ลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานเก็บเกี่ยวผลผลิต

ผลกระทบจากการพัฒนาประเทศไปสู่อุตสาหกรรมหนักและการพัฒนาการท่องเที่ยวทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายของแรงงานจำนวนมากออกจากภาคเกษตรเข้าสู่ในเมือง ทำให้การเกษตรทั้งระบบขาดแคลนแรงงาน ส่งผลกระทบต่อการผลิตลำไยโดยเฉพาะแรงงานด้านเก็บเกี่ยว ซึ่งมีขั้นตอนตั้งแต่เก็บเกี่ยวผลผลิตจากต้น การลำเลียงผลผลิตสู่โรงเรือนหรือที่ร่ม การคัดเกรด การบรรจุตะกร้า ซึ่งแต่ละขั้นตอนต้องอาศัยแรงงานที่มีความชำนาญจำนวนมาก ปัญหาการขาดแคลนแรงงานจะรุนแรงมากในช่วงการผลิตลำไยในฤดู

แนวโน้มการแข่งขันในตลาดนานาชาติ

เป็นที่ทราบกันดีว่า ลำไยจากประเทศไทยมีคู่แข่งที่สำคัญในตลาดโลก ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนและเวียดนาม ซึ่งจีนเป็นทั้งประเทศคู่ค้าและคู่แข่ง ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา จีนเพิ่มพื้นที่การผลิตถึง 3 ล้านไร่ ผลผลิตลำไยของจีนออกสู่ตลาดในช่วงเดียวกับของไทย คือกรกฎาคมถึงกันยายน ทำให้ประสบปัญหาคล้ายกับไทย คือผลผลิตในฤดูล้นตลาด ราคาตกต่ำ

ด้วยเหตุนี้แนวทางการพัฒนาลำไยของไทยจึงควรมุ่งเน้นที่การกระจายตัวของช่วงฤดูการผลิตตลอดปี การลดต้นทุนการผลิตและปรับปรุงผลผลิตให้ได้คุณภาพ ในขณะที่การปลูกลำไยของจีนยังไม่ประสบผลสำเร็จในการกระจายฤดูกาลผลิตหรือการผลิตลำไยนอกฤดู เนื่องจากมีความหนาวเย็นเกินไปในบางช่วงของปี ทำให้ไม่สามารถผลิตลำไยตลอดปีเหมือนไทยได้ นอกจากนี้ เวียดนามซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญอีกประเทศหนึ่งยังขาดพันธุ์ที่มีคุณภาพดี ประเทศไทยจึงควรพัฒนาลำไยนอกฤดูบนจุดอ่อนเหล่านี้ของคู่แข่ง

ที่บ้านรักไทย ตำบลชมพู อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก

คุณพิสุทธิ์ ต๊ะปิง บ้านเลขที่ 42/2 หมู่ที่ 9 บ้านรักไทย ตำบลชมพู อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก โทรศัพท์ (081) 037-2734 เกษตรกรที่ประสบความสำเร็จ คลุกคลีและผลิตลำไยนอกฤดูมานานกว่า 15 ปี คุณพิสุทธิ์ เล่าว่า ตอนนี้พื้นที่ปลูกและผลิตลำไยของสวนตัวเองมี จำนวน 400 ต้น อายุลำไยได้ 20 ปีแล้ว (ลำไยจะมีอายุยืนมาก) เกษตรกรโดยมากจะปลูกและถือครองพื้นที่ปลูกลำไยกันเฉลี่ยครอบครัวละ 20-50 ไร่ ถ้าปลูกมากกว่านี้ก็ไม่สามารถทำได้ไหว เพราะแหล่งน้ำไม่พอ การจัดการสวนจะยากขึ้น มีการลงทุนสูง

คุณพิสุทธิ์ อธิบายต่อไปว่า ที่นี่จะใช้ระยะปลูกลำไย 8×8 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ 25 ต้น จะเหมาะสมเมื่อต้นมีอายุมาก แต่ในช่วงแรกๆ ชาวสวนลำไยจะปลูกระยะชิดก่อน คือระยะปลูก 4×4 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกลำไยได้ 100 ต้นก่อน เพื่อไม่ให้เสียโอกาสปล่อยให้พื้นที่ว่าง เพราะลำไยอายุที่เหมาะสมที่จะบังคับราดสารให้ออกนอกฤดูคือต้นอายุสัก 5 ปี กำลังเหมาะสม ต่อมาเมื่อต้นลำไยเริ่มมีอายุ ตัดแต่งบังคับทรงพุ่มได้ยากขึ้น ทรงพุ่มชนกัน การทำงานลำบาก ใบลำไยเกิดการบังแสงแดดกัน ก็จะตัดต้นลำไยทิ้งแบบ “ต้นเว้นต้น” ก็จะเหลือระยะปลูก 8×8 เมตร พอดี ซึ่งเกษตรกรบางท่านอาจจะทำใจยาก เนื่องจากต้นลำไยที่จะตัดออก ต้นกำลังโตและงาม แต่ก็ต้องตัด อย่าเสียดาย

ส่วนการคุมทรงพุ่มของต้นลำไยมีความสำคัญมาก มันจะเกี่ยวข้องตั้งแต่ผลผลิต การจัดการ การฉีดพ่นสารเคมี การเก็บเกี่ยว ฉะนั้น อย่างหลังการเก็บเกี่ยวเสร็จ ก็จะมีการตัดแต่งกิ่งในส่วนของความสูง ตัดส่วนยอดของต้นไม่ให้มีความสูงเกิน 3 เมตร ซึ่งจะเน้นให้ต้นลำไยมีทรงพุ่มที่แผ่กว้างมากกว่าที่จะปล่อยให้ทรงพุ่มสูง หลังจากตัดแต่งควบคุมทรงหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ก็จะปล่อยให้ต้นได้พักฟื้นแตกใบตามธรรมชาติ 2-3 ชุด ก่อนที่จะตัดแต่งกิ่งเพื่อเข้าสู่กระบวนการราดสารต่อไป

คุณพิสุทธิ์ เล่าว่า ซึ่งจะทำให้ลำไยออกสู่ตลาดก่อนลำไยในฤดูจะออกเล็กน้อย โดยผลผลิตจะออกช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ซึ่งลำไยในฤดูจะออกช่วงกรกฎาคม-สิงหาคม สาเหตุที่เกษตรกรแถบนี้ต้องทำให้ออกก่อนฤดูนั้น เพราะถ้าผลิตให้ออกช่วงหลังฤดูกาล จะมีปัญหาเรื่องค้างคาว ถ้าทำลำไยไม่พร้อมกับเจ้าอื่น เนื่องจากแถบนี้จะมีถ้ำซึ่งเป็นที่อาศัยของค้างคาวจำนวนมาก ก็จะมีอุปสรรคเรื่องความเสี่ยงที่ค้างคาวจะมาทำลายผลผลิต ความรู้เรื่องการผลิตลำไย ก็จะเอาจุดดีของทางเชียงใหม่ ที่เน้นการผลิตลำไยในฤดูกาล และทางจันทบุรี ที่เน้นการผลิตลำไยนอกฤดูกาล ก็นำความรู้มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่ของตนเอง เพราะเรามีข้อจำกัดและเสียเปรียบในเรื่องของน้ำ เพราะอยู่ในพื้นที่สูง

“การผลิตลำไยนอกฤดูกาล เรื่องน้ำสำคัญที่สุด อย่างที่นี่ก็ต้องวางแผนให้ดี อย่างผมจะเริ่มต้นคือตั้งแต่การตัดแต่งกิ่งช่วงเดือนกันยายน ดึงใบอ่อน สะสมอาหาร อย่างการราดสาร ผมจะเริ่มราดสารในเดือนพฤศจิกายน เก็บเกี่ยวเดือนมิถุนายน ถ้าเราไม่ชิงราดสารช่วงเดือนพฤศจิกายน พอเดือนธันวาคม-มกราคม อากาศหนาวจัด ลำไยมันจะออกดอกมาในฤดูหมด ผลผลิตก็จะไปตรงกับลำไยของทางภาคเหนืออีก ข้อจำกัดในแต่ละพื้นที่มีต่างกัน อย่างที่นี่ ถ้าทำเร็วเกินเจอแล้ง ถ้าทำช้าก็จะออกในฤดู เกษตรกรทุกคนจะรู้ดี แต่ถ้าสวนใครโชคดีอยู่ในพื้นที่มีแหล่งน้ำดีก็จะผลิตออกสู่ตลาดเร็วกว่าสวนอื่นเพื่อให้ได้ราคาสูง เก็บขายช่วงกุมภาพันธ์-มีนาคม หรือช่วงราวๆ วันตรุษจีน แต่อย่างที่อธิบายไป ก็ต้องระวังค้างคาว อาจจะทำพื้นที่ขนาดเล็กได้เท่านั้น ไม่สามารถผลิตพื้นที่ใหญ่ได้ ค้างคาวเป็นปัญหาใหญ่มาก”

ก่อนที่จะตัดแต่งกิ่ง ก็ต้องบำรุงต้นให้ใบมีความสมบูรณ์ แนะนำให้ใส่ปุ๋ยเคมี คือปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 = 1 ส่วน ผสมกับปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 = 1 ส่วน ใส่ให้ ต้นละ 1 กิโลกรัม พร้อมใส่ปุ๋ยคอกเก่าหรือปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด หว่านให้ ต้นละ 5 กิโลกรัม ปกติชาวสวนจะใส่ปุ๋ยกันล่วงหน้า 1 วัน หรือใส่กันวันแต่งกิ่งเลย เพราะจะแต่งกิ่งลำไยคลุมโคนและคลุมปุ๋ยเลย ไม่มีการขนย้ายกิ่งออกจากสวน เพราะต้องการให้ใบและกิ่งคลุมโคนต้น เพื่อรักษาความชื้น ทิ้งไว้ให้ย่อยสลายช่วยปรับโครงสร้างของดิน และช่วยลดการสูญเสียไม่ให้ปุ๋ยหายไปกับน้ำ ปุ๋ยมันจะติดกับกิ่งและใบลำไยที่เราตัดแต่งคลุมโคนเอาไว้

หลังตัดแต่งกิ่งลำไยได้ 7 วัน ก็ต้องฉีดพ่น

ปุ๋ยเพื่อดึงใบอ่อนให้ออกมาเสมอกันทั้งต้น

แต่เนื่องจากสวนมีขนาดใหญ่ จึงเลือก ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 ที่เป็นปุ๋ยทางดิน เอามาประยุกต์ฉีดพ่นทางใบแทนปุ๋ยทางใบที่มีสูตรตัวหน้า (ไนโตรเจน) สูงๆ เพื่อลดต้นทุนการผลิต จากการใช้ปุ๋ยยูเรีย ก็ใช้ได้ผลดีพอสมควร อัตราที่ใช้ คือ ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 จำนวน 5 กิโลกรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร (สามารถผสมสารป้องกันกำจัดโรคและแมลงฉีดพ่นไปพร้อมกันได้เลย) แต่ถ้าให้ได้ผลดียิ่งขึ้น แนะนำว่า บวกกับฮอร์โมน “จิบเบอเรลลิน” (Gibberellin ) ฉีดพ่นเพื่อกระตุ้นให้ต้นลำไยแตกใบอ่อนออกมาพร้อมสม่ำเสมอกันทั่วทั้งต้น แตกใบเร็วขึ้น ออกมารุ่นเดียวกันทำให้ง่ายต่อการดูแล นั่นมีความสำคัญมากในการทำใบลำไยให้ออกมาเป็นชุดๆ ระวังหนอนและแมลงกัดกินใบอ่อน เช่น หนอนคืบกินใบ หนอนมังกร หนอนหนาม ด้วงกินใบ ด้วงกุหลาบและแมลงค่อมทอง

การป้องกันกำจัด ให้ฉีดสารเคมี เช่น คลอไพรีฟอส 50% + ไซเพอร์เมทริน อัตรา 20-30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร หลังจากแตกใบอ่อนได้ราวๆ 10 วัน คือเมื่อใบลำไยเริ่มคลี่แผ่ออก ก็จะต้องเริ่มฉีดสะสมอาหารด้วยปุ๋ยและฮอร์โมนทางใบ ปุ๋ยที่ใช้ก็จะใช้ปุ๋ยเกล็ด สูตร 0-52-34 อัตรา 5 กิโลกรัม ผสมกับน้ำตาลทางด่วน 1 ลิตร ผสมกับแม็กนีเซียมเดี่ยว (Mg) อัตรา 1 ลิตร ต่อน้ำ 1,000 ลิตร (บวกสารป้องกันกำจัดโรคและแมลงตามสถานการณ์ไปได้พร้อมกันเลย) การฉีดสะสมอาหารจะฉีดพ่นด้วยสูตรนี้ทั้ง 3 ครั้ง ห่างกันทุกๆ 10 วัน เพียงแต่ปรับเปลี่ยนสารป้องกันกำจัดโรคและแมลงตามการทำลายหรือคาดการณ์แมลงศัตรูที่อาจจะมาทำลาย โดยต้องเน้นการฉีดเพื่อป้องกัน

อิตัลไทยอุตสาหกรรม ส่งรถตักล้อยาง SDLG ลุยเจาะตลาดปาล์มน้ำมัน ชูจุดเด่น ประหยัดคุ้ม อะไหล่ครบ พร้อมโปรโมชั่นผ่อน 0% นาน 48 เดือน

เมื่อเร็วๆ นี้ อิตัลไทยอุตสาหกรรม จัดงาน SDLG Road Show in Surat Thani รุกขยายฐานตลาดเครื่องจักรกลการเกษตรภาคใต้ ส่ง SDLG รถตักล้อยางแบรนด์ยักษ์จากจีนเจาะกลุ่มธุรกิจสวนปาล์มน้ำมัน ชูจุดเด่น ประหยัดคุ้ม อะไหล่ครบ ช่วยลดเวลา ลดต้นทุน พร้อมโปรโมชั่นพิเศษ ผ่อนสบาย 0% นาน 48 เดือน

นายสกนธ์ ศรีวรรณวิทย์ ผู้อำนวยการสายงานอาวุโส ฝ่ายการตลาด บริษัท อิตัลไทยอุตสาหกรรม จำกัด หรือ ITI ผู้แทนจำหน่ายเครื่องจักรกลหนักแบรนด์ชั้นนำระดับโลก อาทิ Volvo และ SDLG เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้จัดงาน “SDLG Road Show in Surat Thani” ณ ศูนย์อิตัลไทยเซ็นเตอร์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีเป้าหมายเพื่อรุกขยายฐานตลาดอุตสาหกรรมการเกษตรในพื้นที่ภาคใต้ โดยเฉพาะกลุ่มเจ้าของธุรกิจสวนปาล์มน้ำมันที่ต้องการใช้เครื่องจักรกลเพื่อยกระดับผลผลิตและแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานภาคเกษตร

ไฮไลท์สำคัญในงานนี้ คือ การจัดแสดงและแนะนำผลิตภัณฑ์รถตักล้อยาง SDLG เพื่อสร้างประสบการณ์ร่วมให้ลูกค้าได้สัมผัสถึงสมรรถนะ ย้ำความคงทน คุ้มค่า คุ้มราคา รวมถึงงานบริการหลังการขายจากศูนย์อิตัลไทยเซ็นเตอร์กว่า 14 สาขาครอบคลุมทั่วประเทศไทย รวมถึง สปป. ลาว ที่พร้อมให้คำปรึกษาที่เหมาะสมตามความต้องการของลูกค้าในฐานะคู่คิดทางธุรกิจ

นอกจากนี้ ตั้งแต่วันนี้ – 30 กันยายน 2562 อิตัลไทยอุตสาหกรรมยังจัดโปรโมชั่นพิเศษ ดาวน์ต่ำ 10% พร้อมผ่อนสบาย 0% นาน 48 เดือน สำหรับผู้ที่สนใจรถตักล้อยาง SDLG ทุกรุ่นอีกด้วย

กิจกรรม SDLG Road Show in Surat Thani ถือเป็นอีกหนึ่งในกลยุทธ์การตลาดเพื่อสร้างแบรนด์และส่งเสริมยอดขายรถตักล้อยาง SDLG ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งสำหรับเจ้าของธุรกิจสวนปาล์ม รวมถึงสวนยางพาราในภาคใต้ โดยคาดจะช่วยกระตุ้นยอดขายและตอกย้ำภาพลักษณ์การเป็นหนึ่งในผู้นำธุรกิจจัดจำหน่ายและให้บริการหลังการขายเครื่องจักรกลหนักของอิตัลไทยอุตสาหกรรมได้ดียิ่งขึ้น

รถตักล้อยาง SDLG ทนทาน คุณภาพสูง
ประหยัดคุ้ม อะไหล่ครบ
สำหรับ รถตักล้อยางที่อิตัลไทยอุตสาหกรรม นำมาโชว์ในงาน SDLG Road Show in Surat Thani คือ รุ่น 3 ตัน (LG936L) และ 5 ตัน (L958F) โดยไฮไลท์พิเศษคือ รุ่น 3 ตัน (LG936L) แบบแขนยาว เพราะจะช่วยตอบโจทย์ลูกค้าได้ดีด้วยเครื่องยนต์ขนาด 123 แรงม้า บุ้งกี๋ขนาด 3 ลูกบาศก์เมตร ปริมาณการตักแต่ละครั้งสูงสุด 2.5 ตัน จึงช่วยให้การตักวัสดุ หรือ ผลผลิต โดยเฉพาะในสวนปาล์มน้ำมันและลานเทเป็นเรื่องง่าย ตอบโจทย์ความต้องการของเกษตรกรชาวสวนปาล์มได้มากขึ้น

ทั้งนี้ นายลัญชกร ธนากรพิพัฒนกุล Product Specialist อิตัลไทยอุตสาหกรรม ได้ขยายความให้ฟังเพิ่มเติมว่า “แม้รถ SDLG จะผลิตและนำเข้าจากประเทศจีน แต่ไม่มีปัญหาเรื่องงานอะไหล่และซ่อมบำรุงแน่นอน เพราะ SDLG กับอิตัลไทยอุตสาหกรรม ทำธุรกิจร่วมกันมานานกว่า 7 ปีแล้ว ทำให้ปัจจุบันมียอดขายที่มากพอสมควร จึงมีการสต็อกอะไหล่ไว้ในทุกศูนย์บริการของเรา โดยในภาคใต้ก็จะมีที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดใกล้เคียง ที่พร้อมสำหรับการดูแลให้บริการลูกค้าทุกวัน” อิตัลไทยอุตสาหกรรม มั่นใจว่า รถตักล้อยาง SDLG จะช่วยสร้างประโยชน์กับชาวสวนปาล์ม หรือ ธุรกิจเกษตรอื่นๆ ได้อย่างเต็มที่ เพราะราคาขายรถ SDLG อยู่ในเกณฑ์เหมาะสมจับต้องได้ บวกกับการทำงานที่ค่อนข้างคุ้มค่า เมื่อเทียบการทำงานต่อเที่ยว ต่อรอบ ด้วยเครื่องยนต์ที่ใหญ่และระบบส่งกำลังแบบ 4 เกียร์ ทำให้คุ้มทุนในการขนย้ายสินค้า เพราะระยะเกียร์ที่สูง ช่วยประหยัดน้ำมันได้อย่างดี

สินค้าหลากหลาย
เหมาะใช้งานทุกกิจกรรมภาคเกษตร
รถตักล้อยาง SDLG เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ภายใต้เครือวอลโว่กรุ๊ป ผลิตโดย ชานตงลินกง คอนสตรัคชั่นแมชชีนเนอรี่ 1 ใน 3 ผู้ผลิตเครื่องจักรกลหนักรายใหญ่ของจีน เริ่มนำสินค้าเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ.2555 โดยมีอิตัลไทยอุตสาหกรรมเป็นผู้แทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการเพียงรายเดียว ได้รับความนิยมจากผู้ใช้อย่างรวดเร็ว เพราะมีเอกลักษณ์พิเศษ คือ ใช้งานทนทาน คุ้มค่าและคุ้มราคากว่ารถตักล้อยางมือสอง ตลอดจนการบริการหลังการขาย มีอุปกรณ์อะไหล่ครบครัน พร้อมทีมซ่อมบำรุงที่มีคุณภาพมาตรฐานทำงานรวดเร็วตลอด 24 ชั่วโมง

สินค้าทุกชิ้น สามารถติดตั้งอุปกรณ์เสริมเพื่อปรับให้ใช้งานได้หลายชนิดหลายประเภท สนนราคารถตักล้อยาง SDLG แต่ละรุ่นจะอยู่ที่ประมาณ 2 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับขนาดเครื่องยนต์ แรงม้า แรงตัก และอุปกรณ์ที่ต้องการใช้สอย

นอกจากรถตักล้อยางแล้ว SDLG ยังมี รถเกรดที่ขับเคลื่อนด้วยระบบเกียร์ไฟฟ้า สามารถเปลี่ยนเกียร์ได้เองตามสภาพความเหมาะสมของผิวถนน พร้อมชุดอุปกรณ์เสริม รวมถึงมี รถตักหน้าขุดหลัง และรถบดอัดดิน ให้เลือกใช้อีกด้วย

ผู้สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Call Center 02-050-0555 หรือ www.italthaiindustrial.com และ iti.info@italthaigroup.com ได้เลย ภก.ณัฐดนัย มุสิกวงศ์ ได้เขียนบทความตีพิมพ์ลงในคอลัมน์พืชใกล้ตัว ของอภัยภูเบศรสาร ฉบับเดือนกรกฎาคม 2561 ถึงสมุนไพรที่อยู่คู่คนไทยมานาน แต่ส่วนใหญ่ไม่ทราบถึงสรรพคุณทางยาหรือประโยชน์ของสมุนไพรชนิดนี้คือ ต้นพาโหมหรือตดหมูตดหมา

สมุนไพรชนิดนี้เป็นผักที่คนทั่วทุกภาครับประทานแกล้มในมื้ออาหาร โดยจะรับประทานส่วนยอดอ่อนหรือใบสด จิ้มน้ำพริก ทางภาคใต้ก็ใส่ในข้าวยำ นอกจากนั้น ยังสามารถนำน้ำคั้นมาใส่ในขนมหวานได้อีกด้วย ซึ่งทางศูนย์การเรียนรู้การดูแลสุขภาพภาคประชาชน การแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร มีการสาธิตการทำขนมตดหมูตดหมา “สูตรไร้น้ำตาล…สำหรับคนเบาหวาน” โดยทำเมนูวุ้นพาโหมและเมนูขนมมรกต ผู้ที่ได้ลองชิมต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “อร่อย” และได้ประโยชน์จากน้ำคั้นใบตดหมูตดหมาอีกด้วย สำหรับผู้ที่สนใจสูตรขนมก็สามารถสอบถามเข้ามาได้ที่ ศูนย์การเรียนรู้ฯ หรือ ที่ศูนย์ข้อมูลสมุนไพรโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรได้โดยตรง

สรรพคุณหมอยาพื้นบ้านคือ ทั้งยาบำรุงที่ดี เป็นยาอายุวัฒนะ โดยเชื่อว่าการรับประทานเป็นประจำ สามารถเพิ่มกำลัง เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยทำให้กระดูกที่หักติดกันง่าย ช่วยทำให้สีผิวเงางาม ช่วยกำจัดพิษ ช่วยย่อย ช่วยขับลม โดยจะใช้วิธีการต้มดื่มเป็นยา

สำหรับหลักฐานงานวิจัย ยังไม่พบการทำวิจัยทางคลินิก แต่มีงานวิจัยทั้งในหลอดทดลองและสัตว์ทดลองหลายงานวิจัยด้วยกัน โดยมีการทดสอบในสัตว์ทดลอง เพื่อศึกษาฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด ฤทธิ์ลดระดับไขมัน และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ

ผลการทดลองพบว่า ในสารสกัดใบพาโหม สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ (ค่า Fasting plasma glucose และ Glycated HbA1c) โดยมีกลไกลการออกฤทธิ์คล้ายยา glibenclamide (ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด) คือ กระตุ้นการหลั่งอินซูลิน

ส่วนฤทธิ์ลดระดับไขมัน ช่วยลดระดับไขมันในเลือดได้ โดยสามารถลดได้ทั้ง คอเลสเตอรอล (Cholesterol), ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides), ระดับ low density lipoprotein cholesterol (LDL-C) และ very low density lipoprotein cholesterol (VLDL) ซึ่งไขมันเหล่านี้ หากมีในร่างกายเกินกว่าเกณฑ์ก็จะทำให้ความเสี่ยงที่จะเกิดโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจและสมองเพิ่มสูงขึ้น ทำให้เป็นอันตรายแก่ร่างกาย

ในส่วนฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดใบพาโหมนั้นพบว่า สามารถเพิ่มระดับของ antioxidant enzyme ได้ ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นผลดีต่อโรคเบาหวาน เนื่องจากการลดการสร้าง oxidative stress ที่เป็นสาเหตุของหลายๆ ปัญหาในผู้ป่วยเบาหวาน

สุดท้ายที่หลายๆ ท่านได้สอบถามเข้ามาคือ เรื่องความปลอดภัยของใบพาโหม จากข้อมูลการทดสอบพิษวิทยาพบว่า มีความปลอดภัยสูง ประกอบกับวัฒนธรรมที่เรารับประทานเป็นผักตามมื้ออาหารต่างๆ จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเกิดความเป็นพิษแต่อย่างใด

เกษตรกรรมเป็นอาชีพรองหรืองานอดิเรกที่คนทำงานประจำหลายคนเลือกที่จะทำกัน โดยเฉพาะข้าราชการเกษียณส่วนใหญ่มักพึงพอใจกับการเป็นเกษตรกรหลังเกษียณ เพราะมีความเป็นอิสระ ได้อยู่กับธรรมชาติ ได้ออกกำลังกายและอยู่ในสังคมเกษตรกร

แต่ก็มีข้าราชการประจำจำนวนไม่น้อยที่ยึดเอาการเกษตรเป็นอาชีพรองหรืองานอดิเรก ตลอดจนพนักงานบริษัทหลายรายที่ยอมทิ้งเงินเดือนจำนวนมากกลับหวนสู่บ้านเกิดเพื่อประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่ได้รับผลตอบแทนต่ำกว่าเงินเดือนบริษัทที่เคยทำหลายเท่า บางคนมีความคุ้นเคยกับอาชีพนี้ เนื่องจากพ่อแม่เป็นเกษตรกร แต่บางคนไม่มีพื้นฐานด้านเกษตรมาก่อนเลย ข้าราชการประจำและข้าราชการเกษียณแล้วมักเลือกพืชยืนต้น ซึ่งผู้ที่ไม่มีความรู้พื้นฐานมาก่อนสามารถเพาะปลูกได้ จึงสนใจกับการทำสวนกันเป็นส่วนมาก เช่น ทำสวนยางพารา สวนปาล์มน้ำมัน สวนป่า สวนผลไม้ เป็นต้น

สวนผลไม้จะเลือกผลไม้ที่ให้ผลตอบแทนสูงและทนทานไม่อ่อนบอบบางหรือต้องประคบประหงมอยู่ตลอด อย่างเช่น การทำสวนอินทผลัม สวนทุเรียน สวนเงาะ สวนลองกอง สวนมะม่วง เป็นต้น ส่วนผลไม้ที่ต้องดูแลรักษามากหรือต้องคอยดูแลอยู่ใกล้ชิดตลอดมักไม่เลือกปลูกหรือปลูกกันน้อย เช่น ชมพู่ มะยงชิด เป็นต้น บางรายมีรายได้จากการทำสวนพอๆ กับเงินเดือนที่ได้รับหรือมากกว่า

มีข้าราชการตำรวจผู้หนึ่งเลือกปลูกฝรั่งเป็นงานรองจากงานประจำ โดยที่ตัวเองไม่มีพื้นฐานด้านเกษตรกรรม มีเพียงแต่พ่อแม่ที่เป็นเกษตรกร ข้าราชการนายตำรวจหนุ่มผู้นี้ชื่อ พ.ต.ท. สัมฤทธิ์ นิธิธนาภักดี หรือ “สารวัตรยิ้ม” สังกัดกองบัญชาการปราบปรามยาเสพติด พื้นเพเป็นคนจังหวัดสุพรรณบุรี แต่สนใจด้านเกษตรกรรม จึงได้ไปศึกษาดูงานด้านการเกษตรตามสถาบันการศึกษาเกษตร เช่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และสวนผลไม้แปลงใหญ่อีกหลายแห่ง เป็นต้น ทั้งยังศึกษาเรียนรู้การเพาะปลูก การบำรุงดูแลรักษา การขยายพันธุ์พืชต่างๆ ด้วยตนเองจากโซเชี่ยลมีเดียทั้งหลาย จนเกิดความเข้าใจและสามารถลงมือปฏิบัติเองได้ ในความตั้งใจอยากจะทำการเกษตรเป็นอาชีพรองเพื่อหารายได้เสริม แต่ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะทำสวนอะไร และจะเลือกปลูกพืชอะไร

ดังนั้น สารวัตรยิ้ม ได้ตัดสินใจเลือกเอาฝรั่งเป็นไม้ผลที่จะปลูกเป็นพืชหลักของการทำอาชีพเสริมนอกจากงานประจำ ทำเมื่อมีเวลาว่างและจะกลายเป็นธุรกิจหลักในอนาคตหลังการเกษียณอายุราชการได้ ที่ชื่นชอบฝรั่งก็เพราะว่าฝรั่งเป็นพืชที่คนไทยนิยมรับประทาน ฝรั่งเป็นพืชที่ปลูกง่าย ภายในปีเดียวก็ให้ผลผลิต ให้ผลได้ตลอดทั้งปี โรคแมลงรบกวนน้อย คนไทยนิยมรับประทาน รสชาติอร่อยถูกปากคนไทย เป็นผลไม้ที่มีราคาไม่แพง ผู้มีรายได้น้อยสามารถหาซื้อมารับประทานได้ ทั้งยังมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ตลาดรับซื้อผลผลิตเปิดรับตลอด นอกจากรับประทานสดแล้วยังแปรรูปเป็นฝรั่งดองเพิ่มมูลค่าได้อีกเท่าตัว ตามรถเข็นขายผลไม้สดและผลไม้ดองทั่วประเทศจะขาดฝรั่งไปไม่ได้

แต่เนื่องจากที่ปทุมธานีถูกจำกัดด้วยพื้นที่ UFABET ไม่สามารถที่จะขยายพื้นที่เพาะปลูกได้ จึงมาทำสวนฝรั่งอยู่ที่อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ใช้ชื่อว่า “สวนคุณระย้า” พื้นที่ปลูกมี 3 แปลง พื้นที่รวมประมาณ 8 ไร่ ได้แบ่งออกมาปลูกฝรั่งไต้หวันเพื่อเป็นสวนทดลอง จำนวน 1 ไร่ พื้นที่ที่เหลือปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้และผลไม้อื่นๆ ฝรั่งพันธุ์หลักที่ปลูกมีอยู่หลายสายพันธุ์ ฝรั่งพันธุ์ไต้หวัน ได้แก่ หงเป่าสือ 100 ต้น, ไข่มุกขาว (พันธุ์ใหม่) 50 ต้น, ชมพูพันทิพ (เจินจูหง) ประมาณ 200 ต้น และพันธุ์อื่นๆ อีกประมาณ 100 กว่าต้น เช่น สุ่ยมี่ (สายน้ำผึ้ง), ส๋วยจิน, เจินจู (ไข่มุก), ฮ่องเต้, หงซิน, ซีกัว (แตงโม) เป็นต้น

ส่วนฝรั่งพันธุ์ไทย ได้แก่ ขาวเมืองชล, ขาวด่านช้าง และฝรั่งทดลองจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พันธุ์แม่โจ้ 342 การปลูกได้ขุดหลุมปลูก ขนาด 50×50 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยมูลสัตว์เก่า เป็นการปลูกแบบระบบไร่ ระยะปลูกที่เหมาะสม อยู่ระหว่าง 2.5×2.5 เมตร ซึ่งเป็นระยะที่ปลายใบจะชนกันพอดี ปักไม้ยึดลำต้น ให้น้ำจนชุ่ม การให้น้ำ ได้วางหัวสปริงเกลอร์ไว้คลุมทั่วพื้นที่ ให้น้ำวันเว้นวัน ให้น้ำครั้งละประมาณ 30 นาที การให้ปุ๋ย ช่วงแรกๆ ใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15

หลังจากปลูกได้ประมาณ 6 เดือน เริ่มออกดอก ช่วงแรกที่มีดอกติดให้เด็ดดอกทิ้ง เพื่อบำรุงต้น หลังจากนั้น จึงปล่อยให้ติดดอกและติดผล เมื่อผลมีขนาดเท่าเหรียญ 5 บาท หรือนิ้วโป้งมือ จึงฉีดพ่นด้วยปิโตรออยล์หรือไวท์ออยล์และยาป้องกันเชื้อรา เลือกไว้ผลที่สวยเกลี้ยงเกลาปราศจากจุด รอยกระ รอยจากเพลี้ยไฟ ให้เจริญเติบโตต่อไป

จากนั้นเปลี่ยนปุ๋ยเป็นสูตร 8-24-24 เพื่อเพิ่มขนาดผลและเรื่องความหวาน ก่อนเก็บเกี่ยว 15 วัน เสริมด้วยแคลเซียม-โบรอน และปุ๋ยสูตร 0-0-50 ฉีดพ่นเพื่อเพิ่มความหวาน การให้ปุ๋ยบำรุงต้นจะผสมกับสารชีวภาพ โดยนำ กากน้ำตาล อีเอ็ม และผลฝรั่งที่เสีย ผิวไม่สวยมาหมักแล้วฉีดพ่นและใส่บำรุงต้นด้วยแบบผสมผสาน ใส่มูลวัว, มูลหมู ใส่ปีละ 1 ครั้ง ก่อนฤดูฝน ใส่ไร่ละประมาณ 200 ถุงปุ๋ย ปุ๋ยเคมี ใส่เดือนละ 2 ครั้ง ครั้งละ 1 กำมือ หว่านรอบๆ ทรงพุ่ม ห่างโคนต้น 1 คืบ