รูปทรง อาร์ทูอีทู มีลักษณะทรงกลม มีน้ำหนักผลเฉลี่ย 500 กรัม

ถึง 1 กิโลกรัม ความยาวของผลเฉลี่ย 10-12 เซนติเมตร และความกว้างของผลเฉลี่ย 77 มิลลิเมตร สีผิวเขียวอมเหลือง และส้มอมแดง สีเนื้อเมื่อสุกมีสีเหลืองมะนาว ลักษณะผลของเนื้อ เสี้ยนน้อย เนื้อแข็ง รสชาติหวาน รับประทานอร่อยและไม่มีกลิ่นขี้ไต้

ลักษณะของต้น
อาร์ทูอีทู เป็นไม้ยืนต้นที่มีความสูงปานกลางถึงสูงมาก ลักษณะเป็นทรงพุ่ม กิ่งเปราะและหักง่าย หลังจากการเพาะปลูกต้นมะม่วงอาร์ทูอีทูจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และเริ่มให้ผลผลิตตั้งแต่ ปีที่ 2 เป็นต้นไป แต่จะปล่อยให้ติดผลจำนวนมากในปีที่ 4 เป็นต้นไป เนื่องจากทรงพุ่มจะใหญ่สมบูรณ์แล้ว ลักษณะของดอกมะม่วงอาร์ทูอีทูมีความยาวของช่อดอก 20-50 เซนติเมตร ความกว้างของช่อดอก 10-20 เซนติเมตร ความหนาแน่นของขนมีน้อยมากหรือไม่มีเลย สีของดอกมีสีแดงด้านๆ และมีเปอร์เซ็นต์ของดอกสมบูรณ์เพศเป็นจำนวนมาก ทำให้มีการติดผลได้ง่ายกว่ามะม่วงพันธุ์อื่น

การปลูกและการตัดแต่งกิ่ง
ถึงแม้ว่า อาร์ทูอีทู จะเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เราสามารถปลูกอาร์ทูอีทู ระยะปลูกที่เหมาะสมคือ 6×8 เมตร (ระยะระหว่างต้น 6 เมตร และระยะระหว่างแถว 8 เมตร) ปลูกได้ประมาณ 33 ต้น ต่อ 1 ไร่

วิธีการปลูก ในการปลูกนั้นเมื่อขุดหลุมเตรียมไว้เรียบร้อยแล้ว ก็จะกลบดินที่ผสมปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอกให้พูนสูงกว่าระดับดินเดิม 10-20 เซนติเมตร นำกิ่งพันธุ์มะม่วงมาปลูก โดยตรวจสอบว่ากิ่งพันธุ์นั้นมีรากขดกันเป็นก้อนที่เรียกว่ารากขัดสมาธิหรือไม่ ถ้ามีต้องตัดออกก่อน เพราะจะทำให้ระบบรากไม่แผ่กระจายออก ทำให้ต้นแคระแกร็น

จากนั้นเจาะหลุมและนำมะม่วงต้นกล้าลงปลูก โดยให้รอยแผลของกิ่งทาบอยู่เหนือดิน ใช้ไม้ไผ่ปักแล้วใช้เชือกมัดยึดกับลำต้นเพื่อกันลมโยก ถ้าแสงแดดจัดอาจพรางแสงด้วยวัสดุต่างๆ เช่น ทางมะพร้าว โดยพรางแสงแดดทางทิศตะวันตก เพราะในช่วงบ่ายที่อุณหภูมิของวันจะสูงที่สุด สำหรับผ้าพลาสติกพันรอยทาบควรนำออกหลังจากการปลูกไปแล้ว 2-3 เดือน เพื่อป้องกันรอยทาบจะแยกจากกัน เมื่อปลูกเสร็จแล้วใช้มือกลบดินบริเวณโคนกิ่งให้แน่น แล้วรดน้ำให้ชุ่ม เพื่อให้ดินจับแน่นกับราก ปกติแล้วการปลูกมะม่วงจะทำในฤดูฝน ซึ่งสภาพอากาศชุ่มชื้น แต่ถ้าหากหลังจากปลูกไปแล้วฝนไม่ตก จำเป็นจะต้องรดน้ำทุก 2-3 วัน

เมื่อมะม่วงตั้งตัวได้ก็สามารถขยายระยะการให้น้ำเป็น 3-5 วัน ต่อครั้ง และ 7-10 วัน ต่อครั้ง ตามลำดับโดยสังเกตต้นมะม่วงว่า มีอาการเหี่ยวเฉาหรือดินแห้งหรือไม่ และเมื่อผ่านพ้นปีแรกไปแล้ว อาจจะให้น้ำทุก 15-20 วัน เพื่อไม่ให้ต้นมะม่วงชะงักการเจริญเติบโต ซึ่งปกติแล้วในสภาพพื้นที่ยกร่องจะมีปัญหาน้อยกว่าที่ดอน เนื่องจากระดับน้ำใต้ดินสูงในการตัดแต่งกิ่งและจัดทรงพุ่มมะม่วงอาร์ทูอีทู

โดยมะม่วงอาร์ทูอีทูเป็นพันธุ์มะม่วงที่โตเร็วมากในช่วง 2-3 ปีแรก ถ้าต้นไม่ได้รับการตัดแต่งกิ่ง ต้นจะสูงมากและให้ผลน้อยลง ในช่วง 2 ปีแรก ต้นมะม่วงต้องได้รับการตัดแต่งกิ่ง 2-3 ครั้ง ต่อปี เพื่อให้กิ่งก้านอยู่ในรูปทรงที่ดี เพื่อจะรองรับน้ำหนักของผลผลิตในช่วงปีต่อๆ ไป เนื่องจากอาร์ทูอีทูมีการเจริญเติบโตในแนวสูง การแต่งกิ่งเพื่อลดความสูงจึงมีความจำเป็นมากในช่วงปีแรกๆ และการตัดแต่งกิ่งก็ยังต้องทำทุกปีหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตหมดจากต้น

การใส่ปุ๋ย “ปุ๋ยอินทรีย์” เป็นปุ๋ยที่ได้จากซากพืชซากสัตว์ ช่วยให้ดินโปร่งอากาศและน้ำซึมผ่านได้สะดวก แก้ไขดินเหนียวให้ร่วน ช่วยให้ดินทรายจับตัวกันดีขึ้น และทำให้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์เป็นประโยชน์ต่อต้นไม้มากขึ้น ปุ๋ยอินทรีย์มีธาตุอาหารทุกอย่างครบ แต่มีอยู่ในปริมาณต่ำ จึงควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยวิทยาศาสตร์จะเป็นประโยชน์ต่อต้นมะม่วงยิ่งขึ้น “ปุ๋ยเคมี” หรือ “ปุ๋ยวิทยาศาสตร์” เป็นปุ๋ยที่ได้จากสินแร่ในธรรมชาติหรือจากการสังเคราะห์ขึ้น ซึ่งปุ๋ยเหล่านี้จะให้ธาตุอาหารต่อน้ำหนักมากกว่าปุ๋ยอินทรีย์

ปริมาณปุ๋ยที่จะให้ในแต่ละต้นคิดเป็นจำนวนกิโลกรัมนั้น คำนวณได้จากอายุของต้นมะม่วงเป็นปี หารด้วยสองเท่ากับจำนวนปุ๋ยกิโลกรัมของปุ๋ย หรือใช้เส้นผ่าศูนย์กลางของพุ่มต้นมะม่วงเป็นเมตรเท่ากับจำนวนกิโลกรัมของปุ๋ยต่อต้นต่อปีก็ได้ การใส่ปุ๋ยมะม่วงในแต่ละระยะ ทำได้ดังนี้

ระยะหลังตัดแต่งกิ่ง ควรใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15 ต้นละ 2 กิโลกรัม เพื่อให้กิ่งก้านใบที่แตกออกมามีความสมบูรณ์ แข็งแรง และใส่ปุ๋ยคอก 4-5 บุ้งกี๋ ร่วมเข้าไปด้วย

ระยะก่อนหมดฤดูฝน คือช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม เป็นช่วงที่ต้องการให้มะม่วงหยุดการเจริญเติบโตทางกิ่งก้าน และเตรียมตัวสำหรับการออกดอก ระยะนี้ควรลดปริมาณปุ๋ยธาตุไนโตรเจนให้ต่ำลง

ถ้าเป็นดินร่วนหรือดินทราย แนะนำให้ใส่ปุ๋ย สูตร 8-24-24 แต่ในดินเหนียว แนะนำให้ใช้ สูตร 12-24-12 ต้นละ 2 กิโลกรัม ระยะก่อนออกดอก ระยะก่อนออกดอกแต่ยังไม่แทงดอก เป็นช่วงที่บางครั้งจะมีฝนหลงฤดูหรือในบางเขตที่ฝนหมดช้า จะให้ปุ๋ยทางใบเพื่อกดไม่ให้แตกใบอ่อน อาจใช้ปุ๋ย สูตร 0-52-34 ฉีดพ่น อัตรา 100-150 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 1-2 ครั้ง ห่างกัน 10-14 วัน

ระยะติดผล เมื่อผลมะม่วงติดผลขนาดหัวไม้ขีด จนถึงอายุ 12 สัปดาห์ จะเป็นช่วงที่ผลมะม่วงมีการเจริญเติบโตของผลอย่างรวดเร็ว ถ้าติดผลดกและอาหารไม่เพียงพอ ผลจะเล็กแคระแกร็น

ในระยะนี้แหล่งที่มีน้ำชลประทาน แนะนำให้ใส่ปุ๋ยทางดิน สูตร 15-15-15 อัตรา ต้นละ 1-2 กิโลกรัม แต่ในแหล่งที่ไม่มีน้ำ ให้ใช้ปุ๋ยทางใบ สูตร 21-21-21 ในอัตรา 2-3 ช้อนแกง ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 2 สัปดาห์ ประมาณ 5 ครั้ง

ระยะก่อนการเก็บเกี่ยว เป็นระยะที่เมล็ดของมะม่วงมีเปลือกหุ้มเมล็ดเริ่มแข็งขึ้น โดยทั่วไปเรียกว่า “เข้าไคล” อาจเพิ่มคุณภาพผลด้านความหวาน ความกรอบ โดยใช้ปุ๋ยทางใบ เช่น 13-0-46 หรือโพแทสเซียมคลอไรด์ 0-0-60 อัตรา 50 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 1-2 ครั้ง ห่างกัน 1 สัปดาห์ ก็ได้

มะม่วงพันธุ์อาร์ทูอีทูเป็นมะม่วงของประเทศออสเตรเลียที่ปลูกและให้ผลผลิตได้ในประเทศไทย แต่เป็นสายพันธุ์ที่บังคับให้ออกนอกฤดูได้ยากกว่าพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง แม้จะมีการใช้สารแพคโคลบิวทราโซล (เช่น แพนเทียม พลัส) ราดเพื่อบังคับก็ตาม แต่มีจุดเด่นตรงที่ถ้าออกดอกแล้ว ช่อดอกใหญ่และดอกสมบูรณ์เพศ ทำให้มีการติดผลได้ง่ายมาก หรืออาจจะกล่าวง่ายๆ ว่า ถ้าออกดอกแล้วโอกาสติดผลมีสูงมาก

การตลาด
ปัจจุบัน อาร์ทูอีทู เป็นมะม่วงที่มีความต้องการในตลาดค่อนข้างสูงในต่างประเทศ (เนื่องจากประเทศออสเตรเลียได้ทำตลาดเอาไว้แล้วทั่วโลก และผลผลิตจากทางออสเตรเลียจะมีน้อยหรือหมดฤดูกาลในช่วงเดือนเมษายน ในบ้านเราแนะนำว่า ควรจะผลิตมะม่วงอาร์ทูอีทูให้ออกก่อนฤดูกาลและในฤดูกาลจะดีที่สุด เพราะมะม่วงจากออสเตรเลียจะออกในช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์)

โดยปกติแล้ว อาร์ทูอีทู มีราคาสูงกว่ามะม่วงสายพันธุ์อื่น เนื่องจากสีที่แดงสวยสะดุดตา ผิวผลจะมีสีแดงเมื่อตอนติดผลโดนแสงแดด (ช่วงที่ผลโตเท่าผลส้มเขียวหวาน ก็จะต้องตัดแต่งกิ่งและใบที่บังผลให้ผลอ่อนมะม่วงอาร์ทูอีทูโดนแดดจัด) หรือถ้าจะห่อผลด้วยถุงห่อคาร์บอนชุนฟงในช่วงที่ขนาดผลเท่าผลส้มเขียวหวาน ผิวผลมะม่วงอาร์ทูอีทูก็จะเป็นสีเหลืองสวยมาก หรือห่อผลด้วยถุงกระดาษสีขาวของชุนฟง ผลมะม่วงอาร์ทูอีทูก็จะมีสีผิวออกเหลืองแต้มสีชมพู การที่จะห่อผลหรือไม่ห่อผลมะม่วงอาร์ทูอีทูนั้น จะขึ้นอยู่กับผู้ที่รับซื้อหรือผู้ส่งออก ก็ควรจะมีการติดต่อตกลงกับผู้ซื้อเอาไว้ล่วงหน้าจะดีที่สุด ซึ่งจะทำให้ชาวสวนมีทิศทางในการผลิตว่าสมควรที่จะไม่ห่อผลหรือห่อผลดีในฤดูกาลนั้นๆ

มะม่วงอาร์ทูอีทู มีอายุหลังการเก็บเกี่ยวนาน เนื่องจากเป็นมะม่วงที่มีเปลือกหนา และคุณภาพโดยรวม ทำให้มะม่วงสายพันธุ์นี้เหมาะสำหรับการส่งออก อาร์ทูอีทูได้ถูกส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น หลังจากใช้กระบวนการอบไอน้ำ เพื่อกำจัดแมลงวันทอง สำหรับประเทศไทย สวนวารินทร์ ซึ่งมี คุณวารินทร์ ชิตะปัญญา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง ได้ผลิตมะม่วงอาร์ทูอีทูเพื่อการส่งออกมานานกว่า 10 ปีแล้ว

คุณวารินทร์ เล่าว่า สายพันธุ์อาร์ทูอีทูนั้นมาจากประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเกษตรกรที่ประเทศออสเตรเลียได้พัฒนาสายพันธุ์นี้ขึ้นมา เพราะในอนาคตคนจะลดปริมาณการรับประทานอาหารที่มีรสหวานน้อยลง เพราะต่างประเทศนั้นจะไม่นิยมรับประทานอาหารที่มีรสหวานมากๆ ซึ่งมะม่วงพันธุ์อาร์ทูอีทูจะมีรสชาติหวานน้อยกว่ามะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ (มะม่วงอาร์ทูอีทูสุก วัดค่าความหวานได้ ประมาณ 18 เปอร์เซ็นต์บริกซ์ ในขณะที่มะม่วงน้ำดอกไม้สุก วัดได้ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์บริกซ์) จึงคิดว่าน่าจะปลูกเพื่อการส่งออกต่างประเทศจะดีกว่า

มะม่วงพันธุ์อาร์ทูอีทู จึงเป็นมะม่วงสำหรับคนยุคใหม่และคนจีนนิยมเลือกซื้อ เพราะผิวพรรณของมะม่วงสวย เนื้อไม่เละจนเกินไป และสีผิวจะออกสีแดงอมชมพูมองดูน่ารับประทาน แล้วคนจีนยังจะชอบนำไปไหว้เจ้า ซึ่งช่วงเวลาที่จีนต้องการผลผลิตมาก เช่น ก่อนตรุษจีน ช่วงเดือนเมษายน ช่วงวันชาติจีน ช่วงวันไหว้พระจันทร์ คนจีนถือว่าวันสำคัญๆ เหล่านี้ เป็นวันที่ต้องใช้ผลไม้ที่มีคุณภาพสูงของดีเพื่อไหว้บรรพบุรุษ อีกทั้งนำไปเป็นของขวัญของฝาก

“แป๊ะก๊วย” เมล็ดสีเหลืองๆ คล้ายหยดน้ำ เป็นพืชพรรณดึกดำบรรพ์ ที่มีมาตั้งแต่ 270 ล้านปีในยุคเพอร์เมียน ก่อนไดโนเสาร์ครองโลก ในยุคมีโซโซอิก (Mesozoic) เสียอีก

คนจีนกับ “แป๊ะก๊วย ”
ชาวจีนผูกพันกับต้นแป๊ะก๊วยมายาวนานไม่ต่ำกว่า 2,800 ปี โดยนำเมล็ดแป๊ะก๊วยที่เรียก เป๋ยกัว (Bai Guo) หรือ หยิน ซิง (Yin Xing) มารับประทานและใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาโรคบางอย่าง เช่น โรคหืด โรคจากความหนาวเย็นที่เกิดตามนิ้วมือ นิ้วเท้า ส่วนชาวญี่ปุ่นนิยมอบเมล็ดแป๊ะก๊วยเพื่อรักษาอาการลมพิษ

แป๊ะก๊วย มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น กิงโก้ (Gingko) ต้นเฟิร์นก้านดำ (Maidenhair tree) ต้นบ๊วยสีเงิน Japanese silver apricot, ต้นคิว (Kew tree) เนื่องจากต้นแป๊ะก๊วยจะออกดอกตกผลใช้เวลานาน คนปลูกไม่ได้กิน คนกินไม่ได้ปลูก จึงถูกเรียกว่า ต้นปู่-หลาน (Kung Sun Shu) ในศตวรรษที่ 17

ในภาษาอังกฤษ ต้นแป๊ะก๊วย ถูกเรียกว่า กิงโกะ หรือ เฟิร์นก้านดำ (maidenhair tree) เนื่องจาก รูปทรงของใบแป๊ะก๊วย เหมือนกับใบเฟิร์นก้านดำที่มีลักษณะคล้ายพัด เนื่องจากต้นแป๊ะก๊วยตามธรรมชาติอยู่ในสภาวะเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์เช่นเดียวกับ แพนด้ายักษ์ ทำให้แป๊ะก๊วยได้สมญาอีกอย่างว่า แพนด้ายักษ์แห่งมวลพฤกษา “Giant panda of plants” นั่นเอง เมื่อปี พ.ศ. 2402 นักสำรวจชาวอมเริกัน นาย เอฟ. เมเยอร์ (F. Meyer) ได้ค้นพบซากฟอสซิลแป๊ะก๊วยในจีน ชาร์ล ดาร์วิน จึงเรียกชื่อแป๊ะก๊วยว่า “ต้นไม้ฟอสซิลที่มีชีวิต (Fossil Tree )”

ลักษณะพฤกษศาสตร์
แป๊ะก๊วย เป็นพืชอยู่ในวงศ์ Ginkgoaceae จัดเป็นสกุลพืชที่มีอายุมากที่สุดของพืชมีเมล็ดทั้งหมด คนมักจะเข้าใจว่าแป๊ะก๊วยเป็นพืชดอก แต่แท้จริงเป็นพืชไม่มีดอก คือ จิมโนสเปิร์ม เหมือนปรง สน เพราะเปลือกหุ้มเมล็ดที่อวบอ่อนนุ่ม ทำให้คิดว่าเป็นผล

แป๊ะก๊วย เป็นพืชที่มีทั้งต้นตัวผู้และต้นตัวเมีย ดอกตัวผู้จะออกเป็นช่อ ส่วนดอกตัวเมียออกเป็นกระจุกบริเวณปลายกิ่ง ใน 1 ดอก จะมีไข่ 2 อัน แป๊ะก๊วยต้นตัวผู้ออกดอกเป็นช่อสีเหลือง คล้ายหางกระรอก ติดอยู่ตรงปลายของกิ่งสั้น มากถึง 6 ช่อ ดอกตัวผู้สร้างละอองเกสรในระหว่างเดือนเมษายนจนถึงเดือนพฤษภาคม แล้วอาศัยแรงลมพัดพาไปสู่ดอกตัวเมียบนต้นตัวเมีย ต้นตัวผู้ออกดอกเป็นช่อมีสีเหลือง ช่อยาว 1.2-2.2 เซนติเมตร

ช่อดอก อยู่ส่วนปลายของกิ่งสั้น ดอกตัวผู้ผลิตละอองเกสรช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม ละอองเกสรตัวผู้ (รูปร่างคล้ายเรือ) จะถูกลมพัดไปที่ดอกที่ต้นตัวเมีย ต้นตัวเมียมีดอกตัวเมียเป็นดอกเดี่ยวหรือออกเป็นคู่ มีความยาวประมาณ 5 เซนติเมตร ตรงปลายก้านภายในดอกมีไข่อ่อนเจริญอยู่สองใบ เมื่อมีการปฏิสนธิเกิดขึ้น ไข่อ่อนจะเจริญต่อไปเป็นเมล็ดที่ติดอยู่ที่กิ่งหรือแผ่นใบไข่อ่อนนี้เป็นผลสีเขียว สร้างเมล็ดที่ไม่มีรังไข่หุ้มเป็นช่อ ช่อละ 2 ผล

ใบมีสีเขียวอ่อนและจะเขียวเข้มเมื่อใบแก่ ใบเริ่มแตกออกมาในตอนปลายฤดูใบไม้ผลิ ค่อยๆ เริ่มเปลี่ยนเป็นสีเขียวอมเหลืองในราวเดือนตุลาคม ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทองในฤดูใบไม้ร่วงและร่วงหล่นจนหมดในฤดูนี้ ใบของต้นแป๊ะก๊วยมีลักษณะพิเศษไม่เหมือนพืชอื่นๆ คือ มีใบเดี่ยวเป็นมันเรียบไม่มีขน สีเขียวเข้มหรือสีเขียวอมเหลือง ก้านใบยาว ตัวใบแผ่เป็นรูปพัดกว้าง 5-10 เซนติเมตร แต่ใบที่อยู่บนกิ่งยาวมักมีขอบใบตรงกลางเว้าเข้าภายใน ทำให้ใบมีลักษณะแบ่งออกเป็นสองพู

แป๊ะก๊วย จะออกดอกในฤดูใบไม้ผลิ และจะให้ผลเมื่อมีอายุตั้งแต่ 20 ปี ขึ้นไป ผลมีลักษณะกลมรี ยาว 2-3 เซนติเมตร มีสีเหลือง ชั้นนอกหุ้มด้วยเนื้อไม้และมีกลิ่นฉุน ภายในมีเมล็ดรูปกลมรีมีเปลือกแข็งหุ้มเนื้อในเมล็ดมีสีเหลืองอ่อนใช้รับประทานได้ ใช้เวลา 130-140 วัน หลังจากผสมเกสร ผลจึงจะแก่สุก เมล็ดถูกห่อหุ้มด้วยเยื่อที่หุ้มไว้ 3 ชั้น ชั้นแรกเป็นเยื่อบางๆ สีส้มลูกบ๊วยสุก เยื่อชั้นนอกนุ่มนิ่มนี้รับประทานไม่ได้ ถ้าไปสัมผัสจะเกิดอาการคัน ชั้นกลางเป็นเปลือกมีผิวแข็ง ชั้นในสุดเป็นเยื่อบางๆ หุ้มเมล็ดไว้อีกที ต้นแป๊ะก๊วยปลูกด้วยเมล็ดจะออกดอกติดผลเมื่อมีอายุ 20-35 ปี ถ้าเป็นกิ่งทาบจะให้ดอกออกผลเมื่ออายุประมาณ 6 ปี

เมื่อผลเริ่มสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองลูกบ๊วยสุก เปลือกนอกของผลจะแห้งและเรียบ คล้ายกระดาษ ภายในมีเมล็ดแข็งที่มีเนื้อหุ้มอยู่โดยรอบ เนื้อมีกรดบิวทีริก (butyric acid) สูง ทำให้มีกลิ่นเหม็นคล้ายเนยบูดเวลาสุกงอม เวลาเก็บควรใส่ถุงมือเพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับน้ำที่ผิวชั้นนอกที่ลอกออก ด้วยเหตุผลนี้เองในการจัดสวนตามสถานที่ต่างๆ จึงนิยมปลูกแต่ต้นแป๊ะก๊วยตัวผู้ เพื่อไม่ต้องการให้มันออกผล เนื่องจากเวลามันแก่สุกจะร่วงหล่นส่งกลิ่นเหม็นในที่สาธารณะ และผู้ที่ไม่รู้จักมันไปเก็บผลที่ร่วงจะเกิดอาการคันได้ เนื้อภายในเมล็ดกินได้แต่ต้องกะเทาะเปลือกออกก่อน มีรสหวานและมัน

ต้นแป๊ะก๊วยเป็นไม้ที่ไม่ค่อยมีศัตรูมารบกวน ต้นไม่โค่นล้มง่าย สามารถต้านทานลมพายุได้ เนื่องจากแป๊ะก๊วยสามารถทนต่อมลพิษหลายชนิด ด้วยคุณสมบัตินี้แป๊ะก๊วยจึงถูกปลูกไว้เป็นไม้ให้ร่มเงาสองข้างถนน และปลูกในบริเวณเขตอุตสาหกรรม เช่น ที่ปักกิ่ง และลอสแองเจลิส

“ต้นแป๊ะก๊วย ”อายุกว่าพันปี
ต้นแป๊ะก๊วยที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีอยู่ที่วัดต้าเจ๋อ และวัดถานเจ๋อ ในนครปักกิ่ง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีกว่าในความศักดิ์สิทธิ์ ปลูกไว้ตั้งแต่ราชวงศ์เหลียว (พ.ศ.1450-1668) ความสูงอยู่ที่ 30 เมตร ทรงพุ่มประมาณ 8 เมตร เป็นต้นแป๊ะก๊วย 1 ใน 8 ต้นไม้มหัศจรรย์ตามวัดที่มีการกล่าวไว้ในบทกวี โดยจักรพรรดิเฉียนหลง ต้นแป๊ะก๊วยที่วัดมักเอาผ้าแดงเขียนขอพรต่างๆ ไปผูกไว้ตามกิ่งก้านเพื่อขอให้ได้รับโชคลาภและมีสุขภาพสมบูรณ์ ส่วนใหญ่พบต้นแป๊ะก๊วยที่มีอายุมากๆ อยู่ตามวัด จึงนิยมเรียกเรียกแป๊ะก๊วยว่า ต้นไม้วัด (Temple tree) ที่ประเทศเกาหลีก็มีความเชื่อแปลกๆ เกี่ยวกับแป๊ะก๊วย ภรรยาจำนวนมากนิยมขอพรที่ต้นแป๊ะก๊วย เพื่อให้ได้ลูกผู้ชาย

สิ่งที่เป็นประจักษ์พยานว่าต้นแป๊ะก๊วยเป็นพืชที่ทรหดทนทานเป็นพิเศษ คือ หลังจากเมืองฮิโรชิม่าถูกถล่มด้วยระเบิดปรมาณู เมื่อปี พ.ศ. 2488 สิ่งก่อสร้าง สิ่งมีชีวิตในบริเวณนั้นถูกทำลายเรียบไม่เหลือ แม้แต่ต้นไม้น้อยใหญ่ก็ตามเหี่ยวตายหมด ยกเว้นต้นแป๊ะก๊วย 4 ต้น ที่อยู่ห่างจากจุดระเบิด ประมาณ 1.5 กิโลเมตร ยังคงมีชีวิตอยู่ได้ ปัจจุบันเหลืออยู่ 3 ต้น ได้ชื่อว่า Bearers of Hope

แป๊ะก๊วย กลับไม่ทนทานกับสภาพภูมิประเทศที่มีอุณหภูมิที่ร้อนจัดและเย็นจัด แป๊ะก๊วยเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่กว่า 20 มณฑล ของจีน แต่บางพื้นที่ไม่ให้ผลผลิตหรือติดดอกออกผลน้อย เมืองกุ๋ยหลิน ในมณฑลกวางสีอยู่ทางตอนใต้ของจีน เป็นแหล่งปลูกที่มีความเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของแป๊ะก๊วยเพราะอยู่ในระดับความสูง 280-600 เมตรและมีอากาศ 4 ฤดูกาล ฝนตกชุก ดินมีความอุดมสมบูรณ์ จึงเป็นแหล่งผลิตแป๊ะก๊วยแหล่งใหญ่ของจีน

ประโยชน์ของต้นแป๊ะก๊วย
ชาติตะวันตกเพิ่งรู้จักการใช้ประโยชน์จากใบแป๊ะก๊วยเพื่อรักษาโรคไม่เกิน 50ปีนี้เอง ปัจจุบันมีการนำใบสดมาสกัดเป็นยาป้องกันโรคอัลไซเมอร์ สมองเสื่อม ชาวจีนได้นำเอาเมล็ดแป๊ะก๊วยไปทำผงซักฟอก โดยนำไปย่อยในเหล้าองุ่นหรือในน้ำมัน ใบมีสารประกอบหลายอย่าง ทั้งเมล็ดและใบใช้ทำยาสมุนไพร ส่วนเนื้อไม้มีลักษณะเบาและเปราะ สีขาวอมเหลือง นิยมใช้ทำกระดานหมากรุก และของเล่นในประเทศจีนและญี่ปุ่น

ชาวจีนได้นำใบแป๊ะก๊วยสดมาสกัดใช้เป็นยารักษาโรคหัวใจและขยายหลอดเลือด สารประกอบทางเคมีที่มีอยู่ในแป๊ะก๊วย เรียกรวมกันว่า กิงโกไลด์ (Ginkgolides) มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเกาะตัวของเกล็ดเลือด เพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังสมอง ช่วยยับยั้งการเสื่อมของสมอง ผลข้างเคียงมีบ้าง หากใช้ในปริมาณมากเกินไป จะทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้ ทำงานผิดปกติหรือมีอาการแพ้วิงเวียนศีรษะและมึนงง อย่างไรก็ตาม การใช้สมุนไพรจากใบแป๊ะก๊วยควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ และไม่ควรใช้สารสกัดจากใบแป๊ะก๊วยกับเด็กที่อายุต่ำกว่า 12 ปี

การปลูกดูแล
แป๊ะก๊วย มีการเพาะปลูกอยู่ทั่วทุกภาคของจีน ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เกาหลีทางตอนใต้และที่รัฐแคโรไลนา ตอนใต้ ส่วนใหญ่ปลูกเพื่อใช้ประโยชน์จากใบ ซึ่งนำไปสกัดเป็นยาได้ครอบจักรวาล ใบกว้างประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร ยาว 4-7.5 เซนติเมตร ไม่มีเส้นกลางใบ ที่ผ่านมานิยมใช้ใบสดมาสกัดเป็นยา

การเพาะปลูกด้วยเมล็ด แนะนำให้สวมถุงมือ เก็บรวบรวมเมล็ดที่ร่วงจากต้น นำไปแช่ในน้ำอุ่นสักพักลอกเอาผิวหุ้มเมล็ดออกจนหมด นำไปตากแดดให้แห้ง ถ้ายังไม่รีบเพาะให้เก็บใส่ถุงไว้ในห้องที่มีอุณหภูมิเย็นสักหน่อย เมื่อต้องการจะเพาะจึงนำออกมา โครงการหลวงเคยทดลองปลูกต้นแป๊ะก๊วยที่สถานีเกษตรโครงการหลวงอ่างขาง แต่ไม่ได้ผลเท่าที่ควร เพราะอากาศยังหนาวเย็นไม่พอ และอายุเก็บเกี่ยวหลายปี (20 ปี ขึ้นไป)

เกษตรกรจำนวนมากนิยมปลูกแป๊ะก๊วย ด้วยวิธีเพาะเมล็ด โดยนำเมล็ดลงแช่น้ำเลือกเอาเมล็ดที่ลอยน้ำออกไปกะเทาะเปลือกต้มรับประทาน ส่วนเมล็ดที่จมแสดงว่าเป็นเมล็ดที่สมบูรณ์ ใช้เพาะได้ นำเมล็ดเหล่านี้มาเฉือนส่วนปลายสักนิดหรือขูดด้วยกระดาษทรายเพื่อเปิดช่องให้น้ำซึมเข้าไปภายในเมล็ดง่ายขึ้น เมล็ดแช่ในน้ำเย็นหรือน้ำอุ่นก็ได้จนเปลือกอ่อนนิ่ม พึ่งให้แห้งเอาไปเพาะในแปลงเพาะ ผู้สนใจเพาะเมล็ดแป๊ะก๊วย สามารถใช้วิธีเดียวกันนี้ แต่ตากแดดไว้ 2-3 วัน แล้วเอามาแช่น้ำเลือกเอาเมล็ดที่ลอยออก เมล็ดที่จมเพาะในกระถาง ขนาด 10 นิ้ว ใส่ทราย 3 ส่วน 4 โรยเมล็ด 20 เมล็ด ทับหน้าด้วยทรายอีกที รดน้ำทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือนเศษจึงเริ่มงอก

อีกวิธีเอาไปหว่านบนแปลงดินยกร่องกลบหน้าด้วยดินระยะเวลาเท่ากัน แต่งอกขึ้นมาน้อยมาก ปรากฏว่าการเพาะด้วยทรายมีเปอร์เซ็นต์ความงอกดีกว่า ซึ่งรอดูต่อไปว่ามันจะอยู่ได้อีกนานเท่าใด ในต่างประเทศ เกษตรกร ไม่นิยมปลูกแป๊ะก๊วยด้วยวิธีเพาะเมล็ด เพราะเจริญเติบโตช้าและมีโอกาสเป็นต้นตัวผู้( ไม่มีผลผลิต)

แป๊ะก๊วจึงนิยมใช้วิธีการทาบกิ่งเพื่อให้ได้ต้นตัวเมีย ปลูกไว้เอาเมล็ด ซึ่งการปลูกด้วยวิธีทาบกิ่งจะให้ผลเร็วกว่าการปลูกด้วยเมล็ด อย่างไรก็ตาม การปลูกแป๊ะก๊วยเชิงการค้า นิยมปลูกด้วยวิธีการทาบกิ่งจากต้นตัวเมียเป็นหลัก เสี่ยงทำให้ต้นแป๊ะก๊วยสูญพันธุ์ได้ในอนาคต เพราะมีแต่ต้นตัวเมีย ขาดความหลากหลายทางพันธุ์กรรม ตรงกันข้ามกับต้นแป๊ะก๊วยที่ปลูกข้างถนน ตามสวนสาธารณะซึ่งต้องการต้นตัวผู้ เพราะไม่ต้องการให้ต้นแป๊ะก๊วยออกผลทำให้เมล็ดร่วงลงมาส่งกลิ่นเหม็นรบกวน

ต้นแป๊ะก๊วย เจริญเติบโตได้ตั้งแต่ระดับความสูง 800-1,300 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ที่อุณหภูมิเฉลี่ย 16.6 องศาเซลเซียส แป๊ะก๊วยเป็นต้นไม้ที่เจริญเติบโตช้า เฉลี่ยประมาณ 30 เซนติเมตร ต่อปี การปลูกเพื่อให้ดอกได้รับการผสมเกสรติดผล ควรปลูกต้นตัวผู้ ในอัตรา 1 ต้น ต่อต้นตัวเมีย 5 ต้น การปักชำด้วยกิ่ง ใช้กิ่งไม่แก่ไม่อ่อน ตัดยาวประมาณ 15 เซนติเมตร

ผู้ที่คิดจะปลูกแป๊ะก๊วยในประเทศไทยควรศึกษาให้รอบคอบ เพราะอาจจะถูกหลอกขายต้นกล้าเหมือนกับพืชบางชนิดก็ได้ ปลูกให้รุ่นหลานเก็บรับประทานไม่ว่ากัน หากคิดปลูกเป็นสวนต้องทบทวน เมื่อปลูกโตแล้วไม่รู้จะไปขายกับใคร จะต้องช้ำใจซดน้ำเต้าทึงแป๊ะก๊วยยืดอายุก่อนตรอมใจตาย เพราะหนี้สินท่วมตัวได้

ภาคเหนือตอนล่าง ถือเป็นแหล่งผลิตมะม่วงเชิงพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ โดยเฉพาะพื้นที่รอยต่อ 3 จังหวัด ได้แก่ พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ มีพื้นที่ปลูกมะม่วงรวมประมาณ 200,000 ไร่ ผลิตมะม่วงคุณภาพดีส่งขายตลาดภายในประเทศ และตลาดต่างประเทศ ที่จังหวัดพิจิตร ตำบลวังทับไทร อำเภอสากเหล็ก ถือเป็นจุดเริ่มต้นการผลิตมะม่วงเชิงพาณิชย์ที่เก่าแก่ที่สุด มีการปลูกมะม่วงมานานกว่า 30 ปี ปัจจุบัน มีพื้นที่ปลูกมะม่วงประมาณ 20,000 ไร่ ผลผลิตหลัก ได้แก่ มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง มะม่วงฟ้าลั่น และมะม่วงเพชรบ้านลาด

สวนโชคอำนวย ผลิตมะม่วงคุณภาพ ปีละกว่า 500 ตัน คุณจรัญ อยู่คำ เจ้าของ “สวนโชคอำนวย” หรือที่หลายคนเรียกว่า “พ่อเลี้ยงจรัญ” อยู่บ้านเลขที่ 63 หมู่ที่ 1 ตำบลวังทับไทร อำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร โทร. (099) 271-1303 ถือได้ว่าเป็นเกษตรกรระดับแนวหน้าที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น “เซียนมะม่วงตัวจริง” เพราะทุกปีมะม่วงจากสวนโชคอำนวย นอกจากจะติดผลดกแล้ว ยังเป็นสวนที่ผลิตมะม่วงได้สวยงามมีคุณภาพดี ผลผลิตจะเริ่มขายตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงเมษายน

พื้นที่สวนโชคอำนวย มีกว่า 400 ไร่ บาคาร่าออนไลน์ ถูกจัดสรรแบ่งแปลงปลูกอย่างลงตัว โดยแบ่งเป็นมะม่วงน้ำดอกไม้ 250 ไร่ และส่วนที่เหลือเป็นแปลงปลูกมะม่วงรับประทานผลดิบ เช่น ฟ้าลั่น และเพชรบ้านลาด คุณจรัญ แนะนำว่า ถ้าเราจะปลูกมะม่วงในเชิงพาณิชย์ จะต้องปลูกมะม่วงหลายพันธุ์ เพื่อกระจายความเสี่ยงด้านการตลาด

ยกตัวอย่าง มะม่วง 3 สายพันธุ์ ของสวนโชคอำนวย

มะม่วงฟ้าลั่น เป็นมะม่วงบริโภคผลดิบ รสชาติมัน กรอบ หรือที่เรียกกันว่า มะม่วงมัน เป็นพันธุ์ที่จัดการง่าย สู้ฝน (กรณีทำมะม่วงผ่าฝน) มีระยะเวลาในการดูแลสั้น หลังออกดอกไม่เกิน 4 เดือน ก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้ว และไม่ต้องยุ่งยากเรื่องการห่อผลที่จะมีต้นทุนมากพอสมควร ออกผลค่อนข้างดกลักษณะผลจะกลมมากกว่ามะม่วงพันธุ์สายฝน แต่มีความยาวพอๆ กัน ปลายผลกลมมนเมื่อผลแก่จัดเนื้อจะเปราะบางมาก และอาจจะแตกทันทีเมื่อถูกคมมีดซึ่งเป็นลักษณะประจำพันธุ์เห็นได้ชัด

ลักษณะ เปลือกจะหนา แต่ไม่เหนียว มีต่อมขนาดปานกลางเห็นได้ชัด และกระจายอยู่ทั่วผล ผิวเปลือกเป็นสีเขียวเข้ม เนื้อขาวนวล ลักษณะผิวหยาบ กรอบ มีเสี้ยนค่อนข้างน้อย รสชาติมันตั้งแต่ผลเล็กๆ เมื่อแก่จัดรสชาติจะหวานมัน ผลสุก ผิวเขียวปนเหลือง เนื้อเป็นสีเหลืองเนื้อค่อนข้างละเอียด มีเสี้ยนน้อย รสหวานไม่จัดนัก อย่างพื้นที่ปลูกมะม่วงขายดิบ 1 ไร่ ให้ผลผลิตประมาณ 1.5-2 ตัน ราคาเฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละ 15-20 บาท ขึ้นอยู่กับคุณภาพผลผลิต และภาวะการตลาด บางครั้งพบว่าช่วงขาดตลาด ราคาจะสูงถึงกิโลกรัมละ 28 บาท ก็มี

มะม่วงเพชรบ้านลาด เป็นมะม่วงบริโภคผลดิบอีกพันธุ์ที่มีรสชาติมันอร่อย ที่ปลูกเพราะติดผลง่ายจัดการไม่ยุ่งยาก แม้ราคาจะต่ำกว่ามะม่วงฟ้าลั่น แต่ก็ยังเป็นมะม่วงที่ทำเงินได้เร็วสำหรับชาวสวน ราคาเฉลี่ยจะอยู่ที่ 10-15 บาท ต่อกิโลกรัม
มะม่วงน้ำดอกไม้ จะมีอยู่ 2 สายพันธุ์ คือ “มะม่วงน้ำดอกไม้ เบอร์ 4” และ “น้ำดอกไม้สีทอง” โดยทั่วไปแล้วราคาน้ำดอกไม้สีทองจะสูงกว่าน้ำดอกไม้ เบอร์ 4 แต่ที่ยังมีมะม่วงน้ำดอกไม้ เบอร์ 4 อยู่เพราะเป็นต้นที่ปลูกก่อน มีอายุมาก ไม่สามารถเปลี่ยนยอดได้แล้ว ซึ่งความแตกต่างก็จะเป็นที่เปลือก น้ำดอกไม้ เบอร์ 4 จะมีผิวเขียวกว่า ส่วนน้ำดอกไม้สีทองจะออกสีเหลืองมากกว่า และเมื่อสุกสีจะแตกต่างชัดเจน (กรณีไม่ห่อผล)