วิธีหยอดลงหลุมปลูกในแปลง นำเมล็ดมะระแช่น้ำ อุ่นไว้อย่างน้อย

5-8 ชั่วโมง เพื่อกระตุ้นการงอกและทำให้เปลือกมะระขี้นกยักษ์โอกินาวานิ่มก่อน แล้วนำไปหยอดกลบที่หลุมปลูก หลุมละ 1-2 เมล็ด ในแปลงปลูกได้เลย
หลังการย้ายปลูกกล้ามะระขี้นกยักษ์โอกินาวาลงแปลง แนะนำใช้สารไดโนทีฟูแรน เช่น สารสตาร์เกิล จี อัตรา 2 กรัม ต่อหลุมปลูก หรือต่อต้น ใช้รองก้นหลุม ทั้งแบบย้ายจากกระบะ หรือย้ายจากแปลงเพาะกล้า หยอดพร้อมเมล็ดพันธุ์

โรยรอบโคนต้นหลังปลูกสามารถป้องกันแมลงศัตรูได้หลายชนิด ซึ่งอยู่ในกลุ่มนีโอนิโคตินอยด์ ที่พบในยาสูบทั่วไป มีความเป็นพิษต่ำมากต่อมนุษย์ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นก ปลา และสิ่งแวดล้อม ออกฤทธิ์ดูดซึมเข้าทางระบบราก สามารถป้องกันกำจัดแมลงที่หลบซ่อนอยู่บนต้นพืชและใต้ดินได้ดี มีประสิทธิภาพออกฤทธิ์ควบคุม และกำจัดแมลงได้ยาวนาน 30-45 วัน ป้องกันกำจัดแมลงบนดิน เช่น เพลี้ยจักจั่นฝ้าย เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง แมลงหวี่ขาว เพลี้ยไฟ หนอนแมลงวันชอนใบ หนอนแมลงวันเจาะลำต้น ด้วงเต่าแตง และแมลงใต้ดิน เหมาะสำหรับพืชผัก โดยเฉพาะพืชผักส่งออก

กล้ามะระโอกินาวา มีใบจริง 3-5 ใบ หรือหลังเพาะเมล็ดราวๆ 30-45 วัน ก็สามารถย้ายปลูกลงแปลงได้ หรือปลูกลงถุงดำใบใหญ่ ในกรณีที่ดินปลูกไม่ดีต้องการปรุงดินปลูกเอง หรือมีพื้นที่ปลูกน้อย ระยะปลูก ระหว่างหลุมปลูกให้ห่างกัน ประมาณ 30 เซนติเมตร และระยะห่างระหว่างแถว ประมาณ 1-1.50 เมตร ในกรณีทำค้างแบบกระโจม แต่ถ้าทำแบบขึ้นค้างแบบสี่เหลี่ยมก็เลือกขนาดค้างได้ตามความเหมาะสม

การย้ายกล้าก็จะเหมือนพืชผักทั่วไป คือนิยมย้ายปลูกในช่วงเวลาเย็นที่แสงแดดไม่ร้อนมากนัก เพื่อไม่ให้ต้นกล้าเหี่ยว มะระเป็นไม้เถามีมือเกาะ จำเป็นต้องทำค้างเพื่อให้มะระเลื้อยขึ้นไปได้ ซึ่งการทำค้างต้องใช้ไม้ไผ่ ยาวประมาณ 2.50-3.0 เมตร ปักลงข้างๆ หลุมปลูกหรือข้างๆ ถุง แล้วรวบปลายไม้ทำเป็นจั่วหรือกระโจม มัดให้เหลือปลายไม้ไว้ หรือทำค้างแบบสี่เหลี่ยมตามความต้องการ แล้วใช้ตาข่ายไนล่อนขึงให้ต้นมะระเลื้อยเกาะขึ้นไป

เริ่มต้นในขณะที่เตรียมดินปลูก ควรใส่ปุ๋ยคอกเก่าคลุกเคล้าลงไปในดินด้วย เพื่อช่วยให้ดินร่วน อุ้มน้ำให้อยู่ในดินได้นาน และช่วยรักษาสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินให้อยู่ในระดับเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืช หลังปลูกมะระได้ประมาณ 1 สัปดาห์ ก็จะเริ่มให้ปุ๋ยเคมี ใส่ปุ๋ยทุก 7 วันครั้ง โดยจะเน้นใส่ปุ๋ยเสมอ เช่น สูตร 16-16-16 หลักการคือ เน้นการให้ปุ๋ยบ่อย แต่ให้ครั้งละไม่มาก ให้มะระได้กินปุ๋ยอย่างต่อเนื่อง ถ้าสังเกตว่าต้นมะระยอดแตกไม่ค่อยดี ยอดไม่เดิน ก็อาจจะเปลี่ยนมาใช้ปุ๋ยสูตรตัวหน้า (ไนโตรเจน) สูง อย่าง 25-7-7 พอยอดมะระเดินดีแล้วก็ค่อยกลับมาใช้ 16-16-16 ยืนพื้นตามเดิม

หรือในบางพื้นที่อาจจะหาซื้อปุ๋ยสูตร 25-7-7 ไม่ค่อยมี จะสามารถผสมปุ๋ยสูตรเสมอ 16-16-16 อัตรา 1 ส่วน กับปุ๋ยที่มีสูตรตัวหน้า (ไนโตเจน) สูง เช่น ยูเรีย (สูตร 46-0-0) หรือแคลเซียมไนเตรต (สูตร 15-0-0) เลือกใช้ตามความเหมาะสม อัตรา 1 ส่วน นำมาผสมกัน ส่วนการให้ปุ๋ยทางใบ ฮอร์โมน สารป้องกันกำจัดโรคและแมลง จะฉีดพ่นทุกๆ 5-7 วัน ตั้งแต่ช่วงปลูกแรกๆ พอมะระแตกใบมา 4-5 ใบ ก็เริ่มฉีดพ่นแล้ว เพื่อเร่งต้นให้โตเร็ว แตกยอดเลื้อยขึ้นค้างได้เร็ว โดยจะฉีดพ่นทั้งฮอร์โมนสลับกันไป เช่น สาหร่ายสกัด เร่งการแตกยอด แตกใบ แคลเซียม-โบรอนอี เสริมให้ต้นแข็งแรง ช่วยให้ดอกดี ผสมเกสรดีติดผลได้ดี, แมกนีเซียมเดี่ยว ช่วยทำให้ใบเขียว ขยายลูก สร้างเนื้อ เป็นต้น

ช่วงมะระขี้นกยักษ์โอกินาวา อายุได้ 30 วัน หรือพบว่าเริ่มเห็นดอกของมะระ ให้รดน้ำวันละ 1-2 ครั้ง ตามความเหมาะสม การให้น้ำวันละกี่ครั้ง หรือให้ปริมาณเท่าไร ต้องดูความชื้นดินและสภาพอากาศประกอบ ช่วงที่มะระออกดอกตลอดระยะเวลาที่เลี้ยงผลจะขาดน้ำไม่ได้เลยในช่วงนี้ ไม่เช่นนั้นจะทำให้ต้นมะระไม่ค่อยอยากจะโต ใบดูไม่สดชื่น

เมื่อได้น้ำสม่ำเสมอทุกวัน ระยะนี้มะระจะติดดอกติดผล สังเกตต้นมะระถ้าสมบูรณ์ดี ยอดพุ่งดี มันจะติด ราคาสินค้าเกษตรนั้นขึ้นอยู่กับกลไกของตลาด สินค้าจำนวนมาก ราคาก็ลดลง สินค้าจำนวนน้อย ราคาก็สูงขึ้น ซึ่งเป็นไปตามหลักอุปสงค์-อุปทาน

ในช่วง 4-5 ปีนี้ ต้องยอมรับว่า “มะพร้าวน้ำหอม” นั้นเป็นสินค้าเกษตรดาวรุ่งของไทยชนิดหนึ่ง เมื่อปี 2560 เคยขึ้นไปถึงลูกละ 30 บาท แม้ว่าจะลงมาบ้างแต่ก็ไม่ต่ำกว่าลูกละ 10 บาท กระทั่งราคาตกเหลือเพียงลูกละ 4-5 บาท เท่านั้น โดยพื้นที่แถว อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี ซึ่งเป็นหนึ่งในแหล่งปลูกมะพร้าวน้ำหอมแหล่งใหญ่นั้นจะมีล้งจีน ทั้งล้งของคนจีนเองและล้งไทยที่เป็นมือปืนให้กับล้งจีนอีกต่อหนึ่ง ซึ่งช่วงนั้นเรียกได้ว่าทุบตลาดกันปั่นป่วนมาก

คุณแดง มาประกอบ หรือ พี่แดง ชาวตำบลสามกระทาย อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ บัณฑิตแม่โจ้ และเป็นเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวน้ำหอม ซึ่งก่อนหน้านี้เรียกได้ว่าพี่แดงถือเป็นเซียนเรื่องการเกษตร ทำมาแล้วหลายแขนง ปลูกมาแล้วหลายชนิด ทั้งพืชอายุสั้น ผลไม้ แตงโม แคนตาลูป แต่ต้องเลิกปลูกด้วยเหตุผลที่การปลูกพืชผลไม้ต้องใช้คนงานเยอะ และต้องมีเวลาเข้าสวนทุกวัน ไม่สามารถปลีกตัวไปทำอาชีพเสริมได้ จึงเริ่มลองมาศึกษาเรื่องการปลูกมะพร้าวน้ำหอม เพราะคิดว่ามะพร้าวน้ำหอมเป็นพืชที่ให้รายได้แน่นอน มีรายได้เข้ามาทุกเดือน คิดง่ายๆ ว่า

โจทย์สำคัญของเกษตรคือ ปลูกอะไร และขายใคร ซึ่ง “ตลาด” นั้นสำคัญมาก เมื่อถามถึงวิธีรับมือในช่วงที่มะพร้าว “ราคาตก” พี่แดงนั้นได้ให้แนวคิดที่น่าสนใจว่า

1. พอเพียงอย่างยั่งยืน คือทางออก
ขายแพง คนไทยไม่ได้ประโยชน์
เจ้าของสวนต้องมีความพอเพียง การปลูกมะพร้าวสามารถพอเพียงได้ เราพอใจแค่ไหน ก็เอาแค่นั้น อย่าไปเห่อตามกระแส มีการบริหารจัดการที่ดี ส่วนหนึ่งส่งขายที่โรงแรมแถวๆ ปราณบุรี ส่วนหนึ่งที่ส่งไม่หมด เพราะมะพร้าวที่สวนช่วงพีคสุด อยู่ที่ 5,000 ลูก ต่อเดือน ก็จะไปส่งที่แผง

“หมายความว่า คนที่จะมาต่อยอดสินค้าของเรา ก็จะมีลูกหลานนำไปต่อยอดต่อ ดังนั้น การทำเกษตรที่คิดว่าจะเอาราคาแพงอย่าไปคิด คิดแค่ว่าจะสามารถปลูกแล้วให้คนอื่นมาต่อยอด เราอยู่ได้ เขาอยู่ได้ และถือเป็นการช่วยกันสร้างอาชีพ เช่น ใครจะทำขนม หรือทำวุ้น หรือขายข้างทาง ก็มาติดต่อเราได้ เราพอใจที่ตัวเลขกลมๆ อย่างที่สวนพอใจที่ลูกละ 10 บาท แล้วให้เข้ามาตัดเองที่สวน เจ้าของสวนรับเงินอย่างเดียว 10 บาท ส่งโรงแรม ลูกละ 15 บาท เราพอใจแค่นี้ เพราะถือว่ามีเงินเดือนกินแล้ว

สมมุติว่า มะพร้าว 5,000 ลูก ลูกละ 10 บาท ก็ 50,000 บาทแล้ว เงินเดือน 50,000 บาท เราไม่ต้องเหน็ดเหนื่อยทุกวัน เหนื่อยเฉพาะช่วง 3 ปีแรก 20 วัน ก็ตัดขายได้ใหม่ อย่าไปคิดว่า ขายจากสวน 20 บาท เพราะแบบนี้ไม่ยั่งยืน เพราะเมื่อไรที่ขายแพง คนไทยไม่ได้ประโยชน์ ส่งออกอย่างเดียว พอส่งออกไม่ได้ก็เกิดผลกระทบราคาตก” พี่แดง ขยายความ

2. มองตลาดให้กว้าง แนะนำลูกค้าให้เป็น
ต้องมองตลาดให้กว้าง และรู้จักแนะนำลูกค้า ตอนนี้สินค้าเพื่อสุขภาพกำลังมาแรง โรงแรมหลายแห่งต้องการมะพร้าวที่มีคุณภาพอีกมาก ตลาดโรงแรมมีมานานแล้ว เพียงแต่ว่าไม่ได้มาเข้าถึงสวน คือมาตรฐานโรงแรมทั่วไปยังคิดผิด ที่ว่าสินค้าโรงแรมถ้าลูกนี้ไซซ์นี้ ก็คือต้องไซซ์นี้ ซึ่งหากเชฟของโรงแรมเข้ามาถึงสวน เจ้าของสวนต้องอธิบายว่า ถ้าคุณต้องการมะพร้าวจากสวน สวนจะกำหนดไม่ได้ว่ามะพร้าวไซซ์ที่ต้องการจะได้เท่ากันทุกลูก มันอาจจะมีสองไซซ์ถึงสามไซซ์

ดังนั้น ถ้าคุณจะเอาจากสวน จะกำหนดขนาดไซซ์ไม่ได้ แต่ถ้าคุณกำหนดปริมาณว่าคุณต้องการน้ำเท่านี้ เรากะได้เพียงแต่ว่าลูกเล็กอาจจะนับควบ ซึ่งเขาก็เข้าใจ ถือเป็นเทคนิคให้ทั้งผู้ซื้อ ผู้ขาย มาเจอกันและเข้าใจกันมากขึ้น อย่างโรงแรมแถวภูเก็ตชอบไซซ์ใหญ่ไม่เอาไซซ์อื่น ซึ่งเขาไปเสียในสิ่งที่ไม่ควรเสีย ไปเสียให้คนคัดเกรดซะเยอะ ถามว่าถ้ามารับจากสวน 15 บาท กับไปซื้อที่พ่อค้าคนกลาง ลูกละ 38 บาท อันไหนคุ้มกว่ากัน

3. แปรรูป ยังเป็นทางออกที่ดี
มะพร้าว ถือเป็นพืชมหัศจรรย์ของโลก มีพืชไม่กี่ชนิดในโลกที่จะสามารถนำมาแปรรูปได้หลากหลาย หากปลูกมะพร้าวเป็นลูกไม่มีคนซื้อ เราสามารถเปลี่ยนเป็นน้ำตาลมะพร้าวได้ภายใน 5 วัน น้ำตาลมะพร้าวตอนนี้ราคากิโลกรัมละ 30 บาท ถ้ามะพร้าวที่สวน 15 ไร่ เราสามารถที่จะเคี่ยวน้ำตาลได้ 15 ปีบ ต่อวัน 1 ปีบ บรรจุ 20 กิโลกรัม ราคาอย่างน้อยก็ปีบละ 700 บาท แต่ต้องแลกกับค่าแรงงานที่ค่อนข้างเยอะ ถือว่าดีกว่าปล่อยให้ผลผลิตไร้ประโยชน์ หรือถ้าไม่อยากทำเป็นน้ำตาล ก็นำมาหมักทำน้ำส้มสายชู ดังนั้น เกษตรกรที่ปลูกมะพร้าวคุณสามารถไปได้หลายทางมาก

พันธุ์มะม่วงต่างประเทศจากสหรัฐอเมริกา อินเดีย ปากีสถาน ออสเตรเลีย ฯลฯ ถูกนำเข้ามาปลูกในประเทศไทยนานแล้ว เริ่มแรกเป็นการนำเข้ามาโดยหน่วยงานของรัฐเพื่อการศึกษาวิจัย เช่น ในปี พ.ศ. 2519 สถานีวิจัยปากช่อง ภายใต้การกำกับของภาควิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จังหวัดนครราชสีมา ได้รับพันธุ์มะม่วงจากรัฐฟลอริด้า สหรัฐอเมริกา เข้ามาหลายสายพันธุ์ตามโครงการเงินกู้ มีอยู่หลายสายพันธุ์ให้ผลผลิตดี จึงได้มีการขยายพันธุ์ไว้เพื่อรอการส่งเสริมต่อไป

ส่วนในภาคเอกชนมีสวนของ อาจารย์ประพัฒน์ สิทธิสังข์ ที่สวนแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ อาจารย์ได้รับยอดพันธุ์มะม่วงต่างประเทศจากสถานีวิจัยปากช่องมาเสียบยอดไว้ที่สวนของท่านหลายพันธุ์ ซึ่งบางพันธุ์เจริญเติบโตให้ผลผลิตดีเช่นกัน ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2522 อาจารย์ได้นำผลมะม่วงต่างประเทศที่มีผลใหญ่สีสวยงามแปลกตาหลายสายพันธุ์มาแสดงที่สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) เพื่อให้คณาจารย์และนักศึกษาได้ศึกษาเรียนรู้และชมกัน เป็นที่ตื่นตาตื่นใจอย่างมาก เพราะไม่เคยเห็นมะม่วงแปลกๆลักษณะอย่างนี้มาก่อน เช่น ปาล์มเมอร์ เค้นท์ เคียทท์ เป็นต้น จึงนับได้ว่าเป็นครั้งแรกที่ได้เห็นมะม่วงพันธุ์ต่างประเทศ

ศูนย์วิจัยปากช่อง ได้ขยายกิ่งพันธุ์มะม่วงต่างประเทศไว้มากมาย เพื่อไว้จำหน่ายแก่ประชาชน แต่ประชาชนและชาวสวนมะม่วงให้ความสนใจกับพันธุ์มะม่วงต่างประเทศกันน้อย หรืออาจจะยังไม่ทราบกันว่าทางศูนย์วิจัยฯ มีกิ่งพันธุ์มะม่วงต่างประเทศ หรือเป็นเพราะรสชาติสู้มะม่วงไทยไม่ได้จึงไม่สนใจ มะม่วงพันธุ์ต่างประเทศได้เปรียบที่ผลมีสีสวย แต่เนื้อเหม็นกลิ่นขี้ไต้เป็นส่วนใหญ่

แต่ยังมีมะม่วงพันธุ์หนึ่งได้ชื่อว่ามีรสชาติดีที่สุดในโลก เป็นมะม่วงจากอินเดีย ที่ศูนย์วิจัยปากช่องมีอยู่ แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมจากคนไทยอีกเช่นกัน นั่นก็คือ “มะม่วงอัลฟองโซ” (ALPHONSO)

มะม่วงอัลฟองโซ เป็นมะม่วงของอินเดีย อินเดียได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่ปลูกมะม่วงมาช้านานกว่า 4,000 ปี จนถึงปัจจุบันอินเดียยังคงมีพื้นที่ปลูกมะม่วงมากที่สุดในโลก คือมากกว่า 8 ล้านไร่ ให้ผลผลิต 1 ใน 3 ของมะม่วงทั่วโลก แต่ละปีมีผลผลิตหลายล้านตัน เป็นประเทศผลิตมะม่วงรายใหญ่ที่สุดในโลก คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 52% ของมะม่วงที่ผลิตได้จากทั่วโลกรวมกัน

ตลาดส่งออกมะม่วงที่สำคัญของอินเดียคือ กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง และยุโรป เกือบทุกรัฐในอินเดียสามารถปลูกมะม่วงได้เจริญเติบโตงอกงามให้ผลผลิตดี สายพันธุ์มะม่วงที่ปลูกในอินเดียมีอยู่ประมาณ 1,000 สายพันธุ์ แต่ที่ปลูกเพื่อการค้ามีประมาณ 20 สายพันธุ์ ในการตั้งชื่อสายพันธุ์มะม่วงจะตั้งชื่อตามบุคคลสำคัญ พื้นที่ที่เป็นแหล่งกำเนิด รสชาติ สี ขนาดของผล รูปทรงของผล และฤดูกาลที่ผลิต

สายพันธุ์มะม่วงที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของอินเดียคือ พันธุ์ “อัลฟองโซ”

มะม่วงอัลฟองโซ ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่นายทหารนักสำรวจชาวโปรตุเกส ชื่อ อัลฟองโซ เดอ อัลเบอเคอร์กี (Afonso de Albuquerque) ผู้ปกครองอาณานิคมโปรตุเกสที่อินเดียในอดีต ซึ่งเป็นผู้นำพันธุ์มะม่วงนี้มาเสียบยอดกับมะม่วงพื้นเมืองในรัฐกัว เมื่อศตวรรษที่ 15 จากนั้นต้นถูกนำไปปลูกยังรัฐมหาราษฏระ รัฐคุชราต และได้แผ่กระจายไปทั่วประเทศในเวลาต่อมา

มะม่วงอัลฟองโซ คนท้องถิ่นในอินเดียเรียกว่า ฮาปู (Haapoos) หรือ อาปู (Aapoos) คนอินเดียจัดให้มะม่วงอัลฟองโซ เป็นมะม่วงที่มีรสชาติดีและราคาแพงที่สุดในบรรดาผลไม้ทั้งหลายในอินเดีย จนได้รับการขนานนามว่าเป็น “ราชาแห่งมะม่วง” และเป็น “ราชาแห่งผลไม้” ส่วน “ราชินีแห่งมะม่วง” ยกให้มะม่วงเคซาร์ (Kesar)

มะม่วงอัลฟองโซ ปลูกมากทางภาคตะวันตกของอินเดีย ที่รัฐมหาราษฏระ (Maharashtra) เมืองเทวกาด (Devgad) ในเขตโคกัน (Kokan) ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งปลูกมะม่วงมีคุณภาพดีที่สุด ผลิตผลส่วนใหญ่จึงมาจากรัฐมหาราษฏระ แต่รัฐที่ส่งออกมากที่สุดมาจากเมืองรัตนคีรี (Ratnagiri) รัฐมหาราษฏระเช่นกัน เมืองรัตนคีรี ห่างจากบอมเบย์ลงไปทางใต้ราว 500 กิโลเมตร มะม่วงอัลฟองโซยังปลูกในพื้นที่รัฐทางภาคใต้ของอินเดีย

ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคมเป็นช่วงที่มีมะม่วงอัลฟองโซออกจำหน่ายอย่างมาก ขายตั้งแต่กิโลกรัมละสามร้อยรูปีถึงห้าหกร้อยรูปี (หนึ่งรูปี มีค่าประมาณเก้าสิบสตางค์) นอกจากรับประทานผลสดแล้วยังได้นำมาเป็นส่วนผสมกับขนมหวานและเครื่องดื่มต่างๆ

มะม่วงอัลฟองโซ ผลค่อนข้างเล็ก คล้ายมะม่วงยายกล่ำ หรือคล้ายมะม่วงเซ่งตาโลงของเมียนมา ผลเป็นรูปไข่ป้อมๆ ความยาว 4-6 นิ้ว น้ำหนัก 300-400 กรัม มีรสชาติดี ผลสุกมีผิวสีเหลืองสดสีสันสวยงาม และรูปทรงที่กะทัดรัดน่ารับประทานเป็นที่นิยมทั่วโลก มีกลิ่นหอมเป็นกลิ่นหอมเย็นไม่เหมือนมะม่วงไทย ความหวานประมาณ 16 องศาบริกซ์ มีเนื้อเหลืองเข้มสีขมิ้นเข้ม เนื้อไม่ถึงกับเละมาก มีเสี้ยนบ้าง คนอินเดียจึงคลึงมะม่วงจนข้างในนิ่มแล้วจึงใช้ปากกัดหัวขั้วดูดกินน้ำเหลวของเนื้อ

คนญี่ปุ่นนิยมบริโภคน้ำมะม่วงอัลฟองโซกันมาก เนื่องจากมีกลิ่นหอมพิเศษ มะม่วงอัลฟองโซจัดเป็นมะม่วงรสชาติดีพันธุ์หนึ่ง ชาวสวนไทยไม่นิยมมะม่วงผลเล็ก มะม่วงอัลฟองโซจึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ถูกปฏิเสธ

คนทั่วโลกรู้จักและได้ลองลิ้มแต่มะม่วงอัลฟองโซ เลยเชื่อกันว่า มีรสดีที่สุด แต่ยังไม่เคยชิมมะม่วงโบราณรสดีของไทย จึงยังไม่รู้ว่าไทยมีมะม่วงที่ดีกว่าอีก และคนไทยส่วนใหญ่ก็ไม่เคยลองลิ้มรสมะม่วงอัลฟองโซ จึงไม่รู้ถึงรสชาติของมันว่าดีกว่ามะม่วงไทยหรือไม่ หากคนทั่วไปที่เคยชิมมะม่วงอัลฟองโซแล้วได้ชิมมะม่วงไทย จะต้องบอกว่ามะม่วงไทยมีรสชาติดีกว่าแน่นอน

“มะละกอฮอลแลนด์” เป็นไม้ผลยอดฮิต ที่ผู้คนบริโภคนิยมรับประทาน เพราะมีเนื้อแน่น รสชาติหวาน หอม อร่อย มะละกอเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพ ที่มีสรรพคุณทางยาที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ มะละกอฮอลแลนด์ เป็นไม้ผลที่น่าปลูกอย่างมาก เพราะให้ผลตอบแทนสูง ในระยะเวลาอันรวดเร็ว

คุณอมรเทพ (ต้อม) เสือสังโฆ วัย 35 ปี และภรรยา ชื่อ คุณศิริวรรณ (ผึ้ง) เสือสังโฆ วัย 33 ปี เจ้าของกิจการสวนมะละกอ “คีโม สไมล์ ฟาร์ม” เป็นหนึ่งในเกษตรกรตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จในเส้นทางอาชีพการทำสวนมะละกอ สร้างรายได้ที่มั่นคงและมีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ได้ที่ดินได้บ้านได้รถ มีเงินทองจับจ่ายใช้สอย มาจากอาชีพการทำสวนมะละกอตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมาทั้งสิ้น ปัจจุบันพวกเขามีรายได้จากการขายมะละกอฮอลแลนด์ไม่ต่ำกว่า 25,000-38,000 บาท/สัปดาห์ ทีเดียว

คุณอมรเทพ เสือสังโฆ หรือ คุณต้อม Royal Online V2 เจ้าของสวนคีโม สไมล์ ฟาร์ม เล่าให้ฟังว่า เขาเกิดและเติบโตในครอบครัวชาวนา จังหวัดอ่างทอง เรียนจบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ด้านอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต เคยทำงาน บริษัท ฮอนด้า แถวอยุธยา ได้เพียงปีเศษ ต่อมาแต่งงานกับภรรยา “คุณผึ้ง” ซึ่งเป็นสาวเมืองสุพรรณบุรี เขาจึงย้ายมาตั้งถิ่นฐานที่สุพรรณบุรี ระยะแรกเขาไปช่วยพ่อตาดูแลสวนมะละกอที่ปลูกแซมอยู่ในสวนส้มโออยู่นานปี ได้รับการถ่ายทอดความรู้เรื่องการดูแลจัดการสวนมะละกอจนชำนาญ

คุณต้อม มั่นใจว่า มะละกอฮอลแลนด์ เป็นไม้ผลที่มีโอกาสเติบโตทางการตลาดและสร้างผลกำไรที่ดี เขาตัดสินใจฝากอนาคตกับกิจการสวนมะละกอ โดยนำเงินทุนก้อนสุดท้ายของเขา ประมาณ 60,000-70,000 บาท มาเช่าที่ดินเพื่อปลูกมะละกอในอำเภอเมืองสุพรรณบุรี แบ่งเงินทุนซื้อยาและปุ๋ยเคมีบำรุงต้นมะละกอทุกเดือน ผ่านไป 6-7 เดือน ต้นมะละกอเริ่มมีผลผลิตออกขาย ทำให้มีเงินรายได้ไหลเข้ากระเป๋า 20,000-30,000 บาท ทุกๆ 3 วัน

เมื่อ 10 ปีก่อน มะละกอฮอลแลนด์ขายได้ราคาดีมาก คุณต้อมจึงชวนเพื่อนบ้านมาปลูกมะละกอฮอลแลนด์ ต่อมาถูกพ่อค้าทิ้ง ไม่มารับซื้อผลผลิต คุณต้อมจึงรวบรวมผลผลิตของตัวเองและเพื่อนเกษตรกรไปขายที่ตลาดไท ทำให้หมดปัญหาเรื่องตลาด

“การทำสวนมะละกอจะประสบความสำเร็จหรือไม่ หัวใจสำคัญอยู่ที่เรื่องการตลาด หากผลิตมะละกอได้เก่ง แต่ขายของไม่เป็น ก็ขาดทุนได้ง่าย ปัจจัยสำคัญต่อมาคือ คุณภาพสินค้า หากสินค้าไม่สวย รสไม่หวาน แม่ค้าก็ไม่รับซื้อ” คุณต้อม บอก

ทุกวันนี้ คุณต้อม จึงมีรายได้เพิ่มอีกช่องทางหนึ่ง ในฐานะ “ผู้รวบรวมและกระจายสินค้ามะละกอ” ที่ผ่านมา เขาไปส่งเสริมอาชีพการปลูกมะละกอให้แก่เกษตรกรที่สนใจในหลายพื้นที่ ทั้งในจังหวัดสุพรรณบุรี กาญจนบุรี นครราชสีมา ฯลฯ โดยส่งเสริมองค์ความรู้เรื่องการดูแลจัดการแปลงปลูก จำหน่ายต้นพันธุ์มะละกอฮอลแลนด์ให้แก่ลูกไร่ พร้อมรวบรวมผลผลิตส่งขายตลาดสี่มุมเมืองและตลาดไท

“มีคนสอนผมว่า หากผมอยากเติบใหญ่ รากต้องเยอะ หมายความว่า ต้องรู้จักผู้ซื้อให้มาก เพื่อเพิ่มโอกาสการขาย ทุกวันนี้ แม่ค้าปลีกมาขอซื้อผลผลิต ผมก็ขาย ตลาดค้าส่ง ผมก็ขาย ผมพยายามขายสินค้าทุกช่องทางเพื่อกระจายความเสี่ยงทางการตลาด แต่ผมไม่ขายสินค้าเข้าห้างสรรพสินค้า เพราะไม่อยากให้กระแสเงินสดจมอยู่กับนายทุน” คุณต้อม กล่าว