ละมุดเริ่มให้ผลผลิตในปีที่ 3 ช่วงที่เริ่มมีผลผลิตหากมองดู

ดกมากจะต้องหาไม้มาค้ำยันกิ่งทันทีเพื่อต้านน้ำหนักและลมที่พัดป้องกันไม่ให้กิ่งหักเสียหาย ผลผลิตทยอยเก็บได้ภายในเวลา 2 เดือนไม่พร้อมกัน ตั้งแต่กลางเดือนมกราคมไปจนถึงกลางเดือนมีนาคม หลังจากนั้น ถ้าดูแลให้ปุ๋ย/น้ำอย่างเหมาะสมก็ยังสามารถมีผลผลิตได้ต่อไปอีก เพียงแต่จำนวนและความสวยจะลดลง อย่างไรก็ตาม ปริมาณผลผลิตในแต่ละฤดูกาลจะมากหรือน้อยไม่อาจควบคุมได้เนื่องจากขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศในแต่ละปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงติดดอกถ้ามีฝนตกหนักแล้วลมแรงเกิดขึ้นก็ส่งผลให้ได้ปริมาณผลผลิตลดลง

คุณไพฑูรย์คิดค้นอุปกรณ์ที่ใช้สอยละมุดจากต้นด้วยการใช้ไม้ไผ่มาสานเป็นตะกร้อแบ่ง 3 ขนาด เพื่อให้สะดวกรวดเร็วโดยไม่ทำให้ผลเสียหาย โดยเจ้าของสวนจะต้องสังเกตดูผลแก่ที่มีสีเขียวก่อน ด้วยการใช้ประสบการณ์และความชำนาญ ขณะเดียวกัน บางรายมองว่าเป็นเรื่องยากจึงใช้วิธีสวมถุงมือผ้าชุบน้ำให้เปียกแล้วไปถูที่เปลือกเพื่อเช็ดคราบออกแล้วจะพบเห็นสีเปลือกที่ชัดเจนมากขึ้น ผลที่เก็บได้มีสีเหลืองอมน้ำตาล ดังนั้น วิธีนี้ช่วยให้สะดวก รวดเร็ว แม่นยำ อย่างไรก็ตาม หากพบว่าผลมีขนาดใหญ่แต่ยังไม่สุกแก่ก็จำเป็นต้องเก็บมาเพื่อนำมาบ่มต่ออีก 2 วัน โดยแม่ค้าที่รับซื้อจะนำไปบ่มเอง

เมื่อเก็บมาจากต้นแล้วจะต้องใส่ลงในถัง 20 ลิตรที่ใส่น้ำไว้ 1 ใน 4 ของถังเพื่อให้ยางที่เกาะติดผลหลุดร่วงออกไป ต่อจากนั้นนำผลผลิตที่เก็บได้ในแต่ละวันมาล้างด้วยน้ำ ซึ่งขั้นตอนนี้แต่เดิมใช้แรงงานคน มีต้นทุนแล้วเปลืองเวลา ดังนั้น คุณไพฑูรย์จึงหาทางออกด้วยการคิดประดิษฐ์เครื่องล้างผลละมุดขึ้น โดยใช้อุปกรณ์และวัสดุจากสิ่งเหลือใช้ อะไหล่จากเครื่องไฟฟ้ามาประกอบเป็นเครื่องล้างละมุดที่ตั้งเวลาได้โดยไม่ต้องใช้คน สามารถล้างละมุดได้ถุงละ 25 กิโลกรัม 2 ถุง โดยตั้งเวลาอัตโนมัติใช้เวลาล้างเพียง 5 นาที จึงนับเป็นนวัตกรรมเครื่องล้างผลละมุดที่ให้ประโยชน์อย่างแท้จริง

เมื่อล้างเสร็จนำมาผึ่งลมให้แห้ง แล้วจึงคัดแยกคุณภาพและขนาด ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ไซต์ตามขนาด โดยรุ่นที่เริ่มมีผลผลิตครั้งแรกจะมีขนาดใหญ่มาก จึงเรียกว่าจัมโบ้ ประมาณ 6 ลูก ต่อกิโลกรัม ขายผลดิบราคากิโลกรัมละ 50 บาท จากนั้นผลจะมีขนาดเล็ก เรียกว่าเบอร์ 1 ได้ 7 ลูก ต่อกิโลกรัม ขายผลดิบกิโลกรัมละ 45 บาท แล้วเป็นเบอร์ 2 ได้ประมาณ 8-9 ลูก ต่อกิโลกรัม ขายกิโลกรัมละ 40 บาท และเบอร์ 3 ได้ประมาณ 11 ลูก ต่อกิโลกรัม ขายราคากิโลกรัมละ 35 บาท

ละมุดเป็นไม้ผลที่ชอบแสง ฉะนั้น จึงต้องหมั่นคอยตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง เพื่อทำให้ต้น ใบ มีความสมบูรณ์ช่วยให้ผลผลิตดี ไม่มีโรค อย่างไรก็ตาม กิ่งแขนงที่ตัดออกคุณไพฑูรย์ยังตอนเป็นกิ่งพันธุ์ไว้ขายต่อไป มี 2 แบบ คือขายเป็นกิ่งกับชำใส่ถุง ถ้าเป็นแบบกิ่งราคา 200 บาท ส่วนชำใส่ถุงที่มีรากงอกพร้อมลงดินขายถุงละ 240 บาท

คุณไพฑูรย์ไม่เพียงเป็นชาวสวนที่ใส่ใจกับอาชีพของเขา แต่ยังทำหน้าที่เป็นผู้ใหญ่บ้านคอยดูแลความทุกข์สุขของลูกบ้านด้วย ที่บ้านคุณไพฑูรย์เปิดเป็นศูนย์การเรียนรู้เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกละมุดและกิจกรรมเกษตรอื่น แล้วยังเป็นสวนสาธิตการใช้ระบบน้ำอัจฉริยะที่สามารถตั้งเปิด-ปิดน้ำได้ตามสภาวะอากาศ ถือเป็นการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้กับสวนเกษตรซึ่งมีเพียง 2 แห่งบนเกาะยอ จึงนับเป็นเทคโนโลยีที่เกิดจากภูมิปัญญาของชาวบ้านอย่างแท้จริง หากมีโอกาสเดินทางไปเที่ยวจังหวัดสงขลา อย่าลืมแวะไปเยี่ยมเยียนสวนละมุดไข่ห่านของคุณไพฑูรย์ที่เกาะยอ สอบถามรายละเอียดได้ที่โทรศัพท์

สวัสดีครับ พบกับผม ธนากร เที่ยงน้อย อีกครั้ง กูรูหลายวงการชี้เปรี้ยงตรงกันว่าหลังการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 วิถีชีวิตคนทั้งโลกจะเปลี่ยนไปไม่มียกเว้นแม้แต่พี่ไทยแลนด์แดนสยาม ส่วนหนึ่งเป็นเพราะพิษเศรษฐกิจถดถอยที่ทำให้หลายท่านต้องเปลี่ยนงานหรือบางท่านอาจจะตกงาน รายได้หดหายกันทั่วหน้า ดังนั้น ฉบับนี้ผมจึงอาสาหาเรื่องดีๆ มานำเสนอให้ท่านผู้อ่านที่สนใจกำลังมองหาอาชีพใหม่ อาชีพเสริมสร้างรายได้ ตามผมไปที่กาญจนบุรีกันเลยครับ

หากพูดถึงไผ่หลายคนอาจจะมองว่าเป็นพืชธรรมดาที่พบเห็นกันได้ทั่วไป แต่ท่านทราบหรือไม่ว่าไผ่ทั่วโลกมีอยู่ประมาณ 90 สกุล และ 1,000 ชนิด เฉพาะในประเทศไทย กรมป่าไม้รายงานโดยอ้างอิงจากสราวุธและคณะ ว่ามีไผ่จำนวน 80-100 ชนิด (species) สำนักวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) รายงานว่า ไผ่มีความสำคัญต่อวิถีของชุมชนในแง่ของพิธีกรรมบางอย่าง ซึ่งความหลากหลายของไผ่ในแต่ละพื้นที่นอกจากจะผ่านการคัดเลือกโดยธรรมชาติแล้วยังต้องผ่านการคัดเลือกโดยสังคมและวัฒนธรรม

รวมถึงการให้ความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจของชุมชนด้วย ทำให้ไผ่บางชนิดมีปริมาณที่น้อยลงหรือสูญหายไป จึงนับได้ว่าไผ่มีความสำคัญในแง่เศรษฐกิจ-สังคมต่อคนไทยในชนบท ทั้งในแง่ของอาหาร เพราะหน่อไผ่เป็นแหล่งอาหารที่มีไฟเบอร์สูงอุดมไปด้วยแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการ เช่น เหล็กและสังกะสี เป็นต้น การใช้สอยในชีวิตประจำวัน โดยการจักสานเครื่องใช้ในครัวเรือนต่างๆ และสร้างที่อยู่อาศัย เป็นต้น

การสร้างรายได้เสริมให้แก่ครอบครัวในระดับท้องถิ่นจากจำหน่ายส่วนต่างๆ ของไผ่ก่อให้เกิดการสร้างงาน ตั้งแต่ขั้นตอนการเก็บหาลำไผ่ การผลิตแปรรูปไม้ไผ่ และการขนส่งเครื่องแปรรูปต่างๆ พัฒนาเป็นสินค้าส่งออก ทำรายได้ให้แก่ประเทศ จนสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรยกให้ “ไผ่” เป็นสินค้าเกษตรทางเลือกที่มีอนาคต (Future Crop) สำหรับบางพื้นที่ในประเทศไทย เนื่องจากไผ่มีคุณประโยชน์เพื่อบริโภคและใช้สอยอย่างหลากหลาย

“ศูนย์พัฒนาชนบทผสมผสานไทรโยค” มุ่งพัฒนาคุณภาพสังคมด้วยการเกษตร

ศูนย์พัฒนาชนบทผสมผสานไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เป็นศูนย์หนึ่งในหลายๆ ศูนย์ทั่วประเทศไทยของสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชนหรือที่หลายคนรู้จักในนาม พีดีเอ (PDA) สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน เป็นหน่วยงานเอกชนที่ดำเนินงานมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่ประชาชนผู้ด้อยโอกาส กิจกรรมที่สำคัญ ได้แก่ การวางแผนครอบครัวการสาธารณสุขมูลฐาน การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การสร้างความเข้าใจเรื่องเอดส์ การส่งเสริมประชาธิปไตย การพัฒนาศักยภาพของสตรีและเด็ก

การสนับสนุนทุนการศึกษาทุกระดับ การพัฒนาแหล่งน้ำดื่ม-น้ำใช้และแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร การส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้ และการกระจายอุตสาหกรรมสู่ชนบทเพื่อสร้างรายได้ให้ประชาชนในชนบท ลดการย้ายถิ่นและสร้างความเข้มแข็งให้กับสถาบันครอบครัวและองค์กรชุมชน ผ่านศูนย์พัฒนาประชากรสาขา รวมทั้งศูนย์พัฒนาชนบทผสมผสานทั้ง 16 แห่งทั่วประเทศ จากผลงานเป็นที่ปรากฏชัดเจนทำให้สมาคมเป็นที่ยอมรับในระดับสากลและได้รับรางวัลต่างๆ มากมาย ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ

นอกจากงานพัฒนาชนบทที่เจ้าหน้าที่ของศูนย์ได้ตระเวนไปพบปะและร่วมพัฒนากับชาวบ้านแล้ว ภายในศูนย์เองยังได้จัดให้เป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ด้านการเกษตรอีกด้วย คุณณัฐพล เทศนานัย หัวหน้ากองพัฒนาชนบท 1 สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน ผู้สร้างแปลงเรียนรู้เรื่องไผ่ของศูนย์ เล่าว่า “ภายในพื้นที่ของศูนย์ 155 ไร่ เราได้จัดสร้างเป็นแปลงเกษตรตัวอย่างสำหรับเกษตรกรและผู้ที่สนใจทั่วไปได้เข้ามาศึกษา เราได้จัดสร้างแปลงรวบรวมพันธุ์พืช อย่างมะม่วงสายพันธุ์ต่างๆ แปลงส้มโอ แปลงมะขามเปรี้ยวฝักยักษ์

และที่สำคัญคือเรามีแปลงรวบรวมพันธุ์ไผ่สายพันธุ์ต่างๆ เพื่อให้เกษตรกรเข้ามาเรียนรู้และใช้ประโยชน์ร่วมกันกับศูนย์ เพราะเราเห็นถึงคุณค่าของไผ่ที่มีประโยชน์มากในชีวิตประจำวันของคนในชนบท เรารวบรวมพันธุ์ไผ่ไว้มากมายจนเป็นที่รู้จักของเกษตรกรที่เข้ามาเรียนรู้และซื้อพันธุ์ไปจากเรา พันธุ์ไผ่ที่ศูนย์ปลูกไว้เป็นไผ่ที่ใช้เพื่อทำอาหารประมาณ 50 สายพันธุ์ และพันธุ์ไผ่ที่ใช้ในการก่อสร้างอีกเกือบ 50 สายพันธุ์ โดยรวมศูนย์มีพันธุ์ไผ่ปลูกเอาไว้เกือบ 100 สายพันธุ์ เช่น ไผ่เพื่ออาหารพันธุ์กิมซุง ไผ่หวาน ไผ่สำหรับก่อสร้าง เช่น ไผ่ซางหม่น ไผ่นวลราชินี ไผ่ตง ไผ่มันหมู”

อบรมไผ่อุตสาหกรรม พืชทางเลือกใหม่ รวมผู้เชี่ยวชาญด้านไผ่

คุณณัฐพล ให้ข้อมูลว่า “ศูนย์พัฒนาชนบทผสมผสานไทรโยคจะเปิดอบรมในหลักสูตร ไผ่อุตสาหกรรมพืชทางเลือกใหม่ รุ่นที่ 1 ในระหว่างวันที่ 25-27 ธันวาคม 2563 นี้ จุดเด่นของหลักสูตรการฝึกอบรมนี้หวังให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจว่าไผ่เป็นพืชทางเลือกสำหรับเกษตรกร การปลูกไผ่จะสามารถลดพื้นที่การปลูกพืชเชิงเดี่ยว หันมาทำไผ่เชิงการค้ามากขึ้น เพราะไผ่มีราคาดีพอสมควรสามารถสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้เกษตรกรได้ การอบรมครั้งนี้จะเน้นการให้ความรู้ว่าไผ่สายพันธุ์ใดเหมาะกับพื้นที่ปลูกแบบไหน นอกจากนั้น

การอบรมครั้งนี้จะเน้นการให้ความรู้ควบคู่กับการลงมือปฏิบัติจริง เช่น การทำไบโอชาร์เพื่อใช้ปรับปรุงดินการแทนการใช้ปุ๋ยเคมี การแปรรูปไผ่เป็นเฟอร์นิเจอร์ การใช้ไผ่ในงานก่อสร้างแบบต่างๆ โดยจะมีวิทยากรที่เป็นมืออาชีพด้านไผ่ของประเทศไทย อย่างเช่น รองศาสตราจารย์ธัญพิสิษฐ์ พวงจิก ภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ประธานชมรมคนรักไผ่ จะมาให้ความรู้ด้านพันธุ์และความหลากหลายของไผ่ ตัวแทนจากบริษัท กอมังดี จำกัด บริษัทที่เน้นงานการออกแบบและตกแต่งภายใน และผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่ และเจ้าของ “ไร่ไผ่ดาวทอง” เกษตรกรผู้เชี่ยวชาญการปลูกไผ่และผลิตเห็ดเยื่อไผ่ในแปลงปลูกไผ่”

คุณณัฐพล ให้ข้อมูลต่ออีกว่า “การอบรมครั้งนี้เรามุ่งหวังให้เกษตรกรและผู้ที่สนใจมาเข้าร่วมอบรมได้ความรู้ทุกๆ ด้านที่เกี่ยวข้องกับไผ่ ทั้งเรื่องของพันธุ์ สภาพพื้นที่ปลูกที่เหมาะสม การขยายพันธุ์ไผ่ ประโยชน์ของไผ่ในด้านต่างๆ ที่เรายังไม่รู้ ทั้งด้านการก่อสร้าง การแปรรูป การใช้พื้นที่ในสวนไผ่ให้เกิดประโยชน์สูงที่สุด การตลาดของไผ่ ปลูกแล้วขายใคร ขายที่ไหน ราคาเป็นอย่างไร ดังนั้น หลักสูตรการอบรม ไผ่อุตสาหกรรมพืชทางเลือกใหม่ รุ่นที่ 1 ในระหว่างวันที่ 25-27 ธันวาคม 2563 นี้จะเป็นการรวบรวมผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้ จะเป็นการอบรมที่ผู้เข้าร่วมอบรมได้รู้จริง เห็นจริง และได้ลงมือปฏิบัติจริงในแปลงรวบรวมพันธุ์ไผ่ของศูนย์ ผมจึงอยากเชิญชวนให้พี่น้องเกษตรกร ผู้ประกอบการ คนที่สนใจไผ่ คนที่มองหาช่องทางสร้างอาชีพจากไผ่มาร่วมอบรมกับเราในครั้งนี้ครับ”

ที่พักและอาหารพร้อมต้อนรับ

ในส่วนของที่พักและความสะดวกสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม คุณเจษฎา เตี่ยวย่อง หัวหน้าศูนย์พัฒนาชนบทผสมผสานไทรโยค กล่าวว่า “ศูนย์ของเราทำในเรื่องของที่พักในบรรยากาศรีสอร์ตท่ามกลางธรรมชาติอยู่แล้ว ดังนั้น ผู้ที่เข้าร่วมการอบรม ไผ่อุตสาหกรรมพืชทางเลือกใหม่ จะได้พักในที่พักของเราที่บรรยากาศร่มรื่น ในช่วงเดือนธันวาคมอากาศที่ศูนย์กำลังเย็นสบาย มีอาหารบริการเพียบพร้อม ได้ความรู้เรื่องไผ่ ได้ลงมือปฏิบัติเรื่องไผ่ แล้วยังได้มาพักผ่อนในบรรยากาศดีๆ ในศูนย์ของเรา ถือเป็นกำไรหลายต่อสำหรับผู้ที่จะมาอบรม นอกจากนั้น ศูนย์ของเรายังมีพันธุ์ไผ่หลายสายพันธุ์เอาไว้จำหน่ายให้ผู้เข้าร่วมอบรมนำกลับไปทดลองปลูก และยังมีพันธุ์พืชชนิดอื่นๆ อีกหลากหลายให้เลือกซื้อ ใครสนใจรีบติดต่อสมัครกันเข้ามาได้เพราะเรารับสมัครจำนวนจำกัดครับ”

“มะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้” เป็นมะม่วงที่ประเทศไทยประสบความสำเร็จในการส่งออก เพราะเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคทั่วทุกมุมโลก ในอดีตเรามีญี่ปุ่นเป็นตลาดหลัก แต่ปัจจุบันมะม่วงน้ำดอกไม้ โดยเฉพาะพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง สามารถเข้าไปมีส่วนแบ่งในตลาดยุโรป, นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา และ จีน เป็นต้น

โดยเฉพาะประเทศจีน มีตัวเลขการสั่งซื้อมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองจากประเทศไทยเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากขึ้นทุกปี ในการสร้างตลาดส่งออกให้เข้มแข็งนั้น เกษตรกรชาวสวนจะต้องเน้นเรื่องคุณภาพของผลผลิตเป็นหลัก และต้องซื่อสัตย์กับตัวเอง สารเคมีตัวไหนห้ามฉีดก็ต้องไม่ฉีด หรือถ้าผลมะม่วงยังมีความแก่ไม่ตรงตามมาตรฐานก็ต้องห้ามเก็บ เป็นต้น

ในการเปิดตาดอก เกษตรกรส่วนมากจะใช้ ไทโอยูเรีย ผสมกับ โพแทสเซียมไนเตรต (13-0-46) จะใช้สูตรเปิดตาดอก สารไทโอยูเรีย 1 กิโลกรัม บวก สาหร่าย-สกัด 300 ซีซี (ต่อน้ำ 200 ลิตร) ฉีดพ่น 2 ครั้ง ห่างกัน 5 วัน แล้วรอดูการเปลี่ยนแปลงของตายอด โดยปกติแล้วตาดอกจะเริ่มแทงหลังเปิดตาดอกครั้งแรก ประมาณ 10-15 วัน แต่ถ้าเริ่มแทงในวันที่ 3-4 โอกาสเป็นใบอ่อนจะสูงมาก

ช่อดอกมะม่วง “ระยะเดือยไก่” ต้องฉีดพ่นล้างโรคและแมลงก่อนดอกจะบาน พร้อมเพิ่มความสมบูรณ์ หลังจากที่เราเปิดตาดอกจนดอกเป็นระยะเดือยไก่ หรือมีความยาวประมาณครึ่งนิ้วแล้ว เกษตรกรจะต้องเร่งสร้างความสมบูรณ์ของดอกให้เต็มที่ เพราะช่อดอกที่มีความสมบูรณ์ ปริมาณดอกสมบูรณ์เพศจะสูง การติดผลจะง่าย ในช่วงนี้เกษตรกรส่วนใหญ่จะใช้ปุ๋ยทางใบสูตร 10-52-17 อัตรา 50 กรัม ฉีดพ่นร่วมกับฮอร์โมน “โปรดั๊กทีฟ” อัตรา 10 ซีซี (ต่อน้ำ 20 ลิตร) ปุ๋ย 10-52-17 และฮอร์โมน “โปรดั๊กทีฟ” จะช่วยเร่งความสมบูรณ์ของช่อดอก ทำให้ก้านดอกอวบใหญ่ มีสีแดงเข้ม ปริมาณดอกสมบูรณ์เพศสูงมาก ระยะเดือยไก่ นอกจากจะฉีดปุ๋ยและฮอร์โมนเพื่อสร้างความสมบูรณ์แล้ว เกษตรกรจะต้องฉีดพ่นสารเคมีกำจัดโรคแมลงไปในคราวเดียวกัน

สารป้องกันกำจัดแมลงที่เน้นในระยะนี้ ศัตรูที่เกษตรกรจะพบมากที่สุด ก็คือหนอนต่างๆ อัตราที่ใช้ให้ดูตามคำแนะนำของฉลาก ส่วนด้านโรคระยะนี้จะต้องล้างโรคให้หมด แนะนำให้ใช้สารในกลุ่มเบนโนมิล เช่น โกลคาเบน อัตรา 10 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่ม จะช่วยป้องกันการเข้าทำลายของเชื้อโรคต่างๆ ได้ดี ข้อแนะนำในการพ่นสารเคมีในระยะนี้สามารถผสมปุ๋ย ฮอร์โมน สารกำจัดโรคและแมลง ได้ในคราวเดียวกัน เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงานและประหยัดต้นทุนการพ่นสารเคมี

เคล็ดลับในการผสมสารเคมี ที่เกษตรกรต้องรู้ลำดับในการผสมสารเคมีในการฉีดพ่นมะม่วง ใส่น้ำลงในถังพ่นยาในปริมาณครึ่งหนึ่งของถัง ละลายปุ๋ยเกล็ดใส่ลงในถังเป็นอันดับแรก แล้วตามด้วยยาที่เป็นผง แต่ต้องจำไว้ว่าการผสมยาผงทุกครั้ง ต้องละลายยาผงในภาชนะอื่นก่อน แล้วค่อยเทลงในถังฉีดพ่น เพื่อป้องกันยาจับก้อน หรือการตกตะกอน (ต้องใช้ไม้กวนยาทุกครั้ง) ใส่กลุ่มฮอร์โมนและยากำจัดแมลงที่เป็นน้ำตามไป แล้วเติมน้ำให้เต็มถังฉีดพ่น หรือเต็มปริมาณที่กำหนด เติมสารจับใบเป็นอันดับสุดท้าย แล้วกวนส่วนผสมต่างๆ ให้เข้ากันอีกครั้ง ในระยะนี้ถ้าพื้นที่ปลูกมะม่วงของท่านมีน้ำรด สามารถให้น้ำได้ การให้น้ำจะช่วยให้ดอกมะม่วงมีความสมบูรณ์ การติดผลดี และช่อดอกโรยช้า

ช่อดอกมะม่วง “ระยะก้างปลา” ก่อนดอกบาน ตามปกติแล้ว มะม่วงจะมีระยะเวลาตั้งแต่แทงช่อดอก จนถึงดอกเริ่มบาน ประมาณ 20 วัน (ระยะเวลาอาจเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับพันธุ์และสภาพอากาศ) การดูแลในช่วงก่อนดอกบาน หรือดอกเริ่มบาน จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ข้อแนะนำ ในระยะนี้ยังสามารถฉีดพ่นสารเคมีได้ตามปกติ เกษตรกรจะใช้ฮอร์โมน “โปรดั๊กทีฟ” อัตรา 10 ซีซี ผสมกับสารกลุ่มแคลเซียมโบรอน เช่น โกรแคล หรือโฟแมกซ์ อัตรา 10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฮอร์โมน “โปรดั๊กทีฟ” และ สารในกลุ่มแคลเซียมโบรอน จะช่วยเรื่องความสมบูรณ์ของดอก ทำให้ดอกติดผลง่าย ลดการหลุดร่วงของผล และมีผลติดดก

ศัตรูที่ต้องระวังในระยะนี้ คือ เพลี้ยไฟ และเพลี้ยจักจั่น ซึ่งศัตรูทั้ง 2 ชนิดนี้ จะเข้าทำลายระยะดอกเริ่มบาน จนถึงระยะติดผลอ่อน สร้างความเสียหายให้แก่ช่อมะม่วงอย่างมาก แนะนำให้ใช้สารโปรวาโด อัตรา 3 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่ม จะช่วยป้องกันกำจัดแมลงดังกล่าวได้ดี หากว่าพบปัญหาการระบาดของเพลี้ยไฟที่รุนแรง แนะนำให้ใช้สารเดซิส อัตรา 10 กรัม ผสมกับ โปรวาโด 3 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร

โรคที่สำคัญในช่วงนี้จะต้องป้องกันโรคแอนแทรกโนสให้ดี เพราะจะทำให้ช่อมะม่วงเกิดความเสียหายได้สูงมาก แนะนำให้ใช้สาร “ฟลิ้นท์+แอนทราโคลโกลด์” ของ บริษัท ไบเออร์ไทย จำกัด จากประสบการณ์ชาวสวน พบว่า สารดังกล่าวสามารถป้องกันโรคแอนแทรกโนสได้ค่อนข้างดีมาก โดยใช้ ฟลิ้นท์ อัตรา 5 กรัม ผสมกับ แอนทราโคล อัตรา 30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 1-2 ครั้ง

ระยะช่อ “ดอกบาน” ต้องดูแลเป็นพิเศษ ตามปกติถ้าดอกมะม่วงบานจะต้องห้ามฉีดพ่นสารเคมีโดยเด็ดขาด เพราะการฉีดพ่นสารเคมีจะทำให้ดอกมะม่วงได้รับความเสียหาย นอกจากนั้น พิษของสารเคมียังไปทำลายแมลงที่มาช่วยผสมเกสรตามธรรมชาติ ทำให้การติดผลต่ำ หรือไม่ติดผลเลย แต่จากประสบการณ์จริงของชาวสวน พบว่า ในช่วงดอกบานจะมีศัตรูเข้าทำลายจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องฉีดพ่นสารเคมี ซึ่งศัตรูต่างๆ ที่เข้าทำลายระยะนี้ ได้แก่

เพลี้ยไฟ เป็นแมลงขนาดเล็กที่ทำลายโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงของช่อดอก ทำให้ดอกแห้ง ดอกร่วงไม่ติดผล จะระบาดหนักในช่วงอากาศร้อนและแห้งแล้ง เกษตรกรมักพบว่า เมื่อเพลี้ยไฟเข้าทำลาย ดอกมะม่วงจะแห้งอย่างรวดเร็ว ชาวสวนมักเรียก “ดอกวูบ” เมื่อเคาะดูจะพบตัวเพลี้ยไฟเป็นจำนวนมาก การป้องกัน ต้องหมั่นสังเกตช่อดอกมะม่วงบ่อยๆ โดยการเดินเคาะช่อดอกลงบนกระดาษสีขาว ถ้าพบเพลี้ยไฟปริมาณมากกว่า 5-10 ตัว ต่อช่อดอก ต้องฉีดพ่นสารเคมีทันที สารเคมีที่แนะนำในช่วงดอกบานจะต้องเป็นกลุ่มยาเย็นที่ไม่เป็นพิษกับดอก เช่น สารโปรวาโด ใช้อัตรา 3 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือใช้สารไซฮาโลทริน เช่น เคเต้ อัตรา 10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นก็ได้ เคล็ดลับการฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ แนะนำให้ฉีดพ่นในช่วงเวลาเย็นที่ลมสงบ เพราะเพลี้ยไฟจะออกหาอาหารทำให้ถูกสารเคมีได้ง่าย และช่วงเย็นอากาศไม่ร้อน ดอกมะม่วงจะไม่ค่อยเสียหาย

เพลี้ยจักจั่นมะม่วง เป็นแมลงที่ทำความเสียหายแก่ดอกมะม่วงมากที่สุดชนิดหนึ่ง โดยจะเข้าทำลายด้วยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากช่อดอก ทำให้ดอกแห้ง และร่วงหล่น ดอกมะม่วงที่โดนเพลี้ยจักจั่นเข้าทำลายอาจไม่ติดผลเลย ที่สำคัญในระหว่างที่เพลี้ยจักจั่นดูดกินน้ำเลี้ยง จะถ่ายมูลที่เป็นของเหลวคล้ายน้ำหวาน เหนียว เยิ้ม ติดตามใบและดอก ต่อมาราดำจะเข้ามาปกคลุม เป็นผลเสียต่อการเจริญเติบโตของต้นมะม่วง การป้องกัน เมื่อสังเกตเห็นเพลี้ยจักจั่น (ตัวแก่) ปริมาณ 2-3 ตัว ต่อช่อ หรือเห็นของเหลวคล้ายน้ำหวานติดอยู่ตามใบ ให้ฉีดพ่นสารโปรวาโด อัตรา 1 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทันที เพราะหากปล่อยทิ้งไว้เพียง 1 สัปดาห์ ปริมาณเพลี้ยจักจั่นจะเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ดอกมะม่วงจะถูกทำลาย ไม่ติดผลเลย

โรคแอนแทรกโนส หรือชาวสวนมะม่วงเรียก โรค “ช่อดำ” มักระบาดในช่วงที่มีฝนตกสลับกับอากาศร้อน โดยจะทำให้ช่อดอกเน่าดำ และหลุดร่วง หากสังเกตจะพบจุดดำเล็กๆ บริเวณก้านช่อดอก ช่อดอกจะเน่าดำ ลุกลามจากยอดไปยังโคนช่อดอก ทำให้ดอกมะม่วงไม่ติดผล

เคล็ดลับการเอาชนะโรคแอนแทรกโนส กรณีฝนไม่ตกหนัก อาจใช้สารเบนโนมิล (โกลคาเบน) อัตรา 6-12 กรัม ฉีดพ่น 1-2 ครั้ง ห่างกันประมาณ 7-10 วัน โดยอาจฉีดสลับกับสารแคปแทน (เมอร์แพน) อัตรา 20-30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร และให้เกษตรกรเจ้าของสวนหมั่นสังเกตช่อดอกบ่อยๆ หากพบว่า สารกำจัดโรคที่ฉีดพ่นไปเอาชนะโรคไม่ได้ (โรคลุกลามต่อเนื่อง) ให้เปลี่ยนสารเคมีทันที สารเคมีที่พิชิตแอนแทรกโนสได้ผลดีในปัจจุบัน เกษตรกรชาวสวนส่วนใหญ่แนะนำให้ใช้สารฟลิ้นท์ + แอนทราโคล เพราะสามารถป้องกันโรคแอนแทรกโนสได้แน่นอน แม้ขณะฝนตกติดต่อกันหลายวัน ที่สำคัญเป็นสารที่ฉีดพ่นแล้วไม่เป็นอันตรายต่อดอก

ดอกมะม่วงที่ฉีดพ่นด้วยสารฟลิ้นท์ + แอนทราโคล จะสด สมัคร UFABET และใสกว่าฉีดพ่นด้วยสารกลุ่มอื่น ที่สำคัญ ไม่พบปัญหาดอกแห้ง หรือดอกไหม้ เมื่อฉีดพ่นในสภาพอากาศร้อน อัตราที่แนะนำ คือ ใช้ ฟลิ้นท์ 5 กรัม และแอนทราโคล 30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 7-10 วัน ต่อครั้ง แต่หากช่วงนั้นมีฝนตกติดต่อกันทุกวัน ให้ลดระยะเวลาฉีดเหลือ 2-3 วัน ต่อครั้ง จะได้ผลดีที่สุด

ราแป้ง ภัยเงียบฤดูหนาว โรคราแป้งเป็นโรคที่พบระบาดหนักในช่วงที่มีอากาศแห้ง และเย็น (ปลายฝนต้นหนาว) เป็นโรคที่สร้างความเสียหายกับเกษตรกรชาวสวนมะม่วงอย่างมาก เพราะเป็นเหมือนภัยเงียบที่มองไม่เห็น โดยเชื้อราแป้งจะพักตัวอยู่ตามตาใบและตาดอกของมะม่วง เมื่อดอกมะม่วงบาน และสภาพอากาศเหมาะสม ราแป้งจะเข้าทำลายทันที ดอกมะม่วงที่โดนราแป้งทำลาย จะสังเกตเห็นผงสีขาวคล้ายแป้งปกคลุมบริเวณก้านดอกทำให้ดอกร่วง

ถ้าลงทำลายระยะผลอ่อนจะทำให้ผลอ่อนหักและหลุดร่วง การป้องกันราแป้ง ทำได้โดยฉีดพ่น
สารกำมะถันชนิดผง (กำมะถันทอง) อัตรา 40-50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ในระยะดอกเป็นเดือยไก่

แต่หากช่วงนั้นเกษตรกรไม่มีเวลา หรือลืมฉีด ให้ใช้สารซิสเทน-อี อัตรา 8-10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นตั้งแต่ก่อนดอกบาน 1 ครั้ง และดอกบานครึ่งช่อ 1 ครั้ง จะสามารถป้องกันการทำลายของเชื้อราแป้งเป็นอย่างดี จำไว้เสมอว่า เมื่อเข้าสู่หน้าหนาวต้องระวังโรคราแป้ง

ระยะมะม่วง “ติดผลอ่อน” ต้องฉีดพ่นเพื่อล้างโรคและแมลง ทำผิวมะม่วงให้สวย เมื่อดอกมะม่วงเริ่มโรย เราจะสังเกตเห็นผลอ่อนของมะม่วงติดผลเล็กขนาดไข่ปลาถึงหัวไม้ขีด ช่วงนี้ต้องระวังเพลี้ยไฟกับโรคแอนแทรกโนสให้มาก ระยะนี้เกษตรกรจะใช้สารเคมีที่ค่อนข้างแรง (แรงต่อแมลง แต่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค) เช่น สารไซฮาโลทริล (เช่น เคเต้) อัตรา 10 ซีซี หรือใช้สารคาร์โบซัลแฟน (เช่น เสือไฟท์) อัตรา 30-40 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นร่วมกับสารกำจัดโรคแอนแทรกโนส เช่น โพรคลอราช (เช่น เอ็นทรัส) หรือ เบโนมิล (เช่น โกลคาเบน) ซึ่งในระยะช่อดอกเริ่มโรยและติดผลอ่อนเกษตรกรต้องหมั่นดูแล เพราะหากเพลี้ยไฟ หรือโรคแอนแทรกโนสเข้าทำลายผลอ่อน ผิวจะไม่สวย ขายไม่ได้ราคา มีเคล็ดลับอีกข้อสำหรับป้องกันผลอ่อนร่วง และเร่งการเจริญเติบโตของผลอ่อน เกษตรกรจะใช้ปุ๋ยสูตร 12-12-12 อัตรา 30-140 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นร่วมกับสารจิบเบอเรลริล (GA3) ฉีดพ่น 1-2 ครั้ง จะทำให้ผลโตเร็ว ลดการหลุดร่วงของผลได้มาก