วันที่ไปนั้นเป็นวันเดียวกับที่ทางเจ้าหน้าที่สหกรณ์ฯ มาตัดกล้วยพอ

สังเกตเห็นชัดว่ากล้วยของสวนคุณพุฒิภูมิมีขนาดใหญ่ๆ ใกล้เคียงกัน และแต่ละลูกแต่ละหวีผิวสวยไม่มีรอยด่างดำ ทั้งๆที่ตอนออกเครือแล้วไม่ได้นำถุงหรือภาชนะใดๆ มาครอบ ส่วนหนึ่งเพราะเขาตัดแต่งใบอยู่ตลอด

นับว่า คุณพุฒิภูมิ เป็นเกษตรกรปลูกกล้วยหอมทองอีกรายที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี สนใจอยากไปดูสวนของเขาหรือ ไปซื้อหน่อพันธุ์ ติดต่อสอบถามได้ที่ พื้นที่หมู่ที่ 10 ตำบลห้วยหอม อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ส่วนใหญ่เกษตรกรใช้พื้นที่ทำการเกษตรในรูปแบบของไร่มะขามเทศ ไร่อ้อย และท้องนา อีกจำนวนหนึ่งปล่อยเป็นที่รกร้างว่างเปล่า เนื่องจากพื้นที่บริเวณนี้ขาดแคลนน้ำที่ใช้ในการทำการเกษตร เนื่องจากระบบชลประทานเข้าไม่ถึง จำนวนมากต้องขุดบ่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ สำหรับพืชไร่และพืชสวน ส่วนที่นา อาศัยความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ

หากมีเกษตรกรคนใดปลูกพืชที่นอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้น ในบางโอกาสจะถูกมองว่า มีความคิดที่แปลกแตกต่าง แต่ความคิดที่แปลกแตกต่างของเกษตรกรที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ จัดว่าเป็นความคิดที่แปลกแตกต่างเพื่อก้าวสู่การพัฒนา ในแบบฉบับของเกษตรกรตัวจริง

ช่วงสายในปลายฤดูหนาว “นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน” เดินทางไปยัง หมู่ที่ 10 ตำบลห้วยหอม อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อพบกับเกษตรกรหนุ่ม คุณณรงค์ ร่างใหญ่ ผู้ซึ่งผันพื้นที่ปลูกอ้อย เกือบ 3 ไร่ มาปลูกมะนาวแทน

“ใครๆ ก็คิดว่าผมบ้า หรือไม่ก็คิดแปลกแยกจากคนอื่น เพราะไม่มีใครคิดทำสวนมะนาวเลย”

คุณณรงค์ มีความรู้ทางด้านกฎหมาย จบการศึกษาระดับเนติบัณฑิต ชีวิตการทำงานก้าวเข้าสู่ระบบลูกจ้างได้เพียง 1 ปี ก็ลาออก ก่อนลงทุนปลูกสร้างอพาร์ตเมนต์ให้เช่า ตั้งอยู่ใจกลางเมืองพระนครศรีอยุธยา และยังคงเดินทางยังภูมิลำเนาเดิมที่ตำบลห้วยหอม อยู่เป็นประจำ

คุณณรงค์ บอกว่า ในทุกครั้งของการเดินทางกลับมาเยี่ยมมารดาที่ตำบลห้วยหอม คิดเสมอว่า ไม่ควรปล่อยให้เวลาระหว่างการเดินทางไปกลับสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ รถที่ใช้ในการเดินทางเป็นรถกระบะ ควรบรรทุกของ หรือใช้ประโยชน์ให้คุ้ม น่าจะเป็นการสร้างรายได้ที่ดีกว่า

“ผมมองเห็นว่า ตลาดมะนาวหน้าแล้งน่าสนใจ ราคาแพง ราคาตลาดขายอย่างต่ำ ลูกละ 6 บาท จึงเริ่มศึกษาจากหนังสือและเว็บไซต์ ผิดบ้างถูกบ้าง และเริ่มทดลองทำในพื้นที่เดิมที่ปลูกอ้อยเกือบ 3 ไร่ เปลี่ยนเป็นปลูกมะนาวเกือบ 500 ต้น เหมือนจะไปได้ดี แต่ไม่นานใบมะนาวเริ่มเหลืองโดยไม่รู้สาเหตุ ทำให้แก้ปัญหาไม่ได้”

คุณณรงค์ ตัดสินใจเข้าอบรมการปลูกมะนาวนอกฤดู ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เพื่อศึกษาให้ถ่องแท้ และได้ผล คุณณรงค์ กลับมาแก้ปัญหามะนาวใบเหลืองตามความรู้ที่รับการอบรมมา ทำให้การแก้ปัญหาลุล่วงไปด้วยดี

พื้นที่เกือบ 3 ไร่ แบ่งเป็นบ่อกักเก็บน้ำ 1 ไร่ 2 งาน พื้นที่ที่เหลือทำมะนาวนอกฤดูในวงบ่อซีเมนต์ 2 ไร่ จำนวน 300 วงบ่อ ลงทุนครั้งแรกประมาณ 1.4 แสนบาท ต่อไร่

ใช้วงบ่อซีเมนต์ ขนาด 80 เซนติเมตร วางระยะห่างระหว่างแถว 4 เมตร ระยะห่างระหว่างต้น 3 เมตร

กิ่งพันธุ์ที่ใช้ เป็นมะนาวพันธุ์แป้นพิจิตร 1 และแป้นพวง

สาเหตุที่เลือก 2 สายพันธุ์นี้ คุณณรงค์ บอกว่า เป็นพันธุ์ที่ได้รับความนิยมในกลุ่มภาคกลาง เพราะตลาดที่คุณณรงค์มองไว้ คือ ตลาดภาคกลาง และพันธุ์แป้นพิจิตร 1 ทนทานต่อโรคและแมลง ส่วนพันธุ์แป้นพวง ลูกดก

การเตรียมดินสำหรับปลูกในวงบ่อซีเมนต์ คุณณรงค์ นำวัสดุปลูกประกอบด้วย ดินนา ขี้วัว กากถั่วแระ กากถั่วเขียว จากนั้นไถผาล 7 ดินนาก่อน ทิ้งดินนาที่ไถแล้วตากแห้งเกือบ 1 เดือน แล้วไถผาล 7 อีกรอบให้ดินร่วนซุย นำขี้วัวและกากถั่วโรยแล้วไถกลับไปมา จากนั้นนำรถไถดันพื้นที่ปลูกให้เป็นคู วางวงบ่อ ตักดินใส่วงบ่อที่มีแผ่นรองด้านล่าง

ระบบน้ำและการให้น้ำ คุณณรงค์ ใช้ระบบน้ำหยดกับมะนาวต้นเล็กๆ โดยให้น้ำในช่วงเช้า เพียง 5 นาที หลังจากมะนาวเริ่มโตก็เปลี่ยนระบบน้ำหยดเป็นมินิสปริงเกลอร์ ให้น้ำในช่วงเช้าเช่นเดียวกัน แต่ปรับเวลาเป็น 10-15 นาที หลังจากมะนาวผลิยอดอ่อนให้เห็น คุณณรงค์จะขลิบยอดทิ้ง จากนั้น 15 วัน พ่นสารแพคโคลบิวทราโซลในครั้งแรก และอีก 45 ต่อมา พ่นสารแพคโคลบิวทราโซลอีกครั้ง สำหรับอัตราความเข้มข้นของสารแพคโคลบิวทราโซล ชนิดความเข้มข้น 10% ในอัตรา 80 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร

สารแพคโคลบิวทราโซล เป็นสารที่ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของกิ่งใบ เมื่อกิ่งใบน้อยลง โอกาสการออกดอกก็มีมากขึ้น

มะนาวที่จะบังคับให้ออกนอกฤดูได้นั้น ควรมีอายุอย่างน้อย 8 เดือนขึ้นไป

คุณณรงค์ อธิบายว่า ในช่วงปลายเดือนสิงหาคม หรือต้นเดือนกันยายน ซึ่งเป็นช่วงที่ฝนตก ควรงดให้น้ำ โดยการนำผ้าพลาสติกกันฝนขนาดใหญ่คลุมรอบวงบ่อ สังเกตใบมะนาวจะเริ่มเหี่ยว หลังจากคลุมผ้าพลาสติก ประมาณ 10-15 วัน และนำผ้าพลาสติกคลุมออก เมื่อใบสลด เหี่ยวหรือร่วงประมาณ 75-80% ให้น้ำพร้อมปุ๋ย

การให้ปุ๋ยทางดิน ใช้สูตร 0-0-60 หรือ 15-5-20 ส่วนปุ๋ยทางใบ ใช้สูตร 9-19-34

“หลังจากนั้น ประมาณ 14 วัน มะนาวจะเริ่มแตกใบอ่อน พร้อมออกดอก ระยะนี้ต้องหมั่นดูแลไม่ให้แมลงศัตรูพืชเข้าทำลาย ซึ่งผลมะนาวจะสมบูรณ์พร้อมเก็บจำหน่ายในช่วงฤดูแล้งพอดี”

โรคและแมลงศัตรูพืช คุณณรงค์ เล่าว่า โรคแคงเกอร์ ซึ่งเป็นโรคที่อันตรายที่สุดสำหรับมะนาว ป้องกันโดยพ่นสารคอปเปอร์หลังจากมียอดอ่อนแทงออกมา แต่ถ้ายังพบโรคแคงเกอร์อีก ให้แต่งกิ่งนำไปเผาทิ้ง นอกจากนี้ ควรระวังเพลี้ยไฟ ซึ่งจะทำให้เกิดโรคใบเหลืองในมะนาว ควรใช้ยาฆ่าเชื้อราพ่นป้องกัน

สำหรับ คุณณรงค์ การทำมะนาวนอกฤดูในวงบ่อซีเมนต์ เพิ่งเริ่มต้นในรอบที่ 2 เท่านั้น ซึ่งรอบแรกของการทำมะนาว ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ นับเฉพาะ 150 วงบ่อ คือ ครึ่งหนึ่งของจำนวนวงบ่อทั้งหมด สามารถจำหน่ายได้ราคาดี คิดเป็นต้นทุนและกำไร ราว 3 แสนบาท ราคามะนาวออกจากสวน ลูกละ 5-6 บาท ทีเดียว

สวนมะนาวนอกฤดู ของ คุณณรงค์ ร่างใหญ่ หาง่าย ไม่ไกลแหล่งชุมชน หากท่านใดต้องการปรึกษาหรือเยี่ยมชมถึงสวน คุณณรงค์ยินดีต้อนรับ เรื่องของ คุณธีรเดช กิจสำเร็จ หรือ คุณโจ เป็นเพียงหนึ่งในหลายสิบล้านที่เป็นชาวนา คำว่า ชาวนา สำหรับเมืองไทยเราในสมัยก่อนนั้น ตั้งสมญากันว่า ชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ เพราะต้องปลูกข้าวเลี้ยงคนทั้งประเทศ ข้าวคือพืชเศรษฐกิจตัวหลักสำคัญของประเทศ ถ้าไม่มีข้าว คนในโลกคงดำรงชีวิตอยู่ไม่ได้อย่างแน่นอน อย่าคิดว่าพวกฝรั่งเขาไม่ได้กินข้าวเป็นอาหารหลัก กินขนมปังเป็นอาหารหลัก แล้วขนมปังก็ต้องผลิตจากข้าวอยู่ดีนั่นแหละ

คุณโจทำนา 60 ไร่ ปลูกอ้อย 30 ไร่ คุณโจทำแบบพอเพียง คือไม่ได้ไปกู้เงินมาซื้อรถไถ ไม่ได้จ่ายค่าเช่าที่ดิน แม้แต่ปุ๋ยก็ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมัก ผลิตเอาเอง สำหรับค่าแรงก็จ่ายเท่าที่จำเป็น เช่น จ่ายค่าเกี่ยวข้าว จ้างรถเกี่ยวมาเกี่ยว คนเรานั้นถ้าไม่มีหนี้มากมาย ชีวิตน่าจะมีความสุข

“ผมว่าน่ะ คนเรานั้น ถ้าทำตัวแบบพอเพียง รู้จักประหยัด ไม่ทำตัวหรูหรา ฟุ่มเฟือย ทำตามที่พ่อหลวงสอน ชีวิตก็น่าจะมีสุขแล้ว ผมนะเหล้าไม่ดื่ม บุหรี่ไม่สูบ ผมยังต้องรับภาระเลี้ยงแม่ผู้สูงวัยมาก คืออายุได้ 90 กว่าปี รับภาระครอบครัว ที่ดินที่ผมทำนา ปลูกอ้อยอยู่ทุกวันนี้เป็นที่ดินของแม่ผมเอง พ่อแม่ผมท่านซื้อเองสมัยแต่ก่อน ตั้งแต่สมัยผมเป็นเด็ก แม่ผมเป็นครูในสมัยนั้น ก็เก็บหอมรอมริบซื้อเอาไว้สมัยแต่ก่อน ราคาคงไม่แพงนัก แต่ก่อนเคยให้เขาเช่าทำนา ปลูกอ้อย ผมกลับมาจากเมืองนอก ผมก็คิดว่าผมน่าจะทำเกษตรได้” คุณโจ บอก

พื้นฐานคุณโจ เขาดีอยู่แล้ว เพราะจบจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และได้ต่อโทจากเมืองนอก ได้ทำงานอยู่ประเทศออสเตรีย ก็ได้ประสบการณ์มาเยอะ ทั้งด้านการผลิต การตลาด อยู่ในตัวเขาหมด ความรู้เรื่องข้าว พืชเศรษฐกิจสำคัญตัวนี้ เขามาศึกษาเอาทีหลังไม่ยากอะไร ความรู้มีอยู่ทั่วไป แล้วแต่เราจะศึกษา ค้นคว้าเอาเอง คุณโจ ทำข้าวไรซ์เบอร์รี่ 30 ไร่ ข้าวหอมมะลิ 30 ไร่ ทำอ้อย 30 ไร่ เรียกว่าใช้ที่ดินทุกตารางนิ้วให้เกิดประโยชน์ ตอนนี้ (พ.ศ. 2563) คุณโจ ยังมีโครงการปลูกไผ่เศรษฐกิจเพื่อตัดลำมาเผาถ่าน ตัดหน่อไม้ขายได้ ถ่านนี้คุณโจว่าไม่ใช่ถ่านหุงข้าว เป็นถ่านใช้ประโยชน์อื่นๆ เช่น ถ่านชาร์โคล ทำเครื่องสำอาง ทำไส้เครื่องกรองน้ำ ฯลฯ

คุณโจได้หันมาเป็นเกษตรกรเต็มตัวหลังจากที่ไปทำงานอยู่ต่างประเทศเกือบ 10 ปี คำว่าเกษตรกร หมายถึง คุณโจ หรือคุณธีรเดช ได้ผันตัวเองมาเป็นชาวนา ได้ปลูกข้าวขายเป็นอาชีพได้อย่างสบาย อาจจะมีคนสงสัยว่า ชาวนาน่ะหรือจะมีฐานะความเป็นอยู่ดีเหมือนอาชีพอื่นๆ จะอยู่ดีกินดีอย่างข้าราชการ หรือพวกทำงานเอกชน รัฐวิสาหกิจต่างๆ ซึ่งย่อมมีรายได้ดีกว่าชาวนา แล้วย่อมไม่เคยเจอคำว่า อยู่ดีกินดี หรือมีฐานะดี ยิ่งทุกวันนี้ต่างก็พูดกันว่า ชาวนากับความยากจนเป็นของคู่กัน ปีไหนข้าวราคาถูกชาวนาก็มีแต่หนี้ ปีไหนข้าวราคาดีก็พอรอดตัว คนที่สร้างความร่ำรวยจากชาวนา หรือเกษตรกรก็คือ พ่อค้าคนกลาง คือซื้อถูกขายแพง เจ้าของโรงสีทั้งหลายเหล่านั้นเอง ดังนั้น ไม่ว่ารัฐบาลยุคไหนก็แล้วแต่มีงบประมาณมาช่วยชาวนา

แต่มาในยุคปัจจุบัน คนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถ สามารถลบล้างคำว่า ชาวนายากจนลบออกไปได้ เพียงแต่ให้มีความรู้ความสามารถในการปรับปรุงรูปแบบการทำนาให้ทันสมัยขึ้นตามยุค ดังนั้น ชาวนายุคใหม่ก็จะพ้นจากคำว่าชาวนายากจนไปได้ เพราะว่าเขาไม่ได้ตกเป็นทาสของนายทุน คือชาวนาที่มีความรู้ความสามารถทำเอง ขายเอง คือเป็นทั้งผู้ผลิตและหาตลาดเอง ก็เลยได้ผลงานเต็มเม็ดเต็มหน่วย

ผู้เขียนมีโอกาสรู้จักคุณโจ ก็เลยถือโอกาสสัมภาษณ์เอาความรู้จากคุณโจ ว่าทำอย่างไรจึงเป็นชาวนาได้อย่างเต็มภาคภูมิ คุณโจ เล่าให้ผู้เขียนฟังว่า เขาผลิตเอง เปิดตลาดขายเอง คุณโจมีที่นาอยู่ที่อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ ข้าวไรซ์เบอร์รี่ของคุณโจจะได้ประมาณ 800 กิโลกรัม ต่อไร่

สำหรับข้าวหอมมะลิ โดยคุณโจจะเลือกเมล็ดพันธุ์อย่างดี ชื่อว่า ข้าวหอมมะลิธรรมศาสตร์ สายพันธุ์อายุสั้น สามารถปลูกได้ตลอดปี นา 30 ไร่ คุณโจจะได้ข้าวเปลือก 800×30 เท่ากับ 24,000 กิโลกรัม ถ้าหากขายข้าวเปลือกจะได้กิโลกรัมละ 12 บาทเท่านั้น ขายเป็นข้าวเปลือก หักต้นทุนออกหมดแล้วก็เหลือไม่มาก ไม่ค่อยจะคุ้มเหนื่อย เหลือกำไรหรือค่าแรงไม่มากมายอะไร เพราะต้นทุนในการทำนามีสารพัด เช่น ค่าไถ ตกไปไร่ละ 1,000 บาท รวม 30,000 บาท ค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าปลูก ค่ากำจัดวัชพืช ค่าปุ๋ย ทั้งปุ๋ยอินทรีย์ เคมี ฯลฯ

มีชาวนาอยู่รายหนึ่ง อยู่แถวอำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี เขาเล่าให้ผู้เขียนฟังว่า เขามีที่นาอยู่ 20 ไร่ หักค่าใช้จ่ายต่างๆ ออกแล้วปีหนึ่งเหลือเงินเพียงหมื่นกว่าบาท เท่ากับทั้งปีมีรายได้หมื่นกว่าบาท คิดออกมาเป็นเดือนก็เดือนละพันกว่าบาท โดยเฉพาะค่าปุ๋ยหนักหนามาก ขายข้าวได้แสนบาท ค่าปุ๋ยปาเข้าไป 5-60,000 บาทแล้ว พอเอาข้าวไปขายนายทุนก็จะหักค่าปุ๋ยทันที นอกนั้นก็หักหนี้เก่าที่เคยกู้ไปใช้ก่อนหน้า ขายข้าวแล้วแทนที่จะมีความสุข กลับมีความทุกข์ เพราะต้องไปกู้เขากินต่ออีก

แต่ในยุคปัจจุบัน ชาวนาเขามีการปรับตัวกันมากมาย เช่น ผลิตเอง ขายเอง คือชาวนาคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถ เช่นคุณโจ แทนที่ข้าวหอมไรซ์เบอร์รี่ที่เขาผลิตขายได้หมื่นกว่ากิโลกรัม จะขายให้พ่อค้าโรงสี แต่เขานำมาสีเอง เปิดตลาดขายเอง ข้าวหอมไรซ์เบอร์รี่ หรือข้าวสีม่วงที่เขาผลิตได้นั้น ถือว่าเป็นข้าวมีคุณภาพสูง ผู้ที่ใส่ใจสุขภาพพากันเสาะหาซื้อมาหุงกินเพื่อสุขภาพ เพราะข้าวชนิดนี้มีคุณภาพสูง บำรุงร่างกายได้อย่างดี ถือว่าเป็นข้าววิตามินอย่างที่บรรยายสรรพคุณกันมากมาย ทั้งทางทีวีและสื่อต่างๆ

คุณโจจะสีแล้วนำมาบรรจุถุงขายเอง โดยเปิดตลาดขายอยู่ที่หมู่บ้านประชานิเวศน์ โดยบรรจุถุงละ 1 กิโลกรัม กิโลกรัมละ 50 บาท ถือว่าขายในราคาย่อมเยา มีลูกค้าตอบรับมากมาย เท่ากับว่า ข้าวเปลือก 1,000 กิโลกรัม (1 เกวียน) สีเป็นข้าวสารจะเหลืออยู่ 50% คือ 500 กิโลกรัม เท่ากับ ข้าว 1 เกวียน เขาจะขายได้ 500×50 เท่ากับ 25,000 บาท ถ้าหาก 1 ไร่ คิดออกมาแล้วก็ได้ 20,000 กว่าบาท

ถ้าหากนำไปขายให้โรงสี ก็จะเหลือเพียง 10,000 กว่าบาท ต่อ 1 เกวียน ถ้าชาวนาสามารถปรับตัวได้แบบนี้ ก็เรียกได้ว่า อาชีพชาวนาไม่ได้ยากจนอีกต่อไป

ผู้เขียนจึงเห็นว่า ชาวนาอย่างคุณโจ หรือคุณธีรเดช ถือว่าเป็นชาวนามีคุณภาพคับแก้วอีกท่านหนึ่ง ใครอยากได้ความรู้อะไร ติดต่อคุณโจได้เลยครับ หนู เป็นศัตรูพืชสำคัญที่สร้างความเสียหายให้กับสวนปาล์มน้ำมันทุกระยะ โดยหนูพุกใหญ่ และหนูนาใหญ่ มักกัดทำลายต้นกล้าปาล์มน้ำมันในแปลงเพาะชำและต้นปาล์มปลูกใหม่ นอกจากนี้ ยังมีหนูป่ามาเลย์ ที่เข้าทำลายปาล์มน้ำมันในช่วงให้ผลผลิต กัดกินตั้งแต่ช่อดอกอ่อน ผลปาล์มอ่อน ผลดิบ และกินกระทั่งเนื้อเปลือกผลสุก เกษตรกรหลายพื้นที่ได้รับความเดือดร้อนจากหนูป่ามาเลย์ ที่กัดกินทะลายปาล์มสดเสียหายสะสมรุนแรง ทำให้ขายผลผลิตไม่ได้ราคา รวมทั้งยังต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมีเพื่อกำจัดหนูค่อนข้างสูง แต่ก็ยังไม่สามารถปราบหนูได้ ซึ่งมีหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนทำการศึกษาวิจัย การใช้ “นกแสก” กำจัดหนูในสวนปาล์มน้ำมัน ซึ่งพบว่าได้ผลดีมาก

นกแสก เป็นนกประจำถิ่นของไทยซึ่งมีอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ และเป็นนกกลางคืนที่อาศัยอยู่ใกล้ชุมชน ปกติใช้โพรงไม้และช่องใต้หลังคาเป็นรังวางไข่ กินหนูเป็นอาหาร มีพฤติกรรมล่าเหยื่อในที่โล่ง ทุ่งหญ้า ไร่นา และสวนปาล์มน้ำมัน มีการผสมพันธุ์ในช่วงเดือนกันยายน-กุมภาพันธ์ เลี้ยงลูก 2 ครอก ติดต่อกัน จำนวนไข่ รังละ 5-7 ฟอง จำนวนต่ำสุด 2 ฟอง สูงสุด 15 ฟอง เพศเมียจะฟักไข่ประมาณ 30 วัน ใช้เวลาฟักไข่ 18 ชั่วโมง ต่อวัน ระยะแม่นกฟักไข่และช่วงที่ลูกยังเล็กๆ พ่อนกจะออกล่าเหยื่อนำมาป้อนให้แม่และลูกนกทุกวัน

จากการศึกษาส่วนประกอบของเศษอาหารที่นกแสกสำรอกออกมาในบริเวณที่นกเกาะพักนอน พบว่า นกแสกในสวนปาล์มน้ำมันของไทยกินหนูป่ามาเลย์เป็นอาหารเกือบ 100% โดยนกแสกกินหนูเฉลี่ยวันละ 1-2 ตัว หรือประมาณ 350-700 ตัว ต่อปี ซึ่งหนูจำนวนนี้ถ้าปล่อยให้กัดกินผลปาล์มจะทำความเสียหายต่อผลผลิต ปีละ 1.1-2.5 ตัน คิดเป็นมูลค่าความสูญเสีย ประมาณ 2,750-6,250 บาท ขณะเดียวกันเกษตรกรยังจะเสียเงินค่าซื้อสารเคมีและจ้างแรงงานวางยากำจัดหนู ทำให้มีต้นทุนสูงขึ้นอีก 700-1,400 บาท ด้วย

กรมส่งเสริมการเกษตร ได้ดำเนินงานโครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร กิจกรรมการจัดการศัตรูพืชตระกูลปาล์ม (มะพร้าว และปาล์มน้ำมัน) ดำเนินการใน 14 จังหวัดภาคใต้ ซึ่งมีการจัดทำแปลงสาธิตการจัดการศัตรูพืชตระกูลปาล์มโดยวิธีผสมผสาน จากการติดตามสถานการณ์การระบาดของศัตรูพืช พบว่า หนูเป็นศัตรูพืชที่สำคัญชนิดหนึ่งในสวนปาล์มน้ำมัน โดยจะเข้าทำลายต้นที่ปลูกใหม่และผลผลิต การใช้นกแสกเป็นวิธีการหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมหนูในสวนปาล์ม ช่วยลดการใช้สารเคมี ลดต้นทุนการผลิตและยังเป็นการอนุรักษ์ธรรมชาติให้เกิดความสมดุล

กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ยพิจารณาแล้ว กิจกรรมดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร ซึ่งจะเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับเกษตรกรตามโครงการและเกษตรกรผู้สนใจรายอื่นๆ จึงได้ประสานและขอสนับสนุนนกแสกจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำงานวิจัยเรื่องการใช้นกแสกควบคุมหนูในสวนปาล์มน้ำมันและประสบความสำเร็จในจังหวัดชุมพรและจังหวัดสุราษฎร์ธานีมาแล้ว ให้แก่จังหวัดกระบี่ เพื่อนำไปใช้ในแปลงสาธิตการจัดการศัตรูพืชตระกูลปาล์มโดยวิธีผสมผสาน

จังหวัดกระบี่มีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันกว่า 1,087,500 ไร่ ผลผลิตกว่า 2,675,684 ตัน ต่อปี ซึ่งปัญหาสำคัญของการทำสวนปาล์ม คือหนูทำลายต้นปาล์มที่ปลูกใหม่และผลผลิต สำนักงานเกษตรจังหวัดกระบี่ จึงได้ดำเนินการจัดทำแปลงสาธิตการเลี้ยงนกแสกเพื่อควบคุมกำจัดหนูในสวนปาล์มน้ำมัน 2 จุด และนาข้าว 1 จุด ซึ่งการใช้นกแสกกำจัดหนูเป็นวิธีการกำจัดหนูด้วยวิธีธรรมชาติ ลดการใช้สารเคมี และยังช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยได้มอบหมายให้กลุ่มอารักขาพืช คัดเลือกสถานที่ที่จะทำเป็นแปลงสาธิตการเลี้ยงนกแสก เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับเกษตรกรทั่วไป จำนวนทั้งสิ้น 3 จุด คือ

1.ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ เจ้าของศูนย์เรียนรู้ คุณพันศักดิ์ จิตรรัตน์ บ้านเลขที่ 33/2 หมู่ที่ 5 ตำบลเขาใหญ่ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่

เทคโนโลยีเด่นของศูนย์เรียนรู้ : การลดต้นทุนการผลิตปาล์มน้ำมัน

หลักสูตรเรียนรู้ : 1. การคัดเลือกปาล์มน้ำมันพันธุ์ดี

2.การจัดการสวนปาล์ม

3.การผลิตปุ๋ยหมักและปุ๋ยชีวภาพเพื่อลดต้นทุน

4.การเก็บตัวอย่างดินและใบปาล์มเพื่อส่งวิเคราะห์

5.ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ เจ้าของศูนย์เรียนรู้ คุณสมหวิง หนูศิริ บ้านเลขที่ 261 หมู่ที่ 3 ตำบลทุ่งไทรทอง อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่

เทคโนโลยีเด่นของศูนย์เรียนรู้ : การลดต้นทุนการผลิตปาล์มน้ำมัน/เกษตรผสมผสาน

หลักสูตรเรียนรู้ :

1.การลดต้นทุนการผลิตปาล์มน้ำมัน

2.การเพิ่มรายได้ในสวนปาล์มน้ำมัน

3.คุณประวัติ คลองรั้ว ประธานกลุ่มชาวนาตำบลคลองประสงค์ หมู่ที่ 1 ตำบลคลองประสงค์ อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ (นาแปลงใหญ่) มีสมาชิกกลุ่ม 50 ราย พื้นที่ปลูกข้าว 300 กว่าไร่ เป็นจุดถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร การผลิตปุ๋ยหมัก การทำเกษตรผสมผสาน ให้กับชาวบ้านในชุมชนและนักท่องเที่ยวอีกด้วย

เวลานี้หากจะเอ่ยถึงชื่อไม้ที่มีราคาแพงที่สุดในโลก สมัครเว็บ SBOBET เชื่อว่าท่านทั้งหลายคงจะนึกถึง ไม้พะยูง รวมอยู่ด้วยอย่างแน่นอน ทั้งนี้เนื่องจาก ไม้พะยูง เป็นไม้เนื้อแข็ง เนื้อไม้มีสีสันและลวดลายที่สวยงาม เป็นที่ต้องการของตลาดโลก โดยเฉพาะจีน สิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน นำไปสู่ปัญหาการลักลอบตัดไม้ภายในประเทศ

ประกอบกับไม้พะยูงหายาก และเป็นไม้หวงห้าม “ปลูกได้แต่ตัดยาก” มีการประเมินกันว่า การลักลอบซื้อขายไม้พะยูงขณะนี้ ลูกบาศก์เมตรละ 200,000-600,000 บาท เลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม ถึงแม้การตัดใช้สอยหรือตัดจำหน่ายจะยุ่งยากก็ตาม แต่มีเกษตรกรจำนวนหนึ่ง ได้ปลูกต้นพะยูงเพื่อเป็นการปลูกป่า สร้างความสมดุลทางธรรมชาติและเป็นเงินออมแก่ตนเองหรือลูกหลาน อย่างเช่น

คุณทรงเดช บุญอุ้ม อายุ 65 ปี อยู่บ้านเลขที่ 153 หมู่ที่ 7 บ้านศิลามงคล ตำบลหนองสวรรค์ อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู โทร. (087) 061-6891 ซึ่งเป็นประธานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก) ด้วย

คุณทรงเดช เล่าให้ฟังว่า มีพื้นที่การเกษตรหลายแปลง รวมกันประมาณ 89 ไร่ มีอาชีพหลักคือ ทำการเกษตร โดยทำในรูปแบบไร่นาสวนผสม ได้แก่ ทำนา 30 ไร่ ปลูกพืชผสมผสานหลายอย่าง ได้แก่ กล้วยหอมทอง 400 กอ กล้วยน้ำว้า 600 กอ เพกา 130 ต้น มะพร้าวน้ำหอมกว่า 100 ต้น

ปลูกพืชล้มลุก เช่น ข้าวโพดข้าวเหนียว รุ่นละ 1-2 ไร่ ถั่วลิสง 10 ไร่ มีสระน้ำ ประมาณ 5 ไร่ ได้ปล่อยปลานิล ปลาตะเพียน ปลายี่สก และปลานวลจันทร์ รวมประมาณ 5,000 ตัว เลี้ยงวัว 10 ตัว และไก่ สามารถเลี้ยงครอบครัวได้อย่างสบาย แต่กิจกรรมที่ผมภูมิใจและเป็นการสร้างความสมดุลให้แก่ธรรมชาติและเป็นเงินออมด้วยคือ การปลูกไม้พะยูง พื้นที่ 49 ไร่ หรือประมาณ 19,600 ต้น