ระยะปลูกเราใช้ความห่างระหว่างต้น 1 เมตร แถว 1 เมตร

หากปลูกชิดกันมากกว่านี้เมื่อต้นชะอมโตขึ้นยอดจะชนกันทำให้ยอดแตกออกมาน้อย แต่ถ้าปลูกให้ในระยที่เหมาะสมคือ 1 เมตร (ระหว่างต้นและแถว) จะทำให้ได้ต้นชะอมที่ใหญ่และยอดจำนวนมาก ชะอม เป็นพืชที่ปลูกและดูแลง่าย ขั้นตอนการปลูกลงดินจึงทำไม่ยาก หลังจากปรับพื้นที่เสร็จเรียบร้อย ให้ขุดหลุมที่มีขนาดเท่ากับตุ้มของกิ่งที่ตอน จากนั้นนำกิ่งตอนลงหลุมปลูกและกลบดิน รดน้ำ โดยการวางระบบท่อน้ำสปริงเกลอร์ตามแนวของแถวชะอม”

หลังจากปลูกใช้เวลาประมาณ 2 เดือน ชะอมจะเริ่มออกยอดให้เก็บ แต่ก็ยังไม่มาก ซึ่งหลังจากเก็บยอดชะอมในช่วงเช้าเป็นที่เรียบร้อย จะเริ่มเปิดน้ำและใส่ปุ๋ยเคมี 46-0-0 ปุ๋ยมูลสัตว์ (มูลไก่) บำรุงต้นเพื่อช่วยกระตุ้นให้ต้นแตกกิ่งใหม่

แต่สิ่งอื่นใดการทำให้ชะอมออกยอดตลอดนั้น คุณบุญเรือง บอกว่า จะต้องฉีดฮอร์โมนทางใบ ซึ่งที่ผ่านมาได้รับการสนับสนุนนจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เข้ามาส่งเสริมและสอนวิธีการทำ ซึ่งหลังจากมีหน่วยงานราชการเข้ามาคอยเป็นพี่เลี้ยง ทำให้เราสามารถเกิดการรวมกลุ่มของสมาชิกผู้ปลูกชะอมทำให้เกิดความเข้มแข็งและมีพลังการต่อรองราคาจากพ่อค้าคนกลางทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องของการตลาดได้ทางหนึ่ง

นอกจากนี้ การรวมกลุ่มยังเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ใหม่นำมาพัฒนากลุ่มให้มีศักยภาพในการผลิตและการต่อรองจากพ่อค้าแม่ค้า

ในแต่ละปี ต้นชะอมที่ปลูกจะทำการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่ง ซึ่งจะมีคนเข้ามารับเหมาตอน กิ่งละ 2 บาท 1 ปี จะตอนประมาณ 2 รอบ สำหรับต้นแม่ที่สมบูรณ์

สำหรับตลาดรับชื้อตอนนี้ ส่งทั้งตลาดไท ตลาดสะพานใหม่ ราคากำละ 20 บาท ซึ่งแต่ละคนจะตัดและส่งให้กับพ่อค้าแม่ค้าตามระบบของกลุ่ม จะไม่แย่งและตัดราคากันเอง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บ้านเลขที่ 303 หมู่ที่ 3 ตำบลปากพลี อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก ในคอลัมน์นี้ ผมจะขอพาท่านไปพบกับเกษตรกรคนหนึ่ง ซึ่งเป็นปราชญ์เกษตรที่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมถึงเกษตรกรคนทั่วไปรู้จักท่านดี แม้จะอายุมากแล้วแต่ความคิดในการคิดค้นสิ่งใหม่ๆ ก็เกิดขึ้นอยู่ในใจท่านเสมอ จุดเริ่มต้นที่จุดประกายความคิดให้แก่เกษตรกรผู้นี้คือ การได้ไปศึกษาดูงานที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงใหม่ แล้วนำหลักการมาประยุกต์ ปรับพื้นที่การเกษตรของตนเองคล้ายๆ กับที่ศูนย์การศึกษาฯ แบ่งพื้นที่วางผังแปลงเกษตรเป็นด้านๆ ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการน้ำ ด้านเกษตรกรรม ด้านประมง และด้านปศุสัตว์

เมื่อดำเนินการดังกล่าวแล้วเสร็จ ก็เปิดพื้นที่ให้ผู้ที่สนใจได้เข้าไปศึกษาและเปิดเป็นศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตสินค้าเกษตร หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ ศพก. มีฐานเรียนรู้ด้านต่างๆ มีการนำผลผลิต ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นใน ศพก. มาใช้กับพืชผลทางการเกษตรภายในสวน โดยพึ่งปัจจัยภายนอกเพียงน้อยนิด

ไม่เพียงเท่านั้น เกษตรกรผู้นี้ยังมีความคิดสร้างสรรค์ที่จะให้จังหวัดแพร่มีแลนด์มาร์ก มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ให้ประชาชนได้มาเที่ยวชม มาศึกษา มาซื้อ มาชิม ผลผลิตทางการเกษตรในสวนของตน ของเพื่อนเกษตรกรและของจังหวัดแพร่ ด้วยการสร้างสกายวอล์ก (Sky walk) เป็นแห่งแรกของจังหวัดแพร่ สร้างขึ้นด้วยความร่วมไม้ร่วมมือของคนในท้องถิ่น และมีหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ สำนักงานเกษตรอำเภอวังชิ้น โดยมีเกษตรอำเภอนำทีมงานเข้าไปร่วมหนุนเสริม

บทความที่จะนำเสนอให้ท่านได้อ่าน ได้รับแรงหนุนจากเกษตรอำเภอวังชิ้น ผมจึงหาช่วงจังหวะเวลาและโอกาสนัดหมายกับท่าน ณ สำนักงานเกษตรอำเภอวังชิ้น ท่านจะได้นำพาผมไปพบกับเกษตรกรท่านนั้น

ผมได้สนทนากับเกษตรอำเภอและขอข้อมูลเกี่ยวกับอำเภอวังชิ้น มานำเสนอก่อนว่า อำเภอวังชิ้น เป็นอำเภอตั้งอยู่ทางใต้สุดของจังหวัดแพร่ ติดกับอำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย มีพื้นที่ 1,217 ตารางกิโลเมตร ภูมิประเทศเป็นพื้นที่ภูเขา ป่าไม้ ถึงร้อยละ 80 มีที่ราบเพียงร้อยละ 20 มีพื้นที่ 1,217 ตารางกิโลเมตร แบ่งเขตการปกครองเป็น 7 ตำบล คือ ตำบลวังชิ้น สรอญ แม่ป้าก นาพูน แม่พุง ป่าสัก และแม่เกิ๋ง มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นคือ เทศบาลตำบล 1 แห่ง องค์การบริหารส่วนตำบล 7 แห่ง จำนวนประชากร 47,720 คน ประกอบด้วยคนไทยพื้นเมือง และมีชนเผ่า 3 ชนเผ่า คือ กะเหรี่ยง ไทยใหญ่ และอาข่า

แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในอำเภอวังชิ้น ได้แก่ อุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย น้ำตกแม่เกิ๋งหลวง น้ำตกแม่พุงหลวง น้ำตกปันเจน น้ำพุร้อนแม่จอก พระธาตุขวยปู

ข้อมูลทางการเกษตร จากสำนักงานเกษตรอำเภอวังชิ้น ระบุว่า พื้นที่การเกษตรทั้งหมด 346,456 ไร่ มีการเพาะปลูกไม้ผล 24,396 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 7 เท่านั้นเอง มีผลไม้ที่โดดเด่นเป็นหน้าเป็นตาให้แก่อำเภอวังชิ้น ก็คือ ส้มเขียวหวานสีทอง ปลูกกันมากที่ตำบลนาพูน จำนวน 5,923 ไร่ (จากพื้นที่ปลูกทั้งอำเภอ 12,636 ไร่) เกษตรกรผู้ปลูก 916 คน/ครัวเรือน ปัจจุบัน ได้รับการส่งเสริมให้ดำเนินการเป็นส้มเขียวหวานเกษตรแปลงใหญ่

นอกจากผลไม้ส้มเขียวหวานสีทองแล้ว ที่เด่นๆ และได้รับการส่งเสริมก็เช่น มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง ทุเรียน

จากนั้นผมและเกษตรอำเภอวังชิ้น พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่เกษตรตำบลนาพูน ได้เดินทางด้วยรถยนต์ไปยังสวนของเกษตรกร จากอำเภอวังชิ้นไปตามถนนหลวง สายวังชิ้น-ศรีสัชนาลัย ระยะทาง 26 กิโลเมตร ก่อนถึงตำบลนาพูน มีทางแยกซ้ายมือ ขับรถเข้าไปอีก 1 กิโลเมตร

คณะเราได้ตั้งวงสนทนากัน ด้วยการแนะนำทำความรู้จักกันก่อน เกษตรอำเภอวังชิ้นคือ คุณประดิษฐ์ สลีหล้า เกษตรกรจะรู้จักท่านดีและเรียกชื่อท่านว่า ลุงดิษฐ์ คนเดิม คุณประชาเวช เกษอินทร์ เจ้าหน้าที่เกษตรตำบลนาพูน ลุงมนู กาญจนะ ป้าออน กาญจนะ และบุตรสาว คือ คุณพัทธนันท์ ธนดิฐภักดีพงษ์

ทำความรู้จักกับ ลุงมนู

ลุงมนู กาญจนะ อยู่บ้านเลขที่ 141/1 หมู่ที่ 11 ตำบลนาพูน โทรศัพท์ (086) 183-9626 ผมเคยพบและได้ยินชื่อเสียงของลุงมนูมาก่อนแล้ว จากการไปฟังท่านบรรยาย เล่าประสบการณ์ต่างๆ หรือเห็นรูปภาพจากการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับการเกษตร ก็ถือว่าลุงมนูเป็นปราชญ์เกษตรคนหนึ่งของจังหวัดแพร่ก็ว่าได้ ท่านยังกระฉับกระเฉง เข้มแข็ง ร่าเริง ท่านบอกว่าท่านพร้อมที่จะสนทนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์แนวคิดโดยไม่ปิดบังอะไร ท่านจึงได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรหลายครั้ง หลายหน่วยงานให้การยอมรับ และการันตีด้วยหนังสือรับรอง ใบประกาศยกย่องสารพัดรางวัล

แบ่งพื้นที่ทำเกษตรเชิงเดี่ยวและผสมผสาน

ลุงมนู เล่าว่า จากการได้ไปศึกษาดูงานที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงใหม่ เกิดแรงบันดาลใจ คิดวางแผนทำแปลงเกษตร โดยแบ่งพื้นที่เป็น 2 แปลง แปลงละ 12 ไร่ แปลงหนึ่งปลูกพืชเชิงเดี่ยว คือ ส้มเขียวหวานสีทอง อีกแปลงทำเกษตรผสมผสาน ประกอบด้วยไม้ผล จำพวกมะม่วง ส้มโอ กระท้อน มะยงชิด เงาะ ลำไย ขนุน ทุเรียน ลิ้นจี่ ลองกอง มะขามป้อม และพืชผักสวนครัว รวมถึงพืชสมุนไพรอีก 20 กว่าชนิด และได้กันพื้นที่ 3 ไร่ ใช้แนวทางที่ไปศึกษาดูงานมาจำลองรูปแบบจัดพื้นที่ทำการเกษตร รวม 4 ด้าน คือ

ด้านการบริหารจัดการน้ำ ขุดสระเก็บน้ำไว้ใช้ 2 สระ และนำไปใช้ในแปลงเกษตร
ด้านเกษตรกรรม ปลูกไม้ผล มะนาว พืชผักสวนครัว
ด้านประมง เลี้ยงปลา เลี้ยงกบในกระชัง
ด้านปศุสัตว์ เลี้ยงไก่ 3 สายพันธุ์ ในโรงเรือน

สวนเกษตรเชิงเดี่ยว ส้มเขียวหวานสีทอง

ลุงมนู เล่าว่า ด้วยลักษณะภูมิประเทศบริเวณรอบๆ สวนส้มเป็นเนินคล้ายหลังเต่า น้ำไม่ท่วมและน้ำก็ไม่ขังด้วย สภาพดินเป็นดินลูกรัง เป็นดินในพื้นที่ดอน ชุดที่ 48 แต่ก็ได้ปรับปรุงฟื้นฟูดินจนมีความเหมาะสมกับการปลูกส้มเขียวหวาน (ดินชุดที่ 48 เป็นกลุ่มดินตื้นถึงชั้นก้อนกรวดหรือเศษหินมาก ภายในความลึก 50 เซนติเมตร จากผิวดิน ดินมีสีน้ำตาล สีเหลือง หรือสีแดง การระบายน้ำดี ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัด ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ) มีจำนวน 600 ต้น ปลูกมานาน 20 ปีแล้ว ได้รับการปรับปรุงดินด้วยอินทรียวัตถุทุกปี ส้มก็ยังให้ผลผลิตที่ดีอยู่ ปีหนึ่งๆ เก็บขายได้ 2 รุ่น ช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคม เป็นส้มรุ่นแรก รุ่นที่ 2 ช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ผลผลิตส้มจะมีพ่อค้ามาตั้งจุดรับซื้อในเขตอำเภอวังชิ้น ดูจากตัวเลขทางบัญชี ลุงมนู บอกว่า มียอดขาย 626,000 บาท ต้นทุน 190,000 บาท

สอบถามว่า ทำอย่างไร จึงมีต้นทุนต่ำ

“อยู่ที่การดูแล เอาใจใส่ เมื่อเก็บผลผลิตจะตัดแต่งกิ่ง กองไว้ไม่เผา ปลูกผัก เช่น ผักปลัง ฟัก ให้เลื้อยขึ้นกองกิ่งส้ม รอให้กิ่งส้มผุพัง สลายไปเป็นปุ๋ยธรรมชาติ ปลูกปอเทืองในสวนส้ม ไม่ใช้สารกำจัดศัตรูพืช หญ้าก็ตัดเอง ใช้ปุ๋ยหมักเป็นหลักคู่กับน้ำหมักชีวภาพ หากมีโรคแมลงรบกวนแม้เล็กน้อยก็ใช้น้ำหมักจากพืชสมุนไพรฉีดพ่น แรงงานก็ใช้จากครอบครัว ลุง ป้า และบุตรสาว จะจ้างแรงงานจากภายนอกบ้างก็เมื่อเก็บผลส้ม” ลุงมนู กล่าว

สวนส้มเขียวหวานสีทองของลุงมนู ได้รับการส่งเสริมให้เข้าโครงการเกษตรแปลงใหญ่ เมื่อปี 2559 กรรมวิธีการทำสวนส้มของลุงมนู ถือว่าเป็นเกษตรอินทรีย์

ความคิดก้าวไกล สร้างสกายวอล์กให้คนมาเที่ยว

คำว่า สกายวอล์ก ในภาษาอังกฤษ เขียนว่า Sky walk คนกรุงเทพฯ อาจจะคุ้นเคยกับภาพหรือรูปลักษณ์กันดี แต่ในสวนเกษตรยังไม่พบที่แห่งใด บางจังหวัดอาจจะมีสกายวอล์กให้ชมธรรมชาติหรือสิ่งประดิษฐ์ ที่สวนลุงมนูแห่งนี้สร้างสกายวอล์กเป็นสะพานลอย เป็นทางเดินเหนือยอดไม้ผล เพื่อให้ผู้สนใจได้เข้ามาศึกษาดูงานสวนเกษตร ดูทัศนียภาพพรรณไม้ในสวน และเป็นที่พักผ่อน

ลุงดิษฐ์ คนเดิม หรือ คุณประดิษฐ์ สลีหล้า เกษตรอำเภอวังชิ้น บอกว่า ตนเองมีส่วนร่วมคิดร่วมทำสกายวอล์กที่สวนลุงมนูมาตั้งแต่ต้น เริ่มก่อสร้างเมื่อเดือนเมษายน 2560 มีวัตถุประสงค์ร่วมกันว่า จะสนับสนุนให้เป็นแลนด์มาร์กแห่งแรกของจังหวัดแพร่ ช่วยประชาสัมพันธ์ให้คนทั้งในและนอกพื้นที่รู้จัก และมาเที่ยวชมสวนเกษตรในอำเภอวังชิ้น เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของอำเภอวังชิ้นและจังหวัดแพร่ ด้วยการเปิดช่องทางจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร

วัสดุที่นำมาก่อสร้างสกายวอล์ก ลุงดิษฐ์ บอกว่าได้ติดต่อไปยังสวนป่าแม่สิน-แม่สูง สังกัดองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ก็ได้รับความอนุเคราะห์บริจาคไม้สัก ซึ่งเป็นไม้สักเก่าที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว แรงงานก็ได้จากเกษตรกรใน ศพก. โดยไม่ได้เบิกค่าแรง และยังมีการบริจาคซื้ออาหาร ตะปู วัสดุอื่นๆ ความยาวของสกายวอล์ก 110 เมตร สูง 2.50 เมตร ความกว้าง 1.50 เมตร มีจุดพักสำหรับนั่งเล่น นั่งพักผ่อน 1 จุด

ถ้าคิดคำนวณเป็นมูลค่าทางการเงินแล้ว ค่าก่อสร้าง 187,600 บาท

ทางด้านลุงมนู บอกว่า สกายวอล์กที่สวนของลุงต้องการให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรของจังหวัดแพร่ จึงได้ดำเนินการขับเคลื่อนโดยวิสาหกิจชุมชน ใช้ชื่อว่า วิสาหกิจชุมชนแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรตำบลนาพูน ลุงมนูเป็นประธานเอง มีสมาชิก 53 คน ลงหุ้นกันคนละ 100 บาท ไม่เกิน 10 หุ้น มีเงินทุนอยู่ 10,000 บาท ตั้งแต่ก่อสร้างเสร็จ มีผู้สนใจทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน นักเรียน เข้ามาศึกษา มาเที่ยวชมแล้วหลายร้อยคน ต่างจังหวัดก็มีจากจังหวัดชลบุรี กาฬสินธุ์ เหตุผลที่ผู้มาเยือนมีการลงบันทึกในสมุดเยี่ยมบอกว่า มาดูเพราะไม่เคยเห็นในจังหวัดแพร่ ไม่มีใครสร้างมาก่อน

พาชมสวนบนสกายวอล์ก

ลุงมนู ได้พาคณะเยี่ยมชมสวนเกษตรผสมผสาน เริ่มจากจุดแรกเดินผ่านหน้าเวทีสำหรับให้ผู้มาเยือนได้ถ่ายภาพเป็นที่ระลึก ก้าวย่างเดินขึ้นทางลาดชันของสกายวอล์ก มีราวไม้กั้นทั้ง 2 ด้าน ป้องกันอุบัติเหตุ ตลอดทางเดินมองเห็นรอบๆ สวนเกษตรอยู่ใต้สกายวอล์ก ทั้งยอดไม้ผล มะนาว ไม้เลื้อยต่างๆ เห็นรูปแบบการจัดวางผังแปลงเกษตร แหล่งน้ำ ปศุสัตว์ เมื่อเดินไปสุดทางซ้ายมือเป็นเพิงพักสำหรับนั่งเล่นและพักผ่อน เดินลงพื้นดินชมไม้ผล การจัดระบบน้ำใช้ภายในสวนด้วยสปริงเกลอร์

แปลงต่อไปลุงมนูพาไปชม เป็นบ่อเลี้ยงปลา จำนวน 2 บ่อ ขนาดเนื้อที่ 2 งาน และ 3 งาน เลี้ยงปลาหลากหลายชนิด เมื่อนำอาหารปลาโรยลงไปในน้ำ ปลาขนาดใหญ่ พร้อมที่จะจับขายแหวกว่ายโผล่ขึ้นมาแย่งอาหารกัน ทั้งปลาสวาย ปลาบึก (ตัวยังเล็กอยู่) ปลานิล ปลาทับทิม ปลาดุก ปลากดหลวง ข้างๆ สระมีกระชังเลี้ยงกบอยู่รวมกันในบ่อปลา

ถัดจากบ่อปลา ลุงมนู พาไปดูการเลี้ยงไก่ 3 สายพันธุ์ ลุงมนู บอกว่า มีอยู่ 100 กว่าตัว เมื่อเห็นคนเดินเข้าใกล้ต่างกรูกันเข้ามา คงคิดว่าจะนำอาหารมาให้ แล้วก็พาคณะเดินกลับไปยังจุดเริ่มต้น นั่งพักผ่อน ป้าออนนำผลไม้มาให้กินเป็นเงาะในสวน กับผลไม้ป่าชื่อ มะคั่งน้ำข้าว ลักษณะผลคล้ายๆ ละมุดอินเดีย แต่ผลเล็กกว่า มีรสหวาน กินไปสนทนากันไป

ท่านใดที่สนใจ จะไปดูให้รู้หรือจะขอรายละเอียด ติดต่อ ลุงมนู กาญจนะ หรือสำนักงานเกษตรอำเภอวังชิ้น คุณประดิษฐ์ สลีหล้า โทรศัพท์ 093-136-9044

น้ำหมักชีวภาพ จากหน่อกล้วย สูตรของ ลุงมนู กาญจนะ หั่นหรือสับหน่อกล้วยให้เป็นชิ้นเล็กๆ
กากน้ำตาล ผสมน้ำ 10 ลิตร นำสารเร่ง พด.2 ผสมลงไป คนให้เข้ากันนาน 5 นาที
นำหน่อกล้วยสับแล้ว ใส่ในถังพร้อมน้ำเปล่าทั้งหมด และส่วนผสมกากน้ำตาลกับสารเร่ง พด.2 คนส่วนผสมให้เข้ากัน
ปิดฝาไม่ต้องสนิท ตั้งไว้ในที่ร่ม ระหว่างการหมักคนหรือกวนทุกวัน วันละ 1 ครั้ง เพื่อการระบายก๊าซและทำให้ส่วนผสมคลุกเคล้าได้ดีขึ้น
หมักนาน 21 วัน กรองน้ำใส่ขวดไว้ใช้ได้
การใช้

น้ำหมัก 1 ลิตร ผสมน้ำเปล่า 100 ลิตร ใช้ฉีดพ่นลงดิน จะทำให้ดินร่วนซุย ฉีดพ่นทางใบลดปริมาณน้ำหมักลงครึ่งหนึ่ง

ฉีดพ่น ปีละ 2 ครั้ง ช่วงก่อนออกดอกและช่วงหลังตัดแต่งกิ่ง สับพืชสมุนไพรให้เป็นชิ้นเล็กๆ ทุบหรือตำให้แตก
นำสมุนไพรใส่ลงในถัง
ละลายกากน้ำตาลในน้ำ 10 ลิตร ใส่สารเร่ง พด.7 ผสมให้เข้ากัน ด้วยการคนนาน 5 นาที
เทสารละลายลงในถังหมักพร้อมกับน้ำที่เหลือ และคนให้เข้ากัน
ปิดฝาถังไม่ต้องสนิท ตั้งไว้ในที่ร่ม และคนทุกๆ วัน หมักนาน 21 วัน กรองเอาน้ำใส่ขวดไว้ใช้ กองวัสดุ 1 ตัน คลุกเคล้าวัสดุให้เข้ากันแล้วกองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
ผสมสารเร่ง พด.1 กากน้ำตาล ในน้ำ 10 ลิตร คนนาน 5 นาที
ราดสารละลายสารเร่งให้ทั่วกองวัสดุ
ใช้ท่อ PVC ขนาด 1.5 นิ้ว ที่เจาะรูรอบท่อ เป็นชั้นๆ ปักลงไปจนถึงพื้น เพื่อระบายอากาศ นำความร้อนออก
การดูแลกองปุ๋ย ให้รักษาความชื้น 50%
ใช้เวลาหมักนาน 1 เดือน นำไปใช้ได้
การใช้

ใช้หว่านรอบทรงพุ่มต้นส้มเขียวหวาน อัตราต้นละ 20 กิโลกรัม ใส่ในเดือนพฤษภาคม มีผู้คนจำนวนไม่มากนัก ที่พอจะรู้ที่มาของชื่อจังหวัดเล็กๆ จังหวัดหนึ่งทางภาคใต้ของประเทศไทย ที่ติดชายแดนประเทศมาเลเซีย รอยต่อจังหวัดสงขลา พัทลุง ตรัง จังหวัดที่กล่าวถึงนี้คือ จังหวัดสตูล

คำว่า สตูล เดิมมาจาก คำว่า “สะโตย” แปลว่า “กระท้อน” มาจากภาษามาลายู ในอดีตชาวบ้านทั่วไปในจังหวัดสตูลนิยมปลูกต้นกระท้อนพื้นบ้านเกือบทุกครัวเรือน ลูกกระท้อนพื้นบ้านจะมีลูกขนาดเล็ก ประมาณ 10-15 ลูก ต่อกิโลกรัม บางต้นมีรสชาติหวาน บางต้นมีรสชาติเปรี้ยว แล้วแต่สภาพภูมิอากาศและดินตามธรรมชาติ แต่ปัจจุบันค่อนข้างจะหายาก เพราะคนทั่วไปนิยมรับประทานกระท้อนสายพันธุ์ใหม่

สวนกระท้อนของเกษตรกรในยุคปัจจุบันที่ปลูกกันอยู่ icid2018.org เป็นสายพันธุ์ใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้นจนสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรเป็นกอบเป็นกำ โดยเฉพาะช่วงเดือนกรกฎาคมของทุกปี เป็นช่วงที่เกษตรกรแถบหมู่บ้านนาปริก หมู่ที่ 9 ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล อยู่ระหว่างการเก็บเกี่ยวผลิตผลเกือบทุกชนิด ถ้าปีไหนผลไม้ราคาดีก็จะเห็นเจ้าของสวนใส่ทองเส้นโตกันเลยทีเดียว

เราได้มีโอกาสมาเยี่ยมสวนกระท้อนของ บังเหม หรือ คุณอับรอเหม เด็นสำลี ที่บ้านเลขที่ 15 บ้านนาปริก หมู่ที่ 9 ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล บนเนื้อที่ 1 ไร่ ปลูกได้ 26 ต้น และในขณะที่นั่งคุย ก็มีลูกค้าหลั่งไหลมาขอซื้อกระท้อนจากสวนไปรับประทานและเป็นของฝากอย่างต่อเนื่อง หลายคนบอกว่า กระท้อนสวนบังเหมจุดเด่นคือ เนื้อหวาน อร่อย เปลือกหนานุ่ม จึงเป็นที่ชื่นชอบของลูกค้า

บังเหม เริ่มต้นเล่าให้ฟังว่า“แรกเริ่มได้รับการสนับสนุนพันธุ์ต้นกระท้อน จากหน่วยงานตามโครงการเปลี่ยนพื้นที่ทำนาที่ได้ผลไม่สมบูรณ์มาเป็นสวนผลไม้ เมื่อปี 2540 และได้กู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) มาเพิ่ม จำนวน 40,000 บาท เพื่อมาปรับพื้นที่ยกคูและขุดร่องน้ำ”

“ในหมู่บ้านนี้มีสมาชิกร่วมโครงการ จำนวน 3 แปลง เนื้อที่รวมทั้งหมด ประมาณ 9 ไร่ โดยเจ้าหน้าที่บอกว่ากระท้อนที่ปลูกคือ พันธุ์ปุยฝ้าย ระยะปลูก 9 เมตร ระหว่างคู 10 เมตร พอปลูกไปเมื่อได้รับผลจริงๆ กลายเป็นสายพันธุ์อีหล้า”

“ในยุคนั้น พันธุ์อีหล้า ยังไม่ดังมาก และยังไม่เป็นที่นิยมของผู้บริโภค พันธุ์ปุยฝ้ายจะได้ราคาดีกว่า เลยถอดใจโค่นทั้งหมดเหลือแต่ตอ”

บังเหม เล่าถึงจุดพลิกผันที่ต้องกลับมาดูแลสวนกระท้อนใหม่อีกครั้งว่า

“ครั้งที่นำกระท้อนไปขายในตลาด และได้รับคำแนะนำจากพ่อค้าว่า พันธุ์อีหล้า จะออกผลหลังพันธุ์ปุยฝ้าย 1เดือน เราจะได้ผลผลิตต่อเนื่อง จึงตัดสินใจตัดแต่งกิ่งและกลับมาบำรุงดูแลสวนกระท้อนที่เหลือแต่ตอ ให้ฟื้นกลับใหม่อีกครั้ง ด้วยน้ำที่อุดมณ์สมบูรณ์และดินที่เหมาะสม 4 ปีต่อมาจึงได้รับผล”

บังเหม เล่าให้ฟังถึงวิธีการดูแลรักษาว่า

“ดูแลรักษาแบบธรรมชาติ น้ำไม่เคยรด เพราะน้ำในชุมชนอุดมสมบูรณ์อยู่แล้ว รอให้กระท้อนออกดอกในช่วงเดือนธันวาคมของทุกปี เมื่อเป็นผลเล็กๆ ก็ห่อเพื่อป้องกันแมลง ถ้าห่อกับกระดาษ ผลกระท้อนจะสีสวย แต่ข้อจำกัดคือใช้เวลามาก ถ้าใช้ถุงสีผิวของกระท้อนจะออกเขียวๆ แดงๆ จะไม่สวย ทดลองใช้ถุงสีขาว น้ำจะขังอยู่ในผลของกระท้อน จะทำให้ลูกกระท้อนหล่น สุดท้าย จึงมาใช้ถุงสีดำเจาะให้เป็นรูด้านล่างเพื่อระบายน้ำ และมัดเชือกให้สีแตกต่างกันในแต่ละรุ่น เพื่อง่ายต่อการคัดแยกตอนเก็บเกี่ยวเป็นรุ่นๆ ไป”

“เทคนิคการห่อ แต่ละช่อจะมีลูกประมาณ 10 ลูก การห่อรวมหลายลูก ทำให้ลูกจะไม่ใหญ่มาก เก็บไว้สักลูกสองลูกเพื่อให้กระท้อนที่เหลือได้เจริญและโตเต็มที่ ถ้ากิ่งห้อยเก็บไว้สัก 3 ลูก แต่ปกติจะไว้กิ่งละ 1 ลูก ทำให้ลูกสวยและใหญ่”

ปีนี้ บังเหม เริ่มห่อเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ชุดแรกผูกด้วยสีแดง ประมาณ 300 ลูก ดอกดก แต่มาเจอฝนหนัก ดอกร่วงไปเยอะ ชุดนี้เขามาเก็บเกี่ยวในเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม บังเหม เล่าให้ฟังต่อด้วยสีหน้ายิ้มแย้มว่า

“1 ปี ใช้เวลาอยู่กับสวนกระท้อนตั้งแต่ออกดอกจนกระทั่งห่อ ใช้เวลาห่อประมาณ 2 เดือน ดูแลจนกว่าจะเก็บเกี่ยวเสร็จ ก็ประมาณ 6 เดือน เวลาที่เหลือเอาไปดูแลสวนผสมผสาน สวนยาง สวนลองกอง จำปาดะ ทุเรียน มะนาว เพื่อเสริมสร้างรายได้อีกทาง”

แม่บ้านถือกระท้อน
จากนั้นเขาเปรียบเทียบ กระท้อน ทั้งสองสายพันธุ์ให้ฟังเพิ่มเติมว่า