP การปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงสีข้าว ตาม มกษ.4403
ผลิตภัณฑ์สินค้าข้าว (Q)

เพื่อรองรับการให้บริการแก่หน่วยรับรอง (Certification Body : CB) สมัครเว็บ SBOBET และหน่วยตรวจ (Inspection Body : IB) ซึ่งเป็นเอกชนหรือมหาวิทยาลัยที่เป็น CB/IB ที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ผ่านระบบ Platform as a service (Paas) ในการใช้ระบบตรวจประเมินตามมาตรฐานข้าวต่างๆ ที่อยู่ในระบบ Rice Cert. ของกรมการข้าว เพื่อรองรับการถ่ายโอนภารกิจการตรวจประเมินระบบมาตรฐานต่างๆ ของหน่วยงานภาครัฐไปสู่ CB/IB เอกชนหรือมหาวิทยาลัย

ทั้งนี้ เกษตรกรสามารถเข้าสู่ระบบ Rice Cert. โดยเลือกระบบฐานข้อมูลตามมาตรฐานที่ต้องการ เพื่อสมัครและยินยอมปฏิบัติตามมาตรฐานต่างๆ ได้ เพียงกรอกเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ผ่านระบบ Rice Cert. ซึ่งจะดึงข้อมูลทะเบียนราษฎร์จากกรมการปกครอง และข้อมูลทะเบียนเกษตรกรจากกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อยืนยันตัวตนและข้อมูลการผลิตข้าวของตนเอง โดยเกษตรกรผู้ขอการรับรองระบบการผลิตตามมาตรฐานสามารถติดตามผลการตรวจ ประเมินระดับกลุ่มและระดับแปลง และสามารถเรียกดูใบรับรองแบบออนไลน์ได้ เพื่อตรวจสอบและแสดงสถานะการรับรองกับผู้ประกอบการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทุกที่ทุกเวลา ผ่าน Mobile Application ของระบบฐานข้อมูลตามมาตรฐานต่างๆ ในระบบ Rice Cert.

ตรวจประเมินผลิตภัณฑ์สินค้าข้าว Q

คุณประสงค์ ประไพตระกูล อธิบดีกรมการข้าว ได้ลงพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดเพื่อติดตามผลการตรวจ ประเมินและรับรองมาตรฐานข้าว GAP แบบกลุ่ม ของกลุ่มนาแปลงใหญ่สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส.ร้อยเอ็ด จำกัด (สกต.ร้อยเอ็ด จำกัด) รวมทั้งการตรวจประเมินผลิตภัณฑ์สินค้าข้าว Q ของสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส.ร้อยเอ็ด จำกัด อำเภอเกษตรวิสัย

ปัจจุบันกลุ่มนาแปลงใหญ่สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส.ร้อยเอ็ด จำกัด ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอเกษตรวิสัย มีสมาชิกจำนวน 352 ราย พื้นที่ปลูกข้าวจำนวน 7,136 ไร่ พวกเขารวมตัวกันปลูกข้าวหอมมะลิ 105 ตั้งแต่ปี 2560 เพื่อขายข้าวเปลือกให้กับ สกต.ร้อยเอ็ด จำกัด มีการรวมกลุ่มซื้อปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ย เมล็ดพันธุ์ กับ สกต.ร้อยเอ็ด จำกัด นอกจากนี้ มีการรวมกลุ่มกันกู้เงินโครงการ XYZ ของ ธ.ก.ส.มาใช้เป็นเงินลงทุนในการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 คุณภาพดี