ระยะไข่ ผีเสื้อเพศเมียจะวางไข่ไว้ภายนอกผลทุเรียนไข่

ใช้เวลาประมาณ 4 วัน จะฟักเป็นตัวหนอน ระยะหนอน หนอนฟักจากไข่ใหม่ๆ มีสีขาว หัวสีน้ำตาล จะแทะกินผิวเปลือกผลทุเรียนก่อน เมื่อโตขึ้นจะเจาะกินเข้าไปภายในผล ตัวหนอนสีเทาอมชมพู มีจุดสีดำอยู่ตลอดทั้งลำตัว หนอนโตเต็มที่มีขนาดยาวประมาณ 1.5-1.8 เซนติเมตร เมื่อเลี้ยงด้วยผลละหุ่ง ระยะหนอนกินเวลา 12-13 วัน

– ระยะดักแด้ หลังจากหนอนเจริญเต็มที่แล้วจะเข้าดักแด้อยู่ระหว่างหนามของผลทุเรียน โดยมีใยและมูลของหนอนหุ้มตัว ระยะดักแด้ 7-9 วัน หลังจากนั้นก็ออกเป็นผีเสื้อ ระยะตัวเต็มวัย ผีเสื้อเพศผู้มีชีวิตอยู่ได้ 10-18 วัน และเพศเมียมีอายุ 14-18 วัน เมื่อกางปีกกว้าง ประมาณ 2.3 เซนติเมตร ปีกทั้งสองคู่มีสีเหลือง มีจุดสีดำกระจายอยู่ทั่วปีก เพศเมีย 1 ตัว สามารถวางไข่ได้ 100-200 ฟอง

ลักษณะการเข้าทำลายของหนอนเจาะผลทุเรียน โดยผีเสื้อจะวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆ บริเวณหนามทุเรียนใกล้ขั้วผล ตัวหนอนที่ฟักออกจากไข่จะเจาะไชเข้าไปภายในผล และอาศัยกัดกินอยู่ภายในเมล็ด โดยปราศจากร่องรอยของการทำลายผิวผลภายนอกให้เห็น จนกระทั่งตัวหนอนโตเต็มที่ มีขนาดยาวประมาณ 4 เซนติเมตร ก็จะเจาะผลทุเรียนออกมาเข้าดักแด้ ในดินที่ชื้นนาน 1-9 เดือน จึงฟักออกมาเป็นตัวเต็มวัย ดักแด้อาจมีอายุนานกว่านั้น ในกรณีที่มีสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม แต่ถ้ามีฝนตกหนักจะช่วยกระตุ้นให้ออกเป็นตัวเต็มวัยเร็วขึ้น

ปีการผลิต 2562 คุณสุรเชษฐ เริ่มแก้ปัญหาโดยการห่อผลทุเรียนด้วยถุงพลาสติก ขณะที่ผลทุเรียนอายุประมาณ 2 เดือน เมื่อผลทุเรียนโตขึ้นทำให้ถุงพลาสติกฉีกขาด ส่งผลให้หนอนสามารถเข้าทำลายผลทุเรียนได้อีก ทำให้ผลผลิตเสียหาย ร้อยละ 25-30

ปีการผลิต 2563 สำนักงานเกษตรอำเภอย่านตาขาว ได้แนะนำให้ใช้ถุงพลาสติกที่มีขนาดใหญ่ขึ้น โดยห่อขณะที่ผลทุเรียนอายุประมาณ 2 เดือน และให้เกษตรกรสำรวจแปลงทุเรียนอย่างสม่ำเสมอ ส่งผลให้เกษตรกรสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตทุเรียนได้ถึงร้อยละ 95 จำหน่ายกิโลกรัมละ 120 บาท สามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร 24,000 บาท/ต้น

ต่อมาในปีการผลิต 2564 สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดตรัง และสำนักงานเกษตรอำเภอย่านตาขาว ได้มีการสนับสนุนอุปกรณ์สำหรับห่อผลทุเรียน ดังนี้

วัสดุห่อผลแบบกระตุกเชือก ขนาดวงห่อ 6 นิ้ว พร้อมด้าม จำนวน 1 อัน
ถุงห่อผลไม้ไฮเดนขุ่น ขนาด 16×16 นิ้ว จำนวน 3 กิโลกรัม และยางวง 0.5 กิโลกรัม
คุณสุรเชษฐ กล่าวว่า ในช่วงที่ตนอายุยังน้อยตนจะห่อผลทุเรียนต่อไป เนื่องจากการห่อผลทุเรียนด้วยถุงพลาสติก ในขณะที่ผลทุเรียนอายุประมาณ 2 เดือน สามารถควบคุมหนอนเจาะผลได้ถึง 95 เปอร์เซ็นต์ และเป็นวิธีการที่สามารถควบคุมหนอนเจาะผลทุเรียนได้ในขั้นตอนเดียว โดยไม่ต้องใช้สารเคมี ผลผลิตทุเรียนจำหน่ายให้แก่เพื่อนบ้านบริเวณใกล้เคียงและต่างจังหวัด ซึ่งยอดการจองทุเรียนในขณะนี้ทะลุ ไปปีการผลิต 2565 ผลจากสำนักงานเกษตรอำเภอย่านตาขาว ได้ลงพื้นที่และประชาสัมพันธ์ผ่านทางเฟซบุ๊กของสำนักงาน ทำให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจว่าสวนทุเรียนของตนไร้สารเคมีอย่างแน่นอน

ล่าสุด คุณอำนาจ เซ่งเซี่ยง เกษตรอำเภอย่านตาขาว พร้อมด้วย คุณแพรวพรรณ ทองพิทักษ์ เกษตรตำบลโพรงจระเข้ ได้ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนและให้คำแนะนำ พร้อมทั้งให้กำลังใจในการทำงานด้านการเกษตรของ คุณสุรเชษฐ เส็นฤทธิ์ เพื่อเป็นต้นแบบให้เกษตรกรบริเวณใกล้เคียง และต้องการส่งเสริมให้เกษตรกรมีรายได้เสริมที่มั่นคงและยั่งยืนต่อไป

ธรรมดาเรารู้จัก มะกรูด ในแง่ของการใช้ผิวมะกรูด ทำอาหาร หรือใช้ผลมะกรูด เพื่อความงาม แต่คราวนี้ เป็นมะกรูดหวานที่ใช้ประโยชน์ได้ทั้งกินเนื้อ และคั้นน้ำ มะกรูดหวาน เกิดจากการกลายพันธุ์ เมื่อนำเมล็ดของมะกรูดธรรมดาไปเพาะเมล็ดแล้วนำต้นกล้าไปปลูกเลี้ยงจนติดผลขนาดใหญ่ผลดกทั้งต้น และมีลักษณะแปลกพิเศษกว่ามะกรูดทั่วไป คือเมื่อผลแก่จัด เนื้อในจะเป็นสีเหลืองเข้ม บีบและคั้นให้น้ำเยอะ รสชาติหวาน หอมอมเปรี้ยวเล็กน้อย รสชาติอร่อยเหมือนน้ำส้มเช้งทุกอย่าง

มะกรูดหวานได้รับความนิยมปลูกอย่างกว้างขวางมาแต่โบราณในแถบพื้นที่ภาคกลาง ได้แก่ จ.สมุทรสงคราม จ.นนทบุรี จ.ราชบุรี เป็นต้น

มะกรูดหวาน ใบมีลักษณะคล้ายกับใบส้มซ่า ผลมีขนาดใหญ่กว่า ผลมะกรูดทั่วไป ผลอ่อนเป็นสีเขียว แก่จัดเป็นสีเหลือง เนื้อในฉ่ำน้ำและให้น้ำเยอะ เนื้อสุกเป็นสีเหลืองเข้ม มีรสหวานหอม อร่อย ติดผลเป็นพวง 5-7 ผล ติดผลในช่วงฤดูร้อน ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด การตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และเสียบยอด

สาหร่าย ตรงกับภาษาอังกฤษว่า algae และภาษากรีกว่า phykos หมายถึง สิ่งมีชีวิตชั้นต่ำ เป็นพืชชั้นต่ำที่มีขนาดตั้งแต่เล็กมากมองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่าต้องมองด้วยกล้องจุลทรรศน์ จนถึงขนาดใหญ่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า (ยุวดี, 2549) ส่วนใหญ่จะมีคลอโรฟิลล์ช่วยในการสังเคราะห์แสง เป็นสิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นมาประมาณ 4,500 ล้านปีมาแล้ว ดำรงชีวิตด้วยการสร้างอาหารเช่นเดียวกับพืชชั้นสูงทั่วไป

สาหร่าย เป็นกลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่มีความหลากหลายกลุ่ม พบแพร่กระจายทั่วไปตามธรรมชาติ สามารถมีชีวิตได้ทั้งในแหล่งน้ำจืด ซึ่งอาศัยอยู่ได้ทั้งในแหล่งน้ำนิ่ง และแหล่งน้ำไหล น้ำกร่อย และน้ำเค็ม ซึ่งเป็นสาหร่ายที่สามารถเจริญเติบโตได้ในทะเลและมหาสมุทร นอกจากนี้ ยังสามารถพบสาหร่ายได้ทุกหนทุกแห่งที่มีความชื้น เช่น ในดิน หิมะ หรือในน้ำพุร้อน

สำหรับ สาหร่ายทะเล (seaweeds, marine algae) เป็นพืชชั้นต่ำชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ในทะเล (grass of the sea) สามารถขึ้นได้ในแหล่งน้ำกร่อย หรือแหล่งน้ำธรรมชาติ เป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศวิทยา (ecosystem) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในฐานะผู้ผลิตหรือผู้สร้างอาหาร เป็นหน่วยแรกของห่วงโซ่อาหาร จัดเป็นทรัพยากรจากทะเลที่มีประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมและเป็นทรัพยากรประมงอีกประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ

ในประเทศไทยนอกจากมีการนำสาหร่ายที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติมาเป็นอาหารของคน ทำปุ๋ย อาหารสัตว์ ใช้ผลิตแก๊สเชื้อเพลิง และใช้เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อประโยชน์ทางด้านอุตสาหกรรมและการค้าแล้ว ยังมีการนำสาหร่ายทะเลบางชนิดมาใช้เพื่อการบำบัดน้ำทิ้งจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ไม่ว่าจะเป็นน้ำทิ้งจากการเลี้ยงกุ้ง ปลา หรือหอย ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

การบำบัดน้ำทิ้งจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

สาหร่ายทะเล เป็นพืชชั้นต่ำอีกชนิดหนึ่งที่มีศักยภาพในการนำมาบำบัดน้ำจากการเลี้ยงสัตว์น้ำให้มีคุณภาพดีขึ้น และส่งผลให้สาหร่ายมีการเจริญเติบโตเนื่องจากสารอาหารในน้ำทิ้งนั่นเอง

ในประเทศไทยมีการศึกษาการเลี้ยงสาหร่ายวุ้นสีแดง ในน้ำทิ้งจากการเลี้ยงกุ้งทะเล ซึ่งพบว่าสามารถลดสารอาหารในน้ำทิ้งจาการเลี้ยงกุ้งได้ และจากการศึกษาพบว่า สาหร่ายพวงองุ่น (Caulerpe lentillifera) ที่เลี้ยงด้วยน้ำทิ้ง จากการเลี้ยงกุ้งผสมด้วยน้ำทะเลธรรมชาติ จะมีอัตราการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตโดยรวม ดีกว่าสาหร่ายที่เลี้ยงด้วยน้ำทะเลธรรมชาติเพียงอย่างเดียว อีกทั้งคุณภาพน้ำที่ใช้เลี้ยงสาหร่าย ภายหลังจากที่นำสาหร่ายลงเลี้ยง ก็พบว่ามีคุณภาพดีขึ้นกว่าก่อนที่จะนำสาหร่ายมาเลี้ยง

นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่า ผลผลิตของสาหร่ายผักกาดทะเล Ulva rigida ที่เลี้ยงในบ่อหอยหวานซึ่งมีปริมาณไนเตรตสูงกว่าบ่อเลี้ยงอื่น ให้ผลผลิตของสาหร่ายดังกล่าวสูงกว่าบ่อเลี้ยงอื่นๆ

จากการทดลอง ใช้สาหร่ายผมนาง (Gracilaria fisheries) ลดปริมาณแอมโนเนีย ไนไตรต์ ไนเตรต และฟอสฟอรัสในน้ำทิ้งจากการเลี้ยงกุ้ง โดยเลี้ยงสาหร่ายที่ความหนาแน่น 0 (ชุดควบคุม), 0.25, 0.5, และ 1 กิโลกรัม ต่อตารางเมตร ผลปรากฏว่า สาหร่ายที่เลี้ยงที่ความหนาแน่น 1 กิโลกรัม ต่อตารางเมตร สามารถลดปริมาณความเข้มข้นของแอมโนเนีย ไนไตรต์ ไนเตรต และฟอสฟอรัส ในน้ำทิ้งจากการเลี้ยงกุ้งได้ดีที่สุด นอกจากนี้ ได้ทดลองเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่น (Caulerpe lentillifera) ในถังไฟเบอร์ โดยใช้น้ำทะเลธรรมชาติผสมน้ำทิ้งจากการเลี้ยงปลา ผลปรากฏว่าสาหร่ายที่เลี้ยงในถังไฟเบอร์กลาสโดยใช้น้ำทะเลธรรมชาติผสมน้ำทิ้งจากการเลี้ยงปลามีอัตราการเจริญเติบโตต่อวันสูงกว่าสาหร่ายที่เลี้ยงโดยใช้น้ำทะเลเพียงอย่างเดียว

ยังมีการทดลองเลี้ยงหอยเป๋าฮื้อด้วยสาหร่ายมงกุฎหนาม (Acanthophora spicifera) และสาหร่ายผมนาง (Gracilaria fisheries) ซึ่งหอยที่ได้มีอัตราการเจริญเติบโตดีและมีอัตราการรอดตายต่ำ แต่ต้องเก็บรวบรวมจากสาหร่ายดังกล่าวในธรรมชาติและไม่เพียงพอกับความต้องการ จึงได้นำสาหร่ายทั้ง 2 ชนิด มาประยุกต์ใช้ในการบำบัดน้ำทางชีวภาพช่วยในการบำบัดน้ำทิ้งจากการเลี้ยงสัตว์น้ำให้มีคุณภาพดีขึ้น และเป็นอีกทางหนึ่งเพื่อเพิ่มผลผลิตสาหร่ายให้มากเพียงพอ ต่อเกษตรกรที่จะเลี้ยงหอยเป๋าฮื้อในอนาคตต่อไป

นอกจากนี้ มีการทดลองเลี้ยงสาหร่ายเขากวาง (Gracilaria edulis) และสาหร่ายมงกุฎหนาม (Acanthophora spicifera) ในบ่อบำบัดน้ำทิ้งโรงเพาะอนุบาลสัตว์น้ำของสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง จังหวัดตราด ด้วยวิธีการแขวนในบ่อ โดยใช้สาหร่ายบรรจุในถุงที่ทำด้วยเนื้ออวน พบว่า อัตราการเจริญเติบโตน้ำหนักเป็นกรัมต่อวัน ของสาหร่ายเขากวาง และสาหร่ายมงกุฎหนาม ในช่วง 81 วัน มีค่า 20.98 และ 17.89 ตามลำดับ

นอกจากนี้ หลังจากการเลี้ยงสาหร่ายในบ่อบำบัดน้ำทิ้งแล้ว คุณภาพน้ำดีขึ้นจากเดิมมาก โดยสามารถลดปริมาณความเข้มข้นของแอมโนเนีย ไนไตรต์ ไนเตรต และบีโอดี (BOD.)

จากประโยชน์ของสาหร่ายทะเลข้างต้น จะเห็นว่า มีศักยภาพเพื่อการนำมาบำบัดน้ำทิ้งจากการเลี้ยงสัตว์น้ำ ซึ่งนอกจากเป็นการลดค่าใช้จ่ายเพื่อการบำบัดน้ำ อันหมายถึงเป็นการลดต้นทุนในการเลี้ยงสัตว์น้ำแล้ว ยังเป็นการรักษาสภาพแวดล้อมให้อยู่อย่างยั่งยืนต่อไป

การบริโภคอาหารที่มีสารเคมีตกค้าง ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์อย่างมาก หลายคนพยายามหลีกเลี่ยงสารเคมีตกค้างโดยเลือกบริโภคพืชผลปลอดสารพิษที่ปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์ แต่สินค้าเกษตรอินทรีย์ มีราคาค่อนข้างแพงสักหน่อย หากใครอยากปลูกผักกินเอง ลองคิดนอกกรอบดูบ้าง โดยทดลองปลูกผักไร้ดินบนต้นกล้วยเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง

เมล็ดผักพันธุ์ดี มักมีราคาแพงมาก บางชนิดมีราคาแพงมาก เรียกว่า นับเมล็ดขาย วิธีเพาะเมล็ดพันธุ์โดยการหว่านเมล็ดพันธุ์ลงในแปลงกล้า จะได้ต้นกล้าที่มีคุณภาพดีน้อย และเสียหายค่อนข้างมาก เพราะต้นกล้าส่วนหนึ่งจะถูกทำลายโดยด้วงหมัดผัก ซึ่งเป็นศัตรูที่สำคัญมากของผักทุกชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะกล้า และเมื่อย้ายไปปลูกในแปลงปลูกต้นกล้าก็จะช้ำ หรือเหี่ยวเฉาหรือบางต้นอาจเน่าตายไปเลย ทำให้มีต้นทุนในการเพาะปลูกผักที่สูงมาก

วิธีใช้เมล็ดพันธุ์อย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ การตกกล้าลงในกระบะเพาะหลุมละ 1 เมล็ด ดินสำหรับเพาะกล้า อาจใช้ปุ๋ยหมักที่ได้จากการหมักมูลสัตว์ผสมกับเศษพืชผักที่เหลือจากการเก็บเกี่ยว ขุยมะพร้าวหรือขี้เลื้อย และหรือเศษวัสดุอื่นๆ หมักจนได้ที่แล้วจึงนำมาร่อนด้วยตะแกรงที่มีรูขนาดประมาณ 3-5 มิลลิเมตร หรืออาจจะใหญ่กว่า เพื่อแยกเอาเศษวัสดุที่มีขนาดใหญ่ออก หรืออาจแยกโดยลักษณะคล้ายๆ กับการแยกกรวดออกจากทรายที่ใช้ในการฉาบปูนสำหรับก่อสร้างก็ได้

จากนั้นจึงค่อยนำดินที่มีความชื้นเหมาะสมปลูกใส่ในกระบะเพาะ หยอดเมล็ดพันธุ์ผักลงไป จึงค่อยนำดินปลูกมาโรยปิดหน้าอีกครั้ง เพื่อป้องกันเมล็ดพันธุ์กระเด็นหรือลอยเมื่อรดน้ำ หลังจากนั้นจึงนำกระบะที่หยอดเมล็ดพันธุ์แล้วไปวางเรียงไว้บนชั้นที่ยกเหนือพื้นดินประมาณ 80 เซนติเมตร ในโรงเรือน เพื่อป้องกันความเสียหายจากการทำลายของแมลงศัตรูพืชที่อาจจะกระโดดขึ้นมาที่กระบะเพาะกล้าได้ คอยให้น้ำตามปกติ โดยให้น้ำ เป็นละอองฝอยขนาดเล็ก หากมีละอองฝอยขนาดใหญ่ เมล็ดพันธุ์หรือต้นกล้าที่งอกอาจจะเสียหาย เนื่องจากแรงกระแทกของน้ำได้

เมื่อต้นกล้าผักเจริญเติบโตมีใบประมาณ 3-4 ใบ จึงนำออกจากกระบะเพาะโดยการให้น้ำก่อนแล้วจึงค่อยๆ เคาะออก ต้นกล้าก็จะหลุดออกมามีลักษณะเป็นแท่งตามรูปทรงของรูในกระบะเพาะ จากนั้นจึงนำไปปลูกในแปลงปลูก วิธีนี้แม้ว่าจะใช้เวลามากแต่เกษตรกรสามารถประหยัดค่าเมล็ดพันธุ์ได้เป็นอันมาก และต้นกล้าแข็งแรง ไม่ชะงักหรือเหี่ยวเฉาเมื่อเคลื่อนย้ายลงแปลงปลูก และยังป้องกันความเสียหายของต้นกล้าพันธุ์จากด้วงหมัดผักด้วย

วิธีปลูกผักไร้ดินบนต้นกล้วย
การปลูกผักไร้ดินบนต้นกล้วย ไม่ได้ยากเย็นอะไรเลย โดยปกติแล้วเกษตรกรมักตัดต้นกล้วยแก่ทิ้งทุกครั้งที่ตัดเครือ ขอให้เจาะรูที่ต้นกล้วยในลักษณะทแยงลงไป ให้รูมีขนาดเท่ากับแท่งดินที่ยึดรากต้นกล้าที่ย้ายมาจากกระบะเพาะ

จากนั้นจึงเอาต้นกล้า (ผักสลัด) ยัดใส่ลงไปในรูของต้นกล้วยที่เจาะไว้ โดยจำนวนรูที่จะเจาะหรือจำนวนผักที่จะปลูก จากนั้นก็ไม่ต้องรดน้ำให้ผักที่ปลูก หรือรดน้ำให้ต้นกล้วยแต่อย่างใด จะทำเพียงอย่างเดียวคือ คอยค้ำยันไม่ให้ต้นกล้วยล้มเท่านั้น

หลังจากนั้นประมาณ 30 วัน (ขึ้นอยู่กับอายุของผักที่ปลูก) ก็เก็บเกี่ยวผักไปขายได้เลย ผักสลัดที่ ปลูกมีรสชาติดีมาก หวาน และกรอบ ใบเป็นเงางาม ทั้งนี้ เป็นเพราะต้นกล้วยมีธาตุโพแทสเซียมสูงนั่นเอง ใครจะนำวิธีนี้ไปทดลองปลูกก็ได้ แต่อายุผักที่ปลูกไม่ควรจะยาวนานเกิน 40 วัน เพราะต้นกล้วยจะโทรมและเหี่ยวแห้งตายเสียก่อน ผักที่ปลูกควรเป็นผักกินใบที่ไม่ต้องการแสงแดดที่แรงมากนัก เพราะใบของกล้วยจะช่วยพรางแสงแดดได้บางส่วน

สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร ได้ศึกษาวิธีการแช่น้ำร้อนมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สำหรับกำจัดแมลงวันผลไม้หลังการเก็บเกี่ยวเพื่อหาอุณหภูมิและระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับกำจัดแมลงวันผลไม้ ชนิด B. dorsalis ผลการทดลองพบว่า การนำมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้แช่น้ำร้อนที่อุณหภูมิ 46 องศาเซลเซียส จนอุณหภูมิภายในผลถึง 46 องศาเซลเซียส นาน 10 นาที สามารถกำจัดแมลงวันผลไม้ระยะไข่และหนอนวัยที่ 1 ซึ่งเป็นระยะที่ทนต่อความร้อนมากที่สุดและไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของมะม่วง

วิธีการแช่น้ำร้อนเพื่อกำจัดแมลงวันผลไม้ดังกล่าว ประเทศไทยได้ทำการศึกษาวิจัยเป็นครั้งแรก เป็นวิธีการที่ง่าย ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก ใช้เวลาน้อย และใช้ต้นทุนการผลิตน้อยมาก เมื่อเทียบกับวิธีการกำจัดแมลงวันผลไม้ด้วยการอบไอน้ำ โดยตู้อบไอน้ำขนาดเล็ก ขนาด 2.5 ตัน ราคาประมาณ 15 ล้านบาท ในขณะที่อ่างแช่น้ำร้อนขนาดกลาง 350 กิโลกรัม ราคาประมาณ 480,000 บาท ทำให้ผู้ประกอบการโรงคัดบรรจุผักและผลไม้สดขนาดเล็กสามารถลงทุนทำได้เอง ทำให้มะม่วงผลสดจากประเทศไทยมีต้นทุนในการผลิตไม่สูงสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้

การแช่น้ำร้อน เป็นวิธีหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดแมลงวันผลไม้ในมะม่วง สามารถใช้ได้กับไม้ผลหลายชนิดในเชิงอุตสาหกรรม ใช้ระยะเวลาสั้นในการดำเนินการ รวมทั้งมีค่าใช้จ่ายที่น้อยมากคุ้มค่ากับการลงทุน คาดว่าไทยจะส่งออกมะม่วงไทยได้มากขึ้น เพราะมะม่วงไทยเป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภคชาวยุโรปด้วยรสชาติที่มีความหวาน กลมกล่อม และมีกลิ่นหอม ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ต่างจากมะม่วงที่สหภาพยุโรปนำเข้าจากอินเดียและบังกลาเทศ

ผู้ประกอบการรายใดที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร แหนแดง เป็นพืชตระกูลเฟิร์นชนิดลอยน้ำ เจริญเติบโตลอยอยู่บนผิวน้ำในที่ที่มีน้ำขังในเขตร้อนและเขตอบอุ่น แหนแดงที่พบอยู่ทั่วโลกมีอยู่ด้วยกัน 7 ชนิด ในประเทศไทยมีอยู่เพียงชนิดเดียว คือ อะซอลล่า พินนาต้า (Azolla pinnata)

ต้นแหนแดง ประกอบด้วยส่วนต่างๆ คือ ลำต้น ราก และใบ แหนแดงมีกิ่งแยกจากลำต้น ใบของแหนแดงเกิดตามกิ่งเรียงสลับกันไป ใบแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือใบบนและใบล่าง มีขนาดใกล้เคียงกัน ใบล่างค่อนข้างโปร่งใส มีคลอโรฟิลล์น้อยมาก ใบบนเป็นสีเขียวมีคลอโรฟิลล์เป็นองค์ประกอบ

ดร. ศิริลักษณ์ แก้วสุรลิขิต นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานวิจัยจุลินทรีย์ดิน กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร เล่าว่า แหนแดงที่ขึ้นอยู่ตามแหล่งน้ำธรรมชาติในบ้านเรา เป็นแหนแดงสายพันธุ์ อะซอลล่า พินนาต้า (Azolla pinnata) มีขนาดเล็กกว่าแหนแดงสายพันธุ์ที่กรมวิชาการเกษตรพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้เกษตรกรนำไปใช้ประโยชน์ในปัจจุบัน ประมาณ 10 เท่า ทำให้ขยายพันธุ์ได้ช้ากว่า

แหนแดง มีประวัติการใช้เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว ในประเทศสังคมนิยมเวียดนาม และสาธารณรัฐประชาชนจีนมานานหลายศตวรรษแล้ว

“กรมวิชาการเกษตร ได้ทำการวิจัยค้นคว้า เรื่องแหนแดง มาตั้งแต่ ปี 2520 ช่วงเวลาดังกล่าวกรมได้ร่วมมือกับสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (IRRI) ส่งเสริมให้มีการใช้แหนแดงเป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าวทั่วไปในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ประเทศเวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ไทย และสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งความจริงประเทศจีนได้มีการใช้แหนแดงในนาข้าวก่อนประเทศอื่นๆ เป็นเวลาเกือบ 100 ปีแล้ว

เริ่มต้นคัดสายพันธุ์ ที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย
ดังได้กล่าวมาแล้ว แหนแดง มีอยู่มากมายหลายสายพันธุ์ ประมาณ 7 สายพันธุ์ แต่ที่เหมาะสำหรับประเทศไทยมีอยู่ 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ อะซอลล่า พินนาต้า (Azolla pinnata) ซึ่งเป็นสายพันธุ์ดั้งเดิมในประเทศไทย กับสายพันธุ์ อะซอลล่า ไมโครฟิลล่า (Azolla microphylla) ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่กรมวิชาการเกษตรนำเข้ามาเพื่อคัดพันธุ์

ดร. ศิริลักษณ์ เล่าว่า หลังจากที่เราคัดเลือกได้สายพันธุ์แหนแดงที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยแล้ว เราก็ได้ปรับปรุงพันธุ์โดยการฉายแสง แล้วคัดพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ขยายพันธุ์ได้รวดเร็วขึ้น มีความเหมาะสมสามารถทนอยู่ในสภาพแวดล้อมในบ้านเราได้ดี เมื่อเทียบคุณสมบัติกับแหนแดงสายพันธุ์ที่มีอยู่ในบ้านเรา พบว่า มีคุณสมบัติที่ด้อยกว่า คือ ตรึงไนโตรเจนได้น้อยกว่า ขนาดของต้นเล็กกว่า ขยายพันธุ์ได้ช้ากว่า

กรมวิชาการเกษตร ได้พัฒนาพันธุ์และขยายพันธุ์แหนแดงสายพันธุ์ไมโครฟิลล่า (microphylla) มาตั้งแต่ ปี 2520 ได้มีการรักษาพันธุ์มาเรื่อยๆ และได้เงียบหายไประยะหนึ่ง เมื่อประเทศไทยหันมาส่งเสริมเรื่องการทำเกษตรอินทรีย์ แหนแดงของกรมวิชาการเกษตรจึงได้นำมาพัฒนาการใช้ประโยชน์เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์อีกครั้งหนึ่ง ใน ปี 2540

คุณสมบัติของ แหนแดง พันธุ์กรมวิชาการเกษตร
เนื่องจากกาบใบบนด้านหลังของแหนแดงมีโพรงใบและมีสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินอาศัยอยู่ในโพรงใบของแหนแดง เมื่อนำมาวิเคราะห์ พบว่า มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ สูงถึง 4.6 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงกว่าพืชตระกูลถั่วที่มีอยู่ ประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเมื่อหว่านแหนแดงไปในนา 1 ไร่ จะมีผลผลิตแหนแดง 3,000 กิโลกรัม (3 ตัน) เทียบได้กับปุ๋ยยูเรีย 7-10 กิโลกรัม ซึ่งเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของข้าว

วิจัยครั้งแรก ทดลองกับการปลูกข้าว

จากผลงานวิจัยของ นายประยูร สวัสดี และคณะ อดีตนักวิชาการเกษตรของกรมวิชาการเกษตร ปี 2520-2521 พบว่า การเลี้ยงขยายแหนแดงเป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว 1 ชุด หรือ 2 ชุด สามารถเพิ่มผลผลิตข้าวพอๆ กับการใช้ปุ๋ยไนโตรเจน อัตรา 6-12 กิโลกรัม/ไร่ และจากผลการทดสอบภายใต้โครงการความร่วมมือกับสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ พบว่า การเลี้ยงแหนแดงแล้วไถกลบก่อนปักดำ สามารถเพิ่มผลผลิตข้าวได้เทียบเท่ากับการใส่ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 4.8 กิโลกรัม/ไร่ และการเลี้ยงแหนแดงหลังปักดำแล้วไถกลบก็ให้ผลทำนองเดียวกัน การไถกลบ 2 วิธีร่วมกัน สามารถเพิ่มผลผลิตข้าวเปลือกได้ เฉลี่ย 160 กิโลกรัม/ไร่ สำหรับการเพาะกล้าเมื่อใส่แหนแดงลงไปในแปลงกล้า 1-2 วัน จะสามารถลดระยะกล้าจาก 40 วัน เหลือเพียง 30 วัน เท่านั้น

ดร. ศิริลักษณ์ บอกว่า ในการวิจัยครั้งแรก poipetsix.co.uk กรมการข้าว ยังมิได้แยกตัวออกไปจากกรมวิชาการเกษตร ซึ่งขณะนั้นยังเป็นสถาบันวิจัยข้าว ปัจจุบันได้แยกตัวออกไปเป็นกรมการข้าวแล้ว กรมวิชาการเกษตร ได้สนับสนุนแม่พันธุ์แหนแดงให้กรมการข้าวไปเพาะเลี้ยงเอง โดยได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเพื่อให้กรมการข้าวสามารถเพาะเลี้ยง เพื่อจะได้นำไปใช้ในกิจการของกรมการข้าวเอง

ทดลองกับพืชที่ได้จาก การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
ขณะนี้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่กำลังเพาะกล้ากล้วยน้ำว้าจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ส่วนมากต้นกล้าของพืชที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจะอ่อนแอในระยะอนุบาล และยังไม่ตอบสนองต่อปุ๋ยเคมีได้ เนื่องจากระบบท่อลำเลียงยังไม่สมบูรณ์ หากใส่ปุ๋ยเคมีลงไปบางครั้งอาจจะทำให้พืชเน่าได้ เพราะปุ๋ยเคมีมีความเค็ม จะทำให้เสียเวลาในการงดใส่ปุ๋ย ประมาณ 20 วัน จึงจะเริ่มใส่ปุ๋ยได้ แต่แหนแดงสามารถผสมลงไปในวัสดุปลูกตั้งแต่เริ่มปลูกกล้าที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อได้เลย เพราะแหนแดงสามารถปลดปล่อยไนโตรเจนซึ่งเป็นอินทรีย์ที่ไม่มีพิษภัยต่อกล้าพืช กล้าจะดูดซึมไนโตรเจนเข้าไปในรากพืชได้เลย ดังนั้น แหนแดงจึงเหมาะกับการปลูกพืชที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

“เราได้ทำการทดลองแหนแดงกับกล้ากล้วยน้ำว้าสายพันธุ์ปากช่อง 50 ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สามารถลดระยะกล้าลงจาก 60 วัน เหลือเพียง 45 วัน เป็นการประหยัดเวลาและต้นทุนในการดูแลรักษา เมื่อนำกล้าลงแปลงปลูก ปรากฏว่าต้นกล้ากล้วยที่ใช้แหนแดงผสมกับวัสดุปลูกกล้วยสามารถเจริญเติบโตเร็วกว่าต้นกล้าที่ไม่ได้ใส่แหนแดง”

การเพาะเลี้ยง แม่พันธุ์แหนแดงไม่ยาก
หลังจากที่ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงแม่พันธุ์แหนแดงให้กรมการข้าวไปดำเนินการเองก็มีเกษตรกรเริ่มรู้จักแหนแดงและมาขอจากกลุ่มงานวิจัยจุลินทรีย์ดินกันมากขึ้น โดยทางกลุ่มงานวิจัยจะสนับสนุนแม่พันธุ์ให้ไปเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์เอง โดยยินดีจะถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงให้ ซึ่งไม่ยาก

“การเพาะเลี้ยง เกษตรกรจะต้องทำบ่อแม่พันธุ์แหนแดงไว้ เนื่องจากแหนแดงมีไนโตรเจนสูง เนื้อเยื่อของแหนแดงค่อนข้างอ่อน แมลงจะลงทำลายได้ง่าย เพราะฉะนั้นเกษตรกรจะต้องมีบ่อเพาะเลี้ยงแม่พันธุ์ไว้ เมื่อเราใส่แหนแดงลงไปในแปลงนา และถูกแมลงทำลายเสียหายหมด เราก็ยังมีแม่พันธุ์แหนแดงที่เลี้ยงไว้ในบ่อ โดยไม่ต้องมาขอรับแม่พันธุ์แหนแดงจากกรมวิชาการเกษตรอีก”

การขุดบ่อ เนื่องจากแหนแดงไม่ต้องการน้ำลึก เกษตรกรขุดบ่อให้มีลักษณะเหมือนท้องนาขังน้ำให้ลึก ประมาณ 4-5 เซนติเมตร เรียกว่าเป็นบ่อน้ำตื้น ควรจะมีร่มไม้รำไร ถ้าพื้นที่บ่อ ประมาณ 5 ตารางเมตร ปล่อยแหนแดงลงไป ประมาณ 10 กิโลกรัม 10-15 วัน แม่พันธุ์แหนแดงจะเจริญเติบโตเต็มบ่อ ซึ่งควรจะปล่อยแหนแดงลงบ่อก่อนฤดูฝน ถ้าปล่อยลงบ่อในหน้าแล้ง ความชื้นในอากาศน้อย อาจจะใช้เวลานานถึง 3 สัปดาห์ แหนแดงจึงจะเต็มบ่อ

ดร. ศิริลักษณ์ บอกว่า ถ้าเกษตรกรมีแม่พันธุ์ 10 กิโลกรัม ก็จะเพียงพอสำหรับนา 1 ไร่ หลังจากนำไปปล่อยในนา ประมาณ 3-4 สัปดาห์ ก็จะขยายแหนแดงได้ถึง 3,000 กิโลกรัม/ไร่ ถ้าหว่านแหนแดงลงไปในปริมาณมากจะขยายพันธุ์ได้เร็ว เพราะระบบขยายพันธุ์ของแหนแดงขยายให้น้ำหนักสดเป็น 2 เท่าตัว ทุก 3-5 วัน