ล่าสุด นายมงคล พฤกษ์วัฒนา อธิบดีกรมโรงงาน เปิดเผย

“ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้ยังรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสารเคมี 2 ตัวยังกล่าวไม่เสร็จ จึงต้องเลื่อนการประชุมของคณะกรรมการวัตถุอันตรายออกไป แต่จะต้องประชุมหารือและสรุปให้ได้ภายในเดือนตุลาคมนี้อย่างแน่นอน จากนั้นจึงจะเสนอคณะกรรมการชุดใหญ่ที่มีกระทรวงสาธารณสุข (สธ.)และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมอยู่ด้วย เพื่อพิจารณาว่าควรยกเลิกสารพาราควอตหรือไม่ แต่หากยังจำเป็นต่อผู้ใช้และจะไม่ยกเลิกการใช้ จะทำอย่างไรให้ถูกวิธีเนื่องด้วยเป็นสารเคมีอันตราย

นายอุทัย นพคุณวงศ์ รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า สารเคมีพาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต ที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมวิชาการเกษตรไว้จะหมดอายุในเดือนตุลาคมนี้ หากยังไม่มีการประกาศห้าม (แบน) อย่างเป็นทางการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และคณะกรรมการวัตถุอันตราย ทางกรมวิชาการเกษตรจะต้องดำเนินการตามระเบียบที่เคยเป็น แต่ในขณะนี้กรมวิชาการเกษตรไม่รับขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายชนิดใหม่เพิ่มเติม แต่ถ้าเป็นวัตถุอันตรายที่เคยขอขึ้นทะเบียนก่อนหน้านี้แล้วจะพิจารณาให้ตามขั้นตอน

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) จับมือ โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร โรงเรียนรางราชพฤกษ์นุชมีอุทิศ สำนักงานเขตทุ่งครุ และชุมชนในพื้นที่ทุ่งครุ ร่วมสนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ร่วมกันอนุรักษ์และฟื้นฟู “ส้มบางมด” พืชท้องถิ่นที่เคยสร้างชื่อเสียงให้แก่ชุมชนในอดีต โดยสร้าง “แหล่งเรียนรู้ชุมชน” และ “มุมเรียนรู้ส้มบางมด” ปลูกฝังความเป็นเจ้าของทรัพยากรในท้องถิ่น เพื่ออนุรักษ์สายพันธุ์ส้มบางมดให้คงอยู่ในชุมชนอย่างยั่งยืน

นางพรรณปพร กองแก้ว หัวหน้าโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและพัฒนาท้องถิ่น : การอนุรักษ์พันธุกรรมส้มบางมด นักวิจัย มจธ. กล่าวว่า โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้นอกห้องเรียนโดยบูรณาการร่วมกับภูมิปัญญาพื้นบ้านของชุมชน เพื่อให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย โรงเรียน ชุมชนและหน่วยงานราชการ ในการร่วมสนองโครงการพระราชดำริ อพ.สธ.ส้มบางมด ในพื้นที่ทุ่งครุ เนื่องจากอดีตเขตทุ่งครุเป็นพื้นที่กึ่งเมือง แต่ปัจจุบันความเจริญกำลังจะทำให้เป็นพื้นที่เมืองโดยสมบูรณ์ จากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทำให้พันธุกรรมของพืชที่สร้างชื่อเสียงในท้องถิ่นหายไป จึงทำให้เกิดโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมส้มบางมด ซึ่งเป็นพืชที่สร้างชื่อเสียงให้กับชุมชน โดยทำงานร่วมกับเครือข่าย อพ.สธ.ในพื้นที่ ซึ่งมีโรงเรียนรางราชพฤกษ์นุชมีอุทิศเป็นโรงเรียนต้นแบบ ซึ่งความร่วมมือระหว่างเครือข่ายดังกล่าว จะส่งผลดีทำให้เกิดความต่อเนื่องของโครงการในพื้นที่

จากการศึกษาสถานภาพในพื้นที่ พบว่าวิถีชีวิตของคนในชุมชนเปลี่ยนไปจากทำสวนไปทำงานในโรงงาน ที่ดินของแต่ละครอบครัวลดน้อยลง แต่ชุมชนส่วนใหญ่ยังคงมีความต้องการที่จะร่วมกันอนุรักษ์พันธุกรรมส้มในพื้นที่บางมด ชุมชนส่วนใหญ่ต้องการปลูกส้มไว้ในบ้าน แต่ก็พบปัญหาในเรื่องพื้นที่จำกัด คุณภาพดินไม่ดีพอ คุณภาพน้ำไม่เหมาะสม จึงทำให้เกิดโครงการปลูกส้มในเข่ง เนื่องจากใช้พื้นที่ไม่มาก และสามารถจัดการดิน น้ำ ตลอดจนโรค แมลงได้ง่ายอีกทั้งยังมีน้ำหนักเบาง่ายต่อการขนย้าย ซึ่งได้ประยุกต์ใช้ความรู้ของปราชญ์ชาวบ้าน นายสมจิตร จุลมานะ และ นายสุพร วงศ์จินดา มาร่วมบูรณาการในการปลูก การดูแลรักษาต้นส้ม ตลอดจนใช้พันธุ์ส้มเขียวหวานปลอดโรคจากแหล่งปลูกที่ได้รับการรับรองจากกรมวิชาการเกษตร

อาจารย์วาสนา เจียนสุวรรณ ผู้อำนวยการโรงเรียนรางราชพฤกษ์นุชมีอุทิศ กล่าวว่า โรงเรียนมีโครงการเกษตรชีววิถี เพื่ออนุรักษ์สวนส้มซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของโรงเรียนสอดคล้องกับโครงการ อพ.สธ.ในเรื่องอนุรักษ์พันธุกรรมพืช โรงเรียนต้องการสร้างแหล่งเรียนรู้ให้ชุมชนได้เรียนรู้เรื่องส้ม โดยทาง มจธ.ร่วมจัดการเรียนการสอนช่วยพัฒนาหลักสูตรกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ผ่านกิจกรรม ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ กับส้มบางมด ภายใต้โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและพัฒนาท้องถิ่น : การอนุรักษ์พันธุกรรมส้มบางมด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 5 สร้างบทเรียน 10 กิจกรรม เป็นการเรียนรู้ ประวัติส้มบางมด การปลูกส้มบางมด ในห้องสมุดโรงเรียน สำหรับเยาวชน และบุคคลทั่วไปที่สนใจเรื่องส้มสามารถเข้ามาศึกษาได้ นอกจากนี้ ยังได้จัดกิจกรรมจิตอาสาเพื่อชุมชน โดยการให้ชุมชนใกล้เคียงได้มีส่วนร่วมในการเป็นส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์พันธุ์ส้ม

นายอนิรุจ นุชมี ผู้นำชุมชนพื้นที่เขตทุ่งครุ ประธานกลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ทุ่งครุ กล่าวว่า มีความตั้งใจอยากให้โรงเรียน วัด มัสยิด และชุมชน เป็นศูนย์การเรียนรู้ เพื่อประโยชน์กับทุกคนในพื้นที่ จึงร่วมกับทาง มจธ. โดย อาจารย์สุชาติ เพริดพริ้ง ที่ปรึกษาอธิการบดี มจธ. ได้เล็งเห็นประโยชน์การมีส่วนร่วมของมหาวิทยาลัยกับชุมชน เพื่อให้เยาวชนรุ่นหลังได้มีโอกาสได้เรียนรู้อัตลักษณ์ของชุมชน ความเป็นอยู่ในอดีตที่ผ่านมา การปลูกส้มบางมด โดยได้รับความร่วมมือจากชุมชน สำนักงานเขต และสำนักงานเกษตรกรุงเทพมหานคร เข้ามามีส่วนร่วม เพื่อให้เยาวชนได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นอยู่บ้านเกิดของตนเอง ความเป็นมาของส้มบางมด ขั้นตอนการปลูก ทางโรงเรียนรางราชพฤกษ์นุชมีอุทิศ ได้เปิดพื้นที่ของโรงเรียนปลูกส้มเขียวหวานบางมด ในรูปแบบต่างๆ ในขณะนี้

นายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้มอบนโยบายให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) 225 เขต ทั่วประเทศ และสถานศึกษาในสังกัด สพฐ.นำศาสตร์ พระราชาที่เกี่ยวกับการศึกษาไปสู่การปฏิบัติเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยให้ สพท.และโรงเรียนพิจารณา ว่าจะนำศาสตร์พระราชาที่เกี่ยวกับการศึกษาไปปฏิบัติอย่างไร เช่น เรื่องการพัฒนาตนเองตลอดเวลา เพื่อให้ เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมยุคดิจิตอล ผ่านกระบวนการปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน โดยเฉพาะการอ่านหนังสือยาวๆ ให้มีความรู้ที่ลึกซึ้ง ซึ่งสพฐ.จะจัดทำ เป้าหมายว่าในปีหน้านักเรียนแต่ละช่วงชั้น หรือแต่ละระดับชั้น ต้องอ่านหนังสืออย่างน้อยกี่เล่ม

สิ่งหนึ่งที่เราอาจจะนึกไม่ถึงแต่เป็นสิ่งที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงปฏิบัติให้เราได้เห็น คือเรื่องการรับฟัง สัมผัส เห็น แล้ววิเคราะห์ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติหรือแก้ไขปัญหา ซึ่งเป็นหัวใจของการจัดการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติหรือ แอ๊กทีฟเลิร์นนิ่ง ที่เป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนที่ ให้เด็กได้เรียนโดยการลงมือทำได้คิด ได้สร้างสรรค์ในกระบวนการคิดของตัวเอง เป็นศาสตร์พระราชาที่ต้อง นำไปสู่การปฏิบัติให้ได้ เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์นอกตำรา โดยอาจเริ่มปรับวิธีการทำกิจกรรม ในช่วงลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ มาเป็นแอ๊กทีฟเลิร์นนิ่งก่อนก็ได้

“ทุกสัปดาห์ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะกล่าวถึงการศึกษาในรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” แสดงให้เห็นว่านายกฯ และรัฐบาลให้ความสำคัญโดยชี้ยิ่งหากดูโครงการต่างๆ จะเห็นว่า รัชกาลที่ 9 ทรงเป็นต้นแบบให้ครูสอนแบบ แอ๊กทีฟเลิร์นนิ่งได้เป็นอย่างดี แต่ปัญหาของเราคือ ส่วนใหญ่จะยังติดเรื่องห้องเรียนกันอยู่” นายบุญรักษ์ กล่าว

ปัจจุบัน ปัญหาขยะเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุดของประเทศ ที่ทุกคน ทุกหน่วยงานต้องร่วมกันรับผิดชอบ โดยเริ่มจากการสร้างวินัย การปลูกฝัง การบอกกล่าวชี้แนะและวิธีกำจัดขยะที่ถูกต้อง เพื่อให้ทุกคนได้รับรู้และนำไปปฏิบัติเพื่อให้ขยะลดน้อยลง

จากการเสวนา เรื่องยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี “สู่การปฏิบัติการ ประเทศไทยไร้ขยะ” เพื่อขับเคลื่อนนโยบายการจัดการขยะในสถานศึกษาสู่การปฏิบัติที่ยั่งยืน สู่ระดับภูมิภาคและขานรับนโยบายยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีฯ ปักธงรุก 2560 “Set Zero Waste School” ที่ห้องแกรนด์ปาร์ค บอลรูม โรงแรมเอวาน่า กรุงเทพฯ จัดโดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เมื่อเร็วๆ นี้

นายสันติ คงศิลป์ ผอ.โรงเรียนวัดท่ามะปราง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) สระบุรี เขต 2 กล่าวว่า ต้องยอมรับว่า ทุกที่ ทุกชุมชน มีปัญหาเรื่องขยะกันมาก โดยเฉพาะขยะถุงพลาสติก แต่ถ้าทุกคนมีความตระหนัก ร่วมมือกันอย่างจริงจัง ขณะที่โรงเรียนก็จัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ สร้างจิตสำนึก 3R คือ Reduce, Reuse, Recycle เชื่อได้ว่าขยะในทุกพื้นที่จะลดน้อยลง และจะไม่มีปัญหาตามมาแน่นอน

ขณะที่ นางประภาภรณ์ ศรีแพทย์ รอง ผอ.สพป.สมุทร ปราการ เขต 1 กล่าวว่า ในฐานะที่ สพป.ต้องเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนนโยบายของศธ. จึงต้องมีนโยบายที่ชัดเจน มีแผนและมีการติดตามประเมินผล และต้องแนะนำวิธีที่จะสร้างจิตสำนึกให้แก่นักเรียนได้ โดยโรงเรียนก็ต้องมีวิธีการสร้างความเข้าใจกับนักเรียนเรื่องการจัดการขยะ เพื่อทำให้เกิดเป็นนิสัยตั้งแต่อยู่ในโรงเรียน และนำไปเผยแพร่คนรอบข้างและขยายผลต่อไปถึงชุมชนได้ ซึ่งถ้าทำได้การจะไปให้ถึงเป้าหมายก็ไม่ใช่เรื่องยาก

นายวัชระ เติมวรรธนภัทร์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทรงคนอง อ.พระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ในฐานะผู้แทนการปกครองท้องถิ่น กล่าวว่า การมีเวทีเสวนาเรื่องนี้นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี มีส่วนสร้างคนให้รักสิ่งแวดล้อม ซึ่ง จังหวัดสมุทรปราการ ได้นำร่องรับนโยบายจาก สพฐ. ไปดำเนินการ โดยเริ่มกระตุ้นให้นักเรียนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ต้องคัดแยกขยะ ทั้งนี้ก็ต้องได้รับความร่วมมือจากคนในชุมชน ในครัวเรือน ที่จะต้องบริหารจัดการขยะในครัวเรือนให้ถูกต้องด้วย

ด้าน นางเตือนใจ เสกตะกูล ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 3 ตำบลทรงคนอง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ บอกว่า ที่ผ่านมาชุมชนพยายามแก้ปัญหาหลายๆ เรื่อง กว่าจะเห็นผลต้องใช้เวลานานกว่า 3 ปี ดังนั้น การปลูกฝังเด็กให้มีระเบียบวินัยก็จะสามารถเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับผู้ใหญ่ในชุมชนได้และการพัฒนาก็จะไปได้ดีและรวดเร็ว
ประเทศไทยจะไร้ขยะได้ต้องเริ่มจากการปลุกจิตสำนึก สร้างความตระหนัก โดยเห็นสมควรยกให้นักเรียนเป็นหัวจักรขยายผลสู่ครอบครัว ชุมชน สังคมและประเทศชาติ

ผศ.ดร. เสนาะ กลิ่นงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ในฐานะประธานอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) กลุ่มภูมิภาคตะวันตก กล่าวในการเป็นประธานจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนพัฒนา มรภ.กลุ่มตะวันตก ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2560-2564) ว่า มรภ.กลุ่มภูมิภาคตะวันตก ซึ่งประกอบด้วย มรภ.เพชรบุรี มรภ.หมู่บ้านจอมบึง มรภ.นครปฐม และมรภ.กาญจนบุรี ดำเนินงาน ภายใต้นโยบายของรัฐบาลยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ไทยแลนด์ 4.0 ยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนพัฒนาการอุดมศึกษาของกลุ่มภาค ตะวันตก มุ่งเน้นภารกิจสำคัญเกี่ยวกับแผนยุทธศาสตร์ 20 ปีของ มรภ. 38 แห่งทั่วประเทศ ตามพระราโชบายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 ที่ทรงมีพระราชดำริ ให้มรภ.เป็นกำลังสำคัญของแผ่นดินในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน

ผศ.ดร. เสนาะ กล่าวต่อไปว่า ทั้งนี้ กล่าวสำหรับ มรภ.กลุ่มภูมิภาคตะวันตกได้แบ่งพื้นที่ดำเนินงานอย่างชัดเจน ได้แก่ มรภ.กาญจนบุรี ดูแลจังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดสุพรรณบุรี (บางส่วน) มรภ.นครปฐม ดูแลจังหวัดนครปฐม และสุพรรณบุรี (บางส่วน) มรภ.หมู่บ้านจอมบึง ดูแล จังหวัดราชบุรี และมรภ.เพชรบุรี ดูแลจังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ขณะที่ยุทธศาสตร์ 20 ปี ของมรภ. มี 4 ด้าน ประกอบด้วย การพัฒนาท้องถิ่น การพัฒนาและการผลิตครู ยกระดับคุณภาพการศึกษา และการบริหารจัดการภายใต้หลักธรรมา ภิบาล สาระสำคัญที่ต้องปฏิบัติต่อไปคือการทำแผนยุทธศาสตร์ มรภ.กลุ่มตะวันตกเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนกลุ่มภาคตะวันตก การประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้จึงเป็นโอกาสสำคัญที่ได้ร่วมกันจัดทำแผน เป็นการระดมความคิดเห็นของแต่ละมหาวิทยาลัย

โดยมี 5 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1. เกษตรและอาหารปลอดภัย 2. การท่องเที่ยว 3. การยกระดับคุณภาพการศึกษา 4. การค้าชายแดน และ 5. การยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ซึ่งมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งจะได้นำรายละเอียดต่างๆ ไปกำหนดเป็นโครงการตามลักษณะพื้นที่ของตนเองเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน สร้างความสำเร็จในการพัฒนากลุ่มภูมิภาคตะวันตกในบทบาทหน้าที่ของ มรภ.ต่อไป ประธานอธิการบดี มรภ.กลุ่มภูมิภาคตะวันตก กล่าว

รายงานข่าวเผยว่า การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนพัฒนา มรภ.กลุ่มตะวันตก ระยะ 5 ปีครั้งนี้ เพื่อจัด ทำยุทธศาสตร์พัฒนาของมรภ.ทั้ง 4 แห่งที่สอดคล้องกับปัญหาของชุมชนและท้องถิ่น แปลงยุทธศาสตร์ใหม่ไปสู่การปฏิบัติ สนองพระราโชบายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมีคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่จากมรภ.กลุ่มภูมิภาคตะวันตกประชุมร่วมกัน

กนอ. เดินสายเจาะโมเดลเขต ศก.พิเศษคันไซต้นแบบอีอีซี ดึงความมั่นใจญี่ปุ่นลงทุนหนุนอุตฯ การแพทย์ไทย และศูนย์ทดสอบทางการแพทย์แบบครบวงจร พร้อมโชว์ศักยภาพพื้นที่ลงทุน 5 หมื่นไร่ พร้อมสิทธิประโยชน์จูงใจเพียบ

นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้เริ่มมีความชัดเจนในเรื่องการขับเคลื่อนโครงการระเบียบเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ให้เป็นรูปธรรม ทั้งในด้านกฎหมายมาตรการส่งเสริมการลงทุน และการกำหนดขอบเขตพื้นที่การลงทุนใน 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย

ทาง กนอ. และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) จึงร่วมกันนำคณะผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมร่วมกิจกรรมส่งเสริมการลงทุน (โรดโชว์) พร้อมศึกษาดูงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษยุทธศาสตร์คันไซ (KANSAI) และดูงานด้านวัฒนธรรมชีวภาพการแพทย์ (ไบโอ เมดิเคิล) ที่ประเทศญี่ปุ่น ระหว่าง 1-7 ตุลาคม 2560 เพื่อนำมาเป็นต้นแบบในการพัฒนาพื้นที่อีอีซีครอบคลุมใน 3 จังหวัด คือ ระยอง ชลบุรี และฉะเชิงเทรา

“การไปศึกษาแนวทางและรายละเอียดการพัฒนานิคมฯ คันไซในครั้งนี้ เพื่อนำมาเป็นต้นแบบที่จะนำกลับมาพัฒนาพื้นที่อีอีซีอย่างเป็นรูปธรรม สร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนญี่ปุ่นที่จะเข้ามาลงทุนมากขึ้น ในกลุ่มนวัตกรรมทางการแพทย์ที่ทันสมัย ซึ่งถือเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ ช่วยให้ประเทศพัฒนาไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิต และศูนย์ทดสอบทางการแพทย์แบบครบวงจร” นายวีรพงศ์ กล่าว

สำหรับการเตรียมความพร้อมของพื้นที่เพื่อรองรับการลงทุนที่จะเกิดขึ้นตามมาในพื้นที่อีอีซี ขณะนี้ กนอ.ได้จัดสรรพื้นที่ที่พร้อมในการพัฒนารองรับการลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายตามนโยบายรัฐบาล ในระยะ 5 ปีแรก (2560-2565) เพื่อรองรับ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายใน 3 พื้นที่ ประมาณ 50,000 ไร่

โดยมีพื้นที่นิคมฯ พร้อมรองรับนักลงทุนได้ทันที 14 แห่ง 12,000 ไร่ พื้นที่อยู่ระหว่างพัฒนา 7 แห่ง 15,000 ไร่ และพื้นที่เขต/สวนอุตสาหกรรม 10,000 ไร่ และพื้นที่พัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 10,000 ไร่เศษ

ทั้งนี้ เขตเศรษฐกิจพิเศษคันไซเป็นพื้นที่ลงทุนด้วยนวัตกรรมชีวภาพการแพทย์ ซึ่งเป็นคลัสเตอร์ทางการแพทย์ที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น ที่มุ่งเน้นนวัตกรรมและเทคโนโลยีเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์

ระนอง – จากกรณีที่ขบวนการลักลอบตัดไม้พะยูง ในเขตสวนป่าคลองบางใหญ่ ป่าสงวนแห่งชาติป่าลำเลียง อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง ปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่และคนร้าย ทิ้งรถยนต์พร้อมไม้พะยูงที่ถูกตัดทิ้งไว้ จำนวน 4 ท่อน ที่ยังไม่สามารถขนออกไปได้ เหตุเกิดวันที่ 28 กันยายน ที่ผ่านมา ต่อมา นายจตุพจน์ ปิยัมปุตระ ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง ที่เดินทางมาตรวจสอบพื้นที่ป่าพะยูง และให้กำลังใจผู้ใหญ่บ้าน พร้อมระบุว่า ยอมไม่ได้และเป็นนโยบายของรัฐบาลในเรื่องการรักษาทรัพกยากรธรรมชาติ ดังนั้น จะมีผู้มีอิทธิพลเจ้ามาในพื้นที่ไม่ได้ และสิ่งที่สำคัญมาให้ข้อแนะนำว่า จะบริหารจัดการเพื่อป้องกันป่าชุมชนแห่งนี้ได้อย่างไร พร้อมทั้งจะให้กำลังทหารและตำรวจ แม้กระทั่งอุทยานและป่าไม้ มาทำงานในรูปแบบประชารัฐ กับท้องถิ่นและท้องที่ รวมทั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางใหญ่ ซึ่งตรงนี้เป็นพื้นที่ที่มีความรักและความสามัคคี เชื่อมั่นในตัวของทุกคนว่า สามารถปกป้องและดูแลได้ โดยทางจังหวัดได้เข้ามาร่วมสนับสนุนและให้กำลังใจ

ด้าน นายนนทวี เขตจำนันท์ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 4 บ้านทับจาก กล่าวว่า ในนามของพี่น้องในตำบลบางใหญ่ รู้สึกมั่นใจยิ่งขึ้น เมื่อผู้บริหารจังหวัดมองเห็นความสำคัญของชุมชน พร้อมให้กำลังใจพวกเรา เชื่อมั่นและอุ่นใจในการทำงานและปฏิบัติหน้าที่เพื่อดำรงไว้ซึ่งเจตนาของแผ่นดินให้ทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ ที่บรรพบุรุษรักษามา ยังคงรักษามา เรายังคงรักษาไว้ต่อไป

ส่วน นายสุธน บุญชู ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 5 บ้านบางใหญ่ล่าง เปิดเผยว่า รู้สึกปลื้มใจ ที่ท่านผู้ว่าฯ ลงพื้นที่และมาให้ความคิดเห็น พร้อมทั้งแนวความคิดต่างๆ ว่าท่านยังคงมีความคิดนึกถึงหมู่บ้าน เมื่อหมู่บ้านมีความเดือดร้อนก็ยังลงมา ทั้งพื้นที่ต้องขอขอบคุณท่านผู้ว่าฯ ที่มาเป็นกำลังใจ พร้อมจะส่งแนวร่วมเข้ามาปฏิบัติงานกับชุมชน

พิจิตร – นายวีระศักดิ์ วิจิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร เผยสิ่งที่น่าเป็นห่วงขณะนี้ของจังหวัดคือ ประสบปัญหาน้ำท่วมโดยเฉพาะลุ่มน้ำยม น้ำท่วมหนัก ใน 2 อำเภอ คือ อำเภอสามง่าม อำเภอโพธิ์ประทับช้าง ซึ่งทางจังหวัดเร่งระดมสูบน้ำเพื่อช่วยเหลือประชาชน 2 อำเภอนี้ ปัญหาน้ำท่วมยังไม่คลี่คลาย ยังมาเจอในช่วงนี้อากาศเริ่มหนาวเย็นอีก จึงสั่งการไปยังทุกอำเภอให้คอยช่วยเหลือประชาชนหากมีการร้องขอ

ด้าน นายสมชัย สิบหย่อม อดีตผู้ใหญ่บ้าน eocforum.net หมู่ที่ 16 ตำบลหนองโสน อำเภอสามง่าม กล่าวว่า ชาวนาพิจิตรโล่งใจที่ทางท่านอธิบดีทรัพยากรน้ำออกมารับปากเกษตรกรชาวนาว่าจะไม่มีการเก็บค่าน้ำ แต่สิ่งที่มีปัญหาชาวนาขณะนี้อยากให้รัฐบาลช่วยในเรื่องของราคาข้าว ราคาข้าวตกต่ำ ถูกกดราคาเหลือเพียง ตันละ 5,000-5,500 บาท บางที่ไม่รับซื้อ ชาวนาไม่รู้จะทำอย่างไร ยิ่งช่วงนี้ฝนตกชาวนาเกี่ยวข้าวขายไม่ได้ราคา ข้าวของขึ้นราคา แต่ข้าวราคาถูกชาวนาจะอยู่กันได้อย่างไร

การเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2559 นับเป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่สำหรับพสกนิกรชาวไทย และชาวประจวบคีรีขันธ์ ขณะที่พระราชกรณียกิจนานัปการตลอดรัชสมัยของพระองค์ สะท้อนพระมหากรุณาธิคุณ พระเมตตา พระราชหฤทัยที่มุ่งมั่น ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนตลอดมา

ชาวประจวบคีรีขันธ์ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานโครงการในพระราชดำริต่างๆ เป็นอันมาก โดยโครงการพระราชดำริด้านการพัฒนาชนบท “ถนนสายห้วยมงคล” และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านชลประทาน “อ่างเก็บน้ำเขาเต่า” เป็นโครงการแรกๆ ของประเทศ ในคราวพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จพระราชดำเนินมาประทับ ณ วังไกลกังวล หัวหิน

สำหรับ “ถนนสายห้วยมงคล” อยู่ในพื้นที่ “บ้านห้วยมงคล” ในอดีต คือหมู่บ้านห้วยคต หมู่ที่ 8 ตำบลหินเหล็กไฟ ห่างจากที่ว่าการอำเภอหัวหินประมาณ 20 กิโลเมตร ซึ่งการเดินทางเข้าเมืองหัวหินในสมัยนั้นใช้เวลา 2 วัน 2 คืน เนื่องจากเป็นเส้นทางเดินเท้าและทางเกวียน จึงเป็นความยากลำบากของประชาชนในการนำผลผลิตพืชไร่ไปขายที่ตลาดหัวหิน

กระทั่งปี พ.ศ. 2495 เป็นช่วงเวลาที่ชาวบ้านห้วยมงคลยังคงจดจำ และเล่าขานสืบทอดอย่างมิรู้ลืมว่าปีนั้นเหมือนฟ้ามาโปรด เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินโดยพาหนะรถจี๊ป และรถราชพาหนะ มาติดหล่มดินบริเวณปากทางเข้าหมู่บ้านห้วยมงคล ซึ่งชาวบ้าน นำโดย นายรวย งามขำ มีโอกาสช่วยเข็นรถให้พ้นจากหล่ม โดยไม่ทราบว่าผู้ที่เดินทางมากับขบวนรถเป็นบุคคลใด ทราบเพียงว่ามีทั้งทหารและตำรวจหลายนาย

ครั้นทราบในภายหลังว่าบุคคลที่ลงจากรถราชพาหนะคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระราชินี ด้วยความตื่นเต้นและปลาบปลื้มที่ได้พบพระเจ้าอยู่หัวโดยใกล้ชิดจนเกือบลืมย่อกายนั่งลงพนมมือ ครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตรัสขอบใจชาวบ้านที่มาช่วยเข็นรถ พร้อมตรัสถามความเป็นอยู่ด้วยพระพักตร์ยิ้มแย้ม เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตา ทั้งยังตรัสถามปัญหาของหมู่บ้านห้วยมงคล นายรวยจึงกราบบังคมทูลว่า “อยากได้ถนนมากที่สุด” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพยักพระพักตร์รับ พร้อมทรงพระราชทานธนบัตรให้นายรวยเป็นจำนวนเงิน 36 บาท และตรัสว่า “เก็บไว้เป็นเงินก้นถุงเป็นที่ระลึกนะ” ปัจจุบันเงินพระราชทานดังกล่าวนายรวยได้ห่อในผ้าขาว เก็บรักษาไว้ในหีบวางบนแท่นบูชาจนถึงปัจจุบัน

อีกเพียง 2-3 วันต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้หน่วยตำรวจตระเวนชายแดน ค่ายนเรศวร สร้างถนนไปหมู่บ้านห้วยมงคล ใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ราษฎรสามารถสัญจร นำผลผลิตทางการเกษตรออกมาจำหน่ายได้สะดวกยิ่งขึ้น ทำให้เดินทางไปอำเภอหัวหินใช้เวลาไม่เกินครึ่งชั่วโมง นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีต่อพสกนิการชาวบ้านห้วยมงคล “ห้วยมงคลถนนของพ่อ” สายนี้พลิกวิถีชีวิตชาวบ้านจากความทุกข์เข็ญให้มีชีวิตที่สุขสมบูรณ์ขึ้น