ลูกดก สด อร่อย ทนไวรัสได้ดีเยี่ยม เพิ่มรายได้ ครองใจเกษตรกร

ปัญหาโรคและแมลง คือ อุปสรรคสำคัญของการปลูกแตงกวา แถมระยะหลังเมืองไทยมีสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย ทำให้เกิดโรคแมลงมากขึ้น ในช่วงหน้าร้อน เช่น โรคไวรัส โรคราน้ำค้าง ทำให้ต้นแตงกวาเกิดอาการใบเหลือง แห้งเหี่ยว ผลผลิตไม่ได้มาตรฐาน ในช่วงอากาศร้อนมากๆ เพศของดอกจะกลายเป็นตัวผู้ ทำให้ไม่สามารถขยายพันธุ์ได้

บริษัท เจียไต๋ จำกัด ผู้นำธุรกิจเมล็ดพันธุ์อันดับหนึ่งของประเทศไทย ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น จึงได้พัฒนา “แตงกวาพันธุ์ไฮโซ” เป็นสินค้าทางเลือกใหม่ให้กับเกษตรกร โดยแตงกวาพันธุ์นี้มีลักษณะเด่นในเรื่อง ความแข็งแรงต้านทานโรคไวรัส ทนอากาศร้อนได้อย่างดีเยี่ยม ให้ผลผลิตที่คุ้มค่า สามารถตอบโจทย์ความต้องการของเกษตรกรให้มีรายได้สูงขึ้น เหมาะสำหรับปลูกเชิงการค้า

นักวิจัยของเจียไต๋ใช้เวลาทดลองปรับปรุงแตงกวาพันธุ์ไฮโซมากว่า 2 ปี ทดลองปลูกในพื้นที่จังหวัดราชบุรี เพราะเป็นพื้นที่ที่นิยมปลูกแตงกวาเป็นอย่างมาก ซึ่งพบว่าแตงกวาพันธุ์นี้แม้ว่าอากาศจะร้อนจัด ก็สามารถยังให้ผลผลิตที่ดีกว่าสายพันธุ์อื่นๆ และยังให้ขนาดมาตรฐาน

แตงกวาไฮโซ มีขนาดผลยาวประมาณ 11 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2.8 เซนติเมตร ผลตรงเรียวสวย ไม่งอ การไล่สีของผลเป็นสีขาวเขียวสวยงาม เนื้อแน่นและกรอบ ภายหลังจากที่ได้ให้เกษตรกรทดลองปลูกในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา พบว่าเกษตรกรบางรายสามารถขายผลผลิตได้ กิโลกรัมละ 20 บาท ถือเป็นราคาที่สูงมากสำหรับในช่วงหน้าแล้ง

ขั้นตอนการปลูกแตงกวา

เริ่มจาก เตรียมแปลงปลูกขนาด 1 เมตร โดยระยะห่างระหว่างแปลงยาว 1 เมตร ให้เสร็จก่อนการเพาะเมล็ด วางสายน้ำหยด 2 เส้น ต่อแปลง ก่อนปูแปลงด้วยมัชชิ่งฟิล์ม เจาะหลุมปลูก ให้มีระยะระหว่างต้น 50 ซม. และระยะระหว่างแถว 60 ซม. (จะวัดจากขอบแปลงทั้งสองด้านเข้ามา ด้านละ 20 ซม.) ปักไม้ทำค้าง ตามระยะระหว่างต้น แล้วผูกไม้ค้างเข้าหากัน ทำเป็นลักษณะของกระโจม เชื่อมแกนกลางด้วยไม้ยาว วางตลอดทั้งแนว

การเตรียมเพาะเมล็ดแนะนำให้เกษตรกรเพาะเมล็ดในวัสดุปลูก คือ พีทมอสส์สีส้ม (แบบละเอียด) รดน้ำให้ชื้น แต่ไม่ให้แฉะ เพราะอาจทำให้รากเน่าได้ หลังการเพาะต้นกล้าแตงกวาประมาณ 7-9 วัน หรือดูที่มีใบจริง ใบแรกโผล่ออกมาให้เห็น ก็เตรียมย้ายลงแปลงปลูกได้เลย โดยปลูกหลุมละ 2 ต้น คลุมแปลงปลูกด้วย spun ball เพื่อกันแมลง และในช่วงฤดูที่ฝนตกหนัก ทั้งนี้เพื่อ ป้องกันลำต้นหัก เมื่อฝนตกรุนแรงได้

การดูแลรักษา

หลังจากย้ายกล้าแตงกวาลงแปลงแล้ว ควรให้ปุ๋ย โดยใช้วิธีเดินรดไปตามต้น หรือให้ปุ๋ยละลายไปพร้อมกับการให้น้ำ ในช่วงแรกของต้นกล้าจะให้ปุ๋ยวันเว้นวัน ควรฉีดสารเคมี เพื่อป้องกันโรคราน้ำค้าง และสารเคมีป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟกับแมลงหวี่ขาว ซึ่งแมลงทั้ง 2 ชนิดนี้ เป็นตัวการที่ทำให้เกิดโรคไวรัส การป้องกันจะเน้นหนักมากในช่วงแรกก่อนที่จะถอด spun ball ออก

ในช่วงเวลา 2 อาทิตย์ หลังจากย้ายต้นกล้า แตงกวาจะโตขึ้นมาก ถอด spun ball ออก จากนั้น ผูกต้นแตงกวาขึ้นกับค้างที่ได้เตรียมไว้แล้ว จากหลุมละ 2 ต้น ให้เลือกผูกเพียง 1 ต้น โดยพิจารณาจากความสมบูรณ์ของต้นเป็นหลัก จากนั้น ตัดต้นที่เหลือทิ้ง เมื่อผูกทุกต้นขึ้นค้างแล้ว จะเริ่มมีการตัดแต่งแขนงแตงกวาได้ ทั้งนี้ การตัดแต่ง ควรเริ่มทำตั้งแต่เห็นส่วนที่เป็นแขนงใน ข้อที่ 1-5 นับจากโคนต้นขึ้นมา สามารถสกิดออกได้เลย และจะเริ่มไว้แขนงได้ตั้งแต่ ข้อที่ 6 เป็นต้นไป

เมื่อต้นแตงกวาโตขึ้น จะต้องมีการผูกยอดให้ติดแนบกับค้าง ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการปะทะกับลมที่แรงๆ โดยตรง ซึ่งจะทำให้ต้นหัก นอกจากนี้ จะทำให้ง่ายต่อการเก็บเกี่ยวผลผลิต และโอกาสในการเก็บหลงก็จะลดน้อยลง การผูกยอด ควรหยุดผูกเมื่อต้นแตงกวาโตถึงยอดค้าง

การแต่งแขนงต้นแตงกวา จะทำตั้งแต่ ข้อที่ 6 ขึ้นไปเรื่อยๆ จนกระทั่งต้นแตงกวาเจริญเติบโตจนถึงยอดค้าง การแต่งแขนงมีผลดี คือ ทำให้ลูกที่ได้มีลูกดีเป็นจำนวนมาก ลูกที่ตกเกรดจะลดน้อยลง ยิ่งแต่งแขนงเร็วเท่าไร ยิ่งเป็นผลดีต่อต้นแตงกวามากขึ้นเท่านั้น ตลอดอายุของแตงกวา ควรให้ปุ๋ย เพื่อบำรุงต้นและผล ร่วมกับการฉีดสารเคมีป้องกันและกำจัดโรคและแมลงด้วย

เมื่อแตงกวาอายุได้ประมาณ 30 วัน ก็เริ่มติดผลให้ผลผลิตได้ และสามารถเก็บได้ทุกวันต่อเนื่องกันไปจนประมาณ 20-25 มีด เนื่องจากว่าเกษตรกรส่วนใหญ่นิยมใช้พื้นที่เดิมปลูกแตงกวาตลอดทั้งปี อาจทำให้พื้นที่ดังกล่าวขาดแคลนแร่ธาตุที่จำเป็นบางอย่างของแตงกวาลงไปได้ ดังนั้น ควรมีการเพิ่มธาตุอาหารรองลงไปด้วย

การป้องกันกำจัดโรคและแมลง

โรคที่สำคัญของแตงกวา ได้แก่ โรคราน้ำค้าง และโรคไวรัส สำหรับโรคราน้ำค้าง สามารถป้องกันตั้งแต่ระยะแรกๆ ด้วยการฉีดสารเคมี สารเคมีที่ใช้ ได้แก่ โนมิวดิว เท็นเอ็ม และบาวีซาน ในบางครั้ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกัน จะใช้วิธีการผสมสารเคมีเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด สำหรับสูตรที่ใช้ร่วมกัน คือ โนมิวดิวร่วมกับเท็นเอ็ม

สำหรับโรคไวรัส ยังไม่มีสารเคมีตัวใดที่สามารถกำจัดโรคไวรัสได้ แต่เราสามารถป้องกันได้ด้วยการกำจัดแมลงที่เป็นพาหะของโรค ได้แก่ เพลี้ยไฟ และแมลงหวี่ขาว สารเคมีที่ใช้ ได้แก่ สกาย คอมโบ น็อคไดน์35 ชอสแมค ไดเมทโธเอท และไดทาฟอส และสูตรที่นิยมใช้ร่วมกัน คือ สกายร่วมกับคอมโบ ไดทาฟอสร่วมกับชอสแมค หรือน็อคไดน์35 ร่วมกับชอสแมค เป็นต้น

ทั้งนี้เกษตรกรควรใช้สารเคมีกำจัดโรคแมลง ตามสัดส่วนที่กำหนดบนฉลากของสารเคมีแต่ละชนิด โดยคำนึงถึงอายุของแตงกวาร่วมด้วย หากต้นแตงกวามีอายุน้อย ควรปรับลดปริมาณสารที่ใช้ลง และการฉีดสารเคมีตัวเดิมซ้ำแล้วซ้ำอีกในที่เดิม อาจมีผลต่อการดื้อยาได้ ดังนั้น เกษตรกรควรสลับการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดโรคและแมลงด้วย

สำหรับเกษตรกรที่สนใจเมล็ดพันธุ์ “แตงกวาพันธุ์ไฮโซ” สามารถติดต่อหาซื้อได้ที่ตัวแทนจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ของเจียไต๋ทั่วประเทศ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 02-810-3031

กรมส่งเสริมการเกษตร แจ้งเตือนวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน อย่าลืมต่อทะเบียน วิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ประจำปี 2562 ระหว่าง วันที่ 1-30 มกราคม 2562 ณ สำนักงานเกษตรอำเภอในพื้นที่

นายสำราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า วิสาหกิจชุมชน เป็นการรวมตัวทำกิจกรรมร่วมกันของคนในชุมชน เพื่อใช้ทรัพยากรที่มีในชุมชนให้เกิดคุณค่า สร้างรายได้ มุ่งสู่ประโยชน์ของกลุ่ม โดยภาคประชาชนเป็นผู้ดำเนินการ และมีหน่วยงานภาครัฐคอยสนับสนุน เพื่อให้การดำเนินกิจการของวิสาหกิจชุมชนเป็นไปอย่างต่อเนื่อง กรมส่งเสริมการเกษตรขอเชิญชวนวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน เข้ามาต่อทะเบียนวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ประจำปี 2562 ที่จะมีขึ้นในช่วง วันที่ 1-30 มกราคม 2562 โดยต้องเป็นกิจการของวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนที่ต้องมีการดำเนินการจริงอย่างต่อเนื่อง เป็นกิจการที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน พร้อมยื่นแบบ

คำขอดำเนินกิจการต่อ ประกอบด้วย แบบคำขอดำเนินกิจการต่อ (แบบ สวช. 03) แผนประกอบการ ผลการดำเนินงาน และแบบจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานของวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน หากวิสาหกิจชุมชนหรือเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนไม่ดำเนินการมาต่อทะเบียน กรณีไม่มายื่นต่อทะเบียน 2 ปีติดต่อกัน กรมส่งเสริมการเกษตร จะออกหนังสือแจ้งเตือนการต่อทะเบียน และหากไม่มาดำเนินการตามหนังสือแจ้งเตือน จะถูกเพิกถอนทะเบียนและถูกถอนชื่อออกจากทะเบียน

กรมส่งเสริมการเกษตร ขอเชิญชวนวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน จัดเตรียมเอกสารให้พร้อม และรีบยื่นต่อทะเบียนให้แล้วเสร็จ ก่อนวันที่ 31 มกราคม 2562 ณ สำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้าน หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร โทรศัพท์ 0-2955-1595

วันนี้ วันที่ 3 มกราคม นายไพโรจน์ คำทอน ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เปิดเผยว่า หลังจากมีประกาศเตือนระวังอันตรายจากฝนตกหนัก ลมกระโชกแรงจากอิทธิพลของพายุ “ปาบึก” ที่จะส่งผลกระทบต่อหลายจังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ รวมถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ช่วงวันที่ 3-5 มกราคมนี้ ในส่วนของอ่างเก็บน้ำปราณบุรี

ปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บกว่า 353 ล้าน ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) จากความจุ 391 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 90.3 ของความจุอ่าง จึงจำเป็นต้องปรับแผนบริหารจัดการน้ำในอ่างให้อยู่ในเกณฑ์ควบคุม เพื่อเตรียมพร้อมรับมวลน้ำใหม่ที่จะไหลเข้าอ่างภายใน 2 สัปดาห์ หลังจากมีฝนตกหนัก ขณะนี้ได้เพิ่มการระบายน้ำลงสู่แม่น้ำปราณบุรี ที่อัตรา 35 ลบ.ม. ต่อวินาที และจะทยอยปรับเพิ่มการระบายน้ำอีก ในช่วงวันที่ 4-6 มกราคม ในอัตรา 75 ลบ.ม. ต่อวินาที 115 และ 120 ตามลำดับ สำหรับการระบายน้ำจะส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำปราณบุรีล้นตลิ่ง

ไม่น่าเป็นเรื่องแปลก หากโรงเรียนหลายแห่งเปิดหลักสูตรเกษตรกรรม เพื่อสอนนักเรียน โดยมีเป้าหมายให้เป็นหนึ่งในทางเลือกของอาชีพ ไว้รองรับนักเรียนที่มีโอกาสศึกษาต่อไม่มากนัก

ที่โรงเรียนบ้านโคกสวาสดิ์หนองสองห้องดอนแดง หมู่ที่ 9 บ้านโคกสวาสดิ์ ตำบลนาผือ อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ มีหลักสูตรที่ได้รับการรับรองและเขียนขึ้นโดยความเห็นจากครูหลายท่านของโรงเรียน เป็นหลักสูตรการเลี้ยงผึ้ง ซึ่งมั่นใจได้ว่ามีเพียงไม่กี่โรงเรียนในประเทศที่มีหลักสูตรการเลี้ยงผึ้งสอน

เท่าที่ทราบ โรงเรียนบ้านโคกสวาสดิ์หนองสองห้องดอนแดง มีหลักสูตรนี้ขึ้น ก็เพราะ ดร.สมพงษ์ สุรารักษ์ ผู้อำนวยการโรงเรียน เป็นผู้ริเริ่ม ซึ่งที่ผ่านมา ดร.สมพงษ์ เคยริเริ่มหลักสูตรนี้ เมื่อครั้งยังสอนอยู่สถานศึกษาแห่งอื่น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 เพื่อหวังให้เป็นต้นแบบและสานต่อเจตนารมณ์ให้เด็กนักเรียนมีทางเลือกในสายอาชีพเพิ่มมากขึ้น

เมื่อดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโคกสวาสดิ์หนองสองห้องดอนแดง ในปี พ.ศ. 2548 จึงนำแนวคิดนี้มาดำเนินการอีกครั้ง โดย ดร.สมพงษ์ บอกว่า แม้จะเคยเริ่มดำเนินการในโรงเรียนแห่งอื่นมาก่อน แต่เมื่อย้ายไปยังโรงเรียนอื่น ก็จะถ่ายทอดให้กับครูที่โรงเรียนเดิมสานต่อ เพราะเห็นว่าเป็นประโยชน์กับเด็ก ครอบครัว และชุมชน

แท้ที่จริง โรงเรียนบ้านโคกสวาสดิ์หนองสองห้องดอนแดง มีกิจกรรมทางการเกษตรที่น่าสนใจหลายชนิดนอกเหนือจากการเลี้ยงผึ้ง เช่น การเพาะเห็ดนางฟ้า การปลูกผักสวนครัวปลอดสาร การปลูกไม้ผล โดยตั้งเป้าเพิ่มกิจกรรมทางการเกษตรอีก 3 ชนิด คือ การเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ การเลี้ยงกบในบ่อซีเมนต์ และการเลี้ยงจิ้งหรีดหรือกุ้ง

สำหรับการเลี้ยงผึ้ง เมื่อผู้อำนวยการโรงเรียน นำเข้ามาริเริ่มในปี พ.ศ. 2548 โดยศึกษาข้อมูลนานเกือบ 1 ปี จึงเริ่มลงมือเลี้ยงผึ้งจริงจังในปี พ.ศ. 2549 โดย ดร.สมพงษ์ บอกว่า พื้นที่แต่ละแห่งไม่เหมือนกัน จำเป็นต้องศึกษาสภาพพื้นที่ให้ดีก่อน โดยเฉพาะแหล่งอาหารของผึ้ง เพราะหากไม่มีแหล่งอาหาร การดูแลผึ้งค่อนข้างยุ่งยาก อาจต้องเคลื่อนย้ายผึ้งไปที่ที่ใกล้แหล่งอาหาร หรือต้องทำอาหารให้กับผึ้งเอง

“สภาพพื้นที่เท่าที่ศึกษา พบว่า พื้นที่ในจังหวัดอำนาจเจริญ เหมาะกับการเลี้ยงผึ้ง เพราะมีแหล่งพืชอาหารที่สำคัญของผึ้ง เช่น ดอกกระถินทุ่ง ดอกหญ้า ดอกข้าว และดอกไม้นานาชนิด ซึ่งให้เกสรที่เป็นอาหารสำคัญของตัวอ่อนผึ้ง มีดอกสาบเสือ ดอกนุ่น ดอกมะม่วง ดอกลำไย และดอกไม้ป่าอีกหลายชนิดที่สามารถให้น้ำหวาน หรือ น้ำผึ้งได้”

ในโครงการจัดการเรียนการสอนการเลี้ยงผึ้งพันธุ์ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนโคกสวาสดิ์หนองสองห้องดอนแดง ได้จัดทำเป็นหลักสูตรสาระเพิ่มเติม ส่งเสริมให้ครูจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ จัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยเน้นให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริง มีการสอดแทรกคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย สุภาพ สะอาด สามัคคี และมีน้ำใจ โดยประยุกต์ใช้คุณธรรมจากการปฏิบัติงานของนักเรียน และสังคมชีวิตภายในรังผึ้ง ให้เกิดขึ้นแก่นักเรียน และเน้นให้สัมพันธ์กับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ขั้นตอนและเทคนิคในการเลี้ยงผึ้งพันธุ์ ซื้อพันธุ์ผึ้งและกล่องเลี้ยง ราคาประมาณ 2,500 บาท ต่อ 1 กล่อง (รัง)
2. ดำเนินการเลี้ยงผึ้ง เพื่อเพิ่มประชากรผึ้งงานให้มีจำนวนมากๆ เพื่อพร้อมเก็บน้ำหวาน

3. ย้ายผึ้ง เพื่อเก็บน้ำหวานตามหมู่บ้านต่างๆ ในจังหวัดอำนาจเจริญ ประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคมของปีถัดไป โดยเก็บน้ำหวานจากดอกสาบเสือ ดอกนุ่น และดอกมะม่วง (ระยะนี้จะทำการสลัดน้ำผึ้ง โดยใช้ถังสลัดน้ำผึ้ง 3-4 ครั้ง)

4. ย้ายผึ้ง เพื่อเก็บน้ำหวานดอกลำไยที่จังหวัดลำพูน ประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเดือนเมษายน ซึ่งกลุ่มเยาวชนคนรักษ์ผึ้งโคกสวาสดิ์เป็นตัวแทนเดินทางไปพัก เพื่อสลัดน้ำผึ้งที่จังหวัดลำพูน ประมาณ 40-45 วัน

5. ย้ายผึ้งและนำผึ้งกลับจังหวัดอำนาจเจริญ และนำผึ้งเก็บน้ำหวานจากดอกไม้ป่านานาพันธุ์ในช่วงเดือนเมษายน ภายในจังหวัดอำนาจเจริญ

6. เตรียมเลี้ยงผึ้ง เพื่อเพิ่มประชากรและขยายพันธุ์ เพื่อเลี้ยงในรอบปีต่อไป

ขั้นตอนการสลัดน้ำผึ้ง การกรอง การบ่ม และการบรรจุน้ำผึ้ง

การเตรียมสลัดน้ำผึ้ง -ตรวจสภาพคอนน้ำผึ้งภายในรังที่ปิดฝาหลอดรวงมาตรฐาน (มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์)
-เตรียมอุปกรณ์สลัดน้ำผึ้ง เช่น ถังสลัดน้ำผึ้ง แปรงปัดผึ้ง มีดปาดรวงผึ้ง ถังบรรจุน้ำผึ้ง เป็นต้น

2. ขั้นตอนการสลัดน้ำผึ้ง การกรอง การบ่ม และการบรรจุน้ำผึ้ง

-นำคอนน้ำผึ้งมาตรฐานออกจากรัง

-ใช้มีดปาดไขเปิดรวงน้ำผึ้งออก

-นำคอนน้ำผึ้งเข้าถังสลัด และหมุนเหวี่ยงเพื่อสลัดน้ำผึ้ง

-กรองน้ำผึ้ง โดยใช้ถังกรองที่สะอาด

-บ่มน้ำผึ้ง เพื่อไล่ความชื้นโดยใช้หลอดไฟ ประมาณ 7 วัน

-บรรจุน้ำผึ้ง ติดสลาก คิดคำนวณต้นทุน และจำหน่าย ในการจำหน่าย ดร.สมพงษ์ บอกว่า เพราะความจริงจังในการเลี้ยงผึ้ง เพื่อเก็บน้ำผึ้งขาย ทำให้น้ำผึ้งบริสุทธิ์ที่ได้จากการเลี้ยงผึ้ง ได้รับเลือกเป็น “หนึ่งโรงเรียนหนึ่งผลิตภัณฑ์” และของฝากที่มีคุณค่าจากจังหวัดอำนาจเจริญ จัดหน่ายที่โรงเรียน และหน่วยงานต่างๆ ภายในจังหวัดอำนาจเจริญ ราคาจำหน่ายน้ำผึ้ง ประมาณ 250-300 บาท ต่อ 1 ขวด หรือ 1 กิโลกรัม

“โครงการเลี้ยงผึ้งพันธุ์ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ที่ประสบผลสำเร็จมากที่สุด เป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น นักเรียนได้ปฏิบัติจริง สามารถคิดวิเคราะห์ มีความสุขในการร่วมกิจกรรม มีรายได้ระหว่างเรียน นักเรียนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ มีการขยายเครือข่ายสู่โรงเรียนต่างๆ กลุ่มเยาวชนคนรักษ์ผึ้งโคกสวาสดิ์ และกลุ่มเกษตรกรกว้างขวาง เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ของชุมชน คณะครูและนักเรียนโรงเรียนต่างๆ”

เด็กชายชิติพัทธ์ ปัสสา หรือ น้องเสก เล่าว่า เริ่มเลี้ยงผึ้งตอนเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เริ่มแรกกลัวผึ้งต่อย แต่ตอนนี้ไม่กังวลแล้ว เพราะรู้จักวิธีป้องกันไม่ให้ผึ้งมาต่อย โดยการให้น้ำหวานกับผึ้ง จากนั้นนำที่พ่นควันมาพ่นใส่ผึ้ง เพื่อให้ผึ้งดุน้อยลง และกรณีที่อาหารของผึ้งไม่เพียงพอ ก็สามารถทำขึ้นเองได้ โดยการนำน้ำผสมน้ำตาลให้กลายเป็นน้ำหวาน เทลงไปในถาด ควรมีกิ่งไม้วางพาดไว้ เพื่อให้ผึ้งเกาะกิ่งไว้กินน้ำหวาน ไม่อย่างนั้นผึ้งอาจจะจมลงไปที่น้ำหวานก็ได้

เด็กหญิงอรสา สุขปลั่ง หรือ น้องแพน บอกว่า จากการเลี้ยงผึ้ง ทำให้เราได้รู้หลายอย่าง เช่น รู้จักนางพญาผึ้ง ซึ่งจะมีขนาดใหญ่ที่สุด และมีเพียง 1 ตัวต่อรัง ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าฝูง ในแต่ละวันจะต้องดูแลผึ้ง โดยการเช็คว่าไข่ผึ้งอยู่ดีหรือไม่ โดยสังเกตจากไข่ที่อยู่ในคอนสีขาวๆ ซึ่งระยะจากไข่ก็จะเติบโตเป็นตัวหนอน จากนั้นจึงเติบโตเป็นผึ้ง นอกจากนี้ ยังต้องสังเกตอาหารของผึ้ง เช่น ดอกไม้ ว่าเพียงพอหรือไม่ ถ้าไม่เพียงพอ ต้องผสมน้ำหวานให้ โดยเฉพาะฤดูฝนที่ออกไปหาอาหารเองได้น้อยครั้งมาก จึงต้องหมั่นสังเกตให้มาก โดยทั้งหมดที่ทำได้และเป็นความรู้ ก็ได้มาจากตำราที่ครูเขียนขึ้นเป็นตำราเรียน

ด้าน เด็กชายนฤเทพ เรืองวงศ์ หรือ น้องเต้ย กล่าวว่า ครอบครัวทำการเกษตร ได้แก่ ทำนา ปลูกผัก ในเวลาว่างจะออกไปช่วยพ่อแม่ดำกล้าในนา และเกี่ยวข้าวด้วยตัวเอง แม้ว่าจะร้อนหรือเหนื่อย แต่ก็พร้อมช่วยเหลือพ่อแม่ให้งานเสร็จสมบูรณ์ และคิดว่า หากไม่ได้มีความรู้ทางด้านการเกษตรติดตัวไว้เลย อนาคตอาจลำบากได้

สำหรับ การเลี้ยงผึ้งของโรงเรียนโคกสวาสดิ์หนองสองห้องดอนแดง ได้ถ่ายทอดความรู้ให้กับกลุ่มเยาวชนคนรักษ์ผึ้งโคกสวาสดิ์ และกลุ่มเกษตรกรเลี้ยงผึ้งอำนาจเจริญ เพื่อพัฒนาเทคนิคการเลี้ยง การขยายพันธุ์ผึ้ง และการเก็บน้ำผึ้ง ได้อย่างมีประสิทธิภาพระดับประเทศ มีเครือข่ายการจำหน่ายน้ำผึ้งบริสุทธิ์และผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับผึ้งส่งจำหน่ายออกไปยังต่างประเทศ

ในปี พ.ศ. 2560 ได้น้ำผึ้งรวมประมาณ 150 ถัง ถังละ 300 ขวด (กิโลกรัม) มีการจำหน่ายพันธุ์ผึ้งให้เกษตรกรและโรงเรียนต่างๆ ปีละ 150-200 กล่อง (ราคา 2,500-3,000 บาท ต่อกล่อง) และน้ำผึ้งบริสุทธิ์ของโรงเรียนและเครือข่าย ได้รับการคัดเลือกเป็น “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” เป็นของฝากที่มีคุณค่าจากจังหวัดอำนาจเจริญ

หากสนใจเข้าเยี่ยมชมหรือศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการเลี้ยงผึ้ง โรงเรียนโคกสวาสดิ์หนองสองห้องดอนแดง ยินดีต้อนรับ ติดต่อได้ที่ ดร.สมพงษ์ สุรารักษ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนโคกสวาสดิ์หนองสองห้องดอนแดง โทรศัพท์ 081-760-4604 หรือประสานงานไปที่ โรงเรียนบ้านโคกสวาสดิ์หนองสองห้องดอนแดง หมู่ที่ 9 บ้านโคกสวาสดิ์ ตำบลนาผือ อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ ได้ในวัน

“…ร่วมกันก็หมายความว่าสมาชิกในแต่ละสหกรณ์ จะต้องเพาะความสามัคคีกัน ความเข้าใจอันดีซึ่งกันและกัน และสหกรณ์ต่างๆ ก็จะต้องพยายามที่จะอุดหนุนส่งเสริมกัน แลกเปลี่ยนความคิดกัน เพื่อประโยชน์ของแต่ละคน มิใช่เพื่อประโยชน์ของ คำว่า สหกรณ์เท่านั้น…”

อำเภอลับแล หรือ เมืองลับแล เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นเมืองล้านนาโบราณมีมาตั้งแต่สมัยก่อนกรุงสุโขทัย คำว่า “ลับแล” นั้น ตามข้อสันนิษฐานว่า เดิมชาวเมืองแพร่ เมืองน่าน หนีข้าศึกและความเดือดร้อนมาซุ่มซ่อนตั้งชุมชนอยู่บริเวณนี้ เนื่องจากเป็นที่ป่ารก หลบซ่อนตัวง่าย และภูมิประเทศเป็นเมืองอยู่ในหุบเขามีที่เนินสลับกับที่ต่ำ คนต่างเมืองถ้าไม่คุ้นเคยกับภูมิประเทศจะหลงทางได้ง่าย

เมืองลับแล มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์สำหรับการเพาะปลูก ชาวเมืองลับแลส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร พืชผลที่ทำรายได้ และสร้างชื่อเสียงให้กับเมืองลับแล คือ ลางสาด ทุเรียน หอมแดง และยามว่างจากการทำสวน ทำไร่ ทำนา ชาวเมืองลับแลยังผลิตสินค้าหัตถกรรมที่สร้างชื่อเสียงให้กับเมืองลับแล ได้แก่ ผ้าตีนจก ผ้าห่ม ไม้กวาดตองกง

“เมืองลับแล” ยังมีของดีๆ นอกจากผลไม้เลื่องชื่ออย่างลางสาด ทุเรียนแล้ว “ข้าวพันผัก” ก็เป็นอาหารที่ผู้ที่ได้ไปเยือน สมควรได้มีโอกาสลิ้มลอง

“ข้าวพันผัก” ผลิตภัณฑ์จากกลุ่มข้าวพันผักภูมิลับแล สังกัด สหกรณ์การเกษตรเมืองลับแล จำกัด เป็นเมนูยอดฮิตของเมืองลับแล มีหน้าตาคล้ายกับข้าวเกรียบปากหม้อของคนภาคกลาง เป็นภูมิปัญหาชาวบ้านที่มีตั้งแต่ดั้งเดิมมาแล้ว โดยนำผักที่มีอยู่รอบรั้วบ้าน อาทิ ผักบุ้ง ฟักทอง ตำลึง มาผสมกับวุ้นเส้น พันกับแผ่นแป้ง เมื่อสุกก็แต่งด้วยเครื่องเคียง และรับประทานเป็นอาหารว่าง ที่ให้คุณค่าทางโภชนาการ และทำให้สุขภาพดีอีกด้วย

นอกจากนี้ กลุ่มข้าวพันผักภูมิลับแล ยังมีผลิตภัณฑ์แนะนำอีก อาทิ ข้าวพันผักสมุนไพร ข้าวแคบ หมี่พันลับแล