รายละเอียดว่า เจตนาของรัฐบาล โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ต้องการปรับโครงสร้างระบบการผลิตสินค้าเกษตรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้านการลดต้นทุน การเพิ่มผลผลิตต่อเนื้อที่ การพัฒนาคุณภาพผลผลิตให้ได้มาตรฐานตรงตามที่ตลาดต้องการ การรวมกลุ่มของเกษตรกรผู้ผลิต ส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการร่วมกัน และมีการเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย ให้ไปสู่เป้าหมายในการแข่งขันสินค้าเกษตร โดยคาดหวังว่าเกษตรกรจะมีรายได้เพิ่มและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ด้วยการส่งเสริมรูปแบบเกษตรแปลงใหญ่ ซึ่งได้เริ่มดำเนินการมาได้ 2 ปีแล้ว

เกษตรแปลงใหญ่ มี 3 องค์ประกอบ คือ กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิต ผู้จัดการแปลง และการบริหารจัดการด้วยระบบที่มีโครงสร้าง มีการจัดรูปองค์กรด้วยวิธีการกลุ่ม อาจนำไปสู่การแก้ไขปัญหาเดิมๆ ได้ ปัญหาเดิมๆ ในที่นี้ผมหมายถึง ในอดีตแต่ไหนแต่ไรมา เกษตรกรจำนวนไม่น้อยที่ไม่ชอบการรวมกลุ่ม หรือรวมกันได้แต่รวมกันได้เฉพาะกาย แต่รวมใจไม่ค่อยได้ จึงมีการรวมกันแบบหลวมๆ ทำให้ยากต่อการขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ กับปัญหาที่เกษตรกรมักจะต่างคนต่างปลูก ปลูกพร้อมกันโดยไม่ได้สื่อสารในการวางแผนการผลิต ผลผลิตออกมาพร้อมกัน แล้วก็ต่างคนต่างขาย ราคาผลผลิตก็จะตกต่ำ

ทั้ง 2 ท่าน ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า รูปแบบการเกษตรแปลงใหญ่มีการกำหนดนโยบาย มีหลักเกณฑ์หลักการดำเนินงาน และการจัดวางแนวทางด้านการจัดการให้เกิดสมดุลระหว่างความต้องการซื้อกับความต้องการขาย แก้ปัญหาผลผลิตล้นตลาด ด้วยการสร้างระบบบูรณาการจากทุกภาคส่วนทั้งเกษตรกร ภาคราชการ และเอกชน

หลักเกณฑ์ก็คือ เกษตรกรต้องสมัครใจ เข้าร่วมเป็นเกษตรแปลงใหญ่ส้มเขียวหวาน แปลงปลูกไม่จำเป็นต้องอยู่ติดกันเป็นผืนเดียว แต่อยู่ในชุมชนใกล้เคียงกัน ขนาดพื้นที่รวมไม่น้อยกว่า 300 ไร่ หรือเกษตรกรรายคนไม่น้อยกว่า 30 ราย

หลักการดำเนินงาน ยึดพื้นที่เป็นหลักในการดำเนินการแบบบูรณาการของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องโดยเกษตรกรสมาชิกต้องร่วมมือร่วมใจกัน รวมกันเป็นกลุ่มผู้ผลิต

ส่วนการจัดการ มีผู้จัดการแปลงเป็นผู้บริหารพื้นที่ มีคณะกรรมการกลุ่มที่มาจากการเลือกตั้งของสมาชิกแปลงใหญ่เป็นผู้บริหารโดยภาพรวมทั้งหมด

ที่กล่าวมาให้เห็นภาพรวมว่า เกษตรแปลงใหญ่นั้นมีรูปแบบ มีหลักเกณฑ์ หลักการ และวิธีการดำเนินงานที่วางระบบไว้อย่างดี

ผมได้ลงพื้นที่แปลงปลูกส้มเขียวหวาน โดยเริ่มจากอำเภอลอง ไปพร้อมกับเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอลอง เป็นแปลงเรียนรู้ตามระบบส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่ (ส้มเขียวหวาน) ของอำเภอลอง ที่ตำบลทุ่งแล้ง ตั้งวงสนทนากับเจ้าของแปลง ประธานกลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ และเจ้าหน้าที่ เพื่อนำข้อมูลย้อนกลับเทียบเคียงกับนโยบายของทางราชการตามที่กล่าวไปแต่ตอนต้น

คุณจเร ปัญญากอง อายุ 50 ปี อยู่บ้านเลขที่ 118/1 หมู่ที่ 7 บ้านทุ่งทอง ตำบลทุ่งแล้ง อำเภอลอง จังหวัดแพร่ โทร. (083) 337-0094 มีตำแหน่งเป็นเหรัญญิก ในคณะกรรมการกลุ่มแปลงใหญ่ เล่าว่า ปลูกส้มเขียวหวานมาตั้งแต่ ปี 2549 มีพื้นที่ปลูก 12 ไร่ นับจำนวนต้นได้ 600 ต้น แต่ต้นส้มเขียวหวานมีอายุแตกต่างกัน ผลผลิต 10 ตัน ได้เข้าร่วมกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกส้มเขียวหวานเป็นเกษตรแปลงใหญ่ ตามคำแนะนำส่งเสริมของเกษตรอำเภอและนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรอำเภอลอง เพราะจากเดิมที่สวนส้มเขียวหวานมีปัญหาการผลิตทั้งโรคและแมลง ดินปลูกก็ไม่เคยมีการตรวจ ใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมีก็มาก น้ำไม่พอใช้ ต้องลงทุนโดยกู้ยืมมาขุดสระ ล้วนแต่มีค่าใช้จ่ายสูง แต่เมื่อเข้ากลุ่มแปลงใหญ่มาได้ 1 ปี ปัญหาก็เบาบางลงบ้าง ปีที่แล้วขายส้มเขียวหวานได้ราคาดี

ขอให้ช่วยเล่าให้ฟังหน่อยว่า เมื่อได้เข้าร่วมสมาชิกเกษตรแปลงใหญ่แล้ว การปฏิบัติดูแลสวนส้มเขียวหวานแตกต่างจากเดิมอย่างไร คุณจเร เล่าว่า ก่อนเข้าร่วมกลุ่มเกษตรแปลงใหญ่และเมื่อเป็นสมาชิกกลุ่มแล้ว ได้ผ่านการอบรมการศึกษาดูงานหลายหลักสูตร ได้นำมาปรับใช้ในการดูแลสวนส้มเขียวหวานให้ถูกต้องตามหลักวิชาการเกษตรและมาตรฐาน GAP ได้แก่ การตัดแต่งกิ่งอย่างถูกวิธี การใช้ปุ๋ยร่วมระหว่างปุ๋ยเคมีกับปุ๋ยอินทรีย์ น้ำหมักชีวภาพทั้งทางดินและทางใบ การบริหารจัดการน้ำ/ดิน การกำจัดวัชพืช การป้องกันและกำจัดศัตรูพืชอย่างหลากหลายวิธี

ด้าน คุณพร บัวบุตร ประธานกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ ได้กล่าวว่า “เกษตรแปลงใหญ่เป็นลักษณะของการรวมตัวของเกษตรกรผู้ปลูกส้มเขียวหวานรายย่อยๆ ชักชวนกันให้หันมาวางระบบการผลิต มีการรวมกลุ่มบริหารจัดการร่วมกันในรูปแบบของกระบวนการกลุ่ม คือมีเกษตรกรสมาชิก มีองค์กรของสมาชิก สมาชิกต้องเลือกตัวแทนเข้าไปบริหารกลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ เพื่อยังประโยชน์ของสมาชิกอันนำมาซึ่งการลดต้นทุนการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต พัฒนาคุณภาพผลผลิต มีการเชื่อมโยงตลาด และบริหารจัดการร่วมกัน”

รวมกัน เราอยู่ แยกกัน เราไปไม่รอด

มีข้อมูลจาก สำนักงานเกษตรอำเภอลอง ว่าในท้องที่อำเภอลอง มีพื้นที่ปลูกส้มเขียวหวานทั้งหมด 3,055 ไร่ จำนวนเกษตรกร 498 ครัวเรือน จากข้อมูลตามที่คุณจเรและคุณพรได้กล่าวไว้ เกษตรกรจึงต้องมารวมกลุ่มกันเป็นเกษตรแปลงใหญ่ ในเบื้องต้นเฉพาะ หมู่ที่ 7, 12 ตำบลทุ่งแล้ง มีจำนวนสมาชิก 40 ราย หรือผืนพื้นที่ 214 ไร่ มิได้เป็นแปลงหรือผืนเดียวกัน (ตามหลักเกณฑ์ต้องมีพื้นที่รวมกัน ไม่น้อยกว่า 300 ไร่ หรือนับจำนวนเกษตรกรไม่น้อยกว่า 30 ราย สำหรับไม้ผล) และได้ดำเนินงานร่วมกันเป็นกลุ่มผู้ผลิต สมาชิกได้ประโยชน์จากการเข้าร่วมกิจกรรมหลากหลายวิธีการและหลายรูปแบบ

คณะของเราได้ร่วมกันสรุปบทเรียนถึงวิธีการต่างๆ ที่เกษตรกรและกลุ่มแปลงใหญ่ ได้ดำเนินการขับเคลื่อนกันมาตลอดระยะเวลา 2 ปี ไม่ว่าจะด้านการลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มผลผลิตต่อไร่ การพัฒนาคุณภาพ การพัฒนาการตลาด และการบริหารที่นำมาใช้ช่วงก่อนและระหว่างการจัดการเกษตรแปลงใหญ่ได้ ดังนี้

สามารถลดต้นทุนการผลิตส้มเขียวหวาน ได้ด้วยวิธีการ

– เข้ารับการอบรมการตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารในดินและช่วงเวลาที่เหมาะสมของการใส่ปุ๋ย เพื่อนำมาใช้ในแปลงปลูกทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี โดยลดจำนวนปุ๋ย อบรมการใช้เทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสมและการจัดการดิน

– ใช้ปุ๋ยตามค่าการวิเคราะห์ดิน ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตขึ้นภายในกลุ่มร่วมกับปุ๋ยเคมี และใช้น้ำหมักชีวภาพเป็นตัวช่วย

– ปลูกพืชชนิดอื่นในแปลงส้มเขียวหวาน ได้แก่ น้อยหน่า กล้วย มะนาว เพื่อนำรายได้ไปจัดหาปัจจัยการผลิตส้ม

– รวมกันจัดซื้อปัจจัยการผลิต

– จัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายครัวเรือน เพิ่มผลผลิตส้มเขียวหวาน ได้ด้วยวิธีการ

– ตัดแต่งกิ่งในระดับปานกลางถึงมาก ตามหลักวิชาการเกษตร เพื่อลดทรงพุ่ม ทำให้ต้นสมบูรณ์ ลดการรบกวนของแมลงและโรคพืช ผลผลิตส้มเขียวหวานมีปริมาณมากขึ้น

– ป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน

สามารถพัฒนาคุณภาพส้มเขียวหวาน ด้วยวิธีการ

-การผลิตส้มเขียวหวานตามระบบเกษตรดีที่เหมาะสม GAP (Good Agriculture Practices)

พัฒนาการตลาดส้มเขียวหวาน ด้วยวิธีการ – อบรมการจัดการการตลาด

– แสวงหาช่องทางทางการตลาดที่หลากหลาย เช่น ตลาดออนไลน์ เป็นต้น

– ติดต่อกับผู้ซื้อจนมีตลาดรับซื้อที่แน่นอน ได้ราคาเป็นที่พอใจ

มีระบบการบริหารจัดการ ด้วยวิธีการ

– อบรมเรื่องสหกรณ์ กระบวนการกลุ่ม การบริหารและการจัดการองค์กร

– การรวมกลุ่มพบปะแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ข้อคิดความเห็น เกิดความใกล้ชิด ความไว้เนื้อเชื่อใจ ห่วงใยกัน

– การเลือกตัวแทนเข้าไปเป็นคณะกรรมการกลุ่ม – การประชุมกลุ่ม

การขับเคลื่อนเกษตรแปลงใหญ่ของอำเภอลอง

คุณปราณี เกษตรอำเภอลอง ได้กล่าวเสริมว่า เกษตรแปลงใหญ่ในส่วนของอำเภอลอง มีทีมผู้จัดการและคณะกรรมการกลุ่มร่วมกันดำเนินงาน ประกอบด้วย

ทีมผู้จัดการแปลงใหญ่

คุณปราณี สุวรรณชัย เกษตรอำเภอลอง ทำหน้าที่ ผู้จัดการแปลงใหญ่
คุณลินดา เรืองจันทร์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ เป็นผู้ช่วย คณะกรรมการกลุ่มแปลงใหญ่ ตำแหน่งต่างๆ

คุณพร บัวบุตร ประธาน
คุณสุนทร หอมนาน รองประธาน
คุณสมพร ดวงจันทร์ เลขานุการ
คุณจเร ปัญญากอง เหรัญญิก
คุณไวเพชร จันทร์สา ประชาสัมพันธ์ และกรรมการร่วมอีก 10 ท่าน
คุณปราณี กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้จัดการแปลงใหญ่อยู่ระหว่างการถ่ายทอดภารกิจงานให้แก่เกษตรกรให้เป็นผู้จัดการแปลงคนต่อไป โดยผู้จัดการแปลงควรเป็นคนในพื้นที่แปลงใหญ่ ซึ่งจะรู้จักคุ้นเคยกับเกษตรกรด้วยกันดี เข้าใจปัญหาการผลิตและความต้องการของเกษตรกร มีความรู้การบริหารการผลิตและการตลาด ที่สำคัญต้องมีความซื่อสัตย์ เสียสละ กล่าวโดยสรุปก็คือ ต้องการผู้จัดการแปลงมืออาชีพนั่นเอง

นอกจากนี้ การขับเคลื่อนเกษตรแปลงใหญ่ ยังมีแหล่งเรียนรู้ด้านเทคโนโลยี คือศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ด้วยการกำหนดหลักสูตรเกษตร การพัฒนาและส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่

“ด้วยความมุ่งมั่นของทุกฝ่าย คาดหวังว่ารูปแบบเกษตรแปลงใหญ่ส้มเขียวหวานอำเภอลอง จะได้พัฒนาให้เป็น Smart farming และ Smart group เพื่อขับเคลื่อนไปสู่การเป็นเกษตรแปลงใหญ่ Smart product”

จากแปลงใหญ่ส้มเขียวหวานอำเภอลอง ผมไปพบเกษตรอำเภอวังชิ้น ตามที่ได้นัดหมายกันไว้ และท่านร่วมกับเจ้าหน้าที่ได้นำพาผมไปดูแปลงใหญ่ส้มเขียวหวาน ที่ตำบลนาพูน แต่ก่อนลงพื้นที่ได้สนทนา ซักถามข้อมูลกันก่อน ที่สำนักงานเกษตรอำเภอวังชิ้น สิบตำรวจตรีสมจิต ฟูบินทร์ เกษตรอำเภอวังชิ้น ได้ให้ข้อมูลในเบื้องต้นว่า ท้องที่อำเภอวังชิ้น มีพื้นที่ปลูกส้มเขียวหวานทั้งหมด 13,715 ไร่ จำนวนเกษตรกร 1,956 ครัวเรือน แต่ที่เข้ารวมกลุ่มเป็นเกษตรแปลงใหญ่ มีสมาชิกจากหมู่บ้านต่างๆ ในตำบลนาพูน ได้แก่ หมู่ที่ 3, 4, 5 และ 11 จำนวน 53 ราย หรือผืนพื้นที่ 510 ไร่

ณ แปลงเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตส้มเขียวหวานโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ คณะที่มาถึงแปลงส้มได้ร่วมสนทนากันในประเด็นต่างๆ กับเกษตรกรเจ้าของแปลงคือ คุณลุงมนู กาญจนะ อายุ 66 ปี อยู่บ้านเลขที่ 244 หมู่ที่ 4 ตำบลนาพูน อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ โทร. (086) 183-9626 ท่านเป็นประธานกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ และเป็นประธานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก. อำเภอวังชิ้น) กับรางวัลต่างๆ มากมาย ล่าสุดได้รับรางวัลปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ระดับจังหวัดแพร่ ปี 2561 คุณลุงมนู บอกว่า ปลูกส้มเขียวหวานมาตั้งแต่ ปี 2532 ในพื้นที่ 24 ไร่ นับจำนวนต้นส้มได้ 1,500 ต้น ปีที่แล้วเก็บผลผลิตขาย 40 ตัน

คุณลุงมนู เล่าต่อไปว่า ก่อนเข้าร่วมเกษตรแปลงใหญ่ผ่านการอบรมอะไรมาบ้าง และมีการดูแลแปลงส้มเขียวหวานแตกต่างไปจากวิธีการเดิมอย่างไร “โอ้!…ลุงไปอบรม ไปดูงานมาหลายแห่ง ทั้งจังหวัดน่าน สุโขทัย เชียงใหม่ ปทุมธานี ไปดูว่าเขาดูแลส้มอย่างไร ส้มเขาจึงมีชื่อเสียง อบรมมาก็หลายเรื่อง ทั้งเกษตรอินทรีย์ GAP การตรวจวิเคราะห์ดิน ปุ๋ยสั่งตัด บัญชีครัวเรือน บัญชีฟาร์ม นี่เท่าที่จำได้นะ ส่วนการดูแลแปลงส้มนั้น ลุงมีประสบการณ์มาก่อนแล้ว ใช้ภูมิปัญญาดั้งเดิมมาผสมผสานกับวิชาการเกษตร ทำไปแล้วก็รู้สึกว่าผลผลิตส้มดีขึ้น ที่อยากจะบอกก็เช่น ปรับปรุงระบบน้ำในแปลงส้ม จากเดิมใช้สายยาง แต่ปัจจุบันวางระบบการให้น้ำด้วยสปริงเกลอร์ทั้งสวน แม้จะลงทุนสูงแต่ระยะยาวคุ้ม ประหยัดแรงงาน ต้นส้มได้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ดินรอบๆ โคนต้นส้มลุงก็ใช้ฟางข้าวหว่านรอบๆ เรียกว่าห่มดินด้วยฟาง ปุ๋ยเคมีลุงไม่ได้ใช้ ใช้ปุ๋ยหมัก พด.1 วัตถุดิบจากขี้วัว กากอ้อย ขี้เถ้าแกลบจากโรงไฟฟ้าชีวมวล ไม่ใช้สารเคมี ใช้น้ำหมักสมุนไพรจากวัตถุดิบที่ปลูกในสวน มีทั้งหัวกลอย ขมิ้นชัน ไพล พริกไทย ดีปลี พริก ฟ้าทลายโจร บอระเพ็ด ไหลแดง สะเดา หนอนตายหยาก ตะไคร้หอม…โอ!…สาธยายไม่หมด เดี๋ยวลุงจะพาไปดู”

เมื่อถามต่อ เมื่อเกษตรกรรวมกันเป็นกลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ คุณลุงมนูในฐานะเป็นประธานกลุ่ม มีความเห็นว่า เกิดผลกระทบอย่างไรบ้าง ในชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกร คุณลุงมนู กล่าวว่า มีความเป็นกลุ่มก้อนมากขึ้นกว่าเดิม จากเดิมต่างคนต่างอยู่ ขาดความสามัคคี มีอะไรก็ปรึกษากัน ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน มีปัญหาก็ช่วยกันแก้ไข ทางราชการจะส่งเสริมหรือช่วยเหลืออะไรก็ง่ายมาที่กลุ่ม

“ลุงภูมิใจที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารกลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ ลุงบริหารงานกลุ่มด้วยความโปร่งใส” คุณลุงมนู กล่าวพร้อมกับรอยยิ้ม

จากนั้นได้ร่วมกันสรุปบทเรียนทั้ง 5 ด้าน ว่ามีวิธีการใด ที่กลุ่มเกษตรแปลงใหญ่อำเภอวังชิ้น ได้ดำเนินการอยู่ ดังนี้สามารถลดต้นทุนการผลิตส้มเขียวหวาน ได้ด้วยวิธีการ

– ใช้ปุ๋ยหมักด้วยกันทั้งกลุ่ม ตั้งแต่ผลิตร่วมกัน แบ่งปันกัน นำไปใช้ในแปลงปลูก

– ใช้น้ำหมักชีวภาพ พด.2 และน้ำหมักสมุนไพรไล่แมลง พด.7

– ไม่ใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช แต่ใช้วิธีตัดหญ้านำมากองทำปุ๋ยธรรมชาติ แล้วใช้น้ำหมักชีวภาพจาก พด.2 ราดให้สลายกลายเป็นปุ๋ย

– ปรับปรุงระบบน้ำจากเดิมมาเป็นระบบสปริงเกลอร์ทำให้ทุ่นเวลา แรงงาน

– ปลูกพืชแซมระหว่างต้นส้ม เช่น น้อยหน่า พริก ฟักทอง เป็นต้น เพิ่มผลผลิตส้มเขียวหวาน ได้ด้วยวิธีการ

– ตัดแต่งกิ่งในระดับปานกลาง ตามหลักวิชาการเกษตร

– ใช้น้ำหมักสมุนไพรไล่แมลง

– ใช้ความรู้เดิม ภูมิปัญญาเดิม เสริมกับวิชาการเกษตรและเทคโนโลยีการเกษตร จากการไปศึกษาดูงานด้วยการดูแลเอาใจใส่แปลงส้ม เพื่อให้ได้รูปทรงที่ดี ควบคุมปริมาณด้วยการเด็ดผลออกบ้าง เพื่อไม่ให้เกิดการแย่งธาตุอาหาร ผลส้มเขียวหวานจะสมบูรณ์ ได้น้ำหนัก ควบคุมคุณภาพสีผิว รสชาติตามที่ตลาดต้องการ

สามารถพัฒนาคุณภาพส้มเขียวหวาน ด้วยวิธีการ

– ทดลองโดยการแบ่งพื้นที่ปรับเปลี่ยนจากระบบเดิมสู่เกษตรอินทรีย์

– การผลิตส้มตามระบบเกษตรดีที่เหมาะสม หรือ GAP

– ดูแลเรื่องการจัดการน้ำให้ส้มได้รับในปริมาณที่เพียงพอและสม่ำเสมอ

พัฒนาการตลาดส้มเขียวหวาน ด้วยวิธีการ

– ใช้ชื่อเสียงของส้มวังชิ้นที่เป็นที่รู้จักในนามส้มปลอดสารในวงกว้างเป็นจุดขาย จึงมีกลุ่มต่างๆ นักท่องเที่ยว เข้าไปซื้อถึงในพื้นที่

– เฉพาะผลผลิตรายที่ผลิตส้มเขียวหวานปลอดสาร ผลผลิตจะขายผ่านทางสื่อออนไลน์

– ร่วมกันวางแผนในกลุ่มให้แก้ไขเรื่องปริมาณและคุณภาพให้ผู้ซื้อมาติดต่อ ณ จุดเดียว ที่กลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ ไม่ต้องติดต่อซื้อจากสมาชิกรายคนเช่นแต่ก่อน มีระบบบริหารจัดการ ด้วยวิธีการ

– มีการประชุมกลุ่มสมาชิกทุกเดือน มีการจดบันทึกการประชุม

– มีการเลือกตั้งคณะกรรมการกลุ่ม เข้าไปบริหารงานแทนมวลสมาชิก และมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ

– มีการบริหารเงินทุนด้วยการระดมทุนเป็นหุ้น

– บริหารจัดการด้วยระบบข้อมูล ข้อมูลสมาชิกและข้อมูลกลุ่ม

– จัดทำบัญชีกลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ และบัญชีฟาร์ม บัญชีครัวเรือน สำหรับสมาชิกทุกคน การขับเคลื่อนเกษตรแปลงใหญ่ของอำเภอวังชิ้น

สิบตำรวจตรีสมจิต ได้กล่าวว่า ในส่วนของอำเภอวังชิ้น มีทีมผู้จัดการและคณะกรรมการกลุ่มแปลงใหญ่ประกอบด้วย

สิบตำรวจตรีสมจิต ฟูบินทร์ เกษตรอำเภอวังชิ้น ทำหน้าที่ ผู้จัดการแปลงใหญ่
คุณแพงมณี ขัดนันตา นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ เป็นผู้ช่วย
คณะกรรมการกลุ่มแปลงใหญ่ ตำแหน่งต่างๆ

คุณมนู กาญจนะ ประธาน
คุณแสวง สีแก้ว รองประธาน
คุณพัทธนันท์ ธาดิษฐภักดีพงษ์ เลขานุการ
คุณสมควร อ่อนจา เหรัญญิก และกรรมการร่วมอีก 11 ท่าน
สิบตำรวจตรีสมจิต ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า “การส่งเสริมงานในส่วนของสำนักงานเกษตรอำเภอวังชิ้น เพื่อให้กลุ่มเกษตรแปลงใหญ่มีความเข้มแข็ง ได้ดำเนินการให้มีระบบส่งเสิรมการเกษตรที่ยึดเอาพื้นที่เป็นหลัก โดยมีการดำเนินงานในรูปแบบการบูรณาการระหว่างแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นหลัก ทั้งเอกชน และส่วนราชการ ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตรมีบทบาทสำคัญในการดำเนินการ โดยมีเกษตรอำเภอเป็นผู้จัดการแปลง ซึ่งจะทำหน้าที่บริหารจัดการพื้นที่ วางแผนการดำเนินงานร่วมกับประธานและคณะกรรมการของแปลงใหญ่ ภายใต้เป้าหมายการพัฒนา 5 ด้าน ได้แก่ 1. ลดต้นทุนการผลิต 2. เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต 3. พัฒนาคุณภาพสินค้า 4. การตลาด 5. การบริหารจัดการ”

การดำเนินการส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ส้มเขียวหวานของทั้ง 2 อำเภอ ได้ขับเคลื่อนกันมาได้เพียง 2 ปี กล่าวได้ว่า มีผลการดำเนินงานที่ก่อเกิดประโยชน์ให้แก่สมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่ได้ในระดับหนึ่ง แม้การผลิตส้มเขียวหวานของทั้ง 2 อำเภอ จะมีปัจจัยเสี่ยงในด้านดิน ฟ้า อากาศ และองค์ความรู้ของเกษตรกรเอง แต่ทั้งหลายทั้งปวงเกิดขึ้นได้ด้วยความร่วมมือหลายฝ่ายในการบูรณาการแบบการมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง จริงใจ ทั้งภาคราชการ เกษตรกรและภาคเอกชน และหากจะให้ดียิ่งขึ้น ภาคเอกชน โดยเฉพาะสมาคมผู้ค้าสินค้าทางการเกษตรควรอย่างยิ่งที่จะเพิ่มภารกิจเข้าไปมีส่วนร่วมให้คำแนะนำ พัฒนาความรู้แก่เกษตรกรผู้ปลูกส้มเขียวหวาน ศึกษาวิจัยทางการเกษตร เพื่อยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ รายได้ ความยั่งยืนในอาชีพเกษตรกรรม

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเกษตรอำเภอลอง โทร. (054) 581-486 และสำนักงานเกษตรอำเภอวังชิ้น โทร. (054) 589-115 มะละกอ เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะมะละกอรับประทานผลดิบ ที่เป็นวัตถุดิบหลักของ “ส้มตำ” เมนูที่ได้รับความนิยมสูงสุดทั่วทั้งประเทศ ทำให้สัดส่วนความต้องการมะละกอผลดิบมีมาก แต่ในแง่ของการผลิต เกษตรกรยังต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ ทั้งโรคระบาด สภาพอากาศที่แปรปรวน เมล็ดพันธุ์ด้อยคุณภาพ ตลอดจนปัญหาการปนเปื้อนของสายพันธุ์ที่ไม่ต้องการ ทั้งหมดล้วนส่งผลทั้งต่อปริมาณ คุณภาพ และตลาดโดยตรง ด้วยเหตุนี้ บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด หรือที่รู้จักกันในชื่อ “ศรแดง” จึงได้พัฒนามะละกอ “พันธุ์ส้มตำ 90” ขึ้นมา เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น

คุณละไม ยะปะนัน ผู้จัดการงานพัฒนาธุรกิจ บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด (ประเทศไทย) และในฐานะนักปรับปรุงพันธุ์ ให้ข้อมูลว่า เป้าหมายของการพัฒนามะละกอพันธุ์ส้มตำ 90 ก็เพื่อแก้ปัญหาด้านการผลิตให้กับเกษตรกร ซึ่งเกษตรกรจะได้มีโอกาสเข้าถึงสายพันธุ์ใหม่ๆ ที่ให้ผลผลิตที่ดี มีคุณภาพตรงตามของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ขณะเดียวกันต้องปลูกและจัดการดูแลง่ายด้วย

คัดเลือกกว่า 100 สายพันธุ์ ใช้เวลานาน 15 ปี ได้มะละกอพันธุ์ดี “ส้มตำ 90”

“มะละกอพันธุ์ส้มตำ 90 ใช้เวลาการปรับปรุงพันธุ์นานถึง 15 ปี เนื่องจากช่วงอายุที่เริ่มเก็บเมล็ดพันธุ์มาปลูกต่อได้ต้องใช้เวลาถึง 1 ปีครึ่ง ดั้งนั้น 1 ปี จะได้ผลผลิตที่นำมาขยายพันธุ์ต่อได้เพียง 1 รุ่น เท่านั้น และการที่จะพัฒนาพันธุ์ทั้งฝั่งของพ่อและแม่พันธุ์เพื่อให้เป็นสายพันธุ์แท้ ตรงนี้ใช้ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 12 ปีแล้ว จากนั้นก็นำพ่อแม่พันธุ์มาผลิตสายพันธุ์เพื่อการค้าที่มีลักษณะตรงตามความต้องการ และสุดท้ายก็ได้มะละกอพันธุ์ส้มตำ 90 ขณะนี้ขึ้นทะเบียนพันธุ์กับกรมวิชาการเกษตรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว” ผู้วิจัยบอก

“สำหรับ มะละกอพันธุ์ส้มตำ 90 มีสัดส่วนของต้นกะเทยสูงถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ช่วยให้เกษตรกรประหยัดค่าเมล็ดพันธุ์ลงไปได้มาก รวมทั้งค่าการจัดการดูแลในช่วงแรกด้วย เพราะหากเกษตรกรปลูก จำนวน 100 ต้น โดยใช้เมล็ดพันธุ์หลุมละ 1 ต้น ก็ทำให้ได้ต้นกะเทยแน่นอน 90 ต้น ซึ่งก็เป็นสัดส่วนที่พอรับได้ หรือลงปลูก หลุมละ 2 ต้น เพื่อให้แน่ใจว่าจะได้ต้นกะเทย 100 เปอร์เซ็นต์ ทั้งแปลงก็ได้ แต่อย่างไร พันธุ์ส้มตำ 90 ก็ยังใช้เมล็ดพันธุ์และปัจจัยการผลิตน้อยกว่าพันธุ์การค้าอื่นอยู่ดี” คุณละไม กล่าว

เทคนิคการปลูก-ดูแล ไม่ยาก

คุณอดิศักดิ์ รักษาก้านตรง ผู้ดูแลการผลิตฝ่ายไร่ แนะเทคนิควิธีการปลูกว่า ให้เริ่มต้นจากการเพาะกล้า จะมีการบ่มเมล็ดก่อน และหยอดลงถาดเพาะขนาดเล็ก เมื่อดูแลต้นได้ครบ 1 เดือน จะมีการย้ายลงถาดที่ใหญ่กว่าเดิม หลังจากนั้นพอต้นได้ไซซ์จึงจะย้ายปลูกลงดิน

ขั้นตอนการเตรียมแปลง

สำหรับแปลงที่ต้องเตรียม ก่อนย้ายกล้าปลูก 1 สัปดาห์

ยกร่องสูง 70 เซนติเมตร

แปลงกว้าง 2.5 เมตร ระยะห่างระหว่างต้น 2 เมตร

ก่อนปลูก จะมีการให้น้ำ 1 ครั้ง ก่อน เพราะว่าในระบบฟาร์ม ใช้ระบบน้ำหยด 100 เปอร์เซ็นต์ คือจะมีการให้น้ำก่อนครึ่งวัน เพื่อให้ความชื้นลงลึก หลังจากนั้นช่วงบ่ายสามจะเริ่มปลูก วิธีการปลูก

ทำหลุมมีการกลบโคน เพราะถ้าไม่กลบโคนต้นเวลามีความชื้นต้นมะละกอจะเอียง เอียงแล้วจะมีปัญหา คือจะต้องเสียเวลาเอาไม้มาปักกันต้นเอียง นับว่าเสียเวลา

เมื่อเริ่มย้ายปลูกได้ประมาณ 7-8 วัน จะเริ่มใส่ปุ๋ย

ปุ๋ยชุดแรกคือ 15-0-0 ใช้อัตราส่วน 3-4 กรัม ต่อต้น

หลังจากที่ให้ปุ๋ย ประมาณ 10 วัน ก็จะมีการเพิ่มปุ๋ย 15-15-15 และยังต้องผสมกับปุ๋ย สูตร 15-0-0 อยู่ที่ประมาณ 7-8 กรัม คือปุ๋ยจะให้ทุกวัน ให้ไปกับระบบน้ำหยดและปล่อยน้ำตามอีก 25 นาที ต่อวัน

เมื่อถึงช่วงระยะเริ่มออกดอก จะเปลี่ยนปุ๋ยเป็น สูตร 14-14-21 พอลูกเริ่มเยอะแล้ว ใบเริ่มเล็กลง ก็จะมีการเพิ่มปุ๋ย 15-15-15 เข้ามาอีกรอบหนึ่ง เพื่อที่จะเน้นใบขึ้น

หลังจากนั้น ให้ปุ๋ย 14-14-14 จนถึงเก็บเกี่ยว เว็บบอล UFABET อัตราที่เพิ่มขึ้นอยู่กับพื้นที่ ถ้าสมมุติว่า พื้นที่ดินของเรามีธาตุอินทรียวัตถุก็ไม่จำเป็นต้องใส่ 15-20 กรัม แต่ของเราตอนนี้อยู่ที่ 15 กรัม ต่อต้น ต่อ 1 สัปดาห์ ระบบน้ำ

ตอนเช้าให้ปุ๋ย ช่วงบ่ายให้น้ำ ช่วงเริ่มปลูกให้น้ำ 300 ซีซี และค่อยๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนได้ 1,500-3,000 ซีซี วิธีการดูแลและป้องกันโรคแมลง-กำจัดวัชพืช

มะละกอ เป็นพืชที่มีปัญหาเรื่องโรคแมลงเยอะ แต่ถ้าหากดูแลพ่นยาทุกสัปดาห์ไว้ก่อนจะช่วยได้มาก ระยะเวลาการพ่น ให้เริ่มพ่นยาหลังย้ายกล้า 7-8 วัน

การกำจัดวัชพืช ใช้ยาคุมอาลาคลอร์ ใช้การพ่นก่อนที่จะขุดหลุมปลูกอย่างต่ำ 10 วัน คือพ่นยาคุมไว้ก่อน และหลังจากที่ยาคุมอยู่ในหลุมหมดฤทธิ์ ให้ใช้ตัวเผาไหม้ลง เมื่อเผาไหม้เสร็จกิ่งมะละกอจะเริ่มออก กลายเป็นร่ม หญ้าก็จะไม่ค่อยขึ้นแล้ว

มะละกอส้มตำ 90 ถือเป็นพืชที่ดูแลง่าย ให้ผลดกมากหากเทียบกับต้นทุนถือว่าน้อยมาก เพราะต้นค่อนข้างมีความสมบูรณ์อยู่แล้ว ถ้าดูแลดีผลผลิตจะออกมาเรื่อยๆ แต่ถ้าได้ลูกแล้วไม่ดูแลให้ดีๆ ก็จะให้ลูกแค่ครั้งเดียว ถ้าอยากได้ปริมาณเยอะต้องดูแลอย่างดี ผลผลิตถูกใจเกษตรกร ผลดก ลูกใหญ่ ทนทานโรค ปลอด GMO

คุณอิสระ วงศ์อินทร์ ผู้จัดการฝ่ายขายและการตลาด กล่าวว่า มะละกอส้มตำ 90 เริ่มต้นเปิดตัวเมื่อเดือนพฤษภาคม 2561 ที่ผ่านมา มีเมล็ดวางจำหน่าย โดยเน้นไปถึงนวัตกรรมของมะละกอส้มตำ 90 ในเรื่องของการทนทานต่อโรคไวรัสวงแหวนสูง ซึ่งเป็นปัญหาหลักของเกษตรกร และถือว่ามะละกอส้มตำ 90 เป็นพันธุ์แรกในโลกที่สามารถปลูกแล้วเป็นพันธุ์กะเทยกว่า 90 เปอร์เซ็นต์

“ขอยืนยันว่า พันธุ์ที่นำมาปรับปรุงปลอด GMO โดยการทำตลาดช่วงแรกในเดือนมิถุนายนเป็นต้นไป หลังจากมีเมล็ดจำหน่ายเราจะให้ทางเจ้าหน้าที่ไปตลาดหลักๆ เช่น นครสวรรค์ กำแพงเพชร ปทุมธานี เพื่อจัดทำแปลงเดโมให้เกษตรกรได้รู้ถึงลักษณะจุดเด่นของพันธุ์ ว่าดีอย่างไร มีวิธีการปลูกแบบไหน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้เกษตรกรต่อไป” คุณอิสระ กล่าวทิ้งท้าย