“วัชพืช” ศัตรูสำคัญไม่ควรมองข้าม สาเหตุทำผลผลิตลดลงกว่าครึ่ง!

เกษตรกรบางส่วนคิดว่าการดูแลข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้ได้ผลผลิตคุณภาพ ฝักสวย น้ำหนักดีนั้นอยู่ที่การบำรุง แต่ความจริงแล้วปัจจัยที่สำคัญที่ไม่แพ้กัน คือ “การกำจัดวัชพืช” เพราะวัชพืชนั้นส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มากกว่าปัญหาแมลงและโรคพืชเสียอีก (ข้อมูล : วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร)

วัชพืชหลักของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1.ประเภทใบแคบ เช่น หญ้าตีนนก หญ้าตีนติด และหญ้าปากควาย
2.ประเภทใบกว้าง เช่น ผักเบี้ย ผักโขม และหญ้าสาบม่วง

โดยวัชพืชเหล่านี้ จะเข้าไปแย่งอาหาร น้ำ แสงสว่าง และพื้นที่การเจริญเติบโต ทำให้ข้าวโพดลำต้นเล็ก ต้นเตี้ย ใบเหลือง ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตลดลงกว่าครึ่ง คุณเสกเผยว่า ช่วงวิกฤตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่อ่อนแอต่อวัชพืชมากที่สุด คือระยะ 13-25 วันหลังงอก ระยะนี้ถ้ามีวัชพืชรบกวนจะทำให้ผลผลิตข้าวโพดเสียหายสูงสุด ดังนั้น การปลูกข้าวโพดให้ได้ผลผลิตสูง จำเป็นต้องมีการจัดการให้แปลงปลอดวัชพืชตลอดช่วง 1 เดือนแรกตั้งแต่ปลูก

โดยที่แปลงของตนนั้นจะใช้ชุด “คลีโอ-โปร” เป็นตัวช่วยสำคัญในการ “คุมและกำจัดวัชพืช” ในชุดจะประกอบด้วย 1.คลีโอ (โทพรามีโซน) 2.ทาซีแม็กซ์-โปร (อะทราซีน 90% ดับบลิวจี) 3.เบสมอร์ (สารเสริมประสิทธิภาพ) ใช้ร่วมกันทำให้การควบคุมวัชพืชมีประสิทธิภาพมาก

สำหรับช่วงเวลาการใช้ คุณเสกจะปรับตามความเหมาะสมของฤดูที่ปลูกข้าวโพด ดังนี้
– ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูฝน จะใช้ชุด “คลีโอ-โปร” ร่วมกับสารกำจัดหนอน ช่วงหลังปลูก 10-20 วัน ขึ้นอยู่กับปริมาณวัชพืช หากวัชพืชขึ้นเร็ว ก็สามารถฉีดพ่นได้ทันที

– ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้ง หญ้าจะขึ้นช้า แต่หนอนจะมากและเข้าทำลายเร็วกว่าฤดูฝน ดังนั้น ช่วงหลังปลูกวัน 10 วันแรก จะเริ่มใช้สารกำจัดหนอนก่อน จากนั้นนับไปอีกประมาณ 5-10 วัน จึงจะใช้ “คลีโอ-โปร” โดยการใช้ในฤดูแล้ง ต้องฉีดพ่นขณะที่ดินมีความชื้นเพียงพอ เพื่อให้สารเข้าทำลายเมล็ดวัชพืชที่กำลังจะงอกได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

โดยคุณเสก เล่าว่า สมัยก่อนนั้นเกษตรกรจะต้องมีการกำจัดวัชพืช 2 ขั้นตอน เริ่มจาก “การฉีดยาคุม” ช่วงหลังหยอดเมล็ดข้าวโพดไม่เกิน 7 วัน (ก่อนวัชพืชงอก) เพื่อกำจัดเมล็ด ราก และยอดอ่อนใต้ดินของวัชพืช ตามด้วย “การฉีดไล่ร่อง” หลังหยอดเมล็ด 20 วันขึ้นไป เพื่อกำจัดวัชพืชอีกครั้ง

“แต่ปัจจุบันนั้นมี “คลีโอ-โปร” เกษตรกรใช้แค่รอบเดียวจบเลยครับ โดยฉีดพ่นได้ตั้งแต่ข้าวโพดอายุ 14-21 วัน ออกฤทธิ์ทั้ง “คุม” และ “กำจัด” วัชพืชในขั้นตอนเดียว ทำให้ไม่ต้องฉีดพ่นซ้ำ ประหยัดเวลาได้มาก สำหรับเกษตรกรที่จ้างแรงงานก็ช่วยให้ประหยัดค่าจ้างได้ เพราะคลีโอ-โปรใช้แค่ครั้งเดียว ก็จ้างแรงงานแค่รอบเดียว นอกจากนี้ยังใช้งานสะดวกด้วย สามารถพ่นทับต้นข้าวโพดได้เลยครับ ใช้ได้กับทั้งข้าวโพดหวาน และข้าวโพดพ่อแม่พันธุ์ก็ได้ วัชพืชตายแต่ข้าวโพดไม่เป็นไรครับ” คุณเสก เล่าถึงจุดเด่นของ “คลีโอ-โปร”

เคล็ดลับบำรุงข้าวโพดฝักใหญ่
เมล็ดเต็มฝัก น้ำหนักดีขึ้นชัดเจน
นอกจากการดูแลเรื่องวัชพืชแล้ว การดูแลเรื่องธาตุอาหารก็เป็นสิ่งที่จำเป็นเช่นกัน ซึ่งโดยปกติแล้วข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ควรมีการบำรุงทางดินอย่างน้อย 2 รอบ เพื่อให้มีธาตุอาหารเพียงพอกับการสร้างผลผลิตได้เต็มที่ ดังนี้

– รอบที่1 คือ “ช่วงรองพื้น” จะใส่ปุ๋ยสูตร 16-20-0 รองพื้น หยอดไปพร้อมเมล็ดพันธุ์
– รอบที่ 2 คือ “ช่วงทำรุ่น” จะใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ผสมกับ 46-0-0 หลังปลูก 25-30 วัน เพื่อเตรียมพร้อมเตรียมออกดอก และติดฝัก

แต่สำหรับคุณเสก จะเพิ่มการบำรุงด้วย “อโทนิค” ในอัตรา 100 ซีซี ต่อพื้นที่ 3 ไร่ ทุกครั้งที่ฉีดพ่นสารกำจัดหนอน เพื่อให้ต้นข้าวโพดเขียว ลำต้นพุ่ง ได้ฝักสมบูรณ์ เมล็ดใหญ่ เต็มฝัก

โดยหากเป็น “ข้าวโพดหน้าแล้ง” จะใช้ “อโทนิค” ฉีดพ่นทุก 10-15 วันครั้ง ต่อเนื่อง 4 รอบ คุณเสก เผยว่า ในช่วงแรกที่ทดลองใช้ “อโทนิค” นั้น ตนเองได้แบ่งใช้กับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แค่เพียงไม่กี่แถวเท่านั้น แล้วทำสัญลักษณ์ไว้เพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ พอลองถามคนอื่นว่าข้าวโพดแถวไหนสมบูรณ์ ก็ได้รับคำตอบว่าเป็นแถวที่ใช้ “อโทนิค” จากนั้นตนเองจึงตัดสินใจใช้อโทนิคกับข้าวโพดแปลงที่เหลือทั้งหมด ทำให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน นอกจากนี้ บางช่วงที่ปุ๋ยขาดตลาด จึงมีความจำเป็นต้องลดปริมาณการใช้ปุ๋ยลงบ้าง เพื่อให้เพียงพอสำหรับพื้นที่แปลงทั้งหมด แต่การใช้อโทนิคนั้นก็ช่วยได้มาก เพราะช่วยเสริมให้ต้นข้าวโพดสมบูรณ์ สามารถให้ผลผลิตได้ดีเช่นเดิม

โดยปกติ “ข้าวโพดฤดูฝน” ที่ปลูกแบบปล่อยตามธรรมชาติจะได้ผลผลิตไม่เกิน 1 ตัน/ไร่ แต่แปลงที่คุณเสกบำรุงจะได้ผลผลิตมากกว่า 1.2-1.5 ตัน/ไร่ ส่วน “ข้าวโพดฤดูแล้ง” หากไม่ได้รับการดูแล จะให้ผลผลิตประมาณ 1 ตัน/ไร่ แต่แปลงที่คุณเสกบำรุงจะได้ผลผลิตอยู่ที่ 1.8-2 ตัน/ไร่

“บางคนคิดว่าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์นั้นปลูกง่าย ก็เลยปลูกแบบตามมีตามเกิด ทำให้ได้ผลผลิตต่ำจนขาดทุน หันไปปลูกพืชชนิดอื่นแทน แต่สำหรับผมนั้นถ้าเราบำรุงให้ดีจะได้ผลผลัพธ์ที่ต่างกันมากครับ เพราะข้อดีของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์คือราคาจะไม่ค่อยผันผวน ไม่เน่าเสีย มีตลาดรองรับตลอด แต่หากเป็นพืชผักชนิดอื่นบางครั้งที่ราคาตก ผลผลิตอาจจะเน่าเสียหายจนขายไม่ได้เลย ดังนั้น ถ้าเรามองข้อดีนี้ แล้วหันมาบำรุงผลผลิตให้ได้คุณภาพ น้ำหนักดี ก็ถือว่าคุ้มนะครับ เพราะเราเห็นผลจริง ได้เงินเพิ่มขึ้นจริง” คุณเสก กล่าวถึงความสำคัญการบำรุงข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

ผลผลิตได้ราคา สร้างรายได้เพิ่มขึ้น
ต่อยอดด้วยเทคโนโลยีการเกษตร
สำหรับรูปแบบการขายผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เกษตรกรสามารถเลือกได้หลายรูปแบบตามความสะดวก หรือความต้องการของลานรับซื้อในท้องถิ่น เช่น แบบฝักความชื้นไม่เกิน 30%, แบบเมล็ดความชื้นไม่เกิน 30% และแบบเมล็ดความชื้นไม่เกิน 14.5% ซึ่งยิ่งความชื้นต่ำก็จะยิ่งมีราคาสูง

ในกรณีของคุณเสก จะเก็บผลผลิตโดยใช้ “เครื่องเกี่ยวนวดข้าวโพด” ที่สามารถหักข้าวโพดพร้อมนวดข้าวโพดออกมาเป็นเมล็ดข้าวโพดได้ทันที จากนั้นจะขายในรูปแบบ “เมล็ดความชื้นไม่เกิน 30%” ซึ่งในช่วงปี 2564-2565 นั้นถือเป็นปีทองของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยราคาของเมล็ดความชื้นไม่เกิน 30% อยู่ที่ประมาณ 7.8-9 บาท/กก. ส่วนความเมล็ดความชื้นไม่เกิน 14.5% ราคาอยู่ที่ 10-12 บาท/กก.

คุณเสก เผยว่า ปกติแล้วลานรับซื้อจะชอบข้าวโพดที่เมล็ดใหญ่ ไม่มีรอยแตกหัก เนื่องจากทำให้เชื้อราเข้าทำลายได้ง่าย หากมีเมล็ดลีบ ฝ่อ ไม่ได้คุณภาพ ส่วนใหญ่จะถูกเครื่องเกี่ยวเป่าออกตั้งแต่ขั้นตอนการเก็บเกี่ยวแล้ว ดังนั้น หากเกษตรกรดูแลข้าวโพดไม่สมบูรณ์ ก็จะทำให้ได้น้ำหนักน้อยตามไปด้วย

ปัจจุบัน คุณเสก ได้ต่อยอดการทำเกษตรด้วยการลงทุนซื้อ “โดรน” เพื่อใช้ฉีดพ่นฮอร์โมนและสารกำจัดศัตรูพืชต่างๆ ทำให้การจัดการพื้นที่กว่า 120 ไร่นั้นสะดวก รวดเร็ว และช่วยตัดปัญหาขาดแคลนแรงงานได้ ทั้งยังสามารถนำไปใช้สร้างรายได้จากการรับจ้างทางการเกษตรได้อีกด้วย

หลายคนอาจมองว่า “ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์” เป็นพืชที่มีราคาไม่น่าดึงดูดนัก แต่สำหรับคุณเสกนั้นเชื่อมั่นเสมอว่า หากมีการดูแลผลผลิตให้มีคุณภาพ ควบคู่กับการวางแผนการปลูกที่ดีจะช่วยให้การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สามารถสร้างรายได้อย่างยั่งยืนได้ไม่แพ้พืชชนิดอื่น เพียงแต่เกษตรกรต้อง ใส่ใจและเข้าใจว่า “ปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้ผลผลิตลดลง” เช่น เรื่องวัชพืช ก็ต้องดูแลให้เหมาะสม ส่วน “ปัจจัยที่ช่วยเพิ่มผลผลิต” เช่น เรื่องการบำรุง ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย เพราะรายได้จากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เลี้ยงนั้นวัดกันที่น้ำหนักต่อไร่เป็นหลัก ถ้าผลผลิตต่ำก็จะรายได้ต่ำตามไปด้วย แต่หากมีการจัดการอย่างสมดุลทั้ง 2 องค์ปะกอบก็จะทำให้การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์นั้นประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก

งานทางด้านการเกษตรเป็นอีกหนึ่งความสุขที่ทำให้ผู้ดำเนินงานทางด้านนี้ ได้ต่อยอดและพัฒนาองค์ความรู้อยู่เสมอ เพราะยิ่งเป็นยุคปัจจุบันด้วยแล้ว ในเรื่องของการทำตลาดค่อนข้างมีการแข่งขันสูง จึงทำให้เกษตรกรต้องมีการปรับตัวและพัฒนาสินค้าอยู่เสมอ อย่างน้อยก็ช่วยให้สินค้ามีมูลค่าเพิ่มและเป็นที่ต้องการของตลาด สามารถมีอำนาจต่อรองการทำตลาดได้หลายทิศทาง ไม่ต้องถูกกดในเรื่องของราคาหรือไม่มีทางเลือกในการค้าขาย

คุณก่อศิม มายุดิน อยู่บ้านเลขที่ 96/1 ถนนท่าเสร็จ เทศบาลเมืองตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ได้ผันตัวจากนักธุรกิจมาทำอาชีพทางการเกษตร โดยเน้นปลูกผักสลัดบนโต๊ะด้วยระบบอินทรีย์ ทำให้ผักสลัดเป็นที่ต้องการของตลาด พร้อมทั้งปรับตัวอยู่เสมอด้วยการเพิ่มมูลค่าสินค้า นำมาทำเป็นสินค้าแปรรูปและอยู่ในรูปแบบของอาหาร จึงทำให้เพิ่มมูลค่ามีกำไรจากการขายผักสลัดที่ปลูกได้เป็นเท่าตัว

ผันตัวทำเกษตรอินทรีย์

คุณก่อศิม เล่าให้ฟังว่า เมื่อทำธุรกิจเกี่ยวกับการจำหน่ายจักรยานมาได้สักระยะ การค้าขายค่อนข้างมีปัญหาไม่เป็นผลดีมากนัก ด้วยความที่เขาเองเป็นครูและไม่มีประสบการณ์ในการจัดการเท่าที่ควร จึงทำให้รู้สึกว่าไม่น่าจะทำธุรกิจนี้ได้สำเร็จ ด้วยความที่สนใจในเรื่องของการทำเกษตรเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ต่อมาได้เสริมในเรื่องของการทำเกษตรในพื้นที่รอบบ้านก่อนที่โควิด-19 จะเข้ามาระบาดก่อน 1 ปี และพัฒนาการปลูกพืชผักสลัดมาเรื่อยๆ จนประสบผลสำเร็จและมีตลาดรองรับจนถึงทุกวันนี้

“ช่วงที่รู้ว่าต้องมาทำเกษตร แต่เราไม่มีพื้นเพด้านนี้เลย แต่ผมเป็นคนที่ชอบเรียนรู้ ชอบอ่านหนังสือ ก็ทุ่มเทในเรื่องของการศึกษาต่างๆ เกี่ยวกับการทำเกษตร พร้อมทั้งเข้าคอร์สอบรมต่างๆ เพื่อสร้างประสบการณ์ พร้อมทั้งไปเรียนรู้จากสถานที่จริงเลย จากการที่ผมศึกษาจริงจังนี้เอง จึงทำให้ผมเกิดองค์ความรู้ และรู้เท่าทันตลาดอยู่เป็นประจำ พร้อมทั้งมีแนวคิดว่า อย่าขายช่องทางเดียว แต่ต้องทำการแปรรูปหรือเพิ่มมูลค่า ก็จะช่วยให้การทำตลาดของเราง่ายขึ้น เกิดรายได้ที่ดีตามมา” คุณก่อศิม บอก

โดยแนวความคิดที่ปลูกผักสลัดบนโต๊ะนั้น คุณก่อศิม ให้ข้อมูลเสริมว่า มีเพื่อนที่ปลูกผักอินทรีย์มาแนะนำให้ปลูกผักอินทรีย์ โดยช่วงนั้นเขาได้มีโต๊ะปลูกผักที่นำมาปลูกผักในน้ำว่างอยู่ จึงได้ทดลองนำดินมาใส่และปลูกแบบอินทรีย์ ผลตอบรับที่ได้ค่อนข้างดี ทำให้ได้ปรับเปลี่ยนมาปลูกผักสลัดอินทรีย์บนโต๊ะเรื่อยๆ เพราะนอกจากจะชอบในรสสัมผัสที่ดีแล้ว ยังช่วยให้รอบผลิตทำได้เร็ว และต่อยอดเพิ่มมูลค่าได้

หมุนเวียนปลูกสลับ

สำหรับโต๊ะปลูกผักสลัดอินทรีย์ คุณก่อศิม บอกว่า ขนาดความกว้างของโต๊ะประมาณ 120 เซนติเมตร และความยาวประมาณ 6 เมตร ซึ่งบนโต๊ะจะนำดินที่เตรียมเองมาใส่เป็นวัสดุปลูก โดยดินประกอบด้วยขี้วัว ขี้ไก่ และดิน นำส่วนผสมต่างๆ มาผสมให้เข้ากัน โดยดินเหล่านี้จะมีการเตรียมไว้อยู่เสมอ เมื่อเห็นว่าดินบนแปลงโต๊ะปลูกยุบก็จะนำดินที่เตรียมไว้ใส่เติมลงไปอยู่เสมอ

โดยก่อนที่จะนำผักสลัดแต่ละชนิดมาปลูกลงในโต๊ะปลูกนั้น จะทำการเพาะต้นกล้าให้มีอายุได้ประมาณ 15 วัน เมื่อต้นกล้างอกจนมีรากและใบเลี้ยงที่สมบูรณ์แล้ว จะนำมาปลูกลงในโต๊ะปลูกให้มีระยะห่างระหว่างต้นอยู่ที่ 20 เซนติเมตร ซึ่งใน 1 โต๊ะปลูกสามารถปลูกผักสลัดได้ 120-130 ต้น

“หลักๆ ผมจะปลูกเป็นผักสลัดอยู่ 2 ชนิด เป็นกรีนโอ๊คและเรดโอ๊ค เพราะตลาดส่วนใหญ่นิยมผักสลัด 2 อย่างนี้ การรดน้ำผมก็จะตั้งเวลาไว้ ใน 1 วันรดน้ำประมาณ 3 รอบ ช่วงเช้าประมาณ 3 นาที ช่วง 11.00 น. ประมาณ 1 นาที และช่วง 14.00 น. ประมาณ 2 นาที รดแบบนี้ทุกวันจนกว่าผักจะได้อายุเก็บเกี่ยวได้ สาเหตุที่ผมรดน้ำด้วยระบบนี้ได้ เพราะบนหลังคาโต๊ะปลูก ผมมีพลาสติกใส 200 ไมครอนคลุม ทำให้เราควบคุมในเรื่องของการรดน้ำเป็นเวลาได้ ส่วนในเรื่องของแมลงศัตรูพืช ผมก็จะป้องกันด้วยสารชีวภัณฑ์เป็นหลัก ฉีดพ่น 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ก็จะช่วยป้องกันแมลงศัตรูพืชได้ และมีความปลอดภัยกับตัวเราเองด้วย” คุณก่อศิม บอก

ซึ่งจากการปลูกผักสลัดที่มีการวาดแผนการปลูกที่เป็นระบบนี้เอง ทำให้ผลผลิตที่ได้จากฟาร์มของเขามีจำหน่ายให้กับลูกค้าตลอดปี และที่สำคัญเขาได้ต่อยอดเพิ่มมูลค่าทำเป็นอาหารจำหน่ายเองด้วย จึงทำให้มีรายได้ทั้งจำหน่ายแบบราคาขายส่ง ขายปลีก และกำไรจากการจำหน่ายแบบมีหน้าร้านเอง

ช่วยให้มีกำไรเพิ่ม 5 เท่า

ในเรื่องของการทำตลาดเพื่อจำหน่ายผักอินทรีย์ภายในสวน คุณก่อศิม เล่าว่า เมื่อมีการวางแผนการผลิตที่ค่อนข้างลงตัว และรู้จำนวนของผลผลิตที่จะจำหน่ายได้ในแต่ละเดือนแล้ว การเพิ่มมูลค่าสินค้าจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะจะสามารถทำให้เขามีกำไรเพิ่มขึ้น โดยสินค้ามีตั้งแต่การนำผักสลัดมาทำเป็นสลัดโรล แปรรูปเป็นน้ำผัก การนำมาเป็นส่วนผสมของขนม ซึ่งผักสลัดที่ปลูกทั้งหมด 60 เปอร์เซ็นต์นำมาต่อยอดขายเอง ส่วนอีก 40 เปอร์เซ็นต์ ส่งจำหน่ายเป็นราคาขายปลีกและขายส่งให้พ่อค้าแม่ค้าที่มารับซื้ออยู่เป็นประจำ

โดยราคาผักสลัดอินทรีย์ขายปลีกอยู่ที่กิโลกรัมละ 150 บาท และราคาขายส่งให้กับพ่อค้าแม่ค้าที่มารับซื้ออยู่เป็นประจำ ราคาขายส่งอยู่ที่กิโลกรัมละ 130 บาท ส่วนการเพิ่มมูลค่าทำเป็นสินค้าจำหน่ายเองนั้น สามารถทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 5 เท่า

“การทำตลาดที่ดี คือเราต้องค่อยๆ สะสมลูกค้าอยู่เสมอ และเราเองต้องมีความต่อเนื่องของการผลิตด้วย ก็จะช่วยให้ลูกค้ายังซื้อผักที่ฟาร์มของเรา และถ้าสินค้าเราดีมีคุณภาพ การบอกกันไปปากต่อปากก็จะช่วยการันตีสินค้าของเราได้ ยิ่งช่วงโควิดที่ผ่านมา เป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ได้เลยว่า อาหารทางการเกษตรเป็นสิ่งที่สำคัญ ผมไม่ได้รับผลกระทบอะไร สามารถจำหน่ายได้ตลอด เพราะฉะนั้นก็จะบอกหลายๆ คนว่า ถ้าจะทำเกษตรช่วงแรกมันจะลำบากหน่อย กว่าจะเจอในสิ่งที่จะทำให้เราประสบผลสำเร็จ จากนั้นประสบการณ์ต่างๆ จะสอนเราเอง และทำให้เราสามารถประสบผลสำเร็จได้ ด้วยการทำตลาดที่หลากหลาย เพิ่มมูลค่าสิ่งที่เราทำมากขึ้น” คุณก่อศิม บอก

สำหรับท่านใดที่สนใจในเรื่องของการปลูกผักสลัดอินทรีย์บนโต๊ะ และต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการแปรรูปสินค้าต่างๆ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ หากพูดถึงผลไม้ช่อใหญ่ ผลอวบกลม รสชาติหวานกรอบ หอมชื่นใจ ที่นอกจากจะทานสดๆ แล้วยังสามารถนำมาทำของหวานและเครื่องดื่มได้ คงไม่พ้นลำไยที่เป็นที่นิยมของชาวไทยมายาวนาน และปฏิเสธไม่ได้เลยว่าหลายปีมานี้ ชื่อเสียงของลำไยบ้านแพ้วโด่งดังขึ้นเป็นอย่างมาก ลูกดก ราคาดี มีกำไรงาม

วันนี้ผู้เขียนได้มีโอกาสมาหาคำตอบว่า เพราะอะไรลำไยบ้านแพ้วถึงติดตลาด เมื่อเดินทางมาถึงตำบลบ้านแพ้ว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร จึงได้มาเจอกับประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ปลูกลำไยพวงทองบ้านแพ้ว คุณไพรัช เทียนทอง ซึ่งเป็นเจ้าของสวนลำไยพื้นที่กว่า 14 ไร่ ทั้งยังเป็นแปลงเรียนรู้โครงการส่งเสริมการเกษตรที่ร่วมทำวิจัยกับมหาวิทยาลัยชั้นนำอีกด้วย มาถึงคุณลุงก็ได้ต้อนรับเป็นอย่างดี

คุณไพรัช เทียนทอง ปัจจุบันอายุ 72 ปี เป็นเกษตรกรปลูกลำไยพันธุ์พวงทอง พื้นที่ 14 ไร่ อยู่ที่ตำบลบ้านแพ้ว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ปัจจุบันปลูกลำไยมาเกือบ 20 ปีแล้ว โดยก่อนหน้านี้ปลูกพืชหลากหลาย เช่น มะนาว กล้วย มะม่วง ก่อนที่จะมีความคิดเริ่มศึกษาเพิ่มเติมถึงการปลูกผลไม้ชนิดอื่นจากเพื่อนเกษตรกรด้วยกัน จึงเห็นว่าลำไยให้ผลผลิตดี ดูแลง่าย มีผลกำไรต่อเนื่องทุกปี ทั้งยังเป็นพืชที่ปลูกได้ทุกพื้นที่ของประเทศไทย ทั้งดินร่วน ดินทราย และดินเหนียว “ก่อนหน้าเพื่อนเกษตรกรเขาปลูกพันธุ์เพชรสาคร แต่คนซื้อย่านนี้เขาไม่นิยมเพราะน้ำเยอะ เนื้อแฉะ เราจึงเริ่มหาพันธุ์แปลกๆ มาปลูกกัน จนมาเลือกปลูกพันธุ์พวงทองเพราะเป็นลำไยที่เหมาะที่จะปลูกภาคกลาง” โดยเฉพาะอำเภอบ้านแพ้ว ซึ่งเป็นพื้นที่ดินเหนียว เป็นดินชายทะเลเก่า หรือเป็นดินชายแม่น้ำเก่าซึ่งมีแร่ธาตุอาหารสูง

ลำไยพวงทองเป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตดี ผลใหญ่ เม็ดเล็ก เนื้อกรอบนุ่ม

ลำไยพวงทองช่อหนึ่งมีน้ำหนักประมาณ 2-3 กิโลกรัม ในช่วงที่ปลูกระยะแรกๆ ไม่มีสารบังคับให้ออกผลผลิตนอกฤดูได้จึงไม่ได้ปลูกตลอดทั้งปี แต่ระยะหลังมีสารบังคับให้ออกดอกนอกฤดูได้ เลยหันมาปลูกอย่างจริงจัง โดยคอยปรึกษาหารือเกี่ยวกับการลดต้นทุน การทดลองต่างๆ ร่วมกันกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ปลูกลำไยพวงทองบ้านแพ้วอยู่เสมอ จากนั้นก็เรียกได้ว่าบ้านแพ้วทำให้ลำไยพวงทองติดตลาดและเป็นที่รู้จักไปทั่วประเทศ

การปลูกลำไยต้องคำนึงถึงดินและน้ำเป็นสิ่งสำคัญ

การปลูกลำไยต้องคำนึงถึงพื้นที่ปลูก สภาพดิน ความสมบูรณ์ของน้ำ 3 อย่างนี้สำคัญมาก พื้นที่ตรงไหนก็ได้ ปลูกได้ทั่วประเทศ แต่ถ้าไม่มีแหล่งน้ำใกล้เคียงก็อาจจะได้ผลผลิตไม่ดี หรืออาจจะมีค่าใช้จ่ายเป็นค่าน้ำเยอะขึ้น หากใครอยากจะเริ่มให้ดูลักษณะดินและดูว่าจะปลูกแบบไหน ยกร่อง หรือเต็มพื้นที่ ให้ดูความเหมาะสมก่อน หากเป็นพื้นที่ดินเหนียวแล้วปลูกเต็มพื้นที่ราบจะทำให้เกิดน้ำขัง ดินจะแฉะ ลำไยไม่ชอบดินแฉะ เพราะรากจะเสีย เรื่องการรับซื้อไม่ต้องกังวลเพราะมีแม่ค้ามารับที่สวนอยู่ตลอดๆ

สภาพดินบ้านแพ้วเป็นดินเหนียว การปลูกควรจะยกร่องเพื่อไม่ให้น้ำขัง แต่เนื่องจากสภาพพื้นที่ของคุณไพรัชเป็นร่องสวนอยู่แล้ว จึงไม่ต้องยกร่องใหม่ แต่ควรทำการเกลี่ยและพรวนดินก่อนลงปลูก สำหรับผู้ที่ต้องการปลูกแบบยกร่อง หากจะยกร่องใหม่ควรมีวิธีการยกร่องที่ถูกต้อง ควรจะยกร่องให้สันร่องกว้าง 6-8 เมตร ร่องคูน้ำกว้าง 1.0-1.5 เมตร ลึก 0.5-1.0 เมตร ไม่ควรให้ร่องต่ำเกินไปเพื่อป้องกันน้ำท่วม จากนั้นนำกิ่งตอนปลูกลงไปในหลุม ขนาดหลุมประมาณ 50x50x50 เซนติเตร หรือ 75x75x75 เซนติเมตร ระยะระหว่างต้นระหว่างแถวที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 8×8 เมตร หลังจากปลูกรดน้ำต่อเนื่องทุกวันเป็นเวลา 1 สัปดาห์ จากนั้นจึงเว้นระยะ 2 วันให้ครั้งหนึ่ง

เมื่อมีอายุของต้นประมาณ 6 เดือน จึงเริ่มให้ปุ๋ย ปกติคุณไพรัชให้ปุ๋ยหมักปีละ 1 ครั้ง ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยเคมีบ้าง ถ้าหากสังเกตว่าใบเก่าเริ่มแก่และต้องการให้แตกยอดใหม่ หรือดูความเหมาะสมจากการสังเกต ถ้าหากสภาพต้นมีความสมบูรณ์ดีก็ไม่จำเป็นต้องให้ปุ๋ยบ่อย ถ้าหากใครต้องการให้บ่อยก็อาจจะให้ครั้งละน้อย หลังจากปลูก 3 ปี จึงจะเป็นช่วงเวลาที่ต้นสามารถให้ผลผลิตได้ เมื่อต้นมีความเจริญดีจึงเริ่มให้สารโพแทสเซียคลอเรตบริเวณโคนต้น ให้ทั่วทรงพุ่มเพื่อบังคับให้เกิดดอก นับจากราดสารลงไป 7 เดือน จึงจะเริ่มมีผลผลิตครั้งแรก เมื่อลำไยออกช่อแล้วต้องมีการตัดแต่งช่อลำไยเพื่อไม่ให้จำนวนช่อต่อต้นมากเกินไป ซึ่งมีผลทำให้ช่อไม่สมบูรณ์ โดยอาจะเก็บไว้เพียงครึ่งหนึ่งของจำนวนช่อทั้งหมด หรือน้อยกว่านั้น แรกเริ่มคุณไพรัชได้นำกิ่งพันธุ์มาจากจังหวัดกำแพงเพชร หลังจากนั้นจึงทำการขยายพันธุ์เองโดยการตอนกิ่งเรื่อยมา

พันธุ์เบี้ยวเขียว เนื้อเหนียวแต่รสชาติดี มีกลิ่มหอม เป็นที่นิยมของชาวออสเตรเลีย

พันธุ์อีดอ หรือ ดอ คล้ายคลึงพวงทอง แต่เม็ดใหญ่กว่า เนื้อบางกว่า ลูกเล็กกว่า

พันธุ์สีชมพู เป็นพันธุ์เก่าแก่รสชาติหวานกรอบ เนื้อสีชมพูระเรื่อ มีน้ำเยอะ

พันธุ์พวงทอง ผลใหญ่ เม็ดเล็ก เนื้อหนา หวานและกรอบ ลำไยนอกฤดู ปลูกได้ตลอดปี พลิกชีวิตเกษตรกรไทย

การทำลำไยนอกฤดู จะเริ่มทำประมาณเดือนพฤษภาคม sananegerek.com ดอกจะออกช่วงมิถุนายน 1 เดือนหลังราดสารบังคับ (โพแทสเซียคลอเรต) จะเริ่มออกดอก นับจากราดสาร 7 เดือน จะเริ่มให้ผลผลิต ใน 1 รอบ ทำปีละครั้ง โดยจะเริ่มต้นเดือนใดก็ได้ แต่ที่อำเภอบ้านแพ้วจะแบ่งรอบการราดสารบังคับของแต่ละสวนไม่ให้ราดพร้อมกัน เนื่องจากถ้าออกผลผลิตพร้อมกันหมดจะทำให้เกินความต้องการของตลาด และราคาตกได้ ถ้าราดสารเดือนพฤษภาคมจะสามารถเริ่มเก็บผลผลิตได้ตั้งแต่ประมาณต้นเดือนพฤศจิกายนเรื่อยมาจนถึงมิถุนายนของอีกปี

ย้อนไปเมื่อประมาณ 6 ปี พบวิกฤติที่หนักที่สุดคือลมร้อน หรือลมมรสุมฤดูร้อน โดยจะเริ่มพัดมาช่วงเดือนพฤษภาคมยาวไปถึงตุลาคม แต่จะหนักช่วงเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม ส่งผลให้ดอกลำไยเสียหาย

“บางปีเราก็แทบจะไม่ได้อะไรเลย ลุงเครียดมาก สุดท้ายจึงคิดดิ้นรนไปถึงแม่โจ้ พาคณะขึ้นไป 10 กว่าคน ไปเจออาจารย์พาวิน ผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน มะโนชัย อาจารย์สาขาไม้ผล คณะผลิตกรรมการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ อาจารย์ให้บรรยายถึงปัญหาบนเวที ตอนนั้น รศ.สพญ.ดร. ประภาพร ขอไพบูลย์ ผู้อำนวยการฝ่ายเกษตร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้ฟังปัญหาของลุง ท่านก็ได้ถามไถ่และมอบหมายให้อาจารย์พาวินมาดูแล จากนั้น 3 เดือน อาจารย์พาวินได้ลงมาทำงานวิจัยและเชิญหลายมหาวิทยาลัยมาด้วย รวมถึงมหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วัชระ จินตโกวิท และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อุษณีย์ พิชกรรม เป็นผู้นำทีม ตอนนั้นได้งานวิจัยและความรู้มาเยอะแยะเลย เรารอดแล้ว” ความรู้ที่ประเมินค่าไม่ได้จากการวิจัยร่วมกับมหิดล

จากนั้นเรื่อยมา คุณไพรัชจึงได้ทำการทดลองร่วมกับอาจารย์จากมหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วัชระ จินตโกวิท และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อุษณีย์ พิชกรรม และคณะ โดยเข้ามาทำงานวิจัยในเรื่องการป้องกันการเสียหายจากการที่ได้รับผลกระทบการลมร้อนเข้าทำลายดอก จากพื้นที่ 14 ไร่ ของคุณไพรัชนั้น ได้แบ่ง 7 ไร่ เป็นแปลงวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อได้ผลการวิจัยดีจึงนำวิธีไปใช้กับอีก 7 ไร่ ที่เหลือและกระจายความรู้สู่กลุ่มเกษตรกร เบื้องต้นคณะอาจารย์ให้ความรู้ง่ายๆ ต่อเกษตรกรว่า พืชจะมีใบที่ปาก พอน้ำน้อยปากใบจะปิดเพื่อป้องกันไม่ให้เสียน้ำ แต่ดอกไม่มีปาก หากสูญเสียความชุ่มชื้นแล้วจะเหี่ยวและหลุดร่วงไปก่อน เราจึงต้องทำให้ภายในดอกชุ่มชื้นโดยการเพิ่มการรดน้ำเมื่อมีลมร้อนมา

“พอลมมานะ ดอกมันจะแห้งไปหมดเลย บางทีเราเห็นดอกเต็มต้นแต่พอมีลมร้อนมาสัก 2-3 วัน ดอกอ่อนๆ จะแห้งเสียหายหยุดโตหมดเลย เราก็แก้โดยการให้น้ำ ไม่ต้องไปฉีดเคมี น้ำใช้น้ำเป็นตัวกระตุ้นให้ต้นลำไยมีน้ำให้สมบูรณ์ ปลายยอดสมบูรณ์ แล้วดอกจะสมบูรณ์ขึ้น ทำให้เมื่อมีลมร้อนมา ดอกจะไม่เสียหาย”