ลดต้นทุน-เพิ่มผลผลิต กล้วยไข่ ผลงาน วิทยาลัยเทคนิคกำแพง

“กล้วยไข่” เป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัดกําแพงเพชร เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกกล้วยไข่พันธุ์กําแพงเพชร ในระยะห่าง 2×2 เมตร มีการตัดแต่งหน่อทุกระยะการเจริญเติบโตและหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิต แปลงปลูกกล้วยไข่จะให้ปุ๋ย 2 ครั้ง คือ หลังปลูกประมาณ 1 เดือน และหลังเก็บเกี่ยว 1 เดือน ปุ๋ยเคมีที่นิยมใช้ คือ ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15, 46-0-0 ใส่ครั้งละ 0.5-1 กิโลกรัม ต่อต้น ส่วนปุ๋ยอินทรีย์จะใช้มูลไก่และกากชานอ้อย อัตรา ไร่ละ 1,000 กิโลกรัม

ด้านการเก็บเกี่ยว เกษตรกรจะอาศัยการสังเกตก่อนเก็บผลผลิต โดยใช้วิธีการนับอายุดูสี ดูเหลี่ยมของผล ดูขนาดผลและนับวันกล้วยไข่ออกดอกบานถึงวันเก็บเกี่ยวประมาณ 45 วัน เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมซื้อขายกล้วยไข่โดยใช้หน่วยในการขายเป็น “ตั้ง” มีเป็นส่วนน้อยที่ทําการซื้อขายโดยชั่งเป็นกิโลกรัม กล้วยไข่คุณภาพดี ต้องมีขนาดหวีสมบูรณ์ 6 หวี ในแต่ละหวี มีไม่น้อยกว่า 12 ผล

“ปุ๋ยอินทรีย์” ตัวช่วยลดต้นทุน-เพิ่มผลผลิต

ปัจจุบัน เกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไข่อยากได้เทคโนโลยีใหม่ๆ มาช่วยลดต้นทุน และเพิ่มปริมาณผลิตผล ควบคู่กับการผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานความปลอดภัย ครูพิมลพรรณ พรหมทอง หรือ “ครูเอ๋” โทร. 086-421-3130 ครูวิทยาศาสตร์ของวิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร เล็งเห็นปัญหาที่เกิดขึ้น จึงได้ศึกษาเรื่องการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้วยไข่ ทั้งด้านความสูง ระยะเวลาในการออกหน่อและจำนวนหน่อของต้นกล้วย ระยะเวลาในการออกปลีของต้นกล้วยไข่ รวมทั้งจำนวนหวีต่อเครือของต้นกล้วยไข่

ที่ผ่านมา เกษตรกรนิยมขยายพันธุ์กล้วยไข่ โดยวิธีการใช้หน่อ โดยทั่วไปการปลูกกล้วยไข่เพื่อเลี้ยงหน่อ ทำได้โดยการใช้ระยะปลูกปกติ และใส่ปุ๋ยไนโตรเจนทุกสัปดาห์ สัปดาห์ละ 30 กรัม ถึง 60 กรัม ช่วยทำให้หน่อได้ประมาณ 8-10 หน่อ ต่อต้น ต่อปี วิธีการดังกล่าวต้องใช้เวลานานและสิ้นเปลืองแรงงาน เสี่ยงต่อการเกิดโรคและแมลงเข้าทำลาย หน่อที่ได้มีขนาดไม่สม่ำเสมอกันเป็นปัญหาต่อการเก็บเกี่ยว และการกำหนดปริมาณผลผลิตเป็นอย่างมาก จึงได้นำเอาเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซึ่งเป็นวิธีการขยายพันธุ์ที่ทำให้ได้ต้นพืชตรงตามพันธุ์ สามารถขยายพันธุ์ได้จำนวนมากในระยะเวลาจำกัด ต้นพืชที่ได้ยังปลอดโรค แมลงที่ติดไปกับต้นพันธุ์ วิธีการขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จึงเป็นวิธีการที่ใช้ได้ผลดี

ดังนั้น ครูเอ๋ จึงสนใจศึกษาเรื่องการใช้ปุ๋ยอินทรีย์กับต้นกล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชรที่เกิดจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพราะการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ สามารถลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมี ไม่เป็นอันตรายต่อเกษตรกรและสภาพแวดล้อม ทำให้เกษตรกรลดค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น ควบคู่กับการเพิ่มผลผลิตไปพร้อมๆ กัน

ครูเอ๋ ได้ศึกษาชนิดของปุ๋ยอินทรีย์ต่างชนิดกัน ได้แก่ มูลสุกรเปียก มูลสุกรแห้ง มูลวัวเปียก มูลวัวแห้ง มูลวัวแห้งมาก มูลไก่เปียก มูลไก่แห้ง และมูลไก่แห้งมากมาทดลอง โดยนำมูลสัตว์ ในอัตรา 1 กิโลกรัม ผสมกับ น้ำ 1 ลิตร ราดให้ห่างบริเวณโคนต้น ระยะ 30 เซนติเมตร ทุกๆ 30 วัน แล้วหาค่าเฉลี่ยบันทึกผลการเจริญเติบโตของต้นกล้วยไข่แต่ละต้น ทุกๆ สัปดาห์ เป็นระยะเวลา 8 เดือน ในแปลงทดลองจริง เพื่อหาคำตอบให้ได้ว่า มูลชนิดใดมีความเหมาะสม ช่วยให้ต้นกล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชรมีการเจริญเติบโตในส่วนที่เป็นลำต้น (ความสูง) และส่งผลดีต่อระยะเวลาการออกหน่อ จำนวนหน่อ ระยะเวลาการออกปลีและจำนวนหวีต่อเครือของต้นกล้วยไข่

ผลการทดลองพบว่า ต้นกล้วยไข่ที่เจริญเติบโตดีมีจำนวนหน่อมากที่สุด คือ ต้นกล้วยไข่ที่ใช้ปุ๋ยมูลวัวแบบแห้งมาก ปุ๋ยมูลสุกรแบบแห้ง และปุ๋ยมูลไก่แบบแห้ง มีการเพิ่มจำนวนหน่อมากที่สุด จำนวน 9 หน่อ ขณะที่ต้นกล้วยไข่ที่ใช้ปุ๋ยมูลสุกรแบบแห้งมาก ปุ๋ยมูลวัวแบบแห้ง และมูลไก่แบบเปียก มีจำนวนหน่อ 8 หน่อ ส่วนต้นกล้วยไข่ที่ใช้ปุ๋ยมูลสุกรแบบเปียก มูลวัวแบบเปียกและมูลไก่แบบแห้งมาก มีจำนวน 7 หน่อ

ในด้านความสูง พบว่า กล้วยไข่ที่ใช้ปุ๋ยมูลวัวแบบเปียก มีความสูงมากที่สุดเป็น อันดับ 1 คือ 309 เซนติเมตร ที่ได้ผลดีรองลงมาคือ ปุ๋ยมูลไก่แบบแห้งมาก ต้นกล้วยไข่มีความสูงเป็น อันดับ 2 คือ 307 เซนติเมตร ส่วนต้นกล้วยไข่ที่ใช้ปุ๋ยมูลวัวแบบแห้ง และมูลวัวแบบแห้งมาก มีความสูง 300 เซนติเมตร

ครูเอ๋ บอกว่า ปุ๋ยอินทรีย์แต่ละชนิด มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้วยไข่แตกต่างกันออกไป หากต้องการให้ต้นกล้วยไข่มีการเติบโตด้านความสูง ควรใช้ปุ๋ยมูลวัวแบบเปียก ด้านระยะเวลาการออกหน่อ ควรใช้ปุ๋ยมูลไก่แบบแห้ง หากต้องการให้ต้นกล้วยไข่มีจำนวนหน่อมาก ควรใช้ปุ๋ยมูลวัวแบบแห้งมาก หรือปุ๋ยมูลสุกรแบบแห้ง และปุ๋ยมูลไก่แบบแห้ง หากต้องการให้ต้นกล้วยไข่ออกปลีเร็ว ควรใช้ปุ๋ยมูลวัวแบบแห้ง หากต้องการให้ต้นกล้วยไข่มีจำนวนหวีต่อเครือมาก ควรใช้ปุ๋ยมูลไก่แบบเปียก และมูลไก่แบบแห้ง

ประการต่อมา ครูเอ๋ แนะนำให้เกษตรกรนำปุ๋ยอินทรีย์มาใช้ให้ตรงกับระยะเวลาของต้นกล้วยไข่ ในช่วงต้นฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ซึ่งดินมีความชื้น มีความชุ่มชื้นในฤดูฝนเหมาะสำหรับการเจริญเติบโตทางลำต้นและออกปลีจนสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตกล้วยไข่ในช่วงฤดูฝนพอดี ผลงานวิจัยของครูเอ๋ แสดงให้เห็นว่า การเจริญเติบโตของต้นกล้วยไข่พันธุ์กำแพงเพชรที่ปลูกโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ต่างชนิดกัน สามารถนำไปใช้งานได้จริงอย่างดีเยี่ยม

มีดตัดกล้วยไข่

กลุ่มนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร ประกอบด้วย น.ส. พรทิพย์ ชมชื่น นายนฤเบศ แสงเพชร และนายสุรศักดิ์ พรมเอ๋ว ได้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง มีดตัดกล้วยไข่ ภายใต้การดูแลของครูเอ๋ ในฐานะครูที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์

การตัดเครือกล้วยไข่ หากใช้มีดโดยทั่วไป เกษตรกรจะใช้ระยะเวลาตัดเครือกล้วยไข่ประมาณ 1 นาที 40 วินาที แต่มีดตัดกล้วยไข่ของทีมนักศึกษา ช่วยให้ทำงานได้เร็วกว่าเดิม เฉลี่ย 1 นาที 20 วินาที ทั้งนี้ประสิทธิภาพการตัดเครือกล้วยไข่จะได้มากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับความชำนาญของผู้ใช้งานเป็นหลัก

ทีมนักศึกษาได้ออกแบบ มีดตัดกล้วยไข่ ที่มีความคมมากกว่ามีดทั่วไป และปลอดภัยต่อการใช้งานของเกษตรกร โดยใช้เงินลงทุนทำมีดแค่พันกว่าบาท เมื่อนำมาทดลองใช้ตัดเครือกล้วยไข่ ก็ทำงานได้ง่ายอย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ทำให้ผลกล้วยเสียหาย แถมยังชะลอความสุกแก่ของผลกล้วยไข่ให้ช้าลง เหมาะสำหรับให้เกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไข่นำไปใช้งานในสวน เพราะทำงานได้เร็วกว่ามีดทั่วไป แถมปลอดภัยกว่ามีดทั่วไป

สภาพอากาศเย็นมีอุณหภูมิลดต่ำลงในตอนเช้า มีความกดอากาศสูง และมีแดดแรงในตอนกลางวัน กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกมะเขือเทศเฝ้าระวังการระบาดของแมลงวันหนอนชอนใบ ที่สามารถพบได้ในระยะการปลูกลงแปลง ให้เกษตรกรสังเกตติดตามการระบาดของแมลงวันหนอนชอนใบตัวเต็มวัยเพศเมียจะวางไข่ที่มีขนาดเล็กภายในผิวใบ เมื่อไข่ฟักเป็นตัวหนอนจะมีลักษณะหัวแหลมท้ายป้าน ตัวหนอนจะชอนไชอยู่ในใบ ทำให้เกิดรอยเส้นสีขาวคดเคี้ยวไปมา

เมื่อนำใบมะเขือเทศมาส่องดูเนื้อเยื่อใบจะพบหนอนตัวเล็กสีเหลืองอ่อนโปร่งแสงและใสอยู่ภายใน หากระบาดรุนแรงจะทำให้ใบเสียหายร่วงหล่นและส่งผลต่อผลผลิตมะเขือเทศ กรณีที่มะเขือเทศไม่สามารถสร้างใบทดแทนได้ก็จะตายไปในที่สุด

หากพบเศษใบมะเขือเทศตามพื้นดินที่ถูกแมลงวันหนอนชอนใบเข้าทำลาย ให้เกษตรกรเก็บใบที่ถูกทำลายออกจากแปลงนำมาเผาทำลายนอกแปลงปลูก เพื่อช่วยลดการแพร่ระบาด เพราะดักแด้แมลงวันหนอนชอนใบ ที่อาศัยอยู่ตามเศษใบมะเขือเทศจะถูกทำลายไปด้วย จากนั้น ให้พ่นด้วยสารฆ่าแมลงฟิโพรนิล 5% เอสซี อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร

หรือสารฆ่าแมลงอิมิดาโคลพริด 10% เอสแอล อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร โดยให้เริ่มพ่นเมื่อต้นมะเขือเทศมีอายุ 5 วันหลังย้ายปลูก พ่นทุก 5 วันจนต้นมะเขือเทศเริ่มออกดอก และพ่นทุก 7-10 วันในระยะออกดอกติดผลอีก 3-5 ครั้ง งดการพ่นสารฆ่าแมลงฟิโพรนิล 5% เอสซี ก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิต 7 วัน และงดการพ่นสารฆ่าแมลงอิมิดาโคลพริด 10% เอสแอล ก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต 14 วัน

“ข้าว” เป็นสินค้าที่ทำรายได้เข้าประเทศในแต่ละปีมีมูลค่ากว่าแสนล้านบาท ประเทศไทยมีการพัฒนาสายพันธุ์ข้าว และคุณภาพมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ข้าวไทยกลายเป็นสินค้าขายดี อุตสาหกรรมข้าวไทยในเวทีตลาดโลกต้องเผชิญการแข่งขันที่สูงขึ้น ภาครัฐจึงจำเป็นต้องยื่นมือเข้ามาเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมข้าวไทยโดยส่งเสริมการผลิตข้าวคุณภาพดี ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ นำนวัตกรรมใหม่มาใช้ในกระบวนการผลิตเพื่อลดต้นทุน ควบคู่กับเพิ่มผลผลิต ส่งเสริมการแปรรูปข้าวเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม

“ โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ผลิตข้าวไทยสู่ตลาดโลก ” ที่กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าต่างประเทศ เป็นอีกแนวทางที่จะช่วยสนับสนุนให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวไทยสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยอาศัยกลุ่มเกษตรกรต้นแบบที่ประสบความสำเร็จในการผลิตและการตลาด มาถ่ายทอดแนวคิด บทเรียนการตลาด วิธีการบริหารจัดการแปรรูปข้าวเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้แก่เกษตรกรและชาวนารุ่นใหม่ได้นำความรู้ที่ได้ไปทดลองปรับใช้ในไร่นาของตัวเอง เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันข้าวไทยในเวทีตลาดโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาว

ที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์ได้ประกาศยกย่อง “ เกษตรกรต้นแบบ ” เป็นรายภาค ประกอบด้วยเครือข่ายเกษตรกรต้นแบบภาคเหนือ ได้แก่ “ ดร.ตะวัน ห่างสูงเนิน ” ผู้นำแนวคิด “ Rainbow Farm ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์จากการเรียนรู้เพื่อการอยู่ร่วมอย่างยั่งยืน ” ส่วนเครือข่ายเกษตรกรต้นแบบภาคกลางคือ “ อาจารย์เชาว์วัช หนูทอง ” เครือข่ายกสิกรรมไร้สารพิษละโว้ธานี จังหวัดลพบุรี สำหรับเครือข่ายเกษตรกรต้นแบบภาคอีสานมี 2 ท่านได้แก่ “ คุณบุญมี สุระโคตร ” วิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชนบ้านอุ่มแสง อ.ราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ และ “ คุณสุวรรณ สิมมา ” ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรรมยั่งยืนน้ำอ้อม อำเภอค้อวัง จังหวัดยโสธร เครือข่ายเกษตรกรต้นแบบภาคใต้ คือ “ ผู้ใหญ่นัด อ่อนแก้ว ”ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านเขากลาง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

“ ข้าวกล้องพันธุ์สังข์หยด” เมล็ดเรียวเล็ก ที่มีเยื่อหุ้มสีแดงอมน้ำตาล คุณค่าทางโภชนาการสูง และมีรสชาติหอมนุ่มอร่อย ว่าเป็นสินค้าขายดีติดตลาดทั้งประเทศและส่งออก จุดเริ่มต้นของ “ ข้าวสังข์หยด ” เป็นเพียงข้าวพื้นเมืองภาคใต้ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณบ้านเขากลาง จังหวัดพัทลุง ที่ผ่านมา เกษตรกรผู้ปลูกข้าวสังข์หยดประสบปัญหาเรื่องการผลิตและการตลาด เพราะได้ผลผลิตน้อย แต่มีต้นทุนการผลิตสูง แถมขายข้าวไม่ได้ราคา ทำให้ชาวบ้านมีรายได้ไม่พอเพียงสำหรับดูแลครอบครัว

ผู้ใหญ่นัด อ่อนแก้ว แกนนำชุมชนบ้านเขากลาง ต.ปันแต อ.ควนขนุน จ.พัทลุง เล็งเห็นปัญหาดังกล่าว จึงเสนอจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ขึ้นเมื่อปี 2534 และจดทะเบียนเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในปี 2548 เพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางบริหารจัดการเก็บรวบรวมผลผลิตกันเอง และสร้างอำนาจต่อรองราคาสินค้ากับพ่อค้าคนกลางรวมทั้งสร้างโรงเรือนเก็บข้าวเปลือก สร้างโรงสีข้าวระบบ GMP ขนาด 12 ตัน/วัน ทำให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแห่งนี้บริหารจัดการสินค้าอย่างเป็นระบบมากขึ้น

สินค้าข้าวสังข์หยด ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ แห่งนี้ มีคุณภาพมาตรฐานมากระดับสากลเพราะผลิตในระบบการจัดการคุณภาพการปฏิบัติการทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (Good Agriculture Practice: GAP) ภายใต้การดูแลควบคุมของศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง ทำให้สินค้าจากชุมชนแห่งนี้ได้รับความเชื่อถือจากผู้บริโภคในวงกว้าง ปัจจุบัน กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านเขากลางมีพื้นที่ปลูกข้าวสังข์หยดอินทรีย์กว่า 100 ไร่ ปัจจุบันสินค้าของกลุ่มฯ ส่งขายทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น จีน มาเลเซีย และยุโรป ฯลฯ หากใครสนใจเยี่ยมชมกิจการข้าวสังข์หยดของกลุ่มฯ สามารถติดต่อ ผู้ใหญ่นัด อ่อนแก้ว ที่เบอร์โทร. 087-2866446 ได้ตลอดเวลา

เชาว์วัช หนูทอง ต้นแบบเทคโนโลยีการปลูกข้าว “ นาโยน” อาจารย์เชาว์วัช หนูทอง เป็นอดีตอาจารย์วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี ที่ต้องการดำเนินชีวิตแบบพึ่งพาตัวเอง เพราะวิถีชีวิตผูกพันกับการเกษตรมาตลอดแถมรับประทานอาหารมังสวิรัติมาตั้งแต่อายุ 19 ปี ทำให้อาจารย์เชาว์วัช ตระหนักถึงพิษภัยของสารเคมีตกค้างจากการทำเกษตรโดยเฉพาะการทำนาข้าว ประกอบกับอาจารย์มีพื้นเพเป็นลูกชาวนา จึงผันตัวเองมาเป็นเกษตรกรทำนาข้าวอินทรีย์ และปลูกผักอินทรีย์เต็มตัว โดยมุ่งหวังผลิตข้าวคุณภาพดี ปลอดสารพิษให้คนไทยได้รับประทาน

การทำนาของอาจารย์ไม่ธรรมดา เพราะก่อนปลูกข้าว อาจารย์จะปูพรมให้ผืนนาก่อน ซึ่งพรมกลายเป็นตัวช่วยขจัดวัชพืชในแปลงนา และช่วยบำรุงดินโดยไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมี ช่วยประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่ายแถมได้ ผลผลิตเพิ่มมากขึ้นด้วย นอกจากนี้อาจารย์ยังเป็นต้นแบบในการนำเสนอเทคโนโลยีการปลูกข้าวแบบใหม่ที่เรียกว่า นาโยนแบบเกษตรอินทรีย์ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ช่วยประหยัดต้นทุน ทั้งเรื่องของเมล็ดพันธุ์ข้าว และแรงงาน ไม่ต้องใช้สารเคมี เพราะนาโยนกล้าสามารถควบคุมหญ้าได้ ลดเวลาการปลูกข้าวน้อยลงถึง 15 วันช่วยให้เก็บเกี่ยวเร็วขึ้น หลังการเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ที่ได้จะมีความสมบูรณ์ สวยงาม ขายได้ราคาดี

ปัญหาขาดแคลนแรงงานทำนา ทำให้อาจารย์เกิดแนวคิดการทำนาในที่ร่ม และทำนาช่วงกลางคืน โดยเพาะต้นกล้าข้าวในโรงเรือนและนำถาดเพาะต้นกล้าไปอนุบาลไว้กลางแจ้ง เปิดสปริงเกอร์รดน้ำเช้า – เย็น เมื่อครบ 15 วัน จึงยกถาดต้นกล้าข้าวออกจากแปลงอนุบาล แล้วถอนต้นกล้าออกจากถาด ใส่ไว้ในตะกร้า ตั้งแต่ช่วงเย็นจนถึงเช้าวันใหม่ จึงค่อยนำกล้าข้าวไปโยนในแปลงนาที่เตรียมดินไว้ “ทำนากลางคืน” ช่วยให้การทำนาเป็นเรื่องง่ายขึ้น เพราะชาวนาไม่ต้องทนเหนื่อยทำงานตากแดดในช่วงกลางวันอีกต่อไป

อาจารย์เชาว์วัช ได้รับการยกย่องว่าเป็น “วิศวกรชาวนา” เพราะได้นำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการทำนา เช่น สร้างเครื่องดำนาโดยใช้แรงงานเพียงคนเดียวปลูกข้าวได้มากกว่า 10 ไร่ รวมถึงประดิษฐ์เครื่องอัดก๊าซชีวภาพ เครื่องทำปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด และเตาน้ำสัมคว้นไม้ ฯลฯ ผลงานดังกล่าวช่วยให้การทำนาเป็นเรื่องง่ายและเป็นคำตอบของการพึ่งพาตัวเอง

“ข้าวหอมมะลิธรรมศาสตร์” จากผลงานวิจัยของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นอีกหนึ่งความหวังของอาจารย์เชาว์วัช ที่จะเพิ่มพูนรายได้ของชาวนาไทยในอนาคต เพราะข้าวพันธุ์นี้ ต่อยอดจากข้าวดอกขาวมะลิ 105 ทนทานต่อปัญหาภัยแล้ง ให้ผลผลิตมากกว่าข้าวหอมมะลิทั่วไปประมาณ 400-500 กก.ต่อไร่อายุการเก็บเกี่ยวสั้นกว่า 2 เดือน ที่สำคัญสามารถเพาะปลูกได้ตลอดทั้งปี จึงให้ผลผลิตมาก เหมาะสำหรับปลูกเพื่อป้อนตลาดส่งออกในอนาคต

ปัจจุบันอาจารย์เชาว์วัช เปิดบ้านเลขที่ 134 หมู่ 2 ตำบล ท่าวุ้ง อำเภอ ท่าวุ้ง จังหวัด ลพบุรี เป็นศูนย์ศึกษาเรียนรู้เรื่องการทำเกษตรอินทรีย์ แบบครบวงจร ภายใต้ชื่อ “เครือข่ายกสิกรรมไร้สารพิษละโว้ธานี” ผู้สนใจสามารถแวะเยี่ยม ศึกษาเรียนรู้ได้ตลอดเวลา หรือติดต่อกับอาจารย์ได้โดยตรงที่เบอร์โทร. 089-8011394

บุญมี สุระโคตร ปลูกข้าวตามหลัก“ปรัญญาเศรษฐกิจพอเพียง”

ลุงบุญมีเติบโตในครอบครัวชาวนา ทำอาชีพมาสารพัดทั้ง ช่างเย็บผ้าโหล ช่างเฟอร์นิเจอร์ ช่างตัดผม และช่างเดินสายไฟ สุดท้ายได้ค้นพบตัวเองว่าสิ่งที่อยากทำที่สุดคือ “ทำนา ปลูกข้าว” ในวิถีเกษตรอินทรีย์ ลุงบุญมีน้อมนำปรัญญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในผืนนาของตัวเอง ผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์คุณภาพดี ที่มีต้นทุนต่ำ สร้างแรงจูงใจให้ชาวนาในพื้นที่ใกล้เคียงหันมาปลูกข้าวอินทรีย์เช่นเดียวกับ ลุงบุญมี

ลุงบุญมีมองว่า “การทำนาจะต่างคนต่างทำไม่ได้ เพราะไม่มีอำนาจต่อรองทางการค้า” จึงได้ชักชวนเกษตรกรในชุมชนบ้านอุ่มแสงหรือกลุ่มเกษตรทิพย์ ตำบลดู่ อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ มารวมกลุ่มกันทำการเกษตรเพื่อสร้างความเข้มแข็งในการขอความช่วยเหลือจากส่วนราชการ และต่อรองกับระบบทุนนิยม พยายามพึ่งพิงตนเอง และคนในชุมชนเป็นหลักให้เกษตรกรรู้จักตัวตนของตนเอง รู้เรื่องดิน ถ้าไม่รู้เรื่องดินจะทำเกษตรอินทรีย์ยาก ทำให้ระบบนิเวศในชุมชนกลับมาสมดุลและสมบูรณ์ขึ้นอีกครั้งด้วยวิถีเกษตรอินทรีย์ ”

ปัจจุบันลุงบุญมีเป็นประธานกลุ่มผู้ปลูกข้าวหอมมะลิอินทรีย์ แห่งบ้านอุ่มแสง ต.ดู่ อ.ราษีไศล ศรีสะเกษ โดยมีเป้าหมายส่งเสริมให้ความรู้เรื่องการทำเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจรแก่เกษตรกรทั่วไป จะได้ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายและเพิ่มผลผลิต พร้อมกับใส่ใจสิ่งแวดล้อม รักษาระบบนิเวศน์ให้สมดุล สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนพึ่งพาตนเองให้มากที่สุด

ทางกลุ่มฯ มีสมาชิกกว่า 600 รายมีพื้นที่ปลูกข้าวอินทรีย์รวมกันกว่า 800 ไร่ ที่นี่ปลูกข้าวอินทรีย์หลายชนิด ทั้งข้าวไรซ์เบอรี่ ข้าวลืมผัว ข้าวกล้องหอมมะลิอินทรีย์ ฯลฯ โดยไม่ใช้สารเคมี ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ไม่ใช้ยาฆ่าหญ้า ผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของ iFOAM สินค้าของกลุ่มจำหน่ายในชื่อตราสินค้า “ลุงบุญมี” จำหน่ายในราคา กก.ละ 100 – 120 บาท ปรากฎว่าขายดีเป็นที่ยอมรับในตลาดในวงกว้าง เพื่อกระจายความเสี่ยงทางการตลาดทางกลุ่มฯ ได้แปรรูปสินค้าจากข้าวอินทรีย์ เช่น ไอศกรีมข้าว และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ผลงานที่ผ่านมา ทำให้ลุงบุญมีได้รับการยกย่องให้เป็นเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาอาชีพทำนา ประจำปี 2554

ลุงบุญมีพร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้และเคล็ดลับสู่ความสำเร็จแก่เกษตรกรทุกราย หากใครสนใจศึกษาดูงานติดต่อโดยตรงทางเบอร์ ช่วงปลายฤดูหนาว ประมาณช่วงเดือนมกราคม- กุมภาพันธ์ ดอกบ๊วยหรือที่คนจีนเรียกว่า “ ดอกเหมย ” จะเริ่มผลิบานสะสุดตานักท่องเที่ยว ต้นบ๊วย จัดอยู่ในตระกูลพรุน เช่นเดียวกับพลัม ลูกท้อ เชอร์รี่ อัลมอนด์ และนางพญาเสือโคร่ง ดอกบ๊วยมีขนาดเล็กประมาณ 1 – 3 ซ.ม.มีหลากสีสัน ตั้งแต่ขาว ชมพู แดง และเข้มเป็นสีแดงสดเลยก็มี

ผลบ๊วยสุกพร้อมเก็บได้ในช่วงต้นฤดูร้อนประมาณเดือนเมษายน-พฤษภาคม ผลบ๊วยมีรูปร่างกลม มีร่องจากขั้วไปถึงก้น ผลดิบจะมีสีเขียว มีรสอมเปรี้ยว มีกลิ่นหอม หลังจากนั้นผลสุกจะเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีแดงเมื่อสุกเต็มที่ สำหรับพื้นที่ที่มีความสูงตั้งแต่ 500 เมตรขึ้นไปสามารถปลูกผลไม้เมืองหนาวได้หลายชนิด เช่น ลูกไหนแดง ลูกไหนดำรสชาติหวาน รวมทั้งลูกท้อ(ลูกพีซ) ที่มีรสชาติหอมหวานอมเปรี้ยว ซึ่งผลไม้ดังกล่าวจะมีผลผลิตออกสู่ตลาดในช่วงเดียวกันคือ เมษายน-พฤษภาคม ของทุกปี

การขยายพันธุ์บ๊วย

พันธุ์บ๊วยที่ใช้ปลูกกันในปัจจุบันนี้ เป็นพันธุ์ดั้งเดิมที่ถูกนำเข้ามาจากประเทศจีน ซึ่งไม่ทราบชื่อพันธุ์ที่แน่นอน ชาวบ้านนิยม ขยายพันธุ์บ๊วย ด้วยวิธีการติดตา โดยเลือกใช้ บ๊วยพันธุ์พื้นเมือง เป็นต้นตอขยายพันธุ์ เนื่องจากสามารถเจริญเติบโตได้เร็วกว่าต้นตอท้อ ทำการขยายพันธุ์ในช่วงที่ต้นพักตัว เมื่อผ่านระยะการพักตัวแล้ว ตาที่ติดไว้ก็จะแตกและเจริญเติบโตต่อไป โดยต้นที่ติดตาจะให้ผลใน 4-5 ปี

แต่ในช่วงที่ติดผลแล้ว ถ้าฝนตกชุกจะทำให้ผลร่วงได้ ทั้งนี้นิยมให้ปุ๋ยปีละ 2 ครั้ง คือช่วงเริ่มแตกตาหรือก่อนออกดอกเล็กน้อยโดยให้สูตร 13-13-21 และให้ปุ๋ยอีกครั้งหลังเก็บเกี่ยวโดยใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ก่อนที่บ๊วยจะพักตัว

ธุรกิจผลไม้แปรรูปดอยแม่สลอง

อาเปา หรือ “คุณธีรเกียรติ ก่อเจริญวงค์ ” เกษตรกรผู้ปลูกบ๊วยและเป็นประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนก่อเสริมดอยแม่สลอง เล่าให้ฟังว่า ที่ผ่านมามีผลไม้เมืองหนาว เช่น เชอรี่ บ๊วย ท้อ ลูกไหนเข้าสู่ตลาดเป็นจำนวนมากจนล้นตลาด ขายได้ราคาต่ำ และไม่มีตลาด หรือ โรงงานรองรับ ทางกลุ่ม ” วิสาหกิจชุมชนก่อเสริมดอยแม่สลอง” จึงเกิดแนวคิดที่จะนำผลไม้ที่ล้นตลาดมาแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างรายได้ในกลุ่มสมาชิกวิสาหกิจชุมชน ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

อาเปาใช้เงิน 2 แสนบาท ลงทุนแปรรูปผลไม้ เว็บบอลออนไลน์ โดยทดลองดองผลไม้ครั้งแรกใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน ลองผิดลองถูกมาตลอด ปรับเปลี่ยนสูตรหลายครั้ง จากการสอบถามจากการอ่านในหนังสือและเคยมีโอกาสเดินทางไปประเทศจีนได้ไปดูการดองผลไม้ของประเทศจีน และนำมาปรับใช้ จนปัจจุบันได้ปรับสูตรและเพิ่มรูปแบบอีกหลายชนิด เช่น เชอรี่แดง บ๊วยแดง บ๊วยอบน้ำผึ้ง บ๊วยทับทิม บ๊วยหยก บ๊วย ๕ รส บ๊วยซากุระ ท้อเส้น ปัจจุบันสินค้าทุกรายการได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) กระทรวงสาธารณสุขเป็นที่เรียบร้อยแล้ว มีรายได้เข้าสู่ชุมชนกว่าปีละ 20 ล้านบาท

ที่นี่การแปรรูปผลไม้ โดยใช้วิธีการดองผลไม้ โดยใช้ส่วนผสมสำคัญประกอบด้วย ผลไม้83 % เกลือเม็ด 10 % น้ำตาลทราย 5 % กรดซิตริก(กรดมะนาว) 2 %

ขั้นตอนการทำ เริ่มจากการคัดผลไม้ที่เน่าเสียออก นำเข้าเครื่องคัดขนาด นำผลไม้สดมาล้างน้ำเพื่อทำความสะอาด เมื่อล้างเสร็จแล้ว นำมาพักน้ำแล้วนำมาผสมกับน้ำเกลือที่เติมกรดซิตริก เสร็จแล้วเทลงถังหมัก หมักไว้ประมาณ 60 วัน หลังจากนั้น นำผลไม้ที่หมักในน้ำเกลือ นำออกมาตากแดดให้แห้งประมาณ 3 วัน แล้วนำผลไม้ที่ตากแดดจนแห้งแล้วมาล้างด้วยน้ำสะอาด นำน้ำตาลทรายมาเคี่ยวจนเป็นน้ำเชื่อมตามอัตราส่วน นำผลไม้ที่เตรียมไว้ลงไปเชื่อมในน้ำเชื่อมที่เตรียมไว้ปิดฝาทิ้งไว้ 20 วัน ตักผลไม้ที่แช่ในน้ำเชื่อมออกมาตากแห้งทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน นำผลไม้ ที่ตากแห้งมาเก็บไว้ เพื่อบรรจุ พร้อมจำหน่าย

เคล็ดลับสำคัญที่ช่วยให้การแปรรูปผลไม้ของวิสาหกิจชุมชนฯ แห่งนี้มีคุณภาพดีและมีมาตรฐานตรงตามความต้องการของตลาด ได้แก่ 1.การดองผลไม้ทุกครั้งต้องคัดผลไม้ที่เน่าเสียอออก และล้างทำความสะอาด 2. ผลไม้ที่ดองในแต่ละชุดต้องคัดขนาดให้เท่ากัน 3. ทุกขั้นตอนต้องเน้นความสะอาด 4. การดองผลไม้ต้องดองในน้ำเกลือผสมกับกระซิตริกตามอัตราส่วนพร้อมกัน

ผลไม้แปรรูปของกลุ่มวิสาหกิจฯ มีกำลังการผลิตเฉลี่ย 225,000ก.ก./ปี ราคาขายส่ง 55 บาท/หน่วย โดยฐานลูกค้าหลักอยู่ที่ตลาดไท เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน นครราชสีมา ฯลฯ

จากการ พัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ ปรับปรุงแก้ไขและลองผิดลองถูกมาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันสินค้าของวิสาหกิจฯ แห่งนี้เป็นที่ต้องการของตลาดในวงกว้าง เพราะสินค้าได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานจาก อย. มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของผู้บริโภคทั่วไป สร้างรายได้เข้าสู่ท้องถิ่นอย่างสม่ำเสมอทำให้สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และชาวบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ทางกลุ่มฯ มีความตั้งใจที่จะพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และรูปแบบผลิตภัณฑ์เพิ่มมากขึ้นในอนาคต เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้วิสาหกิจชุมชนในระดับตำบลแม่สลองนอก และศึกษาดูงาน ในอำเภอแม่ฟ้าหลวงต่อไป