ร่วมกับสถานทูตไทย ช่วยเหลือชาวฟิลิปปินส์ประสบอัคคีภัย

ผู้บริหารและพนักงานซีพีเอฟ ฟิลิปปินส์ ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงมะนิลา ลงพื้นที่มอบถุงยังชีพช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุไฟไหม้ครั้งใหญ่ในหมู่บ้านชาวประมง จังหวัด บาตาอาน ประเทศฟิลิปปินส์

นายสุนทร ตันทนะเทวินทร์ รองประธานกรรมการธุรกิจสัตว์น้ำ พร้อมคณะผู้บริหารและชาวซีพีเอฟ จิตอาสา บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร คอร์ปอร์เรชั่น ฟิลิปปินส์ หรือ ซีพีเอฟ ฟิลิปปินส์ กล่าวว่า ซีพีเอฟ ฟิลิปปินส์ ร่วมกับ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงมะนิลา ได้จัดทำถุงยังชีพและนำไปมอบให้แก่ ผู้ประสบอัคคีภัยในหมู่บ้านชาวประมงเขตตำบลคาปูนิตัน โดยมี นายโฮเซ่ เอ็นริเกส การ์เซียที่สาม สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรเขตจังหวัดบาตาอาน และ นายอันโทนิโอ เรย์มุนโด จูเนียร์ นายอำเภอโอริออน จังหวัดบาตาอาน เป็นตัวแทนรับมอบเพื่อนำไปมอบให้แก่ผู้ประสบภัยต่อไป

ซีพีเอฟจิตอาสา ได้ร่วมกันบรรจุถุงยังชีพด้วย อาหารแห้ง เครื่องอุปโภคบริโภค และของใช้ที่จำเป็น จำนวน 1,020 ชุด โดยส่วนหนึ่งได้รับการสนับสนุนจาก นาวาอากาศเอก พลวัตร อินทรวิเศษ ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารอากาศและรักษาการผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร ประจำสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงมะนิลา

“เหตุไฟไหม้ครั้งใหญ่นี้ส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ มีผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ และสูญหาย บ้านเรือนได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง ส่งผลให้มีผู้ไร้ที่อยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก ในฐานะที่ซีพีเอฟมีฐานการผลิตในประเทศฟิลิปปินส์ และเป็นสมาชิกของสังคมจึงได้ร่วมส่งสิ่งของเพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อน และขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนผ่านเหตุการณ์ครั้งนี้ไปได้โดยเร็ว” นายสุนทร กล่าว

หมู่บ้านชาวประมงในเขตตำบลคาปูนิตัน อำเภอโอริออน จังหวัดบาตาอาน เกิดเหตุไฟไหม้เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2562 ที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิต 1 ราย ประชาชนได้รับความเดือดร้อนมากกว่า 1,000 คน และสร้างความเสียหายให้กับอาคารบ้านเรือนกว่า 900 หลังคาเรือน ส่งผลให้ทางการฟิลิปปินส์ประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติฉุกเฉิน และอพยพผู้ประสบภัยพักพักอาศัยที่ศูนย์พักพิงชั่วคราวที่โรงเรียนการประมงบาตาอาน ในอำเภอโอริออน พร้อมระดมความช่วยเหลือจากทุกภาคส่วนจัดการให้สถานการณ์กลับคืนสู่ภาวะปกติอย่างรวดเร็ว

เมื่อกล่าวถึง ข. เอย ข. ไข่ …ไข่นับว่าเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และประชาชนทั่วไปมักรู้จักไข่ดีเพราะมีคุณค่าทางอาหารสูง

ไข่ เป็นแหล่งสร้างสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ในไข่แดงมีสาร Lutein และ Zeaxa เป็นสารจำพวกแคโรทีน จากงานวิจัยทางการแพทย์ระบุว่า สารอาหารทั้ง 2 ชนิด สามารถป้องกันการเสื่อมของจอรับภาพที่ตาได้ ในขณะที่ไข่ขาวเป็นโปรตีนชั้นดี ร่างกายสามารถนำไปใช้ทดแทนเนื้อเยื่อที่เสื่อมสภาพได้

เมื่อเทียบคุณค่าสารอาหารระหว่างไข่เป็ดกับไข่ไก่แล้ว จะมีส่วนแตกต่างกันบ้าง กล่าวคือ ไข่ไก่จะให้สารอาหารด้านโปรตีน แคลเซียม และเหล็ก แต่ในด้านพลังงานไข่เป็ดจะเป็นแหล่งให้พลังงาน ไขมัน วิตามินบี 1 บี 2 ได้ดีกว่าไข่ไก่

แม้ว่าไข่เป็ดจะมีคุณค่าทางโภชนาการและพลังงานมากมายเพียงใดแต่คนไทยกลับบริโภคไข่เป็ดน้อยลงนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านได้มีโอกาสไปสัมภาษณ์คุณสายใจและ คุณเสถียร ตระกูลพรายงาม ผู้ค้าไข่เป็ดระดับกลางในจังหวัดสุพรรณบุรี

คุณเสถียร เล่าว่า ทางบ้านเลี้ยงเป็ดมานานแล้ว ไม่ต่ำกว่า 50 ปี ทำมาตั้งแต่สมัยเตี่ย เลยยึดอาชีพนี้ทำมาหากิน ในสมัยก่อนไข่เป็ดราคา ฟองละ 50 สตางค์ แต่ในปัจจุบันไข่เป็ดราคาสูงถึงฟองละ 3.50 บาท ปัจจุบันเลี้ยงเป็ดทั้งหมด 20,000 ตัว เมื่อก่อนเคยใช้หอยโข่งเลี้ยงเป็ด ซื้อมาจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยาให้เขามาส่ง แต่ตอนนี้ใช้หอยโข่งเลี้ยงไม่ไหวแล้ว เพราะประสบปัญหาด้านต้นทุนบวกกับค่าแรงงานที่สูงขึ้น ตอนนี้จึงเปลี่ยนมาใช้หัวอาหารผสมกับปลาป่นแทน เพราะทนแบกรับกับราคาวัตถุดิบไม่ไหวจริงๆ ปัจจุบัน คุณเสถียร ส่งไข่ไปขายในกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียงอย่าง นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรสาคร โดยลูกค้ามารับซื้อด้วยเอง ปริมาณไข่เป็ดของคุณเสถียรเองมีกำลังการผลิตอยู่ที่ 60% ของที่ส่งขาย นอกนั้นรับจากฟาร์มใกล้บ้าน

เจ้าของ ขายส่งไข่เป็ดครั้งละ 60,000-70,000 ฟอง ต่อการส่งหนึ่งครั้ง อีกทั้งยังขายเป็ดสาวรุ่นอีกด้วย เรื่องราคา ถ้าพ่อค้าคนกลางนำไปขายต่อ ราคาไข่เป็ดจะตกอยู่ราวๆ 4-5 บาท/ฟอง แพงกว่าไข่ไก่ 20 สตางค์

คุณเสถียร ยังเล่าให้ฟังต่ออีกว่า ในสมัยที่เกิดโรคไข้หวัดนกระบาด ที่ฟาร์ม ฝังเป็ดไปทั้งหมด ประมาณ 80,000 ตัว ขาดทุนไปหลายแสนบาท จึงหยุดทำไป 2-3 เดือน ตอนนี้เลี้ยงเป็ดในฟาร์มตัวเอง 40% และเลี้ยงแบบปล่อยทุ่งอีก 60% ข้อดีของการเลี้ยงเป็ดแบบปล่อยทุ่งคือ เป็ดจะสามารถแทะเล็มหญ้าได้อย่างสบายใจ เป็ดจะอารมณ์ดี ซึ่งเป็ดที่เลี้ยงในระบบปล่อยทุ่งนี้ผลผลิตไข่จะมีวิตามินบี เบต้าแคโรทีนสูง และเนื้อไข่จะมีสีแดงมันวาว เพราะโดยธรรมชาติของเป็ดไม่สามารถเลี้ยงในระบบปิดแบบไก่ได้

สำหรับธุรกิจนี้ คุณเสถียร บอกว่า ได้กำไรไม่มากถ้าลูกค้ารับไปขาย 1,000 ฟอง ก็อยู่ไม่รอด เพราะกำไรตกอยู่ 20-30 สตางค์ข้อดีของไข่เป็ด… ไข่เป็ดจะอยู่ได้นานกว่าไข่ไก่ ประมาณ 10 วัน ไข่ขาวจะแข็งกรอบ ส่วนไข่ไก่หากปล่อยไว้นานจะเละ

ไข่เป็ดให้พลังงานสูงกว่าไข่ไก่ทั้งไขมันและวิตามิน ตลอดจนนำไปปรุงอาหารได้หลายอย่าง อีกทั้งไข่เป็ดต้มยังแกะได้ง่ายกว่าไข่ไก่ ไม่ว่าจะนำไปทำพะโล้ ทำไข่เค็ม ไข่เยี่ยวม้า ซึ่งไข่เค็มไชยา ก็มารับไข่เป็ดจากสุพรรณบุรีไปทำ

สำหรับสาเหตุที่คนไทยนิยมบริโภคไข่ไก่มากกว่าไข่เป็ด คุณเสถียร กล่าวว่า เพราะการทำตลาดและการของโปรโมทของบริษัทยักษ์ใหญ่ ซึ่งไข่ไก่จะได้ส่วนแบ่งตลาด 90% ส่วนไข่เป็ดจะได้ส่วนแบ่งการตลาดแค่ 10% เท่านั้น สำหรับผู้ที่สนใจจะทำธุรกิจไข่เป็ด คุณเสถียรให้ข้อคิดว่า แนวโน้มของตลาดไข่เป็ดทั้งปีนี้ไม่ดีนัก คาดว่าจะโตขึ้นอีกครั้งในโอกาสต่อไป ซึ่งตอนนี้มีผู้ประกอบการรายย่อยจำนวนมาก อาจส่งปัญหาในด้านการตลาด แต่หากท่านใดสนใจธุรกิจนี้ หรือต้องการเป็นตัวแทนจำหน่ายไข่เป็ดก็สามารถปรึกษาได้ ร้านตั้งอยู่ที่ เลขที่ 282 หมู่ที่ 2 ตำบลบางปลาม้า อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี โทร. 081-880-7704

เมื่อนึกถึงเรื่องการประกอบอาชีพแล้ว มีให้เลือกอยู่มากมาย งานขายปลาริมถนนของ คุณประเชิญ เกตุสุวรรณ ก็น่าสนใจไม่น้อยเมื่อไม่นานมานี้นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านได้มีโอกาสเดินทางไปที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และได้ร่วมพูดคุยกับ คุณประเชิญ เกตุสุวรรณ เจ้าของวาทะเด็ด “อาชีพของเราทำมาค้าขาย ไม่ได้ปล้นได้ฆ่าใคร ไม่จำเป็นต้องอายใคร” เขาเป็นพ่อค้าปลาเค็มข้างทาง ผู้ไม่ย่อท้อต่อชะตาชีวิต และความยากจน เราไปทำความรู้จักกับพ่อค้าคนนี้กัน

คุณประเชิญ ปัจจุบันอายุ 51 ปี มีบุตรสาว 2 คน เล่าให้ฟังถึงอาชีพขายปลาข้างทางว่า เริ่มทำอาชีพแผงปลามากว่า 20 ปี โดยถูกพ่อตาชักชวน ปลาที่ขายจะเป็นพวกปลาเค็มตากแห้ง เช่น ปลานิล ปลาช่อน ปลาสลิด

ปลาที่นำมาแปรรูปจะเป็นปลาเลี้ยงรับมาจากฟาร์มที่จังหวัดสุพรรณบุรี ราคาขายก็จะขึ้นอยู่กับขนาดของปลา โดยปลาช่อนตัวใหญ่ จะขายอยูที่ 180-200 บาท ปลาช่อนตัวเล็ก 150-160 บาท ส่วนปลาสลิด จะขายอยู่ที่กิโลกรัมละ 160 บาท “ปลาเค็มที่ร้านส่วนมากจะขายหมดเกือบทุกวัน และจะขายดีในช่วงเทศกาล เช่น วันปีใหม่ วันสงกรานต์ วันหยุดยาวหลายวัน” พ่อค้าประเชิญ เล่า

วิธีการในการทำปลาเค็ม คุณประเชิญ เล่าว่า จะใช้ปลา 100 กิโลกรัม ใส่เกลือลงไป 5 กิโลกรัม น้ำตาล 1 กิโลกรัม หมักทิ้งไว้ 2 คืน นำเข้าช่องแช่แข็ง แล้วค่อยนำมาตากแดด ปกติจะขายปลาได้ไม่ต่ำกว่าวันละ 40 กิโลกรัม

ปลาที่นำมาขายจะไม่มีการเน่าเสีย แต่จะมีการสูญเสียน้ำหนักของปลาไปจากลมและสภาพอากาศ ทำให้ปลามีน้ำหนักน้อยลงสูญเสียคุณค่าอาหารและทำให้ลูกค้าเสียเปรียบ แต่ที่ร้านของคุณประเชิญจะไม่มีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นแน่นอน เพราะปลาที่ขายไม่เกิน 2 วัน ก็ขายหมด 100 กิโลกรัม ประกอบกับเจ้าของใส่ใจคุณภาพสินค้า

สำหรับเทคนิคขายดี คุณประเชิญ กล่าวว่า หากตื่นแต่เช้าไม่อายทำกินจะขายปลาได้หมดไว โดยเริ่มขายตั้งแต่ 6 โมงเช้า ถึง 1 ทุ่ม
คุณประเชิญ กล่าวทิ้งท้ายว่า อาชีพขายปลานี้เลี้ยงตัวได้ แต่ต้องมีความอดทนบวกกับความพยายามจึงจะประสบความสำเร็จ ที่ร้านเปิดขายปลาตั้งแต่เช้า

หากผู้อ่านท่านใดสนใจอยากซื้อปลาเค็มไปลองรับประทาน แต่ไปไม่ถูก สามารถติดต่อคุณประเชิญได้ที่ โทร.085-186-2514 ร้านของคุณประเชิญ อยู่ในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แต่บริเวณนั้นเป็นริมถนนสายบางใหญ่, บางบัวทอง-สุพรรณบุรี ไปจากบางใหญ่อยู่ขวามือ หากมาจากสุพรรณบุรีอยู่ซ้ายมือ

เปิดราชกิจจานุเบกษา เผยเหตุ ทูลกระหม่อม ลาออกจากฐานันดรศักดิ์
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 25 ก.ค.2515 ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 89 ตอนที่ 112 ฉบับพิเศษหน้า 1 ประกาศพระบรมราชโองการ เรื่องลาออกจากฐานันดรศักดิ์

ระบุว่า ด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา ได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาเป็นลายลักษณ์อักษรว่า ได้ทรงพระดำริเห็นถ่องแท้ด้วยพระองค์เองแล้วว่า การดำรงฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ในฐานะสมเด็จเจ้าฟ้าเป็นกิจพิเศษ กอปรด้วยความรับผิดชอบอย่างสูงหลายด้าน ไม่ทรงสามารถจะปฏิบัติให้สมบูรณ์โดยตลอดได้

จึงขอพระราชทานกราบถวายบังคมลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ และขอรับสนองพระเดชพระคุณในฐานะเป็นสามัญชน ความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว พระราชทานพระบรมราชานุญาต จึงขออัญเชิญพระบรมราชโองการมาให้ทราบโดยทั่วกัน

ชาวอำเภอสุวรรณภูมิ 15 ตำบล 198 หมู่บ้าน เป็นกลุ่มตำบลที่ผลิตสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ โดยนายช่วย สาสุข อยู่บ้านเลขที่ 14 หมู่ 12 บ้านโพนละมั่ง ตำบลหินกอง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิต ข้าวกล้อง 3 สี 6 สายพันธุ์ ประกอบด้วย ข้าวมะลิแดง ข้าวหอมนิล ข้าวมะลิดั้งเดิม ข้าวโสมมาลี และข้าวหอมมะลิ 105 เป็นการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ เพื่อสุขภาพของผู้บริโภค เราดำเนินการตามกระบวนการผลิตที่ถูกต้องปลอดภัย 100 เปอร์เซ็นต์ (ORGANIC PRODUCT) ของทุ่งกุลาร้องไห้

นายช่วย เล่าว่า ข้าวกล้อง 3 สี 6 สายพันธุ์ เป็นอาหารมีคุณประโยชน์ ด้านวิตามิน และเกลือแร่ ข้าวหอมมะลิแดง เป็นข้าวที่มีเนื้อเยื่อหุ้มเปลือกสีแดงจารสารแอนโทไชยานิน ใยอาหาร ช่วยให้ระบบขับถ่ายเป็นไปอย่างปกติ ป้องกันโรคเกี่ยวกับลำไส้ ป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด โรคเบาหวาน ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ และมะเร็งบางชนิด รวมทั้งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระสูง

ข้าวหอมมะลิสีนิล มีธาตุเหล็ก สังกะสี ทองแดง โพแทสเซียม แคลเชียม และวิตามินหลายชนิด ล้วนเป็นประโยชน์ต่อการบำรุงสุขภาพ ชะลอการแก่ บำรุงสมอง บำรุงผิว กลุ่มเกษตรกร “บุญช่วยข้าวอินทรีย์” นำมาวางจำหน่ายตามงานหรือทำตามจำนวนที่ท่านต้องการ ราคาถุงละ 70 บาท ขนาดบรรจุ 1 กิโลกรัม

วิธีการหุงข้าวกล้อง 3 สี 6 สายพันธุ์ ให้อร่อย อันดับแรก ตวงข้าวสาร 1 ส่วน : น้ำ 1.5 ส่วน หุงข้าวสุกแล้วอุ่นทิ้งไว้ประมาณ 5-10 นาที ได้ข้าวสวยที่หอมนุ่ม มีกลิ่นโดยธรรมชาติ

ข้าวกล้อง 3 สี 6 สายพันธุ์ ผลิตภัณฑ์ของชาวทุ่งกุลาร้องไห้ ข้าวคุณภาพ เพื่อสุขภาพ จังหวัดร้อยเอ็ด สั่งจองกันได้ที่ โทร. 086-128-6819 และ 089-084-6494 ตำบลปากแรต อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่ขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงปลาสวยงามส่งจำหน่ายยังต่างประเทศ และส่งขายในตลาดปลาใหญ่ในเขตเมือง

แม้จะมีฟาร์มเพาะเลี้ยงปลาสวยงามหลายฟาร์ม แต่การไม่เอ่ยถึง “มณฑา ฟาร์ม” คงไม่ได้ เพราะเจ้าของฟาร์มปลาสวยงามแห่งนี้ มีดีกรีถึงเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ปี 2555 ในสาขาอาชีพเพาะเลี้ยงปลาสวยงามและพรรณไม้น้ำ

เพราะการเริ่มต้นบุกเบิกสร้างฟาร์มปลาจากเล็กไปใหญ่อย่างมีระบบและได้คุณภาพมาตรฐานฟาร์ม จึงทำให้ มณฑา ฟาร์ม ติดอันดับต้นๆ ของฟาร์มเพาะเลี้ยงปลาสวยงามส่งออกรายใหญ่

ชื่อฟาร์มตรงตามชื่อเจ้าของคุณมณฑา สร้อยแสง เจ้าของฟาร์ม เริ่มต้นทำฟาร์มปลาจากประสบการณ์แบบครูพักลักจำในวัย 20 ตอนปลาย หลังหน่ายจากอาชีพสาวโรงงาน และเก็บงำความรู้ที่ได้จากการช่วยพี่สะใภ้ทำฟาร์มปลาสวยงามมานาน

ด้วยเงินเพียง 15,000 บาท ที่ติดลบ เพราะเป็นเงินกู้ที่นำมาเป็นต้นทุนก้อนแรก คุณมณฑา ใช้สร้างล็อกได้ถึง 10 ล็อก และเงินอีกจำนวน 1 ใน 3 หมดไปกับการซื้อพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ รวมถึงอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ ที่จำเป็นในการเลี้ยงปลา

พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ปลา คุณมณฑาหาซื้อในละแวกไม่ไกลบ้าน เพราะราคาพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลาในกรุงเทพฯ ราคาสูง เริ่มสะสมพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลาเพิ่ม จากจำนวนไม่มาก กระทั่งพอมีเงินก้อนก็นำไปซื้อพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลาที่ตลาดใหญ่ในกรุงเทพฯ ให้ได้ตัวที่สวยถูกใจ

“เริ่มเลี้ยงปลาลักเล่ห์ดำอย่างเดียว เพราะเห็นว่าปลาลักเล่ห์ดำซื้อง่ายขายคล่อง หมดก่อนปลาสวยงามพันธุ์อื่น เมื่อฟาร์มเลี้ยงปลาเริ่มอยู่ตัว จึงให้สามีลาออกจากงานมาช่วย และเพิ่มพันธุ์ปลาขึ้นเป็น ปลาทองฮอลันดา ปลาทองเกล็ดแก้ว ปลาทองลูกโป่ง ปลาลักเล่ห์ 5 สี และริวกิ้น เป็นต้น จนถึงปัจจุบันมีบริษัทรับซื้อปลาทองส่งไปขายต่างประเทศเป็นลูกค้าประจำ 9 แห่ง มีแผงค้าส่งและปลีกในตลาดนัดจตุจักร ทำให้ต้องมีลูกฟาร์มอีกหลายแห่งรับปลาเล็กไปเลี้ยงลงบ่อดิน ไม่อย่างนั้นจะผลิตปลาส่งจำหน่ายไม่ทันตามความต้องการของลูกค้า”

“การทำฟาร์มปลาสวยงาม ไม่ใช่เรื่องยาก” คุณมณฑา บอก

คุณมณฑา อธิบายว่า การจัดโซนเลี้ยงปลามีความสำคัญสำหรับการทำฟาร์ม เพราะช่วยให้การบริหารจัดการง่าย มีระบบ เมื่อสัตว์เลี้ยงป่วยหรือเป็นโรคก็สามารถรักษาหรือป้องกันไม่ให้ลุกลามไปสู่สัตว์เลี้ยงตัวอื่นในฟาร์ม แม้ว่าพื้นที่เลี้ยงมีจำกัดก็สามารถทำได้ ทุกอย่างขึ้นอยู่กับการวางผังทุกวันเป็นวันทำงานของ มณฑา ฟาร์ม คุณมณฑาและครอบครัวไม่เคยมีวันหยุด เพราะปลาเจริญเติบโตทุกวัน บริษัทรับซื้อปลาส่งจำหน่ายต่างประเทศสั่งซื้อปลาสลับวัน และแต่ละครั้งของการสั่งซื้อปลาเป็นจำนวนไม่ต่ำกว่า 20,000-30,000 ตัว โดยรวมแล้วต่อเดือนมีลูกปลาจำหน่ายออกไปต่างประเทศ ประมาณ 200,000 ตัว ปลาทองฮอลันดา และปลาลักเล่ห์เป็นปลาที่ต่างประเทศต้องการเป็นอันดับต้นๆ

การผสมพันธุ์ทำได้เมื่อปลาอายุ 4 เดือนขึ้นไป ก่อนเพาะควรแยกปลาเพศผู้และเมียออกจากกัน สำรวจดูความพร้อมของเพศเมียโดยกดใต้ท้องเบาๆ หากท้องนุ่ม แสดงว่าพร้อมผสมพันธุ์ ส่วนเพศผู้ให้กดที่ใต้ท้อง หากมีน้ำสีขาวไหลออกมา แสดงว่าพร้อมผสมพันธุ์

บ่อผสมพันธุ์ ต้องเตรียมน้ำก่อนผสม 12 ชั่วโมง นำเชือกฟางฉีกฝอยมัดจุก (ลักษณะคล้ายพู่) ไปวางภายในบ่อและใช้หินทับไว้หลังจากบ่อผสมพันธุ์พร้อม นำปลาพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ อัตราส่วนระหว่างปลาเพศผู้กับเพศเมีย 10:15 ตัว ปล่อยรวมกันในบ่อผสมพันธุ์ ทิ้งไว้ 1 คืน แล้วตักพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ออกทั้งหมด ให้สังเกตเชือกฟางจะมีไข่ปลาเกาะอยู่

หลังจากนั้น 3-5 วัน ไข่ปลาจะเริ่มเห็นเป็นจุดสีดำที่ไข่ หมายถึง ชีวิตใหม่กำลังจะเริ่มขึ้น

คุณมณฑา แนะว่า การใช้เชือกฟางฉีกฝอยแทนพืชน้ำ เป็นการช่วยลดโอกาสเกิดโรคในปลาได้มาก เพราะรากพืชเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคจากไข่ปลาจะเจริญเติบโตเป็นลูกปลา เมื่อลูกปลาอายุ 4-5 วัน เริ่มให้อาหารได้ โดยอาหารที่เร่งให้ลูกปลาโตเร็วที่สุด คือ ลูกไรเป็น ควรให้ลูกไรเป็นในตอนเช้า วันละครั้ง ส่วนลูกไรตายควรให้ในปลาอายุมาก เพราะปลาเด็กและปลารุ่นจะไม่กินลูกไรตาย และอาจทำให้น้ำเสีย ซึ่งจะยากต่อการเปลี่ยนน้ำในปลาเล็ก

เมื่อลูกปลาอายุ 14 วัน ฟาร์มจะเริ่มคัดปลา โดยดูจากหาง

หางแหลม คล้ายหางปลาทู คัดทิ้ง นำไปขายเป็นปลาเหยื่อหรือปล่อยทิ้งลงคลอง

หางพา ลักษณะหางบานออก นำไปเลี้ยงลงบ่อดิน เพื่อคัดไปจำหน่ายตามขนาดไซซ์

พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ควรผสมไม่เกิน 10 คอก เพราะลูกปลาที่ได้จะไม่แข็งแรง

ลูกปลาอายุ 45 วัน ให้นำไปเลี้ยงในบ่อดิน ขนาด 200 ตารางเมตร ความลึก 1 เมตร จุลูกปลาได้ 5,000 ตัว“หลังจากนำลูกปลาลงบ่อดิน เริ่มให้อาหารสำเร็จรูปได้ทันที ควรให้อาหารสำเร็จรูปวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ยกเว้นอากาศปิด ไม่ควรให้อาหารปลา เพราะจะทำให้ปลาตาย หลังจากเลี้ยงในบ่อดินได้ 3 เดือน ก็จับส่งขายได้”

คุณมณฑา เล่าว่า การจับปลาจากบ่อดินขึ้นมาคัด เพื่อแพ็กส่งจำหน่าย ใช้เนื้ออวนตาถี่ลาก เมื่อลากถึงฝั่งต้องใช้มือจับปลาขึ้น ไม่อย่างนั้นอาจทำให้ปลาบอบช้ำ จากนั้นเป็นขั้นตอนของการคัดไซซ์ แยกใส่ถุงแพ็ก ขณะคัดปลาต้องสังเกตลวดลายบนตัวปลา สี และหัวปลา (วุ้น) แยกออกต่างหาก เพราะปลาเหล่านี้จะขายได้ราคาสูงกว่า

แม้ มณฑา ฟาร์ม จะทำงานไม่มีวันหยุด แต่คุณมณฑาก็ไม่ได้รู้สึกเหน็ดเหนื่อย เธอบอกว่า เธอมีความสุขกับการเลี้ยงปลาสวยงามจำหน่าย และการนำความรู้ที่มีมาก่อให้เกิดอาชีพ สร้างหลักประกันให้กับครอบครัวปัจจุบัน มณฑา ฟาร์ม มีการบริหารจัดการที่เป็นระบบ แม้จะเป็นอุตสาหกรรมสัตว์น้ำแบบครอบครัว แต่ก็จัดอยู่ในฟาร์มเพาะเลี้ยงปลาสวยงามระดับแนวหน้า ซึ่งหากไม่นัดหมาย คงหาตัวคุณมณฑาได้ยาก

ใครที่ชื่นชอบปลาสวยงามหรือปลาตู้ จะแวะเวียนไปเยี่ยมชมฟาร์มของคุณมณฑาได้ ไม่มีปัญหา แต่ขอให้นัดแนะก่อนล่วงหน้า ที่โทร. 081-763-2487 มณฑา ฟาร์ม เลขที่ 167/2 หมู่ที่ 4 ตำบลปากแรต อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี นี่เอง

ผู้เขียนได้มีโอกาสพบปะกับ คุณบูรณาการ ตาคำ หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า หมอส่ง ท่านเป็นบุคคลที่มีความรู้ที่ได้เรียนจบระดับปริญญาถึง 3 สาขา คือ สาธารณสุขศาสตร์ นิติศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์ มีความสามารถในด้านการเป็นวิทยากร พิธีกรในงานต่างๆ และมีประสบการณ์ในการทำงานสถานีอนามัย สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)

คุณบูรณาการ หรือ หมอส่ง เล่าให้ฟังว่า จากประสบการณ์ที่ทำงานกับชุมชน ชาวบ้าน และเกษตรกร พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกพืชเชิงเดี่ยวไว้เพื่อจำหน่าย นำเงินที่ได้จากการขายผลผลิตหรือจากการรับจ้างนำไปซื้อพืช ผัก ผลไม้ มาบริโภคในครัวเรือน ซึ่งโดยส่วนใหญ่เกษตรกรมีรายได้น้อยอยู่แล้ว และมีภาระค่าใช้จ่ายทั้งในการประกอบอาชีพ การศึกษาของลูกหลาน ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ทั้งยังต้องมาใช้จ่ายในเรื่องของการซื้อพืชผักผลไม้อีก ทั้งที่พืชผักผลไม้หลายชนิดเราสามารถปลูกไว้กินเองได้ ไม่ว่าจะปลูกไว้ในบริเวณหัวไร่ปลายนา บริเวณบ้าน ในกระถาง ในยางรถยนต์ ในกระบอกไม้ ฯลฯ แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่ยอมทำ จึงเป็นที่มาของภาระค่าใช้จ่ายที่มากกว่ารายได้ จึงเกิดเป็นภาระหนี้สิน

คุณบูรณาการ บอกด้วยว่า จากที่เขาเองเป็นลูกหลานเกษตรกร รู้ถึงสภาพปัญหาดังกล่าวเป็นอย่างดี เมื่อได้มีโอกาสเรียนถึงระดับปริญญา มีโอกาสได้ไปศึกษาดูงานในที่ต่างๆ มีโอกาสเป็นวิทยากรในการอบรมหลายเวที ประกอบกับความชอบอ่านหนังสือเป็นการส่วนตัว โดยเฉพาะหนังสือที่เกี่ยวข้องกับงานด้านเกษตร จึงนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้กับครอบครัว ด้วยการปลูกผักไว้กินในครัวเรือน สร้างเรือนเพาะชำไว้หน้าบ้าน ปลูกผักในกระถาง และน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มาปฏิบัติ จึงได้รวบรวมแนวความคิดต่างๆ ส่งเสริมให้เพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมงาน และเกษตรกร นำไปปรับใช้ในครอบครัว ซึ่งการพูดอย่างเดียวอาจจะไม่พอ จึงต้องทำเป็นแบบอย่างที่ดี ให้เห็นได้ชัดเจนด้วย

ที่มาของบ้านสวนเกษตรผสมผสานแบบบูรณาการ “BURANAKARN MODE” มาจากชื่อของคุณบูรณาการเอง จากเดิมที่ดินใช้ทำนา ซึ่งคุณแม่ได้แบ่งให้กับลูก 6 คน คนละ 1 ไร่ ตัวคุณบูรณาการเป็นลูกคนสุดท้องเพียงคนเดียว ที่ทำงานราชการ แต่มีความเป็นลูกเกษตรในสายเลือด จึงอยากทำเป็นแบบอย่างให้กับบุคคลโดยทั่วไป ในการจัดสรรและสรรค์สร้างที่ดินที่มีเพียง 1 ไร่ ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยวางแนวทางให้เหมาะสมกับสไตล์ของตัวเอง ที่ต้องทำงานราชการ ใช้เวลาที่ว่างจากการทำงานและงานกิจกรรมต่างๆ ในวันหยุด จึงเป็นที่มาของบ้านสวนเกษตรผสมผสานแบบบูรณาการ “BURANAKARN MODE”