รูปแบบการสร้างรายได้ แบ่งออกเป็น 2 แบบภาชนะบรรจุ

แบบขวดพร้อมฝาบด ขายในราคา พริกไทยหลากสี 50 กรัม 220 บาท พริกไทยสีแดง 35 กรัม 190 บาท พริกไทยสีเขียว 35 กรัม 160 บาท พริกไทยสีขาว 50 กรัม 120 บาท และพริกไทยสีดำ 50 กรัม 80 บาท 2. ภาชนะบรรจุ แบบรีฟิล ขนาดต่างๆ ตามความต้องการของลูกค้า ถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการตอบรับที่ดี มีกลุ่มลูกค้าหลักเป็นร้านอาหาร ร้านสเต๊ก ร้านชาบู และลูกค้าชาวต่างชาติที่เข้ามาเป็นลูกค้าประจำ สามารถสร้างรายได้กว่า 30,000 บาทต่อเดือน เป็นรายได้ที่พอใจสำหรับการเริ่มต้นทำ ซึ่งในอนาคตวางแผนพัฒนาต่อยอดสร้างมูลค่าจากพริกไทยไปอีกเรื่อยๆ รวมถึงการขยายฐานการผลิตให้มั่นคงกว่าเดิม

วิ่งเข้าหาตลาด อย่าหยุดอยู่กับที่

“สำหรับเกษตรกรรุ่นใหม่การตลาดถือว่าไม่น่าเป็นห่วง แต่สำหรับเกษตรกรรุ่นเก่าด้วยความคิดเห็นของผมคือเขายังยึดติดอยู่กับที่ ชินอยู่แต่ในสวน รอแต่ให้พ่อค้าเข้ามารับซื้อ แต่ปัจจุบันไม่ใช่แล้วถ้าโซเชียลเราไม่เก่ง ให้เราขยันออกไปหาตลาดข้างนอก ออกไปเจอลูกค้า ออกไปขายเอง แล้วถ้าวันหนึ่งขายจนลูกค้าติด มีลูกค้าประจำแล้ว ถึงวันนั้นจะกลับไปอยู่ที่บ้านแล้วมีพ่อค้ามารับซื้อถึงที่สวนอันนี้ถือว่าเป็นเรื่องดี แต่ถ้าหากใครนอนรอพ่อค้าแม่ค้าอยู่บ้านเฉยๆ ในยุคนี้คิดว่าอยู่ยาก และที่สำคัญการแปรรูปถือเป็นเรื่องสำคัญ หากทำได้เกษตรกรไม่มีจน แต่ก็ต้องเน้นถึงคุณภาพสินค้าเป็นที่ตั้งด้วย หากทำออกมาไม่ได้มาตรฐานจากข้อดีจะกลายเป็นข้อเสียไปเลย” พี่หนึ่ง กล่าวทิ้งท้าย

“น้อยหน่า” เป็นผลไม้อีกชนิดหนึ่งที่มีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ของประเทศไทย เช่น บักเขียบ (ตะวันออกเฉียงเหนือ) ลาหนัง (ปัตตานี) บะน้อแน่ บะแน่ (เหนือ) หน่อเกละแซ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) มะออจ้า มะโอจ่า (เงี้ยว-เหนือ) น้อยหน่า เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 3-5 เมตร ทรงพุ่มโปร่ง ทรงพุ่มไม่แน่นอน แล้วแต่การตัดแต่งต้น ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในแถบอเมริกากลางและใต้ แต่จะพบอยู่ทั่วไปในพื้นที่เขตร้อน ในประเทศไทยปลูกมากทางภาคกลางและตะวันออกเฉียงเหนือ

น้อยหน่า ผลมีเนื้อสีขาว เมล็ดดำ รสหวาน เป็นผลไม้อีกหนึ่งชนิดที่นิยมทานผลสุก นอกจากนี้ ผลดิบ ผลแห้ง เมล็ด และใบ ยังมีสรรพคุณทางยาอีกด้วย เช่น ใบสด สำหรับบ้านเรานิยมนำใบหรือเมล็ดของน้อยหน่ามาใช้ในการกำจัดเหา เห็บ หมัด เป็นต้น

น้อยหน่าเป็นผลไม้ที่เรารู้จักกันดี ปลูกง่าย เจริญเติบโตได้ดีกับสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย พันธุ์น้อยหน่าในประเทศไทยแบ่งออกเป็นพันธุ์พื้นเมือง หรือพันธุ์ฝ้าย (น้อยหน่าฝ้ายเขียว ฝ้ายครั่ง) และพันธุ์น้อยหน่าหนัง น้อยหน่าเป็นพืชที่ทนแล้งได้ดี ปลูกในพื้นที่อาศัยน้ำฝนหรือไม่มีแหล่งน้ำได้ น้อยหน่าสามารถปรับตัวได้ดีในพื้นที่ความสูงไม่เกิน 1,000 เมตร อุณหภูมิ 10-40 องศาเซลเซียส เจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ทุกสภาพดิน ทั้งดินที่อุดมสมบูรณ์และดินเลว เช่น ดินร่วนปนทรายและดินร่วนเหนียว

แต่ต้องมีระบบการระบายน้ำที่ดี น้ำไม่ท่วมขัง รวมถึงในสภาพแห้งแล้งที่มีน้ำหรือฝนน้อย ในการปลูกควรเลือกต้นที่สมบูรณ์ แข็งแรง หากมีน้ำหรือฝนตกลงจะช่วยให้ต้นมีโอกาสรอดตายมากขึ้นในช่วงปีแรก นอกจากนี้ การปลูกไม้บังลมจะช่วยป้องกันพายุฤดูร้อนให้กับต้นน้อยหน่าได้ โดยเลือกไม้ที่ปรับตัวได้ดีกับพื้นที่ น้อยหน่าจึงเป็นไม้ผลทางเลือกโดยเฉพาะในพื้นที่แห้งแล้ง สามารถสร้างอาชีพให้ชุมชนและต่อยอดสร้างรายได้ จากการขยายพันธุ์ต้นกล้า ผลสุก จำหน่าย

คุณสุภาวรรณ สุวรรณปรียา หรือ คุณชมพู่ อายุ 25 ปี อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 114 หมู่ที่ 7 ตำบลหนองครก อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ 33000 ปัจจุบันประกอบอาชีพค้าขาย (ร้านขายของชำ) และอาชีพเสริมเป็นเกษตรกรปลูกน้อยหน่าออร์แกนิก คุณสุภาวรรณ กล่าวว่า ตนเองเกิดในครอบครัวเกษตรกร อาศัยอยู่กับคุณปู่และคุณย่า คุณปู่ปลูกน้อยหน่ามานานมากแล้ว ได้พันธุ์มาจากเกษตรอำเภอ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นพันธุ์พื้นเมือง แต่ด้วยในตอนนี้คุณปู่และคุณย่าแก่ตัวลง คุณสุภาวรรณจึงต้องมาสานต่ออาชีพนี้

แต่การปลูกน้อยหน่าออร์แกนิกของคุณสุภาวรรณ อาจแตกต่างไปจากเกษตรกรท่านอื่น เพราะคุณสุภาวรรณใช้พื้นที่ว่างระยะห่างของต้นน้อยหน่าปลูกหญ้าสำหรับเลี้ยงวัว เพราะนอกจากอาชีพเป็นเกษตรกรปลูกน้อยหน่าแล้ว คุณปู่ยังเลี้ยงวัวด้วย จึงใช้ระยะห่างของต้นน้อยหน่าปลูกหญ้าให้วัวกิน ปัจจุบัน คุณสุภาวรรณปลูกน้อยหน่าออร์แกนิกบนพื้นที่ 300 ตารางวา

คุณสุภาวรรณอธิบายถึงขั้นตอนการเพาะเมล็ดน้อยหน่า เริ่มจากการนำคีมมาหนีบบริเวณขั้วเมล็ดพันธุ์ที่จะเพาะให้เกิดรอยแตก และนำไปแช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน เหตุที่ต้องใช้คีมหนีบให้เกิดรอยแตก เพราะต้องการให้น้ำซึมเข้าไปในเมล็ด ให้เมล็ดมีความชุ่มชื่น และเพิ่มอัตราการงอกของเมล็ด เมื่อเมล็ดพันธุ์แช่น้ำ 1 คืนแล้ว นำมาลงถุงเพาะกล้า ดินเพาะชำใช้ดินดำ แกลบ ปุ๋ยคอก อัตราส่วน 1 ต่อ 1 ผสมเข้าด้วยกัน นำดินใส่ไปครึ่งถุง จากนั้นใส่เมล็ดพันธุ์ที่เตรียมไว้ 2 เมล็ดต่อ 1 ถุง จากนั้นใส่ดินให้เต็มถุง

เมื่อเพาะเมล็ดลงถุงเรียบร้อยแล้ว ควรนำไปไว้ในพื้นที่แดดไม่จัด มีร่มเงาหรือที่บังแดด เพื่อเพิ่มอัตราการรอดให้กับเมล็ดพันธุ์ในถุงเพาะ การรดน้ำในช่วงแรกจะรดน้ำ 1 ครั้งต่อวัน เป็นระยะเวลา 3 เดือน ต้นกล้าจะเติบโตเต็มที่พร้อมนำลงแปลงเพาะปลูก แต่ก่อนลงแปลงปลูกควรเด็ดต้นกล้าออกให้เหลือเพียง 1 ต้นต่อ 1 หลุม

เมื่อไถเตรียมดินเสร็จแล้วก็สามารถนำต้นกล้าลงแปลงปลูกได้เลย โดยเว้นระยะห่างของต้น 2×2 เมตร และเว้นระยะห่างด้านกว้าง 2.5×2.5 เมตร ขนาดของหลุม กว้าง 1 ศอก ลึก 1 ศอก จากนั้นนำปุ๋ยคอกใส่รองก้นหลุมก่อนจึงสามารถวางต้นกล้าลงหลุมได้ และใช้ดินกลบหลุมให้แน่น เมื่อนำต้นกล้าลงแปลงปลูกเรียบร้อยแล้ว ต้องรดน้ำให้ชุ่ม โดยในน้ำจะผสมยาเร่งรากด้วย ในการปลูกช่วงนี้สามารถปลูกหญ้าเลี้ยงวัวควบคู่ไปด้วยได้ เน้นการรดน้ำบ่อยๆ 1 วัน เว้น 1 วัน เมื่อน้อยหน่ามีอายุครบ 1 ปี ไม่จำเป็นต้องรดน้ำบ่อย เพียงแต่สังเกตหน้าดินและสภาพอากาศในแต่ละช่วง หากอากาศร้อนหรือหน้าดินแห้งก็สามารถรดน้ำได้ เพราะน้อยหน่าเป็นไม้ผลยืนต้นที่ทนแล้งได้ดี

การตัดแต่งกิ่งเมื่อมีกิ่งน้อยหน่าแตกยอดออกมา ต้องทำการตัดแต่งกิ่งเพื่อให้น้อยหน่าแตกยอดเพิ่ม เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีในช่วง 18-24 เดือน ควรดูแลเรื่องการตัดแต่งกิ่งเป็นพิเศษ ช่วงที่น้อยหน่าติดดอกนั้นทางสวนจะเริ่มเลี้ยงผึ้งด้วยวิธีธรรมชาติ เมื่อผึ้งมาทำรังก็จะเกิดการผสมเกสรภายในสวน เมื่อต้นน้อยหน่าเข้าสู่ปีที่ 3 ก็เริ่มติดลูกแล้ว แต่ต้องบอกเลยว่าในช่วง 3 ปีแรกนั้นอาจจะยังไม่ดกมาก พอเข้าสู่ปีที่ 4-5 ผลผลิตจะดกมาก

การเก็บผลผลิต จะเก็บในช่วงฤดูฝน ทางสวนจะฉีดพ่นน้ำส้มควันไม้เพื่อไล่แมลง แต่บางครั้งในช่วงที่ฉีดพ่นก็มีฝนตก ทำให้อาจจะไม่ได้ผลที่ดีนัก การปลูกผักหรือผลไม้ออร์แกนิก ต้องบอกเลยว่าปัญหาแมลงที่อาจทำให้ผลผลิตไม่สวยงาม เป็นเรื่องที่พบเจอบ่อย ในช่วง 3 เดือนแรก ที่เริ่มติดผลจะมีขนาดเท่ากำปั้น ช่วงนั้นจะประสบปัญหาโรคแมลงอย่างแมลงวันทอง ทางสวนก็จะใช้วิธีการห่อผลไว้ และทำกับดักล่อแมลงวันทองลงขวดโดยใช้กลิ่นของใบกะเพราล่อแมลงวันทอง

หากในช่วงที่ผลผลิตโตพร้อมเก็บเกี่ยว ก็จะเจอกับโรคเพลี้ยแป้งที่มาเกาะตามผิวน้อยหน่า ทำให้ผิวไม่สวยเป็นลอยดำได้ แต่ไม่มีผลต่อเนื้อด้านใน เพียงแต่เปลือกอาจจะไม่สวยเท่านั้น ตรงจุดนี้เกษตรกรออร์แกนิกก็ต้องทำใจยอมรับ ว่าผิวนอกอาจจะไม่สวยงามมากนัก แต่รับรองว่าผู้บริโภคจะได้รับสิ่งดีๆ เข้าสู่ร่างกายแน่นอน

“ปัจจุบันสวนน้อยหน่าออร์แกนิกของสวนเราสามารถกำหนดราคาขายได้เอง ผู้บริโภคในปัจจุบันหันมาให้ความสนใจกับการทานอาหารที่มีผลต่อสุขภาพระยะยาว น้อยหน่าเป็นไม้ผลยืนต้นที่มีอายุยืน สามารถเก็บผลผลิตได้ปีละ 1 ครั้ง แต่หากดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดีน้อยหน่าก็จะให้ผลผลิตที่ดีและดก อยากเชิญชวนเกษตรกรหันมาปลูกพืชผักผลไม้ที่ปลอดภัยไร้สาร เพื่อรักษาสุขภาพเกษตรกรผู้ปลูกและผู้บริโภค”

สำหรับท่านใดที่สนใจต้นกล้าน้อยหน่า ผลผลิตน้อยหน่า ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณสุภาวรรณ สุวรรณปรียา หรือ คุณชมพู่ อายุ 25 ปี อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 114 หมู่ที่ 7 ตำบลหนองครก อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ 33000 โทรศัพท์ 093-328-1220 หรือติดตามความเคลื่อนไหวได้ทางเฟซบุ๊ก สวนน้อยหน่าออแกนิค ศรีสะเกษ จำหน่ายน้อยหน่าและต้นพันธุ์

ถั่วแระ เป็นที่รู้จักและคุ้นเคยของคนไทยมานานแล้ว โดยได้จากการเก็บเกี่ยวถั่วเหลืองในระยะที่ฝักไม่แก่และไม่อ่อนเกินไป ฝักยังคงมีสีเขียวอยู่ นํามาต้ม หรือนึ่งทั้งต้นและฝัก โรยเกลือเล็กน้อย รับประทานเป็นอาหารว่าง ถั่วแระที่นํามาบริโภคนี้ คือ ถั่วเหลือง เพื่อนําเมล็ดไปสกัดนํ้ามัน หรือทําอาหารโปรตีน

ดังนั้น เมล็ดจึงมีขนาดเล็กแข็งกระด้าง รสชาติจืด นอกจากนี้ในท้องตลาดจะมีถั่วแระ เมล็ดถั่วแระญี่ปุ่นที่แกะจากฝักแล้ววางขายเป็นครั้งคราวเฉพาะฤดูที่มีการปลูกถั่วเหลืองเท่านั้น ไม่มีการปลูกถั่วเหลืองเพื่อผลิตถั่วแระโดยตรง ในทวีปเอเชียประเทศที่มีประวัติการบริโภคถั่วเหลืองในระยะฝักไม่อ่อนและไม่แก่เกินไปมานาน คือญี่ปุ่น จีน และเกาหลี โดยเฉพาะชาวญี่ปุ่นนิยมรับประทานถั่วแระเป็นกับแกล้มเบียร์ หรืออาหารว่างเกือบทุกครัวเรือน จึงมีการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ถั่วเหลืองให้มีฝักและเมล็ดใหญ่กว่าถั่วเหลืองธรรมดา 2 เท่า เมล็ดนุ่ม รสชาติหวานมัน

ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์สําหรับบริโภคฝักสดเพียงอย่างเดียว และมีความพยายามปลูกถั่วแระส่งตลาดตลอดทั้งปี ซึ่งความต้องการบริโภคถั่วแระญี่ปุ่น หรือถั่วเหลืองฝักสด (Vegetable Soybean) ของชาวญี่ปุ่น ประมาณปีละ 150,000 ตัน แต่สามารถผลิตภายในประเทศได้เพียง 100,000-110,000 ตัน จึงต้องนําเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบัน ไต้หวัน และจีนเป็นประเทศส่งถั่วแระญี่ปุ่นในรูปฝักสดแข็งไปจําหน่ายยังประเทศญี่ปุ่น ปีละ 40,000 ตันถั่วแระญี่ปุ่นจึงจัดเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง ซึ่งนอกจากจะเป็นพืชที่สามารถส่งออกไปจําหน่ายยังต่างประเทศในรูปฝักสดแช่แข็งได้แล้วยังเป็นพืชโปรตีนสูง (ถั่วแระญี่ปุ่น มีโปรตีน 12.7% ถั่วฝักยาว มีโปรตีน 2.4%) รสชาติอร่อย สามารถนําไปประกอบอาหารได้หลายอย่าง เหมาะแก่คนทุกเพศทุกวัยโดยเฉพาะผู้นิยมบริโภคอาหารมังสวิรัติ

จึงควรส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปลูกและบริโภคในประเทศอย่างแพร่หลายมากขึ้น อย่างไรก็ดี การปลูกถั่วเหลืองฝักสด หรือถั่วแระญี่ปุ่น มีความแตกต่างจากการปลูกถั่วเหลืองไร่อย่างมาก การปฏิบัติดูแลรักษาควรได้รับการเอาใจใส่อย่างประณีตเช่นเดียวกับการปลูกพืชผัก ซึ่งต้องการนํ้าและดินอุดมสมบูรณ์ การลงทุนด้านปุ๋ย เคมี และแรงงานในการเก็บเกี่ยวเด็ดฝักค่อนข้างมาก ทั้งนี้ เพื่อให้ได้ผลผลิตคุณภาพสูง ตลอดจนต้องเก็บเกี่ยวในช่วงที่เหมาะสม การคัดเลือกฝักตามมาตรฐาน การบรรจุหีบห่อ การขนส่งอย่างรวดเร็วสู่ตลาด หรือโรงงาน ซึ่งต้องการประสานกันระหว่างผู้ปลูก พ่อค้าโรงงานแช่แข็ง และผู้ส่งออกอย่างดี จึงจะทําให้ธุรกิจเกษตรของพืชชนิดนี้ประสบผลสําเร็จได้

ความแตกต่างระหว่างถั่วแระญี่ปุ่นกับถั่วเหลืองไร่ คือถั่วแระญี่ปุ่น เป็นถั่วเหลืองที่มีฝักขนาดใหญ่ บริโภคเมล็ดในระยะเมล็ดเต่งเต็มที่แต่ฝักยังมีสีเขียวอยู่ อายุเก็บเกี่ยวฝักสด ประมาณ 65 วัน หลังจากหยอดเมล็ดฝักที่ได้มาตรฐานส่งตลาดญี่ปุ่นจะต้องมีเมล็ดตั้งแต่ 2 เมล็ดขึ้นไป ความยาวฝักไม่น้อยกว่า 4.5 เซนติเมตร ฝัก 1 กิโลกรัม มีจํานวนฝักไม่เกิน 350 ฝัก และไม่มีรอยตําหนิใดๆ บนฝัก

ลําต้นเป็นพุ่มเตี้ย มี 7-10 ข้อ และแขนง 2-3 แขนง เมล็ดพันธุ์มีขนาดใหญ่โดยเมล็ด 100 เมล็ด จะมีนํ้าหนักประมาณ 25-35 กรัม ส่วนใหญ่บริโภคฝักสดเป็นอาหารว่างโดยต้มทั้งฝักในนํ้าเดือดใช้ระยะเวลาสั้นเพียง 5-6 นาที โรยเกลือเล็กน้อยเพื่อเพิ่มรสชาติ หรือแกะเมล็ดออกจากฝักนํามาประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น ผัดกับกุ้ง แกงส้ม ข้าวผัด และใช้แทนถั่วลันเตากระป๋องได้เป็นอย่างดี ถั่วเหลืองไร่ เป็นถั่วเหลืองที่มีฝักขนาดเล็ก เมล็ด 100 เมล็ด หนักเพียง 12-18 กรัม ลําต้นตั้งตรง มักเป็นลําต้นเดียวไม่มีแขนง ใช้ประโยชน์จากเมล็ดแห้ง เช่น นําไปสกัดนํ้ามัน หรือแปรรูปเป็นอาหารโปรตีนต่างๆ

ฤดูปลูกและแหล่งปลูก การปลูกถั่วแระญี่ปุ่น สามารถปลูกได้ดีเกือบตลอดทั้งปี ยกเว้นฤดูร้อนช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน เป็นช่วงที่ปลูกถั่วเหลืองฝักสดแล้วได้ผลผลิตค่อนข้างตํ่า เพราะดอกจะทยอยบานต่อเนื่องเป็นเวลานาน กว่า 14 วัน ทําให้การแก่ของฝักไม่พร้อมกันยากแก่การกําหนดวันเก็บเกี่ยว และอุณหภูมิที่สูงเกินไปทําให้อัตราการเกิดฝักที่มีเมล็ดลีบทั้งฝัก และฝักที่มีเมล็ดลีบบางเมล็ดสูงขึ้น ฝักมีขนาดเล็กลงทําให้จํานวนฝักตกเกรดมีมากขึ้น เป็นผลให้ผลผลิตตํ่า จึงควรหลีกเลี่ยงการปลูกในช่วงที่อากาศร้อนจัด สําหรับแหล่งปลูกเพื่อการส่งออกไม่ควรอยู่ห่างจากโรงงานแช่แข็งมากนัก ทั้งนี้ เพื่อให้สะดวกในการรวบรวมผลผลิต และใช้เวลาขนส่งสั้น สามารถรักษาคุณภาพผลผลิตหลังจากเก็บเกี่ยวจนกระทั่งเข้าสู่โรงงานได้ดี อย่างไรก็ดี แหล่งที่ดีจะต้องมีแหล่งนํ้าชลประทานเพียงพอตลอดอายุปลูก

อำเภอเชียงม่วน อยู่ห่างจากจังหวัดพะเยานับร้อยกิโลเมตร และห่างจากโรงงานแช่แข็งที่จังหวัดเชียงใหม่ สามร้อยกว่ากิโลเมตร จึงเป็นอุปสรรคในการผลิตถั่วเหลืองฝักสด แต่ด้วยสภาพดินที่อุดมสมบูรณ์ และมีน้ำพอเพียงในการหล่อเลี้ยงต้นถั่วเหลืองฝักสด ทางบริษัทผู้ผลิตแนะนำให้เกษตรกรทำการปลูกเพื่อขายเป็นเมล็ดพันธุ์เพื่อให้เกษตรกรแหล่งที่อยู่ใกล้โรงงานนำไปปลูกถั่วเหลืองฝักสดๆ ส่งเข้าโรงงาน

คุณเที่ยง ดวงทิพย์ บ้านเลขที่ 133 หมู่ที่ 9 บ้านบ่อตอง ตำบลบ้านมาง อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา หนึ่งในเกษตรกรที่ปลูกถั่วแระญี่ปุ่น หรือถั่วเหลืองฝักสด เล่าให้ฟังว่า บริษัทผู้ผลิตถั่วแระญี่ปุ่น หรือถั่วเหลืองฝักสด ได้เข้ามาส่งเสริมให้ปลูกเพื่อส่งเข้าโรงงานแช่แข็งก่อนในแถบตำบลบ้านสระ อำเภอเชียงม่วน แต่ด้วยระยะทางห่างจากโรงงานมากทำให้คุณภาพของฝักถั่วเหลืองลดลง บริษัทจึงแนะนำให้เกษตรกรในอำเภอเชียงม่วนเปลี่ยนมาปลูกเป็นเมล็ดพันธุ์เพื่อให้เกษตรกรพื้นที่อื่นที่มีศักยภาพในการผลิตถั่วเหลืองฝักสดแทน จากนั้นจึงขยายพื้นที่มายังตำบลบ้านมาง ที่แต่เดิมเกษตรกรในอำเภอเชียงม่วนปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในสภาพไร่และหลังฤดูทำนา ซึ่งราคาก็ไม่แน่นอน เมื่อเปรียบเทียบรายได้กับถั่วแระญี่ปุ่นแล้วแตกต่างกันนับ 2-3 เท่าตัว ถึงแม้จะใช้น้ำน้อยแต่ก็ยังมากกว่าถั่วแระญี่ปุ่นอยู่ดี

โดยถั่วแระญี่ปุ่นจะปลูกประมาณ 2 รุ่น รุ่นแรกในสภาพไร่หรือที่ดอนแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยจะปลูกประมาณต้นเดือนตุลาคม เก็บเกี่ยวประมาณเดือนธันวาคม รุ่นที่ 2 จะปลูกหลังการเก็บเกี่ยวข้าวนาปี ประมาณ 15 ธันวาคม เป็นต้นไป โดยจะทำตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมของบริษัทและทางสำนักงานเกษตรอำเภอเชียงม่วน ทั้งการให้น้ำด้วยระบบสายน้ำพุ่ง โดยแหล่งน้ำจากลำน้ำปี้ และลำน้ำยม มีการตัดพันธุ์ปนหรือต้นที่กลายพันธุ์ ซึ่งว่าเป็นการทำงานที่ละเอียดแต่ผลตอบแทนถือว่าคุ้มค่า เพราะ 1 ไร่ ต้นทุนไม่เกิน 1 หมื่นบาท โดยทางบริษัทจะจัดวัสดุทั้งเมล็ดพันธุ์และปุ๋ยให้ก่อนเมื่อขายผลผลิตคืนจึงจะหักคืน ผลผลิตจะได้ไร่ละ 450-500 กิโลกรัม ในรุ่นแรกบริษัทประกันราคาที่กิโลกรัม 65 บาท เกษตรกรจะมีรายได้รุ่นแรก ประมาณ 29,250-32,500 บาท

ส่วนรุ่นหลังนา หรือรุ่นที่ 2 ประกันราคาที่ 70 บาท ผลผลิตเฉลี่ยที่ 400-450 กิโลกรัม รายได้ประมาณ 28,000-31,500 บาท ถือว่าเกษตรกรมีความพอใจ เพราะหากเกษตรปลูกรายละ 3-5 ไร่ ผลตอบแทนเป็นเงินแสนแน่นอน

ถั่วแระญี่ปุ่น เป็นพืชผสมตัวเองมีโอกาสผสมข้ามพันธุ์น้อยมาก ไม่เกิน 1 เปอร์เซ็นต์ การเว้นระยะห่างระหว่างพันธุ์จึงไม่จําเป็น แต่ควรระมัดระวังการปะปนของเมล็ดพันธุ์ขณะเก็บเกี่ยว กะเทาะเปลือกทําความสะอาดคัดแยกเมล็ด ตลอดจนการบรรจุลงในถุง หรือภาชนะ ซึ่งจะเป็นสาเหตุให้ความบริสุทธิ์ของเมล็ดพันธุ์ลดลงมากกว่าเกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ การปฏิบัติดูแลรักษาทําเช่นเดียวกับการผลิตฝักสด แต่อาจลดอัตราปุ๋ยที่ให้ลงเหลือ ½ ถึง 3/4 ของปริมาณที่ใช้ในการผลิตฝักสด เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ปลูกสามารถนําไปขยายพันธุ์เพื่อใช้ปลูกต่อไปได้ แต่การผลิตเมล็ดพันธุ์ให้มีคุณภาพดี คือตรงตามพันธุ์ เปอร์เซ็นต์ความงอกสูงกว่า 90% เมื่อนําไปปลูกจะให้ต้นกล้าที่แข็งแรงเจริญเติบโตรวดเร็วปราศจากโรคและแมลง ต้องการปัจจัยสําคัญหลายประการ ดังนี้

ฤดูปลูกที่เหมาะสม ในช่วงที่เมล็ดเจริญเติบโตและพัฒนาตั้งแต่เริ่มติดฝัก จนกระทั่งเมล็ดเต่งสมบูรณ์ต้องการสภาพอากาศที่ไม่ร้อนจัดเกินไป อุณหภูมิเฉลี่ยที่เหมาะสม ประมาณ 25-27 องศาเซลเซียส และในช่วงที่ฝักแก่เปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาลจนกระทั่งเก็บเกี่ยวตากฝักให้แห้ง การกะเทาะเมล็ดออกจากฝักต้องการสภาพอากาศค่อนข้างแห้งไม่มีฝนตก แสงแดดจัด ดังนั้น ฤดูปลูกที่เหมาะสมจึงอยู่ในช่วงปลายฤดูฝนเข้าสู่ฤดูหนาว ราวเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นช่วงที่อากาศเย็นและความชื้นในอากาศตํ่า การผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วแระญี่ปุ่นให้ได้คุณภาพดี จึงสามารถผลิตได้เพียงปีละ 1 ครั้งเท่านั้น หากพ้นระยะนี้จะใช้ผลิตเป็นเมล็ดพันธุ์ ถั่วแระญี่ปุ่น หรือถั่วเหลืองฝักสด

การคัดทิ้ง คือการคัดต้นที่มีลักษณะผิดจากปกติทิ้งไป แม้ว่าถั่วแระญี่ปุ่นจะมีโอกาสผสมข้ามพันธุ์น้อยมาก แต่การเกิดต้นที่มีลักษณะผิดพันธุ์มักจะพบเห็นบ่อยครั้ง ซึ่งอาจเกิดจากการปะปนของพันธุ์อื่น หรือการกลายพันธุ์ ดังนั้น การที่จะผลิตเมล็ดพันธุ์ต้องตรงตามพันธุ์ มีความสมํ่าเสมอในสายพันธุ์เป็นเยี่ยม จะต้องมีการคัดทิ้งทุกระยะการเจริญเติบโต เช่น ระยะหลังงอก คัดทิ้งต้นที่งอกช้ากว่าปกติ ต้นที่มีสีลําต้นผิดไป ระยะออกดอก คัดทิ้งต้นที่ออกดอกเร็วหรือช้ากว่าปกติ คัดทิ้งต้นที่มีสีดอกผิดไป ระยะติดฝักจนถึงฝักแก่ คัดทิ้งต้นที่มีการเจริญเติบโตผิดไป สังเกตได้จากความสูง สีใบ ลักษณะใบ การติดฝัก สีขนบนฝักที่แตกต่างออกไป นอกจากนี้ ยังต้องคัดทิ้งเมล็ดพันธุ์ที่มีสีเมล็ดผิดไปหรือเมล็ดถูกทําลายโดยเชื้อรา หรือเมล็ดที่มีขนาดเล็กเกินไป หรือเมล็ดที่แตกหักเสียหายออกจากเมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์

การเก็บเกี่ยวและเทคโนโลยีเกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์ หลังจากปลูกถั่วแระญี่ปุ่นไปแล้วประมาณ 80-85 วัน ฝักจะแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลืองและสีนํ้าตาล เมื่อฝักส่วนใหญ่กว่า 70% เปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาลสามารถเก็บเกี่ยวได้ทั้งหมด แม้ว่าฝักยังเป็นสีเหลืองก็ให้เมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณมีคุณภาพดีเช่นเดียวกัน ในระยะที่ฝักเริ่มเปลี่ยนสีเป็นสีนํ้าตาล ควรจะฉีดสารกันเชื้อรา 1 ครั้ง เพื่อป้องกันเชื้อราเข้าทําลายฝักและเมล็ด การเก็บเกี่ยวไม่ควรล่าช้าเกินไป เพราะถ้าปล่อยให้ฝักแห้งอยู่ในแปลงปลูกนาน โอกาสที่เชื้อราจะติดกับฝักและเมล็ดมีมากขึ้น อีกทั้งฝักอาจจะแตกออกเองเมล็ดร่วงหล่นเสียหาย การเก็บเกี่ยวทําโดยตัดทั้งต้นโดยใช้เคียวหรือกรรไกร นําต้นและฝักไปเกลี่ยตากให้แห้งบนตาข่ายไนล่อนหรือผ้าใบ การตากใช้เวลาประมาณ 3-5 วัน (ในช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคม อากาศจะแห้ง แดดจัด) เมื่อฝักแห้งจะแตกออกเอง แต่บางเมล็ดยังติดอยู่ในฝักเนื่องจากฝักที่แตกออกม้วนตัวเป็นเกลียวหุ้มเมล็ด

การกะเทาะเปลือก ต้องทําด้วยความละมุนละม่อม ถ้าฝักแห้งดีการใช้ไม้ตีเบาๆ ก็จะทําให้เมล็ดหลุดจากฝักได้ ถ้าใช้เครื่องกะเทาะต้องใช้ความเร็วรอบตํ่า และกะเทาะเปลือกขณะที่ความชื้นในเมล็ดลดต่ำกว่า 20% มิฉะนั้นเมล็ดจะแตกเสียหายมาก การลดความชื้นในเมล็ดให้ตํ่ากว่า 8% ก่อนนําไปเก็บรักษาเป็นสิ่งจําเป็น ยิ่งความชื้นในเมล็ดให้ตํ่าลงมาก ก็จะเก็บรักษาเมล็ดได้นานขึ้น เพราะเชื้อราหรือแมลงที่ติดมาไม่สามารถเจริญเติบโตแพร่พันธุ์ต่อไปได้ แต่การลดความชื้นในเมล็ดจะต้องค่อยเป็นค่อยไป ไม่ควรให้เมล็ดกระทบแสงแดดจัดโดยตรง ควรช่วยพรางแสงโดยใช้ตาข่ายไนล่อนปิดด้านบน หรือกลบเกลี่ยเมล็ดบ่อยๆ

การเก็บรักษา เนื่องจากถั่วแระญี่ปุ่น เป็นพืชน้ำมันที่เมล็ดสูญเสียความงอกอย่างรวดเร็ว ถ้าเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ในสภาพธรรมชาติ ซึ่งความชื้นและอุณหภูมิมีความแปรปรวนตลอดเวลา เมล็ดถั่วแระญี่ปุ่นจะสูญเสียความงอกเหลือตํ่ากว่า 50% ภายในระยะเวลา 3-4 เดือน ดังนั้น จึงต้องรีบกะเทาะเมล็ด ทําความสะอาด คัดเลือกเมล็ด และบรรจุในภาชนะที่ปิดสนิทอย่างรวดเร็ว และนําไปเก็บในห้องควบคุมอุณหภูมิไม่เกิน 20 องศาเซลเซียส ซึ่งจะสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ได้ประมาณ 1 ปี ถ้าต้องการเก็บรักษานาน 2-3 ปี จะต้องเก็บในสภาพอุณหภูมิตํ่ากว่า 10 องศาเซลเซียส

การปลูกถั่วแระญี่ปุ่น หรือถั่วเหลืองฝักสดของเกษตรกรในอำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา ถือว่าตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาล และปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนในเรื่องน้ำ เพราะถั่วแระญี่ปุ่นต้องการน้ำน้อย ประกอบเป็นพืชที่สามารถทำพันธสัญญากับบริษัทผู้รับซื้อ หรือขายก่อนปลูก และให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าต่อหน่วยการผลิต แต่เกษตรกรจะต้องขยันและใช้ความประณีตในการผลิต เพื่อให้ได้ผลผลิตคุณภาพตรงความต้องการของคู่สัญญา

เมนูอาหาร ชะอมชุบไข่ทอด bndindia.com แก้งส้มชะอมชุบไข่ทอด แกงป่าไก่ เนื้อ ใส่ชะอม แกงคั่วหอยขมใส่ชะอม ชะอมลวกจิ้มน้ำพริกกะปิ ล้วนเป็นเมนูที่ได้รับความนิยมมาอย่างต่อเนื่อง นั่นเป็นสิ่งบ่งบอกได้ว่า ชะอมเป็นพืชผักสวนครัวชนิดหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม

ชะอม เป็นผักพื้นบ้านอีกหนึ่งชนิดที่คนไทยรู้จักและนิยมรับประทานกัน ทุกๆ บ้านจะใช้พื้นที่ว่างตามรั้วบ้านปลูกชะอมเพียงไม่กี่ต้น เพื่อเก็บไว้รับประทานกันเองในครอบครัวจนถึงปัจจุบันนี้

ความต้องการบริโภคชะอมที่มีอย่างต่อเนื่อง ส่งผลทำให้ปัจจุบันชะอมกลายเป็นพืชเศรษฐกิจอีกหนึ่งชนิดที่เกษตรกรหันมาปลูกในเชิงพาณิชย์ โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดนครนายก ทำให้มีเงินสะพัดปีละหลายล้านบาทจากการปลูกชะอมตัดยอดจำหน่ายและตอนกิ่งขายในชุมชน รองจากข้าวและไม้ผลอย่างมะยงชิด

คุณบุญเรือง ปิ่นเกตุ หนึ่งในเกษตรกรที่หันมาให้ความสนใจปลูกชะอมตัดยอดจำหน่ายอยู่ในพื้นที่ตำบลปากพลี อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก โดยใช้พื้นที่บริเวณรอบบ้านปรับปรุงให้เป็นพื้นที่ปลูกชะอม

“ในชุมชนส่วนใหญ่จะมีอาชีพทำนาปี ซึ่งจะมีเวลาเหลือค่อนข้างมาก ชาวบ้านจึงมองหาพืชอื่นๆ มาปลูกเสริมเพื่อหารายได้เสริมเข้ามาช่วย ซึ่งในช่วงนั้นมีการนำไม้ผลอย่างขนุนและมะยงชิดมาปลูกแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ บางปีไม่ติดผล จึงเริ่มหาพืชอื่นๆ เข้ามาปลูก ซึ่งในช่วงปี 48 เข้าปี 49 มีพ่อค้าตลาดสะพานใหม่มาแนะนำให้ปลูกชะอม และจะรับชื้อผลผลิตทั้งหมด ซึ่งในขณะนั้นมีคนให้ความสนใจไม่มากนัก”

พื้นที่ว่างตามริมรั้วหรือพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ถูกปรับปรุงเพื่อใช้ปลูกชะอม ปลูกผสมผสานในสวนผลไม้ ซึ่งผลผลิตที่ใด้ส่งจำหน่ายออกไปในรูปแบบมัดกำ ราคากำละ 2-6 บาท สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในช่วงที่รอเก็บเกี่ยวข้าวที่เป็นอาชีพหลัก

“ชะอม เราปลูกประมาณ 2 เดือนขึ้นไป ยอดจะแตกออกมาให้เก็บผลผลิต ยิ่งมีการดูแลที่ถูกวิธีและให้น้ำอย่างสม่ำเสมอสามารถเก็บยอดได้วันเว้นวัน ซึ่งแต่ละครั้งจะได้ประมาณ 50 กิโลกรัม ในฤดูจะสูงถึง 100 กิโลกรัม”

รายได้จากการปลูกชะอม กลายเป็นแรงจูงใจให้คนในตำบลปากพลีทุกหมู่บ้าน หันมาปลูกชะอมเป็นอาชีพเสริมเพิ่มมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันพื้นที่บริเวณรั้วบ้านและพื้นที่ว่างเปล่าของทุกครัวเรือนถูกเนรมิตทำเป็นสวนชะอม พูดได้ว่าบ้านไหนที่ไม่มีต้นชะอมบ้านนั้นถือว่าเชย

ปัจจุบัน คุณบุญเรือง มีพื้นที่ปลูกชะอม ทั้งหมด 1 ไร่ โดยพันธุ์ชะอมที่คุณบุญเรืองและชาวบ้านเลือกมาปลูกจะเป็นพันธุ์ที่มียอดขนาดใหญ่และปริมาณยอดมากในหนึ่งต้น

คุณบุญเรือง ได้เล่าถึงขั้นตอนการปลูกชะอมให้ได้ปริมาณและยอดอย่างต่อเนื่องให้ฟังว่า หัวใจสำคัญคือ ระยะของการปลูกระหว่างต้นและแถวต้องมีระยะปลูกที่เหมาะสม