ระยะเวลาที่เหมาะสมคือ ช่วงต้นฤดูฝนโดยเฉพาะในเขต

เพราะต้นไม้จะได้รับน้ำฝนและความชื้นอย่างสม่ำเสมอและเพียงพอ ทำให้ประหยัดแรงงานและการดูแลรดน้ำหลังจากปลูกใหม่ๆ เวลาของการปลูกควรจะปลูกในช่วงเช้าหรือช่วงเย็น ซึ่งเป็นช่วงที่มีอากาศไม่ร้อนจัด การปลูกขนุนในพื้นที่ทั่วๆ ไป ถ้าเป็นที่ๆ เคยปลูกพืชอื่นอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องเตรียมดินมาก เพียงแต่ปรับหน้าดินโดยการไถพรวน ใส่ปุ๋ยคอกเก่าๆ หรือปุ๋ยหมัก ส่วนที่เป็นป่าเปิดใหม่ ต้องถางให้โล่งเตียนไม่ให้มีไม้อื่นปะปนอยู่ ไถพรวนสัก 2 ครั้ง ก็เป็นการเพียงพอ เพราะตามปกติในพื้นที่ดังกล่าวมักเป็นดินร่วนซุยและมีอินทรียวัตถุการปลูกขนุนตามธรรมชาติมากอยู่แล้ว

อย่างไรก็ตาม ถ้าดินเป็นทรายจัด หรือไม่ค่อยมีอินทรียวัตถุก็ควรใส่มูลสัตว์กระดูกป่น เศษใบไม้ หญ้าที่ผุพัง กากถั่ว เปลือกถั่ว ฯลฯ ซึ่งสามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่น หรือจะปรับปรุงดินโดยการปลูกพืชตระกูลถั่ว และไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดในผุพังอยู่ในดินก็ได้สิ่งต่างๆ เหล่านี้ จะช่วยให้ดินร่วนซุย การระบายน้ำและอากาศของดินดี ดินอุ้มน้ำดีขึ้น เป็นสภาพที่เหมาะแก่การเจริญเติบโตของต้นขนุนมาก

การปลูก
การปลูกขนุนในบริเวณที่ลุ่ม น้ำท่วมถึง ต้องยกร่องเสียก่อน เพื่อไม่ให้น้ำท่วมถึงโคนต้น นอกจากนั้นการมีร่องสวนจะสะดวกในการให้น้ำและระบายออก ขนาดของร่องควรกว้างอย่างน้อย 6 เมตร คูน้ำ กว้าง 1.5 เมตร ความยาวของร่องแล้วแต่ขนาดของพื้นที่หลังร่อง ยิ่งสูงมากยิ่งดี รากขนุนจะได้เจริญอย่างเต็มที่ เมื่อขุดร่องเสร็จแล้วควรปรับปรุงดิน โดยการขุดตากดิน ใส่ปุ๋ยคอกเก่าๆ ปุ๋ยหมัก เพื่อให้ดินร่วนซุยด้วย เช่นเดียวกัน ถ้าเป็นพื้นที่ดินเหนียวก็ควรปลูกพืชล้มลุก หรือพืชตระกูลถั่ว 2-3 ครั้ง จะทำให้ดินร่วนซุยดีขึ้น หรือใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักมากๆ จึงค่อยปลูกขนุนภายหลัง สำหรับพื้นที่ที่เป็นร่องสวนเก่า มีคันคูอยู่แล้ว เคยปลูกพืชอย่างอื่นจนดินร่วนซุยดี อาจจะปรับปรุงดินอีกเล็กน้อย ก็สามารถปลูกได้

การปลูกขนุนทั้งแบบยกร่องและปลูกแบบไร่ ควรปลูกให้เป็นแถวเป็นแนว เพื่อสะดวกในการดูแลรักษาและการปฏิบัติงานสวน การปลูกในพื้นที่ดอน ควรให้ระยะห่างระหว่างต้น หรือระหว่างหลุม คือ 8×8 หรือ 10×10 เมตร เป็นระยะที่เหมาะสมสำหรับขนุนที่เป็นไม้ผลอายุยืน ซึ่งในพื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกได้ประมาณ 16-25 ต้น การปลูกแบบยกร่องต้นมักมีขนาดเล็กกว่าแบบไร่ ระยะระหว่างต้นอาจถี่กว่านี้ก็ได้ คือ ประมาณ 6×7.5 เมตร ในพื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกได้ประมาณ 35 ต้น ก็เลือกใช้ตามความเหมาะสมของแต่ละท่าน ช่วงเวลาที่เหมาะสมให้ปลูกช่วงต้นฤดูฝน 7 วันแรก หลังจากปลูก

ถ้าฝนไม่ตกควรรดน้ำทุกวัน หลังจากนั้นถ้าฝนยังไม่ตกอีก ควรรดน้ำประมาณ 1-3 วัน/ครั้ง ตามความเหมาะสม จนเห็นว่าตั้งตัวดี จึงเว้นการรดน้ำให้ห่างออกไปกว่านี้ หรืออาจปล่อยไว้ตามธรรมชาติก็สามารถเจริญเติบโตได้ดี เพราะโดยปกติขนุนเป็นพืชที่ทนแล้งอยู่แล้ว แต่อย่างไรก็ตาม การปลูกเพื่อให้ได้ผลเต็มที่นั้น ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอในฤดูแล้ง พวกที่เริ่มปลูกเป็นปีแรก ควรรดน้ำทุกระยะ 7 วัน และการให้น้ำในฤดูแล้งปีที่ 2 สามารถยืดเวลาให้น้ำออกไปเป็น 10-15วัน/ครั้ง หรือช่วงที่ขาดฝนนานๆ ควรให้น้ำช่วยบ้าง จะทำให้การเจริญเติบโตเป็นไปตามปกติ

การพรวนดินบริเวณรอบๆ ทรงพุ่มต้นขนุน ควรทำเป็นประจำปีละ 1-2 ครั้ง เมื่อพรวนดินแล้วให้ใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก จะช่วยทำให้ดินร่วนซุย ขณะที่ต้นขนุนยังเล็กควรใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) ต้นละ 2 ช้อนแกง ผสมน้ำ 1 ปี๊บ รดบริเวณโคนต้น 2 สัปดาห์ ต่อครั้ง ประมาณ 3 ครั้ง หลังจากนั้นทุก 3 เดือน ให้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 ครั้งละประมาณ 100 กรัม หว่านรอบโคนต้น

เมื่อต้นอายุเริ่มเข้าปีที่ 2 ปุ๋ยเคมีที่ใช้ จะใช้สูตรเสมอ เช่น สูตร 15-15-15 หรือ สูตร 16-16-16 จำนวนปุ๋ยที่ใส่ประมาณครึ่งหนึ่งของอายุต้นขนุน เช่น ขนุนอายุ 1 ปี จำนวนปุ๋ยที่ใส่เท่ากับครึ่งกิโลกรัม โดยแบ่งใส่ 2-3 ครั้ง/ปี ต่อไปหลังจากที่อายุตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป

การใส่ปุ๋ย ควรพิจารณาจากผลผลิตในแต่ละปี ถ้าปีไหนให้ดอก ผลดก ก็จะใส่ปุ๋ยมากขึ้นตามความเหมาะสม วิธีใส่ปุ๋ย ควรพรวนดินตื้นๆ รอบๆ บริเวณรัศมีของทรงพุ่มขนุน การใส่ปุ๋ยเคมี ควรใส่พร้อมกับการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ หลังใส่ปุ๋ยแล้วรดน้ำตามทุกครั้งให้ปุ๋ยเคมีละลายจนหมด

ในปีแรกให้ตัดยอดกลาง สูงจากพื้นประมาณ 1 เมตร เพื่อให้ต้นขนุนแตกแขนงข้าง แล้วเลือกกิ่งแขนงไว้ ประมาณ 3-5 กิ่ง เพื่อให้เป็นกิ่งหลักในอนาคต โดยเลือกไว้กิ่งที่สมบูรณ์ ทำมุมกว้างกับลำต้น หรือกิ่งที่ขนานไปกับพื้น

ในปีที่ 2-3 ปล่อยให้กิ่งแขนงที่เลือกไว้เจริญจนสุดตัว แต่ถ้ามีกิ่งแขนงย่อยแตกจากกิ่งแขนงใหญ่แน่นเกินไป ให้ตัดกิ่งแขนงย่อยออกบ้าง นอกจากนี้ ให้ตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรค กิ่งที่ฉีกขาดและแห้ง กิ่งกระโดงออกได้ทุกเมื่อ โดยเฉพาะหลังเก็บเกี่ยวแล้วถ้าได้ปฏิบัติตัดแต่งมาตั้งแต่ปีแรกๆ ในปีต่อๆ ไป จะตัดแต่งกิ่งแต่เพียงเล็กน้อยก็เพียงพอ

การห่อผลขนุน
การห่อขนุนนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มคุณภาพของผล ทำให้ผิวสวย สะอาด ไม่มีคราบของเชื้อรา และการทำลายของแมลงศัตรู เช่น หนอนเจาะ หรือแมลงปีกแข็ง วัสดุที่ใช้ห่อจะใช้ถุงกระดาษห่อกล้วย, กระสอบอาหารสัตว์, ถุงพลาสติกห่อกล้วยหอม เป็นต้น นำมาสวมคลุมผลขนุน ปากถุงผูกติดกับก้านผลไว้ โดยเปิดก้นถุงเอาไว้

การห่อผลจะเริ่มห่อเมื่อผลขนุนมีอายุได้ 60 วัน และจะห่ออยู่นานประมาณ 90 วัน โดยทั่วไปก่อนห่อควรพ่นสารเคมีป้องกันแมลงและโรคก่อนประมาณ 1 วัน เพื่อป้องกันการทำลายของโรคและแมลงศัตรู

ขนุนที่ปลูกด้วยกิ่งตอน กิ่งทาบ หรือเสียบยอด จะออกดอกและผลประมาณปีที่ 3-4 หลังจากปลูก ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการบำรุงรักษาด้วย รวมถึงสายพันธุ์ขนุน

“ขนุนทองสิน” จัดเป็นขนุนพันธุ์เบา ที่หลังปลูกเพียง 2 ปี ก็ให้ผลผลิตแล้ว โดยขนุนมีดอกตัวผู้อยู่บนต้นเดียวกัน แต่แยกกันเป็นคนละดอก ดอกจะออกตามลำต้นและกิ่ง ดอกตัวผู้เรียกว่า “ส่า” เพราะมีกลิ่นคล้ายส่าเหล้า ซึ่งจะร่วงไปในเวลาต่อมา

ส่วนดอกตัวเมียจะมีสีเขียวและขนาดใหญ่กว่าดอกตัวผู้ เมื่อได้รับการผสมแล้ว จะเจริญเติบโตเป็นผลแก่ภายใน 4 เดือน ปกติขนุนจะออกผลปีละ 2 ครั้ง ครั้งแรก ราวเดือนธันวาคม-มกราคม และครั้งที่ 2 ราวเดือนสิงหาคม-กันยายน แต่พบว่าบางต้นที่ให้ผลเรื่อยๆ ตลอดปีก็มี

ส่วนผลผลิต ขึ้นกับขนาดของลำต้น เช่น ต้นอายุ 10 ปีขึ้นไป จะออกผลประมาณ ปีละ 40-50 ผล เพื่อให้ได้ขนุนคุณภาพดี ควรไว้ผลครั้งละประมาณ 20 ผล โดยการตัดผลที่ถูกโรคแมลงทำลาย ผลที่มีขนาดเล็ก ผลที่เสียทรงออกทิ้ง โดยคาดคะเนว่าไม่มากเกินไป

การเก็บผลขนุน
เพื่อความถูกต้องและแม่นยำ อาจต้องใช้หลายวิธีประกอบกัน ก่อนตัดขนุน จึงจะทำให้ได้ขนุนแก่คุณภาพดี วิธีสังเกตว่า ขนุนแก่พร้อมเก็บเกี่ยวได้นั้นสามารถสังเกตได้ เช่น สังเกตจากตาหนามของผลที่ขยายห่าง ถ้าห่างมาก และปลายหนามแห้ง เป็นสีน้ำตาลดำ ตัวหนามแบนราบ มองเห็นปลายหนามแห้งเป็นจุดดำๆ ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมของเกษตรกร

หรืออาจสังเกตจากผิวผลขนุน หรือใช้การทดสอบโดยเอามีดกรีดบริเวณขั้วของผล ถ้าผลสุกจะมียางไหลออกมาน้อย และมีลักษณะใส ถ้ายางไหลออกมามาก ข้นเป็นสีขาว แสดงว่า ยังไม่แก่ หรือใช้การนับอายุของผลตั้งแต่ดอกเริ่มผสมติดจนผลแก่ ประมาณ 120-160 วัน หรือใช้วิธีเคาะฟังเสียง ถ้ามีเสียงดังปุๆ แสดงว่าผลแก่

ปกติขนุนจะให้ผลอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ในระหว่างเดือนมกราคม-พฤษภาคม แต่ก็พบว่า ขนุนพันธุ์ “ทองสิน” มีการออกทวายในเดือนอื่นๆ ด้วย ในเขตสภาพแวดล้อมเหมาะสม การปฏิบัติดูแลรักษาดี มีน้ำอุดมสมบูรณ์ ขนุนเป็นผลไม้ที่ไม่มีปัญหา

ด้านแรงงานเก็บเกี่ยวเหมือนผลไม้ชนิดอื่น เช่น เงาะ ลำไย มะขามหวาน ซึ่งต้องใช้คนจำนวนมากในการเก็บเกี่ยว เกิดการแย่งแรงงานทำให้ค่าแรงในการเก็บเกี่ยวสูง การเก็บขนุนสามารถเก็บโดยใช้คนเพียงคนเดียว อย่างสวนขนุนใหญ่ๆ ต้นมีอายุมาก ต้นสูงใหญ่ ถ้าผลขนุนอยู่สูง ก็จะใช้เชือกไนลอน ขนาด 2 นิ้ว ขมวดเป็นปมเพื่อใช้เป็นตัวดึง ส่วนปลายเชือกอีกด้านหนึ่ง รัดกับส่วนขั้วของผลขนุน แล้วค่อยๆ หย่อนผลลงมาที่พื้น ซึ่งจะทำให้ผลไม่บอบช้ำ เมื่อเก็บผลลงมาแล้ว ควรตัดขั้วขนุนบริเวณใต้ปลิงออก ให้เหลือเพียงประมาณ 2 นิ้ว เอียงผลขนุนลงไปทางด้านขั้วผล เพื่อให้ยางขนุนไหลออกได้สะดวก

จากการสังเกตพบว่า วิธีนี้จะช่วยทำให้ขนุนสุกเร็วขึ้น เนื้อยวงจะแห้งดี ไม่แฉะ จากนั้นจึงนำส่งขายให้กับพ่อค้าต่อไป ซึ่งตอนนี้ ทาง “สวนคุณลี” ได้ทำการขยายพันธุ์โดยวิธีการทาบกิ่งและเสียบยอด เพื่อให้ได้ต้นพันธุ์ที่มีรากแก้ว เพื่อให้ต้นมีอายุยืน ทนต่อแรงลม เพราะมีรากแก้วเกาะยึดดินได้ดี ทนต่อดินทุกสภาพ เป็นต้น

“ถั่วแระญี่ปุ่น” หรือ “ถั่วเหลืองฝักสด” (Vegetable Soybean) เป็นพืชที่รู้จักกันแพร่หลายมากขึ้นในปัจจุบัน และเริ่มมีความสำคัญทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ในแต่ละปีสามารถส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่นที่นำเข้าจากประเทศไทยเป็นจำนวนมากในแต่ละปี ซึ่งเห็นได้จากที่บริษัทส่งออกต้องเข้ามาส่งเสริมหาลูกไร่ หรือเกษตรกรเพื่อปลูกถั่วแระญี่ปุ่นแล้วรับซื้อผลผลิตคืนทั้งหมด โดยบริษัทจะออกค่าเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย สารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลงให้ รวมถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ ให้เกษตรกรก่อน หลังการเก็บเกี่ยวเสร็จก็ค่อยมาหักค่าใช้จ่ายส่วนที่เกษตรกรจะต้องได้

ซึ่งจากที่สอบถามแลกเปลี่ยนข้อมูลกับเกษตรกร พบว่า ในการปลูกถั่วแระญี่ปุ่นนั้น เกษตรกรจะเหลือผลกำไรไร่ละ ประมาณ 10,000-15,000 บาท ซึ่งเกษตรกรก็ค่อนข้างพอใจในรายได้ เนื่องจากถั่วแระญี่ปุ่นนั้นใช้ระยะปลูกจนเก็บเกี่ยวเพียง 65-70 วันเท่านั้น

“ถั่วแระญี่ปุ่น” เป็นถั่วเหลืองที่มีฝักขนาดใหญ่ บริโภคเมล็ดในระยะเมล็ดเต่งเต็มที่ แต่ฝักยังมีสีเขียวอยู่ อายุเก็บเกี่ยวฝักสด ประมาณ 65 วัน หลังจากหยอดเมล็ดฝักที่ได้มาตรฐานส่งตลาดญี่ปุ่น จะต้องมีเมล็ดตั้งแต่ 2 เมล็ด ขึ้นไป ความยาวฝักไม่น้อยกว่า 4.5 เซนติเมตร ฝัก 1 กิโลกรัม มีจำนวนฝักไม่เกิน 350 ฝัก และไม่มีรอยตำหนิใดๆ บนฝัก ลำต้นเป็นพุ่มเตี้ย มี 7-10 ข้อ และแขนง 2-3 แขนง เมล็ดพันธุ์มีขนาดใหญ่ โดยเมล็ด 100 เมล็ด จะมีน้ำหนักประมาณ 25-35 กรัม ส่วนใหญ่บริโภคฝักสดเป็นอาหารว่าง โดยต้มทั้งฝักในน้ำเดือด ใช้ระยะเวลาสั้นเพียง 5 นาที โรยเกลือเล็กน้อย เพื่อเพิ่มรสชาติ หรือแกะเมล็ดออกจากฝักนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น ผัดกับกุ้ง แกงส้ม ข้าวผัด และใช้แทนถั่วลันเตากระป๋องได้เป็นอย่างดี

คุณเจิด ขุนทด บ้านเลขที่ 458/2 หมู่ที่ 5 ตำบลวังโป่ง อำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์ โทร. (085) 054-7991 เป็นเกษตรกรรายหนึ่งที่ปลูกถั่วแระญี่ปุ่นส่งขายให้บริษัทผู้ส่งออก เพื่อนำผลผลิตถั่วแระญี่ปุ่นสดส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น โดยปลูกในปีนี้ได้ปลูกถั่วแระญี่ปุ่นราวๆ 40 ไร่ โดยจะปลูกช่วงหลังการปลูกข้าวโพดเพื่อเป็นพืชหมุนเวียน ซึ่งคุณเจิด เล่าว่า ตนเองสนใจปลูกถั่วแระญี่ปุ่น เนื่องจากเป็นพืชที่ใช้เวลาปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวสั้น คือราวๆ 65 วัน เท่านั้น สามารถขายให้บริษัทที่เข้ามาส่งเสริมแล้วรับซื้อแบบประกันราคา กิโลกรัมละ 17 บาท ซึ่งที่ผ่านมาก็สร้างรายได้เป็นที่น่าพอใจ โดยหักค่าใช้จ่ายแล้วก็จะเหลือเงินต่อไร่ละ ประมาณ 10,000-12,000 บาท ซึ่งเป็นผลตอบแทนที่ตนเองพอใจ เนื่องจากใช้เวลาที่สั้น เพียง 2 เดือนเศษเท่านั้น

ฤดูปลูก และแหล่งปลูก
การปลูกถั่วแระญี่ปุ่น สามารถปลูกได้ดีเกือบตลอดทั้งปี ยกเว้นฤดูร้อนช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน เป็นช่วงที่ปลูกถั่วเหลืองฝักสดแล้วได้ผลผลิตค่อนข้างต่ำ เพราะดอกจะทยอยบานต่อเนื่องเป็นเวลานานกว่า 14 วัน ทำให้การแก่ของฝักไม่พร้อมกัน ยากแก่การกำหนดวันเก็บเกี่ยว และอุณหภูมิที่สูงเกินไปทำให้อัตราการเกิดฝักที่มีเมล็ดลีบทั้งฝัก และฝักที่มีเมล็ดลีบบางเมล็ดสูงขึ้น ฝักมีขนาดเล็กลง ทำให้จำนวนฝักตกเกรดมีมากขึ้น เป็นผลให้ผลผลิตต่ำ จึงควรหลีกเลี่ยงการปลูกในช่วงที่อากาศร้อนจัด อย่างไรก็ดี แหล่งที่ดีจะต้องมีแหล่งน้ำชลประทานเพียงพอตลอดอายุปลูก

การเตรียมแปลง และการปลูก
การเตรียมแปลงปลูกทำเช่นเดียวกับการปลูกผักทั่วๆ ไป โดยไถพรวน 2 ครั้ง เพื่อให้ดินร่วนและเป็นการกำจัดวัชพืช จากนั้นจึงยกร่องซึ่งระยะระหว่างร่องขึ้นกับระบบการให้น้ำ ถ้าปรับพื้นที่สำหรับให้น้ำแบบปล่อยตามร่อง ควรยกร่องห่างกัน ประมาณ 1-1.2 เมตร มีพื้นที่สันแปลง ประมาณ 50-60 เซนติเมตร ปลูกได้ 2 แถว ตามขอบแปลง ถ้าสภาพแปลงปลูกไม่ค่อยสม่ำเสมอหลังจากยกร่องแล้วควรปล่อยน้ำลงในร่องก่อนปลูก จะเห็นรอยระดับน้ำตลอดแนวร่อง เมื่อดินหมาดจึงหยอดเมล็ดเหนือรอยระดับน้ำเล็กน้อย ถ้าดินชื้นดีอาจไม่ต้องให้น้ำอีก แต่ถ้าดินแห้งควรให้น้ำอีกครั้งเท่ากับระดับที่เคยให้น้ำมาก่อน วิธีนี้ทำให้เมล็ดถั่วเหลืองฝักสดได้รับความชื้นพอเหมาะ เป็นผลให้เมล็ดงอกพร้อมกันและเจริญเติบโตอย่างสม่ำเสมอทั่วทั้งแปลง

ระยะปลูกระหว่างแถวขึ้นอยู่กับความกว้างของร่อง ส่วนระยะระหว่างต้น ประมาณ 15-20 ต้น/ตารางเมตร หยอดเมล็ด 2-4 เมล็ด ต่อหลุม ซึ่งจำนวนต้นต่อพื้นที่ที่เหมาะสมคือ 20-25 ต้น/ตารางเมตร โดยใช้เมล็ดพันธุ์ ประมาณ 12-15 กิโลกรัม/ไร่ ถ้าระบบให้น้ำเป็นแบบฉีดพ่นฝอย ควรยกแปลงกว้าง 3-4 เมตร หรือตามระยะฉีดของหัวพ่นฝอย หยอดเมล็ดบนแปลงเป็นแถวเช่นกัน แต่ใช้ระยะปลูกแคบลงเป็น 20×25 เซนติเมตร ให้มีจำนวน 1-2 ต้น/หลุม สำหรับการปลูกถั่วแระในนาข้าว หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว สามารถหยอดเมล็ดลงแปลงปลูกโดยไม่ต้องไถพรวนก็ได้ ถ้าดินแห้งควรปล่อยน้ำท่วมแปลงปลูกก่อน ประมาณ 3-4 วัน แล้วจึงปลูก และเมื่อต้นถั่วอายุ 15-20 วัน ควรใส่ปุ๋ยพรวนดิน ถากหญ้า พูนโคนพร้อมกันไป จะทำให้ร่องที่เกิดขึ้นระหว่างแถวถั่วกลายเป็นร่องสำหรับให้น้ำต่อไป การใช้ระยะปลูกแคบมีแนวโน้มที่จะได้ผลผลิตมากขึ้น แต่ระยะปลูกที่แคบเกินไปทำให้สิ้นเปลืองเมล็ดพันธุ์มากขึ้น และการปฏิบัติดูแลรักษาทำได้ยากขึ้นด้วย

วิธีการปฏิบัติดูแลรักษา
การคลุกเมล็ดด้วยสารเคมีก่อนปลูก ถั่วแระญี่ปุ่นค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคเน่าที่เกิดกับเมล็ดและต้นอ่อนมากกว่าถั่วเหลืองไร่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพที่ดินปลูกแฉะเกินไป เมล็ดงอกช้า มักจะถูกทำลายโดยเชื้อราที่ติดมากับเมล็ดหรือเชื้อราและแบคทีเรียในดิน

การคลุกเมล็ดด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น สารแคปแทน อัตรา 5 กรัม ต่อเมล็ดถั่ว 1 กิโลกรัม จะช่วยลดความเสียหายจากการเน่าของเมล็ดและต้นอ่อนลงได้ การคลุมเมล็ดด้วยเชื้อไรโซเบียม สามารถทำได้ แม้ว่าเมล็ดถั่วแระญี่ปุ่นจะผ่านการคลุกเมล็ดด้วยสารป้องกันเชื้อรามาแล้วก็ตาม อัตราที่ใช้ ประมาณ 10 กรัม ต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม เชื้อไรโซเบียมในปมรากถั่วจะช่วยตรึงไนโตรเจนจากอากาศมาเป็นประโยชน์แก่ต้นถั่ว ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นและสามารถลดปริมาณการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนลงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแปลงที่ยังไม่เคยปลูกพืชตระกูลถั่วมาก่อน

งานกำจัดวัชพืช
ส่วนใหญ่ทำโดยใช้แรงงานคนอย่างน้อย 2 ครั้ง เมื่อตอนถั่วอายุ 15-20 วัน และ 30-40 วัน หลังจากหยอดเมล็ด การใช้จอบถากหญ้ามักจะทำควบคู่ไปกับการพรวนดิน กลบปุ๋ย และพูนโคน ทั้งนี้ เพื่อป้องกันรากลอยและต้นถั่วเอนล้มเมื่อลมพัดแรง นอกจากการกำจัดวัชพืชด้วยแรงคน และยังสามารถใช้สารเคมีควบคุมวัชพืชได้ด้วย แต่ผู้ใช้ต้องระมัดระวังและปฏิบัติตามคำแนะนำ มิฉะนั้นอาจเป็นอันตรายกับต้นถั่ว ปัจจุบัน สารเคมีกำจัดวัชพืชมีหลายชนิดหลายประเภท ทั้งชนิดที่เลือกควบคุมหรือทําลายพืชเฉพาะอย่าง และทั้งประเภทฉีดพ่นก่อนงอก (Pre-emergence) และพ่นหลังงอก (Post-emergence) สารเคมีที่ใช้ฉีดพ่นก่อนงอก เช่น อาลาคลอร์, เมโตลาคลอร์, เมตริบูซิน ซึ่งสารเคมีพวกนี้จำเป็นต้องฉีดพ่นขณะที่ดินมีความชื้นพอเหมาะและเมล็ดถั่วยังไม่งอก สำหรับสารเคมีที่ฉีดพ่นหลังงอก เช่น ฮาโลซีฟอพเมธิล, ฟลูอซิฟอพบูทิล ใช้ควบคุมวัชพืชใบแคบได้ดี แต่ไม่ควบคุมวัชพืชใบกว้างและไม่มีอันตรายต่อต้นถั่ว ส่วนฟอมีซาเฟน ควบคุมวัชพืชใบกว้างและมีผลทำให้ใบถั่วมีรอยไหม้ตามขอบและชะงักการเจริญเติบโตเล็กน้อย แต่ระยะต่อมาต้นถั่วสามารถเจริญเติบโตไปได้ โดยที่ใบใหม่ไม่แสดงอาการผิดปกติ การใช้สารเคมีควบคุมวัชพืชอาจมีความจำเป็นในบางพื้นที่ที่หาแรงงานยาก และจะให้ผลดีควรใช้สารเคมีควบคู่กับการกำจัดวัชพืชด้วยเครื่องจักรกลหรือแรงงานคน

การให้น้ำ
ถั่วเหลืองฝักสดต้องการน้ำมากน้อยตามระยะการเจริญเติบโต ดังนี้ ระยะก่อนเมล็ดงอก หลังจากหยอดลงแปลงปลูก เมล็ดต้องการความชื้นพอสมควร แต่ไม่มากจนแฉะ เพราะขณะที่เมล็ดงอกเมล็ดต้องการออกซิเจนในการหายใจ ดังนั้น ถ้าสภาพแปลงปลูกแฉะเกินไปจะเกิดการสะสมคาร์บอนไดออกไซด์ และเป็นผลให้การงอกไม่สมบูรณ์ เมล็ดมักจะเน่าเสียหาย หรือถ้างอกได้จะเจริญเติบโตช้า ต้นแคระแกร็น ระยะก่อนเมล็ดงอก อายุประมาณ 25-65 วัน เป็นระยะที่ต้นถั่วแระญี่ปุ่นต้องการน้ำอย่างสม่ำเสมอ ช่วยให้สีฝักแก่ เปลี่ยนเป็นสีเหลืองช้าลง เป็นการยืดอายุเก็บเกี่ยวออกไปได้อีก 2-3 วัน ผลผลิตจะสูงขึ้นอีกเล็กน้อย

การเก็บเกี่ยวถั่วแระญี่ปุ่น
ทำโดยการตัดต้นถั่วในระยะที่ฝักไม่แก่และไม่อ่อนเกินไป ถ้าเก็บเกี่ยวเร็วเกินไปเมล็ดในฝักยังไม่เติบโตเต็มที่ มีเปอร์เซ็นต์ฝักลีบมาก ได้ผลผลิตต่ำ แต่ถ้าเก็บเกี่ยวช้าเกินไปฝักจะออกสีเหลือง เมล็ดในฝักแข็ง รสไม่หวาน ตลาดไม่ต้องการ ปกติจะเริ่มเก็บเกี่ยวเมื่อฝักเต่ง ประมาณ 80% ซึ่งเป็นระยะเวลา ประมาณ 30-35 วัน หลังจากดอกบานสะพรั่ง หรือ 60-65 วัน หลังจากหยอดเมล็ด อย่างไรก็ดี ถั่วแระญี่ปุ่นแต่ละพันธุ์มีอายุเก็บเกี่ยวไม่เท่ากัน และอายุการเก็บเกี่ยวยังแปรปรวนตามสภาพแวดล้อมและการปฏิบัติดูแลรักษาด้วย

ถ้าปลูกถั่วแระญี่ปุ่นในสภาพอากาศค่อนข้างเย็น ช่วงการบานของดอกตั้งแต่ดอกแรกถึงดอกสุดท้ายจะสั้นราวๆ 5-7 วัน แต่ถ้าปลูกในฤดูร้อนดอกจะทยอยบานไปเรื่อยๆ ซึ่งบางครั้งยาวนานกว่า 14 วัน ทำให้ฝักแก่ไม่พร้อมกัน เป็นการยากที่จะกำหนดวันเก็บเกี่ยว ในด้านการดูแลรักษา ถ้าต้นถั่วมีอาการแคระแกร็นเนื่องจากการขาดน้ำ ขาดการบำรุงปุ๋ยในระยะที่เหมาะสมก็จะทำให้อายุออกดอกล่าช้าออกไป และคุณภาพฝักลดลงด้วย

การเก็บเกี่ยว ควรเก็บเกี่ยวในเวลาเช้ามืดหรือช่วงเวลาเย็น ไม่ควรเก็บเกี่ยวในเวลากลางวันที่มีแดดจัด และหลังจากตัดต้นถั่วที่มีแดดจัด และหลังจากตัดต้นถั่วและควรรีบนำเข้าที่ร่มไม่ให้ถูกแสงแดดโดยตรง แสงแดดและความร้อนเป็นปัจจัยสำคัญที่จะเร่งให้คุณภาพฝักทั้งภายนอกและภายในเสื่อมลง เช่น สีฝักเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ปริมาณน้ำตาลในเมล็ดลดลง เป็นต้น การเด็ดฝักออกจากต้นต้องทำด้วยความระมัดระวัง อย่าให้มีรอยฉีกขาดบนฝัก แล้วคัดเลือกฝักที่มีเมล็ดเต่งสมบูรณ์ 2 เมล็ด ต่อฝัก ขึ้นไป ไม่มีรอยตำหนิใดๆ แยกออกจากฝักที่มีเมล็ดเดียว เมล็ดลีบ และมีรอยตำหนิ

ในการคัดแยกฝักจำเป็นต้องจ้างแรงงานมาช่วย Sa Gaming ประมาณ 15-30 คน ต่อพื้นที่เก็บเกี่ยว 1 ไร่ ซึ่งถ้าเก็บเกี่ยวพื้นที่ 10 ไร่ ก็จะต้องใช้คนมากถึง 150-300 คน เลยทีเดียว เพื่อให้เก็บผลผลิตได้ตามกำหนดเวลาที่ต้องการ โดยตอนนี้ค่าเก็บฝักถั่วแระญี่ปุ่น กิโลกรัมละ 2.50 บาท ซึ่งเป็นรายได้ที่ดีสำหรับแรงงานรับจ้างเก็บฝักถั่วแระญี่ปุ่น ซึ่งเฉลี่ยแต่ละคนจะมีรายได้ 400-800 บาท เลยทีเดียว แต่นั้นก็ขึ้นอยู่กับความขยัน ความชำนาญในการเก็บ และจำนวนแรงงานที่มาเก็บ เป็นต้น

ขณะที่รอการขนส่งควรเก็บฝักที่คัดแล้วไว้ในที่ร่มเย็น ไม่ถูกแสงแดด โดยการเก็บเกี่ยวถั่วแระญี่ปุ่นเริ่มเก็บเกี่ยวและคัดแยกฝักในตอนกลางคืนราวเที่ยงคืนเป็นต้นไป พอถึงรุ่งเช้าจะส่งผลผลิตที่คัดแยกฝักเรียบร้อยแล้วไปยังโรงงาน ซึ่งทำให้ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพดี เนื่องจากขณะเก็บเกี่ยวเป็นช่วงที่อุณหภูมิต่ำ และผู้เก็บเกี่ยวมีความชำนาญในการคัดแยกฝักเป็นอย่างดีจากการทำอยู่เป็นประจำ

พื้นที่ที่เกือบไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไร และเป็นเกาะแก่งกลางน้ำ เมื่อถึงฤดูน้ำหลาก ถูกทิ้งไว้มาหลายปี เพราะเจ้าของต้องไปทำไร่อ้อยและไร่ข้าวโพดอีกที่หนึ่ง ไม่มีเวลาดูแล กระทั่งเมื่อ 6 ปีก่อน พื้นที่นี้ได้รับการฟื้นฟูอีกครั้ง

คุณวิทยา โพธิลำเนา เกษตรกรชาวตำบลบ้านโคก อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดอุดรธานี มีพื้นที่ 6 ไร่ แต่เพราะพื้นที่นี้ถูกน้ำท่วมหลากเป็นประจำทุกปี ทำให้คุณวิทยาไม่คิดปลูกพืชอะไรไว้ เพราะเกรงว่าจะไม่รอด

แต่มีตัวอย่างเกษตรกรในพื้นที่ปลูกไม้ผลจนประสบความสำเร็จ จึงเป็นแรงบันดาลใจให้คุณวิทยาคิดทำตามแบบอย่าง เกษตรกรตัวอย่าง ปลูกเงาะ ให้ผลผลิตดี มีคุณภาพ คุณวิทยาจึงเอาแบบอย่าง ซื้อกิ่งพันธุ์เงาะมาบ้าง ลงปลูกเต็มพื้นที่ 6 ไร่ จำนวน 160 ต้น แต่เห็นพื้นที่ระหว่างต้นเงาะยังว่าง จึงนำกิ่งพันธุ์ฝรั่งกิมจูมาลงปลูกระหว่างเงาะแต่ละต้น ทำให้ได้จำนวนฝรั่งอีก 400 ต้น หลังปลูกก็ปล่อยไว้อย่างนั้น แล้วออกไปทำไร่ตามปกติ แต่หลังจากนั้น 6 เดือน เข้ามาดูเห็นฝรั่งเริ่มติดดอก หลังจากนั้นอีก 2 เดือน เข้ามาดู ก็พบว่า ฝรั่งให้ผลผลิตแล้ว

“พอเข้ามาดูก็เห็นฝรั่งดกเต็มต้น แต่ห่อไม่ทัน ผลฝรั่งเน่าคาต้นเยอะมาก เห็นผลผลิตดีขนาดนี้ ทำให้ตั้งใจว่า จะดูแลให้ดี เพราะทุกผลที่ห่อ คือ เงิน ส่วนเงาะปีแรกให้ผลผลิตพอได้กิน ปีที่ 2 ผลผลิตที่ได้กินอิ่ม ผลผลิตปีที่ 3 เก็บผลผลิตขายได้พร้อมๆ กับฝรั่งกิมจู”

เพราะคลุกคลีกับพืชไร่ที่ต้องใช้สารเคมีมาโดยตลอด ทำให้การปลูกไม้ผลบนพื้นที่ 6 ไร่นี้ หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีให้มากที่สุด

คุณวิทยา เล่าว่า ปีแรก เราไม่รู้อะไรก็ใส่ปุ๋ยเคมีลงไป แต่สังเกตเห็นต้นไม้โทรม จึงลองสั่งขี้ไก่มาใส่แทนเคมี ปรากฏว่าต้นไม้งาม เจริญเติบโตดี แตกยอดไม่หยุด ทำให้รู้ว่าเคมีไม่ได้ช่วยอะไรมาก