รากลองกอง ระบบของรากลองกองจะแตกต่างกันออกไป

ขึ้นอยู่กับชนิดสายพันธุ์ที่ทำการเพาะปลูก แต่โดยทั่วไปแล้วรากแขนงของลองกองจะมีขนาดใหญ่และหยาบ เจริญแผ่ไปทางแนวราบของผิวหน้าดิน เมื่อต้นมีอายุมากจะมองเห็นรากส่วนนี้แยกจากโคนต้นที่ติดดินได้ชัดเจน และต่อจากรากแขนงจะเป็นรากฝอย ซึ่งทำหน้าที่ในการดูดซับน้ำและอาหาร เจริญแผ่ไปตามหน้าดินตื้นๆ

ใบลองกอง ใบ เป็นใบรวม มี 5-9 ใบย่อย ใบกว้างประมาณ 2-6 นิ้ว และยาวประมาณ 4-8 นิ้ว และมีก้านใบย่อย ใบแก่มีสีเขียวเข้ม ดำเป็นมัน และมีรอยหยักเป็นคลื่นหนากว่าใบของลางสาด ผิวใบด้านบนจะเข้มกว่าผิวใบด้านล่าง ลักษณะของใบเป็นแบบ elliptical โดยมีปลายใบเรียวแหลม ส่วนโคนใบแหลม ขอบใบเรียบ ลักษณะของเส้นใบเป็นแบบแยกออกจากเส้นกลางใบเหมือนร่างแห โดยเส้นใบด้านใต้ท้องใบของลองกองจะเรียวเล็กนูน คมชัดกว่าใบของดูกูน้ำ

ดอกลองกอง ตาดอกมีลักษณะเป็นตุ่มแข็ง มีสีน้ำตาลอมเขียว มีความยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร โดยส่วนนี้จะเจริญเป็นช่อดอกยาวเรียกว่า Spike ซึ่งอาจจะพบเป็นช่อดอกแบบเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่ม กลุ่มละประมาณ 2-10 ช่อดอก โดยจะแตกออกตามลำต้นและกิ่งที่สมบูรณ์ ดอกลองกองเมื่อบานจะมีสีเหลืองนวล มีกลีบเลี้ยงลักษณะอวบสีเขียว และจะติดอยู่จนกระทั่งผลแก่ ดอกมีเกสรตัวผู้เป็นท่อสั้นๆ อยู่ 10 ก้าน ฐานหลอมรวมกัน ส่วนการบานของดอกโดยทั่วไปแล้วจะเริ่มจากบริเวณ 2 ใน 3 ของช่อดอกจากปลายช่อ บานลงมาถึงโคนช่อ จากนั้นจะเริ่มบานขึ้นไปถึงปลายช่อ

ผลลองกอง ออกผลเป็นช่อแน่นติดกับก้านช่อ ลักษณะของผลมีทั้งทรงกลมและทรงยาวรี ซึ่งการที่มีผลในช่อแน่นอาจทำให้รูปทรงของผลแตกต่างกันออกไป ส่วนลักษณะของเปลือกจะหนากว่าลางสาดอยู่มาก เนื้อในผลมีรสหวาน หอม

เมล็ดลองกอง ในผลลองกอง 1 ผล จะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 1-2 เมล็ด โดยเมล็ดที่สมบูรณ์จะมีขนาดใหญ่ ภายในผลส่วนใหญ่แล้วจะมีช่องอยู่ 5 ช่อง และเมล็ดมักจะลีบ ลักษณะเมล็ดเป็นรูปไข่ มีสีเขียวอมเหลือง ตัวเมล็ดจะมีรอยแตกร้าวเป็นส่วนมาก ส่วนรสชาติของเมล็ดไม่ขม ถ้าหากนำมาเพาะจะขึ้นหลายต้นจากเมล็ดเดียว

ความแตกต่างระหว่าง ลองกอง ลางสาด และดูกู

เนื่องจากผลไม้ทั้ง 3 ชนิดนี้จัดอยู่ในวงศ์เดียวกัน และมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน แต่มีราคาถูกแพงไม่เท่ากัน โดยลองกองนั้นจะมีราคาแพงที่สุด ตามมาด้วยลางสาด และดูกู (ดูกู เป็นผลไม้ที่ไม่ค่อยมีราคา แต่จะนิยมนำเมล็ดไปเพาะเป็นต้นตอเพื่อใช้ขยายพันธุ์ลองกองและลางสาดมากกว่า

ลองกอง ลักษณะของผลกลม เปลือกหนา ผิวหยาบเล็กน้อย เนื้อมีกลิ่นหอม รสหวาน ในผลมีเมล็ดลีบหรือไม่มีเมล็ดเลย และเมล็ดไม่ขม

ลางสาด ลักษณะของผลกลมรี เปลือกบาง ผิวละเอียด ผลอ่อนนุ่ม มียางมากเป็นสีเขียวขุ่นๆ เนื้อมีรสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย ในผลมีเมล็ดมากและขมจัด

ดูกู หรือ ลูกู ลักษณะของผลกลมรี เปลือกบาง ผิวละเอียด ผลอ่อนนุ่ม เนื้อมีรสหวาน ในผลมีเมล็ดแต่ไม่ขม สรรพคุณลองกอง เมล็ดลองกองมีสารสำคัญที่ใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย (เมล็ด) ช่วยลดความร้อนในร่างกาย หากรับประทานเป็นประจำจะช่วยป้องกันไม่ให้เป็นไข้ตัวร้อน และยังช่วยลดอาการร้อนในช่องปากได้ด้วย (เนื้อลองกอง) เมล็ดรักษาอาการไข้ (เมล็ด) มีการนำเปลือกต้นมาสกัดเพื่อใช้เป็นยารักษาโรคมาลาเรีย (เปลือกต้น) ใบลองกองมีฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเรียได้ถึง 50% (ใบ) เมล็ดมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อมาลาเรียและยับยั้งการเจริญของปรสิตมาลาเรีย (Plasmodium falciparum) ได้ถึง 50% (เมล็ด)

เปลือกผลนำไปตากแห้งแล้วเผาให้เกิดควัน ใช้สูดดมเพื่อช่วยบรรเทาอาการของผู้ป่วยที่เป็นวัณโรค (เปลือกผล) น้ำจากผลมีการนำไปใช้หยอดตาเพื่อช่วยรักษาอาการตาอักเสบ (น้ำจากผล) เปลือกต้นลองกอง สามารถนำมาใช้เป็นยาต้มกินเพื่อช่วยรักษาโรคเกี่ยวกับลำไส้ได้ (เปลือกต้น) ใช้เป็นยารักษาโรคกระเพาะ (กิ่ง) ใช้ในการรักษาอาการท้องเสียและอาการลำไส้เกร็ง (เมล็ด) เปลือกต้นและใบใช้เป็นยาต้มสำหรับรักษาโรคบิด (เปลือกต้น, ใบ) ในเปลือกมีสารประเภท Oleoresin จำนวนมาก จึงมีการนำมาใช้ในการรักษาโรคท้องร่วง อาการปวดท้อง (เปลือกผล) เมล็ดใช้เป็นยาขับพยาธิ (เมล็ด) สารสกัดจากเปลือกต้นสามารถช่วยแก้พิษแมงป่องได้ (เปลือกต้น) ใช้เป็นยาสมานแผล (เปลือกต้น) ส่วนเมล็ดมีฤทธิ์เป็นยาฝาดสมาน (เมล็ด)

คุณธนงศักดิ์ เล่าทิ้งท้ายว่า ในส่วนโรคแมลงที่เกิดกับลองกองในพื้นที่อำเภอเชียงม่วน คือโรคแอนแทรกโนสที่เกิดจากเชื้อรา แต่ได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเกษตรอำเภอเชียงม่วน สามารถป้องกันกำจัดได้เป็นอย่างดี ส่วนใครที่สนใจข้อมูลหรือศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เชิญได้ที่สวนในตำบลสระ อำเภอเชียงม่วน หรือติดต่อผ่านสำนักงานเกษตรอำเภอเชียงม่วนได้ โทร. 054-495-096

พูดถึง กระเจียว หลายคนคงนึกถึงภาพทุ่งกระเจียวสีชมพูอมม่วงที่สวยสดงดงามในช่วงหน้าฝน ที่อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ แต่ในความเป็นจริงดอกกระเจียวใช่จะมีไว้ดูเพื่อความสวยงามเท่านั้น แต่บางสายพันธุ์ยังสามารถนำมารับประทานได้ด้วย ซึ่งมีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่เคยรับประทานดอกกระเจียวมาก่อน

อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านในจังหวัดยโสธรรู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะรับประทานกันเป็นประจำอยู่แล้ว โดยเฉพาะการนำมาต้มจิ้มน้ำพริกต่างๆ ซึ่งใครที่เคยได้ลิ้มรสต่างติดใจกันเป็นแถว

ดอกกระเจียวหวาน ทำได้สารพัดเมนู

ด้วยความที่เห็นช่องทางการตลาดอันสดใสของดอกกระเจียว คุณเมืองชัย ทองลา หรือ คุณโบ้ ซึ่งจบ ปริญญาตรี (เทคโนโลยีการผลิตสัตว์) สาขาส่งเสริมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จึงได้รวมกลุ่มชาวบ้านจดทะเบียนจัดตั้งเป็น “วิสาหกิจชุมชนดอกกระเจียวหวานบ้านโคกนาโก” อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร โดยตัวเขาเองทำหน้าที่เป็นเลขานุการของกลุ่ม จากแรกเริ่มมีแค่ 20 คน ตอนนี้เพิ่มเป็น 50 คนแล้ว ปัจจุบันมีเนื้อที่ปลูกโดยรวมประมาณ 20 ไร่ และมีแนวโน้มขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้นอีก เพราะเห็นชัดว่าเป็นพืชเสริมที่ทำรายได้ดี

คุณเมืองชัย เล่าที่มาที่ไปของเรื่องนี้ให้ฟังว่า ก่อนจะมาทำไร่ดอกกระเจียวนี้ ได้หาประสบการณ์ในการทำเกษตรและการทำธุรกิจมาสักพักหนึ่ง คือพอเรียนจบ เมื่อปี 2556 ก็ได้เข้ารับใช้ชาติ 2 ปี โดยประจำการที่กองพันทหารราบโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จังหวัดนครนายก

ก่อนปลดประจำการเห็นเพื่อนที่จบมาพร้อมกันได้ทำงานไปไกลแล้วในสายงานที่เรียนมา ส่วนใหญ่ขึ้นเป็นผู้จัดการหมด เลยคิดว่าทำอย่างไรคงไม่ทันเพื่อนแน่ๆ แต่มีเพื่อนคนหนึ่งที่แม่ฮ่องสอน ไม่ได้ทำงานตามสายงานที่เรียนมา แต่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก จึงเลือกไปศึกษาการทำงานกับเพื่อนคนนี้ที่อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งทำไร่อะโวกาโด และมีธุรกิจเป็นของตัวเองจากการแปรรูปอะโวกาโด

ช่วงอยู่ที่แม่ฮ่องสอน 3 เดือน คุณเมืองชัยยังได้ฝึกฝนการค้าขาย โดยนำสินค้าของเพื่อน อย่าง สบู่อะโว กาโด และพันธุ์ไม้มาขายที่ถนนคนเดิน จังหวัดเชียงใหม่ ในช่วงเย็นของวันเสาร์-อาทิตย์ พร้อมกับฝึกขายของออนไลน์ไปด้วย ทำให้รู้ระบบธุรกิจพอสมควร

จากนั้นจึงกลับบ้านเกิดที่บ้านโคกนาโก หลังจากเพื่อนแนะนำให้ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาสร้างอาชีพ นั่นก็คือ ดอกกระเจียวพันธุ์หวาน ซึ่งมีรสเผ็ดร้อน และมีกลิ่นหอมอ่อนๆ มีสรรพคุณคล้ายคลึงกับพืชในตระกูลข่า และขิง ช่วยขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้มดลูกอักเสบสำหรับสตรีหลังคลอด ลดความเสี่ยงการเป็นโรคเบาหวาน ช่วยเจริญอาหาร และช่วยขับเหงื่อ ฯลฯ โดยทำได้หลายเมนู อาทิ นำดอกอ่อนมาลวกจนสุกจิ้มกับน้ำพริก หรือจะรับประทานดอกสดก็ได้ บางบ้านนิยมนำมาทำแกงส้ม หรือไม่ก็นำมาแกล้มกับขนมจีน ลาบ ก้อย

“คนนอกพื้นที่ยังไม่ค่อยรู้จักกันมากนัก ส่วนใหญ่รู้จักแต่พันธุ์ประดับสวยงามอย่างของชัยภูมิ ซึ่งกินไม่ได้ และพันธุ์ดั้งเดิมที่แม้กินได้แต่มีรสชาติเฝื่อน ขม กินดิบไม่ได้ ต้องนำไปต้มก่อน แต่ของเราเป็นดอกกระเจียวพันธุ์หวานที่กินได้ รสชาติหวาน กรอบ ไม่เฝื่อนเหมือนดอกกระเจียวทั่วไป สามารถประกอบอาหารได้หลายอย่าง เช่น ผัดฉ่า ยำ แกงส้ม ผัดน้ำมันหอย ผัดเต้าเจียว แกงส้ม และสลัด”

เน้นระบบเกษตรอินทรีย์

คุณเมืองชัย เล่าว่า ช่วงแรกเริ่มเพาะพันธุ์ผักขาย ทำนา ทำสวนยางพารา และได้เพาะพันธุ์ดอกกระเจียวหวานไว้ 200 ต้น แต่ไม่พอขาย ขณะเดียวกันก็เกิดอุปสรรคของบัณฑิตใหม่กลับสังคมบ้านๆ เนื่องจากโดนมองโดนดูถูกสารพัด แต่ไม่ใช่ปัญหาที่ทำให้ท้อ กลับเป็นแรงผลักดันให้ตนยืนหยัดสู้ต่อ ต่อมาจึงได้เข้าร่วมกลุ่ม YFC (Yasothon’s Young Farmer Club) ของจังหวัดยโสธร เพราะมองเห็นโอกาสของอาชีพเกษตรกรรม

ปีต่อมาจึงวางแผนการทำงาน และสร้างศูนย์เรียนรู้เพื่อช่วยให้ชุมชนมีสถานที่ในการทำกิจกรรม โดยการรวมกลุ่มทำในนาม วิสาหกิจชุมชน ดอกกระเจียวหวานบ้านโคกนาโก สำหรับกิจกรรมหลักๆ ของศูนย์เรียนรู้แห่งนี้คือ การแนะวิธีการปลูก การดูแล ที่ให้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพ โดยใช้แนวทางเกษตรอินทรีย์เป็นหลัก ด้วยการใช้มาตรฐาน YASO BOS ในเบื้องต้น ที่ผ่านมาผลผลิตที่ได้ ประมาณ 20 กิโลกรัม/ไร่/วัน ซึ่งดอกกระเจียวจะให้ผลผลิต 5-6 เดือน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-ตุลาคม โดยคุณเมืองชัยเองปลูกกระเจียวไว้ 1 ไร่

ทั้งนี้ ต้นกระเจียวจะออกดอกทุกวัน แต่ละวันสามารถเก็บส่งขายให้ลูกค้าได้ไม่ต่ำกว่า 4-5 กิโลกรัม ขายกิโลกรัมละ 70 บาท เฉลี่ยแล้วจะมีรายได้จากการจำหน่ายดอกกระเจียว วันละ 400-500 บาท ขณะนี้ดอกกระเจียวเป็นที่ต้องการของลูกค้าจนแทบไม่พอขาย โดยถ้าเป็นช่วงต้นฤดูประมาณต้นเดือนเมษายน-ต้นพฤษภาคม สามารถขายดอกกระเจียวได้กิโลกรัมละ 100 บาท เฉลี่ยแล้วในช่วง 4-5 เดือน ขายได้กิโลกรัมละ 50 บาท

คิดแล้วในเนื้อที่ 1 ไร่ สามารถเก็บดอกกระเจียวขายได้เดือนละ 20,000 บาท ซึ่งเขาลงทุนไป 10,000 บาท/ไร่ ตอนนี้ได้ทุนคืนแล้ว โดยได้ผลผลิต เฉลี่ยที่ 20 กิโลกรัม/ไร่/วัน ทำให้มีรายได้ 500-1,000 บาท/วัน ทั้งนี้ต้นกระเจียวจะออกดอกทุกวัน

คุณเมืองชัย อธิบายถึงการปลูกกระเจียวให้ได้ผลดีว่า ทางกลุ่มเลือกพันธุ์หวานโคกนาโกมาปลูก เนื่องจากให้ผลผลิตยาวนานกว่าพันธุ์ดั้งเดิม แตกกอดี มีรสชาติอร่อย ซึ่งสามารถปลูกได้ทุกสภาพดิน ชอบแสงรำไร ไม่ร่มจนเกินไป ในที่ลุ่มน้ำท่วมถึง ควรยกแปลงปลูก ระยะห่าง 80×80 เซนติเมตร ในที่ดอนไม่จำเป็นต้องยกแปลงปลูก ปลูก 2-3 ปี ขุดหัวปลูกขยายใหม่ จะได้หัวพันธุ์ที่สมบูรณ์ ให้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก น้ำหมักฉีดพ่นทางใบ 10-15 วัน/ครั้ง

ส่วนของกลุ่มจะใช้น้ำหมักสูตรเฉพาะ ดอกใหญ่ หวาน กรอบยิ่งขึ้น เป็นเอกลักษณ์เฉพาะและแตกต่างจากที่อื่นแน่นอน ถึงแม้ว่าจะใช้พันธุ์หรือปลูกในเขตพื้นที่เดียวกันก็ตาม เตือนระวังตอนฝนทิ้งช่วง

ขณะนี้มีสมาชิกที่ปลูกดอกกระเจียวและกำลังออกผลผลิตอยู่ ประมาณ 4 ราย นอกนั้นเป็นสมาชิกใหม่ที่กำลังเริ่มปลูกใหม่ โดยจะปลูกในพื้นที่นาของตัวเอง ประมาณรายละ 3 งาน ถึง 1 ไร่ ซึ่งการทำเกษตรอินทรีย์ เนื้อที่ 1ไ ร่ ถือว่ากำลังดี เพราะสามารถดูแลได้ทั่วถึง

นอกจากนี้ เขายังขายทั้งต้นพันธุ์และหัวพันธุ์ด้วย ถ้าเป็นต้นพันธุ์พร้อมออกดอก ราคา 35 บาท/ต้น กระถางละ 50-100 บาท ถ้าเป็นท่อนพันธุ์ อยู่ที่ 15-20 บาท/ท่อน ส่วนหัวพันธุ์ขายอยู่ที่ 150-200 บาท/กิโลกรัม

ต้นกระเจียวนั้น หลังจากหมดฤดูกาลออกดอกแล้วใบจะแห้งเหี่ยวตาย แต่หัวยังอยู่ใต้พื้นดินได้ตลอดจนกระทั่งเข้าหน้าฝน เมื่อถึงฤดูกาลอีกรอบ ต้นกระเจียวจะแทงยอดขึ้นมาอีกและออกดอกให้เก็บได้อีกเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ตามวงจรชีวิตของกระเจียว

ในฐานะเกษตรกรมือใหม่ คุณเมืองชัยพูดถึงอุปสรรคและปัญหาที่เขาและกลุ่มสมาชิกเจอะเจอ ส่วนใหญ่เป็นปัญหาเรื่องน้ำ เนื่องจากช่วงปลูก เดือนแรกๆ จำเป็นต้องให้น้ำเข้าแปลง เพื่อกระตุ้นการงอก แต่พอเข้าสู่ฤดูฝนก็ปล่อยตามธรรมชาติ เพียงแต่คอยดูแลเรื่องวัชพืช และเมื่อฝนขาดช่วงหลายๆ วันก็จำเป็นต้องให้น้ำ เพื่อรักษาต้นไม่ให้โทรมและป้องกันผลผลิตลดลง

กรณีฝนตกต่อเนื่องจะทำให้ออกดอกดี แต่ถ้าฝนตกชุกเกินไปก็จะทำให้เกิดโรครากเน่า ต้องหาปูนขาวหรือไตรโคเดอมามาใส่ และอาจจะเจอปัญหาหนอนเจาะกอ อาจจะต้องใช้น้ำหมักฉีด แต่ก็ไม่ใช่ปัญหาใหญ่ เพราะการทำเกษตรอินทรีย์ต้องเจอแบบนี้

ว่าไปแล้ว ตลาดของดอกกระเจียวเวลานี้ ยังคงเป็นตลาดพื้นบ้าน ตลาดอำเภอ ตลาดในจังหวัด และตลาดออนไลน์ ถือเป็นเอกลักษณ์เป็นของฝากของหมู่บ้าน เนื่องจากคนทั่วไปยังไม่คุ้นเคยกับการรับประทานดอกกระเจียวกันมากนัก

ดังนั้น ทางกลุ่ม “วิสาหกิจชุมชน ดอกกระเจียวหวานบ้านโคกนาโก” ได้วางเป้าหมายว่าจะทำให้คนรู้จักมากขึ้น โดยการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ ว่า กระเจียวพันธุ์หวานนี้สามารถทำได้หลากหลายเมนู และจะทำให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรของจังหวัดยโสธร พร้อมแปรรูปผลผลิต กระจายสินค้าเข้าสู่ตลาดที่มีระดับขึ้น เช่น ห้างสรรพสินค้า และส่งออกต่างประเทศ รวมถึงจะมีการพัฒนาสายพันธุ์ พัฒนาคุณภาพ และรักษามาตรฐานความเป็นผักอินทรีย์

กรณีผู้สนใจจะปลูกกระเจียวเพื่อขายนั้น คุณเมืองชัยให้คำแนะนำว่า ถ้ามีทุนน้อยก็ลงทุนน้อยไปก่อน ใช้วิธีทำจากน้อยไปหามาก โดยควรปลูกเสริมนอกเหนือจากพืชหลัก และให้ปลูกด้วยระบบอินทรีย์ ไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมี หรือสารเร่งดอกที่เป็นอันตรายใดๆ เลย จะทำให้ประหยัดต้นทุน และได้ผลผลิตที่ดี ซึ่งหากเทียบผลตอบแทนกับพืชชนิดอื่นๆ ถือว่าดีมากๆ และแม้ว่าจะให้ผลผลิตแค่ช่วงเวลาหนึ่งแต่ก็คุ้ม

ได้ฟังเพลง “อีสานบ้านเฮา” ที่ขึ้นต้นว่า หอมดอกผักกะแยง ยามฟ้าแดงค่ำลงมา แอ๊บแอ๊บเขียดจะนา ร้องยามฟ้าฮ้อนหวนหวน เขียดโม้เขียดขาคำ เหมือนหมอลำพากินม่วน เมฆดำลอยปั่นป่วน ฝนตกมาสู่อีสานฯ ทำให้คิดถึงผักแขยงที่อยู่ในแกงฟักทองส่งกลิ่นหอมโชยมา แล้วยังคิดไปถึงต้นสดที่นำมากินกับลาบ น้ำตก หรือแหนมเนือง ทั้งรสชาติ กลิ่นหอมของผักแขยงมันช่วยเติมเต็มความอร่อยให้เจริญอาหารได้สุดยอดมาก ผักแขยงปลูกได้ทั้งแบบสวนครัวและในเชิงการค้า ที่ทำให้ผู้ปลูกมีรายได้มั่นคง ผักแขยงเป็นผักอินทรีย์ปลอดภัยที่ให้คุณค่าทางโภชนาการสูงและน่าสนใจ วันนี้จึงนำเรื่อง แขยง ผักอินทรีย์ พื้นที่ปลูกครึ่งงาน ขายได้เงินกว่าหมื่นบาท มาบอกเล่าสู่กัน

คุณลุงโชติ สายด้วง ประธานกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ เล่าให้ฟังว่า ทำนาเป็นอาชีพหลัก พื้นที่ 35 ไร่ ปลูกข้าวพันธุ์ กข 7 ได้ผลผลิต 80-90 ถัง ต่อไร่ นำออกขาย 7,600-7,700 บาท ต่อเกวียน ราคาถูกหรือแพงขึ้นอยู่กับกลไกตลาด การทำนาใช้ต้นทุนการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 4,000-4,500 บาท ต่อไร่

เมื่อปี 2555 มีพ่อค้าเข้ามาซื้อผลผลิตการการเกษตรในพื้นที่ หมู่ที่ 5 ตำบลสิงหนาท อำเภอลาดบัวหลวง ได้ถามว่า มีใครปลูกผักแขยงบ้าง? จะซื้อไปขายที่ตลาด เพื่อนๆ เกษตรกรเห็นว่าเป็นช่องสร้างรายได้ จึงรวมกลุ่มกัน 5 คน แล้วจัดพื้นที่ของตนเอง เฉลี่ยคนละ 1 งาน ปลูกผักแขยงขาย ทำให้ทุกวันนี้มีรายได้หนึ่งหมื่นกว่าบาทต่อเดือน

ผักแขยง เป็นวัชพืชชนิดหนึ่งที่พบได้ในแปลงนา ทั้งต้นมีกลิ่นหอมฉุน เผ็ดร้อน จัดเป็นผักสดกินกับน้ำพริกปลาร้า ลาบ น้ำตก ไส้อั่ว หรือใส่ในแกงอ่อม แกงฟักหรือแกงฟักทองก็ได้รับคุณค่าทางโภชนาการสูง

การปลูกผักแขยง เป็นการปลูกครั้งเดียวที่มีอายุการเก็บเกี่ยวยาวนาน เพราะหลังจากตัดเก็บ ตอของต้นผักแขยงจะแตกยอดและเจริญเติบโตขึ้นมาใหม่ พร้อมให้ตัดเก็บขายและมีรายได้ทุกวันตลอดปี

คุณลุงโชติ เล่าให้ฟังอีกว่า ได้ปลูกผักแขยง พื้นที่ครึ่งงาน ปลูกครั้งเดียวจะตัดเก็บได้ยาวนานแบบไม่มีกำหนดระยะเวลา

ลักษณะ …ต้นผักแขยงเป็นไม้ล้มลุกเนื้ออ่อน เป็นวัชพืชในนาข้าว ลำต้นเรียวกลมกลวงอวบน้ำมีขน ลำต้นตั้งตรงและเป็นข้อๆ มีความสูง 20-70 เซนติเมตร แตกรากออกจากข้อของลำต้น เมื่อหักต้นและใบจะมีกลิ่นหอมฉุนและเผ็ดร้อน ออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนกันยายน เจริญเติบโตได้ดีในดินชื้นแฉะ มักขึ้นตามริมคูหรือคันนา แหล่งที่มีน้ำขังเล็กน้อยหรือพื้นที่ชุ่มชื้น ขยายพันธุ์ปลูกด้วยเมล็ดหรือใช้ส่วนของลำต้นผักแขยงที่สมบูรณ์

ใบ …ผักแขยงออกเป็นใบเดี่ยว เรียงตรงกันข้ามเป็นคู่ตามข้อตลอดลำต้น ลักษณะใบเป็นรูปใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบห่อติดลำต้น ส่วนขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย มีขนาดกว้าง 3-15 มิลลิเมตร และยาว 1-5 เซนติเมตร แผ่นใบสีเขียว เส้นใบเป็นแบบขนนก ไม่มีก้านใบ

ดอก …ผักแขยงออกเป็นดอกเดี่ยวตามซอกใบ ออกเป็นช่อกระจายตรงส่วนยอดของต้น ลักษณะดอกเป็นรูปกรวย ยาวประมาณ 0.5 นิ้ว ปลายบานเล็กน้อย ออกเป็นกลีบ 4 กลีบ มีสีแดง สีชมพู สีม่วงอ่อน หรือสีขาว ยาว 1-1.3 เซนติเมตร ก้านที่ชูเกสรเพศผู้ที่ส่วนปลายจะพองออก ก้านที่ชูเกสรเพศเมียจะสั้นและแยกเป็น 2 แฉก

การเตรียมแปลงและปลูก junkhost.com เตรียมดินปลูกเช่นเดียวกับการเตรียมดินทำนาด้วยการไถดะ ไถแปรและไถพรวน จากนั้นได้คัดเลือกต้นกล้าผักแขยงที่แข็งแรงสมบูรณ์ มี 3-5 ข้อ นำมาปักชำลงบนแปลงให้มีระยะชิดกันมากๆ จะทำให้มีการแตกกอกระจายเจริญเติบโตได้ทั่วพื้นที่แปลง

การปฏิบัติดูแลบำรุงรักษา

การใส่ปุ๋ย …หลังจากปลูก 7-10 วัน ให้ใส่ปุ๋ย สูตร 18-18-18 อัตราละ 2 กิโลกรัม และใส่ปุ๋ย ครั้งที่ 2 เมื่อต้นผักแขยงเริ่มแตกยอด ให้ใส่ปุ๋ย สูตร 46-0-0 อัตรา 2 กิโลกรัม หว่านปุ๋ยให้กระจายทั่วแปลง

การให้น้ำ …หลังการปลูกได้ปล่อยน้ำเข้าแปลง จากนั้น 3-4 วัน น้ำจะเริ่มแห้ง ก็ให้ปล่อยน้ำเข้าไปใหม่ เป็นวิธีการที่ช่วยทำให้ต้นผักแขยงได้รับน้ำและได้รับความชุ่มชื้นพอเพียงที่ทำให้มีการเจริญเติบโตเร็ว

หลังจากปลูก 30 วัน ต้นผักแขยงที่ได้ปฏิบัติดูแลบำรุงรักษาก็เจริญเติบโตมียอดสวยงาม ก็ตัดเก็บ หลังการตัดเก็บตอของต้นผักแขยงไว้ก็จะแตกต้นและเจริญเติบโตออกมาใหม่พร้อมให้ตัดเก็บในครั้งต่อไป

การตากแห้ง …เป็นการยืดอายุผลผลิตด้วยการจัดต้นผักแขยงสดไปวางบนกระด้งหรือตะแกรงนำไปตาก 1-2 แดด ให้แห้งแล้วจัดเก็บใส่ไว้ในถุงพลาสติก หรือจะมัดที่โคนต้นผักแขยงสดแล้วนำไปแขวนผึ่งลมให้แห้ง ต้นผักแขยงที่ตากแห้งก็จะยังคงรสชาติและกลิ่นหอมไว้เหมือนเดิม เป็นการถนอมผลผลิต (อาหาร) เพื่อเก็บไว้กินแบบยาวนาน

คุณลุงโชติ ประธานกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ เล่าให้ฟังในท้ายนี้ว่า เมื่อต้นผักแขยงเจริญเติบโตสมบูรณ์ ทุกวันได้ตัดเก็บผักแขยงเตรียมไว้ให้กับพ่อค้าที่เข้ามารับซื้อ

การตัดเก็บ …เมื่อต้นผักแขยงเจริญเติบโต ได้ลงแปลงพร้อมกับเคียวเกี่ยวข้าวหรือมีดคมและภาชนะใส่ผัก วิธีตัดเก็บ ได้ตัดที่บริเวณโคนต้น สูงเหนือผิวดิน จัดวางใส่ในภาชนะ ส่วนตอต้นที่เหลืออยู่ก็จะแตกยอดและเจริญเติบโตกระทั่งได้ต้นใหม่ที่สมบูรณ์เมื่ออายุได้ 30 วัน ก็ตัดเก็บอีกรอบ โดยไม่ต้องปลูกใหม่ พื้นที่ปลูกครึ่งงานจะตัดเก็บผักแขยงได้ 100-150 กิโลกรัม ต่อครั้ง โดยพ่อค้าคนกลางจะเข้ามารับซื้อทุกวัน ราคา 30-35 บาท ต่อกิโลกรัม ทำให้มีรายได้ 3,000-4,500 บาทหรือ 3,500-5,250 บาท ต่อครั้ง เป็นรายได้พอเพียงให้สามารถยังชีพได้ด้วยความมั่นคง และผลผลิตผักแขยงอินทรีย์ส่วนหนึ่งพ่อค้าได้จัดการนำส่งขายต่างประเทศด้วย

จากเรื่องราว แขยง ผักอินทรีย์ พื้นที่ปลูกครึ่งงาน ขายได้เงินกว่าหมื่นบาท เป็นพืชอายุสั้นใช้น้ำน้อยที่ให้ผลตอบแทนคุ้มทุน มีตลาดรองรับ ปลูกเป็นงานหลักหรืองานเสริมก็มั่นคง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณลุงโชติ สายด้วง ประธานกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ 51 หมู่ที่ 5 ตำบลสิงหนาท อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โทร. 081-267-6989 หรือ โทร. 081-848-2585 ก็ได้ครับ