รู้หรือไม่? ลูกชิด ทำมาจาก ต๋าวประโยชน์ ใช้ทำลูกชิด มีพืชที่

เป็นญาติใกล้ชิดกับต๋าวคือซก พบมากแถบจังหวัดสุราษฎร์ธานี ใช้ทำลูกชิดได้เช่นกัน ต๋าว กับ ซก ต่างกันเล็กน้อย

ต๋าว หรือ ตาว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Arenga westerhoutti Griff. พบในอินเดียและไทย โดยเฉพาะเขตป่าภูเขาสูง อย่าง น่าน อุตรดิตถ์ และบางอำเภอของจังหวัดเลย ต๋าว มีใบย่อยเรียงกันเป็นระเบียบในระนาบเดียวกัน ที่จังหวัดเลยมีหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ชื่อบ้าน “แก่วตาว” อยู่ในพื้นที่อำเภอด่านซ้าย

ซก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Arengapinnata Werr. มีใบย่อยเรียงกันหลายระดับ ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีภูเขาลูกหนึ่งชื่อ เขาซก

พบประชากรของต๋าวหนาแน่นที่ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน ต๋าว เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ต้นสูง 6-15 เมตร ไม่แตกกิ่ง ไม่แตกหน่อ ใบเป็นแฉกคล้ายมะพร้าว รูปขนนก โคนของเส้นใบมีกาบใบห่อหุ้ม เรียกว่า รก

ตั้งแต่ปลูกจนกระทั่งออกดอก ใช้เวลา 8-15 ปี แล้วแต่สภาพความอุดมสมบูรณ์ของต้น

ผลต๋าวตั้งแต่ออกดอกจนเก็บเกี่ยวได้ ใช้เวลา 30-36 เดือน

ต๋าว 1 ต้น ให้ผลผลิตได้ 7-10 ทะลาย แต่ละทะลายมีประมาณ 3,000 ผล ถือว่ามีขนาดใหญ่มาก ใส่กระบะรถจนเต็มได้เหมือนกัน ใช้คนหามขึ้นรถ 3-4 คน ต๋าว 1 ต้น มีอายุให้เก็บเกี่ยวได้ 7-8 ปี เฉลี่ยแล้วปีละ 1 ทะลาย

พืชชนิดนี้ เริ่มให้ผลผลิตจากยอดลงมาโคนต้น หมายถึงไล่เก็บผลผลิตลงมาได้ 7-8 ทะลาย จากนั้นต้นก็จะตาย

ฤดูการเก็บต๋าวอยู่ในช่วงปลายฝน จนถึงต้นฤดูหนาว ชาวบ้านจะปีนต้น ใช้มีดตัดทะลายลงมาจากต้น จากนั้นจึงตัดแขนงทะลาย ปลิดขั้วผลหรือนำทั้งแขนงผลลงมาต้มในหม้อหรือปีบ ต้มในน้ำเดือด ราว 1 ชั่วโมงจากนั้นจึงนำมาบีบเอาเนื้อใน

ก่อนที่ชาวบ้านเขาจะเลือกตัดทะลายต๋าว เขามีการทดสอบความสุกแก่ โดยปลิดผลจากแขนง แล้วผ่าประมาณครึ่งผล ดูสีของเนื้อในเมล็ดที่เรียงชิดกัน 3 เมล็ด ต่อผล หากเมล็ดในยังเป็นวุ้น แสดงว่ายังอ่อนอยู่ เก็บเกี่ยวยังไม่ได้

หากใช้ไม้จิ้มเนื้อในเมล็ด หากหนืดพอดี สามารถเก็บเกี่ยวได้ แต่หากเนื้อในสีขาวขุ่น เริ่มมีกะลาสีดำล้อมรอบ แสดงว่าแก่เกินต้ม ควรเก็บไว้ทำพันธุ์

ที่อำเภอบ่อเกลือ มีสิ่งที่น่าสนใจหลายอย่าง อำเภอนี้เป็นต้นกำเนิดของน้ำน่าน หรือเรียกว่า “ขุนน้ำน่าน” เป็นสายน้ำเล็กๆ เดินข้ามหรือกระโดดข้ามได้

อำเภอนี้ มีแหล่งเกลือธรรมชาติ ที่ชาวบ้านหุงต้มมานานแล้ว บ่อเกลือ เป็นสายน้ำใสๆ ผุดขึ้นมาจากดิน น้ำมีรสเค็มจัด ทั้งๆ ที่ผุดขึ้นมาข้างๆ ลำน้ำ ชาวบ้านนำน้ำเค็มไปต้มจนได้เม็ดเกลือสีขาวบริสุทธิ์ ถือว่าเป็นของมีค่ามาช้านานแล้ว

ยุคเก่าก่อนเกลือมีค่า จึงเรียกว่า “ทองคำขาว” ไม่ไกลจากบ่อเกลือนัก บนภูเขา มีต้นเต่ารั้งยักษ์ หรือ Giant Mountain caryota เป็นปาล์มขนาดใหญ่มาก ช่วงใดที่นั่งรถผ่านแล้วมีหมอกจางๆ คลุมบริเวณนั้นอยู่ มีความรู้สึกว่า แถบนั้นเป็นป่าดึกดำบรรพ์ ชวนให้นึกถึงไดโนเสาร์

Giant Mountain caryota เป็นป่าปาล์มที่ อาจารย์ปิฏฐะ บุนนาค บิดาปาล์มประดับของไทย พูดถึงบ่อยๆ อาจารย์ปิฏฐะ ท่านล่วงลับไปแล้ว เมื่อปี 2539

ยุคเก่าก่อน การนำผลต๋าวออกมาจากป่า ทำได้ด้วยความยากลำบาก โดยเฉพาะหน้าฝน ต้องไปสร้างทับ ทำที่อยู่ชั่วคราว ซึ่งมีอุปสรรคต่างๆ นานา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องไข้ป่าหรือมาลาเรีย

ชาวบ้านจะไปกันเป็นทีม ช่วยกันทำงานแข่งกับเวลา โดยตัดทะลายต๋าว นำมาต้ม บีบ จากนั้นก็หาบหามมายังถนน รอผู้ซื้อไปรับ

การเก็บต๋าวจากป่าทุกวันนี้มีน้อยลง เนื่องจากต้นต๋าวในธรรมชาติมีไม่มากนั่นเอง แต่ที่คนพื้นราบ ยังได้ลิ้มรสลูกชิดอร่อยๆ ในรูปของขนมหวาน เพราะว่าต๋าวส่วนหนึ่งนำเข้ามาจากต่างประเทศ โดยแหล่งรวมต๋าวมากที่สุดอยู่ที่จังหวัดอุตรดิตถ์ ทุกวันนี้มีการปลูกต้นต๋าวที่อำเภอบ่อเกลือ จำนวนหลายหมื่นต้น แต่ผลผลิตยังได้ไม่มากนัก จังหวัดโอกินาวา เกาะเล็กๆ ตั้งอยู่ระหว่างญี่ปุ่นกับไต้หวัน ถือเป็นเกาะที่มีประชากรอายุเกิน 100 ปี มากที่สุดในโลก สาเหตุที่ชาวเกาะโอกินาวามีอายุยืนที่สุดในโลก เนื่องจากอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่ดีประกอบกับพื้นเพวัฒนธรรมของคนโอกินาวามีนิสัยผ่อนคลาย ไม่เครียด และบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพ 3 อันดับแรกที่กินแล้วอายุยืน คือ 1. ผัดมะระโอกินาวา (โกยะ จัมปุรุ) 2. ผัดสาหร่ายคอนบุ (คูบุอิริจิ) และ 3. น้ำส้มโอกินาวา (ชีกัวชา)

โกยะ จัมปุรุ หรือ ผัดมะระ จัดเป็นอาหารยอดนิยมของจังหวัดโอกินาวา ที่ไปเกาะแห่งนี้แล้วต้องทานให้ได้ เพราะมะระโอกินาวา เป็นผักพื้นบ้านที่มีประวัติยาวนาน เป็นหนึ่งในอาหารของคนโอกินาวาที่กินแล้วจะอายุยืน นิยมนำไปผัดกับเต้าหู้และไข่เป็นอาหาร ในสมัยก่อนถ้ามีฐานะหน่อยก็มักจะผัดกับหมู

มะระโอกินาวา หรือ มะระญี่ปุ่นนั้น มีสารที่เรียกว่า “โพลีฟีนอล” ซึ่งเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่ป้องกันการเสื่อมสภาพของเซลล์เนื้อเยื่อในร่างกายเป็นจำนวนมากและเต้าหู้ทั้งหลายที่ชาวญี่ปุ่นชอบกินนั้นมีสารอาหาร ที่เรียกว่า “ไฟโตเอสโตรเจน” ซึ่งเชื่อกันว่า ช่วยลดโอกาสการเป็นโรคหัวใจขาดเลือดได้ มะเร็งเต้านม และมะเร็งต่อมลูกหมากที่เป็นโรคร้ายในวัยชราทั้งสิ้น

รสขมในมะระเกิดจากสารที่เรียกว่า “โมโมดิซิน” มีสรรพคุณช่วยเจริญอาหาร และเป็นยาระบายอ่อน ๆ และ “ชาแลนทิน” ที่อยู่ในเปลือก มีสรรพคุณทางยาในการลดน้ำตาลในเลือด และรักษาโรคเบาหวาน ที่โอกินาวาเชื่อกันมาแต่สมัยโบราณว่าความขมของมะระจะช่วยทำให้เลือดสะอาดและช่วยเรื่องความดันเลือดให้คงที่

ในบรรดาผักสีเหลืองเขียว มะระนั้นถือว่าเป็นผักที่มีวิตามินซีสูงมากในลำดับต้น ๆ สูงกว่ามะนาว 2-3 เท่าตัว มากกว่าผักกะหล่ำปลีถึง 4 เท่า ทำให้มะระเป็นตัวแทนอาหารของโอกินาวามาอย่างยาวนาน

“สวนคุณลี” จ.พิจิตร
บุกเบิกปลูก “มะระขี้นกยักษ์โอกินาวา”

“สวนคุณลี” อ.เมือง จ.พิจิตร ได้นำพันธุ์ “มะระขี้นกยักษ์โอกินาวา” มาปลูกในประเทศไทย พบว่ามีการเจริญเติบโตดีมาก สามารถออกดอก ติดผลดกมากและมะระมีรสชาติดีเหมือนที่ปลูกบนเกาะโอกินาวาทีเดียว โดยจุดเด่นของมะระโอกินาวาคือรสชาติไม่ขมมาก นำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเช่นเดียวกับมะระทั่วไป

การปลูก “มะระขี้นกยักษ์” โอกินาวา เริ่มต้นจากเพาะกล้ามะระโอกินาวา โดยการนำเมล็ดมาแช่น้ำอุ่น ประมาณ 1 คืน แล้วนำมาห่อกับผ้าชุบน้ำหมาด ๆ หรือวางบนกระดาษทิซชูเปียกน้ำหมาด ๆ บ่มเมล็ดประมาณ 2-3 วันในกระติกน้ำ, กล่องโฟม หรือกล่องพลาสติกเพื่อให้รากงอกได้ดี เริ่มมีรากงอกออกมาให้เห็น เมล็ดที่พร้อมย้ายคือมีรากงอกออกมา เปลือกแตกเป็นสองซีก รากไม่ควรยาวเกิน 1 ซม. เพื่อป้องกันไม่ให้รากหักเวลาย้ายปลูก

วัสดุปลูกคือ แกลบดำ ดินร่วน และขุยมะพร้าว ในอัตราส่วน 1:1:1 ย้ายเมล็ดลงถาดหลุมหรือถุงดำขนาดเล็ก เมื่อกล้ามีใบจริง 3-5 ใบก็สามารถย้ายปลูกลงถุงดำใบใหญ่หรือปลูกลงแปลงได้ ควรย้ายปลูกในตอนเย็นเพราะอากาศไม่ร้อนมากนัก มะระเป็นพืชเถามีมือเกาะ จำต้องทำค้างไม้ไผ่ให้ต้นมะระสามารถเลื้อยเกาะเกี่ยวในการเจริญเติบโต

การให้ปุ๋ยเน้นการให้ปุ๋ยคอกโดยใช้รวมกับปุ๋ยเคมีสูตรเสมอเช่นสูตร 16-16-16 ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบและปุ๋ยชีวภาพตามระยะการเจริญเติบโต แมลงศัตรูในพื้นที่ที่มีแมลงวันทองระบาด ควรจะมีการห่อผลมะระด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์หรือถุงห่อ

เมื่อกล้ามะระโอกินาวามีใบจริง 3-5 ใบ ก็สามารถย้ายปลูกลงถุงดำใบใหญ่หรือปลูกลงแปลงได้ ด้วยระยะระหว่างหลุมประมาณ 50 เซนติเมตร และระยะห่างระหว่างแถวประมาณ 1-1.50 เมตร การย้ายกล้านิยมปลูกในช่วงเวลาเย็นแสงแดดไม่ร้อนมากนัก

มะระเป็นไม้เถามีมือเกาะจำเป็นต้องทำค้างเพื่อให้มะระเลื้อยขึ้นไปได้ หลังปลูกประมาณ 1 อาทิตย์ก็จะเริ่มให้ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยทุก 7 วันครั้งโดยจะใช้เน้นใส่ปุ๋ยสูตร 16-16-16 ให้ปุ๋ยบ่อยแต่ให้ครั้งละไม่มาก ให้มะระได้กินปุ๋ยอย่างต่อเนื่อง ยอดแตกไม่ค่อยดี ยอดไม่เดิน ก็จะเปลี่ยนมาใช้ปุ๋ยสูตรตัวหน้าสูง อย่าง 25-7-7 พอยอดเดินดีแล้วก็ค่อยมากลับมาใช้ 16-16-16 ยืนพื้นตามเดิม และเน้นให้ปุ๋ยทางใบค่อนข้างถี่ ตั้งแต่ช่วงปลูกแรก ๆ

พอมะระแตกใบมา 4-5 ใบก็เริ่มฉีดพ่นแล้วเพื่อเร่งต้นให้โตเร็ว ช่วงมะระอายุได้ 30 วัน ยังไม่ติดผลให้รดน้ำวันละครั้ง ทิ้งน้ำไม่ได้เลยช่วงนี้ ไม่เช่นนั้นจะทำให้ต้นมะระนิ่งไม่ค่อยอยากจะโต เมื่อได้น้ำสม่ำเสมอ การห่อผลมะระ เมื่อมะระอายุได้ 40 วัน จะออกดอกและติดผลจนลูกโตขนาดนิ้วโป้งมือ ก็เริ่มห่อผลได้ทันที การเก็บผล เมื่อต้นมะระอายุได้ประมาณ 35-40 วัน มะระรุ่นแรก จะเริ่มแก่ทยอยเก็บผลได้.

ชื่อเสียงของ ดอยช้าง จังหวัดเชียงราย เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวว่ามีความสวยงาม อันเกิดจากความหลากหลายทางธรรมชาติ ทั้งภูเขา น้ำตก ป่าไม้ ตลอดจนแหล่งอารยธรรมทางวัฒนธรรมของชนเผ่าชาวไทยภูเขา สร้างความหลงใหลให้แก่นักท่องเที่ยวต้องแวะเยือนกันอย่างไม่ขาดสาย

ขณะที่สภาพทางกายภาพบนดอยช้างมีความสูงชันตามลักษณะภูเขา ตลอดจนมีอากาศชุ่มชื้นจากป่าไม้ ซึ่งเอื้อต่อการปลูกไม้เมืองหนาวหลายชนิด โดยเฉพาะกาแฟพันธุ์อาราบิก้าที่ขึ้นชื่อว่ามีคุณภาพดี กลิ่นหอม และรสชาติเยี่ยมไม่แพ้กาแฟนอก

จึงทำให้ชาวบ้านในชุมชนหมู่บ้านต่างๆ หันมาปลูกกาแฟขาย พร้อมกับรวมตัวกันเป็นกลุ่มผลิตกาแฟแบบครบวงจร ตั้งแต่การปลูก การเก็บผลผลิต การคั่ว การส่งออก รวมถึงการขายเป็นกาแฟสำเร็จรูปอีกด้วย มีคุณภาพเทียบเท่ากาแฟต่างประเทศ จนเป็นที่ถูกใจของคอกาแฟทั้งไทยและต่างชาติ

เช่นเดียวกับ คุณฐิณัฏฐา นภาจรี หรือ คุณลักกี้ คลื่นลูกใหม่ที่เข้ามาสานต่ออาชีพปลูกกาแฟซึ่งทำกันมายาวนานตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษ แล้วยังสร้างเครือข่ายด้วยการรับซื้อผลผลิตจากชาวบ้านในพื้นที่เพื่อผลิตกาแฟแบบครบวงจร เน้นผลิตกาแฟด้วยมาตรฐาน จนได้รับการยอมรับจากตลาดลูกค้าทั้งใน/ต่างประเทศ ในชื่อดอยช้างคอฟฟี่ฟาร์ม (Doi Chang Coffee Farm) พร้อมกับเปิดร้านกาแฟ และรีสอร์ต จัดกิจกรรมต่างๆ ต้อนรับนักท่องเที่ยวที่หลั่งไหลมาตลอดทั้งปี

คุณลักกี้ เล่าว่า ขยายพันธุ์กาแฟด้วยเมล็ด ภายหลังเมื่อเพาะเป็นต้นกล้าได้เกือบ 2 ปี จึงย้ายต้นกล้าที่แข็งแรงสมบูรณ์ลงดินปลูกในสวน โดยขุดหลุมขนาดกว้าง ยาว ลึก ประมาณ 1 ศอก แล้วให้รองก้นหลุมด้วยเปลือกกาแฟ เพราะมีอยู่จำนวนมากแล้วยังมีคุณค่าทางอาหารที่ดีให้กับต้นกาแฟอีก ถือเป็นการลดต้นทุนโดยไม่ต้องพึ่งพาปุ๋ยเคมี

ต้นกาแฟในสวนจะปลูกห่างกันประมาณ 1 วา แล้วปลูกไว้ใต้ต้นไม้ใหญ่เพื่ออาศัยร่มเงา จนเมื่อต้นกาแฟอายุประมาณ 4 ปี จะเริ่มให้ผลผลิตรุ่นแรก แต่ก่อนจะได้ผลผลิตสัก 1 ปี ต้องใส่ปุ๋ยยูเรีย สูตร 46-0-0 ในปริมาณครึ่งกำมือ ใส่บริเวณโคนต้น ไม่ต้องชิดแล้วรดน้ำตาม

ในปีที่ 4 ต้นกาแฟจะเริ่มให้ผลผลิตรุ่นแรก ทั้งนี้จำนวน คุณภาพ และความสมบูรณ์ จะมีมาก-น้อย ต่างกันขึ้นอยู่กับการเอาใจใส่แล้วพัฒนาปรับปรุงคุณภาพเนื้อดิน แต่จากประสบการณ์ที่ผ่านมา คุณลักกี้ ชี้ว่า กาแฟรุ่นแรกจะให้ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 5 กิโลกรัม อย่างไรก็ตาม จำนวนผลผลิตจะเพิ่มมากขึ้นตามอายุของต้นกาแฟ รวมถึงการดูแลบำรุง

เพราะเมื่อต้นมีอายุมากขึ้นเรื่อยๆ จะแตกกิ่งก้านสาขาออก แล้วผลกาแฟจะเกิดขึ้นตามกิ่งก้านที่แตกออกมา ดอกกาแฟจะผสมกันเองตามธรรมชาติ แล้วจะเริ่มบานในราวเดือนเมษายน จะติดผลในราวเดือนกรกฎาคม พอเข้าช่วงปลายเดือนตุลาคมเป็นต้นไป ผลกาแฟจะทยอยสุก สังเกตจากผลที่มีสีแดงหรือสีเหลือง จากนั้นคนงานจะเก็บไปเรื่อยๆ จนถึงประมาณเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม

1. การนำเมล็ดกาแฟสุกไปแช่ในน้ำ เพื่อคัดแยกคุณภาพเมล็ด ทั้งนี้เมล็ดที่สมบูรณ์และมีคุณภาพสูงจะจมน้ำ ส่วนเมล็ดที่ลอยแสดงว่าเป็นเมล็ดที่ไม่สมบูรณ์ จะแยกไว้เพื่อนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นต่อไป

เมล็ดสมบูรณ์จะแช่น้ำไว้สัก 1 คืน พอตอนเช้าจะเทน้ำทิ้งแล้วนำเมล็ดกาแฟมาขัดสีเพื่อนำเปลือกสีแดงออก

3. เมล็ดที่นำเปลือกออกแล้ว จะนำไปแช่ในบ่อน้ำต่ออีกสัก 2 คืน เพื่อให้เมือกที่ติดกับเมล็ดกาแฟหลุดออกไป

4. แล้วนำเมล็ดไปตากแดดเพื่อไล่ความชื้นออกให้หมด ซึ่งเรียกกันว่า เมล็ดกะลา โดยใช้เวลาตากแดด ประมาณ 7 แดด (7 วัน)

ให้นำเมล็ดกะลาไปกะเทาะเปลือกหรือกะลาออก แล้วจะเหลือเป็นกาแฟสาร

6. คัดแยกคุณภาพเมล็ดกาแฟสาร ทั้งนี้เมล็ดกาแฟสารที่มีคุณภาพสมบูรณ์ จากนั้นจะนำไปบรรจุใส่กระสอบป่านขนาด 50 กิโลกรัม เพื่อส่งให้ลูกค้ากลุ่มที่มีโรงคั่วเองทั้งในและต่างประเทศตามยอดการสั่งจอง

คุณลักกี้ บอกว่า ตลาดต่างประเทศที่ส่งเป็นประจำ ได้แก่ ทางเกาหลี และเยอรมนี ทั้งนี้ตลาดต่างประเทศมีสัดส่วนกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ของตลาดในประเทศ โดยผลิตส่งครั้งละประมาณ 5 ตัน ส่วนตลาดในประเทศทำธุรกิจ 2 แบบคือการส่งขายกาแฟสาร กับการส่งขายกาแฟคั่วสำเร็จให้แก่ตามร้านกาแฟทั่วไป ขณะเดียวกันกาแฟบางส่วนยังนำไปคั่วขายที่ร้านกาแฟของตัวเอง

นอกจากนั้น ลูกค้าทางเกาหลียังสนใจกระบวนการผลิตกาแฟที่สวนของคุณลักกี้ โดยจัดส่งบุคลากรเข้ามาศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่อง จึงถือเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมของไร่กาแฟ จนเป็นที่มาของการสร้างรีสอร์ตไว้รองรับ

ความต้องการของตลาดที่มีมากมาย ลำพังผลผลิตในสวนกาแฟของเธอคงไม่พอรองรับ ดังนั้น ต้องรับซื้อเมล็ดกาแฟจากสมาชิกที่มีอยู่ จำนวน 45 ราย เข้ามาเสริมด้วย โดยแต่ละครั้งสมาชิกจำนวนดังกล่าวจะนำผลผลิตมาส่งรวมกัน ประมาณ 300 ตัน ถ้ารวมสวนตัวเองด้วยจะได้ผลผลิตทั้งสิ้นกว่า 400 ตัน อย่างไรก็ตาม ตัวเลขนี้อาจเพิ่ม-ลด ได้ตามสภาพทางธรรมชาติที่เอื้อต่อการปลูกกาแฟในแต่ละปี

คุณลักกี้ บอกว่า กาแฟในสวนของครอบครัวรวมถึงของสมาชิกเป็นการปลูกกาแฟโดยไม่ใช้สารเคมี แล้วเน้นใช้แนวทางอินทรีย์ ด้วยเหตุนี้จึงต้องเอาใจใส่อย่างละเอียดในทุกขั้นตอน

ทั้งนี้มีการตรวจสอบคุณภาพเมล็ดกาแฟจากสมาชิกหากพบปัญหาทางด้านคุณภาพผลผลิตที่เกิดจากสมาชิกทั้งในเรื่องการเก็บผลผลิตหรือโรค/แมลง แล้วส่งผลทำให้คุณภาพผลผลิตลดลงหรือไม่ได้มาตรฐาน ก็จะเชิญสมาชิกมาประชุมหาแนวทางแก้ไขปัญหา พร้อมกับเชิญผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้านมาให้ความรู้หรือแนะนำ

อีกวิธีของการควบคุมผลผลิตเพื่อไม่ให้กระทบกับคุณภาพกาแฟที่ส่งให้ลูกค้าด้วยการคัดแยกเมล็ดกาแฟตั้งแต่ต้นทาง โดยการนำเมล็ดกาแฟสุกที่สมาชิกนำมาส่งแล้วนำไปแช่ในน้ำเพื่อแยกความสมบูรณ์ของเมล็ดกาแฟออกก่อนในชั้นแรก

คุณลักกี้ บอกว่า การผลิตกาแฟสดสามารถเลือกคั่วกาแฟตามคุณภาพของกาแฟแต่ละชนิดได้ หมายถึง ทางโรงงานสามารถกำหนดคุณภาพเมล็ดกาแฟได้หลายชนิด เพื่อจำหน่ายให้ลูกค้าตามกำลังซื้อ โดยกาแฟสดที่แปรรูปแบ่งออกเป็น
1. กาแฟคั่วแล้วแต่ยังเป็นเมล็ด
2. กาแฟดริ๊บที่บรรจุถุงเวลาจะดื่ม ต้องใช้อุปกรณ์ชง ภายใต้ใช้ชื่อแบรนด์ว่า “ABOPA” แล้วกำหนดราคาขายกาแฟสาร เริ่มที่ 200 บาท ต่อกิโลกรัม กาแฟคั่ว เริ่มที่ 350 บาท ต่อกิโลกรัม

จุดเด่นของกาแฟ “ABOPA” คือ ความมีเอกลักษณ์เฉพาะของรสกาแฟแท้ที่ปลูกจากต้นกาแฟที่มีคุณภาพ ผ่านกระบวนการผลิตเป็นกาแฟอย่างพิถีพิถันใส่ใจทุกขั้นตอนจากโรงงานผลิตที่ได้มาตรฐาน จึงทำให้ได้รสชาติกาแฟที่เข้มข้น หอมละมุน สะอาด ปลอดภัยต่อสุขภาพ

นอกจากสร้างจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ด้วยรสชาติ กระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานเป็นที่เชื่อถือของลูกค้าแล้ว คุณลักกี้ ยังนำกิจกรรมต่างๆ เข้ามาเสริมในไร่กาแฟเพื่อสร้างฐานกลุ่มลูกค้าให้มาก และเป็นที่รู้จักแพร่หลายเพิ่มมากขึ้นเรื่อย โดยลูกค้าสามารถเข้ามาสัมผัสกับกระบวนการผลิตกาแฟในไร่ได้ตั้งแต่การปลูก การเก็บผลผลิต กระบวนการแปรรูปไปจนเห็นกาแฟสำเร็จที่ชงในถ้วย

ร้านดอยช้างคอฟฟี่ฟาร์ม (Doi Chang Coffee Farm) เปิดบริการมาได้กว่า 10 ปี ภายใต้ความมุ่งมั่นที่ต้องการผลิตกาแฟคุณภาพจากฝีมือของชาวบ้านในพื้นที่ เพื่อให้มีรายได้ที่มั่นคงต่อครัวเรือน ทั้งนี้ไม่เพียงจำหน่ายกาแฟแต่ยังมีอาหารว่างหลายเมนู มีเครื่องดื่มอื่นที่ผลิตจากธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็น ชาดอกกาแฟ ชาใบกาแฟ แล้วยังมีจำหน่ายสินค้าที่ระลึกที่เป็นสัญลักษณ์จากดอยช้าง

สอบถามรายละเอียดสั่งซื้อ หรือสนใจเป็นตัวแทนจำหน่ายกาแฟ แบรนด์ “ABOPA” หรือต้องการมาเที่ยวสัมผัสกับธรรมชาติบนดอยช้าง พร้อมเยี่ยมชมและทำกิจกรรมต่างๆ ของดอยช้างคอฟฟี่ฟาร์ม (Doi Chang Coffee Farm) ติดต่อโดยตรงได้ที่ คุณลักกี้

ทุกวันนี้ โรคมะเร็งกำลังเป็นภัยเงียบคุกคามชีวิตผู้คนทั่วโลกอย่างรุนแรง เกือบ 8 ล้านคนต่อปี โดยกลุ่มเสี่ยงส่วนใหญ่เป็นกลุ่มวัยทำงานและผู้สูงอายุ องค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่าในอีก 18 ปีข้างหน้า คือในปี 2573 ทั่วโลกจะมีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งถึง 17 ล้านคน ถือว่าเป็นปัญหาที่น่าห่วงใยมาก

สำหรับประเทศไทย มะเร็งกลายเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของคนไทยติดต่อกันกว่า 10 ปี ที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุข สำรวจพบคนไทยเสียชีวิตจากโรคมะเร็งถึง 58,076 คนจากสาเหตุใหญ่คือ โรคมะเร็งตับ นอกจากนี้ มีผู้ป่วยโรคมะเร็งรอรับการรักษาในโรงพยาบาลกว่า 2 แสนคน โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยอาการมะเร็งลำไส้ใหญ่

ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่าอาหารเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคมะเร็ง ทุกคนสามารถหลีกเลี่ยงโรคร้ายนี้ ได้โดยใส่ใจออกกำลังกาย รักษาน้ำหนักตัวให้เหมาะสม และเลือกรับประทานอาหารที่มาจากพืช ผักและผลไม้ที่มีประโยชน์ ก็จะช่วยให้ร่างกายสามารถต่อต้านโรคมะเร็งได้

ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าการรับประทานผักและผลไม้เพิ่ม 2 หน่วยร่วมกับการออกกำลังกายเพิ่มจะสามารถป้องกันมะเร็งได้ร้อยละ 60-70 เนื่องจากสารอาหาร และวิตามินจากพืช จะช่วยให้ร่างกายซ่อมแซมเซลล์ได้ดีขึ้นรวมทั้ง ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง และยังทำลายสารที่จะก่อให้เกิดมะเร็ง

ความจริงบรรพบุรุษของไทยได้สะสม “ ยาวิเศษ ” เป็นมรดกให้แก่ลูกหลานอยู่จำนวนมาก นั่นก็คือ พันธุ์ข้าวพื้นเมืองทั่วประเทศมากกว่า 200 สายพันธุ์ ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ทั้งวิตามิน และแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากมายไม่ว่าจะเป็น วิตามินบีหนึ่ง โฟเลต สังกะสี ทองแดง ธาตุเหล็ก วิตามินอี วิตามินซี ที่มีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งข้าวแต่ละสายพันธุ์จะให้ปริมาณคุณค่าทางอาหารมากน้อยแตกต่างกันไป

ก่อนหน้านี้ รศ.ดร.รัชนี คงคาฉุยฉาย จากสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ศึกษาวิจัยคุณค่าทางโภชนาการของข้าวพื้นเมือง 30 สายพันธุ์ ของ กลุ่มอนุรักษ์พันธุกรรมข้าวพื้นเมือง ในเขตปฎิรูปที่ดิน ตำบลกำแมด อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร ภายใต้การสนับสนุนของ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ( สปก.)

ความมหัศจรรย์ของพันธุ์ข้าวพื้นเมืองของไทย ที่ค้นพบก็คือ ข้าวพื้นเมือง หลายพันธุ์ มีคุณสมบัติในการต่อต้านมะเร็งได้ดีเยี่ยม เช่น ข้าวเหนียวก่ำใหญ่ ข้าวเจ้ามะลิดำ ข้าวเจ้าแดง ข้าวเหนียวก่ำเปลือกขาว ข้าวเหนียวแสนสบาย ข้าวเหนียวสันปลาหลาด เนื่องจากข้าวกลุ่มนี้มี วิตามินอี(แกมมาโทโคไทรอีนอล) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยยับยั้งสารอนุมูลอิสระที่เข้าไปทำลายเซลล์ของร่างกาย ซึ่งกระตุ้นให้เกิด การตายของเซลล์มะเร็งชนิดต่าง ๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระจกตาเสื่อมในผู้สูงอายุ

เป็นข้าวเจ้าพันธุ์ข้าวพื้นบ้านในจังหวัดนครศรีธรรมราชมาบริโภคแทน เพราะข้าวหน่วยเขือ มีวิตามินอี สูงกว่าข้าวทั่วไปถึง 22 เท่า วิตามินอีจะทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง ลดอาการโรคหัวใจวาย เสริมระบบภูมิคุ้มกัน บำรุงผิวให้สดใสและทำให้แผลเป็นหายเร็วขึ้น ดังนั้น ข้าวหน่วยเขืออาจกลายเป็นเครื่องสำอางบำรุงผิวชั้นยอดสำหรับสตรีทั่วโลก ได้ในอนาคต

ในทางการแพทย์ให้คำแนะนำว่า สมัครเล่นไพ่ออนไลน์ หากต้องการบริโภคอาหารให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ ควรได้รับประทานอาหารที่มีวิตามินอีไม่ต่ำกว่าวันละ 10 มิลลิกรัม ดังนั้น ข้าวหน่วยเขือจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับคนไทยในยุคนี้ ที่จะบริโภคข้าวเป็นยา บำรุงสุขภาพ ข้าวชนิดนี้นอกจากมีรสชาติเหนียวนุ่ม มีวิตามินอีสูงแล้วยังมี ธาตุเหล็กช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง และช่วยสร้างเม็ดเลือด นอกจากนี้ยังมี สารกาบา ช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้อีกด้วย

สำหรับคนที่นั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ ควรรับประทานข้าวเหนียวก่ำใหญ่ หรือ ข้าวเหนียวนางหก เพราะข้าวทั้งสองชนิดนี้ มี “ เบต้าแคโรที ” ในสัดส่วนที่สูง เบต้าแคโรทีจะทำหน้าที่บำรุงสายตาและไม่เกิดโรคต้อกระจกหรือสายตาเสื่อมก่อนวัยอันควร

นอกจากนี้ ข้าวเหนียวก่ำใหญ่ ข้าวเหนียวก่ำน้อย ยังมีสารอาหารประเภท ลูทีนและซีแซนทีน ในปริมาณมาก ช่วยป้องกันภาวะเสื่อมของจอตา และจอประสาทตาเสื่อมอย่างเฉียบพลันได้ รวมทั้งช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ

หากใครต้องการหลีกเลี่ยงโรคเบาหวาน ขอแนะนำให้หาข้าวพื้นเมืองเช่น ข้าวเหนียวและข้าวเจ้าที่มีสี ข้าวเจ้ามะลิแดง ข้าวเหนียวแดง ข้าวเจ้ามะลิดำ ข้าวเหนียวก่ำน้อย ข้าวเหนียวก่ำเปลือกขาว ไว้บริโภคในครัวเรือน เพราะข้าวกลุ่มนี้ มีดัชนีน้ำตาลปานกลางและต่ำ ทำให้ไม่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน และยังมีสารโพลีฟินอล ทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งแล้ว ลดการอักเสบในโรคต่าง ๆ

โฟเลต (Folic acid) เป็นโคเอนไซม์ที่ จำเป็นต่อการซ่อมแซม DNA และการลอกเลียนแบบของยีนในเซลล์ต่างๆ หากร่างกายมนุษย์ได้รับสารโฟเลตไม่เพียงพอ การเจริญเติบโตของเซลล์จะหยุดชะงัก ทำให้เกิดอาการหลงลืมในผู้สูงอายุ หากปริมาณโฟเลตในเลือดต่ำ จะทำให้ เพิ่มความเสี่ยงต่อสารก่อมะเร็งได้ง่ายเนื่องจากมีจุดบกพร่องของดีเอ็นเอ(DNA)

หากสตรีตั้งครรภ์รายใดได้รับสารโฟเลตไม่เพียงพอ จะทำให้จะส่งผลต่อการพัฒนา DNA ของลูกในครรภ์ ทำให้เกิดโรคปากแหว่ง เพดานโหว่ในทารกแรกเกิด โดยทั่วไป คนไทยควรได้รับ โฟเลต 400 ไมโครกรัมต่อวัน จึงขอแนะนำให้หันมาบริโภคข้าวพื้นเมือง ที่มีโฟเลตสูงสุดคือข้าวเจ้าเหลือง (สีน้ำตาลเข้ม)มีโฟเลตสูงถึง 116.47ไมโครกรัม/100กรัม รองลงมาคือ ข้าวเจ้ามะลิดำ ข้าวเหนียวลำตาล ข้าวเหนียวป้องแอ้ว ข้าวเหนียวสันปลาหลาด ข้าวเหนียวขาวใหญ่ และข้าวเจ้ามะลิแดง

ธาตุเหล็ก (Iron) สำคัญต่อหญิงตั้งครรภ์ เด็กก่อนวัยเรียน และวัยเรียน การขาดธาตุเหล็กจะทำให้ IQ ต่ำ สมาธิสั้น เจริญเติบโตผิดปรกติ ในผู้ใหญ่ทำให้มีสมรรถภาพการทำงานต่ำ ภาวะติดเชื้อง่าย ทำให้คลอดก่อนกำหนด น้ำหนักทารกแรกคลอดต่ำ แท้งบุตร อาจมีการเสียเลือดมากระหว่างคลอด โดยความต้องการธาตุเหล็กในเพศหญิงสูงถึง 24 มิลลิกรัมต่อวัน ส่วนในเพศชาย 10 มิลลิกรัมต่อวัน หากใครต้องการบริโภคข้าวที่มีธาตุเหล็กในปริมาณสูง ขอแนะนำให้เลือกซื้อ ข้าวเหนียวสันป่าตอง ข้าวเหนียวป้องแอ้ว ข้าวเหนียวปลาเข็ง ข้าวเหนียวดอหาง บริโภคในครอบครัว

ธาตุทองแดง ช่วยสร้างพลังงาน และทำงานร่วมกับสารต้านอนุมูลอิสระตัวอื่น ๆ ร่างกายใช้ธาตุทองแดงช่วยสร้างเม็ดสีเมลานิน ร่างกายคนเราต้องการธาตุทองแดงเพียงวันละ 900 ไมโครกรัมต่อวัน ซึ่งธาตุทองแดงมีมากในข้าวเหนียวก่ำใหญ่ ข้าวเหนียวป้องแอ้ว ข้าวเหนียวดอหางฮี ข้าวเหนียวเขี้ยวงู ข้าวเหนียวอิด่าง ข้าวเจ้ามะลิแดง

วิตามินบี 1 สารอาหารที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ เป็นตัวเร่งในการเผาผลาญอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต โปรตีนและไขมัน ทำให้เกิดพลังงาน เพื่อให้ร่างกายสามารถทำงานได้ ผู้ที่ขาดวิตามินบี 1 ทำให้เกิดโรคเหน็บชา โรคอัลไซเมอร์ สำหรับพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่มีวิตามินบี1 จำนวนปริมาณมากเช่น ข้าวกล้องงอก ข้าวเหนียวก่ำใหญ่ ข้าวเจ้าเหลือง ข้าวเหนียวเล้าแตก ข้าวเหนียวป้องแอ้ว และข้าวเหนียวดอหางฮี