ลักษณะเนื้อไม้สีแดงเรื่อๆ หรือสีน้ำตาลอมแดง เนื้อละเอียดพอ

แข็ง เหนียว ทนทานมาก เลื่อย ไสกบ ตกแต่งได้เรียบร้อย ขัดชักเงาได้ดี ไม้แดง จัดเป็นไม้ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ นิยมนำมาใช้งานกันอย่างกว้างขวาง ไม้แดงมีความทนทานสูงมาก นำไปใช้งานกลางแจ้งได้ดี แต่ส่วนใหญ่นิยมนำไม้แดงไปใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน ทำเป็นพื้นบ้าน เครื่องมือทางเกษตร และทำเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังนิยมนำไม้แดงไปใช้ในการทำปาร์เก้ได้รับความนิยมรองจากไม้สักปาร์เก้ ใช้ทำเสา รอดตง ขื่อ ฝา ทำกระดานข้างเรือ เรือใบ เรือสำเภา คราด ครก สาก กระเดื่อง ส่วนต่างๆ ของเกวียน ทำสะพาน หมอนรางรถไฟ ด้ามเครื่องมือต่างๆ แกะสลักก็ได้ ประโยชน์ของไม้แดงทางสมุนไพร เช่น ใช้ผสมยาแก้ทางโลหิต และโรคกษัย แก้พิษ โลหิต และอาการปวดอักเสบของฝีต่างๆ เปลือกมีรสฝาดใช้สมานธาตุ ดอกผสมยาแก้ไข บำรุงหัวใจ เมล็ดรับประทานได้

ไม้ชิงชัน

ชื่ออื่นๆ ดูสะแตน เก็ดแดง อีเม็ง พะยูงแกลบ กะซิบ หมากพลูตั๊กแตน ประดู่ชิงชัน

เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ประเภทไม้ผลัดใบที่อยู่ในวงศ์ Leguminosae ชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์เดียวกับไม้ประดู่ ต้นชิงชันขยายพันธุ์โดยเมล็ด แพร่กระจายพันธุ์ตามป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณทั่วไปยกเว้นเฉพาะทางภาคใต้เท่านั้นที่ไม่สามารถแพร่กระจายพันธุ์ได้ ไม้ชิงชันเป็นไม้กลางแจ้ง สามารถขึ้นได้ดีในดินทุกประเภท ต้องการน้ำเพียงปานกลาง

ไม้ชิงชัน แข็งและเหนียว เนื้อไม้สวยงามมาก จึงนิยมใช้เป็นเครื่องเรือน เครื่องดนตรีต่าง และมีประโยชน์ด้านสมุนไพร ต้นสาธร

ชื่ออื่นๆ กระเจาะ ขะเจาะ ขะเจ๊าะ (เหนือ) กระพี้เขาควาย (ประจวบฯ) กระเซาะ สาธร (กลาง) ขะแมบ (เชียงใหม่) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้นสาธรประเภทพืชดอก เป็นไม้ต้นกึ่งผลัดใบขนาดกลาง สูง 10-20 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมแผ่กว้าง ดอกช่อแยกแขนง มีลักษณะเป็นรูปดอกถั่ว สีขาวหรือเหลืองอ่อน ออกดอกเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม ฝักแก่มีสีน้ำตาลแบนรูปหอกกลับหรือรูปขอบขนาน ขนาดของฝัก 2×4-10 เซนติเมตร เมล็ดสีน้ำตาลแดง กลมแบน ฝักแก่ประมาณเดือนตุลาคมถึงธันวาคม เปลือกนอกสีเทาอ่อนหรือสีเทา ค่อนข้างเรียบหรือแตกเป็นเกล็ดเล็ก เปลือกในสีเหลืองอ่อน พบในป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณ ในภาคกลาง เหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ ต้นสาธรเป็นไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดนครราชสีมา การใช้ประโยชน์ นิยมใช้สร้างที่อยู่อาศัย ไม้ประดับ เครื่องจักสานและเครื่องใช้สอย

มะค่าโมง

ชื่ออื่น : มะค่าใหญ่ มะค่าหลวง มะค่าหัวคำ เขง เบง บิง ปิ้น ฟันฤๅษี แต้โหล่น

ถิ่นกำเนิด : พบตามป่าดิบแล้ง แนวเชื่อมต่อระหว่างป่าเต็งรังและป่าดิบแล้ง ตามริมลำธารในป่าเบญจพรรณชื้น มะค่าโมง เป็นไม้ยืนต้นขนาดค่อนข้างใหญ่ เส้นรอบวงลำต้นที่เคยพบ ประมาณ 13 เมตร เป็นไม้ผลัดใบ ขณะผลิใบใหม่ๆ ให้สีสันสวยงาม แพรวพราวไปด้วยสีสนิมเหล็ก เมื่อกระทบกับแสงแดดยามเช้าหรือเย็น ช่างสวยจับใจ เมื่อปลูกในที่สาธารณะจะแผ่กิ่งก้านใหญ่โต กว้างขวาง แข็งแรง และสวยงามมาก ไม่หักหรือฉีกง่าย มะค่าโมง เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลแก่จังหวัดสุโขทัย

การใช้ประโยชน์ : เมล็ดอ่อน รับประทานสด หรือต้มให้สุก เมล็ดแก่ นำมาคั่ว และกะเทาะเปลือกออกแช่น้ำให้นิ่ม มีรสมัน เปลือก ให้น้ำฝาด ใช้ฟอกหนัง เนื้อไม้ และส่วนอื่นๆ ให้สีย้อมสีเหลืองและสีน้ำตาล ชาวอีสานนิยมใช้ย้อมผ้าไหมและผ้าฝ้าย เปลือกมีน้ำฝาดใช้ฟอกหนังได้ เนื้อไม้แข็ง เหนียว ทนทาน สีออกเหลืองส้ม เหมาะกับการทำเป็นไม้แปรรูปต่างๆ ได้ดี เช่น ปาร์เกต์มะค่า เครื่องเรือน และไม้บุผนังที่สวยงาม ทำเครื่องมือเกษตรกรรม เครื่องดนตรี ฯลฯ

มะค่าแต้

ชื่ออื่น : มะค่าหยุม มะค่าหนาม แต้ มะค่าลิง กอกก้อ กอเก๊าะ ก้าเกาะ กรอก๊อส และ แต้หนาม

ต้นมะค่า มี 2 ชนิด คือ มะค่าโมง พันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลแก่จังหวัดสุโขทัย และมะค่าแต้ เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลแก่จังหวัดสุรินทร์ ส่วนมะค่าแต้ พบครั้งแรกที่จังหวัดราชบุรี โดย J.E. Teijsmann ชื่อสปีชีส์ คือ siamensis นั้น ตั้งเป็นเกียรติแก่ประเทศไทย สีของใบจะแตกต่างกับมะค่าโมง ฝักมะค่าแต้ ไม่มีใครเหมือนและไม่เหมือนใคร จะมีหนามแหลมทั่วผิวฝัก ฝักขนาดเล็ก แบน ต้นเติบโตช้ากว่า ทำให้ต้นแคระกว่ามะค่าโมง และที่สำคัญคือไม่มี “ปม” ที่ถือว่าเป็นส่วนที่สวยที่สุดของไม้มะค่า ส่วนเนื้อไม้จะหยาบกว่า เสี้ยนตรง เนื้อแข็ง ละเอียด น้ำหนักมาก (จมน้ำ) สีออกน้ำตาลอ่อนสลับเข้ม สวย และนำมาใช้งานหลากหลาย แต่สู้มะค่าโมงไม่ได้ แผ่นใหญ่บิด แตกง่าย ไม่ค่อยมีลาย แต่มีความแข็งและทนทานมาก น่าจะใกล้เคียงกับไม้แดง นิยมทำเสา และโครงสร้างรับน้ำหนัก

มะค่าแต้ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 10-15 เมตร แตกกิ่งก้านแผ่กว้าง เรือนยอดเป็นรูปร่ม หรือเป็นทรงเจดีย์ต่ำ กิ่งและยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาล เปลือกต้นเรียบมีสีเทาคล้ำ ออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ผล เป็นฝักเดี่ยว ขยายพันธุ์ ด้วยการเพาะเมล็ด และการตอนกิ่ง พบการเติบโตในป่าเต็งรัง ป่าชายหาดทั่วๆ ไป และป่าเบญจพรรณแล้ง

สรรพคุณทางสมุนไพร : เปลือก ใช้ต้มแก้ซาง แก้ลิ้นเป็นฝ้า ปุ่มที่เปลือก ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้พยาธิ เมล็ด เป็นยาขับพยาธิ และทำให้ริดสีดวงแห้ง

ประโยชน์อื่นๆ : เนื้อไม้ สีน้ำตาลอ่อนหรือเป็นสีน้ำตาลแก่ เมื่อทิ้งไว้นานๆ จะเปลี่ยนเป็นสีเข้มขึ้น มีเส้นสีเข้มกว่า สลับกับเนื้อไม้ที่ค่อนข้างหยาบ แข็งแรง ทนทาน ทนปลวกได้ดี เลื่อย ผ่า ไสกบตกแต่งได้ยาก ใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนได้ดี

ฝักและเปลือก ให้น้ำฝาด ใช้สำหรับฟอกหนัง บางท้องที่นิยมใช้เปลือกต้นซึ่งให้สีแดง ใช้ย้อมเส้นไหม ลำต้นและกิ่ง ใช้ทำเป็นถ่านได้ดี ให้ความร้อนสูงมาก

เมล็ดแก่ นำเนื้อข้างในมารับประทานเป็นอาหารว่างได้ โดยเนื้อจะมีลักษณะแข็ง คล้ายกับเมล็ดมะขาม และมีรสมัน ไม้วงศ์ยาง ( ไม่รวมยางพารา )

ไม้วงศ์ยาง (Dipterocarpaceae) เป็นพืชวงศ์ใหญ่ของโลก เป็นพรรณไม้เอกลักษณ์ของภูมิภาคเอเชีย พบจำนวนมากที่สุดประมาณ 500 ชนิด จาก 700 ชนิด ทั่วโลก พรรณไม้ในวงศ์ยาง มีลักษณะลำต้นที่สูงเด่นตระหง่านกว่าไม้อื่น ๆ ในป่า จึงได้ชื่อว่า ราชาแห่งไพรพฤกษ์

หนังสือความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับพืชป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ระบุว่า ประเทศไทยมีไม้วงศ์ยาง 8 สกุล ประมาณ 60 ชนิด พบได้ทุกภาคของประเทศไทย ทั้งป่าผลัดใบและป่าไม่ผลัดใบ ได้แก่

1.สกุลไม้กระบาก (Anisoptera) เช่น กระบาก, กระบากแดง,กระบากทอง, ช้าม่วง

2.สกุลไม้ยาง (Dipterocarpus) เช่น ยางนา, ยางบูเก๊ะ, ยางขน, ยางวาด ,ยางเสียน, ยางยูงยางใต้ ,ยางกราด, ยางมันหมู ,ยางเหียง ,ยางแดง, ยางพลวง, ยางแข็ง ,ยางคาย

3.สกุลไม้เคี่ยม (Cotelelobium) มีอยู่เพียงชนิดเดียวคือ เคี่ยม

4.สกุลไม้พันจำ (Vatica) เช่น จันทน์กะพ้อ,สักปีก, พันจำเขา, สะเดาปัก ,พันจำดง ,จันทร์กระพ้อแดง, สักผา, พันจำ ,สักน้ำ, ทะลอก, สักรือเสาะ

5.สกุลไม้ไข่เขียว (Parashorea) เช่น เกล็ดเข้ , ไข่เขียว

6.สกุลไม้ตะเคียนชันตาแมว (Neobalanocarpus) คือ ตะเคียนชันตาแมว

7.สกุลไม้ตะเคียน (Hopea) เช่น ตะเคียนทอง , ตะเคียนหิน, ตะเคียนชันตาหนู ,ตะเคียนสามเส้น ,ตะเคียนรากเขา, กระบกรัง, เคียนราก, ตะเคียนเขา , เคียนรากดำ ,ตะเคียนราก, กรายดำ ,ชันภู่ ,ตะเคียนแก้ว, ตะเคียนทราย, ตะเคียนขาว, ตะเคียนใบใหญ่

8.สกุลเต็ง รังและสยา (Shorea) เช่น เต็ง , พะยอม ฯลฯ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) ได้มอบหมายจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ดำเนินมาตรการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (2560-2579) อ.อ.ป. จึงจัดกิจกรรม “ส่งเสริมเกษตรกรปลูกบำรุงไม้เศรษฐกิจในที่ดินที่มีสิทธิ์ตามกฎหมาย” ภายใต้โครงการส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อย่างยั่งยืน ลดการบุกรุกพื้นที่ของรัฐ ลดการตัดไม้ทำลายป่าธรรมชาติ ช่วยเพิ่มพื้นที่ป่าเศรษฐกิจให้กับประเทศ และแก้ปัญหาความยากจนของเกษตรกร ตามนโยบายของรัฐบาล

อ.อ.ป. ให้ทุนฟรี ปลูกไม้เศรษฐกิจ
คุณจอง มงคลสกุลฤทธิ์ ผู้อำนวยการ สำนักองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) ภาคกลาง กล่าวว่า อ.อ.ป. มีนโยบายส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจในที่ดินกรรมสิทธิ์ หรือที่ดินที่มีสิทธิการครอบครองในการใช้ประโยชน์ตามกฎหมาย เพื่อสร้างอาชีพทางเลือกให้กับเกษตรกร และสนองนโยบายรักษาและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติของรัฐบาล อ.อ.ป. คาดว่า โครงการนี้จะสามารถเพิ่มพื้นที่ป่าเศรษฐกิจให้กับประเทศไทย เนื้อที่ 500,000 ไร่ ได้ภายในระยะเวลา 20 ปี

สำหรับโครงการนี้ อ.อ.ป. ส่งเสริมเกษตรกรปลูกไม้เศรษฐกิจประเภทไม้โตเร็ว ที่มีอายุรอบตัดฟันน้อยกว่า 10 ปี เช่น ไผ่ กระถินเทพา กระถินเทพณรงค์ ยูคาลิปตัส ยางพารา ฯลฯ ซึ่งมีอัตราการปลูกเฉลี่ย 267 ต้น ต่อไร่ กลุ่มไม้เศรษฐกิจชนิดไม้โตช้า อายุรอบตัดฟันมากกว่า 10 ปีขึ้นไป ได้แก่ พะยูง ยางนา สัก ประดู่ป่า มะค่าโมง ตะเคียน ฯลฯ ซึ่งมีอัตราการปลูกเฉลี่ย 100 ต้น ต่อไร่

เกษตรกรที่สมัครเข้าร่วมโครงการสามารถปลูกไม้ยืนต้นได้ทุกสภาพดิน ไม่ว่าจะเป็นดินดีหรือดินเลวก็ตาม หากเป็นไปได้ เกษตรกรควรเลือกปลูกพันธุ์ที่เหมาะสมตามสภาพภูมิประเทศ เพื่อให้ผลผลิตที่ดีตามที่ต้องการ สำหรับไม้โตช้าหรือไม้โตเร็วที่เกษตรกรเลือกปลูกนั้น สามารถปลูกในสภาพแปลง หรือปลูกบนคันนา หรือปลูกเสริมในแปลงพื้นที่เกษตรในรูปแบบต่างๆ ก็ได้

ทั้งนี้ อ.อ.ป. จะสนับสนุนค่าใช้จ่ายเรื่องการปลูกและบำรุงรักษาแปลงปลูกไม้ยืนต้นของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการเป็นระยะเวลา 3 ปี อ.อ.ป. คาดหวังว่า โครงการนี้จะช่วยสร้างอาชีพและรายได้ที่ยั่งยืนให้แก่เกษตรกร โดยเกษตรกรที่ปลูกไม้โตเร็วจะมีรายได้เฉลี่ย 28,000 บาท ต่อราย ต่อปี และผู้ที่ปลูกไม้โตช้าจะมีรายได้เฉลี่ย 66,000 บาท ต่อราย ต่อปี เกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจ กับ อ.อ.ป. สามารถยื่นใบสมัครกับ สำนักงาน อ.อ.ป. ได้ทุกสาขาทั่วประเทศ

ตั้งแต่ ปี 2560-2561 โครงการส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจได้รับความสนใจจากเกษตรกรจำนวนมาก ปี 2560 เกษตรกรที่มีถิ่นฐานอยู่รอบสวนป่า อ.อ.ป. 7 จังหวัด สมัครเข้าร่วมโครงการนี้ไปแล้ว จำนวน 2,950 ไร่ ในปี 2561 อ.อ.ป. ขยายพื้นที่ดำเนินงานไป 36 จังหวัด มีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการแล้ว จำนวน 2,153 ราย เนื้อที่ 22,000 ไร่

ส่วนปี 2562 จะส่งเสริมเกษตรกรปลูกไม้บำรุงไม้เศรษฐกิจในพื้นที่ 24,130 ไร่ แบ่งเป็น ไม้โตช้า 4,780 ไร่ และไม้โตเร็ว 19,350 ไร่ หลังจากนั้นจะสานต่อโครงการส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจทุกปี เฉลี่ยปีละ 25,000 ไร่ ให้ครบเป้าหมาย จำนวน 500,000 ไร่ ในปี 2579

อ.อ.ป. วางแผนดูแลเกษตรกรแบบครบวงจร
ในปีนี้ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) และ บริษัท สยามฟอเรสทรี จำกัด ได้ลงนามความร่วมมือในโครงการส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจในที่ดินที่มีสิทธิ์ตามกฎหมาย และพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากไม้เศรษฐกิจร่วมกันหวังสร้างรายได้ที่ยั่งยืนให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ โดย บริษัท สยามฟอเรสทรี จำกัด เป็นผู้สนับสนุนจัดหากล้าไม้พันธุ์ดีและปุ๋ยอินทรีย์ที่มีคุณภาพให้กับ อ.อ.ป. เพื่อส่งมอบให้กับเกษตรกรตามจำนวนและระยะเวลาที่กำหนด

ขณะเดียวกัน อ.อ.ป. วางแผนจัดตั้ง เว็บแทงฟุตบอล “ตลาดกลางค้าไม้” ในเขตที่รับผิดชอบของ อ.อ.ป. โดย อ.อ.ป. จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมโยงข้อมูลการซื้อขายไม้ท่อน ไม้ฟืน เศษไม้ รวมทั้งผลิตภัณฑ์ไม้จากสวนป่าเศรษฐกิจ ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย รวมทั้งพัฒนาระบบโลจิสติกส์ในการขนส่งไม้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจ

ปลูก “มันสำปะหลัง ร่วมแปลงไม้ยูคา” โกยกำไร 2 ต่อ
คุณจอง มงคลสกุลฤทธิ์ ผู้อำนวยการ สำนักองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) ภาคกลาง พาสื่อมวลชนไปพูดคุยกับ คุณสมชิต วรวินัน อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 575 หมู่ที่ 4 ตำบลลาดกระทิง อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา 24160 โทร. 087-842-2650 หนึ่งในกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจ ประจำปี 2561 ภายใต้การดูแลของสวนป่าลาดกระทิง ของ อ.อ.ป.

คุณสมชิต เล่าว่า ปัจจุบันที่ดินผืนนี้อยู่ในเขตที่ดินของ ส.ป.ก. ครอบครัวถือได้สิทธิ์ที่ดินทำกิน จำนวน 36 ไร่ เดิมทีที่ดินแห่งนี้ใช้ปลูกมันสำปะหลังมาตลอด เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่สวนป่าลาดกระทิง ของ อ.อ.ป. มาชักชวนให้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจ ป้าก็สนใจ เพราะ อ.อ.ป. ให้การสนับสนุนกล้าพันธุ์ ค่าเตรียมแปลงปลูกและค่าใช้จ่ายดูแลแปลงปลูก จำนวน 18,000 บาท โดยแบ่งจ่ายเงินเป็นงวดๆ ตลอดระยะเวลา 3 ปี ช่วยประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่ายไปได้มาก

คุณสมชิต วรวินัน ตัดสินใจเลือกปลูกไม้โตเร็ว คือ ต้นยูคาลิปตัส เป็นไม้เรือนยอดชั้นบน ในระยะห่าง 3×3 เมตร ส่วนด้านล่าง ปลูกมันสำปะหลังเป็น 2 แถว ร่วมแปลงยูคาลิปตัส โดยวางแผนขุดมันสำปะหลังรุ่นแรกออกขายในช่วงธันวาคมปีนี้ คาดว่า จะได้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 5 ตัน ทั้งนี้ สามารถปลูกมันสำปะหลังร่วมแปลงไม้ยูคาลิปตัสได้อีก 2 รอบ หลังจากนั้นใช้เวลาอีก 4-5 ปี ดูแลแปลงปลูกต้นยูคาลิปตัสให้เติบโตแข็งแรงก่อนตัดไม้ออกขาย

บัตเตอร์นัท เป็นผลไม้กลุ่มสควอช (Cucurbita moschata) รูปทรงคล้ายน้ำเต้า เป็นฟักทองเทศที่เติบโตเป็นเถา รสชาติหวาน มัน มีสีเหลืองอ่อนและส้ม โดยที่แกนเมล็ดอยู่ด้านล่างของผล เมื่อผ่าออกมาแล้ว จะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีส้มเข้มขึ้นและจะมีรสหวานขึ้น

คุณทาริกา วงค์น้อย (พี่นิ) อยู่บ้านเลขที่ 99 หมู่ที่ 14 บ้านร่องปลาค้าว ตำบลนางแล อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย เกษตรกรสาวดีกรีปริญญาโท จากคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถึงแม้จะเริ่มเข้าสู่ชีวิตการเป็นเกษตรกรอย่างเต็มตัวได้เพียง 4 ปี แต่ระยะเวลาแค่ 4 ปี ก็สามารถทำให้พี่นิสะสมประสบการณ์มาได้ไม่น้อย