ราคา อย่าให้ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 5-6 บาท ถือว่าอยู่ได้แล้ว

ซึ่งช่วงเดือนเมษายน-กลางเดือนมิถุนายน นับเป็นช่วงที่ราคาดีที่สุดกิโลกรัมละ 20-30 บาท เพราะผลผลิตเข้าสู่ตลาดน้อย เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อน ไม่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกผักกาดหัว

รายได้ ราคาผันผวนตามกลไกตลาดเฉลี่ยอย่าให้ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 5-6 บาท ถ้าได้เกิน 7 บาท ถือว่าแฮปปี้ได้กำไรกิโลละ 1-2 บาท ก็พอแล้ว เพราะมีน้ำหนักต่อไร่สูงมาเป็นตัวช่วย

ข้อดีของการปลูกผักกาดหัว มีวิธีการปลูกเหมือนผักใบทั่วไป แต่มีวิธีการดูแลที่ง่ายกว่าผักใบ และการแลกเปลี่ยนต่อพื้นที่จะได้น้ำหนักเยอะกว่าผักใบมาก น้ำหนักต่อพื้นที่ได้มากกว่าผักชนิดอื่น ถึงแม้ราคาจะไม่สามารถควบคุมได้แต่เกษตรกรสามารถควบคุมน้ำหนักต่อไร่ได้

ฝากถึงเกษตรกรมือใหม่หัดปลูก
“ผักกาดหัว ถือเป็นพืชที่สร้างรายได้ดีถึงแม้ในบางครั้งราคาอาจจะผันผวนไปตามตลาดแต่น้อยมากถ้าเทียบกับผักชนิดอื่นแล้ว และหากเกษตรกรมือใหม่ที่สนใจอยากจะทดลองปลูกเป็นอาชีพแนะนำว่าช่วงแรกให้หาเงินทุนให้พอก่อน จากนั้นศึกษาวิธีการปลูก ศึกษาโรคประจำของพืช ว่ามีโรคอะไรบ้าง พยายามศึกษาให้ถ่องแท้แล้วจึงค่อยลงมือ เพราะการเกษตรไม่มีอะไรที่กำหนดได้ โดยเฉพาะเรื่องของฝน ฟ้า อากาศ” คุณอภิสิทธิ์ กล่าวทิ้งท้าย

มะม่วง เป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ก้อนโตให้แก่เกษตรกรไทยในแต่ละปี โดยมีอัตราการเติบโตกว่า ปีละ 10% ทำให้มะม่วงเป็นไม้ผลที่มีพื้นที่ปลูกมากที่สุดในประเทศ กว่า 1.97 ล้านไร่ ผลผลิตรวม 3.12 ล้านตัน ผลผลิตเฉลี่ย 1,583 กิโลกรัม ต่อไร่ ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 5.42 บาท ต่อกิโลกรัม โดยราคาที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ย 29.75 บาท ต่อกิโลกรัม นับเป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่ให้ผลตอบแทนสูงมาก คุ้มค่ากับการลงทุน จึงเป็นพืชเศรษฐกิจอันดับต้นๆ ที่เกษตรกรหน้าใหม่สนใจเข้ามาลงทุนอย่างต่อเนื่อง

ช่วงฤดูกาลผลิตมะม่วงของประเทศไทย (เมษายน-มิถุนายน) มีปริมาณการส่งออก 117,472 ตัน มูลค่าส่งออก 4,385 ล้านบาท ซึ่งตลาดหลักสำคัญคือ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ สินค้าขายดีคือ มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง เป็นสายพันธุ์มะม่วงที่ตลาดญี่ปุ่นมีความต้องการสูง เนื่องจากลักษณะเด่นของมะม่วงสายพันธุ์นี้ เมื่อผลสุกผิวของเปลือกมีสีเหลืองนวลถึงเหลืองทอง เนื้อสีเหลืองมีกลิ่นหอม เนื้อละเอียดมีเสี้ยนค่อนข้างน้อย รสหวาน ในปี 2562 ไทยส่งออกมะม่วงสดอบไอน้ำไปญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ จำนวน 12,136.70 ตัน มูลค่า 1,261.70 ล้านบาท (ที่มา : ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร 2561)

เทคโนโลยีการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองนอกฤดู

ผศ.ดร. พีระศักดิ์ ฉายประสาท คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร เล็งเห็นความสำคัญของตลาดมะม่วง จึงได้พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองนอกฤดู ถ่ายทอดให้แก่เกษตรกรชาวสวนมะม่วงทั่วประเทศ ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวมีขั้นตอนการผลิตดังต่อไปนี้ คือ

1. ตัดแต่งกิ่ง เพื่อให้ทรงพุ่มโปร่งและควบคุมความสูงของต้นมะม่วง ไว้ที่ 2.5-3 เมตร เร่งการแตกใบอ่อนให้แตกพร้อมกันทั้งต้น โดยการใช้สารไทโอยูเรีย อัตรา 2.5 กิโลกรัม หรือโพแทสเซียมไนเตรต อัตรา 12.5 กิโลกรัม และสาหร่ายสกัด อัตรา 1.5 ลิตร ต่อน้ำ 1,000 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วลำต้น

ภายหลังจากพ่นสารไทโอยูเรีย หรือโพแทสเซียมไนเตรต ประมวณ 1 สัปดาห์ มะม่วงจะเริ่มแตกตา จากนั้นฉีดพ่นด้วยปุ๋ยทางใบ 30-20 10 อัตรา 3-4 กิโลกรัม และสาหร่ายสกัด อัตรา 1.5 ลิตร ต่อน้ำ 1,000 ลิตร ทุกๆ 7 วัน

4. ภายหลังการแตกใบอ่อนได้ประมาณ 1 เดือน มะม่วงจะพัฒนาเข้าสู่ระยะเพสลาด ใช้สารแพคโคลบิวทราโซลละลายน้ำเล็กน้อย อัตรา 10 กรัม ต่อเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 เมตร (ปริมาณสารออกฤทธิ์ 10% ราดบริเวณรอบๆ โคนต้น)

ช่วงสะสมอาหาร ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ 0-52-34 อัตรา 5 กิโลกรัม และแคลเซียม-โบรอน อัตรา 1.5 ลิตร ต่อน้ำ 1,000 ลิตร (แคลเซียม ความข้มข้น 22.5%) และโบรอน ความเข้มข้น 0.03%)

6. ภายหลังการราดสารแพคโคลบิวทราโซล ประมาณ 2 เดือน ใบแก่จัดมียอดนูนเห็นได้ชัด เป็นระยะที่เหมาะกับการบังคับให้ออกดอก (การดึงดอก) หรือเมื่อใช้มือกำใบมะม่วงแล้วคลายออก จะเห็นเส้นสีขาวปรากฏขึ้น

การฉีดพ่นไทโอยูเรีย หรือโพแทสเซียมไนเตรต เพื่อบังคับการออกดอก โดยการใช้สารไทโอยูเรีย อัตรา 2.5 กิโลกรัม หรือโพแทสเซียมไนเตรต 12.5 กิโลกรัม และสาหร่ายสกัด อัตรา 1.5 ลิตร ต่อน้ำ 1,000 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วลำต้น

8. ระยะเดือยไก่ ภายหลังจากการฉีดพ่นสารไทโอยูเรีย หรือโพแทสเซียมไนเตรต ประมาณ 8-12 วัน

– ควรฉีดพ่นสาร NAA ความเข้มข้น 4.5% อัตรา 500 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 1,000 ลิตร เพื่อเพิ่มให้ดอกสมบูรณ์เพศ

– ฉีดพ่น แคลเซียม-โบรอน อัตรา 1.5 ลิตร ต่อน้ำ 1,000 ลิตร (แคลเซียม ความเข้มข้น 22.5% และโบรอน ความเข้มข้น 0.75%)

– ฉีดพ่นด้วยปุ๋ยทางใบ 10-52-17 อัตรา 3 กิโลกรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร

– ฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดแมลงและเชื้อราชนิดดูดซึม

9. ระยะก้างปลา ควรฉีดพ่น ดังนี้

– ฉีดพ่นแคลเซียม-โบรอน อัตรา 1.5 ลิตร ต่อน้ำ 1,000 ลิตร (แคลเซียม ความเข้มข้น 22.5% และโบรอน ความเข้มข้น 0.75%)

– ฉีดพ่นด้วยปุ๋ยทางใบ 10-52-17 อัตรา 3 กิโลกรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร

– ฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดแมลงและเชื้อราชนิดดูดซึม 10. ระยะดอกบาน หากพบการแพร่ระบาดเพลี้ยไฟ ควรฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดแมลงชนิดดูดซึม ไม่ควรฉีดพ่นแคลเซียม-โบรอน เพราะจะทำให้เกิดดอกพลาสติกและลูกกะเทย (ผลที่ไม่ได้รับการผสมเกสร)

11. มะม่วงจะอยู่ในระยะดอกบาน ควรงดการฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดแมลง และใช้แมลงวันช่วยผสมเกสร โดยมีปลาสดเป็นเหยื่อล่อ

12. ภายหลังดอกบาน ประมาณ 60-67 วัน หรือขนาดเท่าไข่ไก่ ควรฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชและแมลงชนิดดูดซึม จากนั้นห่อผลด้วยกระดาษคาร์บอนชนิดบาง และปิดปากถุงให้สนิท พร้อมทำสัญลักษณ์ เพื่อให้ทราบวันที่ห่อผลและสามารถเก็บผลมะม่วงได้ตามความแก่ที่เหมาะสม

13. การเก็บเกี่ยวมะม่วงเพื่อการส่งออก ควรดูองค์ประกอบ ดังนี้ี

– อายุของผลหลังดอกบาน ประมาณ 110-115 วัน

– การจุ่มในน้ำหรือน้ำเกลือ 2% หากมะม่วงจมน้ำ แสดงว่ามีความแก่หรือสมบูรณ์ที่ 80%

-ไม่พบสะดือบริเวณผลมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง

– พบไคลหรือไขนวล บริเวณเปลือกของผล “ยืดอายุมะม่วง” เพื่อการขนส่งทางเรือ

ในปีนี้ เมืองไทยมีผลผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองจำนวนมาก แต่โชคร้าย เจอผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ทำให้การขนส่งสินค้าทางอากาศโดยสายการบินพาณิชย์มีค่าระวางสินค้าที่แพงขึ้น ทำให้ไทยไม่สามารถส่งออกมะม่วงทางเครื่องบินไปยังตลาดพรีเมี่ยมสำคัญ คือ ประเทศญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ได้ตามปกติ ทำให้เกิดปัญหาผลผลิตล้นตลาดและขายได้ราคาต่ำ

โชคดีที่ก่อนหน้านี้ ผศ.ดร. พีระศักดิ์ ฉายประสาท และคณะ ประกอบด้วย รศ.ดร. มาฆะสิริ เชาวกุล นายพุทธพงษ์ สร้อยเพชรเกษม มหาวิทยาลัยนเรศวร ผศ.ดร. รณฤทธิ์ ฤทธิรณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ ดร. ปัณณวิชญ์ ใบกุหลาบ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้ร่วมกันศึกษาเรื่อง “การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเพื่อการส่งออกตลาดประเทศญี่ปุ่นโดยการขนส่งทางเรือเชิงพาณิชย์” ภายใต้ทุนวิจัยมุ่งเป้าจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ผ่านสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

นวัตกรรมดังกล่าวช่วยยืดอายุการเก็บรักษามะม่วงน้ำดอกไม้สีทองในสภาพดัดแปลงบรรยากาศ โดยการบรรจุถุงพลาสติก WEB (White ethylene absorbing bag) และเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 13 องศาเซลเซียส สามารถยืดอายุการเก็บรักษามะม่วงน้ำดอกไม้สีทองได้เป็นระยะเวลา 33 วัน จากเดิมที่เก็บรักษามะม่วงได้เพียง 15 วัน โดยถุงพลาสติก WEB ช่วยลดการสูญเสียน้ำ ลดอัตราการหายใจ และลดการผลิตเอทิลีน โดยยังคงรักษาคุณภาพมะม่วงให้อยู่ในระดับที่ได้รับการยอมรับของผู้บริโภค

ก่อนหน้านี้ ทีมคณะวิจัยได้ทดลองส่งออกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองทางเรือไปประเทศญี่ปุ่นในช่วงฤดูร้อน จำนวน 1.2 ตัน เพื่อยืนยันผลการศึกษาด้านเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวและวิธีการยืดอายุมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง โดยเริ่มต้นจากคัดเลือกผลผลิตมะม่วงจากสวนที่ได้มาตรฐาน ผ่านการตรวจคุณภาพความแก่ ทำความสะอาด และกระบวนการยืดอายุ ก่อนขนส่งมะม่วงโดยเรือบรรทุกสินค้าเดินทางถึงท่าเรือโยโกฮาม่า ประเทศญี่ปุ่น ใช้ระยะเวลาตั้งแต่เก็บเกี่ยวจนถึงประเทศญี่ปุ่น 20 วัน ผลการทดลองพบว่า มะม่วงทั้งหมดอยู่ในสภาพสดพร้อมจำหน่าย แถมยังคงรสชาติความอร่อยได้ดี เป็นที่พึงพอใจของผู้บริโภค

ผลงานวิจัยดังกล่าว ช่วยให้ผู้ส่งออกไทยสามารถขนส่งมะม่วงทางเรือ โดยมีต้นทุนการขนส่งไม่เกิน 30 บาท ต่อกิโลกรัม นับว่า นวัตกรรมดังกล่าวช่วยลดต้นทุนการขนส่งได้ประมาณ 2 เท่า (ที่หน่วยขนส่ง 10 ตันทางอากาศ เทียบกับ 10 ตันทางเรือ) สามารถแก้ไขปัญหาการส่งออกมะม่วงในภาวะวิกฤต โควิด-19 ได้อย่างดีเยี่ยม

หากเกษตรกรหรือผู้ส่งออกรายใดสนใจนวัตกรรมดังกล่าว หรือต้องการความช่วยเหลือทางวิชาการ สามารถเข้ารับการฝึกอบรมออนไลน์ หรือหากต้องการให้ประสานงานกับผู้ส่งออกและนำเข้าปลายทางในประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย สามารถติดต่อ ผศ.ดร. พีระศักดิ์ ฉายประสาท ได้ที่เบอร์โทร. 081-971-3510 หรือ อีเมล peerasakc@gmail.com ได้ตลอดเวลา

กลุ่มเกษตรกรปลูกสับปะรดทางเกวียน จัดตั้งเมื่อ วันที่ 20 ตุลาคม 2554 สมาชิกแรกตั้ง 47 คน สมาชิกปัจจุบัน 50 คน

ประธานกลุ่ม นายประกอบ บุญก่อเกื้อ ที่ทําการกลุ่ม เลขที่ 63/1 หมู่ที่ 6 ตําบลทางเกวียน อําเภอแกลง จังหวัดระยอง ผลงานดีเด่น ความคิดริเริ่ม
1.โครงการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร
สมาชิกของกลุ่มเกษตรกรปลูกสับปะรดทางเกวียน มีอาชีพหลักคือ การปลูกสับปะรดผลสดจําหน่าย โดยกลุ่มเกษตรกรมีบทบาทสําคัญในการพัฒนาคุณภาพของสินค้าและบรรจุภัณฑ์ให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค

ทั้งนี้ กลุ่มเกษตรกรปลูกสับปะรดทางเกวียน ร่วมกับสํานักงานเกษตรอําเภอแกลง ได้จัดทําโครงการเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนผลผลิตของสมาชิก ด้วยการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสามารถรักษาคุณภาพผลิตภัณฑ์สําหรับบรรจุสับปะรดขายผลปลีก ขนาดบรรจุ 1 ผล และลัง ขนาดบรรจุ 4 ผล วางขายที่ร้านขายของฝากภายในจังหวัดระยอง และจังหวัดใกล้เคียง เพื่อยกระดับสินค้าให้สามารถเข้าสู่ตลาดและแข่งขันได้ รวมทั้งเป็นการเพิ่มมูลค่าสินค้าและสร้างรายได้ให้กับสมาชิก

โครงการเกษตรผสมผสาน (ปลูกต้นยางพารา แซมในไร่สับปะรด)
อาชีพหลักของสมาชิกของกลุ่มเกษตรกรปลูกสับปะรดทางเกวียน คือการปลูกสับปะรดผลสดจําหน่าย ซึ่งเป็นการปลูกพืชเชิงเดี่ยว อาจทําให้เกิดความไม่มั่นคงในอาชีพและรายได้ ดังนั้น กลุ่มเกษตรกรฯ จึงจัดทําโครงการส่งเสริมให้สมาชิกปลูกต้นยางพาราแซมไปในแปลงปลูกสับปะรด ซึ่งในรอบการปลูกสับปะรด 9 รอบ จะใช้เวลาประมาณ 3 ปี จึงจะเปลี่ยนต้นพันธุ์สับปะรดใหม่ ดังนั้น ในช่วงเวลาที่ปลูกสับปะรด 9 รอบ ต้นยางพาราที่ปลูกแซมลงไปก็จะเติบโตพอที่จะสามารถกรีดได้ ทําให้สมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่ง และต้นยางพารายังช่วยให้ร่มเงาแก่แปลงสับปะรดได้อีกด้วย

ความสามารถในการบริหาร และการจัดการของสถาบัน
กลุ่มเกษตรกรปลูกสับปะรดทางเกวียน จังหวัดระยอง มีโครงสร้างการบริหารงานที่ชัดเจน โดยมีคณะกรรมการ 7 คน เจ้าหน้าที่ตําแหน่งพนักงานบัญชี 9 คน ผู้ตรวจสอบกิจการ 2 คน ที่ปฏิบัติหน้าที่และให้ความช่วยเหลือสมาชิกได้เป็นอย่างดี มีความเสียสละ อดทน และมีความมุ่งมั่นในการพัฒนากลุ่มให้เจริญก้าวหน้า ปัจจุบัน กลุ่มเกษตรกรฯ มีทุนดําเนินงาน 2,303,206.45 บาท ทุนเรือนหุ้น 241,000 บาท ทุนสํารอง 505,750 บาท การดําเนินธุรกิจของกลุ่มเกษตรกรฯ มี 2 ประเภท คือ ธุรกิจสินเชื่อ จํานวน 1,775,000 บาท และธุรกิจรวบรวมผลิตผลทางการเกษตรจากสมาชิก (สับปะรดผลสด) จํานวน 5,605,346.46 บาท ซึ่งถือได้ว่าเป็นธุรกิจหลักของกลุ่มเกษตรกรฯ

กลุ่มเกษตรกรฯ มีการจัดทําแผนดําเนินงานประจําปี และแผนธุรกิจ โดยกําหนดและขอมติผ่านที่ประชุมใหญ่สามัญเป็นประจําทุกปี และมีการแจ้งแผนให้สมาชิกรับทราบ โดยมีการระดมความคิด ปัญหา อุปสรรค จากสมาชิก และนําผลการดําเนินงานในปีก่อนมาพิจารณาเพื่อปรับปรุงแผนการดําเนินงานประจําปี และแผนธุรกิจในปีถัดไปซึ่งกลุ่มสามารถดําเนินงานได้ตามแผนที่กําหนดไว้

บทบาทและการมีส่วนร่วมของสมาชิกต่อสถาบัน
กลุ่มเกษตรกรปลูกสับปะรดทางเกวียน จังหวัดระยอง มีสมาชิกเข้าร่วมประชุมใหญ่ เฉลี่ยร้อยละ 64.94

คณะกรรมการเข้าร่วมประชุม เฉลี่ยร้อยละ 43.83 สมาชิก มีส่วนร่วมในการทําธุรกิจกับกลุ่มเกษตรกรฯ เฉลี่ยร้อยละ 76.73 และมีส่วนร่วมในการทํากิจกรรมต่างๆ กับกลุ่มเกษตรกร เฉลี่ยร้อยละ 64.78 โดยสมาชิกมีความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเองเป็นอย่างดี และปฏิบัติตามข้อบังคับ ระเบียบ และข้อตกลงของกลุ่มเกษตรกรฯ อย่างเคร่งครัด มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกลุ่ม และการลงความเห็นต่างๆ อาทิ การเลือกตั้ง การจัดสรรผลประโยชน์ การจัดทําแผนงานประจําปีและแผนธุรกิจการแก้ปัญหาต่างๆ ให้ความสําคัญและเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของกลุ่มเกษตรกรฯ รวมถึงได้รับการพัฒนาและส่งเสริมในการเพาะปลูกสับปะรดอย่างเพียงพอและทั่วถึง ทําให้สมาชิกสามารถผลิตสับปะรดได้อย่างมีคุณภาพ ตรงตามความต้องการของโรงงาน และได้ราคาผลผลิตสูงขึ้น

ความมั่นคงและฐานะทางเศรษฐกิจของสถาบัน
กลุ่มเกษตรกรฯ ปลูกสับปะรดทางเกวียน จังหวัดระยอง ดําเนินธุรกิจ 2 ประเภท โดยมีปริมาณธุรกิจรวมทั้งสิ้น 7,380,346.46 บาท ปริมาณธุรกิจ 3 ปี ย้อนหลังของกลุ่มมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งความผันผวนของราคาสับปะรดไม่ได้ส่งผลต่อการดําเนินธุรกิจของกลุ่ม เนื่องจากกลุ่มจะได้รับโควต้าและกําหนดราคาล่วงหน้าจากโรงงานแล้ว กลุ่มเกษตรกรฯ มีกําไรสุทธิ 158,090.14 บาท และสามารถจ่ายเงินปันผลให้แก่สมาชิกในอัตรา ร้อยละ 90 จํานวน 26,142.00 บาท และจ่ายเงินเฉลี่ยคืนให้แก่สมาชิกตามส่วนของธุรกิจ จํานวน 15,449 บาท จากผลการดําเนินงาน 3 ปี ที่ผ่านมา มีความมั่นคงและมีฐานะทางเศรษฐกิจดี มีการระดมหุ้นจากสมาชิกเพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนภายในกลุ่ม และทุนเรือนหุ้นมีอัตราเพิ่มขึ้นทุกปี รวมถึงมีทุนดําเนินงานเพียงพอต่อการดําเนินธุรกิจของกลุ่ม

กลุ่มเกษตรกรฯ มีที่ดินของกลุ่มเอง มีอาคาร สํานักงานเพื่ออํานวยความสะดวกและให้บริการสมาชิก และใช้เป็นสถานที่สําหรับการประชุมสมาชิก และมีรถกระบะสําหรับให้บริการบรรทุกสินค้า/ผลผลิตให้แก่สมาชิก และมีโต๊ะ เก้าอี้ พัดลม และอุปกรณ์ต่างๆ ในการจัดงานให้สมาชิกสามารถยืมใช้งานได้

การทํากิจกรรมด้านสาธารณประโยชน์
และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กลุ่มเกษตรกรฯ ร่วมทํากิจกรรมสาธารณประโยชน์กับชุมชนในโอกาสต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ มีกิจกรรมพัฒนาชุมชน ทําความสะอาด และปรับปรุงภูมิทัศน์ในเทศกาลและโอกาสสําคัญต่างๆ สนับสนุนกิจกรรมและร่วมทําบุญกับวัดในชุมชน โดยกลุ่มใช้กิจกรรมสาธารณประโยชน์เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีกับคนในชุมชน

กลุ่มเกษตรกรฯ ให้ความสําคัญต่อการทํากิจกรรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับชุมชน เนื่องจากสมาชิกของกลุ่มทําอาชีพเกษตรกรรม และต้องการมีสภาพแวดล้อมที่ดี มีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ ร่วมกันปลูกต้นไม้ภายในชุมชน และป่าชายเลน เนื่องในการปรับปรุงภูมิทัศน์โอกาสสําคัญต่างๆ

กลุ่มเกษตรกรฯ ได้จัดสรรกําไรสุทธิไว้เป็นเงินสวัสดิการเพื่อดูแลสมาชิกและครอบครัวสมาชิก ได้แก่ ร่วมทําบุญและช่วยเหลืองานศพของสมาชิกและครอบครัว มอบทุนการศึกษาแก่บุตรของสมาชิก จัดให้มีการฝึกอบรมและเพิ่มทักษะในการปลูกสับปะรดแก่สมาชิก และจัดให้มีเครื่องแบบแก่คณะกรรมการดําเนินการ

สะตอ อีกหนึ่งพืชเศรษฐกิจสำคัญของภาคใต้ สะตอเป็นพืชผักยืนต้นที่ชาวภาคใต้ส่วนใหญ่นิยมปลูกไว้เป็นรั้วกั้นเขต หรือปลูกเป็นพืชแซมไว้ตามหัวไร่ปลายนาบ้าง แต่ใครจะรู้ว่าพืชที่ปลูกแซม ปลูกแบบไม่ได้ตั้งใจปลูกอย่างสะตอนี่แหละคือพืชที่สร้างรายได้ดีอย่างไม่ทันตั้งตัว

คุณปาจรีย์ สว่างศรี หรือ พี่ปลา เกษตรกรสาวผู้สร้างรายได้จากการขายสะตอออนไลน์กว่าวันละหมื่น อยู่ที่บ้านเลขที่ 42 บ้านปากเหล หมู่ที่ 2 ตำบลเหล อำเภอกะปง จังหวัดพังงา เรียนจบคณะรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง หลังจากเรียนจบได้เข้าทำงานที่ สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานพังงา (สนพ. พังงา) ทำอยู่ได้ระยะหนึ่งก็มีเหตุจำเป็นให้ต้องออกจากงานเพื่อกลับมาดูแลพ่อแม่ที่อายุมาก และมีอาการเจ็บป่วยอยู่บ่อยครั้ง โดยพื้นฐานครอบครัวพี่ปลาเป็นเกษตรกรมาก่อน คุณพ่อคุณแม่เป็นเกษตรกรทำสวนยางพารา ปลูกปาล์มน้ำมัน และทำสวนไม้ผล เงาะ มังคุด ทุเรียน มีปลูกสะตอไว้เป็นพืชแซมในสวน และปลูกตามหัวไร่ปลายสวนอยู่บ้าง แต่ช่วงหลังต้องประสบกับปัญหาภัยแล้งบ่อย ต้นไม้ยืนต้นตาย จึงจำเป็นต้องลดพื้นที่การปลูกไม้ผลให้น้อยลง แล้วหันมาดูแลสะตอให้มากขึ้น เพราะสะตอเป็นพืชที่ปลูกดูแลง่ายและสร้างรายได้ดี

ปลูกสะตอ เป็นพืชแซมในสวนไม้ผล 5 ไร่
เก็บขายสร้างรายได้ วันละ 2,000-2,500 ฝัก
พี่ปลา เล่าว่า ที่บ้านมีพื้นที่ทำสวนทั้งหมด 42 ไร่ ปลูกสะตอเป็นพืชแซม 5 ไร่ โดยตอนแรกตั้งใจจะปลูกไว้กินเอง แต่พอนานไปต้นที่ปลูกไว้เริ่มโต ก็มีการนำมาเพาะขยายพันธุ์เพิ่ม ปลูกไปเรื่อยๆ ปลูกมังคุดสลับกับสะตอ เพราะต้นมังคุดขนาดต้นจะไม่สูงมาก ส่วนสะตอต้นจะสูง สามารถปลูกแซมกันได้ดี แบ่งปลูกสะตอเป็น 2 พันธุ์ คือ

สะตอข้าว ที่ได้รับพันธุ์มาจากศูนย์ทดลอง ตั้งแต่ปี 2529 มีจุดเด่นที่รสชาติขมน้อย ถูกใจคนภาคกลาง และภาคอื่นๆ ที่ไม่ชินกับสะตอที่มีกลิ่นฉุนจัด แต่เมล็ดจะมีขนาดไม่ใหญ่มาก
สะตอดาน มีจุดเด่นที่เมล็ดใหญ่ ฝักใหญ่ สมัคร NOVA88 และมีกลิ่นฉุน คนใต้จะนิยมมากกว่าสะตอข้าว ซึ่งสะตอของแต่ละภาคก็จะมีรสชาติที่ไม่เหมือนกันอีก อย่างที่สุโขทัย ก็มีการปลูกสะตอ แต่ผลผลิตจะไม่ค่อยติด และขนาดเมล็ดจะเล็ก ไม่เหมือนกับสะตอของใต้ แต่สะตอที่ปลูกที่ภาคใต้รสชาติก็ใช่ว่าจะเหมือนกันทุกที่ สะตอที่พังงารสจะค่อนข้างจัด กลิ่นฉุน สัมผัสตอนเคี้ยวไม่เหมือนที่อื่น ขนาดที่ว่าคนชุมพรยังต้องมารับสะตอพังงาไปขาย

วิธีการปลูก
สะตอ ถือเป็นพืชที่ปลูกและดูแลง่าย สร้างรายได้ดี แต่ก็ต้องดูว่าหากปีไหนแล้งมาก สะตอก็ออกน้อย ปีไหนสภาพอากาศดี ฝนดี น้ำดี สะตอก็ออกมาก

การเตรียมดิน …ไม่ต้องมีการไถเตรียมดินใดๆ ลักษณะดินที่สวนเป็นดินดำร่วน ขุดหลุมลึก 50×50 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยขี้ไก่ เพราะหาง่ายในท้องถิ่น

การปลูก …ใช้เมล็ดปลูก เพราะเจริญเติบโตได้ดี แต่ต้องเลือกเมล็ดพันธุ์ที่ฝักใหญ่ เมล็ดโต และสมบูรณ์มาปลูก 1 หลุม หยอด 3 เมล็ด ฝังลงไปให้ลึกหน่อย หลังจากปลูกเสร็จไม่ต้องดูแลอะไรมาก ถ้า 3 เมล็ด ที่ปลูกไปขึ้นมาทั้งหมด ให้เลือกต้นที่สมบูรณ์ที่สุดไว้เพียง 1 ต้น

การดูแลรดน้ำ …ส่วนใหญ่สะตอจะนิยมปลูกในช่วงหน้าฝนอยู่แล้ว คือช่วงเดือนพฤษภาคม ฉะนั้น ช่วง 3-4 เดือนแรก ไม่ต้องดูแลอะไรมาก ให้ฝนดูแลไป ต้นก็จะโตเอง แต่ถ้าหน้าแล้งเทคนิคการให้น้ำถือเป็นปัจจัยสำคัญมากเช่นกัน น้ำห้ามขาด ต้องรดเช้า-เย็น วันเว้นวันไปเลย สะตอเป็นประเภทที่ติดดอกแล้วจะร่วงเร็วมาก ถ้าขาดน้ำดอกจะร่วง ภาษาใต้เรียกว่า หย่อนโหม่ง เพราะดูแลให้น้ำไม่สม่ำเสมอ เพราะช่วงสำคัญที่สุดคือ ช่วงตอนที่ผสมดอกกับตอนติดช่อ ส่วนเทคนิคการผสมดอกให้ติดและผลผลิตดกคือ การเลี้ยงผึ้งไว้ในสวน ให้ผึ้งช่วยผสมดอก ผึ้งช่วยทำให้การติดได้มาก

ปุ๋ย …ใส่ขี้หมู 3 กระสอบ ต่อ 1 ต้น ตั้งไว้ห่างจากโคน ประมาณ 2 เมตร ปล่อยให้ฝนตกจะชะละลายไปเอง พืชก็จะค่อยๆ ดูดซึมไปใช้ พยายามใส่ปุ๋ยอย่าให้ขาด ใส่ทุกๆ 4 เดือนครั้ง อย่างสม่ำเสมอ เพราะจะมาเร่งใส่ปุ๋ยตอนฝักใกล้ออกจะไม่ได้ผลแล้ว ปีนั้นฝักจะไม่สวยเลย