ระบบการผลิตทางการเกษตรแบบบูติค Boutique Agricultural

สวัสดีครับ ยินดีที่ได้พบกันผ่านคอลัมน์ “คิดใหญ่แบบรายย่อย” กับผมธนากร เที่ยงน้อย กันเป็นประจำ ฉบับนี้ผมอาจจะมาด้วยเรื่องที่แปลกตาสักหน่อย กับ คำว่า “ระบบการผลิตทางการเกษตรแบบบูติค” ซึ่งเป็นคำที่ผมคิดขึ้นและนำมาใช้เรียกธุรกิจการเกษตรรูปแบบหนึ่ง เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2553 เมื่อมีโอกาสไปเยี่ยมชมบ้านไร่วิมานดินฟาร์มสเตย์ แอนด์ รีสอร์ท ของ พ.ต.ท. กฤชญาณ อภิกุลชา

ที่อำเภอทองผาภูมิ ซึ่งท่าน พ.ต.ท. กฤชญาณ บอกว่า ถูกใจคำว่า ระบบการเกษตรแบบบูติคนี้มาก และผมก็ใช้คำๆ นี้เรื่อยมา เพราะเห็นว่าเป็นธุรกิจการเกษตรอีกรูปแบบหนึ่งที่มีความแตกต่างไปจากธุรกิจการเกษตรแบบอื่นๆ แต่ก็มีคนทักท้วงว่าเมื่อเห็นว่ามันต่าง ทำไมไม่อธิบายให้คนส่วนใหญ่รับรู้และเข้าใจให้ตรงกันเสียที ปล่อยผ่านมาจนเวลาล่วงเลยเป็น 10 ปี ดังนั้น ผมจึงขอใช้พื้นที่ในฉบับนี้อธิบายขยายความ คำว่า “ระบบการเกษตรแบบบูติค” เสียทีครับ

ในการผลิตโดยทั่วไปจะประกอบไปด้วย 3 ส่วน ด้วยกันคือ ปัจจัยการผลิต (Input) ส่วนกระบวนการผลิต (Process) และส่วนที่เป็นผลผลิต (Output) ซึ่งรวมเรียกว่า ระบบการผลิต

ระบบการผลิต (Production System) หมายถึง การผลิตเป็นกระบวนการที่ทําให้เกิดการสร้างสิ่งหนึ่งสิ่งใดขึ้นมาจากการใช้ทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิตที่มีอยู่ การดําเนินการผลิตจะเป็นไปตามลําดับขั้นตอนของการกระทําก่อนหลัง กล่าวคือ จากวัตถุดิบที่มีอยู่จะถูกแปลงสภาพให้เป็นผลผลิตที่อยู่ในรูปตามต้องการ เพื่อให้การผลิตบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวนั้น จึงจําเป็นต้องมีการจัดการให้อยู่ในรูปของระบบการผลิต ซึ่งประกอบด้วยส่วนที่สําคัญ 3 ส่วน คือ ปัจจัยการผลิต (input) กระบวนการแปลงสภาพ/กระบวนการผลิต (conversion process) และผลผลิต (output) ที่อาจเป็นสินค้า และ/หรือบริการ

ดังนั้น หากอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ระบบการผลิตทางการเกษตรคือ การผลิตที่เป็นกระบวนการโดยใช้ปัจจัยการผลิต อย่าง คน วัตถุดิบ เครื่องจักร พลังงาน เงิน ข่าวสาร มาใช้ในกระบวนการแบบใดแบบหนึ่งเพื่อผลิตผลผลิตทางการเกษตรออกมาให้ได้ เช่น ลุงใหญ่ จะปลูกข้าวสัก 1 แปลง ลุงใหญ่ใช้ปัจจัยการผลิตอย่าง คน คือแรงงานของลุงใหญ่ วัตถุดิบ คือพันธุ์ข้าว ปุ๋ย เครื่องจักร คือรถไถ รถเกี่ยว เครื่องสูบน้ำ พลังงาน

คือน้ำมัน เงินสำหรับซื้อพันธุ์ข้าวปลูก ซื้อน้ำมัน ค่าเช่านา ข่าวสารเพื่อการตรวจสอบราคาข้าวเปลือก ราคาค่าจ้างรถไถ ค่าจ้างรถเกี่ยว กระบวนการผลิตข้าวแปลงนี้ของลุงใหญ่จะเน้นการไม่ใช้สารเคมีใดๆ ทั้งสิ้น ใช้เพียงปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ไม่ใช้สารฆ่าหญ้า สารฆ่าแมลงใดๆ ดังนั้น ผลผลิตข้าวที่ได้จากแปลงของลุงใหญ่แปลงนี้จะเป็นข้าวที่ปราศจากการใช้สารเคมีในกระบวนการผลิต ซึ่งระบบการผลิตของลุงใหญ่ที่ว่ามาทั้งหมดคือ ระบบการผลิตทางการเกษตรแบบเกษตรอินทรีย์นั่นเองครับ

ระบบการผลิตทางการเกษตรในประเทศไทยมีอะไรบ้าง

มีคำถามว่า แล้วระบบการผลิตทางการเกษตรในประเทศไทยมีอะไรบ้าง ผมได้พยายามอ่านและรวบรวมจากงานวิชาการของหลายท่าน หลายหน่วยงาน เช่น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เนตรนภา อินสลุด คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นต้น สามารถสรุปได้ว่าระบบการผลิตทางการเกษตรในประเทศไทยมีดังนี้

ระบบการผลิตทางการเกษตรแบบเกษตรเชิงเดี่ยวหรือระบบเกษตรเคมี (Monocropping/Chemical Agriculture)
ระบบการผลิตทางการเกษตรแบบยั่งยืน (Sustainable Agriculture System) ที่ผมรวมเอาทั้งระบบเกษตรผสมผสาน ระบบไร่นาสวนผสม ระบบวนเกษตร ระบบเกษตรธรรมชาติ และระบบเกษตรทฤษฎีใหม่ เข้ามารวมไว้ในระบบการผลิตทางการเกษตรแบบยั่งยืน
ระบบการผลิตทางการเกษตรแบบเกษตรอินทรีย์ (Organic agriculture)
เกษตรกรรมที่เป็นมากกว่าเกษตรอินทรีย์ (Beyond Organic farming) ซึ่งเป็นการปรับปรุงระบบและวิธีการทำเกษตรอินทรีย์ให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและรักษาระดับคุณภาพของผลผลิตอินทรีย์ให้สม่ำเสมอต่อเนื่องได้
ระบบการผลิตทางการเกษตรแบบบูติค Boutique Agricultural

มาถึงพระเอกของเราที่ผมจั่วหัวเอาไว้ “ระบบการผลิตทางการเกษตรแบบบูติค Boutique Agricultural” ซึ่งมีที่มาจาก คำว่า Boutique ที่แปลความหมายตามดิกชั่นนารีได้ว่า ร้านขายเครื่องแต่งกายที่นำสมัย ร้านเล็กๆ ที่ขายสินค้าหรือบริการที่เฉพาะเจาะจง เช่น ร้านขายสินค้านำเข้า

ระบบการผลิตทางการเกษตรแบบบูติค ตามความหมายที่ผมตั้งเอาไว้ก็คือ การรวมเอาธุรกิจเกษตรและธุรกิจบริการเข้าไว้ด้วยกันและดำเนินการไปพร้อมๆ กัน มีเป้าหมายอยู่ที่การสร้างรายได้จากการเกษตรและจากการบริการไปพร้อมๆ กัน และเกี่ยวเนื่องกัน นอกจากนั้นยังเน้นเรื่องการทำให้ลูกค้าพึงพอใจจากการได้ชื่นชม มีส่วนร่วม มีประสบการณ์ในการผลิตทางการเกษตรอีกด้วย

คอลัมน์ “คิดใหญ่แบบรายย่อย” กับผมธนากร เที่ยงน้อย ฉบับนี้หมดพื้นที่อีกแล้ว คงจะต้องทิ้งเอาไว้ให้เป็นที่สงสัยว่าหลักเกณฑ์พื้นฐาน ขอบเขตของระบบการผลิตทางการเกษตรแบบบูติค Boutique Agricultural นั้น จริงๆ แล้วเป็นอย่างไรกันแน่ มาหาคำตอบกันได้ในระบบการผลิตทางการเกษตรแบบบูติค Boutique Agricultural ตอนที่ 2 ต่อไปครับ

อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย สมัยก่อนถือว่าเป็นอำเภอชายขอบของประเทศ คืออยู่ติดกับประเทศลาว สมัยก่อนนั้นจะมีปัญหาเรื่องคอมมิวนิสต์ ผู้คนสมคบกันตั้งเป็นก๊กเป็นเหล่าต่อต้านรัฐบาล จึงมีปัญหาเรื่องสู้รบตามขอบชายแดนของประเทศไทย ทางการจึงต้องส่งทหารไปสู้รบกับกลุ่มคอมมิวนิสต์ จึงมีการตั้งค่ายทหารอยู่ตามอำเภอชายขอบของประเทศเพื่อสู้รบกับกลุ่มผู้ก่อการร้ายเหล่านี้

แม้ในปัจจุบันกลุ่มคอมมิวนิสต์จะไม่มีแล้ว แต่ก็ยังมีชนกลุ่มน้อยมากมายเอาอำเภอชายแดนเหล่านี้เป็นแหล่งพักยาเสพติด จนกลายเป็นปัญหาอันใหญ่หลวงของประเทศมาจนทุกวันนี้ มีคนชั่วก็ต้องมีคนดีเป็นของธรรมดา คนดีก็คือ กลุ่มเกษตรกรผู้ทำมาหากินสุจริต เช่น ครอบครัวของ กำนันสมศักดิ์ เพียรจันทร์ อยู่หมู่ที่ 6 ตำบลศรีนนชัย อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย เป็นต้น

ครอบครัวของ กำนันสมศักดิ์ เพียรจันทร์ ปลูกส้มโอ ประมาณ 30 ไร่ ปลูกเพื่อส่งออกไปประเทศจีน เกษตรกรปลูกไม้ผลต่างๆ ถ้าหาตลาดไม่ได้ก็อยู่ลำบาก ผู้ส่งออกส้มโอหวานของอำเภอเวียงแก่นมีอยู่หลายเจ้า เขาจะมีกลุ่มสวนส้มโอของใครของมัน

ครอบครัวของ กำนันสมศักดิ์ สมัยแต่ก่อนมีอาชีพทำนา ทำไร่ข้าวโพด ไร่ยาสูบ ต่อมาผลผลิตราคาตกต่ำ เกษตรกรก็อยู่ลำบาก ก็มีพ่อค้าจากนครปฐมเอาต้นพันธุ์ส้มโอหวานมาให้เกษตรกรที่ทำนา ทำไร่ ทดลองปลูกส้มโอดู ปรากฏว่าผลออกมาส้มโอมีรสชาติหวาน กรอบ ส่งไปประเทศจีนทดลองชิม คนจีน คนญี่ปุ่นชอบ ซึ่งพันธุ์ส้มโอเหล่านี้นำมาจากจังหวัดนครปฐมบ้าง จากจังหวัดพิจิตรบ้าง

ส้มโอ มีรสชาติหวานก็เพราะดินของอำเภอเวียงแก่นเป็นดินภูเขาไฟ มีแร่ธาตุสมบูรณ์ ส้มโอจึงมีรสชาติหวาน อร่อยกว่าใคร กำนันสมศักดิ์ บอกกับผู้เขียนว่า แต่ก่อนทำแต่ไร่ข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ ทำเป็นร้อยไร่ก็ไม่มีอะไรดีขึ้น เพราะต้นทุนสูง ผลผลิตราคาตกต่ำ เกษตรกรจึงมีฐานะยากจน จนกระทั่งพวกเขามาเกิดใหม่ด้วยส้มโอนี่แหละ

สวนส้มโอของกำนันสมศักดิ์ 3 แปลง แปลงละ 10-15 ไร่ ส้มโอจะปลูกไร่ละ 50 ต้น ปลูกห่างกัน 7 เมตร 10 ไร่ ก็ได้ 500 ต้น เป็นพันธุ์ขาวแตงกวา และพันธุ์ทองดี ใช้เวลาปลูกประมาณ 3 ปี ก็เริ่มเก็บลูกขายได้ จะมีพ่อค้ามารับซื้อให้ราคาดี โดยเกษตรกรไม่ต้องเดือดร้อนเรื่องตลาด เขาจะให้ราคา เกรด A (ผลใหญ่) ให้ลูกละ 40 บาท ส้มโอต้นหนึ่งเก็บลูกได้ 40 ลูก ก็จะได้ ต้นละ 1,600 บาท 100 ต้น ได้ 40,000 บาท 500 ต้น ก็ได้ 200,000 บาท เรียกว่าส้มโอเห็นเงินแสนได้ไม่ยาก

สวนส้มโอ 10 ไร่ เก็บรอบแรกได้ 200,000 บาท นี่หมายถึง รายรับ-รายจ่าย ก็หักออกไป 40% รายจ่ายคือ ค่าแรง ค่าปุ๋ย ค่าดูแลรักษาต่างๆ ค่าน้ำมัน สูบน้ำเข้าสวน

เกรด A เป็นเกรดส่งออก ได้ราคาสูง กำนันสมศักดิ์ สร้างฐานะได้ด้วยส้มโอ สามารถส่งลูกเรียนจบมหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก ได้ถึง 3 คน ลูกๆ มีการศึกษาระดับปริญญาหมด มีบ้านไม้สักหลังใหญ่ มีรถยนต์ใช้นับสิบคัน ไม่ว่าจะเป็นรถเพื่อการเกษตร รถยนต์ส่วนตัว กำนันสมศักดิ์ เป็นผู้นำในกลุ่มชุมชน

สำหรับ อำเภอเวียงแก่น ใครมีที่ดินน้อยก็ทำ 3 ไร่ 5 ไร่ ก็ทำได้ แต่ต้องให้ได้ผลผลิตออกมามีคุณภาพ การทำไม้ผลเพื่อขายส่งออกดูแล้วก็ไม่ใช่ของง่าย ต้องเข้ารับการอบรมจาก สำนักงานเกษตรกอำเภอ เกษตรกรจังหวัด ต้องให้ได้ตามคุณภาพที่เขากำหนด เช่น ยาฆ่าแมลง ที่เป็นอันตราย ต้องงด ต้องทำแบบอินทรีย์ ใช้สารเคมีให้น้อยที่สุด ใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น

ถ้าหากไม่เอาเกษตรกรเหล่านี้ไปอบรมเรียนรู้ก็จะพากันใช้สารเคมีกันอย่างเอิกเกริก ซึ่งเป็นพิษทั้งตัวเกษตรกรเอง และเป็นพิษต่อผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาฆ่าหญ้าทั้งหลาย เกษตรกรมักง่าย ไม่สนใจว่าสารเคมีพวกนี้มีอันตรายอย่างไรบ้าง เอาความสะดวกสบายใส่ตัว ต้องเอากลุ่มเกษตรกรเหล่านี้เข้ารับการอบรมอยู่บ่อยครั้ง

ยิ่งไร่ข้าวโพดยิ่งใช้สารเคมีเยอะมาก เพราะต้องฉีดยาฆ่าหนอน ฆ่าแมลงต่างๆ ข้าวโพดต้นทุนสูง ทั้งยา ทั้งปุ๋ย ผลผลิตราคาต่ำ เกษตรกรหมดหนทาง เพราะไม่รู้จะไปทำมาหากินอะไร เพราะไม่มีทางเลือก แต่ก่อนมีคนป่วยเป็นมะเร็งกันเยอะ แต่พอสำนักงานเกษตรจังหวัดให้ปลูกส้มโอ พร้อมทั้งหาตลาดให้ เกษตรกรก็เลยโชคดีไป เวลานี้ทางอำเภอเวียงแก่นถือว่าโชคดี มีทางเลือกที่ดีที่สุดแล้ว

เนื่องจาก อำเภอเวียงแก่น อยู่ติดกับอำเภอเชียงของ การส่งออกส้มโอไปประเทศจีนจึงง่าย และสะดวกสบาย เพราะมีถนนสาย R.3A ไปสู่ประเทศจีนแล้ว การขนส่งก็ง่ายขึ้นกว่าแต่ก่อนมากมาย

ก่อนที่จะได้เงินจากส้มโอก็เป็นระยะเวลา 7-8 เดือน ระยะเวลาที่ยังขายส้มโอไม่ได้ แต่เกษตรกรต้องมีกินมีใช้เป็นรายวัน ก็ต้องทำพืชผักสวนครัว เช่น ผักชะอม พริก มะเขือ หอย ปู ปลา ต้องมีรายได้รายวันด้วย เจ้าของสวนส้มโอจะเก็บผักชะอม พริก มะเขือ ขายเป็นรายได้วันต่อวัน

สำหรับต้นพันธุ์ส้มโอทางสวนก็ตอนกิ่งขายด้วย ใครต้องการกิ่งพันธุ์ส้มโอหวานพันธุ์ทองดี และขาวแตงกวา ติดต่อได้จากตัวแทนจำหน่าย โทร. 065-842-6450 หรือติดต่อที่ คุณรวิวรรณ เพียรจันทร์ หลานกำนันสมศักดิ์ โทรศัพท์ 089-633-2765

หลังจากเตรียมหลุมปลูกเรียบร้อยแล้ว นำกิ่งพันธุ์ส้มโอที่เตรียมไว้วางลงตรงกลางหลุม โดยให้ระดับของดินในถุงต้นกล้าสูงกว่าระดับดินปากหลุมเล็กน้อย หรือถ้าเป็นกิ่งตอนที่ชำแล้วให้ระดับดินที่ชำพอดีกับดินปากหลุม ใช้มีดที่คมกรีดถุงต้นกล้าจากก้นถุงขึ้นมาถึงปากถุง ทั้ง 2 ด้าน คือซ้ายและขวา เมื่อกรีดถุงแล้วให้ดึงถุงพลาสติกออก โดยระวังอย่าให้ดินแตก กลบดินที่เหลือลงหลุม กดดินบริเวณโคนต้นให้แน่นแล้วใช้ไม้ปักยึดกับลำต้น โดยปักให้ถึงก้นหลุมเพื่อป้องกันลมโยก หาวัสดุต่างๆ เช่น ฟางข้าว หญ้าแห้ง มาคลุมดินบริเวณโคนต้น รดน้ำให้ชุ่มแล้วหาวัสดุมาทำร่มเงา เช่น ทางมะพร้าวหรือกิ่งไม้ที่มีใบใหญ่มาพรางแสงแดดทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก เพื่อช่วยพรางแสงแดดให้กับส้มโอที่ปลูกใหม่ เมื่อต้นตั้งตัวได้ก็ค่อยเอาที่พรางแสงออก

เทคนิคการรดน้ำหรือกักน้ำ ให้ออกดอกตามต้องการ

เป็นเทคนิคที่นำมาใช้ในสวนส้มโอเพื่อช่วยให้ต้นส้มออกดอก ก็เข้าสู่กระบวนการในการทำใบอ่อนให้เสมอทั่วทั้งต้น จากนั้นก็จะใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 8-24-24 พร้อมกับการฉีดพ่นสะสมอาหาร 2-3 รอบ ด้วยปุ๋ยฮอร์โมน รวมทั้งสารป้องกันกำจัดโรค และแมลงเพื่อรักษาใบอ่อนไม่ให้โดนทำลาย โดยสะสมอาหารราวๆ 2 เดือน ตั้งแต่ระยะใบอ่อนจนถึงระยะใบแก่

การกักน้ำ…จะงดน้ำราว 20-30 วัน ให้ดินแห้ง เห็นว่าใบแก่มีสีเขียวเข้ม บีบจับขยี้ใบส้มโอแล้วกรอบ แสดงว่าใช้ได้ ก็จะเปิดน้ำให้จนชุ่มฉ่ำ ใส่ปุ๋ยเคมีช่วยกระตุ้นการเปิดตาดอก ด้วยปุ๋ย สูตร 8-24-24 อีกครั้ง การฉีดพ่นเปิดตาดอกจะฉีดพ่นด้วยปุ๋ยเกล็ด สูตร 0-52-34 อัตรา 2.5-3 กิโลกรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร ผสมกับพวกฮอร์โมน เช่น สาหร่ายสกัด แคลเซียมโบรอนและสารป้องกันกำจัด โดยจะฉีดกระตุ้นให้ออกดอก หรือเรียกว่า การเปิดตาดอก ก่อนการเปิดน้ำสัก 5-7 วัน 1 ครั้ง

หลัง เปิดให้น้ำอย่างเต็มที่ก็จะฉีดพ่นเปิดตาดอก ครั้งที่ 2 หากเห็นว่ามีแนวโน้มของการออกดอกให้เห็นก็ให้เลือกใช้ปุ๋ยสูตรเดิม คือ ปุ๋ยทางใบ สูตร 0-52-34 หรือหากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงอากาศค่อนข้างหนาวเย็น ก็อาจจะเปลี่ยนเป็นปุ๋ยที่มีสูตรปุ๋ยตัวหน้ามาช่วยกระตุ้น

ส่วนปุ๋ยทางดิน ที่จะใส่ให้ช่วงเปิดตาดอกก็ยังคงใช้ปุ๋ยเคมีใส่ทางดิน แต่หลังจากใส่ปุ๋ยทางดินแล้ว ฉีดเปิดตาดอกทางใบแล้วยังนิ่งไม่ออกดอก ก็อาจจะใส่ปุ๋ยทางดินช่วยกระตุ้นให้อีกครั้ง เช่น ปุ๋ยเคมี สูตร 18-0-46 ใส่ให้เป็นต้นๆ ไป

อากาศร้อน มีฝนตก และฝนตกหนักบางพื้นที่ในระยะนี้ กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรผู้ปลูกงาเฝ้าระวังการระบาดของหนอนห่อใบงา มักพบการเริ่มเข้าทำลายของหนอนห่อใบงาในระยะตั้งแต่ต้นงาเริ่มงอกพ้นผิวดินจนถึงต้นงาอายุ 30 วัน หนอนห่อใบงาจะเข้าทำลายโดยการชักใยดึงใบงามาห่อตัวไว้แล้วกัดกินใบ ถ้าหนอนห่อใบงาเข้าทำลายตั้งแต่ต้นอ่อน ต้นงาจะตาย ทำให้ต้องปลูกซ่อมใหม่ เมื่อต้นงาโตขึ้น หนอนห่อใบงาจะเข้าทำลายบริเวณยอดอ่อน ดอก ใบ และฝัก ทำให้ผลผลิตงาเสียหาย 27-40%

หากพบการระบาดของหนอนห่อใบงา ให้เกษตรกรใช้กับดักแมลงชนิดไฟฟ้าดักผีเสื้อกลางคืน (ตัวเต็มวัยของหนอนห่อใบงา) ไม่ให้มาวางไข่ได้ เพื่อเป็นการตัดวงจรชีวิตและตัดวงจรการระบาดของหนอนห่อใบงา ในระยะนี้ ให้เกษตรกรผู้ปลูกงาหมั่นสังเกตเมื่อพบหนอนห่อใบงามากกว่า 2 ตัว ต่อแถวปลูกงายาว 1 เมตร เกษตรกรพ่นด้วยสารฆ่าแมลงไตรอะโซฟอส 40% อีซี อัตรา 50 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคาร์โบซัลแฟน 20% อีซี อัตรา 60 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารแลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน 2.5% อีซี อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือพ่นเมื่อต้นงามีอายุ 5 วัน 20 วัน และ 40 วัน โดยพ่นติดต่อกัน 3 ครั้ง

พิเศษ! สมัครสมาชิกนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน, มติชนสุดสัปดาห์ และศิลปวัฒนธรรม ลดราคาทันที 40% ตั้งแต่วันนี้ – 30 มิ.ย. 63 เท่านั้น! สภาพอากาศร้อนชื้น อาจส่งผลกระทบให้เกิดโรคไวรัสจุดวงแหวนและเพลี้ยแป้ง เข้าทำลายต้นมะละกอได้ง่าย โรคไวรัสจุดวงแหวนแพร่ระบาดโดยมีไวรัสเป็นเชื้อ และมีเพลี้ยอ่อนเป็นพาหะนำโรค สามารถพบได้ทุกระยะการเติบโตของต้นมะละกอ

หากโรคไวรัสจุดวงแหวนแพร่ระบาดในระยะต้นกล้า จะทำให้ต้นแคระแกร็น ใบอ่อนซีดเหลืองเส้นใบหยาบหนาขึ้น ใบด่างสีเขียวเข้มสลับสีเขียวอ่อน หากเกิดโรคแพร่ระบาดรุนแรงจะทำให้ใบมะละกอมีขนาดเล็กลง บิดเบี้ยวผิดรูปร่าง ใบหงิกงอ บางครั้งใบเรียวเล็กลงเป็นเส้นยาวแทบจะไม่เห็นเนื้อใบ ทำให้ต้นกล้าไม่เจริญเติบโตหรือตายได้

หากแพร่ระบาดในช่วงต้นโต จะทำให้ใบแก่ขอบใบม้วนขึ้นและหยัก ใบยอดเหลืองซีดมีขนาดเล็กลง ก้านใบสั้น ใบด่างเหลืองสลับเขียว ลำต้นและก้านใบมีรอยขีดช้ำหรือรูปวงแหวน ต้นมะละกอที่เป็นโรคจะติดผลเร็ว แต่ให้ผลผลิตต่ำหรือไม่ให้ผลผลิตเลย ผลมีจุดวงกลมคล้ายวงแหวน บางครั้งเป็นสะเก็ดวงแหวน หากอาการรุนแรงมาก จะเป็นหูดนูนขึ้นมาและผิวขรุขระ ใบและช่อดอกหลุดร่วง ไม่ติดผล แคระแกร็น

โรคไวรัสจุดวงแหวน ยังไม่มีสารเคมีกำจัดได้โดยตรง เกษตรกรสามารถป้องกันการระบาดของโรคได้โดยกำจัดเพลี้ยอ่อนที่เป็นแมลงพาหะ หมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ และทำความสะอาดแปลงทำลายวัชพืชหรือพืชอาศัยอื่น ไม่ให้เป็นที่ซ่อนตัวของแมลงพาหะ และควรล้างทำความสะอาดอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ทางการเกษตรต่างๆ ให้สะอาด ผึ่งแดดให้แห้งหลังการใช้งานทุกครั้งอยู่เสมอ เมื่อได้นำไปใช้กับต้นที่เป็นโรคในแปลงที่มีการระบาดก่อนนำกลับมาใช้ใหม่ในครั้งต่อไป กรณีพบโรคไวรัสจุดวงแหวน ในแปลงปลูกมะละกอ แนะนำให้ กำจัดโรคโดยฉีดพ่นสารคาร์บาริล 85% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร

ส่วนเพลี้ยแป้งที่ระบาดในแปลงปลูกมะละกอ มักพบตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยง บริเวณยอดอ่อน ใบ ดอก และผล โดยมีมดช่วยพาไปยังส่วนต่างๆ ของต้นพืช ทำลายดอกและผลอ่อน ทำให้ดอกและผลหลุดร่วง หรือผลบิดเบี้ยว ทำลายยอดอ่อนและใบอ่อน ใบและยอดหงิกงอ เพลี้ยแป้งจะขับถ่ายมูลหวานออกมาที่ผิวผลส่งผลให้เกิดราดำ ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพต่ำ

ทั้งนี้ เกษตรกรสามารถป้องกันเพลี้ยแป้งได้ สล็อต UFABET โดยกำจัดมดและแหล่งอาศัย กำจัดพืชและวัชพืชที่เป็นแหล่งอาศัยของเพลี้ยแป้ง ก่อนย้ายต้นกล้ามะละกอลงหลุมปลูก ให้ตรวจดูว่าไม่มีเพลี้ยแป้งติดมากับต้นกล้า ถ้าพบควรนำไปทำลายทิ้งนอกแปลง หลังปลูกต้นกล้ามะละกอเรียบร้อยแล้ว ควรหมั่นสำรวจดูแนวขอบแปลงปลูกในทิศเหนือลมหรือขอบแปลงที่ติดกับแปลงอื่น

หากพบเพลี้ยแป้งระบาดในแปลงปลูกมะละกอ กรมวิชาการเกษตร แนะนำให้เกษตรกรตัดส่วนที่พบเพลี้ยแป้งไปทำลายทิ้ง และฉีดพ่นด้วยสารอิมิดาโคลพริด 70% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 4 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารไทอะมีทอกแซม 25% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 4 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารไดโนทีฟูแรน 10% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารโคลไทอะนิดิน 16% เอสจี อัตรา 15 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยควรเลือกใช้สารเคมีที่มีประสิทธิภาพชนิดใดชนิดหนึ่ง และให้พ่นในบริเวณจุดที่พบเพลี้ยแป้งและรัศมีโดยรอบ เพื่อป้องกันการกระจายตัวของเพลี้ยแป้ง

กลุ่มเกษตรกรทํานาบ่อทอง ตำบลบ่อทอง อำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์ นับเป็นหนึ่งในสถาบันเกษตรกรต้นแบบที่เข้มแข็ง ทั้งด้านการบริหารจัดการกลุ่ม การผลิต-การตลาด มีความคิดริเริ่มต่างๆ มากมาย เพื่อช่วยเหลือสมาชิกให้สามารถลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ทำกำไรได้ดีอย่างต่อเนื่อง จนได้รับการยกย่องจากกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้เป็นสถาบันเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ประเภทกลุ่มเกษตรกรทำนาถึง 2 ปีซ้อน คือ ประจำปี 2557 และ ปี 2563

กลุ่มเกษตรกรทํานาบ่อทอง จัดตั้งเมื่อ วันที่ 1 กันยายน 2546 สมาชิกแรกตั้ง 33 คน ปัจจุบัน มีสมาชิกจำนวน 136 คน นายตุ้น น่วมคำ รับหน้าที่เป็นประธานกลุ่มเกษตรกรทํานาบ่อทอง ที่ทำการกลุ่มตั้งอยู่บ้านเลขที่ 69/2 หมู่ที่ 1 ตำบลบ่อทอง อำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์ รหัสไปรษณีย์ 53230 โทรศัพท์ 061-294-7002

สมาชิกส่วนใหญ่ของกลุ่มเกษตรกรทำนาบ่อทองมีอาชีพทำนา แต่มักประสบปัญหาจากโรคพืช เช่น โรครากเน่าโคนเน่า โรคกล้าไหม้ โรคใบไหม้ และศัตรูพืช เช่น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยแป้ง เพื่อเป็นการช่วยเหลือสมาชิก ทางกลุ่มได้ดำเนิน “โครงการ ราดีพิทักษ์ทรัพย์” เพื่อจัดอบรมความรู้เรื่องวิธีป้องกันกำจัดโรคพืชให้แก่สมาชิก โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ ช่วยสนับสนุนเรื่องการจัดทำเชื้อราไตรโคเดอร์มา (เชื้อราขาว) เชื้อราเมตตาไรเซี่ยมและบิวเวอเรีย (เชื้อราเขียว) ซึ่งราทั้ง 2 ชนิด ช่วยแก้ปัญหาโรคพืชและแมลงรบกวนในนาข้าวได้ แถมช่วยลดใช้สารเคมี ส่งผลให้สมาชิกมีสุขภาพที่ดีขึ้น และรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชนด้วย สมาชิกจะรวมตัวกัน ณ ที่ทำการกลุ่ม เพื่อร่วมกันทำเชื้อราดังกล่าว และแจกจ่ายให้สมาชิกใส่ในนาข้าวช่วงฤดูทำนาต่อไป