ลำน้ำสายหลักในประเทศไทยเพิ่มขึ้นจากฝนที่ตกหนักในช่วงที่

บริเวณภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างที่ยังคงมีปริมาณฝนน้อยต่อเนื่อง โดยเฉพาะแม่น้ำมูลตอนบนมีระดับน้ำน้อย สำหรับภาคกลางมีระดับปานกลางถึงน้ำมาก และภาคใต้มีระดับปานกลางถึงน้ำมาก

สำหรับ แม่น้ำเพชรบุรี ปริมาณน้ำที่ล้นออกทางระบายน้ำล้น ทำให้แม่น้ำเพชรบุรีมีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

แม่น้ำเพชรบุรี ตำบลกลัดหลวง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ระดับน้ำล้นตลิ่ง แนวโน้มระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นแม่น้ำเพชรบุรี ตำบลต้นมะม่วง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 0.54 เมตร แนวโน้มระดับน้ำทรงตัว

สำหรับสถานการณ์อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ในประเทศไทย วันที่ 9 สิงหาคม ปริมาณน้ำกักเก็บรวมทั้งประเทศอยู่ ร้อยละ 70 โดย น้ำไหลลงเขื่อนมากกว่าค่าเฉลี่ย และอยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวัง

ซึ่ง เขื่อนแก่งกระจาน มีปริมาณน้ำกักเก็บ ร้อยละ 103 เป็นน้ำใช้การได้จริง 669 ล้านลูกบาศก์เมตร สถานการณ์น้ำมีน้ำเกินความจุเก็บกัก เมื่อวานนี้มีน้ำไหลลงอ่างฯ 24.45 ล้านลูกบาศก์เมตร และระบายน้ำ 16.85 ล้านลูกบาศก์เมตร

เขื่อนวชิราลงกรณ มีปริมาณน้ำกักเก็บ ร้อยละ 85 เป็นน้ำใช้การได้จริง 4,525 ล้านลูกบาศก์เมตร สถานการณ์น้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก เมื่อวานนี้มีน้ำไหลลงอ่างฯ 61.24 ล้านลูกบาศก์เมตร และระบายน้ำ 42.74 ล้านลูกบาศก์เมตร ยังรับน้ำได้อีก 1,323 ล้านลูกบาศก์เมตร

เขื่อนน้ำอูน มีปริมาณน้ำกักเก็บ ร้อยละ 103 เป็นน้ำใช้การได้จริง 489 ล้านลูกบาศก์เมตร สถานการณ์น้ำมีน้ำเกินความจุเก็บกัก เมื่อวานนี้มีน้ำไหลลงอ่างฯ 4.84 ล้านลูกบาศก์เมตร และระบายน้ำ 4.84 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนศรีนครินทร์ มีปริมาณน้ำกักเก็บ ร้อยละ 87 เป็นน้ำใช้การได้จริง 5,196 ล้านลูกบาศก์เมตร สถานการณ์น้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก เมื่อวานนี้มีน้ำไหลลงอ่างฯ 40.06 ล้านลูกบาศก์เมตร และระบายน้ำ 19.90 ล้านลูกบาศก์เมตร ยังรับน้ำได้อีก 2,284 ล้านลูกบาศก์เมตร

เขื่อนปราณบุรี มีปริมาณน้ำกักเก็บ ร้อยละ 82 เป็นน้ำใช้การได้จริง 302 ล้านลูกบาศก์เมตร สถานการณ์น้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก เมื่อวานนี้มีน้ำไหลลงอ่างฯ 14.95 ล้านลูกบาศก์เมตร และระบายน้ำ 9.48 ล้านลูกบาศก์เมตร ยังรับน้ำได้อีก 72 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนรัชประภา มีปริมาณน้ำกักเก็บ ร้อยละ 80 เป็นน้ำใช้การได้จริง 3,192 ล้านลูกบาศก์เมตร สถานการณ์น้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก เมื่อวานนี้มีน้ำไหลลงอ่างฯ 72.70 ล้านลูกบาศก์เมตร และระบายน้ำ 8.98 ล้านลูกบาศก์เมตร ยังรับน้ำได้อีก 1,105 ล้านลูกบาศก์เมตร

เขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำกักเก็บ ร้อยละ 67 เป็นน้ำใช้การได้จริง 3,515 ล้านลูกบาศก์เมตร สถานการณ์น้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำปานกลาง เมื่อวานนี้มีน้ำไหลลงอ่างฯ 30.43 ล้านลูกบาศก์เมตร และระบายน้ำ 34.05 ล้านลูกบาศก์เมตร ยังรับน้ำได้อีก 3,145 ล้านลูกบาศก์เมตร

วาฟ ระบุว่า สำหรับสถานการณ์ฝน ช่วงวันที่ 9-11 สิงหาคม นั้น ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยและทะเลอันดามันยังคงมีกำลังแรง ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำที่ก่อตัวในทะเลจีนใต้และจะเคลื่อนตัวขึ้นปกคุลมเกาะไหหลำ ทำให้ร่องมรสุมยังคงพาดภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ส่งผลให้ประเทศไทยยังคงมีฝนเพิ่มมากขึ้น

โดยจะมีฝนตกหนักจากอิทธิพลของร่องมรสุมในภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน รวมทั้งแนวปะทะของลมมรสุมในด้านตะวันตกของประเทศ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน แม่ฮ่องสอน ตาก เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม อุดรธานี สกลนคร กาฬสินธุ์ มุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี ตราด ระนอง พังงา กระบี่ รวมทั้งชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช

ช่วงวันที่ 12-15 สิงหาคม หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคุลมเกาะไหหลำอาจทวีกำลังแรงขึ้น และเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศจีนตอนใต้ ทำให้ร่องมรสุมเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านประเทศพม่าตอนบนและประเทศเวียดนามตอนบน ส่งผลให้ภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จะมีฝนลดลงแต่ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องได้บางแห่ง ส่วนลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงมีกำลังแรง ส่งผลให้แนวปะทะของลมมรสุมในด้านตะวันตกของประเทศ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก จะยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง

ภาคตะวันออก-ใต้ อ่วม ฝนถล่ม-คลื่นสูงกว่า 3 เมตร กรมอุตุฯ เตือนระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก กรุงเทพฯ วันนี้ตกหนักไม่แพ้กัน
ภาคตะวันออก / เมื่อวันที่ 9 ส.ค. กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองหลายพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากไว้ด้วย

สำหรับบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร อ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งต่อไปอีก 1 วัน

ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรง ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองหลายพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรง

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย ตั้งแต่เวลา 06.00 น. ของวันนี้ ถึงเวลา 06.00 น. ของวันที่ 10 ส.ค.นี้ ภาคเหนือ มีเมฆมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดเชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ตาก อุตรดิตถ์ และเพชรบูรณ์ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดหนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

ภาคกลาง มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดกาญจนบุรี อุทัยธานี ชัยนาท นครสวรรค์ ลพบุรี และสระบุรี อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

ภาคตะวันออก มีเมฆมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส

ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูง 1-2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีเมฆมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-34 องศาเซลเซียส

ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

นายนิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า ปัจจุบัน การใช้น้ำภาคการเกษตรยังมีประสิทธิภาพต่ำมาก เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้น้ำกันอย่างไม่ระมัดระวังเพราะไม่มีราคา จึงทำให้น้ำจำนวนมากในระบบต้องสูญเสียไป ทั้งนี้ ถ้านำน้ำไปสนับสนุนในการปลูกพืชที่มีมูลค่าสูง เช่น อ้อย ลำไย เป็นต้น จะทำให้การใช้น้ำมีประสิทธิภาพและรายได้เกษตรกรก็จะเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับประเทศ

ภาคการเกษตร มีการใช้น้ำมากที่สุด 70-80% หรือ ประมาณ 130,000 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ของปริมาณทั้งประเทศ ถ้าสามารถโอนน้ำมาเพียง 2-3% เพื่อใช้นอกการเกษตร ขยายการบริการเขตน้ำประปาในเขตชุมชนที่ยังไม่มีน้ำประปาเพียงพอ ก็จะทำให้คุณภาพชีวิตของคนไทยดีขึ้น รวมทั้งยังลดการสูบน้ำจากใต้ดินซึ่งทำให้เกิดปัญหาดินทรุดได้ ส่วนการนำน้ำไปใช้เพื่อการอุปโภคและบริโภคและท่องเที่ยว ใช้น้ำไม่มากแต่มีประสิทธิภาพด้านมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง

ปัจจุบัน รัฐมีนโยบายการจัดการความต้องการใช้น้ำ เพื่อต้องการลดการใช้น้ำกิจกรรมที่สิ้นเปลือง โดยราคาต้นทุนในการจัดสรรน้ำอยู่ที่ 1.25 บาท หากขึ้นค่าน้ำคนกรุงเทพฯ ประมาณ 10% คาดว่าจะทำให้คนอยู่ในกรุงเทพฯ ลดการใช้น้ำลงได้ 13-14% และจะสามารถนำน้ำที่เหลือไปใช้ในภาคอื่นๆ ที่ต้องการขยายตัว เช่น อุตสาหกรรมท่องเที่ยว เป็นต้น

“ไทยแต่ละปีปลูกข้าว ประมาณ 30 ล้านตันข้าวเปลือก และมีการบริโภคเพียงครึ่งเดียว ส่วนที่เหลือส่งออกต่างประเทศ โดยเฉพาะข้าวนาปรัง ซึ่งผมมองว่าเป็นการอุดหนุนค่าน้ำให้ผู้บริโภคต่างประเทศ ดังนั้นในอนาคตต้องออกแบบให้ส่งน้ำเพื่อปลูกพืชอื่นๆ ได้ โดยใช้เทคโนโลยีและคนที่จะใช้น้ำในอนาคตจะต้องเสียเงินเพื่อแลกกับสิ่งที่ดีขึ้น โดยกรมชลฯ ก็ต้องให้ความมั่นใจระบบชลประทานกับผู้ใช้น้ำด้วย”

ทั้งนี้ ตาม พ.ร.บ. การชลประทานหลวง 2485 หลังประกาศเขตชลประทานตามมาตรา ของ พ.ร.บ. นี้ กำหนดให้จัดเก็บค่าใช้น้ำ ตามมาตรา 8 จากภาคเกษตรไม่เกิน 5 บาท ต่อไร่ ต่อปี และประปาและอุตสาหกรรม เก็บค่าชลประทานไม่เกิน 0.50 บาท ต่อ ลบ.ม. ซึ่งในขณะนี้กรมชลประทานสามารถประกาศเขตได้ 7,500 เขต แต่มีการจัดเก็บค่าใช้น้ำได้เพียง 362 ราย วงเงิน 798 ล้านบาท โดยกลุ่มนี้ใช้น้ำไปถึง 1,596 ล้าน ลบ.ม.

ภาคการเกษตร ไม่มีการเก็บค่าชลประทานเลย เนื่องจากรัฐบาลและข้าราชการระดับสูงกลัวเเรงต้านจากเกษตรกร ส่วนการประปามีการจัดเก็บค่าใช้น้ำเพียง 0.50 บาท ต่อ ลบ.ม. ประปาบางแห่งยังพบว่าไม่มีการจ่ายจริงหรือจ่ายไม่เต็ม เช่น การประปานครหลวง จ่ายค่าน้ำเฉพาะน้ำดิบจากเขื่อนแม่กลองเมื่อเฉลี่ยปริมาณน้ำทั้งหมด จะคิดเป็น 0.15 บาท ต่อ ลบ.ม. ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมมีการเก็บค่าชลประทานที่ 0.50 บาท ต่อ ลบ.ม. บางแห่งแต่ยังเก็บไม่ครบ มีการสูบน้ำฟรีจำนวนมาก เพราะยังไม่ได้สำรวจจริงจัง

ดังนั้น หากกรมชลประทานยึดบริหารจัดการน้ำเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจสูงสุด ตาม พ.ร.บ. 2548 อย่างเข้มงวด จะทำให้มีรายได้จากการใช้น้ำ ประมาณ 5,000-10,000 ล้านบาท ต่อปี และหากมีการปรับระบบการส่งน้ำชลประทานใหม่ให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของแต่ละกลุ่มการใช้น้ำ และปรับขึ้นค่าใช้น้ำให้เหมาะสมกับสถานการณ์ จะช่วยลดภาระของภาครัฐได้ ถึง 8,109-13,775 ล้านบาท ต่อปี เงินที่ได้จากการจัดเก็บค่าน้ำ ต้องแบ่งเข้ากองทุนเพื่อปรับปรุงระบบชลประทาน การใช้น้ำลดลง รองรับอนาคตที่จะเกิดภาวะโลกร้อนจะทำให้น้ำลดลง

นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผยว่า นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี จะมอบนโยบายในการพัฒนาสหกรณ์การเกษตร ในวันที่ 9 ส.ค. 2561 ก่อนการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการปรับโครงสร้างภาคเกษตรโดยกลไกสหกรณ์ ระหว่างสหกรณ์ภาคการเกษตร 777 สหกรณ์ ผู้บริหาร กระทรวงเกษตรฯ สหกรณ์จังหวัด ผู้แทนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กระทรวงพาณิชย์ และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอี แบงก์)

ทั้งนี้ ที่ผ่านมา นายสมคิด ได้สั่งการให้ใช้สหกรณ์การเกษตรที่มีการรวมกลุ่ม เกิดความเข้มแข็งที่เป็นตัวกลางในการดำเนินการเพื่อสร้างความสมดุลให้ผลผลิตการเกษตร ที่อาจเกิดปัญหาราคาตกต่ำ ถูกพ่อค้าเอาเปรียบทำให้กลไกตลาดตาย อาทิ ให้สหกรณ์ดำเนินงานโครงการชะลอการขายข้าวเปลือก ปัจจุบัน มีสหกรณ์ที่มีความพร้อมในการเก็บชะลอข้าว 344 แห่ง รวมความจุในการเก็บรักษา 529,452 ตัน ซึ่งมีสหกรณ์เข้าร่วมโครงการชะลอการขายข้าวเปลือก มีจำนวน 130 แห่ง ปริมาณ 245,828 ตัน ระยะแรกสหกรณ์จะเช่าฉาง หรือโกดังของเอกชนในการเก็บชะลอผลผลิต

“จากนโยบายที่นายกรัฐมนตรี สั่งการให้กระทรวงเกษตรฯ เร่งพัฒนาระบบสหกรณ์ ภายใต้เป้าหมาย 1 สหกรณ์ 1 อำเภอ เพื่อให้สหกรณ์การเกษตรในแต่ละอำเภอเป็นตัวแทนรับซื้อผลผลิตด้านการเกษตร เพื่อรวบรวมสินค้า ในเวลาที่ผลผลิตด้านการเกษตรออกมาพร้อมกัน แล้วพ่อค้าคนกลางไม่ซื้อ กดดันตลาดให้กลไกผิดเพี้ยน หรือตลาดตาย เมื่อสหกรณ์การเกษตรเข้ารับซื้อกลไกตลาดก็เดินได้ตามปกติ สามารถยกระดับราคาไม่ให้ถูกกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง เบื้องต้นจะเริ่มจาก ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ผลไม้ โคเนื้อ โคนม เป็นต้น”

รายงานข่าวจากกระทรวงเกษตรฯ กล่าวว่า ล่าสุดเกษตรฯ จะใช้เครือข่ายของสหกรณ์การเกษตร ในการบริหารจัดการผลไม้โดยมุ่งเน้นบริหารจัดการผลไม้ 4 ชนิด คือ ลำไย ลองกอง มังคุด เงาะ โดยมีสหกรณ์ที่รองรับผลผลิตผลไม้ได้ จำนวน 35 แห่ง มีแผนบริหารจัดการโดยสหกรณ์ปริมาณ 16,554 ตัน ประกอบด้วย ลำไย (ภาคเหนือ) ผลผลิตทั้งหมด จำนวน 386,342 ตัน จะออกสู่ตลาดช่วงเดือน ส.ค. 2561 มีสหกรณ์ที่รองรับ 16 แห่ง แผนบริหารจัดการโดยสหกรณ์ 6,000 ตัน

ลองกอง (ภาคใต้/ตะวันออก) ผลผลิตจำนวน 86,702 ตัน ออกสู่ตลาดช่วงเดือน ก.ค.-ต.ค. 2561 มีสหกรณ์ที่รองรับ 9 แห่ง แผนบริหารจัดการโดยสหกรณ์ 1,253 ตัน, มังคุด (ภาคใต้/ตะวันออก) ผลผลิตจำนวน 172,073 ตัน ออกสู่ตลาดช่วงเดือน ก.ค.-ก.ย. 2561 มีสหกรณ์ที่รองรับ 18 แห่ง แผนบริหารจัดการโดยสหกรณ์ 3,964 ตัน และ เงาะ (ภาคใต้/ตะวันออก) ผลผลิตจำนวน 258,011 ตัน ออกสู่ตลาด

“การใช้โครงข่ายสหกรณ์เพื่อบริหารผลผลิตด้านการเกษตร เชื่อมโยงตลาดให้สอดคล้องนโยบายตลาดนำการผลิต เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้ราคาสินค้าเกษตร ให้เกษตรกรขายสินค้าสูงกว่าต้นทุน ประมาณ 15-20% ใช้สหกรณ์เชื่อมโยงผลผลิตไปถึงมือผู้ซื้อ ผ่านตลาดออนไลน์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ”

สำหรับการแก้ไขปัญหาสหกรณ์ออมทรัพย์ ล่าสุด มีการยกร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหารจัดการและการกำกับดูแลสหกรณ์ออมทรัพย์ ซึ่งคณะทำงาน ประกอบด้วย รมว. เกษตรฯ เป็นประธาน รมช. เกษตรฯ เป็นรองประธาน มีผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กระทรวงการคลัง สำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ร่วมเป็นกรรมการ

สมาคมข้าว เผยข้าวไทยตลาดสดใส รับอานิสงส์ภัยพิบัติ ส่งผลกระทบต่อการผลิตข้าวในหลายประเทศ จึงปรับตัวเลขคาดการณ์ปีนี้ใหม่ มั่นใจทะลุ 11 ล้านตัน

นายเจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยถึงสถานการณ์ส่งออกและคาดการณ์แนวโน้มครึ่งปีหลัง ปี 2561 ว่า ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ การส่งออกข้าวยังมีแนวโน้มที่ดีต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดเอเชียและแอฟริกา มีความต้องการนำเข้าอย่างต่อเนื่องทั้งข้าวขาวและข้าวนึ่ง และคาดว่าในช่วงครึ่งหลังของปีความต้องการนำเข้าข้าวจากตลาดทั้งในเอเชียและแอฟริกายังคงมีอย่างต่อเนื่อง เพื่อชดเชยการผลิตข้าวที่ลดลงในหลายประเทศ
ดังนั้น ในปี 2561 นี้ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยจึงปรับประมาณการ การส่งออกข้าวเพิ่มขึ้นเป็น 11 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 5,600 ล้านเหรียญสหรัฐ จากเดิมที่เคยคาดไว้ที่ 9.5 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 4,300 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยตั้งแต่ วันที่ 1 ม.ค.- 24 ก.ค. 61 ไทยสามารถส่งออกข้าวได้แล้ว 6.23 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 1.1 % จากปีก่อน

สำหรับปัจจัยบวกที่มีผลต่อการส่งออกข้าวไทยในช่วงครึ่งปีหลัง ได้แก่ ประเทศผู้นำเข้าที่เป็นคู่ค้าของไทยมีความต้องการนำเข้าข้าวเพิ่มขึ้น เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย รวมทั้งประเทศในแถบแอฟริกา, เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าส่งผลให้ราคาข้าวไทยอยู่ในระดับที่แข่งขันได้, รัฐระบายข้าวที่บริโภคได้ในสต๊อกออกมาหมดแล้วทำให้ตลาดเข้าสู่ภาวะปกติ, พยากรณ์ปรากฎการณ์เอลนิโญ่ในบางประเทศอาจส่งผลกระทบต่อการผลิตข้าวของประเทศผู้ผลิตสำคัญ เช่น จีน และอินเดีย เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม การส่งออกข้าวก็ยังคงมีปัจจัยลบที่ต้องติดตาม ได้แก่ ปริมาณข้าวหอมมะลิมีจำกัด ซึ่ง 6 เดือน ที่ผ่านมา ผลผลิตข้าวหอมลดลงถึง 40% ทำให้ราคาสูง ซึ่งผู้ซื้ออาจชะลอการสั่งซื้อหรือหันไปซื้อจากแหล่งอื่น รวมทั้งยังขาดแคลนชนิดข้าวที่เป็นที่นิยมของประเทศผู้ซื้อ เช่น ข้าวพื้นนิ่ม ขณะที่ประเทศคู่แข่งมีการพัฒนาข้าวที่ตรงตามความต้องการของตลาด และมีราคาเป็นที่ยอมรับของผู้ซื้อ เป็นต้น