ล่าสุดกระทรวงเกษตรฯได้รับนโยบายแผนแม่บทสมุนไพรแห่งชาติ

และร่วมบูรณาการกับ 5 กระทรวง โดยมีกระทรวงสาธารณสุขเป็นหน่วยงานหลัก เราจึงมาคิดว่าในส่วนของต้นน้ำวัตถุดิบจังหวัดไหนมีศักยภาพโดดเด่นและมีพื้นที่เหมาะสมปลูกพืชสมุนไพร และจะทำอย่างไรให้เกิดการส่งเสริมและสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจภายในประเทศ ให้เกษตรกรรายย่อยปลูกพืชสมุนไพรเชิงเศรษฐกิจเพื่อต่อยอดเป็นอุตสาหกรรม จึงกำหนดให้ 10 จังหวัดนี้เป็นพื้นที่นำร่องพัฒนารวมกลุ่มแปลงใหญ่ มีตลาดรองรับที่แน่นอน เสริมพื้นที่ให้เป็นลักษณะการปลูกพืชผสมผสานมากขึ้น และจะขยายพื้นที่อีกในอนาคต”

ปัจจุบัน กระทรวงสาธารณสุขได้เปิดแผนกดูแลผู้ป่วยนอกด้วยการแพทย์แผนไทยคู่กับแผนปัจจุบันและเปิดโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสานอีก 12 แห่งทั่วประเทศ ทำให้มีความต้องการสมุนไพรเพิ่มขึ้น

พาณิชย์ ระดมร้านค้าปลีกร่วมธงฟ้าประชารัฐ 5,000 แห่ง รองรับนโยบายประชารัฐสวัสดิการ ขีดเส้น 8 ก.ย.นี้ ส่งไม้ต่อกรมบัญชีกลางติดตั้งเครื่องรูดบัตรทันใช้ 1 ต.ค. 2560
ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า จากที่รัฐบาลมีนโยบายจะลดค่าครองชีพผู้มาลงทะเบียนรายได้น้อยที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 11.67 ล้านคน โดยให้ได้รับส่วนลดในการซื้อสินค้าที่จำเป็น วัสดุทางการศึกษา และวัตถุดิบทางการเกษตร จากร้านธงฟ้าประชารัฐที่เข้าร่วมโครงการกับกระทรวงพาณิชย์ ในอัตราคนละ 200-300 บาท ต่อเดือน พร้อมได้สิทธิลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง รวมถึงค่าก๊าซหุงต้มด้วย โดยกำหนดให้พร้อมจำหน่ายและบริการแก่ผู้ถือบัตร ในวันที่ 1 ตุลาคม 2560 นั้น

ล่าสุด นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ สั่งการให้พาณิชย์จังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งจากกรมการค้าภายใน กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และสำนักงานพาณิชย์จังหวัด ดำเนินการจัดหาร้านค้าเข้าร่วมโครงการจัดจำหน่ายสินค้าธงฟ้าประชารัฐในราคาลดพิเศษ การจัดหาผู้ผลิต ผู้ค้าส่ง เพื่อเชื่อมโยงการซื้อขายสินค้า ตลอดจนการประชาสัมพันธ์ให้
ผู้ถือบัตร และผู้บริโภคทั่วไปได้ใช้บริการอย่างทั่วถึง โดยกำหนดเป้าหมายให้มีร้านค้าธงฟ้าประชารัฐกระจายลงสู่ชุมชน ทั้งในพื้นที่ชนบทและชุมชนเมืองทั่วประเทศไม่ต่ำกว่า 20,000 ร้านตามความหนาแน่นของประชากร แต่อย่างน้อยจะต้องมีตำบลละ 1 ร้านค้า

ความคืบหน้าตั้งแต่วันที่ 3-6 กันยายน 2560 มีร้านค้าเข้าร่วมโครงการแล้ว 4,506 แห่ง โดยจังหวัดที่มีร้านค้าเข้าร่วมโครงการมาก ได้แก่ อุดรธานี 315 แห่ง อุบลราชธานี 155 แห่ง ลำพูน 149 แห่ง พิษณุโลก 123 แห่ง ร้อยเอ็ด 112 แห่ง บุรีรัมย์ 110 แห่ง สุโขทัย 108 แห่ง สุรินทร์ 107 แห่ง นครสวรรค์ 103 แห่ง และสกลนคร 103 แห่ง ซึ่งคาดว่าถึง 1 ตุลาคม 2560 จะมีร้านค้าครบและทั่วถึงตามเป้าหมาย

“ทีมเจ้าหน้าที่ได้ออกพบปะเชิญชวนร้านค้าปลีกรายย่อยในเครือข่ายร้านค้าชุมชน ร้านค้าสหกรณ์ กองทุนหมู่บ้าน วิสาหกิจชุมชน การเคหะฯ ฯลฯ เข้าร่วมโครงการ โดยร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับการติดตั้งเครื่องรูดบัตรฟรี การซื้อขายสินค้าให้ชำระเงินผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่ราชการออกให้ โดยรัฐบาลจะชำระเงินค่าสินค้าแทนผู้ถือบัตรให้แก่ร้านค้าเป็นรายวัน และจะโอนเงินเข้าบัญชีภายใน 3 วัน คาดว่าเมื่อดำเนินการเต็มรูปแบบร้านค้าธงฟ้าประชารัฐจะสามารถให้บริการผู้ถือบัตรได้อย่างทั่วถึง คาดว่าจะมีการใช้เงินผ่านบัตรเดือนละ 3,200 ล้านบาท หรือทั้งปีไม่ต่ำกว่า 38,000 ล้านบาท”

ในส่วนของผู้ผลิตสินค้าที่จำเป็นในการครองชีพ วัตถุดิบในการผลิตสินค้าเกษตร และอุปกรณ์การศึกษา ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ ให้ยื่นความจำนงได้ที่สำนักจัดระบบราคาและปริมาณสินค้า กรมการค้าภายใน หรือโทรศัพท์ หมายเลข (02) 507-5671 หรือสายด่วน 1569

นางสาวบรรจงจิตต์ อังศุสิงห์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ทุกหน่วยงานที่รับหน้าที่จัดทำรายชื่อร้านค้าเข้าร่วมโครงการบัตรคนจน ต้องส่งรายชื่อในวันที่ 8 กันยายนนี้ ให้กรมบัญชีกลางนำไปดำเนินการติดเครื่องรูดบัตร (EDC) เพื่อให้ทันเริ่มในวันที่ 1 ตุลาคมนี้ ส่วนของพาณิชย์มี 3 หน่วยงาน ที่ทำหน้าที่รวบรวม คือ กรมพัฒนาธุรกิจ รวบรวมรายชื่อร้านโชห่วยในเครือข่าย ซึ่งขณะนี้รวบรวมได้ประมาณ 5,000 ร้าน ในพื้นที่ 50 จังหวัด และยังมีร้านค้าในเครือข่ายของกรมการค้าภายใน และสำนักงานพาณิชย์จังหวัด อีกส่วนหนึ่ง นอกจากนี้ ในส่วนกองทุนหมู่บ้าน ซึ่งจะดึงร้านค้าชุมชน, การเคหะฯ และสหกรณ์ต่าง ๆ มาร่วม จำหน่ายสินค้าอุปโภค-บริโภคที่จำเป็น ในราคาปกติ หรืออาจมีบางร้านที่จัดโปรโมชั่นลดราคาด้วย

หลังจากนี้กรมฯมีแผนจะเชื่อมโยงร้านธงฟ้าประชารัฐเข้ากับโครงการไฮบริดโชห่วยที่กรมฯกำลังดำเนินการ โดยขณะนี้โครงการมีความคืบหน้าไปอย่างมาก ทางบริษัทไปรษณีย์ไทยกำลังติดตั้งระบบ POS (Point of Sale) คาดว่าจะเปิดตัวได้ภายในปีนี้ 50 แห่ง

พาณิชย์ มั่นใจส่งออกอัญมณีฯโค้งสุดท้ายพลิกเป็นบวก หลังปมร้อนเกาหลีดันราคาทองคำพุ่ง จับมือเอกชนเดินหน้า “ฮับอัญมณี” ใน 3 ปี ยกเครื่องแรงงานฝีมือช่างทอง บิวตี้เจมส์ เชียร์รัฐก๊อบโมเดลหลุยส์ วิตตอง สร้าง “Time Capsule” ตลาดส่งออกหลัก พร้อมแผนโปรโมตแลนด์ออฟจิวเวลรี่ดึงนักท่องเที่ยวช็อปเครื่องประดับ
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า สถานการณ์การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับในช่วง 7 เดือนแรกปีนี้ ยังติดลบ 26.68% เป็นผลจากการส่งออกสินค้ากลุ่มทองคำ ซึ่งเป็นสินค้าที่มีสัดส่วนส่งออกสูงมากในกลุ่มนี้ได้ปรับตัวลดลง 59% ตามราคาทองคำในตลาดโลก แต่หากหักทองคำออกส่งออกจะลดลงเพียง 0.59% เท่านั้น
คาดการณ์การส่งออกในช่วง 5 เดือนหลังน่าจะปรับตัวดีขึ้น จากราคาทองคำในตลาดโลกขยับตัวสูงขึ้น ส่วนปัจจัยเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนแข็งค่าจะมีผลดีต่อการนำเข้าทองคำมาผลิตชิ้นส่วนงานเครื่องประดับทอง ดังนั้น จึงน่าจะทำให้ภาพรวมการส่งออกสินค้ากลุ่มนี้ พลิกกลับมาเป็นบวกได้ จากเป้าหมายการส่งออกที่คาดว่าจะขยายตัว 5%
“อัญมณีเป็นสินค้าส่งออกที่มีความสำคัญต่อประเทศ กระทรวงตั้งเป้าหมายจะให้ไทยเป็นศูนย์กลางอัญมณีโลกในอีก 3 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะการเป็นศูนย์กลางพลอยสี ที่ไทยพร้อมตั้งแต่ต้นน้ำ-ปลายน้ำ จะมีการจัดประชุมสมาพันธ์อัญมณีและเครื่องประดับโลก (CIBJO Congress 2017) ในวันที่ 2-7 พฤศจิกายนนี้”
นอกจากนี้ ยังได้หารือกับเอกชนส่งเสริมและพัฒนาฝีมือแรงงานในอุตสาหกรรม โดยดึงแรงงานในภาคเกษตรเข้ามาฝึกหัด เพื่อช่วยเหลือสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร และช่วยลดปัญหาการขาดแรงงานฝีมือในอุตสาหกรรม

ส่วนงาน Bangkok Gems & Jewelry 2017 ซึ่งจัดขึ้นระหว่าง 6-8 กันยายนนี้ ในโอกาสจัดงานครบ 60 ครั้งจึงได้เพิ่มจำนวนคูหา 2,130 คูหา มีกิจกรรมพิเศษ เช่น การจัดแสดงสินค้าเครื่องประดับสำหรับตลาดเฉพาะกลุ่ม การประกวดทับทิม คาดว่าจะมีผู้เข้าชมงาน 20,000 คน มีคำสั่งซื้อ 1,600 ล้านบาท
นายสุริยน ศรีอรทัยกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท บิวตี้เจมส์ จำกัด กล่าวว่า ส่งออกอัญมณี 7 เดือนที่ติดลบ ไม่ได้มาจากสายอุตสาหกรรมผู้ผลิต (เรียลเซ็กเตอร์) เช่น เครื่องประดับจากทอง เงิน พลอย มุก และเพชร กลุ่มนี้ยังขยายตัว แต่สาเหตุหลักในการติดลบมาจากกลุ่มทองคำยังไม่ขึ้นรูป ซึ่งมีมูลค่าส่งออกประมาณปีละ 2 แสนล้านบาทจากทั้งหมดของอุตสาหกรรม 4-5 แสนล้านบาท กลุ่มนี้ส่งออกลดลง

เพราะเมื่อช่วงต้นปีราคาทองคำลดลง มีการนำเข้าและเก็งกำไรกันมาก แต่ขณะนี้ราคาทองคำในตลาดโลกปรับสูงขึ้น 2-3% จากเหตุการณ์ความตึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลี ทำให้ผู้ที่มีทองคำเริ่มส่งออกในช่วงกันยายน-ธันวาคม จะเริ่มเห็นตัวเลขดีขึ้นไปเป็นบวก มีผลทำให้ภาพรวมการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับในปีนี้ ขยายตัว 2.5%
“การปรับขึ้นลงของราคาทองคำในตลาดโลกขณะนี้ยังไม่ได้ผันผวนจนน่าห่วง แต่เป็นไปตามกลไกตลาด เมื่อราคาลดลงมีการนำเข้ามาเพื่อสต๊อกไว้จนราคาปรับสูงขึ้นจะมีการส่งออก”

ในอีกด้านราคาทองที่ปรับสูงขึ้นจะมีผลกับต้นทุนการผลิตอัญมณีที่ใช้ทองเป็นส่วนประกอบ แต่สัดส่วนไม่มาก ประมาณ 15% เท่านั้น ที่เหลือเป็นวัตถุดิบอื่นอีก 15% ค่าแรง 7-8% ซึ่งปกติเอกชนจะบริหารจัดการต้นทุนการผลิตอยู่แล้ว
ทั้งนี้ ได้เสนอให้รัฐจัดทำ “Time Capsule” นำแบรนด์หลักของไทย 17 แบรนด์ รุกตลาดส่งออกสำคัญ เช่น ฝรั่งเศส อังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐ และดูไบ เพื่อประชาสัมพันธ์สินค้าและงานดีไซน์ เช่นเดียวกับผู้ผลิตสินค้าแบรนด์หลุยส์ วิตตอง มาตั้ง ”Time Capsule” ที่ห้างสยามพารากอน นอกจากนี้ เอกชนพร้อมจะสนับสนุนโนว์ฮาวการฝึกอบรมแรงงานฝีมือ เช่น ช่างทอง “ทองสุโขทัย” หรือแรงงานเจียระไนพลอย เพื่อเสริมความเข้มแข็งในอุตสาหกรรม
พร้อมกันนี้ ได้หารือกับกระทรวงพาณิชย์ถึงแผนกระตุ้นตลาดในประเทศ โดยก่อนหน้านี้ได้หารือกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อจัดทำโครงการ+ “Amazing Thailand Land Of Jewelry” ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในประเทศปีละ 30-40 ล้านคน ซื้อสินค้าอัญมณี ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของประเทศกลับไป ขณะนี้อยู่ระหว่างเตรียมจัดทำโลโก้ คาดว่าจะสรุปได้ในเร็วๆ นี้

นายวีระชัย กวีธีระวัฒน์ ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาลัยชุมชน (สวชช.) เปิดเผยผลการประชุมผู้บริหารวิทยาลัยชุมชน (วชช.) ทั่วประเทศ เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ตนได้มอบนโยบายและจุดเน้นของวิทยาลัยชุมชนให้ผู้บริหาร วชช.นำกลับไปดำเนินการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการให้แต่ละ วชช.เน้นจัดการเรียนการสอนตามจุดแข็งและจุดเด่นที่ตัวเองมีอยู่ ยกตัวอย่างเช่น วชช.พิจิตร ที่ผ่านมามีจุดเด่นด้านการพัฒนานวัตกรรมต่างๆ

ก็ขอให้เน้นจัดการเรียนการสอนเรื่องการสร้างนวัตกรรมเพื่อชุมชน
ส่วน วชช.ยโสธร โดดเด่นด้านการพัฒนาการจัดการศึกษาที่ยั่งยืนในทุกกลุ่มวัย ตั้งแต่เด็กจนถึงคนชรา ก็ขอให้ดำเนินงานอย่างเข้มข้นต่อไป สำหรับ วชช.แพร่ ขอให้เน้นจัดการเรียนการสอนเรื่องการดูแลผู้สูงอายุ ขณะที่ วชช.ตราด เน้นสอนเรื่องการแปรรูปสินค้าอาหารทะเล หรืออย่าง วชช.แม่ฮ่องสอน โดยเด่นเรื่องการสอนเรื่องท่องเที่ยวแบบชุมชน ก็ขอให้คงความเข้มข้นเพื่อประโยชน์ของชุมชนต่อไป

เบื้องต้นได้มอบหมายให้ผู้บริหารวิทยาลัยชุมชนทุกแห่ง นำนโยบายที่มอบให้กลับไปคิด จากนั้นให้จัดทำแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนเสนอกลับมาให้สวชช. เพื่อส่งคณะทำงานลงไปวิเคราะห์แผนการดำเนินงานร่วมกับวิทยาลัยชุมชนแต่ละแห่ง หากมีแผนการดำเนินงานที่สมบูรณ์และชัดเจนแล้ว สวชช.จะจัดสรรงบประมาณลงไป เพื่อให้การดำเนินงานเห็นผลอย่างจริงจังต่อไป

“ที่ผ่านมาเราอาจจัดการศึกษาแบบสะเปะสะปะ มองไม่เห็นจุดเด่นของตัวเอง แต่นับจากนี้ไปวิทยาลัยชุมชนทุกแห่งต้องมองเห็นอนาคต และกำหนดจุดเด่นที่ตัวเองจะต้องก้าวเดินไปข้างหน้า เงินงบประมาณที่ลงไปจะได้ไม่ตกน้ำแล้วหายไปเฉยๆ ซึ่งเป็นที่น่ายินดีที่ผู้บริหารทุกจังหวัดเห็นตรงกันในเรื่องนี้ ดังนั้นจึงคิดว่าการดำเนินงานจึงน่าจะเห็นผลได้อย่างรวดเร็วในปีงบประมาณ 2561” นายวีระชัย กล่าว

อาจารย์จิรภา คงเขียว รองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์การพัฒนานักศึกษาและคุณลักษณะบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยถึงโครงการอบรมพัฒนานักศึกษา 4.0 เมื่อเร็วๆ นี้ว่า มีจุดมุ่งหมายในการผลิตบัณฑิตให้สอดคล้องกับความต้องการพัฒนากำลังคนภายใต้โมเดลไทยแลนด์ 4.0 เพื่อพัฒนาประเทศให้ก้าวสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยปรับเปลี่ยนบทบาทจากการสอนเพื่อให้ความรู้ไปเป็นการพัฒนานักศึกษาให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ผ่านกิจกรรมที่สร้างประสบการณ์การเรียนรู้ คู่ไปกับจัดการศึกษาที่เน้นการลงมือปฏิบัติและสร้างคุณค่าจากสิ่งที่เรียนรู้ จะช่วยพัฒนาสังคมและการดำเนินชีวิตมากกว่าแค่การเรียนรู้ในศาสตร์

การพัฒนานักศึกษาจะต้องทำควบคู่ไปกับงานด้านวิชาการ ปรับตัวและเตรียมการรองรับความเปลี่ยนแปลงของสังคมยุคใหม่ สร้างความตระหนักให้นักศึกษาเห็นความสำคัญของการแก้ปัญหาด้านต่างๆ ของประเทศ โดยยึดฐานคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งพัฒนานักศึกษาให้มีภูมิคุ้มกันในการดำเนินชีวิตที่เหมาะสม เริ่มตั้งแต่กำหนดนโยบาย วางแผนงาน โครงการ สนับสนุนงบประมาณ และพัฒนาบุคลากรด้านกิจการนักศึกษาให้เอื้อต่อการพัฒนานักศึกษาอย่างเหมาะสม
ด้าน ผศ. วีรชัย มัฏฐารักษ์ รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและกิจการพิเศษ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ในฐานะผู้ร่วมฝึกอบรม กล่าวว่า การได้เห็นถึงความท้าทายของการพัฒนานักศึกษาเพื่อเตรียมตัวเป็นพลเมืองโลก รวมถึงการได้เห็นภาพตลาดงานสำหรับบัณฑิตที่มีแนวโน้มน้อยลง แต่การแข่งขันสูงขึ้น ทำให้รู้สึกตื่นตัวในฐานะอาจารย์ที่ต้องการให้บัณฑิตจบออกไปอย่างมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ทั้งความรู้ความสามารถ บุคลิกภาพ การอยู่ร่วมกันในสังคม ทักษะทางด้านต่างๆ ขณะที่อาจารย์ผู้สอนที่มีผลต่อการพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตควรปรับบทบาทหรือแนวทางพัฒนานักศึกษาให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง

นายแวอัซมัน แวมูซอ นักวิชาการศึกษา คณะวิทยาการจัดการ กล่าวว่า การเข้าอบรมใน ครั้งนี้ทำให้ได้แนวคิดในการพัฒนานักศึกษา โดยจำแนกออกตามชั้นปี ดังนี้ ปี 1 สอดแทรกกิจกรรมทักษะการเรียนรู้ ปี 2 สอดแทรกกิจกรรมการเอาตัวรอด และทักษะที่หลากหลาย ปี 3 สอดแทรกกิจกรรมด้านการสื่อสาร ทักษะความเป็นมนุษย์ และทักษะทางวิชาการ และปี 4 สอดแทรกกิจกรรมทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ การใช้คอมพิวเตอร์

นายวิทวัส ภักดีสันติสกุล ผู้อำนวยการท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี เปิดเผยว่า ปัจจุบันท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานีเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีเที่ยวบินเชื่อมสนามบินสุวรรณภูมิ-ดอนเมือง-อู่ตะเภา-ภูเก็ต-หาดใหญ่-เชียงใหม่ ในปี 2559 มีผู้โดยสารทะลุ 2 ล้านคน แม้ในปีนี้จำนวนเที่ยวบินจะลดลง แต่จำนวนผู้โดยสารเพิ่มมากจากเดือนมกราคม-สิงหาคม มีผู้โดยสารรวม 1,723,000 คน เฉลี่ย 7,179 คน/วัน หรือเติบโต 12.5 เปอร์เซ็นต์ เหลือเวลาอีก 4 เดือนจะครบปี คาดว่าปี 2560 จะมีผู้โดยสารสูงถึง 2.6 ล้านคน

“ที่ผ่านมา ท่าอากาศยานมีการพัฒนามาโดยตลอด ตั้งแต่งานก่อสร้างและปรับปรุงอาคารผู้โดยสารทั้ง 2 หลัง มีระบบ ICQ สำหรับผู้โดยสารไปต่อเครื่องต่างประเทศ ขณะนี้อยู่ระหว่างพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยให้เป็นมาตรฐานการบินสากล ได้เพิ่มเติมรั้วลวดหนาม, กล้องซีซีทีวี และระบบตรวจสัมภาระผู้โดยสารแบบ In-line Screening สามารถตรวจกระเป๋าผู้โดยสารจาก 300 ใบ/ต่อชั่วโมง เป็น 1,200 ใบ/ชั่วโมง โดยจะเริ่มใช้งาน 1 ตุลาคมนี้ ส่วนคาโก้ปัจจุบันมีสินค้าเข้า-ออก ปีละ 4,000 ตัน ส่วนใหญ่เป็นขาเข้าสูงถึง 3,600 ตัน” นายวิทวัสกล่าว และว่า ศักยภาพสนามบินรองรับเครื่องขนาดโบอิ้ง 747 และกำลังพัฒนาระบบควบคุมการบิน เพิ่มจำนวนเครื่องบินขึ้น-ลง จาก 4 ลำ/ชั่วโมงเป็น 8 ลำ/ชั่วโมง ขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้างลานจอดเครื่องบินจากเดิมมี 5 ลำ จะเพิ่มเป็น 11 ลำ รวมถึงปรับปรุงและก่อสร้างลานจอดรถ ลานแรกเปิดให้จอดแล้ว 590 คัน ลานที่สอง 410 คัน เตรียมเปิดให้บริการเร็วๆ นี้ โดยกำลังเจรจากับเจ้าของสัมปทานเพื่อเพิ่มเวลาจอดฟรี-ลดอัตราค่าจอด และรถพนักงานรวม 350 คน

“จากการเติบโตผู้โดยสาร 12.5 เปอร์เซ็นต์ กรมการบินฯ ได้มีแผนพัฒนาช่วงปี 2565-2567 โดยจะมีการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 เพื่อรองรับจำนวนผู้โดยสารจาก 1,200 คน/ชั่วโมง เป็น 2,500 คน/ชั่วโมง โดยได้ว่าจ้างที่ปรึกษาศึกษาออกแบบในวงเงิน 35 ล้านบาท” ผอ.ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานีกล่าว

เชียงใหม่ – นายบรรจง สมบูรณ์ชัย ผู้เชี่ยวชาญด้านรุกขกร และหัวหน้าทีมหมอต้นไม้อาสา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เผยว่าสองข้างทางถนนเชียงใหม่-ลำพูน ตั้งแต่เขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ ผ่านอำเภอสารภี ไปจนสุดเขตติดต่อกับจังหวัดลำพูน มีต้นยางนาสูงใหญ่หลายสิบเมตรรวมทั้งสิ้นกว่า 900 ต้นอายุกว่า 100 ปีพบว่าในจำนวนนี้มีประมาณ 340 ต้น เผชิญวิกฤตรุนแรงและมีเสี่ยงจะล้มตาย สาเหตุอย่างหนึ่งรากของต้นยางนาหาอาหารไม่ได้และดินโคนต้นถูกอัดแน่น หรือมีการเทคอนกรีตทับจนอากาศและน้ำถ่ายเทหรือไหลผ่านไม่ได้ ต้นยางนามีปัญหาเสมือนคนป่วยหนัก เป็นต้นเหตุกิ่งหักหล่นหรือโค่นล้มเหมือนที่ผ่าน

จึงคิดค้นวิธีการแก้ไขปัญหาเพื่อเยียวยาและบำรุงฟื้นฟูต้นยางนากลับมาแข็งแรง ด้วยการใส่ปุ๋ยด้วยระบบท่อตามหลักวิชาการเพื่อรักษาฟื้นฟูระบบราก สร้างความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชาวบ้านในชุมชนในการดำเนินการร่วมกันด้วย เพื่อให้ชุมชนเกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและจะช่วยกันดูแลรักษาต้นยางนาอย่างยั่งยืน เพราะชุมชนมีความใกล้ชิดและต้องอยู่ร่วมกับต้นยางนาเหล่านี้ การเยียวยาและฟื้นฟูต้นยางนาที่กำลังเผชิญปัญหาอยู่นั้น คาดว่าแต่ละต้นจะต้องใช้เวลาในการฟื้นฟูประมาณ 2 ปี ดำเนินการได้ปีละประมาณ 100 ต้น โดยที่ระหว่างนั้นอาจจะต้องมีการดูแลรักษาในด้านอื่นๆ ควบคู่กันไปด้วยยอมรับว่าการดำเนินการนี้จำเป็นต้องใช้เวลาค่อนข้างมากแต่เมื่อในที่สุดแล้วเชื่อว่าจะได้ผลเป็นที่น่าพอใจดังกล่าวนี้ด้วย

ปุ๋ยจะบรรจุลงในท่อพีวีซีเจาะรูช่วงความยาวของท่อ นำไปฝังลงตามแนวตั้งในหลุมที่ขุดอยู่ห่างจากโคนต้นยางนาไม่ต่ำกว่า 2 เมตร เพื่อเป็นการให้สารอาหารและเพิ่มช่องว่างให้อากาศและน้ำสามารถระบายได้ เป็นการบำรุงส่วนรากของต้นยางนาให้แข็งแรง

สุราษฎร์ธานี – นายมานพ สุทธิพงศ์ ขนส่งจังหวัดสุราษฎร์ธานี fuyibapro.com กล่าวว่ากรมการขนส่งทางบกเปลี่ยนใบขับขี่แบบสมาร์ตการ์ดรูปแบบใหม่ที่มีคิวอาร์โค้ด รองรับในยุคของ 4.0 คิวอาร์โค้ด ที่ใส่ลงไปนั้นจะเป็นการรองรับมาตรการความปลอดภัยต่างๆ ที่มีฐานข้อมูลจากหน่วยภาครัฐต่างๆ ใส่ลงไป เป็นระบบฐานข้อมูลในระบบคิวอาร์โค้ดของกรมการขนส่งทางบก สะดวกสำหรับพี่น้องประชาชนในการเดินทางหรือติดต่อประสานงานต่างๆ ในเรื่องของการจัดการของรัฐที่ให้บริการประชาชน
ใบขับขี่ระบบคิวอาร์โค้ด นำไปใช้ในกลุ่มประเทศอาเซียน ที่มีการทำข้อตกลงทั้งหมด คนที่มีใบขับขี่แบบเดิมแบบกระดาษ หรือแบบตลอดชีพนั้นจะไม่มีการยกเลิกแต่อย่างใด เพียงแต่ว่าท่านมาติดต่อกับเราเท่านั้นเอง เราจะไม่มีการออกใบขับขี่แบบตลอดชีพที่ เป็นแบบกระดาษให้แล้ว แต่ท่านจะได้ใบขับขี่ในรูปแบบสมาร์ตการ์ดที่มีคิวอาร์โค้ด โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใดๆ

นายมานพ กาญจนบุรางกูร ผู้อำนวยการองค์การสะพานปลา(อสป.) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 1 สิงหาคมที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี(ครม.) มีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 187.92ล้านบาท เพื่อปรับปรุงท่าเทียบเรือประมงอ่างศิลาให้ได้มาตรฐานความปลอดภัย เพื่อใช้เป็นท่าเทียบเรือหลักในการบูรณาการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (ไอยูยู) ตามพระราชกำหนดการประมงพ.ศ. 2558 และให้บริการขนถ่ายสินค้าสัตว์น้ำที่ได้จากการทำประมงพื้นบ้าน และประมงพาณิชย์ที่ถูกกฎหมายของจังหวัดชายฝั่งตะวันออก รวมถึงเป็นตลาดประมง เพื่อรองรับการจำหน่ายสินค้าสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์ประมงที่มีคุณภาพ

นายมานพ กล่าวว่า ปัจจุบันตัวสะพานอยู่ในสภาพชำรุดเสียหายอย่างหนัก และขาดการจัดการเรื่องสุขอนามัย จึงได้มีหนังสือแจ้งยกเลิกการใช้ประโยชน์สะพาน ไปยังเจ้าท่าภูมิภาคสาขาชลบุรี โดยอนุญาตให้ผู้ค้าใช้พื้นที่ด้านท้ายสะพานเพื่อจำหน่ายสินค้าประมงเป็นการชั่วคราว เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน โดยแผนการดำเนินงานก่อสร้างอยู่ระหว่างการประมูลหาผู้รับจ้างด้วยวิธีอี -บิดดิ้ง ซึ่งจะใช้เวลาก่อสร้าง 330 วันคาดว่าจะลงนามผูกพันสัญญาได้ภายในเดือนธันวาคมนี้ ในส่วนของการบูรณาการทำงานร่วมกับหน่วยงานระดับจังหวัด ได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานบูรณาการร่วมกันพัฒนาท่าเทียบเรือในจังหวัดชายฝั่ง 12 แห่งทั่วประเทศ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานคณะทำงาน ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี ได้จัดสรรงบประมาณให้แก่ท่าเทียบเรือในจังหวัดปัตตานีปีงบประมาณ 2560 วงเงิน 40 ล้านบาท

คุณสังวร น้อยมี เจ้าของสูตรแกงเป็ดกะลา เล่าว่า แกงเผ็ดกะลา รุ่น ปู่ ย่า ตา ยาย นิยมรับประทานกันทั่วๆ ไปในหมู่บ้านตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี และพื้นที่ตำบลใกล้เคียง สูตรแกงกะลาทำสืบทอดกันมาถึงรุ่นพ่อแม่ และตนเองอยู่รุ่นลูก เป็นอาหารพื้นบ้าน ส่วนใหญ่แกงกับเป็ด หรือหมูป่า เป็นแกงป่าแห้งๆ กะลาอ่อนเหมือนกับเป็นผักชนิดหนึ่งเช่นเดียวกับแกงที่ใส่กล้วยดิบ ทำให้มีรสชาติ มัน กรุบ กรอบ เข้ากันดีกับรสชาติแกงเผ็ดไม่ทำให้เผ็ดมาก

เลือกมะพร้าวกะลาอ่อนๆ ที่เกือบจะมีเนื้อมะพร้าวอ่อน ต้องใช้คนที่มีความชำนาญจริงๆ สังเกตจากสีผิวเป็นสีเขียวๆ อายุประมาณ 30-40 วัน กะลาจะต้องอ่อนพอดี เนื้อกะลามีความกรอบ (ถ้ามะพร้าวอ่อนเกินไปเนื้อกะลาจะไม่กรอบ หรือแก่เกินไปเนื้อกะลาแข็งใช้ไม่ได้) นำมาผ่า 4 ส่วน ใช้ช้อนตักกะลาออกอย่าให้ติดเปลือก และไม่ตักส่วนหัวกะลาที่มีรสฝาดมาใช้ นำไปแช่น้ำประมาณ 15-20 นาที ไม่ให้เปลือกดำ
จากนั้นหั่นเป็นชิ้นๆ พอคำ ตั้งน้ำให้เดือด เอากะลาลงไปต้มให้สุกประมาณ 3 นาที ตักขึ้นแช่น้ำที่ใส่น้ำแข็งที่เย็นจัดประมาณ 5 นาที เพื่อให้กะลามะพร้าวกรอบ จากนั้นเก็บไว้ในตู้เย็นหรือหมกน้ำแข็งแช่เย็นไว้ เมื่อนำมาแกงจะกรอบเหมือนทำใหม่ๆ

การเตรียมเนื้อเป็ดและการหมักพริกไทยดำ เนื้อเป็ดเลาะเอากระดูกออก 1 กิโลกรัม นำมาย่างหรือนาบลงในกระทะร้อนๆ ให้หอม และให้น้ำมันในเนื้อเป็ดออกเพราะบางคนอาจจะเหม็นหืน จากนั้นนำหั่นเป็นชิ้นๆ หมักด้วยพริกไทยดำตำละเอียดประมาณ 1-1.5 ช้อนโต๊ะ (ต้องใช้พริกไทยดำตำเองจึงจะเป็นของแท้ และถ้าตำหยาบเม็ดพริกไทยจะฝังในเนื้อเป็ด) ใส่ตู้เย็นไว้ 1 คืน จะทำให้เนื้อนุ่มและหอมกลิ่นพริกไทย น้ำพริกแกงเผ็ด 3 ขีด พริกขี้หนูสด 1 ขีด ตำใส่ปนไปกับน้ำพริกแกงให้หอมและมีรสเผ็ดเพิ่มขึ้น

ใบมะกรูด 8-10 ใบ ดอกผักชีไร่ 1-2 ต้น หั่นเป็นฝอยเส้นๆ น้ำปลาอย่างดี 3-4 ช้อนโต๊ะ รสดีปรุงรส 1 ช้อนโต๊ะ
วิธีการแกง ตั้งกระทะใส่น้ำมันรอให้ร้อน ละลายน้ำพริกแกงในกระทะ ให้กลิ่นน้ำพริกแกงหอม ใส่เนื้อเป็ดที่หมักพริกไทยลงไปผัดให้สุกจนทั่ว ปรุงรสด้วยน้ำปลา รสดี (น้ำตาลไม่ใส่เพราะเนื้อเป็ดมีความหวานอยู่แล้ว) ชิมได้รสแล้วเติมน้ำเล็กน้อย (เท่านั้น) ก่อนเดือดใส่ ใบมะกรูด ผักชีไร่ จากนั้นรอให้เดือด ใส่กะลาลงไปผัดให้เข้ากัน ชิมรสอีกครั้งให้มี 3 รส คือ เผ็ด เค็ม หวาน จากนั้นรับประทานกับข้าวสวยร้อนๆ ได้เลย จะได้รสชาติความ หนึบ กรุบ กรอบ จากกะลาและรสชาติของแกงเป็ด เนื้อเป็ดล้วนๆ ที่แสนอร่อย