ระยะเดือนที่ 4-6 ระยะนี้ พริกมีอายุ 120-180 วันซึ่งมีการเก็บผล

ผลิตของพริกในชุดแรกเก็บได้มาก ธาตุอาหารทางดินและทางใบยังจำเป็นเหมือนเดิม ทางดินใช้สูตร 15-15-15 สลับ13-13-21 ร่วมกับปุ๋ยหมักแห้งผสมเชื้อไตรโคเดอร์มาสด อัตรา 1:25 ส่วนทางใบใช้สูตร 21-21-21 สลับ 10-20-30 ในอัตรา 30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ให้ปุ๋ยทุกครั้งหลังเก็บผลผลิตจำหน่าย

การเก็บเกี่ยว จะเริ่มทำได้เมื่อพริกอายุ 90 วัน หรือประมาณ 3 เดือนทำการเด็ดทีละผลโดยจิกเด็ดที่รอยต่อก้านผลกับกิ่ง ระยะเวลาการเก็บเกี่ยวขึ้นอยู่กับชนิดและความสมบูรณ์ของต้นพริกเอง

การทำปุ๋ยหมักแห้ง

ปุ๋ยคอก 3 ส่วน + แกลบดิบเก่า 3 ส่วน + แกลบดำ 1 ส่วน + กากน้ำตาลและน้ำหมักชีวภาพ
ปุ๋ยคอก 400 กก. + แกลบดิบเก่า 100 กก. + รำอ่อน 30 กก. + กากน้ำตาลและน้ำหมักชีวภาพ
ปุ๋ยคอก 3 ส่วน + กากถั่วเหลือง 3 ส่วน + แกลบดิบเก่า 2 ส่วน + แกลบดำ 1 ส่วน + กากน้ำตาลและน้ำหมักชีวภาพ (10 ลิตรต่อปุ๋ยหมัก 100 กก.)
ปุ๋ยคอก 3 ส่วน + กากตะกอนอ้อย 2 ส่วน + แกลบดิบเก่า 2 ส่วน + แกลบดำ 1 ส่วน + กากน้ำตาลและน้ำหมักชีวภาพ (10 ลิตรต่อปุ๋ยหมัก 100 กก.)

ผสมน้ำหมักชีวภาพและกากน้ำตาลในน้ำ ใส่บัวรดบนส่วนผสมที่มีปุ๋ยคอก แกลบ รำ โดยวนจากข้างนอกเข้าข้างใน อย่าให้แฉะถ้าแฉะมากความร้อนจะสูงและเป็นก้อนและอย่าแห้งเกินไป (กำปุ๋ยหมักถ้าเป็นก้อนความชื้นพอดี ถ้าแผ่กระจายจะแห้งเกินไป) หลังทำแล้ว 8 ชั่วโมง ความร้อนในกองปุ๋ยจะสูงมากให้กลับปุ๋ยในกองทุกวัน ประมาณ 7-10 วัน ความร้อนในกองจะปกติเก็บใส่ถุงไว้ใช้ต่อไป หรือถ้ามีถุงปุ๋ยให้กรอกใส่ถุงเลยเพื่อความสะดวกในการกลับกระสอบปุ๋ยหมักและการขนย้าย

นายคำพันธ์ เหล่าวงษี ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2559 อยู่บ้านเลขที่ 43 หมู่ที่ 2 บ้านดอนแตง ตำบลศรีสุข อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ขยายพันธุ์มะละกอโดยการตอน สามารถเก็บผลผลิตได้หลังปลูกเพียง 2 เดือน เท่านั้น

ได้ผลผลิตไม่กลายพันธุ์
ต้นเตี้ย เก็บเกี่ยว ดูแลรักษาง่าย
ต้นแข็งแรง ต้นไม่สูง ไม่หักโค่นง่าย
แตกกิ่งก้านมากขึ้น ได้ผลผลิตมากขึ้น
ให้ผลผลิตเร็ว หลังจากปลูกด้วยกิ่งตอน 2 เดือน
อุปกรณ์ในการตอน ประกอบด้วย…ขุยมะพร้าว ถุงพลาสติก มีดตอน เชือกฟาง

“เลือกกิ่งที่ไม่แก่ไม่อ่อนเกินไป นับจากยอดลงมา 25-30 เซนติเมตร ใช้มีดปาดกิ่งมะละกอเฉียงขึ้นไป แล้วใช้เศษไม้หรือหินคั่นรอยปาดไม่ให้สนิทกันอย่างเดิม หุ้มด้วยตุ้มตอน ที่ทำให้พอเหมาะกับขนาดของกิ่ง มัดด้วยเชือกฟาง…ราว 25 วัน กิ่งมะละกอเริ่มออกราก นับตั้งแต่วันตอนถึงตัดกิ่ง ใช้เวลา 45 วัน แล้วตัดชำอีก 15 วัน จึงนำลงปลูกได้ ช่วงนี้ทางผมศึกษาการปลูกในวงบ่อ โดยใช้กิ่งตอน…มะละกอ เมื่อเราตอน จะแตกกิ่งใหม่ออกมาให้ตอนเรื่อยๆ อายุของต้นที่ปลูกด้วยกิ่งตอน อยู่ได้ 3 ปี” นายคำพันธ์ แนะนำวิธีการตอนมะละกอ

ตำราพรหมชาติ ว่าการปลูกต้นไม้ตามทิศต่างๆ มีความหมาย และเป็นสิริมงคลต่อบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ในทิศตะวันตกของบ้านเรือน ให้ปลูกมะยมเป็นไม้มงคล โดยเชื่อว่าการปลูกมะยมไว้ ผู้คนจะได้นิยมชมชอบชื่นชม หรือมีนะเมตตามหานิยม นอกจากนั้น มะยมยังเป็นไม้ที่มีประโยชน์ เป็นทั้งผลไม้เป็นทั้งผัก เป็นทั้งยาสมุนไพร

คนทั่วทุกภาค ปลูกต้นมะยมไว้ตามบ้านเรือน เรือกสวนไร่นา ริมสระน้ำ ริมคลอง เป็นไม้ที่โตเร็ว มีผลดกมาก ถึงเวลาติดผลจะเห็นชัดเจน เป็นช่อพวง ระย้าเต็มกิ่งก้าน ต้นมะยมไม่สูงนัก พอเอื้อมมือเด็ดผลได้ อย่างเก่งก็ตั้งม้า เก้าอี้ เด็ดมะยม แต่ที่แน่ๆ คือ ร่วงง่ายมาก ถ้าสอยปลิดก็ร่วงทั้งพวง หล่นร่วงใส่หัว กระเด็นกระดอนกระจายเต็มพื้น ถ้าจะใช้ไม้สอย หรือเขย่ากิ่ง ก็ต้องมีกระสอบ ผ้า ตาข่าย รองรับใต้ต้น ระวังอย่าปีนต้นมะยม กิ่งต้นมะยมเปราะหักง่ายมาก เช่นเดียวกัน หลายคนชอบโน้มกิ่งมะยม เด็ดเอายอดไปเป็นผักเคียงส้มตำ ยำ ลาบ ให้ระวังด้วย กิ่งหักเสียหายง่าย หาวิธีเก็บผล หรือเด็ดยอดอ่อน ตั้งโต๊ะ ม้าขาตั้ง บันไดเหล็ก เป็นวิธีที่ดีที่สุด

มะยม เป็นไม้ที่คนไทยปลูกกันแพร่หลายมานานแล้ว เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง สูงไม่เกิน 10 เมตร ลำต้นตรง แตกกิ่งก้านสาขาบริเวณปลายยอด กิ่งก้าน เปราะแตกหักง่าย ผิวเปลือกต้นขรุขระ สีเทาปนน้ำตาล ใบเป็นใบรวม มีใบย่อยออกเรียงแบบสลับเป็น 2 แถว แต่ละก้านมีใบย่อย 10-20 คู่ ใบรูปขอบขนาน กลม หรือค่อนข้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ปลายใบแหลม ฐานใบกลมหรือมน ขอบใบเรียบ ใบกว้าง 1.5-3.5 เซนติเมตร ยาว 2.5-7.5 เซนติเมตร ใบแก่จะร่วงหล่น ใบใหม่ยอดใหม่แตกทดแทนเรื่อยๆ ดอกออกเป็นช่อและออกตามกิ่ง ดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย แยกกัน ดอกตัวผู้เกิดที่ปลายช่อไม่มีกลีบดอก กลีบเลี้ยงมี 6 กลีบแยกกัน ดอกตัวเมียมี 6 กลีบ ผลรูปร่างกลมแบนมี 3 พู ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่สีเหลืองหรือสีขาวแกมเหลือง เมล็ดรูปร่างกลม เห็นเป็นร่องสีน้ำตาลอ่อน

มะยม เป็นไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีทั้งที่แดดจัด หรือในที่ร่มรำไร ชอบดินร่วนซุย ความชื้นพอเหมาะ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ปลูกง่าย จะปลูกเป็นแถวเป็นแนว ก็ปลูกห่างกันระยะ 3×3 เมตร ขุดหลุม ผสมดินด้วยปุ๋ยคอกปุ๋ยหมักให้ร่วนซุย เอากล้ามะยมลงปลูก ปักไม้เป็นเครื่องหมาย หรือถ้าปลูกริมรั้วก็ให้ห่างจากรั้วเข้ามา 2 เมตร เมื่อโตจะได้ไม่ไปคลุมเข้าพื้นที่บ้านคนอื่นเขา แต่ถ้าพูดคุยกันได้ แบ่งผลประโยชน์ร่วมกันได้ก็โอเค จะเป็นสื่อสัมพันธ์ที่ดีได้ วินวินกันทั้งเขาทั้งเรา ไม่ต้องห่วง มะยมเป็นไม้เมตตามหานิยมอยู่แล้ว คงไม่ทำให้ใครๆ ทะเลาะเบาะแว้งกัน

คุณประโยชน์ทางยา คนสมัยเก่าแพทย์แผนโบราณ นิยมใช้รากมะยมตัวผู้ คือมะยมต้นที่มีดอกแต่ไม่ติดลูก เอารากมะยมตัวผู้ เขาว่าดีกว่ารากมะยมตัวเมีย แต่คงใช้ได้ทั้งหมดนั่นแหละทั้งตัวผู้ตัวเมีย สมัยนี้ไม่ค่อยพบเจอมะยมตัวผู้มากนัก หรือไม่เจอเลย ก็สมัยนี้ปลูกมะยมต้องการเอาลูกเอาผลกันทั้งนั้น เอาเคล็ดด้วย รากมะยมมีสรรพคุณ แก้โรคผิวหนัง แก้ผดผื่นคัน ช่วยขับน้ำเหลืองให้แห้ง ประดง ดับพิษเสมหะ โลหิตเป็นพิษ เปลือกลำต้น แก้ไข้ทับระดู ใบปรุงเป็นส่วนประกอบของยาเขียว สรรพคุณดับพิษไข้ แก้ไข้ ใช้ใบมะยมรวมกับใบมะเฟือง ใบหมากผู้หมากเมีย ต้มน้ำอาบ แก้พิษคัน พิษไข้หัวเหือด หัด ไข้ดำแดง ไข้สุกใส แก้คัน

มะยม เป็นผักเป็นผลไม้ ยอดอ่อนสีเขียวอมชมพูเรื่อๆ ออกมากฤดูฝน เป็นผักเคียง ผักแกล้มกินคู่กับส้มตำ ลาบ ก้อย จิ้มน้ำพริก ชุบแป้งทอด กินร่วมกับขนมจีนน้ำยา แกงเลียง กินกับแหนมสด ผลอ่อนออกฤดูฝน ผลแก่มีปลายฝนต้นหนาว ผลนอกจากกินเป็นผลไม้ จิ้มพริกเกลือ น้ำปลาหวาน แล้วยังนำมาตำส้มตำแทนมะละกอ และยังสามารถนำผลแก่มาทำ แยมมะยม มะยมดอง มะยมแช่อิ่ม มะยมกวน ปรุงเป็นน้ำมะยม

มะยมเป็นไม้ในวงศ์ Euphorbiaceae ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllanthus acidus [Linn.] Skeds ชื่อพื้นเมือง หมักยม (อุดร-อีสาน) ยม (ใต้) มะยม (ทั่วไป) มีปลูกกันทั่วทุกที่ หน้าบ้าน หลังบ้าน ริมทาง ข้างรั้ว หลายต้นคนกินไม่ทัน ร่วงหล่นไร้ราคาเกลื่อนใต้ต้น ที่เน่าเสียเป็นส่วนใหญ่ ลูกใหญ่ลูกเล็กมีหลายขนาด เก็บเอาไปเพาะกล้าได้ดีมาก กระจัดกระจายไปไกลต้น เจอสภาพที่เหมาะสม งอกเป็นต้นใหม่ จะย้ายไปปลูกที่อื่นให้เหมาะสม ก็ขุดไปปลูกได้เลย เอาต้นที่พอดี สูงประมาณ 1 คืบ ถึง 1 ศอก กำลังดี หรือจะรอฤกษ์งามยามดีปลูก เพื่อความเข้มขลังเมตตามหานิยม ก็เชิญตามสะดวก มะยมปลูกไว้ มีแต่ดี มีแต่ประโยชน์ ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ

หากใครอยากทำเกษตร โดยใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเต็มที่และคุ้มค่า ขอแนะนำให้ทำเกษตรในรูปแบบ “เกษตรยกกำลัง 2” ซึ่งใครๆ ก็ทำตามได้ไม่ยาก ยกตัวอย่างเช่น พื้นที่ 1 ไร่ ควรปลูกพืช ตั้งแต่ 2 ชนิดในเวลาเดียวกัน เช่น ใช้พริกเหลืองอินโดเป็นฐาน ปลูกแซมด้วยดาวเรือง เป็นพืชเสริมรายได้ หลังจากปลูกดูแลประมาณ 2 เดือน เกษตรกรสามารถเก็บดอกดาวเรืองออกขายได้ ทุก 3 วัน ต่อ 1 ไร่ จะมีรายได้เฉลี่ย 3,000-5,000 บาท คำนวณง่ายๆ 1 เดือน จะมีรายได้ประมาณ 2 หมื่นบาทนั่นเอง

วิสาหกิจชุมชนตลาดเกษตรลอยฟ้า อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ ( โทร. (063) 574-6172) แนะนำให้เกษตรกรปลูกและเก็บดาวเรืองดอกสดออกขายตลาด ส่วนดอกเสีย ให้ผลิตเป็นดอกดาวเรืองแห้งแปรรูป ส่งจำหน่ายกับวิสาหกิจชุมชนตลาดเกษตรลอยฟ้า ที่รับซื้อผลผลิตดอกดาวเรืองแห้งจำนวนมาก

ทั้งนี้ เกษตรกรสามารถปลูกและเก็บดาวเรืองประมาณ 2 เดือน ก็จะหมดดอก พริกเหลืองอินโดที่ปลูกไว้จะเริ่มสุก เก็บต่อเนื่องไปทุก 3-5 วัน โดยทั่วไปพื้นที่ปลูก 1 ไร่ จะเก็บผลผลิตได้ประมาณ 80-100 กิโลกรัม สามารถขายได้ในรายได้ประกัน 60 บาท ต่อกิโลกรัม จะขายได้ 6,000 บาท ต่อครั้ง หรือต่อ 5 วัน เก็บนาน 3 เดือน จึงค่อยพักแปลง

คำนวณคร่าวๆ เกษตรกรจะมีรายได้จากการขายพริกเหลืองอินโด ประมาณ 24,000​ บาท ต่อเดือน รวม 3 เดือนแรก จะมีรายได้ 72,000 บาท รวมรายได้ 1 ไร่ ทั้งดาวเรืองด้วย ประมาณ 100,000 บาท ต่อไร่ ต่อรอบ (ระยะเวลา 7 เดือน)

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักและคิดถึงทุกท่าน ลมหนาวพัดมาวอยๆ พัดเอาหัวใจไอ้หนุ่มบ้านนาไปหาสาวบ้านไกล ระอุไอจากกองไฟที่ก่อผิงกันหนาว นึกถึงบรรยากาศยามที่อยู่บ้านนอก รอบกองไฟ นอกจากคนในครอบครัว ญาติๆ กระทั่งเพื่อนบ้านแวะมาพูดคุยกันแล้ว หมาใหญ่หมาน้อยก็มาเบียดหาไออุ่นอยู่ข้างๆ เสมอ บรรยากาศการพูดคุย จิบชากาแฟกันบ้าง มีมันมีเผือกมาปิ้งมาย่างกินกัน ผมมองเห็นความงามที่ไม่ต้องเสกสรรปั้นแต่งใดๆ เป็นความงามในการดำรงชีวิต

แต่เหมือนฝันสลายในหน้าหนาว โควิดรอบสองกรายมา เริ่มตั้งแต่เชียงใหม่ เชียงราย ในช่วงต้นเดือนธันวาคม และมาเปรี้ยงปร้างก็ที่ตลาดกุ้งสมุทรสาคร ที่ตรวจพบผู้ติดเชื้อจำนวนเกินครึ่งพัน เท่านั้นแหละ เหมือนโลกหยุดหมุนและหล่นลงมาทับเราจนหายใจหายคอไม่ออก ก็แหม! ช่วงวันหยุดยาว ช่วงเข้าเทศกาลแห่งความสุข ไม่ว่าจะเป็นคริสต์มาส ปีใหม่ ล้วนแล้วแต่เป็นช่วงเฉลิมฉลอง แต่แล้วความสุขของทุกคนก็ถูกข่าวโควิดช่วงชิงเอาไป เรื่องราวต่างๆ ที่ทำท่าจะสดใสก็กลับฟุบไปอีกรอบ ไม่รู้จะสงสารใครดี

ผมมีโอกาสเดินทางไปเปิดศูนย์เรียนรู้ BDP บุรีรัมย์เดทปาล์ม แหล่งศึกษาและหน้างานจริงของฟาร์มเกษตรผสมผสานที่ อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ โดย พี่สำเรือง พินงค์รัมย์ ผู้ที่น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาปฏิบัติจริงในพื้นที่กว่าร้อยไร่ ปลูกหญ้าเนเปียร์ ส่งต่อไปเลี้ยงวัววากิว นำมูลวัวมาต่อยอดด้วยการเลี้ยงไส้เดือน ปลูกอินทผลัม

และไม่หนีเรื่องการทำนา โดยใช้วัตถุดิบทุกอย่างในฟาร์มหมุนเวียนไป เป็นการลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มรายได้อย่างสมบูรณ์มากๆ ที่สำคัญสุดก็ย่อมเป็นแรงงาน ที่นี่ไม่เดือดร้อน ไม่ต้องหาแรงงานจากที่ไหน ใช้ลูกหลานญาติพี่น้อง ใครถนัดงานอะไรก็ไปทำหน้าที่ มีรายได้ มีสวัสดิการที่ดูแลเลี้ยงดูกันไปสบายๆ เป็นอีกหนึ่งศูนย์การเรียนรู้ครบวงจรที่สำคัญมากๆ

บางเรื่องราวเราอาจมองข้ามไปนะครับ แต่พี่สำเรือง แกทดลอง แก้ไข ปรับปรุงจนทุกกิจกรรมในฟาร์มเข้าที่ สอดร้อยในทุกกิจกรรมส่งต่อถึงกัน มูลวัว ปกติก็เอาไปใส่นา ใส่อินทผลัมได้เลย แต่เมื่อนำมาเลี้ยงไส้เดือน ก็เป็นการเพิ่มมูลค่าให้มากยิ่งขึ้น มูลไส้เดือนและตัวไส้เดือนก็ขายได้ นำมาใช้ในแปลงก็เป็นปุ๋ยที่มีคุณภาพ ต้นทุนน้อย ก็ส่งผลให้มีกำไรมากขึ้น ไม่ต้องเสียเวลาไปเสาะหาจากแหล่งไหน ทุกอย่างมีใช้งานอยู่ในฟาร์มนั่นเอง

และระบบน้ำก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างการเรียนรู้ ที่นี่วางแผนสู้แล้งด้วยการขุดสระและใช้น้ำบาดาลมาเสริม ในสระก็เลี้ยงปลาเป็นผลพลอยได้ในเรื่องอาหารอีกทางหนึ่ง ที่สำคัญกว่านั้น ที่ฟาร์มแห่งนี้มีสายพันธุ์อินทผลัมที่หายาก ราคาแพง ที่ปลูกเอาไว้เพื่อเป็นรายได้สาธารณกุศล เพื่อเด็กนักเรียนในชุมชนแห่งนั้น

และที่อยากกระซิบดังๆ ก็คือ ที่ศูนย์เรียนรู้ที่ฟาร์มแห่งนี้ เปิดให้เข้ามาได้ฟรีๆ อยากอบรม อยากเรียนรู้แบบไหน พี่ๆ ที่อยู่ที่นี่ยินดีแนะนำให้อย่างไม่มีปิดบัง มีอาคารที่จุคนได้เกินร้อย ห้องน้ำมีพร้อมให้บริการครบครัน ถือเป็นการคืนสู่สังคมอย่างดงามของคนที่พร้อมให้

เพราะการเดินทางทำให้ได้เปิดหูเปิดตา ก่อนที่จะไปถึงฟาร์มของพี่สำเรืองนั้น เราได้แวะไปดูงานที่บ้านหนองตะไก้ อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา ที่นี่มีเกษตรกรหัวก้าวหน้าที่เป็นคนรุ่นใหม่ กล้าคิดกล้าทำ โดยมีแปลงปลูกทับทิมสายพันธุ์เมล็ดนิ่มทั้งของสเปนและอินเดีย โดยมีเป้าหมายในการรวมกลุ่มเกษตรกรผลิตผลสดจำหน่ายให้กับโมเดิร์นเทรดชื่อดัง ซึ่งปัจจุบัน มีการนำเข้าทับทิมปีละกว่า 400 ล้านบาท หากฝันที่ว่าประสบผลสำเร็จก็น่าจะเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรไทยมีทางเลือกเพิ่มมากขึ้นเป็นแน่แท้ครับ

นอกจากทับทิมแล้ว ใครจะคิดว่าด้วยสภาพที่ดูแห้งแล้งของพื้นที่ จะปลูกแบล็คเบอรี่ให้ติดผลผลิตได้ แต่เมื่อได้เห็นกับตาก็ต้องบอกว่า “นายแน่มาก” เถาแบล็คเบอรี่เลื้อยไปตามค้าง และแน่นอน ผลแดงๆ ดำๆ ติดอยู่เป็นพวง เป็นคำตอบว่าที่นี่ปลูกแบล็คเบอรี่ให้ผลผลิตแน่ๆ ผมลองเด็ดมาชิมแล้ว รสชาติตรงปากเสียด้วย นั่นคือเปรี้ยวอมหวานทับทิม, แบล็คเบอรี่ ถือว่าเป็นเรื่องใหม่ของเกษตรกรไทยที่หวังปลูกเพื่อขายผลผลิตอย่างจริงจัง

แต่ยังมีอีกที่ผมแปลกใจไม่น้อยนั่นคือ การปลูกไม้ฟอกอากาศ ทั้งว่านงวงช้าง และลิ้นมังกร ทราบมาว่าลงทุนทำแปลงครั้งแรก เมื่อปักชำลงไปแล้ว ให้ปุ๋ยสูตรเสมอเพียงครั้งเดียวก็มีผลผลิตให้เก็บขายอย่างต่อเนื่อง ในราคาที่น่าสนใจไม่น้อย และใครจะเชื่อคนที่ผมพูดถึงนี้เธอเป็นนายช่าง (สาว) แห่ง กรมชลประทาน รอบนี้ผมแค่มาจั่วหัวเรียกน้ำย่อยก่อนครับ รับรองว่าอีกไม่นานจะนำมาเล่าให้เป็นเรื่องอย่างสมบูรณ์แบบอีกครั้ง กระซิบครับ เธอชื่อ นายช่าง (สาว) ปิ๋ม

ออกจากสวนนายช่างปิ๋ม ผมยังได้ไปแวะหาเจ้าของกระท่อมกินแดด ช่างดำ-พิชาญ ดัดตนรัมย์ ผู้ที่ตอบโจทย์คำว่าพอเพียง และการพึ่งตนเองได้อย่างไร้ที่ติ ด้วยความที่ไร่นาสวนผสมอยู่นอกหมู่บ้าน ระยะห่างจนไม่มีสายไฟเข้าไปถึง แต่ความขาดกลับมิใช่เรื่องใหญ่ เพราะกลับกลายเป็นพลังในการแสวงหาพลังงานอื่นที่มีความมั่นคงมากกว่า และพลังงานแสงแดดคือคำตอบ แผงโซล่าร์เซลล์ถูกนำมาใช้ผลิตไฟฟ้า ขุดสระเพื่อเก็บน้ำ นำน้ำมาใช้ในการเกษตร ทั้งทำนา สวนป่าผสมผสาน และแปลงผัก เก็บเมล็ดพันธุ์เพื่อปลูกเองและจำหน่ายเป็นรายได้เสริม ผมเอ่ยคำถามง่ายๆ

“หากปิดเมืองสักเดือนจะอยู่ได้ไหม”

“กี่ปีก็ปิดไปโลดอ้าย ผมมีปัจจัย 4 ครบครับ ไม่ต้องออกจากบ้านเลยก็อยู่ได้ นา 2 แปลง ปลูกทั้งข้าวเจ้าและข้าวเหนียว โรงสีมีพร้อม น้ำมีเต็มสระ ปลาเพียบ ไผ่ที่ปลูกไว้ก็ให้หน่อตลอด กล้วยมีรอบสวน ไข่มี ปลามี ผักมี จะกินขนมเค้กขนมปังเราก็อบกินเอง แป้งเราก็ทำเอง ไฟเปิดทิ้งไว้ทั้งวันทั้งคืนก็ไม่ต้องเสียค่าไฟ นั่นพี่ดู ตู้เย็น 2 ตู้ เอาแช่อาหารสดและอีกตู้เอาแช่เมล็ดพันธุ์ อยู่แบบพอเพียงแต่มีครบทุกอย่างครับ”

ผมเดินตามช่างดำ ชมแต่ละจุดอย่างตื่นตาตื่นใจ มีน้ำ มีไฟ มีข้าว มีบ้าน มีสมุนไพรในป่า ทุกอย่างดูลงตัวและไม่ต้องออกไปแสวงหาสิ่งใดก็จริง แล้วมนุษย์เราต้องการเพียงปัจจัย 4 มิใช่หรือ อื่นๆ ล้วนเป็นสิ่งแปลกปลอมทั้งสิ้น

เรื่องช่างดำต้องมาเก็บรายละเอียดอีกสักครั้งครับ สมัคร GClub V2 รับรองว่าเปิดให้เห็นทุกมุมแน่นอน อย่าลืมดูแลตัวเองนะครับ สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือ กินร้อน ช้อนใครช้อนมัน รักษาระยะห่างในการอยู่ในสังคม เท่านี้ก็ปลอดภัยแน่นอนครับ

สถานการณ์การผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองภายใต้โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น อำเภอบ้านแฮด มัญจาคีรี และบ้านไผ่ ซึ่งเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2558จนถึง ปัจจุบันมีพื้นที่ จำนวน 2,863 ไร่ สมาชิกแปลงใหญ่ 1,543 ราย โดยเกษตรกรมีการปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกพืชไม่เหมาะสมจากการปลูกอ้อยโรงงานและมันสำปะหลัง เป็นการปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง เนื่องจากสามารถปลูกได้ในทุกพื้นที่ เติบโตเร็ว ทนโรคและแมลง และสามารถตอบสนองต่อการบังคับให้ออกผลนอกฤดูได้เป็นอย่างดี

จากการติดตามของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 4 จังหวัดขอนแก่น (สศท.4) พบว่า ต้นทุนการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง ของเกษตรกรแปลงใหญ่ เฉลี่ย 14,632 บาท ต่อไร่ (เริ่มให้ผลผลิตในปีที่ 4 และเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ระยะยาว) ราคาต้นพันธุ์เสียบยอดอยู่ที่ 40-50 บาท นิยมปลูกช่วงเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม

ระยะเวลาเก็บเกี่ยวในฤดูช่วงเดือนเมษายน – พฤษภาคม และบางส่วนเก็บเกี่ยวนอกฤดูช่วงเดือนสิงหาคม-มีนาคม ให้ผลผลิตเฉลี่ย 737.50 กิโลกรัม ต่อไร่ ราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่ 35.20 บาท ต่อกิโลกรัม เกษตรกรมีผลตอบแทนสุทธิ (กำไร) 11,328 บาท ต่อไร่

ด้านการตลาด ผลผลิตร้อยละ 55 จำหน่ายในประเทศ โดยมีพ่อค้าคนกลางทั้งในและนอกจังหวัดขอนแก่นมารับซื้อที่สวน เพื่อส่งขายต่อไปยังจังหวัดใกล้เคียง ส่วนผลผลิตร้อยละ 45 ส่งออกต่างประเทศ ได้แก่ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น จีน และกลุ่มประเทศยุโรป โดยผ่านบริษัทผู้ส่งออก 7 บริษัท (บริษัท สยามเอ็กซ์ปอร์ต จำกัด, บริษัท พีแอนด์เอฟเทคโน จำกัด, บริษัท อร่อยฟาร์ม จำกัด, บริษัท ไชน์โฟร์ท จำกัด, บริษัท ซีพีสตาร์เลนส์ จำกัด, บริษัท สวิฟท์ จำกัด และบริษัท อินฟินิทฟรุ๊ต จำกัด)

นอกจากนี้ มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง จังหวัดขอนแก่น ยังได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 การประกวดวิสาหกิจชุมชนดีเด่นระดับจังหวัดปี 2558 รางวัลชนะเลิศอันดับ 2 การประกวดวิสาหกิจชุมชนดีเด่นระดับเขต ปี 2558 รางวัลชนะเลิศการประกวดแปลงใหญ่ระดับเขตปี 2561 รางวัลชมเชยการประกวดแปลงใหญ่ระดับประเทศ ปี 2561 และได้รับมาตรฐานรับรอง GAP จึงเป็นเครื่องการันตี และสร้างความมั่นใจกับผู้ค้าและผู้บริโภคได้ว่าผลผลิตได้มาตรฐานและมีคุณภาพ