ระบบพ่นหมอกแบบไทม์เมอร์หรือตั้งเวลา ลดการสูญเสียปุ๋ย

ทดแทนแรงงานคน คุณเฉลิมพล เล่าว่า เครื่องมือชุดนี้ระบบการทำงานแบบไทม์เมอร์ ใช้วิธีกดปุ่มเดียวทำงานได้จนจบ ใช้ติดตั้งกับสวนทุเรียน บนต้นทุเรียน คิดทำขึ้นใช้พ่นสารชีวภาพและให้ปุ๋ยทางใบ เพื่อช่วยลดต้นทุนจากปริมาณการใช้ปุ๋ยและสารชีวภาพ และแก้ปัญหาแรงงานหายาก แต่เมื่อติดตั้งการใช้งานไปแล้วด้วยสภาพที่เป็นสวนมีพืชอื่นๆ แซมด้วย การฉีดพ่นที่กระจายได้ทั่วถึงทั้งสวน นอกจากทำให้ต้นทุเรียนได้รับปุ๋ยแล้ว พืชอื่นๆ ที่ปลูกแซมไว้ได้ผลพวงเพิ่มความสมบูรณ์ และในฤดูร้อนช่วยลดอุณหภูมิและลดการระบาดของไรแดงด้วย ซึ่งการจัดทำระบบพ่นหมอกให้ปุ๋ย สารชีวภาพทางใบนี้ ใช้อุปกรณ์ที่ใช้งานในสวนทั่วไปมาประยุกต์ขึ้นใหม่ให้เหมาะกับการใช้งาน ระบบการทำงานมีอุปกรณ์ที่สำคัญๆ คือ กล่องควบคุมระบบพ่นหมอก ประกอบด้วย

ที่ต้องติดตั้ง 5 ส่วน คือ

1. ออกแบบติดตั้งหัวพ่นหมอกบนต้นทุเรียนให้เหมาะกับขนาดพุ่มแต่ละต้น
2. เบรกเกอร์ปิด-เปิด ไทม์เมอร์ตั้งเวลา กล่องอแมคเนติก และโอเวอร์โลด
3. เครื่องปั๊มน้ำ 3 สูบ (ใช้เครื่อพ่นยา 3 สูบ มาประยุกต์)
4. ถังบรรจุน้ำ ขนาด 200 ลิตร ต่อเข้ากับเครื่องปั๊มน้ำ และต่อกับวาล์วที่ปิด-เปิด ที่นำน้ำปุ๋ยจากถังผ่านท่อไปพ่นหมอก และ
5. การจัดทำแผนผัง (Lay Out) แบ่งโซนการใช้ระบบเครื่องพ่นหมอกในสวนทุเรียน ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือนี้ต้องใช้เวลาออกแบบ ประดิษฐ์และทดลองการใช้งานได้จริง ก่อนที่จะติดตั้งทั้งแปลงต้องคำนวณการใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อสั่งซื้อและนำมาประยุกต์ดัดแปลงประกอบด้วยตัวเอง

“การใช้ระบบพ่นหมอกให้ปุ๋ยทางใบ ตั้งเวลา แถวละ 10 นาที สลับหยุด 10 นาที จะช่วยลดปริมาณการใช้ปุ๋ยทางน้ำได้ครึ่งหนึ่ง จากแปลงที่ใช้งานในสวนถ้าใช้เครื่องพ่นยาจะใช้ปุ๋ยน้ำถึง 400 ลิตร ใช้คนงาน 2 คน ใช้เวลาเป็นชั่วโมง แต่ใช้ระบบพ่นหมอก ใช้ปุ๋ยน้ำ 200 ลิตร และใช้เวลาเพียง 20 นาที โดยที่สามารถตั้งเวลาทำงานอัติโนมัติ ช่วยลดต้นทุนทั้งค่าปุ๋ย ค่าแรงงาน และประหยัดเวลา และการพ่นด้วยเครื่องจะเป็นฝอยเป็นละอองมากกว่า และลดการสูญเสียระหว่างการย้ายต้นพ่น และช่วยทำให้เกิดความชุ่มชื้นกับพืชที่ปลูกแซมทั่วสวน ที่สำคัญเกษตรกรไม่ต้องสัมผัสกับสารพิษต่างๆ เพราะปุ๋ยที่ใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ ที่สวนสมโภชน์มีเป้าหมายที่จะทำสวนอินทรีย์ ตอนนี้เราลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้ 30% แล้วเป้าหมายคือ 100% อีก 5 ปีข้างหน้า” คุณเฉลิมพล กล่าว

ไฮไลต์ โปรเจ็กต์การให้น้ำ-ปุ๋ย ผ่านสมาร์ทโฟน

คุณเฉลิมพล กล่าวว่า โปรเจ็กต์การให้น้ำ-ปุ๋ย ผ่านสมาร์ทโฟน เป็นโจทย์ที่ต้องใช้เวลาคิด ทำ ทดลองกว่า 1 ปีเศษ เพิ่งประสบความสำเร็จเมื่อเดือนธันวาคม ปี 2560 นี้เอง ด้วยปัญหาการเสียเวลารอรดน้ำในสวนทุเรียนด้วยสปริงเกลอร์แต่ละแถวต้องใช้เวลานาน 30 นาที จึงเริ่มคิดว่าจะทำอย่างไร หรือมีระบบรดน้ำแบบไหนบ้างที่ไม่เสียเวลารอปิด-เปิด แต่ใช้ตั้งเวลาได้อัตโนมัติเพื่อช่วยประหยัดเวลาไปทำงานอย่างอื่นได้ จึงเริ่มค้นหาข้อมูลจากยูทูบพบอุปกรณ์ดังกล่าวที่สามารถสั่งงานผ่านสัญญาณอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีแอปพลิเคชั่นโหลดให้ใช้ฟรี

เพียงแต่ต้องคิดนำมาประยุกต์ใช้กับระบบน้ำโดยคิดหาอุปกรณ์มาช่วยเปิด-ปิด วาล์วน้ำอัตโนมัติ ใช้ความรู้พื้นฐานทางไฟฟ้าและดูจากคลิปบ้าง เริ่มต้นด้วยติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ดังกล่าวในแปลงทดลองเล็กๆ มีทุเรียน 30-40 ต้น ใช้แอปพลิเคชั่นเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟน ตั้งเวลาปิด-เปิด เมื่อทดลองใช้ได้ผลแล้ว คิดว่าถ้าเชื่อมต่อเครื่องมือเซ็นเซอร์วัดปริมาณความชื้นของดิน จะกำหนดเวลาการให้น้ำให้สอดคล้องกับปริมาณความต้องการได้ และได้ประยุกต์ใช้ร่วมกับระบบการให้ปุ๋ยทางน้ำด้วย ทั้งหมดเป็นที่มาของโปรเจ็กต์การให้น้ำ-ปุ๋ย ผ่านสมาร์ทโฟน ที่ต้องใช้เวลาคิดค้นและทำขึ้น กว่าจะใช้งานได้ ประโยชน์ของการให้น้ำพืชผ่านสมาร์ทโฟน คือ

1. สามารถใช้ร่วมกับอุปกรณ์ต่างๆ ในฟาร์มได้หลายชนิด เช่น สปริงเกลอร์ เครื่องวัดอุณหภูมิ เครื่องวัดความชื้น เครื่องตั้งเวลาอัติโนมัติ อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ
2. สามารถใช้ให้ปุ๋ยไปพร้อมกับระบบน้ำ
3. สามารถปรับเปลี่ยนหรือตั้งเวลาการทำงานได้ตามที่ต้องการ และ
4. สามารถสั่งงานระยะไกล ผ่าน wifi ภายในบ้าน หรือสัญญาณอินเตอร์เน็ต 3G และ 4G
“ระบบการทำงาน ติดตั้งระบบให้น้ำผ่านสมาร์ทโฟนหรือโทรศัพท์มือถือ ระบบ wifi หรือสมาร์ทโฟน 3G 4G แอปพลิเคชั่น eWelink เชื่อมต่อเซ็นซอร์เครื่องวัดความชื้นเทนซิโอมิเตอร์ อุปกรณ์ที่จำเป็น มีถังน้ำ ขนาด 200 ลิตร ตัวกรอง โซลินอยด์วาล์ว ท่อเมนน้ำ ระบบน้ำแบบสปริงเกลอร์ การติดตั้งวาล์ว และกล่องควบคุมเมนหลักที่ควบคุมการปิด-เปิดน้ำ ติดตั้งสวิตช์วาล์วทั้งหมด และกล่องควบคุมเมนูย่อยมีไทม์เมอร์ตั้งเวลาปิด-เปิด ตัวรับสัญญาณ wifi ตัวแปลงกระแสไฟฟ้าตรงเป็นกระแสสลับ 24 โวลต์ การให้ปุ๋ยทางน้ำจะตั้งเวลา 2 นาที สลับกับการล้างน้ำเปล่าในท่อให้ปุ๋ยอีก 2 นาที ใช้เวลาเพียง 25 นาที จะให้ปุ๋ยทางน้ำหมด 200 ลิตร การใช้งานสะดวกหากอยู่นอกพื้นที่ขอเพียงให้มีสัญญาณ Wifi ให้เสถียรจะสั่งให้ปุ๋ยรดน้ำได้” คุณเฉลิมพล กล่าว

ศูนย์เรียนรู้ เปิดบริการโฮมสเตย์

คุณเฉลิมพล กล่าวว่า นวัตกรรมทั้ง 2 ระบบ เครื่องพ่นสารชีวภาพและให้ปุ๋ยทางใบแบบตั้งเวลา และการให้น้ำ-ปุ๋ย ผ่านสมาร์ทโฟน ค่าใช้จ่ายติดตั้งในแปลงสวนทุเรียน 40 ต้น ระบบละ 50,000 บาท 2 ระบบ ใช้เงิน 100,000 บาท ซึ่งในระยะ 10 เดือน จะสามารถคุ้มทุนได้ จากการทดแทนการจ้างแรงงาน 2 คน คนละ 12,000 บาท ต่อเดือน หากคิดคำนวณง่ายๆ 10 เดือน ก็คุ้มแล้ว ค่าต้นทุนปุ๋ยที่สามารถประหยัดได้ถึง 50% จากการใช้ปุ๋ย ถังขนาด 200 ลิตร ถ้าใช้คนพ่นมีการสูญเสีย ต้องใช้ 400 ลิตร และในส่วนของแรงงานที่ต้องใช้ดูแลการให้ปุ๋ย ให้น้ำ แบบเดิมๆ สามารถใช้เวลาไปทำงานที่ต้องใช้เทคนิคอื่นได้ และที่สำคัญอยู่นอกพื้นที่ที่มีสัญญาณผ่าน wifi สามารถใช้สมาร์ทโฟนสั่งงานได้

“นวัตกรรมใหม่ๆ คิดและทำขึ้นเพื่อใช้งานในสวน ต้องคิดเอง ทำเอง ใช้เอง ต้องเหมาะสมกับสภาพสวนของตนเองด้วย เช่น ขนาดพื้นที่สวน แหล่งน้ำ ส่วนใหญ่อุปกรณ์ที่ใช้มีอยู่แล้ว เพียงแต่นำมาประยุกต์ใช้งาน ซึ่งต้องเรียนรู้ เข้าใจระบบการทำงานของเครื่องมือที่ใช้ 3 โปรเจ็กต์นี้ ไม่ได้คิดทำเป็นเชิงพาณิชย์ ยินดีที่จะให้คำปรึกษา ให้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ โดยมีบริการที่พักโฮมสเตย์ ‘สวนสมโภชน์เกาะช้าง’ อนาคตจะสร้างสวนสมโภชน์เกาะช้าง เป็นศูนย์เรียนรู้สำหรับเกษตรกรทั่วไป และเด็กๆ เยาวชนได้ซึมซับเห็นต้นแบบการทำเกษตร ได้ทดลองใช้เครื่องมือ เทคโนโลยีเพื่อสร้างเกษตรยุคใหม่ที่ก้าวสู่เกษตรกรรม 4.0” คุณเฉลิมพล กล่าวทิ้งท้าย

สนใจสอบถาม คุณเฉลิมพล ทัศมากร โทร. (086) 022-6346 ศึกษาข้อมูล แตงโม มีวิตามินและแร่ธาตุที่ให้คุณค่าทางโภชนาการสูง เป็นไม้เถาเลื้อย ขอบใบหยัก ลำต้นมีขน ดอกสีเหลือง ผลกลมและกลมรี เกษตรกรแขวงกระทุ่มราย เขตหนองจอก ได้ปลูกแตงโมพืชเศรษฐกิจสำคัญเป็นพืชหมุนเวียนหลังการเก็บเกี่ยวข้าวหรือฤดูแล้ง ในโครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลายฤดูนาปรัง ปี 2561 เพื่อช่วยทำให้โครงสร้างดินดีมีคุณภาพ หรือเพื่อการยกระดับรายได้ นำไปพัฒนาคุณภาพชีวิตสู่ความมั่นคง

คุณจันทิรา บวรรัตนสุภา เกษตรกรุงเทพมหานคร สำนักงานเกษตรพื้นที่กรุงเทพมหานคร เล่าให้ฟังว่า สภาพพื้นที่กรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีพื้นที่การเกษตร 120,450 ไร่ เกษตรกร 7,032 ครัวเรือน พืชที่สำคัญ ได้แก่ พื้นที่ทำนา 87,397 ไร่ เกษตรกร 3,328 ครัวเรือน กล้วยไม้ 1,514 ไร่ เกษตรกร 243 ครัวเรือน ไม้ดอกไม้ประดับรวมสนามหญ้า 488 ไร่ เกษตรกร 94 ครัวเรือน พืชผัก 2,188 ไร่ เกษตรกร 658 ราย และอื่นๆ

สถานการณ์ปัจจุบัน เกษตรกรจะปลูกพืชเชิงเดี่ยว ใช้วิธีการแบบเดิมๆ มีความเสี่ยงกับดินฟ้าอากาศผันแปร ผลผลิตที่ได้รับไม่คุ้มทุนหรือมีความเสี่ยงด้านการตลาด จึงส่งผลกระทบต่อรายได้ที่ทำให้ไม่มั่นคงต่อการยังชีพ

ก้าวสู่วิถีใหม่ สำนักงานเกษตรพื้นที่กรุงเทพมหานคร จึงส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชหมุนเวียน ในโครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลายฤดูนาปรัง ปี 2561 ภายใต้นโยบายกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อให้เกษตรกรรวมกลุ่ม ได้มีส่วนร่วมคิดร่วมทำหรือจัดหาปัจจัยการผลิตราคาถูกมาใช้ เป็นศูนย์รวมรองรับข้อมูลวิชาการ ในด้านสังคมจะเกิดบูรณาการในการทำงานในพื้นที่ระหว่างเกษตรกร ภาครัฐ และเอกชน

การปลูกแตงโม เป็นพืชหมุนเวียนกับการทำนาก็เป็นวิธีการหนึ่งในการปรับปรุงบำรุงให้ดินดีมีคุณภาพ ลดต้นทุนการผลิตในการใช้ปุ๋ยในการปลูกพืชครั้งต่อไป ช่วยตัดวงจรศัตรูพืชให้หมดไปหรือลดน้อยลง มีผลผลิตหมุนเวียนสู่ตลาด และมีรายได้ต่อเนื่องให้เกษตรกรมีการยังชีพที่มั่นคง

ในด้านเศรษฐกิจ เพื่อมุ่งการลดรายจ่าย สร้างรายได้เพิ่มในครัวเรือนเกษตรกร ด้วยการดำเนินการตามศาสตร์พระราชา ที่มุ่งแก้ไขปัญหาในพื้นที่แบบพึ่งพาตนเองก่อนแล้วจึงเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันกับภายนอก ตามแนวทางพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในทางสายกลางคือ : พอประมาณ : มีเหตุผล : มีภูมิคุ้มกันในตัวดี

คุณลุงบุญเรือน ปรางทอง เกษตรกรผู้ปลูกแตงโมหมุนเวียนกับการทำนา เล่าให้ฟังว่า มีพื้นที่ทำการเกษตร 50 ไร่ ใช้เป็นพื้นที่ทำนาตลอดปีและทำนาติดต่อกันมานานโดยที่ไม่ได้ปลูกพืชหรือทำกิจกรรมอื่นแต่อย่างใด ได้ผลผลิตข้าวเฉลี่ย 60-85 ถัง ต่อไร่ ขายได้ 6,500 บาท ต่อเกวียนขึ้นไป ซึ่งราคาขายข้าวก็เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละฤดูกาล

ต่อมาได้รับคำแนะนำจาก สำนักงานเกษตรพื้นที่ 1 กรุงเทพมหานคร ให้เข้าร่วมปลูกพืชในโครงการส่งเสริม-การปลูกพืชหลากหลายฤดูนาปรัง ปี 2561 เพื่อให้มีการใช้พื้นที่ปลูกพืชหมุนเวียนสลับกับการทำนา มีการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินที่ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง การปลูกพืชหมุนเวียนจะทำให้ดินได้คุณภาพดี ได้รับผลตอบแทนคุ้มทุน จึงได้ปรับพื้นที่นามาปลูกแตงโม 15 ไร่ และเพื่อนเกษตรกรใกล้เคียงปลูก 11 ไร่ รวมมีพื้นที่ปลูกแตงโม 26 ไร่

การเตรียมดินและปลูก ได้ไถดะ ไถแปร จัดการไถพลิกดินให้พื้นที่เป็นสันร่องสูง 1 คืบ หรือ 30 เซนติเมตร กว้าง 1 เมตร ระหว่างสันร่องห่างกัน 3 เมตร ตากแดด 7-10 วัน แล้วหว่านปุ๋ย สูตรเสมอ 15-15-15 อัตรา 20 กิโลกรัม ต่อไร่ แล้วไถตีฝุ่น จัดวางระบบน้ำหยด วางผ้าพลาสติกดำที่เจาะรูไว้แล้ว คลุมให้อยู่กลางร่องแปลง ผ้าพลาสติกดำจะช่วยเก็บรักษาความชื้นและป้องกันวัชพืช การปลูกได้ขุดดินเป็นหลุมปลูกกว้างและลึกพอประมาณ นำต้นกล้าพันธุ์แตงโมลงปลูกเกลี่ยดินกลบ แต่ละหลุมปลูก จะมีระยะห่างกัน 30 เซนติเมตร พื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกได้ 850-900 ต้น

หลังปลูก 2 วัน ใส่ปุ๋ยครั้งแรกเพื่อช่วยเร่งการเจริญเติบโตของต้นแตงโม นำปุ๋ย สูตร 25-7-7 อัตรา 1 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1 ไร่ผสมกับน้ำในถังแล้วส่งปุ๋ยไปทางระบบท่อส่งน้ำหยด เว้นระยะการใส่ปุ๋ย 15 วัน ต่อครั้ง

ช่วงที่ต้นแตงโมเริ่มออกดอก ได้นำปุ๋ย สูตร 8-24-24 อัตรา 1 กระสอบ หรือน้ำหนัก 50 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1 ไร่ ผสมกับน้ำในถังแล้วส่งปุ๋ยไปทางระบบท่อส่งน้ำหยดเพื่อช่วยให้กับต้นแตงโมติดดอกที่สมบูรณ์

ในช่วงเริ่มติดผล ได้ใส่ปุ๋ยบำรุงผลด้วยการนำปุ๋ย สูตร 8-24-24 อัตรา 1 กระสอบ หรือน้ำหนัก 50 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1 ไร่ ผสมกับน้ำในถังแล้วส่งปุ๋ยไปทางระบบท่อส่งน้ำหยดเพื่อช่วยให้ต้นแตงโมติดผลได้ดีไม่หลุดร่วง

ก่อนเก็บผลแตงโม 7-10 วัน ได้นำปุ๋ย สูตร 0-5-12-34 อัตรา 1 กระสอบ หรือน้ำหนัก 25 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1 ไร่ ผสมกับน้ำในถังแล้วส่งปุ๋ยไปทางระบบท่อส่งน้ำหยดเพื่อช่วยให้ผลแตงโมมีความหวานหอมอร่อย ใส่ปุ๋ยวันละครั้ง

การให้น้ำ ได้ติดตั้งการให้น้ำต้นแตงโมด้วยระบบน้ำหยด ตั้งแต่ปลูกถึงเก็บผล ต้นแตงโมต้องได้รับน้ำอย่างพอเพียง ต้นแตงโมขนาดเล็กได้ให้น้ำวันละครั้งนาน 30 นาที และระยะก่อนเก็บผล 7-10 วัน ได้ให้น้ำทุกวัน แต่ละครั้งนาน 2 ชั่วโมงเพื่อให้ได้ผลแตงโมคุณภาพ

การเก็บผลแตงโม ได้เลือกเก็บผลที่แก่สุกเหมาะสม วิธีเก็บได้นำมีดคมตัดที่ก้านขั้วผล หรือใช้หัวแม่มือกับนิ้วชี้จับจิกที่ก้านขั้วผลบิดให้ขาด นำผลแตงโมไปเก็บรวบรวมในโรงเรือนพร้อมขายให้กับพ่อค้า พื้นที่ 1 ไร่ จะได้ผลผลิตเฉลี่ย 4 ตัน หรือถ้าไม่กระทบกับปัญหาจากสิ่งแวดล้อม จะได้ผลผลิต 5-6 ตัน

ตลาด การขายผลแตงโมจะมีพ่อค้ารายใหญ่ติดต่อเข้ามาซื้อแตงโม ครั้งละ 1.5 ตัน จึงได้กำหนดราคาขายที่หน้าสวน 10-30 บาท ต่อกิโลกรัม ลดหลั่นกันไปตามขนาดของผลแตงโม เป็นราคาคุ้มทุนที่พอจะทำให้มีรายได้เงินแสนบาทนำไปใช้เป็นทุนหมุนเวียนในการผลิตและเพื่อยังชีพได้อย่างพอเพียงมั่นคง

แตงโม…พืชเศรษฐกิจสำคัญ ปลูกหมุนเวียนกับการทำนา ในโครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลายฤดูนาปรัง ปี 2561 จะช่วยทำให้โครงสร้างดินดีมีคุณภาพ ลดต้นทุนการผลิต เป็นการยกระดับรายได้นำไปพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อความมั่นคง

สอบถามเพิ่มได้ที่ คุณลุงบุญเรือน ปรางทอง บ้านเลขที่ 42/4 หมู่ที่ 14 แขวงกระทุ่มราย เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร โทร. (085) 220-7346 หรือที่ คุณกัลยา เจริญทรัพย์ สำนักงานเกษตรพื้นที่กรุงเทพมหานคร โทร. (086) 335-3272 ก็ได้ครับ

“ ชะพลู” เป็นพืชคลุมดินที่นิยมปลูกกันทั่วประเทศ ชะพลูมีชื่อเรียกแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น เช่น ผักพลูนก พลูลิง ปูลิง ปูลิงนก ผักปูนา ผักนางเลิด มองผิวเผิน บางคนอาจจำสับสนระหว่าง ชะพลู กับใบพลู ความจริงแล้ว ชะพลูและพลู เป็นพืชคนละชนิดกัน ชะพลู เป็นพืชในวงศ์พริกไทย ใบไม่มีรสจัดเท่ากับพลูแถมยังมีขนาดใบที่เล็กกว่าด้วย

ประโยชน์ของ ชะพลู ชะพลู เป็นพืชสมุนไพรที่มากคุณประโยชน์ รสเผ็ดร้อนของใบชะพลู ช่วยทำให้เจริญอาหารมากขึ้น ใบชะพลูมีสารต้านอนุมูลอิสระช่วยยับยั้งและชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง สารเบต้าแคโรทีนในปริมาณมาก ช่วยบำรุงสายตา แถมอุดมไปด้วยวิตามินเอ ธาตุเหล็ก ธาตุฟอสฟอรัส คลอโรฟิลล์ เส้นใย ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย คนไทยตั้งแต่สมัยโบราณ จึงนิยมใช้ ชะพลู เป็นพืชสมุนไพรพื้นบ้าน ใช้บำรุงธาตุ ขับลม แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ขับเสมหะ ฯลฯ เนื่องจาก ใบชะพลู มีแคลเซียมในปริมาณสูงจึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทานใบชะพลูในปริมาณมากหรือทานติดต่อกันเป็นเวลานาน เนื่องจากแคลเซียมในใบชะพลูจะเปลี่ยนเป็น แคลเซียมออกซาเลต (Oxalate) ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคนิ่วในไตได้

สารพัดเมนูความอร่อยกับใบชะพลู

ใบชะพลู เป็นผักคู่ครัวไทยมาเนิ่นนาน สามารถนำไปปรุงอาหารได้มากกว่า 10 เมนู เช่น แกงคั่วหอยขมใส่ใบชะพลู ไข่เจียวใบชะพลู(มังสวิรัติ) แกงหน่อไม้รวกใบชะพลู แกงคั่วปลาช่อนใบชะพลู หมูทอดใบชะพลู แกงทูน่าใบชะพลู ยำตะไคร้ใบชะพลู ยำใบชะพลูกุ้งสด แกงคั่วหมูย่างใบชะพลู ยำใบชะพลูทอดกรอบ หมูย่างใบชะพลู ฯลฯ นอกจากนี้ยังนิยมใช้ใบชะพลู เป็นผักเครื่องเคียงในเมนูข้าวยำปักษ์ใต้ ยำแหนมสดข้าวพองกรอบ เมนูเมี่ยงคำ เป็นต้น

การปลูกดูแล

ชะพลู เป็นผักสวนครัวที่ปลูกดูแลง่าย นิยมขยายพันธุ์ต้นชะพลูด้วยวิธีการตัดหรือเด็ดกิ่งก้านส่วนยอดของต้นชะพลู โดยให้มีใบติดอยู่สัก 2-3 ใบ นำมาปักชำในกระถางที่มีดินร่วนซุย ปลูกในระยะห่าง 10-15 เซนติเมตร วางกระถางในบริเวณที่ร่มรำไร รดน้ำวันละ 1 ครั้ง ชะพลูจะออกรากและเติบโตเป็นต้นภายใน 1-2 เดือน ควรใส่ ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกบำรุงต้นชะพลู ทุก ๆ 3 เดือน

“ อาการใบหงิก ” จุดอ่อนที่ต้องระวัง

โดยทั่วไป ชะพลู มักไม่มีโรคหรือแมลงศัตรูเข้าทำลาย แต่ในช่วงฤดูแล้ง ต้นชะพลูอาจเจอปัญหา อาการใบหงิก จากการเข้าทำลายของเพลี้ยไฟ และ ไรขาว เพลี้ยไฟ เป็นแมลงศัตรูพืชที่มีขนาดเล็กมาก ชอบเกาะดูดกินน้ำเลี้ยงที่บริเวณใต้ใบพืช การระบาดจะรุนแรงในช่วงแล้ง เข้าดูดน้ำเลี้ยงที่ยอดอ่อน และใบอ่อนของพืช ทำให้ต้นแคระแกร็น ใบห่อม้วนขึ้นด้านบน ทำให้ผลผลิตและคุณภาพของพืชชนิดต่างๆ ลดลง

เมื่อเข้าสู่ช่วงหน้าแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน ให้ใช้มือจุ่มลงในน้ำแล้วลูบที่บริเวณใต้ใบ หากมีแมลงขนาดเล็กสีน้ำตาลติดมือขึ้นมา แสดงว่าเพลี้ยไฟเริ่มระบาด แก้ไขโดยฉีดน้ำหรือพ่นน้ำให้ต้นชะพลู เพื่อเพิ่มความชื้นให้สูงขึ้น ฉีดซ้ำอีก 2-3 ครั้ง โดยเฉพาะบริเวณใต้ใบ ในที่สุดเพลี้ยไฟก็จะบินหนีไปหากินที่อื่น กรณีที่แสดงอาการเพียงเล็กน้อยให้เด็ดทิ้งทั้งต้น และนำไปเผาทำลาย ป้องกันไม่ให้มีการแพร่ระบาดของเพลี้ยไฟมากขึ้น หากเกิดการระบาดรุนแรง ให้ฉีดพ่นด้วย เซฟวิน 85 เปอร์เซ็นต์ ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 20-30 กรัม ต่อน้ำ 1 ปี๊บ ให้ทั่วทรงพุ่ม โดยเฉพาะใต้ใบและให้งดใช้ก่อนเก็บผลผลิตไปบริเวณอย่างน้อย 2 สัปดาห์

ไรขาว เป็นแมลงศัตรูพืช ประเภท 8 ขา เช่นเดียวกับแมงมุม แต่มีขนาดเล็กมาก มองด้วยตาเปล่าเกือบไม่เห็น ไรขาวมักเข้าทำลายต้นพืชในช่วงที่มีฝนตกชุก อากาศชื้นที่บริเวณตาดอกและยอดอ่อน ทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตน้อยลง ลักษณะของการทำลาย จะทำให้ใบพืชเรียวแหลม ขอบใบม้วนงอลงด้านล่าง และยอดหงิกงอเป็นฝอย

เมื่อพบการระบาดยังไม่รุนแรง ให้เด็ดส่วนที่มีการระบาดเผาทำลายทิ้ง หากพบการระบาดรุนแรงให้ฉีดพ่นด้วยกำมะถันผง มีผู้ผลิตจำหน่ายเป็นการค้า ได้แก่ ไธโอวิท 80 เปอร์เซ็นต์ ดับเบิ้ลยูพี หรืออิโคซัลฟ์ 80 เปอร์เซ็นต์ ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 60-80 กรัม ต่อน้ำ 1 ปี๊บ ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่ม 2 ครั้ง ห่างกัน 5 วัน การระบาดของไรขาวจะหมดไปและควรงดใช้สารดังกล่าวก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต 1 สัปดาห์

คุณวารินทร์ปลูกมะม่วงอาร์ทูอีทู อยู่ที่จังหวัดระยอง จำนวน 50 ไร่ เริ่มปลูกตั้งแต่เมื่อไหร่ ใช้เวลากี่ปี

“ดั้งเดิมผมปลูกมะม่วงแบบเพื่อนบ้านทั่วๆไป มีมะม่วงอกร่อง น้ำดอกไม้ มะม่วงเปรี้ยว ธรรมดา ต่อมาก็มีการศึกษาเดินทางไปดูงานที่ต่างประเทศ ทำให้เริ่มมีความคิดที่กว้างขวาง ผมปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง 650 ต้น ในพื้นที่ประมาณ 15 ไร่ แต่พอมาถึงช่วงหนึ่งผ่านมา 10 ปีได้แล้ว ผมมองว่ามะม่วงน้ำดอกไม้สีทองในอนาคตจะไม่ดีเท่าไหร่ ผมจึงเปลี่ยนมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองโดยการเสียบยอดเป็นพันธุ์อาร์ทูอีทูทั้งหมด ซึ่งตรงกับแนวคิดที่เราคิดเอาไว้ ปัจจุบันผมถือว่าไปได้ดีในการทำมะม่วง แรกๆเราก็ส่งมะม่วงพันธุ์อาร์ทูอีทูมาลองตลาด ส่งไปที่ตลาด อตก. ตลาดวิลล่ามาร์เก็ต เดอะมอล์ ท็อป แต่เป็นไปไม่ได้ที่มะม่วงจะมีเกรดดีทุกลูก ทีนี้เราจะไปส่งให้ใครเพราะห้างต้องลับแต่ของเกรดเออยู่แล้ว แต่ผมได้พ่อค้าจีนเขามารับซื้อ มีเท่าไหร่ก็รับ มีรถมารับถึงหน้าสวน ราคาก็ดีเหมือนที่เราขับมาส่งที่ตลาด อตก. เพราะฉะนั้นเราถือว่าเราได้เดินถูกทางแล้ว และเขาก็ต้องการมากพันธุ์นี้ ผมจะไปขายให้พ่อค้าคนอื่น ทางพ่อค้าที่รับซื้อเราเป็นประจำก็ขอไว้ว่าอย่าขายให้คนอื่นอีกด้วย” คุณวารินทร์กล่าว

จุดเปลี่ยนและแนวคิดที่ลาออกจากราชการมาทำสวนมะม่วง

คุณวารินทร์ เล่าว่า หลังจากบิดาเสียชีวิต ตนเองได้ไปบวช ขณะที่บวชก็ได้เจออะไรหลายๆ อย่าง เริ่มคิดว่าเราต้องกลับไปอยู่กับแม่ ไม่อยากปล่อยให่แม่อยู่กับน้องสองคน เลยพร้อมที่จะลาออกจากข้าราชการเพราะเราเป็นพี่ชายคนโต และประจวบเหมาะกับที่คุณวารินทร์ มีแนวคิดที่จะทำเกษตรอยู่นานแล้ว โดยช่วงแรกคุณวารินทร์เริ่มทำเกษตรแบบชาวบ้านทั่วไป ปลูกมัน ซึ่งมันเป็นพืชล้มลุกในท้องถิ่นขายง่าย เพราะมีโรงงานรับซื้อ พอปลูกไปเรื่อยๆ มัน กลับพาคุณวารินทร์ล้มลุกไปด้วย คุณวารินทร์จึงเริ่มเปลี่ยนแนวคิดหันมาทำน้อยหน่า ปี1920 โดยถือว่าคุณวารินทร์ เป็นคนแรกที่ทำน้อยหน่าเชิงการค้าให้ออกปีละ 2 คุณวารินทร์เป็นคนชอบเปลี่ยนแปลงเรื่อยๆ พอหมดน้อยหน่า ก็ปลูกมะนาว ชมพู่ พุทรานมสด และปลูกมะม่วง คุณวารินทร์ ได้มะม่วงสายพันธุ์อาร์ทูอีทูมาจากออสเตรเลียปี32 มาลองปลูกได้ 3 ปี จึงรู้เลยว่ามะม่วงพันธุ์อาร์ทูอีทูในอนาคตน่าจะเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค เพราะด้วยรสชาติที่ไม่หวานมาก และในออสเตรเลียนักวิชาการเขามองว่าเขาจะลดเรื่องความหวาน และเรื่องการตลาดคุณวารินทร์มองว่าที่ต่างประเทศเขามีความชำนาญกว่า เราอาจจะสู้ของเขาไม่ได้เช่นมะม่วงสีแดงของเขาจะแดงกว่าเรา เพราะมีสภาพภูมิอากาศไม่เหมือนกัน และเทคโนโลยีเขาอาจจะเหนือกว่าเรา

“การที่มะม่วงอาร์ทูอีทูจะออกในบ้านเรา จะเริ่มออกต้นเดือนมีนาคม และหมดกลางเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นประโยชน์กับเราเพราะในช่วงที่ออกมะม่วงได้โดนแดด เพราะถ้าโดนแดนจะทำให้สีขึ้น มีการขัดสี เมื่อส่งไปตลาดต่างประเทศก็จะตอบโจทย์ได้ดี และแนะนำให้ทำมะม่วงอาร์ทูอีทูเพื่อการส่งออกจะดีกว่าเพราะมะม่วงพันธุ์นี้หวานน้อยอาจจะไม่ค่อยถูกปากคนไทย” คุณวารินทร์กล่าว

แนะนำสำหรับท่านที่จะปลูกมะม่วงพันธุ์ไทยเชิงการค้า

คุณวารินทร์ กล่าวว่า สายพันธุ์น้ำดอกไม้มันตลาดเริ่มรู้จักแล้ว มันขุนศรีก็ถือว่าเป็นมะม่วงที่หน้าปลูกสีสันสวย ตลาดให้ผลตอบรับดีพอสมควร มันขุนศรีเป็นสายพันธุ์ผสมระหว่างเขียวเสวยกับศาลายา จะออกดอกง่ายกว่าเขียวเสวย

แค็กตัส เป็นพืชในวงศ์ Cactaceae สมัครเล่นสล็อต มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ ก่อนจะแพร่กระจายเข้าสู่แอฟริกา และแพร่กระจายไปทั่วโลก นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ทั้งนี้ พันธุ์ดั้งเดิมพบได้ในพื้นที่ทะเลทรายแห้งแล้ง ก่อนจะมีการพัฒนาสายพันธุ์ให้ปลูก และเติบโตได้ในสภาพร้อนชื้นหลายประเทศ

อีกทั้งยังเป็นพืชที่มีลักษณะลำต้นแปลก และแตกต่างจากพืชชนิดอื่นคือ ลำต้นของเกือบทุกพันธุ์จะไม่มีใบ เนื่องจากใบมีวิวัฒนาการลดรูปกลายเป็นหนามเพื่อลดการคายน้ำ และป้องกันการกัดกินของสัตว์ ฉะนั้น ลักษณะลำต้นสูงยาว มีหนามปกคลุม ที่มองดูคล้ายกระบอง จึงทำให้คนไทยเรียกพืชชนิดนี้ว่า “กระบองเพชร” ขณะเดียวกัน กระบองเพชรสายพันธุ์รับประทานผลที่รู้จักกัน คือ “แก้วมังกร”

ด้วยคุณสมบัติที่มีลักษณะรูปร่างแปลก มีดอกสีสันสวยงาม ตลอดจนหนามที่น่าสนใจ ขณะเดียวกัน แค็กตัสเป็นพืชที่สามารถควบคุมการเลี้ยงเพื่อให้มีขนาดเล็กได้โดยไม่กระทบกับการเจริญเติบโต มีความอดทน ดูแลง่าย จึงนิยมนำไปใช้เป็นไม้ประดับตกแต่งตามสถานที่ต่างๆ ทั้งที่ทำงานหรือในบ้านพัก แล้วที่สำคัญมีราคาไม่แพง ด้วยเหตุนี้แค็กตัสจัดเป็นไม้อวบน้ำที่น่าสนใจแล้วมาแรงอีกชนิดหนึ่ง

คุณธนา นุชสมบัติ หรือ คุณอู อยู่บ้านเลขที่ 254 ตำบลบ้านใต้ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เป็นรองประธานกลุ่ม Young Smart Farmer จังหวัดกาญจนบุรี แล้วสนใจเพาะ-เลี้ยง ขยายพันธุ์แค็กตัสเป็นอาชีพมากว่า 3 ปี

อาชีพเดิมคุณอูเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง มีความจำเป็นต้องเดินทางไปทำงานหลายแห่ง ไม่ค่อยมีเวลาให้กับครอบครัว จึงมองหาอาชีพเกษตรกรรมทำอยู่กับบ้าน กระทั่งไปพบว่าตัวเองถนัดแล้วชอบแค็กตัสเนื่องจากเป็นพืชไม้ประดับที่ดูแลง่าย มีความสวยงามจากรูปทรงแปลกๆ จึงยึดเป็นอาชีพแล้วเสาะหาอีกหลายพันธุ์ที่ตลาดต้องการมาเพาะ-ขยาย เพื่อจำหน่าย