ร้อนพุ่ง 38 องศา เกษตรกรวัดสิงห์ต้องชะลอปลูกผักโดนแดด

เผาแห้งตายวันที่ 24 เมษายน สถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่ จ.ชัยนาท ยังคงส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่องในพื้นที่การเกษตรหลักอย่างนาข้าวที่ต้องพักดินเพื่อรอน้ำฝนในการเพาะปลูกฤดูใหม่ ในส่วนของชุมชนเองก็ได้รับผลกระทบต่อเนื่องเช่นกัน โดยนางส้มจีน สีดาฟอง อายุ 63 ปี ประชาชนหมู่ 6 ต.บ่อแร่ อ.วัดสิงห์ เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า ปกติคนในพื้นที่ ต.บ่อแร่จะมีอาชีพเสริมทดแทนการทำนาคือการปลูกผักชนิดต่างๆ ขายเช่น พริก มะเขือ ถั่วฝักยาว ฟักทอง และแตงกวา แต่ในปีนี้แล้งมาเร็วและอากาศร้อนมาก ทำให้ผักที่ปลูกไว้ถูกแดดเผาจนเหี่ยวแห้งตายหมด ทำให้ชาวบ้านจำเป็นต้องทิ้งแปลงผัก ชะลอการเพาะปลูกออกไปก่อนเพื่อรอน้ำจากฤดูฝน เพราะหากปลูกพืชในระยะที่อากาศร้อนและแล้งหนักอย่างในปัจจุบันก็คงจะขาดทุนอย่างแน่นอน

ด้านนายปราโมทย์ อ่อนน้อม ผู้อำนวยการสถานีอุตุนิยมวิทยาชัยนาท เปิดเผยว่า ในสัปดาห์นี้อุณหภูมิในพื้นที่ จ.ชัยนาท ยังยังคงร้อนต่อเนื่องเฉลี่ย 38 องศาเซลเซียส แต่ที่น่าสนใจคือเมื่อวันที่ 21 เม.ย.ที่ผ่านมา มีการทำลายสถิติร้อนที่สุดในรอบปี 60 แล้วคืออุณหภูมิวัดได้สูงถึง 40 องศาเซลเซียส

วันที่ 24 เมษายน นายชิตชนก สมประเสริฐ ผอ.สำนักงานชลประทานที่ 8 นครราชสีมา เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำในเขื่อนทั้ง 5 แห่ง ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ขณะนี้ก็ยังต้องอยู่ในการเฝ้าระวังและควบคุมปริมาณการใช้น้ำอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะเขื่อนลำตะคอง อ.สีคิ้ว ซึ่งเป็นเขื่อนหลักที่ต้องใช้อุปโภคบริโภคในพื้นที่เขตเศรษฐกิจ เช่น อ.เมืองนครราชสีมา, อ.สีคิ้ว, อ.ขามทะเลสอ และ อ.สูงเนิน โดยตอนนี้ปริมาณน้ำเหลืออยู่ในเขื่อนเพียง 77 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 24 ของความจุกักเก็บทั้งหมด 314 ล้านลูกบาศก์เมตร

ขณะที่เมื่อวานนี้ (23 เมษายน) มีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนเพียง 3,000 ลูกบาศก์เมตรเท่านั้น แต่ต้องเปิดประตูระบายน้ำ สำหรับให้ประชาชนใช้อุปโภค บริโภค และหล่อเลี้ยงระบบนิเวศถึง 346,000 ลูกบาศก์เมตร ดังนั้น ช่วงนี้จึงขอความร่วมมือประชาชนให้ช่วยกันประหยัดน้ำให้มาก เพื่อให้มีน้ำใช้ได้จนพ้นหน้าแล้งนี้ ส่วนที่เหลืออีก 4 เขื่อนหลัก ได้แก่ เขื่อนมูลบน ปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บเหลืออยู่ 58 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 41 ของความจุกักเก็บทั้งหมด 141 ล้านลูกบาศก์เมตร, เขื่อนลำแชะ มีปริมาณน้ำกักเก็บเหลืออยู่ 84 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 30 ของความจุกักเก็บทั้งหมด 275 ล้านลูกบาศก์เมตร, เขื่อนลำพระเพลิง มีปริมาณน้ำกักเก็บเหลือ 66 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 42 ของความจุกักเก็บทั้งหมด 155 ล้านลูกบาศก์เมตร และเขื่อนลำปลายมาศ มีปริมาณน้ำกักเก็บเหลืออยู่ 56 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 57 ของความจุกักเก็บทั้งหมด 98 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งภาพรวมก็ยังถือว่าพอบริหารจัดการได้จนพ้นหน้าแล้งนี้

วันที่ 24 เมษายน ที่จังหวัดหนองบัวลำภู เกษตรกรที่ทำนาปรัง ในพื้นที่เหนือเขื่อนอุบลรัตน์ ต.ทรายทอง อ.ศรีบุญเรือง ซึ่งเป็นเขตพื้นที่ที่ชาวบ้านได้มีการทำนาปรังจากน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ และน้ำบ่อบาดาลกันจำนวนมาก ขณะนี้เกษตรกรส่วนมากกำลังเร่งเก็บเกี่ยวข้าวนาปรังที่เริ่มแก่แล้ว และเตรียมปรับสภาพพื้นที่ไว้รอทำนาปี จำใจขายข้าวนาปรังราคาถูก ที่หลังจากช่วงนี้ข้าวนาปรังเริ่มออกสู่ตลาดมากขึ้น ทำให้ราคาปรับลดลง เหลือเพียงกิโลกรัมละ 5.80 บาทเท่านั้น หักต้นทุน ค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าสูบน้ำ ค่าปุ๋ย และค่าเกี่ยวแล้ว เหลือกำไรเพียงเล็กน้อย แต่ก็ต้องทำเพราะยังดีกว่าไม่มีงานทำ จึงฝากวอนไปยังรัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ช่วยใช้กลไกการตลาดช่วยเหลือให้ราคาข้าวขายได้สักกิโลกรัมละ 8 บาท ก็ยังดี ซึ่งราคาก่อนหน้านี้ในช่วงต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ราคาอยู่ประมาณ 7-8 บาท ซึ่งเป็นราคาข้าวที่เกี่ยวแล้วเกษตรกรนำออกไปขายเลย

นายบุญสาร แก้วมูลมุข อายุ 54 ปี อยู่บ้านเลขที่ 24 หมู่ 4 บ้านหนองขาม ต.ทรายทอง อ.ศรีบุญเรือง จ.หนองบัวลำภู เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปรัง กล่าวว่า มีที่นา 21 ไร่ ลงทุนทำนาเป็นค่าไถ น้ำมันสูบน้ำ เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย ไปประมาณ 34,000 บาท ยังไม่รวมค่าเกี่ยวในราคาไร่ละ 500 บาท เหตุที่ต้องลงทุนมากกว่าเกษตรกรรายอื่นเนื่องจากที่นาไม่ได้อยู่ในเขตคลองซอยชลประทาน จึงต้องอาศัยสูบน้ำจากบ่อบาดาลและหนองน้ำมาทำนาปรังจึงทำให้ต้นทุนสูง และเมื่อปีนี้ราคาข้าวลดลงเหลือเพียงกิโลกรัมละ 5.80 บาท เท่านั้น ซึ่งราคาก่อนหน้านี้ต้นเดือนเมษายน ขายได้ 7.80 บาท ก็ยังดี คาดว่าในปีนี้ขายข้าวแล้วคงจะเหลือกำไรประมาณ 30,000-40,000 บาท

“จากการทำงานทั้งครอบครัวตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคม มาเก็บเกี่ยวเมษายน เป็นเวลา 4-5 เดือน เหลือกำไรไม่คุ้มทุน แต่ก็ไม่มีอะไรจะทำ จึงต้องจำใจทำ ซึ่งก็อยากให้รัฐบาลช่วยเหลือให้ขายได้กิโลกรัมละ 7-8 บาท ไม่ต้องประกันจำนำถึง 16,000 บาท ก็ได้เพราะนั่นมากไป แต่อยากให้หาวิธีทำให้ขายได้ในราคาที่สูงขึ้นด้วยการตลาด เพราะว่าในปีที่แล้วขายข้าวได้ราคากิโลกรัมละ 7-8 บาท จะเหลือกำไร 120,000-130,000 บาท ส่วนข้าวนาปีในพื้นที่อย่าง กข.6 ขายได้กิโลกรัมละ 10.60 บาท ข้าวมะลิ 105 ขายได้ กิโลกรัมละ 8.40 บาท สำหรับพันธุ์ข้าวที่ปลูกข้าวในนาปรัง เป็นข้าวเหนียว พันธุ์ กข.4 หรือชาวบ้านที่นี่จะเรียกว่าข้าวพันธุ์อีลายเป็นข้าวที่ให้ผลผลิตดี น้ำหนักดี รวงดี รวงใหญ่ ชาวบ้านจึงนิยมปลูกกัน” นายบุญสารกล่าว

บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหารจำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ โชว์กระบวนการผลิตขนมปัง ด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงเป็นระบบอัตโนมัติตลอดสายการผลิต “ลดการสัมผัสมือ” ตอกย้ำการเป็นผู้นำคุณภาพและอาหารปลอดภัย 4.0 สร้างความมั่นใจใหกับผู้บริโภคด้วยมาตรฐานอาหารปลอดภัยสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดห่วงโซ่การผลิต

นายวีรชัย รัตนบานชื่น ประธานผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ ซีพีเอฟ กล่าวว่า โรงงานแปรรูปอาหาร บางน้ำเปรี้ยว แห่งนี้ ได่รับการรับรองหลักเกณฑ์วิธีการปฏิบัติที่ดีในการผลิต (Good Manufacturing Practices: GMP) และระบบการวิเคระห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (Hazard Analysis and Critical Control Point: HACCP) ตามาตรฐานสากล Codex จากบริษัท เอสจีเอส (ประเทศไทย) จำกัดโดยมี

นางหิรัญญา สุจินัย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ให้เกียรติร่วมในพิธีมอบมาตรฐานดังกล่าว

การผ่านการรับรองมาตรฐานดังกล่าวของ ซีพีเอฟ แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการยกระดับกระบวนการผลิตสู้มาตรฐานสุขลักษณะและความปลอดภัยอาหารในระดับสากล และยังเป็นส่วนหนึ่งในการนำนโยบายคุณภาพซีพีเอฟ (CPF Quality Polity) มาใช้ในกระบวนการผลิตเพื่อส่งมอบคุณภาพและความปลอดภัยอาหารมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก

โรงงานเบเกอรี่แห่งนี้เป็นโรงงานระบบปิดทั้งหมด ใช้เงินลงทุน 650 ล้านบาท ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เพื่อส่งเสริมให้มีการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค โรงงานเปิดดำเนินการเมื่อปี 2559 โดยกระบวนการผลิตใช้เครื่องจักรและเทคโนยีที่ทันสมัย มีการใช้โปรแกรม SCADA ที่เชื่อมต่อเครื่องจักรทุกเครื่องและอุปกรณ์ จุดเด่นคือมีการติดตั้งเครื่องเทอร์โมมิเตอร์อินฟราเรดในการตรวจสอบอุณหภูมิสินค้าด้วยระบบออนไลน์เพื่อแสดงผลแบบเรียลไทม์ และมีการใช้ Smart QC ซึ่งเป็นเครื่องจักรตรวจสอบอัตโนมัติแบบ Visual Inspector ในการตรวจสอบและคัดแยกคุณภาพสินค้าที่ไม่ผ่านเกณฑ์ออก เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับสินค้าที่มีคุณภาพสม่ำเสมอ และมั่นใจในความปลอดภัยอาหาร

สำหรับสินค้าหลักของโรงงาน ได้แก่ ขนมปังเบอร์เกอร์ และขนมปังฮอทดอก โดยมีกำลังการผลิต 480,000 ชิ้นต่อวัน ซึ่งเป็นการผลิตเพื่อส่งต่อไปยังโรงงานอาหารเครือ CPF เพื่อผลิตเป็นอาหารพร้อมรับประทานภายใต้ตราสินค้าซีพี เช่น เบอร์เกอร์ไก่ย่างถ่าน เบอร์เกอร์หมูซุปเปอร์สไปซี่ เวฟด็อกไส้กรอกชีส เป็นต้น

“บริษัทได้พัฒนาบุคลากรทุกระดับให้มีทักษะหลายด้าน (Multifunctional skills) พร้อมก้าวเข้าสู่ Thailand 4.0 ทำให้โรงงานมีประสิทธิภาพสูง โดยใช้คนเพียง 32 คน เทียบกับโรงงานเบเกอรี่ทั่วไปที่ใช้คนมากกว่า 100 คน เช่น วิศวกรหนึ่งคนสามารถทำหน้าที่ควบคุมการผลิต บำรุงรักษาเครื่องจักร และควบคุมคุณภาพในเวลาเดียวกัน ซึ่งเป็นผลมาจาการออกแบบติดตั้งเครื่องจักรและซอฟต์แวร์ที่เป็นระบบอัติโนมัต์และต่อเนื่อง ที่สำคัญคือ ลดการสัมผัสมือ” นายวีรชัยกล่าว

นอกจากนี้ การนำระบบ HACCP มาใช้ในโรงงานเพื่อคันหาจุดควบคุมที่สำคัญ หรือ จุดวิกฤต (Critical Control Point; CCP) เพื่อควบคุมให้สินค้ามีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค โดยบริษัทได้จัดตั้งคณะทำงานความปลอดภัยอาหาร (HACCP Team) เพื่อวิเคราะห์หาจุดวิกฤตทุกขั้นตอน ตั้งแต่วัตถุดิบ ขั้นตอนการผลิต การจัดจำหน่าย จึงประกันได้ว่าสินค้าที่ส่งมอบให้แก่ผู้บริโภค ถูกสุขลักษณะ และปลอดภัย

ความสำเร็จในการได้การรับรอง GMP และ HACCP ตามมาตรฐานอาหารสากล Codex สะท้อนให้เห็นศักยภาพในการผลิตอาหารให้มีคุณภาพ มาตรฐานและปลอดภัยตลอดห่วงโซ่อาหารซีพีเอฟ และสร้างให้กับผู้บริโภคเพิ่มมากยิ่งขึ้น

วันที่ 24 เมษายน สถานการณ์น้ำในเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน ในวันนี้ เหลือการกักเก็บน้ำอยู่ที่ 326.54 ล้าน ลบ.ม. หรือ 34.77% ของการกักเก็บ มีน้ำใช้การได้ 283.54 ล้าน ลบ.ม. หรือ 31.61% โดยยังระบายน้ำออกวันละ 3.02 ล้าน ลบ.ม. นายเฉลิมศักดิ์ ทักษาดิพงษ์ ผู้อำนวยการเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน กล่าวว่า น้ำในเขื่อนแควน้อยบำรุงแดนยังเป็นไปตามแผนการจัดการน้ำของกรมชลประทาน ที่ส่งน้ำช่วยเหลือเกษตรกรที่ปลูกข้าวในพื้นที่ลุ่มน้ำแควน้อยกว่า 150,000 ไร่ ไปจนถึงสิ้นเดือนเมษายนนี้ จากนั้นแผนการส่งน้ำก็จะจัดส่งน้ำทางด้านอุปโภคบริโภคให้แก่ประชาชน พร้อมผลักดันน้ำทะเล ในที่ราบลุ่มภาคกลาง ซึ่งคาดว่าในปีนี้น้ำในเขื่อนแควน้อยบำรุงแดนจะเพียงต่อความต้องการใช้น้ำปีนี้อย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม ต้องขอความร่วมมือพี่น้องเกษตรกรงดการทำนาปรังงวดที่ 2 เพื่อกักเก็บน้ำไว้อุปโภคบริโภคให้มากที่สุด

ขณะที่การปล่อยน้ำของเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน ยังสร้างผลดีต่อการท่องเที่ยว ที่ทางเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน ร่วมกับ อบต.คันโช้ง และประชาชนในพื้นที่ทำซุ้มไม้ไผ่ มาตั้งริมน้ำหลังเขื่อนเพื่อให้นักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปได้มาเล่นน้ำคลายร้อน มาตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ไปจนถึงสิ้นเดือนพฤษภาคมนี้ โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา ประชาชนและนักท่องเที่ยวมาพักผ่อนเล่นน้ำกันวันหนึ่งไม่ต่ำกว่าหมื่นคนทีเดียว ถึงแม้ว่าช่วงเทศกาลผ่านไปประชาชนก็ยังไปเที่ยวเล่นน้ำที่จุดเล่นน้ำกันอย่างคึกคักต่อเนื่อง โดยเฉพาะวันหยุดทุกเสาร์อาทิตย์

ในปัจจุบันการรวมกลุ่มกันของเกษตรกรรายย่อยเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ภาคการเกษตรของไทยมีความเข้มแข็ง ช่วยให้เกษตรกรสามารถบริหารปัจจัยการผลิตให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเพิ่มขีดความสามารถในการทำการเกษตร อันจะนำไปสู่การขับเคลื่อนภาคเกษตรกรรมไทยอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นดังกล่าว จึงได้ดำเนิน “โครงการชุมชนพลังเกษตรสร้างสุข” ต่อเนื่องเป็นระยะเวลากว่า 6 ปี เพื่อสร้างและสนับสนุนให้เกษตรกรในพื้นที่ชุมชนเกิดการรวมกลุ่มกันอย่างเข้มแข็งและสามารถพึ่งพาตนเองได้

ล่าสุดบริษัทร่วมกับวิสาหกิจชุมชนทำนาห้วยตาดข่า ภายใต้ความร่วมมือจากหน่วยงานราชการ จังหวัดอุดรธานี เปิด “ศูนย์เรียนรู้ชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้า-ห้วยตาดข่า” ต้นแบบวิสาหกิจชุมชนกลุ่มที่มีความเข้มแข็ง ชูจุดแข็งของการทำเกษตรกรรมด้วยพืชที่หลากหลาย เน้นเรื่องการเพิ่มปริมาณและพัฒนาคุณภาพของผลผลิตด้วยต้นทุนที่ต่ำลง รวมถึงการแปรรูปสินค้าเพื่อสร้างรายได้เพิ่มให้แก่สมาชิกในกลุ่มอย่างยั่งยืน ด้วยการเพาะปลูกและการนำนวัตกรรม KUBOTA (Agri) Solutions ทุกคำตอบเรื่องการเกษตร มาใช้ในการทำเกษตรกรรม

คุณโอภาศ ธันวารชร กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด เล่าถึงที่มาของโครงการชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้า ว่าบริษัทให้ความสำคัญในเรื่องของการพัฒนาชุมชนและสังคมมาโดยตลอด สำหรับ “โครงการชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้า” ได้ริเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่มกันอย่างเข้มแข็งและสร้างรายได้เสริมให้กับชุมชนเพิ่มมากขึ้น ภายใต้แนวทางการพัฒนาด้านการเกษตรที่ยั่งยืนตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ จนถึงปลายน้ำ อีกทั้งสนับสนุนชุมชนให้เลือกใช้เครื่องจักรกลการเกษตรที่เหมาะสมเพื่อลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตลอดจนส่งเสริมให้ชุมชนสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลผลิตดั้งเดิม และพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรให้มีการบริหารจัดการที่ดี ทั้งด้านการเกษตร การทำบัญชีควบคุมต้นทุน รายได้ของชุมชนและครัวเรือน ให้มีประสิทธิภาพอย่างสูงสุด รวมทั้งการศึกษาดูงานการทำการเกษตรและงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ

“เมื่อปี 2556 บริษัทได้เปิดศูนย์เรียนรู้ชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้า-ผักไหม ที่อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ เป็นแห่งแรก และต่อมาในปี 2557 ได้เปิดศูนย์ชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้า-เกษตรทิพย์ ตำบลดู่ อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ เป็นแห่งที่ 2 ซึ่งเกิดผลความสำเร็จ จึงทำให้บริษัทเดินหน้าเปิดศูนย์เรียนรู้ชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้า-ห้วยตาดข่า ตำบลหนองอ้อ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี ขึ้นเป็นแห่งที่ 3”

สำหรับชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้า-ห้วยตาดข่า เกิดจากแนวคิดในการพัฒนาชุมชนของตนเองให้มีความเข้มแข็ง ด้วยการทำเกษตรแบบประณีต ให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพมากขึ้น เพื่อสร้างรายได้เพิ่มให้แก่ชุมชน ตลอดจนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการทำเกษตรกรรมด้วยการปลูกพืชที่หลากหลาย (Multiple Crop) จนเกิดความเชื่อมโยงกัน ทั้งการปลูกพืช ประกอบด้วย ข้าว มันสำปะหลัง อ้อย และพืชบำรุงดิน การเลี้ยงสัตว์ เช่น โคนม โคเนื้อ และการแปรรูปผลผลิต เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ชุมชนและเกษตรกร โดยนำระบบ KUBOTA (Agri) Solutions “ทุกคำตอบเรื่องการเกษตร” ที่สยามคูโบต้าคิดค้นขึ้นมาโดยเฉพาะ เพื่อเป็นตัวช่วยยกระดับและพัฒนาประสิทธิภาพเกษตรกรรมของไทย ด้วยนวัตกรรมเครื่องจักรกลการเกษตรและการเพาะปลูกที่มีประสิทธิภาพ

ด้าน คุณสีลา ภูจำเริญ ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มห้วยตาดข่า เล่าให้ฟังถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหลังจากที่สยามคูโบต้าเข้ามาสนับสนุน ว่ากลุ่มห้วยตาดข่า เป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็งด้วยอุดมการณ์และการบริหารจัดการที่เป็นระบบ และจากการที่บริษัท สยามคูโบต้า เข้ามาส่งเสริมสนับสนุนองค์ความรู้ด้านการเกษตรในเรื่องต่างๆ การบริหารจัดการด้านเครื่องจักรกลการเกษตร การแปรรูปผลผลิต เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม อีกทั้งยังช่วยประสานงานกับองค์กรภาครัฐและเอกชน ทำให้ชุมชนมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ การนำความรู้และวิธีเพาะปลูก โดยใช้นวัตกรรม KUBOTA (Agri) Solutions คือการเลือกใช้เครื่องจักรกลการเกษตรและวิธีการปลูกที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ทำให้เกษตรกรได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น อาทิ ข้าว ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 733 กิโลกรัม ต่อไร่ เปรียบเทียบกับการปลูกด้วยวิธีการดั้งเดิมแบบหว่าน ที่ได้ผลผลิต 556 กิโลกรัม ต่อไร่ และแบบดำมือ ได้ผลผลิต 694 กิโลกรัม ต่อไร่ ส่วนมันสำปะหลัง ได้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้นจากเดิม 1 ตัน ต่อไร่ และอ้อย มีผลผลิตเพิ่มขึ้นจากเดิม 4 ตัน ต่อไร่ นอกจากนี้ ยังส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

ส่วนเป้าหมายของการทำงานร่วมกันในอนาคตคือ ต้องการพัฒนาสมาชิกในระดับบริหารและสมาชิกทั่วไปในชุมชน รวมทั้งพัฒนาเทคนิคการแปรรูปผลผลิตการเกษตรในชุมชนให้ได้ตามมาตรฐานและความต้องการของตลาด มียอดขายที่เพิ่มมูลค่าให้กับคนในชุมชนได้ต่อไป อีกทั้งสร้างให้วิสาหกิจชุมชนกลุ่มห้วยตาดข่า มีความเข้มแข็ง พึ่งพาตัวเองได้ เพื่อเป็นชุมชนต้นแบบทางการเกษตรให้แก่เกษตรกรในภาคอีสานตอนบน

โครงการชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้า นับเป็นอีกหนึ่งโครงการดีๆ ที่ช่วยขับเคลื่อนภาคเกษตรกรรมของไทยให้มีการเติบโตอย่างยั่งยืน ไปพร้อมๆ กับการก้าวสู่การเป็นเกษตรกรรม 4.0

วันที่ 24 เมษายน 2560 นายเสริมศิริ คงเวหน เจ้าของแผงรับซื้อสับปะรด “เจ๊เนี๊ยบ” เขตเทศบาลตำบล กม. 5 ต.อ่าวน้อย อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ราคาสับปะรดส่งโรงงานแปรรูปเพื่อการส่งออก กำหนดราคารับซื้อหน้าแผงอยู่ที่กิโลกรัม (กก.) ละ 3 บาท หลังจากเมื่อเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2559 รับซื้อราคา กก.ละ 14 บาท สูงสุดในรอบ 100 ปี เป็นประวัติการณ์ โดยรับซื้อผลผลิตทุกประเภท

โดยสาเหตุที่ผลผลิตราคาตกเนื่องจากโรงงานแปรรูปในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์อ้างว่ามีปัญหาจากการส่งออกไปตลาดต่างประเทศ นอกจากนั้นในการจำหน่ายโรงงานได้คัดเฉพาะผลผลิตที่มีคุณภาพดี เนื่องจากปัจจุบันจากสภาพอากาศแปรปรวนทำให้สับปะรดบางพื้นที่มีปัญหาจากสารตกค้างจากการใช้ปุ๋ยเคมี ทำให้มีสับปะรดผลสดตกเกรดล้นตลาดจำนวนมาก เกษตรกรต้องนำมาแปรรูปเป็นสับปะรดกวนและสับปะรดอบแห้ง

ทั้งนี้คาดว่าราคาผลผลิตจะต่ำลงอีกภายใน 1-2 เดือน ทำให้เกษตรกรรายย่อยประสบภาวะขาดทุน เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูงกว่าราคาจำหน่ายในปัจจุบัน นอกจากผลต่อเนื่องราคาสับปะรดมีราคาสูงเมื่อปลายปีที่ผ่านทำให้เกษตรกรลงทุนปลูกเพิ่งอีกจำนวนมาก ทำให้ผู้ประกอบการโรงงานฉวยโอกาสกดราคาผลผลิต

เมื่อวันที่ 24 เมษายน นายบุญพาศ รักนุ้ย netmarketingmastery.com นายอำเภอสะเดา สั่งการให้นายบุญภพ มะเดื่อ ปลัดอาวุโส นายนันต์อินทร์ ศิริรัตน์ ปลัดอำเภอหัวหน้าฝ่ายความมั่นคง นายธนกฤต สุทธิพงค์ ปลัดอำเภอฝ่ายความมั่นคง นำกำลัง อส. 10 นาย ร่วมกับ ตชด.4303 ปิดล้อมตรวจค้นบ้านเลขที่ 301/ 20 บ้านนิพัทธแลนด์ ม. 1 ต.ปาดังเบซาร์ อ.สะเดา จ.สงขลา หลังจากมีรายงานจากการสืบสวนว่าผู้ที่อาศัยมีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติด พบว่าประตูถูกล็อคจากด้านใน มองจากหน้าต่างบานเกล็ดเข้าไปเห็นกองใบกระท่อมวางอยู่บนพื้นห้องจำนวนมาก เจ้าหน้าที่จึงตัดสินใจงัดประตูบ้านเข้าไป พบนายวรดิษฐ์ หมานอีน อายุ26 ปีที่อยู่ 7/2 หมู่ที่ 5 ต.นาทับ อ.จะนะ จ.สงขลา อยู่ในลักษณะเหมือนคนเมา

สอบสวนผู้ต้องหารับสารภาพว่าบ้านตนเองเป็นคนเช่า รวมถึงบ้านเลขที่ 301 / 19 ซึ่งอยู่ติดกันเจ้าหน้าที่ จึงได้ตรวจค้นโดยละเอียดพบอาวุธปืนขนาด 9 มม.พร้อมกระสุน 10 นัดซุกอยู่ใต้ที่นอนในบ้านเลขที่ 301/ 19 ส่วนบ้านเลขที่ 301/20 เป็นที่เก็บใบกระท่อมสดลักษณะเป็นมัดน้ำหนัก 417 กิโลกรัม เจ้าหน้าที่จึงได้ทำการตรวจยึดของกลางทั้งหมดรวมถึงรถยนต์เก๋งยี่ห้อโตโยต้า รุ่นอัลติส สีเทาหมายเลขทะเบียน ขธ 4273 และรถยนต์ฟอร์ด รุ่นอีเวอร์เรสต์ สีบรอนซ์ทองหมายเลขทะเบียนชภ 9573 กรุงเทพมหานคร พร้อมป้ายทะเบียนปลอม 2 แผ่น ทะเบียน กต 8418 สงขลา ซึ่งจอดอยู่ที่บ้านทั้งสองหลัง พร้อมนายวรดิษฐ์ฯมาทำการสอบสวนเพิ่มเติมที่ฝ่ายปกครองอำเภอสะเดา

จากการสอบสวนนายวรดิษฐ์ฯปฏิเสธว่า ใบกระท่อมไม่ได้เกป็นของตัวเองแต่ยอมรับว่าเพิ่งเสพยาบ้ามาตั้งแต่เมื่อคืน ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ไม่ปักใจเชื่อเนื่องจากแนวทางการสืบสวนพบว่านายวรดิษฐ์ฯ เคยถูกดำเนินคดีในข้อหายาเสพติด ( พืชกระท่อม )กว่า 400 กิโลกรัม เมื่อปีที่แล้ว ขณะนี้คดีอยู่ในชั้นศาลและเพิ่งประกันตัวออกมา แต่ยังคงมีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติดอยู่

เจ้าหน้าที่จึงได้ควบคุมตัวนายวรดิษฐ์ฯพร้อมของกลางทั้งหมดส่งพนักงานสอบสวน สภ.สะเดาเพื่อสวบสวนขยายผลและดำเนินคดีต่อไป วันที่ 24 เมษายน 2560 หลังจากการเปิดตัวจุดชมวิว เสม็ดนางชี บ้านหินร่ม ต.คลองเคียน อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา เมื่อต้นปี 2559 ซึ่งเป็นจุดชมวิวที่สามารถที่มองเห็นทะเลในอ่าวพังงา ที่มีป่าเกาะ เรียงรายกันอยู่สวยงามอย่างน่าอัศจรรย์ ทำให้ได้รับความนิยมจากบรรดานักท่องเที่ยว ที่แวะเวียนเข้าไปสัมผัสความสวยงามของบรรยากาศของพระอาทิตย์ขึ้นในยามเช้า พระอาทิตย์ตกในตอนเย็น และกลุ่มนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบการดูกลุ่มดาวในตอนกลางคืน

สำหรับการขึ้นไปยังจุดชมวิวที่ต้องเดินขึ้นเนินภูเขาดินในระยะทาง 800 เมตร ทำให้เป็นอุปสรรค ต่อ เด็กเล็กๆ ผู้สูงอายุ และผู้พิการ ที่อยากจะขึ้นไปชื่นชมบรรยากาศที่สวยงามด้วยเช่นเดียวกัน ทำให้นักธุรกิจในพื้นที่ ได้พัฒนาที่ดินในบริเวณใกล้เคียงและมีจุดชมวิวเหมือนกัน แต่มีความพร้อมในทุกด้านไม่ว่าจะมีถนนและทางลาดขึ้นสู่จุดชมวิว มีร้านกาแฟ และที่พักแบบ เต็นท์ หลายรูปแบบ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวทุกกลุ่มทุกวัย ในชื่อ “เสม็ดนางชี บูทีค”

นายนิกร ต่อไมตรี นักธุรกิจด้านการท่องเที่ยวในจังหวัดพังงา เปิดเผยว่า “เสม็ดนางชี บูทีค” เกิดขึ้นจากการที่ตนเองได้มาเที่ยวจุดชมวิวเสม็ดนางชี แล้วรู้สึกชื่นชอบในบรรยากาศ และทิวทัศน์ ที่ไม่เคยเห็นมาก่อน จึงอยากให้นักท่องเที่ยวทุกกลุ่มทุกวัย ได้มีโอกาสขึ้นมาสัมผัสบ้าง จึงเข้ามาลงทุนพัฒนาร่วมกับคนในท้องถิ่น ขณะนี้เปิดให้บริการที่พักในรูปแบบเต็นท์ ร้านกาแฟ และร้านอาหารซีฟู๊ด ที่ใช้วัตถุดิบจากชาวประมงในหมู่บ้าน บริการในราคาที่ไม่แพง ทำให้มีนักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวพักผ่อนเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะช่วงวันหยุดและเทศกาล สนใจสามารถติดต่อได้ที่ “เสม็ดนางชี บูทีค”

วันที่ 24 เมษายน สถานการณ์ปลากะพงขาวที่ชาวบ้านเลี้ยงไว้ในกระชังริมทะเลสาบสงขลารอบตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ที่ช็อกตายต่อเนื่องมาตั้งแต่วันที่ 19 เมษายนที่ผ่านมา โดยมีปลาตายแล้วหลายสิบตัน ล่าสุดวันนี้ยังคงพบมีปลากะพงขาวตายอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกระชังปลาของนายพงศ์ธร รัตนประทีป ในพื้นที่หมู่ 9 ตำบลเกาะยอ ที่เลี้ยงเอาไว้กว่า 100 กระชัง มีปลาช็อกและกำลังจะตาย จมลงในน้ำ ปลาส่วนใหญ่เป็นปลาที่ได้ขนาดส่งขาย คือตัวละ 3-5 กิโลกรัม มูลค่ากว่า 2 ล้านบาท