ลองกองอุตรดิตถ์ เป็นผลไม้อีกชนิดหนึ่งที่ชาวอุตรดิตถ์ภาคภูมิใจ

แนะนำให้ได้ลองลิ้มชิมรส จะมีผลผลิตออกเป็นรุ่นๆ ออกมารุ่นแรก ปลายกรกฎาคม และก็เว้นช่วงระยะหนึ่ง ปลายเดือนสิงหาคมก็ออกมาอีกรุ่น และมีมากช่วงเดือนกันยายน ตุลาคมอีกรุ่น เรียกเป็นรุ่นใหญ่ แล้วก็จะมีทิ้งลาสวน เก็บตกเดือนพฤศจิกายน ธันวาคม เข้าหนาวก็หมดปล่อยให้ผลไม้อื่นๆ ออกมาให้บริโภคกันต่อ

ลองกอง เป็นพืชไม้ป่าพื้นเมืองของเขตร้อน ตระกูลมะฮอกกานี เช่นเดียวกับลางสาด ลูกู มีถิ่นกำเนิดอยู่แถบหมู่เกาะมลายู ชวา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินทรายและดินร่วนปนทราย ระบายน้ำดี ความชื้นในอากาศสูง ชอบขึ้นเบียดเสียดกันอยู่หนาแน่นลักษณะป่า อาศัยเติบโตอยู่ภายใต้ร่มเงารำไรในสภาพป่า เริ่มค้นพบหรือสันนิษฐานว่าประเทศไทยมีกำเนิดที่จังหวัดนราธิวาส รู้ว่ามีมาหลายร้อยปีแล้ว และมีแพร่กระจายอยู่ทั่วไปทั้งภาคใต้ ภาคตะวันออก
ลองกองทั่วไปที่ปลูกกันอยู่ พอจะแยกตามลักษณะผลได้ 3 ชนิด ได้แก่ ชนิดผลกลมมีจุก ซึ่งเป็นลองกองคุณภาพดี ช่อแน่น ผลเปลือกหนา สีเหลืองจาง หรือขาวนวล ไม่มียาง เนื้อใสเป็นแก้วค่อนข้างแข็ง เมล็ดเล็กหรืออาจไม่มีเลย ชนิดผลกลม ช่อไม่แน่นมาก ผลเปลือกหนา สีขาว หรือเหลือง ยางน้อย เนื้อใส แข็ง หรืออาจขุ่น เมล็ดเล็ก อีกชนิดผลกลมรี เป็นชนิดที่มีขายทั่วไปเป็นส่วนใหญ่ ช่อผลยาว ไม่แน่นมากนัก ผลเปลือกหนาสีเหลืองปนน้ำตาล หรือสีฟ้าอ่อน หรือขาวปนนวล เนื้อใส แข็ง หรืออาจขุ่น เมล็ดเล็ก

ที่อุตรดิตถ์ ซึ่งเดิมพื้นที่เป็นสวนป่า มีต้นไม้ปะปนกันหลากหลาย ทั้งลางสาด ทุเรียน หมาก มะพร้าว ขนุน เงาะ กาแฟ ไม้ป่าก็มีมาก เช่น ต้นสะพุง หรือต้นสมพง เป็นสวนป่าที่มีความชื้นในอากาศและในดินมาก อุณหภูมิในสวนเฉลี่ย 20-30 องศาเซลเซียส ต่อมามีการนำเอาตา หรือยอดลองกองมาเสียบยอด ติดตากับต้นลางสาดเดิม เริ่มมาเมื่อหลายสิบปีก่อน และนิยมเปลี่ยนยอดลางสาดเป็นลองกองกันมากยิ่งขึ้น จนเป็นเหตุให้จำนวนลางสาดลดลง เพราะเปลี่ยนเป็นลองกองกันมากขึ้นแทนที่ และมีการขยายพันธุ์ลองกอง ย้ายที่ปลูกจากสวนป่าลงมาที่ราบ จัดสร้างสวนเกษตรใหม่ มีการใช้วิชาการ เทคโนโลยีเข้าช่วย การปรับปรุงบำรุง การดูแลรักษา การตัดแต่งกิ่ง แต่งช่อผล ทำให้ลองกองอุตรดิตถ์เป็นลองกองที่มีคุณภาพดี ประกอบกับดินดีเป็นที่ดินใหม่ ต้นมีความแข็งแรงเพราะลางสาดเป็นต้นตอระบบรากดี ระบบน้ำดี สภาพแวดล้อมต่างๆ ดี ลองกองอุตรดิตถ์จึงเป็นลองกองคุณภาพเป็นหนึ่ง

การปลูกลองกองของชาวสวนปัจจุบันนี้ จะใช้ต้นกล้าที่เปลี่ยนยอดพันธุ์ หรือกิ่งทาบ ปลูกในระยะ 6×6 เมตร หรือ 7×7 เมตร จัดระบบน้ำหยด และมีการดูแลรักษา ตัดแต่งกิ่ง ตัดแต่งช่ออย่างดี ใช้สารชีวภัณฑ์ดูแลป้องกันกำจัดศัตรู เช่น เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า หรือเชื้อราเขียว ป้องกันกำจัดโรครากเน่าโคนเน่า, ใช้เชื้อแบคทีเรียบาซิลัส ซับทีลิส หรือ บี เอส ป้องกันกำจัดโรคที่เกิดจากเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย ใช้เชื้อราบิวเวอเรีย หรือเชื้อราขาว ป้องกันกำจัดแมลงและหนอนต่างๆ ต้นพันธุ์ส่วนใหญ่ใช้ต้นตอที่เพาะจากเมล็ดลางสาด เปลี่ยนยอดเสียบยอดใหม่ให้เป็นลองกอง เพราะต้นลางสาดจะมีความแข็งแรงทนทานกว่า ระบบรากดีกว่า เจริญเติบโตได้ดีกว่า

ทั้งยังมีสวนลองกอง ส่วนที่ปลูกปะปนกับไม้อื่น พื้นที่เนินเขาบ้าง ภูเขาบ้าง ซอกเขาริมห้วยบ้าง ก็เป็นแบบสวนป่า นับเอาจำนวนต้นแล้วมาคำนวณพื้นที่ ก็จะได้ว่ามีพื้นที่ปลูกลองกองทั้งจังหวัด 27,636 ไร่ ผลผลิตรวม 21,197 ตัน คิดเป็นมูลค่าผลผลิตกว่า 510 ล้านบาท ต่อปี

มีหลายคนมีคำถาม และยังข้องขัดคาใจอยู่ เรื่องลองกองอุตรดิตถ์ ว่า เห็นมีการพูดถึง “ลางกอง” กัน ทำให้หลายคนคิดว่าเป็นผลไม้ชนิดใหม่ อยากรู้ว่าคืออะไร บ้างก็ว่าเป็นลูกเล่นล้อหลอกกัน เปลี่ยนชื่อให้ดูแปลกเข้าไว้หลอกกันกิน อะไรทำนองนั้น ที่จริงแล้วคงเป็นเจตนาดีของใครบางคนที่อยากจะแยกแยะให้เห็นว่า ลองกองอุตรดิตถ์ มีความแตกต่างจากลองกองของแหล่งอื่น ซึ่งก็จริงเมื่อเปรียบเทียบกับลองกองตันหยงมัส ของจังหวัดนราธิวาส จะเห็นข้อแตกต่างกันบ้าง ด้านขนาดผล เนื้อ รสชาติ แต่ก็ยังคงคุณลักษณะความเป็นลองกองที่คนทั่วไปรู้จัก คือ ต้น กิ่ง ใบ ผลเปลือกหนา ยางน้อย ช่อแน่น กลิ่นหอม รสชาติหวาน อร่อยน่ากินเหมือนกัน

ด้วยเหตุนี้ จึงมีคนให้ชื่อว่า “ลางกอง” ขอให้เข้าใจว่าเป็นเทคนิคด้านการตลาด อยากให้เป็นแบรนด์ผลไม้อุตรดิตถ์ชนิดนี้ ซึ่งในด้านพฤกษศาสตร์ก็คงเป็น “ลองกอง” เช่นนั้น ถ้าท่านทั้งหลายจะได้ยินว่า “ลางกองอุตรดิตถ์” ก็ให้เข้าใจว่าคือ ลองกองอุตรดิตถ์นั่นเอง ซึ่งก็ไม่ผิดหรอกที่จะเรียกอย่างไร และก็ไม่คัดค้าน หรือปฏิเสธการเรียกชื่อ ให้ใช้ได้ทั้ง 2 ชื่อ ในใจก็อยากให้เรียก “ลางกอง” เหมือนกัน ดูแปลกหู และเรียกง่ายดี ทีลองกองแต่เดิมยังชื่อ “ลอก็อง”เลย เมื่อตรวจดูคุณสมบัติของลองกองอุตรดิตถ์แล้ว จะเห็นว่าต้นลองกอง มีลักษณะเปลือกเรียบมีลายขาวประปราย ซึ่งเป็นลักษณะของต้นลางสาด ใบเป็นลองกอง ผลเป็นลองกอง มีขนาดใกล้เคียงกับลางสาด รสชาติมีบางต้นไม่หวานจัดเหมือนลองกองทั่วไป เพียงแต่เปลือกผลหนา ไม่มียาง หรืออาจมียางน้อย ก็ขึ้นกับระยะเวลาการตัด แค่นั้นแหละ จึงมีบางคนเรียกชื่อว่า “ลางกอง” ก็เพราะเห็นว่าต้นเป็นลางสาด ลูกเป็นลองกองนี่เอง

ลองกอง เป็นผลไม้ที่ให้คุณค่าทางอาหาร คือเนื้อลองกอง 100 กรัม ให้พลังงาน 57 กิโลแคลอรี คาร์โบไฮเดรต 15.2 กรัม แคลเซียม 19 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 24 มิลลิกรัม เหล็ก 1.1 มิลลิกรัม วิตามินบีหนึ่ง 0.07 มิลลิกรัม วิตามินบีสอง 0.04 มิลลิกรัม วิตามินซี 3.0 มิลลิกรัม ไขมัน 0.2 กรัม โปรตีน 0.9 กรัม ไนอะซีน 1.0 มิลลิกรัม

สรรพคุณทางยา มีฤทธิ์เช่นเดียวกับลางสาด เมล็ดรสขม ใช้เป็นยาแก้ไข้ แก้หวัดไอได้ดี ใช้รักษาฝีในหู เปลือกต้น เปลือกผล เผาไฟไล่ยุงได้ มีกรดแลนเซี่ยม มีฤทธิ์ต่อสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเช่นกบ ทำให้หัวใจหยุดเต้น ยังไม่เคยฉีดเข้าตัวคน ก็คงมีผลบ้างไม่มากก็น้อย หรืออาจมีพิษทำให้เบื่อเมาได้ ส่วนใบอ่อนซึ่งมีความขมเล็กน้อย มีคนเอาไปเป็นผักแกล้ม ลาบ ยำ บอกว่าเพิ่มรสขมเหมือนน้ำเพี้ยหัวดีไม่มีผิด ถ้ากินได้หรือชอบกิน ก็เอาที่สบายใจก็แล้วกัน

มังคุด หนึ่งในราชินีผลไม้ที่ขึ้นชื่อของไทย เป็นทั้งผลไม้และพืชสมุนไพรที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง การบริโภคมังคุด มีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายอย่าง “กากใยจากเนื้อมังคุด” ช่วยในการขับถ่ายและให้วิตามิน เกลือแร่มากมาย ทั้งแคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก ประโยชน์ของมังคุดมิได้มีอยู่แค่เนื้อในของมังคุดที่เราใช้เป็นอาหารเท่านั้น เมื่อได้ลิ้มรสความอร่อยของเนื้อมังคุดแล้ว อย่าทิ้งเปลือกมังคุดให้เปล่าประโยชน์ เพราะเปลือกมังคุดมีสรรพคุณทางยามากมาย

เปลือกมังคุด มีสารให้รสฝาด คือ แทนนิน แซนโทน (โดยเฉพาะ แมงโกสติน) แทนนิน มีฤทธิ์ฝาดสมาน ทำให้แผลหายเร็ว แมงโกสตินช่วยลดอาการอักเสบและมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนองได้ ตำราแพทย์แผนไทยระบุว่า เปลือกมังคุดมีสรรพคุณในการสมานแผล ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น คนไทยตั้งแต่สมัยโบราณจะใช้เปลือกมังคุดฝนกับน้ำปูนใสทาบริเวณแผลและน้ำต้มเปลือกมังคุดแห้งล้างแผลแทนการใช้ด่างทับทิม แล้วยังช่วยรักษาบาดแผลผุพอง แผลเน่าเปื่อย

ทั้งนี้ บางคนอาจสงสัยอยู่นานแล้วว่า ผลไม้ต่างๆ มีหลายพันธุ์ เช่น “มะม่วง” มีพันธุ์เขียวเสวย อกร่อง และน้ำดอกไม้ เบอร์ 4 “ทุเรียน” ก็มีกระดุม ชะนี และก้านยาว “กระท้อน” ก็มีอีล่าและฝ้าย แต่เพราะเหตุใด มังคุดไม่มีชื่อพันธุ์เลย?

ปัจจุบัน มังคุด เป็นผลไม้ยอดนิยม ในแง่สมุนไพร เพื่อนผมท่านหนึ่งรับประทานมังคุด จะเคี้ยวเมล็ดไปด้วย บอกว่า อาการของโรค เจ็บตามข้อ หายเป็นปลิดทิ้ง ต้องพิสูจน์ในทางการแพทย์เพื่อเป็นการยืนยันต่อไป

“มังคุด” มีถิ่นกําเนิดอยู่ที่หมู่เกาะซุนดา และหมู่เกาะโมลุกกะ แล้วแพร่กระจายเข้าสู่ กัวเตมาลา ปานามา เอกวาดอร์ และเชื่อว่า เข้ามาในประเทศไทย ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1

ตัวอย่าง “ข้าว” เป็นพืชผสมตัวเอง มีเกสรเพศผู้และเพศเมียในดอกเดียวกัน แม้มีเปลือกหุ้มเมล็ดค่อนข้างมิดชิดก็ตาม แต่โอกาสการผสมข้ามยังเกิดขึ้นได้ 1-4 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากแมลงช่วยในการผสมเกสร

อีกตัวอย่างหนึ่งคือ “ข้าวโพด” เป็นพืชผสมข้าม เนื่องจากเกสรเพศผู้อยู่ส่วนยอดของลําต้น แต่เกสรเพศเมียหรือฝัก อยู่ต่ำลงมาไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร การผสมข้ามต้นจึงเกิดขึ้นได้ในเปอร์เซ็นต์ที่สูงกว่าข้าว

ในกรณีที่ผิวสีและขนาดของผลมังคุดนั้นเกิดจากสภาพแวดล้อมและการดูแลของผู้ปลูก แต่เนื้อแท้หรือพันธุกรรมนั้นไม่เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย มังคุด จึงมีเพียงพันธุ์เดียวในโลก

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ที่พระราชทานให้คนไทยเมื่อ 30 กว่าปีก่อน มีความทันสมัยและใช้ได้ผลดีตลอดเวลา เพราะการดำเนินชีวิตโดยยึดหลักทางสายกลางและความไม่ประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี ช่วยให้คนไทยก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคปัจจุบันได้อย่างลงตัว

เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้เขียนมีโอกาสติดตาม คุณวันชัย นิลวงศ์ เกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ คุณวิจิตร คงสงฆ์ เกษตรอำเภอบางสะพาน คุณเบญจพร ตั้งวิชัย นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ และ คุณธนนันท์ สนสาขา นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สำนักงานเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ไปเยี่ยมชมกิจการสวนเกษตรผสมผสานของ คุณประเสริฐ ยุวกาฬกุล ที่ทำรายได้ทะลุหลักล้านได้ไม่ยาก แค่ใช้หลัก “การตลาดนำการผลิต”

คุณวันชัย นิลวงศ์ เกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กล่าวว่า คุณประเสริฐ ยุวกาฬกุล เกษตรกรต้นแบบด้านเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ปัจจุบัน เขาเป็นเกษตรกรหัวก้าวหน้าที่มีจิตสาธารณะ เปิดบ้านเป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนบ้านสวน เพื่อเผยแพร่ความรู้การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ให้แก่คนในชุมชนและผู้สนใจทั่วไปได้เป็นตัวอย่าง เป็นการสร้างแรงบันดาลใจและสร้างความมั่นคงในอาชีพให้กับคนในชุมชน

ทางสำนักงานเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ส่งเสริมให้ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร บริหารจัดการโดยเกษตรกรและชุมชน ภายใต้โครงการท่องเที่ยววิถีเกษตรร่อนทองพอเพียง ปี 2562 โดยมีจุดเรียนรู้ที่น่าสนใจมากมาย ได้แก่ ฐานการเรียนรู้ผักพื้นบ้านเรา ฐานน้ำหมักมีชีวิต ฐานข้าวอินทรีย์ ฐานไก่ไข่อารมณ์ดี ฐานพี่ปลาดุก น้องหอยขม ฐานตลาดเกษตรชุมชน และฐานเกษตรเพื่อพ่อ เป็นต้น ปัจจุบัน สวนแห่งนี้ มีเกษตรกรและนักท่องเที่ยวแวะเวียนเข้ามาเยี่ยมชมและศึกษาดูงานตลอดทั้งปี

คุณประเสริฐ เล่าให้ฟังว่า เขาเป็นหนุ่มช่างกลเมืองพัทลุง หลังแต่งงานก็มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านเกิดของภรรยา บ้านเลขที่ 16 หมู่ที่ 4 ตำบลร่อนทอง อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ระยะแรกเขายังทำงานบริษัทเอกชน ได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมกับทางบริษัทไปดูงานศูนย์เรียนรู้กสิกรรมธรรมชาติบ้านสายเพชร ตำบลทองมงคล อำเภอบางสะพาน เขาเห็นแนวทางการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของรัชกาลที่ 9 ก็เกิดความคิดที่จะน้อมนำแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

คุณประเสริฐ เริ่มทำเกษตรบนที่ดินมรดกของภรรยา เริ่มจากการเพาะกล้ายางพาราขาย ปลูกยางพารา ปลูกมะพร้าว มังคุด และพืชอื่นๆ เรื่อยมา เมื่อมีรายได้จากภาคเกษตรมากขึ้น เขาจึงตัดสินใจลาออกจากบริษัทและหันมาทำเกษตรอย่างจริงจัง เมื่อ ปี 2553 เขาเริ่มทำไร่นาสวนผสม บนที่ดิน 4 ไร่ ปลูกข้าวสำหรับบริโภคในครัวเรือน ปลูกพืชหลัก พืชเสริมรายได้ในสวนยาง สวนมะพร้าว เขาปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก

สวนเกษตรผสมผสานแห่งนี้ มีทั้งพืชผัก ไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชสมุนไพร เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา เลี้ยงโค ทำนาปลูกข้าวไว้บริโภคในครัวเรือน โดยใช้หลักความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในการประกอบอาชีพตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง แต่ปัญหาที่เจอคือ น้ำท่วมซ้ำซากเกือบทุกปี ทำให้พืชผลและผลผลิตเสียหาย แต่คุณประเสริฐก็ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค เขาตั้งใจประกอบอาชีพด้วยความอุตสาหะอดทน

คุณประเสริฐ เล่าว่า ในช่วงแรก ผมปลูกพืชโดยใช้สารเคมี เช่น ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง และยาปราบวัชพืช ทำให้มีต้นทุนการผลิตสูง แถมประสบปัญหาแพ้สารเคมี จึงตัดสินใจเลิกใช้สารเคมีอย่างเด็ดขาด และหันมาทำเกษตรอินทรีย์แบบผสมผสาน มีกิจกรรมที่เกื้อกูลการใช้ประโยชน์ร่วมกัน พึ่งพาอาศัยกันและกัน ลดการพึ่งพาปัจจัยจากภายนอก เน้นการใช้แรงงานในครัวเรือนเป็นหลัก

คุณประเสริฐ ทำนาโดยไม่เผาตอซังและไถกลบตอซังหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยว เพื่อลดปัญหาโลกร้อนและอนุรักษ์พันธุ์พืช ปลูกพืชตระกูลถั่ว ได้แก่ ปอเทือง ภายหลังฤดูกาลทำนาเพื่อเป็นปุ๋ยพืชสด ปลูกหญ้าแฝกรอบบริเวณสระน้ำในสวนและแปลงนาเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำ ป้องกันการพังทลายของดินและปรับปรุงสภาพดิน ลดการสูญเสียธาตุอาหารเพื่อสร้างสมดุลย์ในระบบนิเวศ ปลูกพืชแบบหมุนเวียน เพื่อลดการสะสมของโรคและแมลง ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพไว้ใช้ในครัวเรือน

เนื่องจากคุณประเสริฐเป็นเกษตรกรหัวไว ใจสู้ ที่ชอบคิดนอกกรอบ ใส่ใจศึกษาหาความรู้เรื่องการทำเกษตรตลอดเวลา ขณะเดียวกันก็มีความมุ่งมั่นที่จะเผยแพร่ความรู้การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ให้แก่คนในชุมชนและผู้สนใจได้เอาเป็นแบบอย่าง ด้วยแนวคิดที่ว่า “พูดให้ฟัง ทำให้ดู” ทำให้พื้นที่แห่งนี้ได้รับการพัฒนาเป็น “ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนบ้านสวน” ในที่สุด

คุณประเสริฐมองว่าการทำเกษตรนั้น จะต้องมีความรู้ที่หลากหลายเพื่อนำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะการทำเกษตรนั้นไม่มีสิ้นสุด ตายตัว ต้องศึกษาทดลองตลอดเวลา ที่สำคัญดำเนินชีวิตบนหลักความพอเพียงตามคำสอนของรัชกาลที่ 9 ควบคู่กันไป

วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตข้าวกล้องฯ

เมื่อ ปี 2559 คุณประเสริฐ ได้รวมกลุ่มสมาชิกชาวนา จำนวน 4 ราย เนื้อที่ทำนา 18 ไร่ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการทำนาอินทรีย์ รวมกันซื้อ รวมกันขาย เพื่อยกระดับราคาสินค้า จนประสบความสำเร็จและขยายผลไปสู่สมาชิกกว่า 30ราย พื้นที่ทำนารวมกันกว่า 70 ไร่ เน้นผลิตข้าวปลอดภัยต่อผู้บริโภค

โดยพวกเขารวมตัวกันจัดตั้งเป็น fixcounter.com “วิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวกลุ่มผลิตข้าวกล้องเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ” เป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชน เป็นแหล่งเรียนรู้และพัฒนาสิ่งใหม่ๆ รวมทั้งเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นในเรื่องการทำนาปลูกข้าวที่มีมาแต่สมัยโบราณ ก่อให้เกิดความรักสามัคคีในหมู่คณะ ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวบ้านในชุมชนให้ดีขึ้น รู้จักการสร้างรายได้และใช้จ่ายอย่างประหยัดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ชุมชนพึ่งตัวเองได้ ครอบครัวมีความมั่นคง เกิดระบบเศรษฐกิจชุมชนที่เข้มแข็ง ซึ่งเป็นรากฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป

สวนเกษตรผสมผสาน ที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

คุณประเสริฐ ทำเกษตรโดยเน้นการใช้แรงงานในครัวเรือนเป็นหลัก โดยมีตัวเอง ภรรยา และหลานอีก 3 คน ช่วยทำกิจกรรมเกษตรของครอบครัวซึ่งเป็นกิจกรรมการผลิตที่เกื้อกูลกันภายใต้แนวคิดที่ว่าจะต้องลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ มีรายได้สม่ำเสมอ ทั้งรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน และรายปี เพื่อลดความเสี่ยงในการดำเนินชีวิต

“สวนไม้ผล ไม้ยืนต้น” ปัจจุบัน คุณประเสริฐปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้นหลากหลายชนิด ทั้ง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว กล้วยเล็บมือนาง กล้วยน้ำว้า และกล้วยขายใบ เงาะ ทุเรียน มังคุด ฝรั่ง แก้วมังกร ขนุน หมาก สะตอ กระท้อน มะขามเปรี้ยวยักษ์ บนเนื้อที่ 25 ไร่ เขาปลูกพืชผักแซมในสวน วางกล่องเลี้ยงผึ้งในสวนผลไม้ เพื่อให้มีการเกื้อกูล เกิดประโยชน์ร่วมกัน เป็นการใช้ประโยชน์จากกิจกรรมและพื้นที่ให้เกิดความคุ้มค่า

“นาข้าว” เขาปลูกข้าวเพื่อจำหน่ายผลผลิตและปลูกข้าวเพื่อทำพันธุ์ บนเนื้อที่ 7 ไร่ โดยแบ่งพื้นที่เป็น 2 ส่วน คือปลูกข้าวไร่ดอกมะขาม เนื้อที่ 1 ไร่ แปลงถัดมาปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่และข้าวสังข์หยด เนื้อที่ 7 ไร่ โดยจะปลูกหมุนเวียนสลับกับการปลูกข้าวในแต่ละพันธุ์ในแต่ละรอบเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคและแมลง เน้นปลูกข้าวเพื่อการแปรรูปเพิ่มมูลค่าข้าวในลักษณะ ข้าวบรรจุถุง โดยติดตั้งเครื่องสีข้าวขนาดเล็กในครัวเรือน โรงสีข้าวขนาดกลาง เครื่องคัดแยกเมล็ดข้าว เครื่องบดเมล็ดข้าว เครื่องบรรจุแบบสุญญากาศ เป็นต้น

“ปลูกพืชผักสวนครัวและพืชสมุนไพร” คุณประเสริฐ ปลูกผักกูด ผักเหลียง ผักหวานบ้าน ชะอม ตำลึง มะเขือ ผักบุ้ง ไผ่หวาน คะน้า พริก รวมทั้งปลูกพืชสมุนไพร เช่น พริกไทย บอระเพ็ด ขมิ้นชัน รางจืด ขิง ตะไคร้ บนเนื้อที่ 6 ไร่ นอกจากนี้ ยังปลูกไม้เศรษฐกิจ เช่น ไม้ตะเคียน ขี้เหล็ก สัก สะเดา ไผ่ ยางนา จำนวน 6 ส่วน บ่อน้ำในไร่นา เนื้อที่ 1 ไร่ จะใช้ทำการประมง โดยเลี้ยงปลาเบญจพรรณ เช่น ปลาดุก ปลาตะเพียน ปลานิล และการเลี้ยงหอยขม

เคล็ดลับการเลี้ยงไก่ไข่อารมณ์ดี

คุณประเสริฐ เลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อยลาน ซึ่งเป็นการเลี้ยงไก่ตามธรรมชาติ ครั้งละ 300 ตัว อายุระหว่าง 22-24 สัปดาห์ โดยเฉลี่ยแม่ไก่ 1 ตัว จะให้ผลผลิต 200-300 ฟอง ต่อปี เขามีแนวคิดที่จะเลี้ยงไก่ไข่แบบนี้ไปเรื่อยๆ เนื่องจากการเลี้ยงไก่ไข่รูปแบบนี้ ช่วยให้แม่ไก่ไข่อารมณ์ดี ให้ผลผลิตที่ดี ทั้งการเลี้ยงไม่ยุ่งยาก แม่ไก่จะมีอัตราการให้ไข่เยอะ โดยใช้พื้นที่การเลี้ยงเพียงแค่ 2 งาน เท่านั้น

ด้านการจัดการฟาร์มแม่ไก่อารมณ์ดี คุณประเสริฐ จะจัดทำโรงเรือนที่นอนให้แก่ไก่ไว้สำหรับกันแดด กันฝน มีรังไข่ 1 รัง ต่อแม่ไก่ 7 ตัว มีฟางข้าวรองรับเพื่อป้องกันไร ที่นอนยกพื้นสูงประมาณ 1 เมตร มีน้ำสะอาดให้ไก่สามารถกินได้ตลอดเวลา พื้นในโรงเรือนปูด้วยแกลบและฟางข้าว เพื่อไม่ให้ชื้นแฉะ มีการจัดระบบแยกกรง สร้างเผื่อไว้สำหรับใช้ขังไก่ที่ป่วยหรือเป็นโรคระหว่างการที่มีไก่ป่วย