ลพบุรี สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ปลูกพืชน้ำน้อยสู้วิกฤตภัยแล้ง

ปี 2563 เป็นอีกปีที่ประเทศไทยประสบปัญหาภัยแล้งรุนแรง เนื่องจากฤดูฝน 2562 ที่ผ่านมา มีฝนตกน้อยมาก ทำให้ปริมาณน้ำที่กักเก็บเอาไว้ในเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำ ที่เรียกว่า “น้ำต้นทุน” สำหรับใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคและภาคการเกษตรมีปริมาณต่ำกว่าความต้องการใช้จริง จังหวัดลพบุรีเองแม้มีอู่น้ำ คือ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ซึ่งเป็นเขื่อนขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอพัฒนานิคม แต่จังหวัดลพบุรีก็ประสบความขาดแคลนน้ำจากวิกฤตภัยแล้งเช่นเดียวกับพื้นที่อื่นๆ

คุณธีระศักดิ์ ขุมเงิน เกษตรจังหวัดลพบุรี กล่าวว่า จังหวัดลพบุรี มีพื้นที่ทั้งหมด 4.06 ล้านไร่ เป็นพื้นที่เกษตรกรรม 2.87 ล้านไร่ (70% ของพื้นที่ทั้งหมด) โดยมีพื้นที่ศักยภาพในการปลูกข้าวทั้งหมด 9 แสนไร่ ในปีการผลิต 2562/63

สำหรับ ข้าวนาปรัง ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2562-มีนาคม 2563 มีพื้นที่ปลูกกว่า 52,955 ไร่ ในพื้นที่ 9 อำเภอ แบ่งเป็นข้าวนาปรังนอกเขตชลประทาน 2,660 ไร่ ข้าวนาปรังในเขตชลประทาน 50,295 ไร่ ซึ่งมีกำหนดเก็บเกี่ยวในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2563-ต้นเดือนมีนาคม 2563 ประมาณ 28,000 ไร่ สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ เนื่องจากข้าวได้อายุเก็บเกี่ยว ส่วนที่เหลืออีก 25,000 ไร่นั้น มีความเสี่ยงค่อนข้างมากที่จะได้รับความเสียหายจากภัยแล้ง ซึ่งจังหวัดลพบุรีไม่มีมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรกลุ่มนี้ เนื่องจากได้มีการเตือนถึงสถานการณ์ความเสี่ยงในการปลูกแล้ว แต่เกษตรกรยังมีการฝ่าฝืนทำนาต่อ

ลพบุรี มีศักยภาพในการปลูก อ้อยโรงงาน ประมาณ 8 แสนไร่ ในปีการผลิต2562/63 พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานลดลงมากเนื่องจากประสบภัยแล้งต่อเนื่องและราคาที่ตกต่ำ ทำให้พื้นที่ปลูกลดลงเหลือ 547,091 ไร่ ผลผลิตส่วนใหญ่เก็บเกี่ยวหมดแล้ว ขายได้เฉลี่ย 0.7 บาท ต่อกิโลกรัม

มันสำปะหลัง ลพบุรีมีพื้นที่การปลูก 3 แสนไร่ แต่ปีการผลิต 2562/63 พื้นที่ปลูกลดลง เนื่องจากประสบภัยแล้งต่อเนื่อง เหลือพื้นที่ปลูกเพียง 279,735 ไร่ เกษตรกรเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562-พฤษภาคม 2563 ผลผลิตเฉลี่ย 3.7 ตัน ต่อไร่ ราคาเฉลี่ย 2.20 บาท ต่อกิโลกรัม

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ลพบุรี มีพื้นที่การปลูก 2.3 แสนไร่ แต่ปีการผลิต 2562/63 พื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น เนื่องจากสถานการณ์ราคาที่ค่อนข้างดี เป็น 341,258 ไร่ โดยส่วนใหญ่ได้เปลี่ยนพื้นที่มาจากอ้อยโรงงานและมันสำปะหลัง ในพื้นที่ 10 อำเภอ ปัจจุบันเก็บเกี่ยวผลผลิตหมดแล้ว ได้ผลผลิตเฉลี่ย 853 กิโลกรัม ต่อไร่ ราคาเฉลี่ย 6.24 บาท ต่อกิโลกรัม

เนื่องจาก จังหวัดลพบุรี ประสบปัญหาภัยแล้งอย่างรุนแรง ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2562 เป็นต้นมา สำนักงานเกษตรจังหวัดลพบุรีจึงร่วมกับจังหวัดลพบุรีได้เปิดตัวโครงการ “สร้างงาน สร้างรายได้ สู้วิกฤตภัยแล้ง จังหวัดลพบุรี ปี พ.ศ. 2563” โดยมี คุณสุปกิต โพธิ์ปภาพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี เป็นประธานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการเพื่อสร้างอาชีพและสร้างรายได้เสริมให้แก่เกษตรกรในช่วงวิกฤตภัยแล้งที่ไม่สามารถประกอบอาชีพทางการเกษตรได้

จังหวัดลพบุรีเปิดโอกาสให้เกษตรกรที่ประสบภัยแล้งได้รับการฝึกอบรม “สร้างอาชีพ สร้างรายได้” ไม่น้อยกว่า 1 อาชีพ จาก 16 อาชีพทางเลือกใน 2 กลุ่ม ได้แก่

กลุ่มที่ 1 “บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง” ประกอบด้วย การเพาะปลูกแฟง, การเพาะปลูกบวบ, การเพาะปลูกฟักทอง, การเพาะปลูกแตงกวา, การเพาะปลูกถั่วฝักยาว, การเพาะปลูกแตงโมอ่อน, การเพาะปลูกข้าวโพดฝักอ่อน, การเพาะปลูกข้าวโพดหวาน, การเพาะปลูกผักบุ้งจีน, การเพาะปลูกพริกขี้หนู, การเพาะปลูกเห็ดฟางตะกร้า และการเพาะปลูกต้นอ่อนทานตะวัน

ส่วนการอบรมอาชีพ กลุ่มที่ 2 “สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้” ประกอบด้วย การเลี้ยงโคขุน, การเลี้ยงแพะขุน, การเลี้ยงไก่พื้นเมือง และการเลี้ยงจิ้งหรีด โดยเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมโครงการอบรม 16 สาขาอาชีพ สมัครเข้าร่วมโครงการได้ที่ สำนักงานเกษตรอำเภอทั้ง 11 อำเภอ ของจังหวัดลพบุรี ปิดรับสมัครในวันที่ 25 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา

เกษตรกรที่สมัครเข้าร่วมโครงการจะได้รับการอบรมความรู้และจัดงานวันสาธิตในพื้นที่ โดยใช้ศูนย์เรียนรู้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ปี 2563 จำนวน 11 อำเภอ โดยเน้นการถ่ายทอดความรู้เรื่องการปลูกพืชน้ำน้อย การตัดแต่งกิ่ง การคลุมดินด้วยเศษฟาง เป็นต้น

ทั้งนี้ จากการสำรวจและประเมินข้อมูลในเบื้องต้น สำนักงานเกษตรจังหวัดลพบุรี คาดว่า จะมีพื้นที่เสี่ยงได้รับความเสียหายจากภัยแล้ง จำนวน 3,944 ไร่ จำนวน 6 อำเภอ 28 ตำบล จำนวนเกษตรกร 187 ราย อย่างไรก็ตาม บางอำเภอพื้นที่ไม้ผลสามารถยืนต้นและเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ เนื่องจากอาศัยน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ บ่อบาดาล และบางพื้นที่เกษตรกรได้การสนับสนุนจากสำนักทรัพยากรน้ำบาดาลเขต 3 จังหวัดสระบุรี เจาะบ่อบาดาลและพลังงานโซล่าร์เซลล์ สามารถช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่อำเภอชัยบาดาล อำเภอหนองม่วง อำเภอท่าหลวง อำเภอสระโบสถ์ ฯลฯ

ปลูกพืชน้ำน้อย สร้างรายได้ 30-90 วัน

คุณธีระศักดิ์ ขุมเงิน เกษตรจังหวัดลพบุรี กล่าวว่า ทางจังหวัดลพบุรีได้แนะนำส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชน้ำน้อย เป็นการสร้างรายได้ในระยะเวลา ตั้งแต่ 1-3 เดือน เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้จากการที่ไม่ได้ทำนาปรัง หากใครมีพื้นที่ 1 งาน สำนักงานเกษตรจังหวัดลพบุรีแนะนำให้ปลูกพืชน้ำน้อยสู้ภัยแล้งที่ให้ผลผลิตสูง ผลตอบแทนสูง ต้นทุนต่ำ จำนวน 11 ชนิด ได้แก่ แฟง บวบ ฟักทอง พริกขี้หนู แตงกวา แตงโมอ่อน ข้าวโพดฝักอ่อน ผักบุ้งจีน ข้าวโพดหวาน ถั่วฝักยาว และการเพาะเห็ดตะกร้า

แฟง มีอัตราการใช้น้ำ 250 ลูกบาศก์เมตร ต่อไร่ อายุการเก็บเกี่ยว 90 วัน อัตราเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ 100 กรัม ต่อไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 3,500 กิโลกรัม ต่อไร่ ต้นทุนการผลิต 1,200 บาท ต่อไร่ ราคาจำหน่าย 10 บาท ต่อกิโลกรัม รวมรายได้สุทธิ 35,000 บาท กำไร 33,000 บาท ต่อไร่

ฟักทอง ใช้ต้นทุน 275 บาท มีอายุเก็บเกี่ยว 120 วัน ผลผลิต 1,250 กิโลกรัม ราคาขาย 15 บาท ต่อกิโลกรัม เกษตรกรจะมีรายได้สุทธิ 15,475 บาท

บวบ ใช้ต้นทุน 2,412 บาท มีอายุเก็บเกี่ยว 40-60 วัน ผลผลิต 1,000 กิโลกรัม ราคาขาย 10 บาท ต่อกิโลกรัม เกษตรกรจะมีรายได้สุทธิ 7,588 บาท

พริกขี้หนู ใช้ต้นทุน 3,975 บาท มีอายุเก็บเกี่ยว 70-90 วัน ผลผลิต 250 กิโลกรัม ราคาขาย 60 บาท ต่อกิโลกรัม เกษตรกรจะมีรายได้สุทธิ 11,025 บาท

แตงกวา ใช้ต้นทุน 6,382 บาท มีอายุเก็บเกี่ยว 30-40 วัน ผลผลิต 1,500 กิโลกรัม ราคาขาย 12 บาท ต่อกิโลกรัม เกษตรกรจะมีรายได้สุทธิ 11,618 บาท

แตงโมอ่อน ใช้ต้นทุน 2,575 บาท มีอายุเก็บเกี่ยว 45 วัน ผลผลิต 675 กิโลกรัม ราคาขาย 10 บาท ต่อกิโลกรัม เกษตรกรจะมีรายได้สุทธิ 4,175 บาท

ข้าวโพดฝักอ่อน ใช้ต้นทุน 1,305 บาท มีอายุเก็บเกี่ยว 55 วัน ผลผลิต 325 กิโลกรัม ราคาขาย 40 บาท ต่อกิโลกรัม เกษตรกรจะมีรายได้สุทธิ 11,695 บาท

ผักบุ้งจีน ใช้ต้นทุน 2,450 บาท มีอายุเก็บเกี่ยว 30-35 วัน ผลผลิต 875 กิโลกรัม ราคาขาย 11 บาท ต่อกิโลกรัม เกษตรกรจะมีรายได้สุทธิ 7,175 บาท

ข้าวโพดหวาน ใช้ต้นทุน 1,305 บาท มีอายุเก็บเกี่ยว 70-85 วัน ผลผลิต 875 กิโลกรัม ราคาขาย 10 บาท ต่อกิโลกรัม เกษตรกรจะมีรายได้สุทธิ 7,445 บาท

ถั่วฝักยาว ใช้ต้นทุน 2,500 บาท มีอายุเก็บเกี่ยว 50-75 วัน ผลผลิต 1,125 กิโลกรัม ราคาขาย 22 บาท ต่อกิโลกรัม เกษตรกรจะมีรายได้สุทธิ 22,250 บาท

เห็ดตะกร้า ใช้ต้นทุน 31 บาท ต่อตะกร้า มีอายุเก็บเกี่ยว 20-21 วัน 1 ตะกร้า เก็บผลผลิตได้ 3 รุ่น ผลผลิต 0.5 กิโลกรัม ต่อตะกร้า ราคาขาย 90 บาท ต่อกิโลกรัม เกษตรกรจะมีรายได้สุทธิ 14 บาท ต่อตะกร้า

คุณธีระศักดิ์ ขุมเงิน เกษตรจังหวัดลพบุรี กล่าวว่า สำนักงานเกษตรจังหวัดลพบุรี ได้วางแผนรับมือภัยแล้งอย่างครบถ้วน ตั้งแต่เริ่มสำรวจพื้นที่เสี่ยง แจ้งเตือนข่าวสาร สถานการณ์แล้ง การขาดแคลนน้ำ เยี่ยมเยียน ติดตามให้คำแนะนำเกษตรกรรักษาความชื้นในแปลง เช่น การใช้วัสดุคลุมดินช่วยให้ประหยัดน้ำ และการตัดแต่งกิ่ง ฯลฯ ควบคู่กับดำเนินโครงการฝึกอบรม “สร้างอาชีพ สร้างรายได้” ซึ่งสำนักงานเกษตรจังหวัดลพบุรีมั่นใจว่า แล้งนี้เกษตรกรลพบุรีต้องรอด มีอาชีพและรายได้ที่มั่นคงอย่างแน่นอน

กิจกรรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตร คลัสเตอร์เทคโนโลยีเพื่อการเกษตรเมล่อนสุพรรณบุรี ปี 2 ความร่วมมือ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี ภายใต้โครงการสนับสนุน SME ปี 2563 ณ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกเมล่อนบ้านหนองคาง ตำบลแจงงาม อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี

กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพในการดำเนินงานของคลัสเตอร์เทคโนโลยีเพื่อการเกษตรเมล่อนสุพรรณบุรี โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี ได้รับมอบหมายจาก สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ให้ดำเนินการกิจกรรมพัฒนาเครือข่ายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตร ภายใต้โครงการสนับสนุน SME ปี 2563 การอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร การพัฒนาศักยภาพในการดำเนินงานของคลัสเตอร์ กิจกรรมพัฒนาเครือข่ายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรฯ ครั้งนี้ เจาะกลุ่มไปที่ผู้ประกอบการซึ่งมีกลุ่มเกษตร-ผู้ประกอบการที่ปลูกเมล่อน ซึ่งเป็นผลไม้เศรษฐกิจสำคัญ และเป็นที่ต้องการของตลาด จากผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้งสามารถปลูกได้หลายพื้นที่ของประเทศไทย โดยเลือกพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งมีกลุ่มเกษตร-ผู้ประกอบการที่ปลูกเมล่อนอยู่เป็นจำนวนมาก

คุณอำนาจ แตงโสภา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแจงงาม ผู้นำวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกเมล่อนบ้านหนองคาง เล่าว่า การปลูกเมล่อนสุพรรณบุรี เริ่มต้นเมื่อปี 2549 โดยจุดประสงค์ต้องการให้ครอบครัวมีความอบอุ่น ให้มีชีวิตที่ดีขึ้น พื้นที่บริเวณตำบลแจงงาม “อีสานตะวันตก” เป็นพื้นที่แห้งแล้ง เสร็จจากฤดูทำข้าว ต้องอพยพไปทำงานต่างจังหวัด ทำให้ครอบครัวขาดความอบอุ่น มีแกนนำในการทำเกษตรเมล่อน 21 คน ใช้เวลา 5 ปี ในการลองผิดลองถูก จนประสบความสำเร็จเป็นแหล่งผลิตเมล่อนที่ใหญ่และผลิตเมล่อนได้ต่อเนื่อง 1,100-1,200 ตัน ต่อปี

สำหรับเมล่อนพรีเมี่ยม สร้างรายได้ 70-100 ล้านบาท ต่อปี ทำให้เศรษฐกิจของคนในพื้นที่มีชีวิตที่ดี เมื่อเข้าปีที่ 6 บรรลุวัตถุประสงค์ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกเมล่อนบ้านหนองคาง ปัจจุบันมีสมาชิก 90 ราย เมล่อนของทางกลุ่มเน้นเรื่องคุณภาพและความซื่อสัตย์ต่อผู้บริโภค

การปลูกเมล่อนปลูกในโรงเรือน โดยปลูกในดิน ปลูกไปนานๆ ดินจะเสื่อม ทำให้เกษตรกรต้องเปลี่ยนดินแปลงใหญ่ เพิ่มต้นทุนในการผลิต จึงอยากแก้ปัญหา โดยทางอาจารย์ มทร.ธัญบุรี ได้นำเทคโนโลยีการปลูกเมล่อนในกระถางมาถ่ายทอด หวังว่าเทคโนโลยีที่ได้รับการถ่ายทอด เป็นตัวช่วยเสริม เกษตรกรนำมาปรับใช้ในการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต

อาจารย์ธีระพงษ์ ควรคำนวณ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี เล่าว่า การพัฒนาในรูปแบบคลัสเตอร์ “เมล่อน” ในหลักสูตรการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับการผลิตและการแปรรูปเมล่อน ยุค 4.0 เนื้อหาทั้งหมดจะเน้นเกี่ยวกับองค์ความรู้เรื่องคลัสเตอร์ กรณีศึกษาการพัฒนาคลัสเตอร์ต้นแบบ บทบาทหน้าที่ผู้ประสานงาน (CDA) กิจกรรมจิตสัมพันธ์สร้างสรรค์ทีม สู่การบูรณาการพัฒนาเชื่อมโยงคลัสเตอร์ และเนื้อหาสำคัญด้านเทคโนโลยีนวัตกรรมที่ใช้กับการผลิตเมล่อน “การปลูกเมล่อนในกระถาง”

รวมถึงการทำแผนยุทธศาสตร์ เพื่อการพัฒนาคลัสเตอร์ในปี 2563 โดยการร่วมกันปรึกษา แลกเปลี่ยนประสบการณ์จากทีมคณาจารย์ มทร.ธัญบุรี ภายใต้งานวิจัย นวัตกรรมและเทคโนโลยี ที่จะนำไปสู่การลดต้นทุนการผลิต ก่อให้เกิดการใช้นวัตกรรมใหม่ๆ การขยายตัวของธุรกิจ ผลผลิตทางการเกษตรมีราคาที่เหมาะสม และผู้ประกอบการสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืนและมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น โดยมุ่งเน้นให้มีการรวมกลุ่มผู้ประกอบการตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ไปจนถึงปลายน้ำ แบบองค์รวม เพื่อให้เกิดความร่วมมือและเชื่อมโยงอย่างเข้มแข็ง สามารถพึ่งพากันภายในกลุ่ม เพื่อให้เกิดความยั่งยืน

ผศ.ดร.เกียรติศักดิ์ แสงประดิษฐ์ ผู้อำนวยการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ มทร.ธัญบุรี เล่าว่า ปีที่ 2 ของคลัสเตอร์เทคโนโลยีเพื่อการเกษตรเมล่อนสุพรรณบุรี โดย 80% ของกลุ่มเป็นเกษตรกรปลายน้ำ เกษตรกรผู้ประกอบการที่มีความต้องการเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการพัฒนาการปลูกเมล่อน เดิมเกษตรกรเมล่อนสุพรรณบุรีปลูกในดิน ซึ่งเมื่อปลูกนานๆ ทำให้ดินเสื่อมสภาพ

เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จ ต้องพักดิน 1 เดือน ซึ่ง 1 ปี สามารถปลูกและเก็บเกี่ยวเมล่อนได้ 3 ครั้ง ถ้านำเทคโนโลยีการปลูกเมล่อนในกระถาง เกษตรกรไม่ต้องพักดิน นำกระถางใหม่ที่เติมมาใช้ 1 ปี สามารถปลูกและเก็บเกี่ยวเมล่อนได้ 4-5 ครั้ง เป็นการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต นอกจากการนำเทคโนโลยีมาใช้แล้ว จุดประสงค์คือการสร้างธุรกิจเทคโนโลยีผลิตกระถางเมล่อนให้กับกลุ่มเมล่อนสุพรรณบุรี สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร เป็นเจ้าของธุรกิจเป็นผู้ประกอบการต่อไป

คุณธนาวุฒิ มาสำราญ ผู้ประสานงานคลัสเตอร์เทคโนโลยีเพื่อการเกษตรเมล่อนสุพรรณบุรี และเกษตรกรผู้ปลูกเมล่อนจังหวัดสุพรรณบุรี เล่าว่า ปีที่แล้วได้มีโอกาสเดินทางกับโครงการไปศึกษาดูงานและเผยแพร่การปลูกเมล่อนที่ประเทศกัมพูชา ทำให้เมล่อนสุพรรณบุรีเป็นที่รู้จัก ตลอดจนนำเมล่อนออกบู๊ธตามที่ต่างๆ งานประจำจังหวัดสุพรรณบุรี ทำให้เมล่อนของหนองหญ้าไซเป็นที่รู้จัก ไปไหนมาไหนมีแต่คนบอกว่าเมล่อนหนองหญ้าไซอร่อย ได้ยินแล้วประทับใจ

การเข้าร่วมโครงการนี้ได้รับความรู้ทางด้านเทคโนโลยี ความรู้ใหม่ๆ เทคโนโลยีในการคำนวณการให้น้ำและปุ๋ย ซึ่งไม่เคยรู้ว่าเมล่อนที่ปลูกต้องการปุ๋ยจำนวนเท่าไร ได้แต่ใส่ๆ ลงไป มีเทคโนโลยีมาคำนวณปริมาณปุ๋ย ทำให้ลดต้นทุนในการซื้อปุ๋ย

หน่อไม้ฝรั่งเป็นพืชต่างถิ่นอยู่เขตติดต่อระหว่างทวีปเอเชียและยุโรป ชาวกรีกและชาวโรมันนำมาบริโภคมากว่า 2,000 ปีแล้ว โดยชาวตะวันตกถือกันว่าเป็นอาหารสุขภาพ กินแล้วมีกำลัง โดยเฉพาะผู้ชายเชื่อว่าเป็นอาหารบำรุงกำหนัดเนื่องจากลักษณะของหน่อไม้ฝรั่งคล้ายเครื่องเพศชาย

ประเทศไทยรู้จักหน่อไม้ฝรั่งเมื่อประมาณ 60 กว่าปี โดยได้นำพันธุ์จากประเทศออสเตรเลีย ทดลองปลูกครั้งแรกที่ สถานีกสิกรรม อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาได้กระจายปลูกในจังหวัดนครปฐมและจังหวัดใกล้เคียงในปี พ.ศ. 2530 หน่อไม้ฝรั่งจึงเป็นที่รู้จักทั่วไปและราคาไม่แพงมากนัก

จากเกษตรเชิงเดี่ยวการทำไร่ข้าวโพดและไร่มันสำปะหลังหมุนเวียนกันไป ปีไหนข้าวโพดดี ปีต่อไปก็จะปลูกข้าวโพด ปีไหนมันสำปะหลังดี ปีต่อไปก็จะแห่กันปลูกมันสำปะหลัง ทำให้ต้องขาดทุนเป็นหนี้เป็นสินมากมาย คุณปฐม ชูเชื้อ เกษตรกรชาวไร่จากบ้านคลองกุ่ม ตำบลห้วยขุนราม อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี เบอร์โทรศัพท์ (086) 805-4393 บอกว่า ขืนทำต่อไปต้องถึงกับขายที่แน่ เพราะตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ฐานะไม่ได้ดีขึ้นกว่าเดิมเลย เกษตรเคมีที่ต้องพึ่งปุ๋ยพึ่งยาทำให้เกษตรกรต้องเป็นหนี้เป็นสินมาตลอด

“หลายปีที่ผ่านมาได้ปลูกข้าวโพดกับไร่มันสำปะหลัง แต่ก็ไม่ได้ใช้เคมีเนื่องจากต้นทุนแพงและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ใช้แต่ปุ๋ยมูลสัตว์ ผลผลิตก็ได้ตามปกติ แต่ต่อมาต้นทุนค่าแรงงานที่จ้างสูง สู้ราคากันไม่ไหว และราคาพืชไร่ก็ตกต่ำ จึงหันมาหาพืชที่สามารถทำได้จากแรงงานในครอบครัวและมีรายได้ทุกวัน”

หน่อไม้ฝรั่งเป็นทางเลือกที่คุณปฐมได้ปลูก สมัคร Star Vegas เนื่องจากเหตุผลหลายข้อ หน่อไม้ฝรั่งไม่ต้องปลูกทุกปี ปลูกครั้งเดียวสามารถเก็บผลผลิตได้หลายปี และมีรายได้ทุกวันจากการเก็บหน่อ นอกจากนี้ ยังลดพื้นที่การทำไร่จาก 19 ไร่ เหลือเพียง 4 ไร่ สามารถใช้แรงงานครอบครัวก็เพียงพอ ไม่ต้องจ้างแรงงานข้างนอก ผลผลิตที่ได้ก็มีการประกันราคาที่แน่นอนตามช่วงเวลาที่กำหนด

เริ่มต้นจากการใช้รถไถติดผาล 3 พลิกดินขึ้นมา แล้วตามด้วยผาล 7 ตีดินให้ละเอียด ปรับแปลงปลูกให้เสมอ ใช้รถไถชักร่องแถกเป็นหลุมลึก 50 เซนติเมตร นำปุ๋ยมูลวัวที่หมักจนดีแล้วรองก้นหลุมให้ทั่ว เอาต้นกล้าลงปลูก ต้นกล้าที่ใช้อายุประมาณ 4 เดือน ราคาต้นละ 4 บาท กลบโดยการพูนดินขึ้นให้สูง รดน้ำให้ชุ่มราว 1 ชั่วโมงในวันแรก ระยะปลูกระหว่างต้น 70 เซนติเมตร ระหว่างแถว 1.3 เมตร ในแปลงจะวางระบบน้ำไว้ทั่วถึง โดยจำนวน 4 ไร่ จะปลูกได้ร้อยกว่าแถว การให้น้ำจะให้ครั้งละ 30 กว่าแถว จำนวน 4 ชุด ให้น้ำครั้งละครึ่งชั่วโมง จะใช้เวลาทั้งหมด 2 ชั่วโมง การทำหน่อไม้ของสวนคุณปฐมไม่ได้ใช้แกลบโรยโคนต้น เนื่องจากดินที่นี่เป็นดินละเอียดและร่วนซุย

หลังจากปลูกแล้ว 1 เดือน ให้เอาขี้วัวใส่โคนต้นแล้วโกยสันดินที่พูนขึ้นตอนปลูกลงเหลือความสูงจากระดับดินเดิมแค่ 10 เซนติเมตร เดือนที่ 2 ให้โกยดินลงอีก แล้วดึงต้นชุดแรกทิ้ง เหลือแต่ต้นชุดที่ 2 หลังจากต้นชุดที่ 3 เจริญเติบโตดีแล้ว ให้ดึงชุดที่ 2 ทิ้ง และเมื่อต้นชุดที่ 5 ขึ้นมา จึงให้ดึงต้นชุดที่ 3 ออก ต้นจะเหลือคือ ชุดที่ 4 กับชุดที่ 5 แล้วให้ตัดปลายยอดส่วนที่เหลือออก 2-3 เซนติเมตร ถ้ามีหน่อก็เริ่มเก็บได้ แต่ในช่วงแรกหน่อยังเล็กอยู่ ช่วงนี้จำเป็นต้องดึงเชือกช่วยเพื่อพยุงลำต้นด้วย

ระยะเวลาตั้งแต่ปลูกจนถึงเริ่มเก็บหน่อจะใช้เวลา 3 เดือน หน่อไม้จะเก็บไปเรื่อยๆ ทุกวันได้ประมาณ 2 เดือนครึ่ง หรือ 75 วัน หน่อจะเริ่มใช้ไม่ได้ก็จะเริ่มพักด้วยการถอนลำต้นทิ้งทั้งหมด เพื่อให้ต้นพักตัว ในช่วงนี้จะใส่มูลวัวให้กับหน่อไม้ฝรั่งอีกครั้ง และในช่วงพักจะให้น้ำวันเว้นวัน จนถึงระยะเก็บหน่อจะเก็บได้ครั้งละ 75 วัน พัก 25 วัน

ในสวนของคุณปฐมเป็นการทำเกษตรอินทรีย์จึงไม่ใช้สารเคมีใดๆ ทั้งสิ้นแม้แต่ปุ๋ยเคมี หน่อไม้ฝรั่งจะมีศัตรูพืชหนอนเจาะลำต้นและเจาะหน่อรบกวน ทางสวนก็จะใช้ยาหมักเอง ฉีดพ่นทุกๆ 4 วัน โดยสะพายเป้หลังเดินฉีดพ่น โดยจะมีส่วนผสมของ

ยาฆ่าแมลงฝักคูน
จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง
จุลินทรีย์หน่อกล้วย
ยูเรียฉี่หมู
น้ำส้มควันไม้
อย่างละ 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยฉีดให้โดนใบและลงดิน การฉีดพ่นดังกล่าวควรทำในเวลาเย็น เพื่อเลี่ยงแสงแดด ซึ่งจะใช้ปริมาณทั้งหมด 3 เป้ ใช้เวลา 1 ชั่วโมงพอดี ที่จำเป็นต้องฉีดพ่นบ่อยครั้งเนื่องจากสารธรรมชาติที่ไม่ใช่เคมีสังเคราะห์จะอยู่ได้เพียง 4-5 วันเท่านั้นในสภาพแวดล้อมจริง สูตรยาฆ่าแมลงฝักคูน จะใช้ฝักคูนที่แก่จัด มาทุบให้พอแหลก 5 กิโลกรัม กับน้ำฝนหรือน้ำดื่ม 10 กิโลกรัม ที่เน้นน้ำสะอาด เพราะคุณปฐมได้ใช้น้ำประปาหมู่บ้านทำแล้วไม่ได้ผล น้ำที่หมักจะเสีย ใช้ พด.2 ของกรมพัฒนาที่ดิน 1 ซอง หมักทิ้งไว้ 7 วันในที่ร่ม ไม่ต้องคน สามารถนำมาใช้ได้เลย แต่ถ้าเก็บไว้นานกว่านี้ประสิทธิภาพจะดีกว่า พึงระลึกเสมอว่าการฉีดพ่นยาจะต้องทำตามกำหนดแน่นอนทุกครั้ง เพราะการป้องกันดีกว่าการกำจัด