วัตถุประสงค์ของการพัฒนา อพท. คือการลดปริมาณคาร์บอน

ทั้งการท่องเที่ยว การกำจัดขยะ การใช้พลังงานทดแทน แม้กระทั่งวิถีชุมชน ต้นทุเรียนพันธุ์เกาะช้างที่มีอายุ 40-50 ปีขึ้นไปจะมีขนาดใหญ่ สูง 10-20 เมตร ดูดซับปริมาณคาร์บอนได้ดี และส่วนใหญ่ชาวสวนจะใช้ปุ๋ยอินทรีย์ตามธรรมชาติซึ่งช่วยรักษาสภาพแวดล้อมธรรมชาติ หากช่วยพัฒนาด้านการตลาดเพิ่มมูลค่าของทุเรียนให้เห็นผลชัดเจนเกษตรกรจะให้ความร่วมมือมากขึ้น เมื่อเริ่มต้นประชาสัมพันธ์เพื่อทำตลาดจากปีนี้ไปอย่างต่อเนื่อง

ต่อไปจะสนับสนุนให้ประกวดทุเรียนต้นใหญ่ เพื่อให้สวนทุเรียนชะนีเกาะช้างเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกทางเลือกหนึ่ง ส่วนด้านตลาดจะเจาะในศูนย์การค้าขนาดใหญ่ระดับไฮน์เอนด์ ตอนนี้เหลือชาวสวนปลูกไม่มากนัก รายละ 4-5 ไร่ ประมาณ รายละ 100 ต้นเศษๆ เท่านั้น จึงต้องรีบอนุรักษ์และพัฒนาอนาคตเกาะช้างจะมีทุเรียนพันธุ์ชะนีเป็นผลิตภัณฑ์ลดคาร์บอนที่ต่างประเทศให้ความสนใจ

ส้มเขียวหวาน ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี นครนายก และสระบุรี เคยปลูกมากถึง 2 แสนไร่ หลังจากพืชนี้ล่มสลาย เกษตรกรหันมาทำนา ปลูกกล้วยหอมทอง ซึ่งก็สร้างชื่อให้กับจังหวัดปทุมธานีมาจนถึงปัจจุบัน

คุณธนิสร ชีพประกิต หรือ คุณต่าย อยู่บ้านเลขที่ 10/3 หมู่ที่ 8 ตำบลศาลาครุ อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี เคยปลูกส้มเขียวหวานมาก่อน เมื่อโรครุมเร้าต้นส้ม ได้หันมาปลูกกล้วยหอมแทน

คุณต่าย บอกว่า ทำกิจกรรมการเกษตรในพื้นที่ราว 200 ไร่ มีส้มเขียวหวาน 20 ไร่ มะนาว 30 ไร่ กล้วยหอมทอง 40 ไร่ และอื่นๆ ปลูกสลับ…ลดโรคแมลง
ผลผลิตดี
พื้นที่ปลูกพืชของที่นี่เป็นร่องสวนส้มเดิม งานปลูกพืชต่างๆ จึงปลูกตามสันร่อง

คุณต่าย เล่าว่า กล้วยหอม เป็นพืชหลักที่ปลูกแล้วสร้างงานทำเงิน เมื่อเก็บผลผลิตกล้วยหอมหมด ตนเองจะปลูกข้าวโพดหวานสลับ ซึ่งประโยชน์นั้น ช่วยลดการระบาดของโรคแมลง ข้อดีของการสลับด้วยข้าวโพด พืชชนิดนี้อายุการเก็บเกี่ยวสั้น อยู่ที่ 65-70 วัน ก็จำหน่ายได้เงินแล้ว

“นำข้าวโพดหวานมาปลูกสลับ 10 ปีแล้ว ก่อนหน้านี้ เกษตรกรจะเดินไปร้านค้า ซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดมาปลูก ช่วงใดราคาดีก็ดีไป แต่ช่วงใดราคาตกต่ำลำบากมาก ทุกวันนี้มีพ่อค้าอยู่ที่ตลาดไท คอยกำกับปริมาณการปลูกของเกษตรกร ของผมนี้มี เฮียตือ และ เจ๊เพ็ญ เจ้าของแผงที่ตลาดไท ปล่อยเมล็ดพันธุ์ เขาปล่อยเมล็ดให้ปลูกวันหนึ่งราว 40 กิโลกรัม ทุกวัน

เมื่อคนนำเมล็ดไปปลูก…เมื่อมีผลผลิตก็นำไปขายให้กับเฮียตือ ซึ่งปริมาณจะพอเหมาะตลาดไปได้ เฮียจะรู้ว่า ควรเพิ่มหรือลดปริมาณ เมื่อเข้าสู่ระบบนี้ งานปลูกและจำหน่ายจึงไม่มีปัญหา คนปลูกและผู้รับซื้อต่างพึงพอใจในราคา

คนอย่างเฮียตือและเจ๊เพ็ญมีอยู่หลายราย ต่างก็ดูแลเกษตรกรในเครือข่ายของตนเอง ไม่ให้ผลผลิตมากไป น้อยไป…ราคาก็เป็นไปตามกลไกตลาด แถวนี้ หากไม่รู้จักเจ้าของแผงขาย เขาไม่ปลูกกันแล้ว เพราะราคาตกก็แย่” คุณต่าย อธิบายรูปแบบการผลิต

คุณต่าย บอกว่า การปลูกสลับของตนเอง เริ่มจากตัดกล้วยหอมขาย จะปลูกข้าวโพด 1 รอบ ใช้เวลาราว 90 วัน รวมเวลาเตรียมแปลงด้วย หากข้าวโพดมีแนวโน้มว่าราคาดี ก็ปลูกต่อ อีก 1 รอบ แต่ต้องเพิ่มปัจจัยการผลิตพิเศษนิดหนึ่ง จึงจะได้ผลผลิตใกล้เคียงกับครั้งแรก แต่ส่วนใหญ่แล้วจะปลูกข้าวโพดหวานสลับเพียงครั้งเดียว แล้วปลูกกล้วยหอมทองตาม

หากปลูกข้าวโพดอย่างเดียวในรอบปีหนึ่ง จะปลูกได้ราว 3 ครั้ง ที่นี่ ไม่ได้ไถพรวน
คุณต่าย อธิบายการเตรียมดินว่า เริ่มจากใช้สารกำจัดวัชพืชในแปลง ไม่ต้องไถพรวน ก่อนปลูกใช้สารควบคุมวัชพืชไม่ให้งอก แล้วปลูกข้าวโพดหวานลงไปได้เลย การป้องกันกำจัดวัชพืชมีอยู่เพียงเท่านี้ ไม่ต้องทำอะไรอีก ตลอดระยะการปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว

พันธุ์ข้าวโพดหวานที่ปลูก เป็นพันธุ์ “ไฮ-บริกซ์ 33” ท้องถิ่นแถบนี้นิยมปลูกกัน เพราะให้ผลผลิตสูง ต้านทานโรค เกษตรกรผู้ปลูกได้เงินดี ผู้บริโภคติดใจ

พื้นที่ 25 ไร่ คุณต่าย ใช้เมล็ดพันธุ์ 14.5 กิโลกรัม

ระยะปลูก ระหว่างต้น 65 เซนติเมตร ระหว่างแถว 30-40 เซนติเมตร

การเตรียมแปลงเป็นหน้าที่ของเจ้าของ จากนั้นมีทีมรับจ้างปลูกมาปลูกให้ เขาคิดค่าปลูก เส้นละ 80-100 บาท เส้นหนึ่งมีความยาวของแปลง 20 วา จำนวนแถวเฉลี่ย 6-8 แถว ขณะเดียวกันช่วงเก็บก็มีทีมมาเก็บ ไปส่งตลาด คิดค่าเก็บ กิโลกรัมละ 30 สตางค์

น้ำ ปุ๋ย ต้องดี
ศัตรูมี..ต้องระวัง
ถามคุณต่ายบอกว่า …ให้น้ำมากน้อยแค่ไหน

เขาบอกว่า ไม่สามารถระบุว่า ให้น้ำกี่วันเว้นกี่วัน แต่อาศัยการสังเกตและความชำนาญ ดูดิน อย่าให้แฉะ แต่ไม่ให้แห้งจนเกินไป…หากพบว่าดินแห้งก็ใช้เรือรดน้ำรดให้ ช่วงไหนฝนชุกก็ไม่ต้องให้น้ำ

สำหรับปุ๋ย ใส่ให้ 3 ครั้ง เป็นปุ๋ยยูเรีย สูตร 46-0-0

ใส่ครั้งแรก…เมื่อต้นข้าวโพดอายุได้ 15 วัน ใส่ที่โคนต้น จำนวน 1 ช้อนแกง ต่อต้น

ใส่ครั้งที่สอง…เมื่อต้นอายุได้ 30 วัน ใส่ให้ จำนวน 2 ช้อนแกง ต่อต้น

ใส่ครั้งที่สาม…เมื่อต้นอายุได้ 45 วัน จำนวนเท่าครั้งที่ 2

จากนั้นเรื่องปุ๋ย ไม่ต้องใส่อีกเลย

คุณต่าย บอกว่า มีศัตรูข้าวโพดที่ต้องระวัง โดยเฉพาะหนอนเจาะลำต้น เจ้าของใช้ทั้งวิธีป้องกันก่อนที่จะพบศัตรู และรีบกำจัด เมื่อพบเห็นจำนวนเล็กน้อย

ส่วนโรค พบโรคกาบใบแห้ง หากเป็นหน้าฝนพบโรคต้นเน่า

เนื่องจากว่า คุณต่ายปลูกข้าวโพดหวานมานาน มีแปลงข้าวโพดทุกระยะ จึงเกิดความชำนาญ สามารถทราบสถานการณ์การระบาดของศัตรูพืชได้ ทำให้ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด อายุ 65-70 วัน เก็บผลผลิตได้
คุณต่าย บอกว่า หลังปลูกไป 65-70 วัน สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวโพดหวานได้

ถามว่า มีวิธีดูว่าข้าวโพดหวานเก็บเกี่ยวได้แล้วอย่างไร

คุณต่าย บอกว่า

หนึ่ง. นับวัน คือหลังปลูก 65 วัน ไปแล้ว

สอง. ดูไหมข้าวโพดเริ่มเหี่ยว และ

สาม. สุ่มแกะดูที่ฝักหลายๆ จุด ซึ่งวิธีนี้จะเห็นเมล็ดเหลืองสวย “ตั้งแต่ปลูกข้าวโพดหวานมา เคยขายราคาต่ำสุด 5 บาท ต่อกิโลกรัม แต่โดยทั่วไปแล้ว อยู่ที่ 8-9 บาท…ช่วงปลายปี คือเดือนตุลาคมถึงปีใหม่ ราคาข้าวโพดหวานดีมาก จึงมีการปลูกเสริมปลูกสลับถือว่าโอเค อยู่ได้ ต้นทุน ไร่ละ 3,500-4,000 บาท…ผลผลิต 1 ตัน ต่อไร่ขึ้นไป…เกษตรกรเขตอื่น อาจจะมีอาชีพปลูกข้าวโพดหวานเดี่ยวๆ แต่แถวปทุมธานี ปลูกสลับกับกล้วยหอมทอง…”

คุณต่าย บอกว่า ลักษณะประจำพันธุ์ข้าวโพดหวานที่ปลูกอยู่ ผลผลิตต่อไร่ค่อนข้างสูง แต่ที่จังหวัดปทุมธานีและบริเวณใกล้เคียง แปลงปลูกส่วนใหญ่เสียไปกับร่องน้ำ จำนวนต้นต่อไร่และผลผลิตที่ได้จึงไม่มาก เหมือนอย่างข้าวโพดปลูกในสภาพไร่ แต่ที่ลุ่มอย่างปทุมธานีได้เปรียบสภาพไร่ คือปลูกได้หมุนเวียนตลอดปี เพราะน้ำอุดมสมบูรณ์

ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเรื่องการปลูก สอบถามคุณต่ายได้ตามที่อยู่ หรือโทรศัพท์ 061-497-5651

อยากทราบการจัดการเมล็ดพันธุ์ ปัจจัยการผลิต และระบบปลูก สอบถามได้ที่ ร้านทองการเกษตรคลองสิบเอ็ด โทรศัพท์ 084-103-3454 ผลผลิตทั้งเปลือก 3,347 กิโลกรัม ต่อไร่
ผลผลิตปอกเปลือก 2,190 กิโลกรัม ต่อไร่
จำนวนแถวเมล็ด 16-18 แถว ต่อฝัก
ความยาวฝัก 19-21 เซนติเมตร
ความกว้างฝัก 5.0-5.5 เซนติเมตร
ความต้นทานโรค ปานกลาง ข้าวหอมมะลิเป็นอีกหนึ่งสินค้าทางการเกษตรที่ขึ้นชื่อของเกษตรกรผู้ทำนา เพราะจะเห็นได้จากการค้าขายทั้งในและต่างประเทศ ผู้บริโภคต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันถึงความอร่อยและมีรสสัมผัสที่ดี ซึ่งข้าวหอมมะลิที่ปลูกในแถบอีสานเป็นอีกหนึ่งผลผลิตที่ค่อนข้างเป็นเอกลักษณ์ในเรื่องของความนุ่มและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว พร้อมทั้งมีการผลิตแบบอินทรีย์ส่งผลให้ข้าวหอมมะลิอินทรีย์เป็นอีกหนึ่งสินค้าที่มีคุณภาพตามที่ตลาดมีความต้องการ

“ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้” เป็นอีกหนึ่งสินค้าที่มีคุณภาพ เพราะข้าวที่ปลูกในพื้นที่แห่งนี้จะเป็นข้าวที่ค่อนข้างมีความหอมเป็นอย่างมาก ด้วยสภาพพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้เป็นแอ่งกระทะขนาดใหญ่ ดินเป็นดินร่วนปนทราย พื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ จึงทำให้การปลูกข้าวที่เป็นทั้งที่ดินแห้งแล้งและดินที่มีความเค็มนี้เอง ทำให้ข้าวเกิดความเครียดและหลั่งสารหอมออกมาทำให้มีกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์และมีความพิเศษ

คุณเจนณรงค์ ศรีอินทร์ พาณิชย์จังหวัดมหาสารคาม ให้ข้อมูลว่า ทางสำนักงานพาณิชย์จังหวัดมหาสารคามได้จับมือกับสำนักงานพาณิชย์จังหวัดสกลนคร ได้ทำการผลักดันให้ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ GI จังหวัดมหาสารคาม เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน 2550 มีตั้งแต่ข้าวเปลือก ข้าวกล้อง และข้าวขาวที่แปรรูปมาจากข้าวเปลือกพันธุ์ข้าวหอมที่ไวต่อแสงคือ พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ข้าว กข 15 ซึ่งปลูกในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ในฤดูนาปี

ซึ่งสำนักงานพาณิชย์จังหวัดมหาสารคามได้เห็นถึงความสำคัญในด้านนี้ จึงได้เป็นอีกหนึ่งกำลังสำคัญที่จะช่วยให้ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ GI จังหวัดมหาสารคาม มีการผลิตที่เข้มแข็งตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ โดยได้มีการดำเนินในเรื่องของการทำตลาดออนไลน์ ให้เกษตรกรได้นำข้าวหอมมะลิที่มีคุณภาพส่งจำหน่ายส่งตรงถึงมือผู้บริโภคได้อย่างมั่นใจ

คุณสิริชัย ปราบมาตย์ ประธานวิสาหกิจชุมชนศูนย์ผลิตข้าวพันธุ์บ้านสระแคน ตำบลราษฎร์พัฒนา อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ให้ข้อมูลว่า ทางกลุ่มได้มีการทำข้าว GI ที่เป็นสินค้าของกลุ่มในชื่อแบรนด์ ข้าวบุญตา ที่มีผลผลิตตั้งแต่ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ข้าวกล้อง และข้าวลืมผัว โดยทางกลุ่มได้มีการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ทันสมัย และสามารถขนส่งแบบการซื้อขายในยุคปัจจุบันได้เป็นอย่างดี

คุณสิริชัย เล่าให้ฟังอีกว่า การทำนาในพื้นที่มีการทำนาปีละ 1 ครั้ง ซึ่งการผลิตข้าวของกลุ่มจะมีการลดต้นทุนเข้ามาช่วย โดยเฉพาะการลดต้นทุนการผลิตในเรื่องปุ๋ย ได้มีการนำปุ๋ยคอกต่างๆ เข้ามาเสริมการผลิต จึงทำให้การผลิตข้าวสามารถมีต้นทุนการผลิตที่ลดลง

“สมัยก่อนที่ผมทำนา ข้าวก็ค่อนข้างที่จะได้ผลผลิตไม่มาก โดยเฉลี่ยผลผลิตต่อไร่อยู่ที่ 350 กิโลกรัม ต่อมาเมื่อได้มีการปรับเปลี่ยน โดยยึดการลดต้นทุน จะทำนาแบบอินทรีย์ ซึ่งกลุ่มก็มีการผลิตปุ๋ยชีวภาพต่างๆ ไว้ใช้ภายในกลุ่ม จึงทำให้ช่วยได้มากในเรื่องของการประหยัดต้นทุน และที่สำคัญเราทำแบบอินทรีย์ ก็ยิ่งทำให้ข้าวของกลุ่มมีความเป็นเอกลักษณ์ อย่างน้อยในเรื่องของต้นทุนต่ำลง แต่เราได้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น บางช่วงได้ถึง 400 กิโลกรัมต่อไร่” คุณสิริชัย กล่าว

โดยข้าวเปลือกหลังจากเก็บเกี่ยวแล้ว ส่วนหนึ่งก็จะกันไว้เพื่อเป็นข้าวปลูกในฤดูกาลต่อไป ส่วนที่เหลือก็จะนำส่งจำหน่ายให้กับโรงสี และนำอีกส่วนหนึ่งมาทำการจำหน่ายเอง ซึ่งการจำหน่ายเป็นสินค้า GI นับว่าเป็นการการันตีในเรื่องของคุณภาพ เพราะข้าวที่มีสัญลักษณ์ GI ช่วยในเรื่องของการทำราคาได้เพิ่มขึ้น เพราะเป็นตัวบ่งชี้ว่าการผลิตข้าวของที่นี่มีความเป็นเอกลักษณ์

สำหรับการทำตลาดเพื่อจำหน่ายข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ GI จังหวัดมหาสารคาม คุณสิริชัย บอกว่า นอกจากจะมีพ่อค้าแม่ค้าติดต่อเข้ามาซื้อขายจากภายในวิสาหกิจชุมชนศูนย์ผลิตข้าวพันธุ์บ้านสระแคนโดยตรงแล้ว ทางกลุ่มเองก็ได้มีการจัดทำตลาดออนไลน์เพิ่มขึ้น เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเข้ามาติดต่อขอซื้อได้โดยตรง เพราะด้วยระบบการขนส่งที่ทันสมัยในยุคปัจจุบันนี่เอง ทำให้กลุ่มมีการปรับตัวและเรียนรู้ในเรื่องของการทำตลาดอย่างต่อเนื่อง

“กลุ่มเราได้ดำเนินการทำตลาดออนไลน์ เพื่อให้ลูกค้าได้เข้าถึงของดีอย่างข้าวหอมมะลิในพื้นที่ของเรา ซึ่งเราก็มีจำหน่าย ทั้งข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ข้าวลืมผัว และข้าวกล้อง โดยราคาเริ่มต้นอยู่ที่กิโลกรัมละ 59 บาท พอข้าวเราได้เป็นสินค้า GI ก็มองเห็นอนาคตมากขึ้น ว่าเราจะทำยังไงต่อไปในเรื่องของการตลาด เพราะเรามีของดีแล้ว เราต้องพัฒนาต่อไป ก็ต้องขอบพระคุณทางพาณิชย์จังหวัดที่ช่วยส่งเสริมในครั้งนี้” คุณสิริชัย กล่าว

สำหรับท่านใดที่สนใจข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ของวิสาหกิจชุมชนศูนย์ผลิตข้าวพันธุ์บ้านสระแคน สามารถติดต่อสอบถามได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ มะรุม มีประโยชน์มากมาย ใช้บริโภคได้ตั้งแต่ใบอ่อน ดอก ฝักอ่อน และฝักแก่ หรือแม้แต่เมล็ดยังสามารถนำไปสกัดน้ำมันได้อีกด้วย นอกจากนี้ มะรุมยังปลูกง่าย เติบโตเร็ว และทนต่อโรค แม้แต่ปลูกในกระถางก็ให้ผลดีและอยู่ได้หลายปี

วิธีปลูก คัดเลือกเมล็ดที่สมบูรณ์ และแก่เต็มที่ หากหาพันธุ์อินเดียได้จะยิ่งดี เพาะเมล็ดที่เตรียมไว้ลงในถุงเพาะชำสีดำ มีวัสดุปลูกที่ร่วนซุยและระบายน้ำได้ดี หลังเมล็ดงอกประมาณ 2 เดือน ต้นกล้าจะเลื้อยและทอดยอดสูง หรือยาวประมาณ 25 เซนติเมตร ให้ใช้มีดคมๆ และสะอาดตัดต้นให้เตี้ยลง เหลือเพียง 12 เซนติเมตร ผูกกับหลักไม้ขนาดพอเหมาะ ให้ต้นตั้งตรง อีกไม่นานต้นกล้าจะแตกยอดใหม่ออกมาด้านข้างใต้รอยตัดลงมาเล็กน้อย

บำรุงต่อไปอีก 2-3 เดือน ต้นกล้าจะแข็งแรง สมบูรณ์ ลำต้นมีขนาดใกล้เคียงกับแท่งดินสอดำ พร้อมนำลงปลูกในกระถางมังกร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 15-18 นิ้ว หรือใหญ่กว่าก็ได้ ใส่ดินผสมประกอบด้วยดินร่วนสะอาด และกาบมะพร้าวสับขนาดเล็ก หรือแกลบดิบอย่างใดอย่างหนึ่ง อัตรา 3 : 1 พร้อมเติมปุ๋ยคอกเก่าเล็กน้อย คลุกเคล้าจนเข้ากันดีแล้วใส่เกือบเต็มกระถาง ฉีกถุงเพาะชำต้นกล้าที่เตรียมไว้ ระวังอย่าให้ระบบรากฉีกขาด ปลูกลงที่กลางกระถาง กลบดินพอแน่น ปักหลักไม้ผูกกับต้นกล้า ป้องกันลมพัดโยก ใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15 อัตรา 1 ช้อนโต๊ะ โรยบางๆ รอบต้นกล้าแล้วรดน้ำตาม วางกระถางในตำแหน่งที่รับแดดได้เต็มที่

แต่ช่วง 3-5 วันแรก ควรพรางแสงให้บ้าง ครบกำหนดแล้วเปิดให้รับแสงได้ หมั่นดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากกระถางมีพื้นที่ขนาดเล็ก ระบบรากจึงถูกกำจัดพื้นที่ ทำให้ประสิทธิภาพการหาอาหารต่ำลง ปุ๋ยจึงขาดไม่ได้ จึงจำเป็นต้องให้ปุ๋ยสูตรเดิม อัตรา 1-2 ช้อนโต๊ะ เดือนละ 2 ครั้ง แต่อาจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม เมื่อต้นมะรุมมีอายุ 5-6 เดือน ต้นจะเติบโตอย่างรวดเร็ว ต้องตัดต้นให้เตี้ยลง เหลือความสูงไว้เพียง 50-80 เซนติเมตร ทาแผลด้วยปูนแดง ป้องกันเชื้อโรค บำรุงต้นต่อไป ภายใน 1 สัปดาห์ ต้นมะรุมจะแตกยอดใหม่ออกทางด้านข้าง ใต้รอยตัด

หมั่นรดน้ำใส่ปุ๋ย เมื่อต้นมะรุมมีอายุ 7 เดือน หลังจากปลูกลงในกระถาง ต้นมะรุมจะออกดอกสะพรั่ง ระยะนี้ให้โชยน้ำเป็นละอองไปที่ดอก จะช่วยให้ติดฝักดีขึ้น ทอดระยะไปอีกประมาณ 1-2 เดือน ฝักมะรุมจะสมบูรณ์เต็มที่ สามารถเก็บเกี่ยวไปบริโภคได้ตามต้องการ

สระแก้ว เป็นจังหวัดที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตร พืชเศรษฐกิจหลัก ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ลำไย มะม่วง ชมพู่ พืชผัก และสมุนไพร

ปัญหาที่เกิดกับภาคเกษตรกรรมเป็นประจำซ้ำซากคือ ภัยธรรมชาติน้ำท่วม ฝนแล้ง โรค/แมลงศัตรู และดินขาดความสมบูรณ์ ส่งผลกระทบต่อรายได้เกษตรกร ทางราชการต้องใช้งบประมาณช่วยเหลือเยียวยาเป็นจำนวนหลายร้อยล้านบาทต่อปี

ที่ผ่านมา สำนักงานเกษตรจังหวัดสระแก้ว ได้จัดเวทีระดมความคิดเห็นจากเกษตรกรและผู้นำท้องถิ่นในพื้นที่ที่ประสบปัญหา ได้แก่ อำเภอตาพระยา โคกสูง อรัญประเทศ และวัฒนานคร ซึ่งพบว่ามีปัญหาเหมือนกัน ดังนั้น แนวทางแก้ไขควรมุ่งเน้นไปยังพื้นที่เป้าหมาย แล้วยังมีความคิดเห็นร่วมกันอีกว่าควรเน้นมันสำปะหลังเป็นพืชหลัก สำหรับแนวทางที่ทางสำนักงานเกษตรจังหวัดเสนอความเห็นให้กับเกษตรกรคือ การนำไผ่มาปลูกทดแทนมันสำปะหลัง เพราะปลูกไม่ยาก ลงทุนต่ำ มีความทนทาน แข็งแรง สามารถเจริญเติบโตได้ดี อีกทั้งมีประโยชน์ที่เกิดขึ้นหลายด้าน ช่วยก่อให้เกิดรายได้ตั้งแต่ระดับครัวเรือนไปยังอุตสาหกรรม

ผลจากการหารือสรุปความต้องการของเกษตรกรแบ่งเป็นสองกลุ่ม คือกลุ่มที่ต้องการเปลี่ยนจากมันสำปะหลังไปเป็นไผ่ กับกลุ่มที่ต้องการปลูกมันสำปะหลังต่อ โดยกลุ่มแรกทางสำนักงานเกษตรจังหวัดสระแก้วได้จัดทำเป็นโครงการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไผ่เพื่อความยั่งยืน ภายใต้การปลูกไผ่เพื่อลดความเสี่ยงด้านการเกษตร

ส่วนกลุ่มหลังทางเกษตรจังหวัดแนะนำให้ใช้มันสำปะหลังพันธุ์ทนทานโรคใบด่าง รวมถึงให้เลื่อนเวลาปลูกมันสำปะหลัง ให้เริ่มปลูกช่วงปลายฝนเดือนตุลาคม แล้วไปเก็บเกี่ยวช่วงต้นเดือนกันยายนของปีถัดไป ขณะเดียวกัน ต้องพักแปลงเพื่อตัดวงจรการระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลังไปในตัวด้วย ซึ่งมีเกษตรกรเริ่มปฏิบัติตามคำแนะนำเพิ่มมากขึ้น

สำหรับโครงการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไผ่เพื่อความยั่งยืน ภายใต้การปลูกไผ่เพื่อลดความเสี่ยงด้านการเกษตร คุณประสาน สุขสุทธิ์ หัวหน้ากลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดสระแก้ว กล่าวว่า หลังจากทางสำนักงานเกษตรจังหวัดสระแก้วได้วิเคราะห์พบว่า ปลูกมันสำปะหลังมีความเสี่ยงต่อปัญหามาอย่างต่อเนื่อง

ดังนั้น จึงมองหาพืชชนิดอื่นที่จะช่วยลดความเสี่ยงลงให้มากที่สุด เพราะที่ผ่านมาการทำเกษตรกรรมปลูกพืชแต่ละชนิดไม่เคยคำนึงถึงปัญหาผลกระทบที่ตามมาในอนาคตว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ควรเปลี่ยนพืชชนิดอื่นที่มีภูมิคุ้มกัน กระทั่งมองว่า “ไผ่” น่าจะเป็นพืชที่ตอบโจทย์ปัญหาที่เกิดขึ้นได้

ไผ่นำมาใช้ประโยชน์ได้ตั้งแต่หน่อ กิ่ง ใบ ลำ

พันธุ์ไผ่ที่ส่งเสริมคือ ซางหม่นราชินี เพราะมีคุณสมบัติเหมาะกับพื้นที่คือ มีความทนแล้ง ทนโรค แข็งแรง เจริญเติบโตดี ดูแลไม่ยุ่งยาก มีลำตรงขนาดปานกลางคือ ราว 4-5 นิ้ว เป็นขนาดลำที่ตลาดรับซื้อต้องการ ขณะเดียวกัน พันธุ์นี้ยังมีงานวิจัยของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พบว่า สามารถนำใบไผ่มาสกัดเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เพื่อเป็นวัตถุดิบหลักตั้งต้นในภาคอุตสาหกรรมหลายชนิด สรุปคือการปลูกไผ่นำมาใช้ประโยชน์ได้ตั้งแต่หน่อ ใบ ลำ

“อย่างใบไผ่เริ่มนำมาใช้ประโยชน์ในการทำชาเมื่ออายุต้นประมาณ 6 เดือน ทางสำนักงานเกษตรจังหวัดสระแก้วได้เข้ามาให้ความรู้และส่งเสริมให้ชาวบ้านทำชาใบไผ่ ให้เริ่มต้นใช้ดื่มในครอบครัวก่อน จากนั้นแจกจ่ายญาติ เพื่อน เมื่อรับรู้ถึงประโยชน์เป็นวงกว้างแล้วค่อยวางแผนทำในเชิงพาณิชย์ต่อไป

นอกจากนั้น เมื่อต้นไผ่แตกกิ่งก้านมีขนาดเหมาะสมให้นำไปเผาเป็นถ่านชีวภาพไบโอชาร์ อีกทั้งยังได้น้ำส้มควันไม้ร่วมด้วย โดยได้รับความช่วยเหลือและสนับสนุนเตาเผาถ่านพร้อมชุดดักเก็บน้ำส้มควันไม้จากทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี”

ประโยชน์ของถ่านไบโอชาร์ยังนำไปเป็นวัตถุดิบในการผลิตปุ๋ยและดินปลูก mindymeyer4senate.com เพื่อช่วยเกษตรกรลดต้นทุนการซื้อปุ๋ยที่มีราคาแพงมาก ส่วนน้ำส้มควันไม้นำมาใช้กับภาคเกษตรกรรมเพื่อใช้กำจัดแมลงศัตรูและโรคพืช นับเป็นการช่วยลดต้นทุนการซื้อสารป้องกันโรคแมลง แล้วยังเลี่ยงการใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ด้วย นอกจากนั้น หากผลิตถ่านและน้ำส้มควันไม้ได้มากเกินความจำเป็นสามารถนำไปขายมีรายได้อีกด้วย

มีการอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรอย่างต่อเนื่องและหาแหล่งรับซื้อไผ่ทั้งหน่อและลำไม้ไผ่ สำหรับกิ่งและใบไผ่ที่มีอยู่ในสวนไผ่ได้ส่งเสริมทำถ่านชีวภาพไบโอชาร์ และดักเก็บน้ำส้มควันไม้ และนำไปใช้ในไร่นาของเกษตรกรเอง เป็นการลดต้นทุนการผลิตและใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรอย่างคุ้มค่าตอบสนองการจัดการวัสดุแบบ Zero Waste ตอบสนองการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแบบ BCG ทำให้เกิดการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืนในอนาคตต่อไป

ตั้งธนาคารไผ่ หวังให้เกษตรกรพึ่งตนเอง

คุณประสาน กล่าวว่า มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการจำนวนกว่า 600 ราย ใช้พื้นที่ปลูกในช่วงเริ่มต้น จำนวน 874 ไร่ แนวทางการส่งเสริมจะใช้หลักการพึ่งพาตนเองเป็นแนวปฏิบัติ มีการจัดตั้งธนาคารไผ่ขึ้นในทุกชุมชนเพื่อบริหารจัดการให้เกษตรกรกู้ยืมพันธุ์ไผ่ กำหนดให้ทำธุรกรรมโดยไม่ใช้เงิน แต่ให้ใช้พันธุ์ไผ่แทน

ในช่วงเริ่มแรก ทางภาครัฐจะจัดหาพันธุ์ไผ่จ่ายไปตามธนาคารไผ่ในแต่ละชุมชน โดยธนาคารไผ่กำหนดหลักเกณฑ์ว่า ชาวบ้านที่ต้องการพันธุ์ไผ่จะต้องรวมกัน จำนวน 5 คน เพื่อช่วยค้ำประกันร่วมกันจากธนาคารไผ่ เมื่อปลูกไปแล้วในระยะเวลา 3 ปี ต้องขยายพันธุ์นำมาคืน ในสัดส่วน 1 : 15 คือต้นพันธุ์ที่ยืม 1 ต้น กับดอกเบี้ยเป็นต้นพันธุ์ จำนวน 15 ต้น ทำให้ธนาคารไผ่จะได้รับคืนต้นพร้อมดอกเบี้ยทุกปี ปีละ 15 เท่า แล้วจัดให้รายอื่นที่สนใจมายืมต่อไปในลักษณะเดียวกัน

“ดังนั้น พื้นที่ปลูก 874 ไร่ เมื่อครบ 3 ปีจะเพิ่มจำนวน 15 เท่า อย่างไรก็ตาม ต้นพันธุ์ที่เหลือจากการคืนธนาคารไผ่แล้ว เกษตรกรสามารถนำไปปลูกขยายผลเพิ่มต่อเนื่องหรือขายเพื่อสร้างรายได้อีก พันธุ์ไผ่ที่คืนจะให้เกษตรกรรายอื่นมากู้ยืมขยายพื้นที่ปลูกต่อไปจนกว่าจะครบกับความต้องการของเกษตรกรที่มีความประสงค์อยากปลูกไผ่ของจังหวัดสระแก้ว”

นำหน่อกล้วยกับไผ่ ลงปลูกหลุมเดียวกัน สร้างคุณภาพ

หัวหน้ากลุ่มอารักขาพืช กล่าวว่า ระยะเริ่มต้นโครงการจะลองให้ปลูกไผ่ก่อนรายละ 2 ไร่ และไผ่ 1 ต้น ขยายพันธุ์ได้กว่า 50 ต้นต่อปี การเริ่มต้นปลูกเพื่อให้ได้ผลดีควรปลูกไผ่ร่วมกับกล้วย เพราะจุลินทรีย์และความชื้นหน่อกล้วยจะช่วยหล่อเลี้ยงการเจริญเติบโตของไผ่ให้มีคุณภาพ อีกทั้งระหว่างรอต้นไผ่โต ผลกล้วยและอีกหลายส่วนยังนำมาใช้ประโยชน์เอง หรือขายสร้างรายได้อีก

การปลูกไผ่สามารถปลูกได้โดยไม่ต้องปรับปรุงพื้นที่ก่อน วิธีปลูกให้ขุดหลุม ขนาด 50x 50x 50 เซนติเมตร ใช้ระยะห่างต้น 4×4 เมตร ได้จำนวน 100 ต้นต่อไร่ แล้วนำถ่านไบโอชาร์จำนวนครึ่งกิโลกรัม ผสมกับปุ๋ยคอก 5 กิโลกรัม และดินปลูกรองก้นหลุมเพียงครั้งเดียวในปีแรก