ลุยสินเชื่อผ่านมือถือ ใช้เอไอประเมินอนุมัติไวรับทันที 5 เดือน

ปล่อยกู้แล้วแสนล้านบาทนายสุรัตน์ ลีลาทวีวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า แนวโน้มเข้ามาขอสินเชื่อเพื่อขยายธุรกิจของลูกค้าธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ในช่วงเดือนมิถุนายนนี้มีอัตราเติบโตดีขึ้นและสูงกว่าช่วงเดือนก่อนหน้า โดยเฉพาะลูกค้ากลุ่มไมโครหรือมียอดขายตั้งแต่ 500,000 บาท ต่อปี ขึ้นไป นับว่าเป็นสัญญาณที่ดีของลูกค้า และจากการที่ภาพรวมเศรษฐกิจของไทย มีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น เชื่อว่าลูกค้าเอสเอ็มอีน่าจะมีความต้องการที่จะใช้เงินทุนหมุนเวียน และขยายการลงทุนเพิ่มขึ้น ทำให้ธนาคารคาดว่าจะสามารถปล่อยสินเชื่อใหม่ลูกค้าเอสเอ็มอีปีนี้ได้ตามเป้าหมายที่ 6% หรือคิดเป็นยอดสินเชื่อใหม่ที่ 240,000 ล้านบาท โดยช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา มีสินเชื่อใหม่เข้ามาแล้ว 100,000 ล้านบาท ขณะที่ยอดสินเชื่อคงค้างไตรมาสแรก อยู่ที่ 700,000 ล้านบาท ขยายตัวจากสินปี 2560 ที่ 698,000 ล้านบาท ส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ปีนี้คาดว่าไม่เกิน 5%

นายสุรัตน์ กล่าวว่า ธนาคารได้พัฒนาโมเดลการปล่อยสินเชื่อสำหรับเอสเอ็มอีขึ้นมาใหม่ผ่านช่องทาง ออนไลน์บนมือถือ โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลของลูกค้า เช่น ข้อมูลด้านเงินฝาก การใช้เครดิต และข้อมูลจากโมบายแบงก์กิ้งของธนาคาร หรือ K Plus เป็นต้น เพื่อประเมินหาความต้องการทางการเงิน และนำเสนอสินเชื่อผ่านมือถือ ซึ่งทำให้ธนาคารรู้ว่าต้องนำเสนอสินเชื่อให้ใคร ให้เท่าไหร่ ทำให้เอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบได้ง่ายมากขึ้น ตั้งเป้าหมายว่าจะมีการปล่อน สินเชื่อผ่านออนไลน์ทางมือถือราว 3,000 พันล้านบาท หรือครอบคลุมลูกค้ากว่า 6,000 ราย

นายสุรัตน์ กล่าวว่า ธนาคารได้เริ่มนำสินเชื่อเอสเอ็มอีผ่านมือถือไปตั้งแต่กลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เป็นสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกัน โดยเป็นการส่งแจ้งเข้าไปในเมนู Life Plus บน K Plus ของลูกค้า ซึ่งได้รับความสนใจและตอบรับวงเงินที่ธนาคารนำเสนอ โดยหากตอบรับข้อเสนอ ธนาคารพิจารณาอนุมัติและอนุมัติ เมื่อลูกค้าจึงตกลงรับสินเชื่อเงินจะโอนเข้าบัญชีลูกค้าทันทีภายใน 1 นาที โดยให้วงเงินสูงสุด 1 ล้านบาท ไม่ต้องใช้หลักประกันไม่ต้องยื่นเอกสาร ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยสูงสุดราว 15-16% ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงลูกค้า

ตรัง – นางดรุณี ศรีไตรรัตน์ เจ้าของสวนทุเรียน อำเภอปะเหลียน เผยว่า กำลังจะตัดทุเรียนขาย กิโลกรัมละไม่ต่ำกว่า 130 บาท แต่ปัญหาฝนตกชุกผลทุเรียนร่วงหล่น เกือบร้อยละ 40 ส่งผลให้ราคาทุเรียนสูงกว่าปีที่ผ่านมาเกือบ 30 บาท ต่อกิโลกรัม ปีที่แล้วขายทุเรียนแบบเหมาสวนได้ถึง 20 ต้น หรือกว่า 1.2 ล้านบาท ปีนี้ผลทุเรียนร่วงหล่นไปมาก คาดว่าจะทำให้รายได้ลดลงเหลือแค่ 5-6 แสนบาท แก้ปัญหาตัดทุเรียนขายเอง โดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง เพราะจะทำให้ได้ราคาที่ดีกว่าเกือบเท่าตัว และล่าสุดมีลูกค้าสั่งจองเข้ามามากแล้ว ทั้งทางโลกโซเชียล หรือเดินทางเข้ามาถึงสวนเลยทีเดียว

ปลูกทุเรียนกว่า 200 ต้น ในพื้นที่ 7 ไร่เศษ ทั้งพันธุ์หมอนทอง ก้านยาว ชะนี และสาลิกา นับตั้งแต่เมื่อปี 2534 รดน้ำ พรวนดิน ใส่ปุ๋ย ปลอดสารเคมี ทำให้ที่สวนทุเรียนแห่งนี้ติดผลก่อนสวนอื่นๆ มีกลยุทธ์การขายคือ ซื้อไปแล้วเน่าเสียมาคืนได้พร้อมแถมให้อีก 1 ลูก เป็นค่าเสียเวลา

เชียงราย – นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าฯ เชียงราย เผยว่า ที่ผ่านมาจังหวัดเชียงรายได้รับเลือกให้เป็นเขตพัฒนาเขตเศรษฐกิจชายแดน จัดตั้งระยะที่ 2 ในพื้นที่ 3 อำเภอ คือ แม่สาย เชียงแสน และ เชียงของ เชียงรายมีผลิตภัณฑ์มวลรวม 99,827 ล้านบาท รายได้เฉลี่ย 86,884 บาท ต่อคน ต่อปี จังหวัดจึงนส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ที่ให้ราคาสูง ส่วนการค้าชายแดนนั้นถือว่ามีมูลค่าการค้ามหาศาลอยู่แล้ว และภาคการท่องเที่ยวพบว่า ยังมีความแตกต่างระหว่างฤดูท่องเที่ยวและฤดูฝน จึงร่วมกับภาคเอกชนและเครือข่ายประชาชนส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ เช่น ท่องเที่ยวทางศิลปะ วัฒนธรรม ชุมชน

อุปสรรคสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจคือราคาที่ดินที่พุ่งสูง ผังเมืองกำหนดพื้นที่ไม่เหมาะสม ทำให้พัฒนาหรือสร้างโรงงานที่ใช้เครื่องจักรมากกว่า 5 แรงม้าแทบไม่ได้เลย ยางพาราต้องส่งขายจีนหรือภาคใต้ไม่ได้แปรรูปทำให้ราคาต่ำ เพราะสร้างโรงงานไม่ได้ แรงงานในพื้นที่มีผู้คนที่ถือบัตรหลากหลายผู้ประกอบการแทบไม่กล้าจ้างงาน ขอให้ภาคเอกชน นักวิชาการ นักอนุรักษ์ ฯลฯ ร่วมกันอุดช่องว่างของอุปสรรคต่างๆ ปรับเข้าหากันเพื่อได้จุดลงตัว ถ้าทำได้จะทำให้เศรษฐกิจก้าวหน้าต่อไป

ด้าน นายวิวัฒน์ ร้อยแก้ว นักอนุรักษ์จากกลุ่มรักษ์เชียงของ กล่าวว่า ที่ผ่านมาการพัฒนาเมืองเชียงรายมุ่งเน้นรองรับความต้องการของกลุ่มทุนที่จะเข้ามาลงทุนเป็นหลัก โดยเฉพาะกลุ่มทุนจีน ควรพัฒนาให้เกิดความสมดุล ใช้ความต้องการของภาคประชาชนเป็นหลัก เช่น พื้นที่ต้องการการศึกษาและวิจัยพืชพันธุ์ประเทศไทย ก็ตั้งมหาวิทยาลัยสมุนไพรอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงที่อำเภอเชียงของ เสียเลย เพราะภูมิภาคนี้อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ที่สามารถพัฒนาเป็นสมุนไพรได้อยู่แล้ว ส่วนประเทศจีนก็มีความสนใจและต้องการพัฒนาในเรื่องนี้ด้วย ดังนั้น หากจัดตั้งมหาวิทยาลัยกลุ่มทุนจีนเข้าร่วมก็จะได้ประโยชน์ด้วยกัน ทุกฝ่ายต่อไป

สสก.9 พิษณุโลก กรมส่งเสริมการเกษตร ชูแปลงใหญ่ลำไย อ.สามเงา จ.ตาก เป็นต้นแบบเกษตรแปลงใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่าย ศพก. ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการผลิตลำไยนอกฤดูคุณภาพ ร่วมกันผลิตลำไยเกรดเอ ส่งออกได้ราคาสูง

นายนิพนธ์ แรมวิโรจน์ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาบุคลากร สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร ที่ 9 จ.พิษณุโลก กรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 9 พิษณุโลก ได้ดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล โดยขับเคลื่อนเรื่องของการทำเกษตรแบบแปลงใหญ่ เพื่อแก้ปัญหาทั้งระบบ เชื่อมโยงเครือข่ายผ่านศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร หรือ ศพก.

มีวัตถุประสงค์เพื่อลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มผลผลิต รวมไปถึงแก้ปัญหาในเรื่องของการตลาดตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานการผลิตทั้งหมด ซึ่งแนวทางการขับเคลื่อนในรูปของแปลงใหญ่ที่มุ่งเน้นให้เกษตรกรรวมกันซื้อรวมกันขายทั้งผลผลิตทางการเกษตรและการจัดซื้อปัจจัยการผลผลิต เพื่อให้สามารถลดต้นทุนการผลิตได้ อย่างน้อย 20% และเพิ่มผลผลิตให้ได้ 20% ซึ่งการดำเนินงานในระดับพื้นที่ จะมีสำนักงานในระดับจังหวัดและอำเภอเป็นผู้รับผิดชอบในด้านของการดำเนินงาน ทั้งด้าน ศพก. และแปลงใหญ่ โดยยึดเกษตรกรเป็นศูนย์กลางในด้านองค์ความรู้ แล้วเข้าไปพัฒนาองค์ความรู้ตามความต้องการของเกษตร

กร สำหรับจังหวัดตากได้ขับเคลื่อนโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ มาตั้งแต่ ปี 2559 จำนวน 35 แปลง ประกอบด้วย แปลงใหญ่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 12 แปลง แปลงใหญ่ข้าว 10 แปลง และแปลงใหญ่ลำไย 5 แปลง ส่วนอีก 8 แปลง ที่เหลือ ได้แก่ มันสำปะหลัง อะโวกาโด พืชผัก มันฝรั่ง กล้วยหอม แพะ โคขุน และประมง ซึ่งกระจายอยู่อำเภอต่างๆ ของจังหวัดตาก ยกตัวอย่าง การผลิตลำไยแปลงใหญ่ ที่มีอยู่ 5 แปลง ในอำเภอวังเจ้า อำเภอบ้านตาก และอำเภอสามเงา โดยในอำเภอสามเงา มีอยู่ 3 แปลง ที่ ต. ย่านรี 2 แปลง พื้นที่รวม 1,023 ไร่ เกษตรกร 80 ราย ส่วนที่ ต. สามเงา พื้นที่รวม 445 ไร่ เกษตรกร 40 ราย และเป็นที่ตั้งของศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ประจำอำเภอสามเงาด้วย เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการผลิตลำไยนอกฤดูคุณภาพ

ด้าน ลุงมนัส โตเอี่ยม ประธานแปลงใหญ่ลำไย และเจ้าของศูนย์ ศพก. อำเภอสามเงา จังหวัดตาก เปิดเผยว่า การผลิตลำไย ของอำเภอสามเงา จังหวัดตาก มีมากว่า 30 ปีแล้ว เมื่อก่อนจะต่างคนต่างทำ แต่เมื่อ 3 ปีที่แล้ว ได้มีการรวมกันเป็นแปลงใหญ่ตามคำแนะนำของกระทรวงเกษตรฯ มีสมาชิกประมาณ 50 ราย เฉลี่ยพื้นที่ปลูก รายละ 20-30 ไร่ สมาชิกทุกคนจึงได้มีการปรึกษาพูดคุยกันมากขึ้น มีการแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น มีการปรึกษากันเกี่ยวกับการทำลำไยคุณภาพ เพื่อให้สามารถส่งออกได้และเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตได้

โดยลุงมนัส บอกว่า ส่วนตัวมีสวนลำไยอยู่ 2 แปลง รวมพื้นที่ประมาณ 20 ไร่ (แปลงหนึ่งอายุ 33 ปี มี 40 ต้น และอีกแปลงอายุ 16-17 ปี) ระยะปลูก 12×12 เมตร เลี้ยงทรงพุ่มให้กว้าง และไม่ชนกัน หลังจากปลูกไปประมาณ 3 ปี ก็เริ่มให้ผลผลิต แต่ตอนนี้เฉลี่ยที่อายุต้น 16 ปี ให้ผลผลิตประมาณ 200-250 กิโลกรัม (เป็นผลผลิตแบบคัดเกรด) สร้างรายได้ให้ประมาณ 6,000-7,000 บาท/ปี ส่งตลาดจีนเป็นหลัก ส่วนตลาดอินโดนีเซียจะอยู่ในช่วงประมาณเดือนกันยายน โดยการเก็บผลผลิตจำหน่ายจะอยู่ที่การตกลงกับคนซื้อ ถ้าเราเก็บเอง เราจะมีปัญหาด้านแรงงาน แต่ถ้าขายแบบเหมาสวน ทางพ่อค้าเขาจะมีทีมงานมาเก็บเอง ซึ่งในด้านตลาดนั้น จริงๆ แล้ว ช่วงเดือน กค.- สค. ทางอินโดนีเซียจะไม่รับซื้อของไทย เพราะเขาจะบริโภคของประเทศเขาก่อน แต่ตอนนี้เรามีตลาดหลักอีกแห่งคือ ประเทศจีน โดยจีนต้องการเบอร์ที่สวย เบอร์ใหญ่ ผิวดี โดยการซื้อขาย พ่อค้าจะเข้าไปดูที่สวน สวนไหนผลผลิตสวยได้ตรงตามมาตรฐานก็จะรับซื้อ แต่สวนไหนยังไม่ตรงตามต้องการ ลูกยังเล็กอยู่เขาก็จะยังไม่ซื้อ

“การรวมตัวเป็นแปลงใหญ่เกิดผลดีต่อเกษตรกร ทั้งด้านการวางแผนการผลิตให้ได้คุณภาพ และสามารถรวบรวมผลผลิตได้ในปริมาณที่ตลาดต้องการ โดยไม่ถูกกดราคา อีกทั้งสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนจากการรวมกันทำแบบแปลงใหญ่ คือต้นทุนการผลิตที่ลดลง ยกตัวอย่างที่สวน ใน 1 แปลง ประมาณ 10 ไร่ จะต้องใส่ปุ๋ยอยู่ประมาณ 6 กระสอบ ใส่เดือนละ 2 ครั้ง เมื่อเรารวมกันทำแบบแปลงใหญ่ มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และช่วยกันผลิตปุ๋ยสั่งตัดใช้เอง ด้วยการซื้อแม่ปุ๋ยมาผสมตามสูตร ทำให้ช่วยลดต้นทุนค่าปุ๋ยลงได้ จากการซื้อปุ๋ยเคมีใช้ ประมาณ 2,000 บาท/ครั้ง หรือลดต้นทุนได้ 4,000 บาท/เดือน นับว่าเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรมาก” ลุงมนัส กล่าวทิ้งท้าย

พล.ต.อ. อดุลย์ แสงสิงแก้ว รมว.แรงงาน เปิดเผยว่า ได้มอบนโยบายเร่งด่วนให้สำนักงานประกันสังคม ผลักดันให้แรงงานนอกระบบที่มีกว่า 2.2 ล้านคน เข้าถึงหลักประกันทางสังคม โดยให้สำนักงานแก้ไขกฎหมายประกันสังคม เพิ่มสิทธิประโยชน์และเพิ่มทางเลือกที่ 3 ที่เป็นทางเลือกให้มีในการคุ้มครองให้กับผู้ประกันตน มาตรา 40 มากขึ้น รวมทั้งแก้ไขกฎหมายคืนสิทธิให้กับผู้ประกันตน มาตรา 39 ที่สิ้นสภาพให้สามารถกลับเข้าสู่การคุ้มครองในระบบ

สำหรับ มาตรา 40 คือการขยายระบบประกันสังคมให้ครอบคลุมแรงงานนอกระบบ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ เช่น กลุ่มพ่อค้าแม่ค้า เกษตรกร รวมไปถึงพนักงานอิสระต่างๆ ขณะนี้มี 2.5 ล้านคน ได้เข้าสู่ระบบประกันสังคม ยังมีอีก 20 ล้านคน ที่ยังไม่ได้เข้าสู่ระบบประกันสังคม ทางกระทรวงจึงได้แก้ไขกฎหมายเพิ่มสิทธิประโยชน์

เพิ่มทางเลือกในการคุ้มครองให้กับผู้ประกันตน มาตรา 40 เพื่อจูงใจให้แรงงานอิสระสมัครเป็นผู้ประกันตน ส่วนมาตรา 39 คือ ผู้ประกันตนโดยสมัครใจที่มีเหตุออกจากงานเดิม เร่งแก้กฎหมายคืนสิทธิให้ผู้ที่สิ้นสภาพกว่า 7.7 แสนคน กลับเข้าสู่ระบบประกันสังคมอีกครั้ง

เกษตรกรใน ต.หนองพันจันทร์ อ.บ้านคา จ.ราชบุรี ได้นำสับประรด มามอบให้สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาประทับช้าง และสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาสน อ.จอมบึง เพื่อเป็นอาหารสัตว์ ส่งผลดีเนื่องจากเป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง จะช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่สัตว์ป่า หลังประสบภาวะสับปะรดราคาตกต่ำ

ผู้สื่อข่าวรายงาน เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ระบุว่า นายศรคีรี บัวแจ้ง และ นางสุนารี มีมาก อายุ 28 ปี สองสามีภรรยา และครอบครัว ได้นำสับปะรดที่ไร่ของตนเองปลูกไว้ในพื้นที่ ต.หนองพันจันทร์ อ.บ้านคา จ.ราชบุรี ใส่รถยนต์กระบะ ประมาณ 1,000 กิโลกรัม นำมามอบให้กับ นายบรรพต มาลีหวล หัวหน้าสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาประทับช้าง ต.ปากช่อง อ.จอมบึง จ.ราชบุรี และสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาสน ต.รางบัว อ.จอมบึง อีก 1,000 กิโลกรัม เพื่อให้สัตว์ป่าได้กินเป็นอาหาร หลังราคาสับปะรดตกต่ำในรอบหลายสิบปี ผลผลิตล้นตลาด เกษตรกรไม่รู้จะเอาไปทำอะไร บางรายได้นำไปแจกให้แก่วัด และโรงเรียน หรือเพื่อนๆ ที่รู้จัก แต่ด้วยผลผลิตที่มาก หากปล่อยให้สุกคาต้นก็จะเน่าไม่มีประโยชน์

นางสุนารี มีมาก อายุ 28 ปี อยู่บ้านเลขที่ 55/3 หมู่ 9 เปิดเผยว่า ปลูกสับปะรดในที่ของตัวเองและเช่าด้วยประมาณกว่า 30 ไร่ ผลผลิตมีมากเกือบ 100 ตัน เป็นสับปะรดกินผลสด ราคาที่ส่งขายอยู่ ประมาณกิโลกรัมละ 5 บาท เป็นในราคาทุน และจะขายเป็นสับปะรดกินผลสดเพียงอย่างเดียว ทำเป็นตลาดของแม่ค้า ส่วนโรงงานจะมีกลุ่มที่ทำสำหรับสับปะรดโรงงาน

การขายตอนนี้แย่มาก เพราะขณะนี้ราคาสับปะรดโรงงานตกต่ำ ทางโรงงานรับผลผลิตไม่ไหว อีกทั้งทางโรงงานก็นำออกมาขายคล้ายกับเป็นแม่ค้า ทำให้สับปะรดแม่ค้าของเราก็เลยราคาตกลงมา มาตีตลาดแม่ค้าสับปะรดกินผลสดเอง ความแตกต่างระหว่างสับปะรดกินผลสดกับสับปะรดโรงงานคือ หากเป็นสับปะรดโรงงานจะฉีดปุ๋ยให้ผลใหญ่ กินแล้วอาจจะกัดปาก รสชาติอมเปรี้ยวนิดๆ จนถึงรสชาติเปรี้ยว จะไม่เหมือนสับปะรดกินผลสดที่จะมีรสชาติหวานเจี๊ยบ

อย่างวันนี้ตนมีอาชีพปลูกสับปะรดและยังรับซื้อจากลูกไร่อีกส่วนหนึ่งได้นำมาให้กับเจ้าหน้าที่รวมกับของที่ไร่ตนเองจากผลผลิตที่จะคัดออก เนื่องจากตัดไม่ทันเริ่มสุกงอม ได้เอามาให้สัตว์กิน จากราคาที่ตกต่ำและระบายของไม่ทัน เนื่องจากผลผลิตมาจากหลายทางจากต่างจังหวัด จากที่เมื่อก่อนมาจาก อ.สวนผึ้ง และ อ.บ้านคา แต่ตอนนี้มาจากพื้นที่จังหวัดอื่นๆ ด้วย ทำให้ผลผลิตชนประดังกัน

อยากให้ภาครัฐช่วยคือ เรื่องสับปะรดผลสดทางเกษตรกรขายได้อยู่แล้ว แต่เนื่องจากสับปะรดโรงงานรับซื้อของเกษตรกรไม่ได้ เนื่องจากมีออเดอร์ต่ำลง ทำให้รับซื้อชาวไร่ได้ไม่มากนัก พอส่งออกไม่ได้ ผลิตไม่ได้ ทางสับปะรดโรงงานก็ต้องมาตีตลาดแม่ค้า จึงทำให้เกษตรกรจะย่ำแย่ลงทุกวันๆ เหมือนมาแย่งขายกันเอง อยากให้ภาครัฐช่วยกระตุ้นการส่งออกพืชผลสับปะรดด้วย หากมีการส่งออกดีขึ้นก็จะทำให้ผลผลิตราคาดีขึ้น ซึ่งทางกลุ่มแม่ค้าก็จะให้เกรดราคาที่ขายเหมือนกับที่โรงงานได้ตั้งไว้เหมือนกัน ถ้าโรงงานซื้อแพง ทางแม่ค้าก็จะได้ราคาแพงเช่นกัน

ซึ่งอาจจะได้ราคาแพงกว่าโรงงานนิดหน่อย ประมาณ 1-2 บาท ถ้าโรงงานซื้อขึ้นและมีการส่งออกได้ดี จะทำให้ผลผลิตดี โดยราคาประมาณ 5 บาท ทางแม่ค้าก็จะพออยู่ได้ แม่ค้าก็จะไปดีดราคาขึ้น ประมาณ 1-2 บาท เช่น เกษตรกรขายให้แก่โรงงานในราคากิโลกรัมละ 5 บาท ทางแม่ค้าก็จะปรับราคาขึ้นเล็กน้อย ประมาณ 1-2 บาท ต่อกิโลกรัม เป็นราคาประมาณ 6-7 บาท เป็นต้น ขณะที่ปัจจุบันนี้โรงงานรับซื้ออยู่ประมาณ กิโลกรัมละ 2 บาท ส่วนแผงร้านค้าขายกิโลกรัมละ 1 บาทเศษ และจะต้องติดต่อล่วงหน้าก่อนอีกด้วย ในการจะนำผลผลิตเข้าไปขายให้โรงงาน โดยปัญหาราคาสับปะรดคิดว่าคงไม่ได้ย่ำแย่ทุกปี มันน่าจะมีอะไรดีขึ้นมาบ้าง แต่หากอีก 2 ปี ไม่ดีขึ้น ยังไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาคิดว่าเกษตรกรไทยจะย่ำแย่ลงจนตาย

อย่างไรก็ตาม จากการสอบถามข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ทราบว่า ในสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาประทับช้างมีสัตว์ประมาณ 63 ชนิด กว่า 500 ตัว มีสัตว์หลายชนิดที่กินสับปะรดได้ เช่น เก้ง กวาง เม่น หมี ลิง ละอง ละมั่ง อูฐ ลิง นก ไก่ฟ้า เป็นต้น สำหรับสับปะรดเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ต่อสัตว์ป่ามากและเป็นที่ชื่นชอบของสัตว์ป่าด้วย อีกทั้งมีรสชาติเมื่อสุกแล้วจะหวาน มีวิตามินซีสูง สามารถช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันโรคให้แก่สัตว์ป่าได้อีกทางหนึ่ง นอกเหนือที่ทางเจ้าหน้าที่ของสถานีฯ จะให้กินวิตามินเพื่อเสริมให้แก่ร่างกายอยู่เป็นประจำแล้ว แต่ทั้งนี้จะต้องมีการคัดเลือกผลที่ค่อนข้างฉ่ำนำมาให้กินก่อน เนื่องจากหากเป็นผลไม่สุกมาก จะทำให้กัดลิ้น และการให้กินก็จะต้องดูประเภทของสัตว์ป่าด้วย หากเป็นสัตว์ปีกจะหั่นเป็นลูกเต๋าสี่เหลี่ยม จะได้จิกกินง่าย แต่หากเป็นสัตว์ใหญ่ เช่น อูฐ กวาง เก้ง จะสับผ่าให้กินเป็นชิ้นๆ เพื่อง่ายต่อการเคี้ยวและระบบการย่อยอาหารของสัตว์แต่ละชนิดด้วย ส่วนผลที่ยังไม่สุกเต็มที่ก็ยังสามารถเก็บไว้ให้สัตว์ได้กินต่อไปได้

ส่งออก 5 เดือนแรก มูลค่ากว่า 104,031 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 11.6% สูงสุดในรอบ 7 ปี เตรียมปรับเพิ่มคาดการณ์ส่งออกเดือนกรกฎาคมนี้ขณะที่ส่งออกพฤษภาคม ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 15 จากการฟื้นตัวของประเทศคู่ค้ากับไทย ด้านน้ำมันแพงช่วยดันราคาสินค้าเกษตรขึ้นด้วย

นางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร ผอ.สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เปิดเผยว่า การส่งออกของไทย พฤษภาคม 2561 มีมูลค่ากว่า 22,257 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 11.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 15 เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศ คู่ค้าต่างๆ และไทยสามารถกระจายการส่งออกไปยังตลาดต่างๆ ได้ ทั้ง ญี่ปุ่น ยุโรป จีน และอาเซียน ซึ่งหากหักการส่งออกน้ำมันและทองคำออก การส่งออกของไทยก็ยังคงขยายตัวได้ถึง 8%

โดยส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวถึง 12.6% กลุ่มรถยนต์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ เม็ดพลาสติกขยายตัวในระดับสูง ขณะที่กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรขยายตัวได้ 1.5% โดยข้าว ไก่สดแช่แข็งและแปรรูป ยังคงส่งออกได้ต่อเนื่อง

ส่งผลการส่งออกช่วง 5 เดือนแรกมีมูลค่า 104,031 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 11.6% สูงสุดในรอบ 7 ปี แสดงให้เห็นว่าสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกา และจีน ไม่มีผลกระทบต่อการค้าและการส่งออกของไทยมากนัก มั่นใจว่าในปีนี้จะผลักดันการส่งออกให้ขยายตัวได้ถึง 8% อย่างแน่นอน เนื่องจากค่าเงินบาทเริ่มอ่อนค่าลง ทำให้มีรายได้ในรูปเงินบาทมากขึ้น จะมีการทบทวนการประมาณการส่งออกทั้งปีใหม่ ในเดือนกรกฎาคม อีกที

ส่วนการนำเข้าเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา มีมูลค่า 21,053 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 16.6% จากการนำเข้าเชื้อเพลิง สินค้าทุนและวัตถุดิบ และไทยยังเกินดุลการค้ากว่า 1,203.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 5 เดือนแรกไทยยังเกินดุลการค้ากว่า 1,877 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับการส่งออกในปี 2561 คาดว่าจะขยายตัวได้ดี และมีการกระจายตัวมากขึ้น ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก ทิศทางราคาน้ำมันมีแนวโน้มปรับตัวลดลงเล็กน้อย โดยกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันอาจพิจารณาปรับเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อชดเชยอุปทานน้ำมันที่ลดลง แต่การใช้น้ำมันยังเติบโตอย่างตอ่เนื่อง ทำให้ราคาสูงขึ้นในระยะยาว ส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรและที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นตาม ส่วนค่าเงินบาทที่เริ่มอ่อนค่าลง เป็นโอกาสดีต่อผู้ส่งออกในการเร่งผลักดันส่งออกสินค้า แต่ต้องเฝ้าระวังสถานการณ์และ ทำประกันความเสี่ยง

เมื่อมีปัญหาการนอนไม่หลับ พักผ่อนไม่เพียงพอ ข้อสันนิษฐานแรกๆ มักจะชี้ว่า ความเครียดเป็นสาเหตุให้นอนไม่หลับ แต่ความจริงแล้วการนอนไม่หลับเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ส่วนหนึ่งเกิดจากสาเหตุที่จัดอยู่ในกลุ่มสุขนิสัยในการนอน ส่วนหนึ่งเป็นกลุ่มพฤติกรรมการใช้ชีวิต แต่ยังมีอีกหลายสาเหตุที่อยู่ในกลุ่มการป่วยเป็นโรคที่ส่งผลต่อการนอนหลับ
พญ.วรรณวิพุธ สรรพสิทธิ์วงศ์ แพทย์ทางด้านชะลอวัยของศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ยกตัวอย่าง 5 โรค ที่พบเห็นทั่วไป ซึ่งเป็นต้นเหตุของอาการนอนไม่หลับ หรือพักผ่อนไม่เพียงพอ ได้แก่