วิสัยทัศน์เจ้าของกิจการเครื่องดื่ม ที่กระทุ่มแบน ทำสวนผสม

หวังแปรรูปป้อนเข้าธุรกิจ คุณสนอง กล่อมประเสริฐ เป็นนักธุรกิจเจ้าของกิจการผลิตเต้าหู้นมสด และเครื่องดื่มหลายชนิด แบรนด์ “เลิศรส” ตั้งอยู่เลขที่ 22/4 หมู่ที่ 2 ตำบลท่าเสา อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร

ความเป็นมืออาชีพที่ต้องฝ่าฟันปัญหาและอุปสรรคมาหลายอย่าง ปลูกฝังนิสัยคุณสนองให้เป็นคนรอบคอบ ต้องคิดทุกอย่างให้ละเอียด เขามองว่าขณะที่ผู้คนทั่วไปกำลังตื่นตัวเรื่องสุขภาพ อีกทั้งธุรกิจตัวเองก็ผลิตเครื่องดื่มอยู่แล้ว จึงคิดผลิตน้ำผลไม้ที่เน้นคุณภาพในราคาไม่แพง ออกวางขายเพื่อเจาะกลุ่มผู้รักสุขภาพ

การตัดสินใจต่อยอดธุรกิจด้วยการผลิตน้ำผลไม้ของคุณสนองในครั้งนี้ มีความตั้งใจจะคัดสรรไม้ผลที่มีความหวานโดยธรรมชาติ เพื่อเลี่ยงการใช้น้ำตาล พร้อมกับสร้างความต่างของชนิดเพื่อต้องการไม่ให้ซ้ำกับตลาด จึงนำผลไม้ที่ผ่านการทดลองปลูกในพื้นที่บริเวณรอบโรงงาน อย่าง อินทผลัม ฝรั่งจากจีน ส้มพันธุ์ฝรั่งเศส และอื่นๆ จนประสบความสำเร็จ โดยลงมือปลูกเป็นจริงจัง แล้วกำลังทยอยนำมาแปรรูปเป็นน้ำผลไม้แท้

คุณสนอง เล่าว่า ขณะนี้ไม้ผลนำร่องตัวแรกที่มีเป้าหมายชัดเจนคือ อินทผลัม ที่ปลูกไว้ มีอายุได้ 1 ปี 8 เดือน มีต้นพันธุ์เนื้อเยื่อและเพาะเมล็ด โดยพันธุ์เนื้อเยื่อ จำนวน 12 พันธุ์ และมีต้นเพาะเมล็ด จำนวนกว่า 3,500 ต้น เพื่อใช้สำหรับขายผลผลิตแบบแห้ง อย่างไรก็ตาม ตอนนี้อยู่ในช่วงเตรียมเก็บผลผลิต

ความจริงแล้ว เหตุผลสำคัญของการปลูกอินทผลัมของคุณสนอง เพื่อใช้ในธุรกิจผลิตน้ำผลไม้ แล้วต้องการนำน้ำอินทผลัมมาใส่ร่วมกับน้ำผลไม้ชนิดอื่น ฉะนั้น ตลาดอินทผลัมของเขาจึงต่างจากกลุ่มผู้ปลูกรายอื่นที่มีเจตนาขายผลสดในช่วงฤดูกาล

การปลูกอินทผลัม ใช้วิธีแบบสลับฟันปลา มีระยะ 7 คูณ 7 เมตร เพื่อต้องการใช้เป็นข้อมูลศึกษาด้วย โดยช่วงเจริญเติบโต ใส่ปุ๋ย สูตร 21-7-14 พอถึงช่วงสะสมอาหาร ประมาณเดือนตุลาคม-พฤศจิกยน จะเปลี่ยนมาใช้ปุ๋ย สูตร 15-5-25 จากนั้นช่วงเปิดตาดอก ในราวเดือนมกราคม-มีนาคม จะใช้สูตร 8-24-24 อย่างไรก็ตาม คุณสนองใช้วิธีซื้อเกสรที่ผสมแล้วมาพ่นใส่แทนการปล่อยให้ผสมแบบธรรมชาติ ดังนั้น ต้นอินทผลัมจึงมีผลผลิตพร้อมกันทุกต้นในจำนวนที่มากและสมบูรณ์

สำหรับผลผลิตอินทผลัมคุณสนองตั้งใจจะขายเป็นแบบผลสดและแบบแห้ง ส่วนที่เหลือจะแยกนำไปผลิตเป็นน้ำ ทั้งนี้ต้นไหนที่ต้องการขายผลสดก็จะแยกไว้คนละส่วนกับที่ใช้ผลิตน้ำ เนื่องจากการดูแลใส่ปุ๋ยจะต่างกัน แล้วตั้งใจจะนำน้ำอินทผลัมมาใส่ผสมกับน้ำจากผลไม้ชนิดอื่นๆ

“ฝรั่ง” เป็นผลไม้อีกชนิดที่คุณสนองวางแผนผลิตเป็นน้ำ สำหรับพันธุ์ฝรั่งที่เขาใช้ ต้องการให้แตกต่างจากน้ำฝรั่งที่ขายทั่วไป ทั้งนี้คุณสนองนำพันธุ์ฝรั่งจากจีนจำนวนหลายสายพันธุ์มาปลูก แล้วหนึ่งในนั้นจะมีเนื้อผลเป็นสีแดง ซึ่งเป็นความสนใจของเจ้าของธุรกิจรายนี้ที่จะผลิตน้ำฝรั่งแท้ให้มีสีแดง สร้างจุดสนใจให้แก่ผู้บริโภค แล้วยังปลอดภัยไม่มีอันตรายด้วย

ขณะที่ มะเดื่อฝรั่ง ซึ่งเป็นไม้ผลที่คุณสนองวางเป้าหมายไว้สูงต่อการผลิตเป็นน้ำ ได้ออกผลผลิตไปแล้วชุดหนึ่ง แต่ปรากฏว่าเมื่อนำไปทดลองผลิตออกมาแล้วยังไม่เป็นที่พอใจ ดังนั้น จึงต้องเก็บผลสดขายไปก่อน

นอกจากนั้น คุณสนอง ยังไปหาซื้อพันธุ์ส้มฝรั่งเศสมาปลูก เพราะมองว่าเป็นพันธุ์ส้มต่างประเทศที่มีผลขนาดใหญ่ ภายหลังจากปลูกแล้วพบว่า ได้ผลผลิตมีความสมบูรณ์ และขนาดใหญ่เทียบเท่ากับพันธุ์แท้ ถึงแม้จะปลูกในไทย เพราะดูแลเรื่องปุ๋ย ยาบำรุงอย่างดี ขณะเดียวกันคุณภาพดินที่นี่ดีมาก จากนั้นจึงขยายพันธุ์ด้วยการเสียบยอดเองก็ประสบผลสำเร็จ

คุณสนอง บอกว่า ส่วนตัวเป็นคนที่ชอบเรื่องเกษตรกรรมอยู่แล้ว และเคยตั้งใจว่าถ้ามีโอกาสและความพร้อมก็อยากจะลองทำกิจกรรมเกษตรทุกอย่าง ดังนั้น เมื่อสบโอกาสเหมาะจากชาวบ้านที่มาสร้างบ่อเลี้ยงปลาขายติดกับโรงงานแล้วใช้มูลหมูเลี้ยงปลา ซึ่งจะเกิดปัญหาของกลิ่นและแมลงวัน ซึ่งสร้างปัญหาและกระทบกับธุรกิจผลิตเครื่องดื่ม จึงหาทางแก้ไขด้วยการเช่าเพื่อเลี้ยงปลาเสียเอง อีกทั้งยังต้องการปรับภูมิทัศน์บริเวณรอบโรงงานให้มีความสะอาด มีความเป็นธรรมชาติจากต้นไม้และแหล่งน้ำที่สะอาด

เจ้าของธุรกิจรายนี้เล่าว่า เมื่อก่อนตัวเองเลี้ยงปลามาเกือบทุกชนิด เพราะชอบศึกษาว่าปลาแต่ละชนิดมีสภาพความเป็นอยู่อย่างไร? พร้อมไปกับการศึกษาตลาดของปลาแต่ละชนิดว่ามีความเคลื่อนไหวอะไรบ้าง จึงผ่านการเลี้ยงปลามาหลายอย่าง พบว่า ปลาแต่ละชนิดมีปัญหาทั้งเรื่องวิธีการเลี้ยง ต้นทุน และการตลาดที่ต่างกัน อย่าง เช่น ปลานิล พบว่า ปัญหาที่ชาวบ้านเลี้ยงคือ ราคาขาย เพราะไม่ว่าจะเลี้ยงดี-เลว หรือขนาดเล็ก-ใหญ่เท่าไร ราคาขายก็เท่ากัน

พันธุ์ปลาที่คุณสนองเลี้ยงขณะนี้ ได้แก่ ปลาดุกรัสเซีย มีจำนวน 140,000 ตัว ถ้ารอดคงจับขายได้ ประมาณ 30 ตัน อีกชนิดคือ ปลาจะละเม็ด จำนวนที่เลี้ยง ประมาณ 64,000 ตัว คาดว่าถ้าจับขายคงได้ประมาณไม่ต่ำกว่า 30-40 ตัน โดยเลี้ยงไว้จำนวน 3 บ่อ แต่ละบ่อมีพื้นที่ประมาณ 5 ไร่ รวมทั้งสิ้นประมาณ 20 ไร่ ขณะนี้ปลาทั้งสองชนิดที่เลี้ยงไว้ถึงเวลาจับขายบ้างแล้ว โดยจะมีคนรับซื้อมาติดต่อ

อาหารปลาที่ใช้เลี้ยงเป็นอาหารเม็ด ตั้งแต่ลูกปลาไปจนถึงปลาขนาดโต ให้อาหารปลาวันละประมาณ 20 กระสอบหรือคิดเป็นเงิน ประมาณ 5,000 บาท ให้อาหารเวลาเช้า/เย็น อย่างไรก็ตาม เรื่องการให้อาหารนั้นทางคุณสนองจะต้องดูราคาขายปลาควบคู่ไปด้วย เนื่องจากถ้าช่วงใดที่ราคารับซื้อลดลง การให้อาหารเช้า/เย็นจะสิ้นเปลืองมาก อีกทั้งยังทำให้ปลาโตเร็วเกินไปจนต้องรีบขาย ทั้งๆ ที่ราคาตก ฉะนั้น ก็จะลดจำนวนครั้งของการให้อาหารลงในบางคราวที่จำเป็น แล้วจะกลับมาให้อาหารตามปกติอีกครั้งเมื่อถึงเวลาราคาปลาเริ่มสูงขึ้นและเร่งขายทันที

“ปลาแต่ละชนิดจะแยกบ่อเลี้ยง โดยก่อนหน้านี้เคยทดลองเลี้ยงรวมกัน ปรากฏว่าปลาจะละเม็ดกินอาหารไม่ทันปลาดุก และปลาทั้งสองชนิดใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 7 เดือน ถึงจะจับขาย อย่างช่วงนี้ (18/4/61) ราคาขายปลาดุกรัสเซีย กิโลกรัมละ 25 บาท และมีราคาใกล้เคียงกับปลาจะละเม็ด”

นอกจากเลี้ยงปลาเพื่อศึกษาและขายหารายได้เสริมแล้ว คุณสนองยังทดลองเลี้ยงกบเพื่อศึกษาธรรมชาติชีวิตของกบไว้จำนวน 20,000 ตัว เป็นกบพันธุ์ผสมบลูฟร็อกกับกบไทย วิธีเลี้ยงจะสร้างฟาร์มตามแนวคิดตัวเองด้วยการขุดเป็นร่องน้ำตรงกลางเพื่อให้กบลงไปว่าย ใช้ระบบน้ำหมุนเวียน ทำให้มีความสะอาดตลอดเวลา

คุณสนอง ใช้อาหารปลาดุกเลี้ยงกบ เนื่องจากอาหารกบมีราคาแพงมาก เมื่อเลี้ยงมาได้ประมาณ 10 วัน ใช้อาหารวันละ 3 กิโลกรัม พบว่า รูปร่างลักษณะตัวกบมีขนาดโตมาก ซึ่งไม่แน่ใจว่าเกิดมาจากอาหารหรือไม่ ทั้งนี้คงใช้ระยะเวลาเลี้ยงประมาณ 4 เดือน ก็สามารถจับขายได้

“แผนที่คิดไว้หลังจากจับปลาขายแล้ว ตั้งใจอาจจะขยายพื้นที่ปลูกอินทผลัมหรืออาจจะเป็นฝรั่งพันธุ์จากจีนที่ซื้อมาจำนวน 2,500 ต้น โดยมีความคิดจะผลิตน้ำฝรั่งบริสุทธิ์ แล้วขายผลสดด้วย เพราะมองว่าถ้าต้นทุนของเราไม่สูงนัก เวลาขายผลสดก็ไม่ต้องตั้งราคาขายสูงมาก ก็น่าจะเป็นที่สนใจของลูกค้า” เจ้าของธุรกิจผลิตน้ำผลไม้กล่าว

สนใจผลผลิตทางการเกษตร หรือต้องการหารายได้ด้วยการเป็นตัวแทนขายน้ำผลไม้ ลองสอบถามข้อมูล คุณสนอง กล่อมประเสริฐ ก่อนได้ มะเดื่อของไทยเป็นพืชผักที่ชาวปักษ์ใต้นิยมกินกับขนมจีน แกงเผ็ด และน้ำพริกมากนาน ถือว่าเป็นผักไม่ใช่ผลไม้ มะเดื่อของไทยมีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับมะเดื่อฝรั่งที่นิยมกินกันในปัจจุบัน นอกจากขนาดที่แตกต่างกันแล้ว มะเดื่อไทยจะกินตอนที่ผลยังมีสีเขียวอยู่ คือยังไม่สุก เพราะถ้าสุกจะมีหนอนอยู่มาก หนำซ้ำยังมีกลิ่นไม่ชวนกิน ซึ่งแตกต่างกับมะเดื่อฝรั่งที่มีกลิ่นหอมชวนกิน

แต่ว่าก็ว่าเถอะ มะเดื่อฝรั่งเป็นต้นไม้ที่ปลูกยากเย็นสำหรับผู้เขียน เนื่องจากเคยลองนำมาปลูกสองครั้งแล้วยังไม่สามารถทำให้ต้นอยู่ได้ถึงผลิดอกออกผล ต่างพากันล้มประดาตายไปทุกครั้ง ราคาต้นพันธุ์ในขณะนั้นก็ค่อนข้างแพง เลยออกขยาดที่จะปลูกอีกเป็นครั้งที่สาม

มะเดื่อฝรั่ง มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Common fig มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Ficus carica L. เป็นพืชต่างถิ่น นำมาปลูกในประเทศไทยโดยมูลนิธิโครงการหลวง และมหาวิทยาลัยเกษตร ในปี พ.ศ. 2524 ที่ดอยอ่างขาง เพื่อเป็นพืชสร้างรายได้ทดแทนการปลูกฝิ่นแก่ชาวไทยภูเขา แล้วจึงกระจายพันธุ์ไปทั่วประเทศไทย

ตามตำนานของชาวยุโรปและชาวตะวันออกยุคโบราณ ชาวอียิปต์และชาวกรีก เชื่อว่ามะเดื่อฝรั่งเป็นผลไม้ศักดิ์สิทธิ์ จึงนำมาเป็นผลไม้สำหรับนักกีฬาโอลิมปิกในสมัยโบราณ และมะเดื่อฝรั่งนี้ถูกกล่าวไว้ในคัมภีร์อัลกุรอานของศาสนาอิสลาม และในคัมภีร์ไบเบิลของศาสานาคริสต์อีกด้วย แสดงว่ามีการบริโภคมะเดื่อฝรั่งมาตั้งแต่โบราณแล้ว

กล่าวกันว่า มะเดื่อฝรั่งมีโภชนาการสูงติดอันดับผลไม้ที่ดีต่อสุขภาพ มีคุณค่าทางอาหารสูงสุด 1 ใน 10 อันดับแรกของโลกทีเดียว จริงๆ แล้วมะเดื่อฝรั่งเป็นผลไม้ที่มีไฟเบอร์ ธาตุเหล็ก โพแทสเซียม แคลเซียม โปรตีน วิตามินเอ วิตามินบี และเกลือแร่ที่มีประโยชน์หลายอย่าง นอกจากนี้ เกลือโพแทสเซียมในกรดอินทรีย์ของมะเดื่อฝรั่งยังช่วยสร้างสมดุลความเป็นกรด-ด่างภายในร่างกาย ผลของมะเดื่อฝรั่งมีน้ำตาลธรรมชาติสูง ได้แก่ น้ำตาลกลูโคส 50% น้ำตาลฟรุกโตส 35% และน้ำตาลซูโครส 10% และยังมีสรรพคุณช่วยกระตุ้นการขับถ่ายและช่วยกำจัดของเสียในร่างกายได้ดี

มีโอกาสได้เจอ อาจารย์วิรัตน์ สมัครพงศ์ หรือ ครูรัตน์ ซึ่งเป็นเจ้าของสวนมะเดื่อฝรั่ง ที่ปลูกอยู่ในกรุงเทพฯ นี่เอง จึงได้ไปแวะชมสวน มุ่งหน้าเข้าถนนวิภาวดี เข้าซอยวิภาวดี 20 เลยสำนักงานใหญ่การบินไทยไปนิดเดียว ครูรัตน์เล่าให้ฟังว่า

“หลังเกษียณจากอาชีพครูแล้ว ฝันว่าจะพักผ่อนหลังเกษียณเพราะทำงานมาตลอด อ่านหนังสือ อยู่แบบสบายๆ ตอนเช้าขับรถไปออกกำลังกายที่สวนสมเด็จใกล้สวนจตุจักร ใช้เวลาไปกลับ 1 ชั่วโมง ออกกำลังกายอีก 1 ชั่วโมงก็กลับ เจอรถติดก็ไม่อยากไป หันไปเข้าฟิตเนต ก็ไม่มีสาระ ดำเนินชีวิตอยู่ 3 ปี เห็นว่าชีวิตไม่มีค่าอะไร ไม่มีความสุขเหมือนตอนที่เป็นครูเพราะได้สอนเด็กๆ จึงต้องคิดใหม่ว่าชีวิตต้องการอะไรแน่ จึงเปิดเพจส่วนตัวชื่อ เกษียณแล้วทำไร ดีวะ ซึ่งเป็นการถามคนอื่นและถามตัวเราเองด้วย ต่อมาก็สรุปได้ว่า ความสุขที่แท้จริงคือ การใช้ชีวิตอย่างเต็มศักยภาพของตัวเองจนวันสุดท้ายของชีวิต จึงคิดหัวข้อที่จะทำไว้หลายอย่าง มาลงที่ทำสวน จะปลูกมะม่วงก็ธรรมดาเกิน ปลูกผักก็รายละเอียดมาก นึกขึ้นได้ว่าตอนอ่านหนังสือในพระคัมภีร์กล่าวถึงมะเดื่อฝรั่งอยู่ จึงไปซื้อของโครงการหลวงที่ตลาด อ.ต.ก. ทั้งผลสด ผลแห้ง แต่ได้ความรู้ว่าผลสดมีประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่าผลแห้ง และตัวเองชอบผลสดมากกว่า”

หลังจากนั้นครูรัตน์พยายามศึกษาเรื่องมะเดื่อฝรั่ง จนกระทั่งคิดว่ามีความเข้าใจในมะเดื่อฝรั่งพอสมควรแล้วก็ติดต่อคนรู้จักให้มาทำโรงเรือน และนำพันธุ์มาจากจังหวัดสระบุรี โรงเรือนแรก กว้าง 12 เมตร ยาว 21 เมตร ใช้เงินลงทุนไปเกือบ 400,000 บาท ซึ่งรวมระบบน้ำและต้นพันธุ์แล้ว โรงเรือนที่ปลูกมะเดื่อฝรั่งเป็นหลังคาพลาสติกใสกันฝน ส่วนด้านข้างเป็นมุ้งตาถี่กันแมลง บนพื้นที่ 252 ตารางเมตร วางวงบ่อขนาดความกว้าง 80 เซนติเมตร ได้ทั้งหมด 160 วง ซึ่งหมายความว่าปลูกได้ 160 ต้น ตามวงบ่อ นับตามยาวได้แถวละ 20 ต้น รวม 8 แถว ส่วนพื้นทางเดินทั้งหมดโรยด้วยทรายหยาบ เนื่องจากจะจัดการเรื่องหญ้า วัชพืชและความสะอาดเรียบร้อยได้ดีกว่าหินคลุก ขอบอกว่าตั้งแต่ไปชมโรงเรือนที่ปลูกพืชมา หาสวนไหนที่สะอาดเท่าของครูรัตน์ยาก จากการสอบถามว่าทำไมต้องปลูกในวงบ่อ ครูรัตน์ เล่าว่า ได้ศึกษาเรื่องการปลูก เปรียบเทียบการปลูกในภาชนะกับปลูกลงดินเลย การปลูกลงดินกำจัดวัชพืชและให้ปุ๋ยหรือธาตุอาหารจะกระจัดกระจายไปทั่ว การปลูกในภาชนะสามารถควบคุมได้ดีกว่า ส่วนภาชนะที่ให้เลือกระหว่างเข่ง ล้อยางรถยนต์ และวงบ่อ นั้น ครูรัตน์เลือกวงบ่อ เพราะดูเป็นระเบียบและทนทานกว่า

พันธุ์มะเดื่อ ครูรัตน์เลือกมาปลูกคือ พันธุ์แบล็คแจ็ค (Black Jack) ซึ่งมีขนาดผลใหญ่ถึงใหญ่มาก รูปทรงหยดน้ำ สีของผลเมื่อสุกเป็นสีแดงม่วงปนน้ำตาล สีเนื้อในแดง-ขาว ขนาดใบใหญ่ปานกลาง มี 5 แฉก เริ่มจากการใช้ดินผสมใบก้ามปู มะพร้าวสับ แกลบดำ เปลือกถั่ว ปุ๋ยคอก ผสมรวมหมักไว้เพื่อเป็นดินปลูก คุณสมบัติของดินปลูกมะเดื่อฝรั่งคือ ต้องสามารถระบายน้ำได้ดี โปร่ง ดินปลูกที่แฉะเกินไปจะทำให้เกิดโรคได้ง่าย ช่วงแรกปลูกให้น้ำวันละ 4 ครั้ง ครั้งละ 1 นาที เพื่อเร่งการเจริญเติบโต แต่ทั้งนี้น้ำต้องไม่ขัง พอรากเริ่มเดินกิ่งจะเริ่มแตก เลี้ยงกิ่งไว้ไม่เกิน 4 กิ่ง เพราะจะให้ผลที่สมบูรณ์ กิ่งที่เลี้ยงไว้จะค่อยๆ โตขึ้น และกางออกข้างซึ่งจะกีดขวางทางเท้า จึงต้องใช้เชือกดึงให้ขึ้นด้านบน ใช้เวลาประมาณ 4 เดือน มะเดื่อฝรั่งจะเริ่มให้ผลผลิต

ในช่วงระยะนี้ดินปลูกเก่าจะค่อยๆ ยุบไป จึงต้องเติมดินปลูกตามสูตรเก่าเติมลงไปอีก ระหว่างนี้ใช้จุลินทรีย์ฉีดพ่นลงในดินเครื่องปลูก เพื่อเร่งให้วัสดุปลูกย่อยสลาย ปลดปล่อยธาตุอาหารให้พืชอย่างสม่ำเสมอ กิ่งที่นอกเหนือจาก 4 กิ่ง ที่เลี้ยงไว้ก็จะตัดออก และหมั่นสางใบเก่าทิ้งอยู่เสมอ จากที่เห็นในภาพจะเห็นว่าพื้นโรงเรือนของครูรัตน์ ไม่ว่าทางเดินและบริเวณโคนต้นมะเดื่อฝรั่งในวงบ่อจะไม่มีวัชพืชและเศษสิ่งสกปรกอยู่เลย เพราะการเก็บพื้นโรงเรือนให้สะอาดเป็นการป้องกันไม่ให้มีสิ่งที่เชื้อโรคต่างๆ มาอาศัยอยู่ได้ การดูแลอย่างนี้สวนครูรัตน์เน้นเป็นสิ่งสำคัญ

การให้น้ำเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง สวนครูรัตน์จะตั้งการรดน้ำด้วยเครื่องอัตโนมัติไว้ 3 เวลา เช้า กลางวัน เย็น ช่วงละ 1 นาที ส่วนในฤดูฝนจะไม่ใช้เครื่องอัตโนมัติ เนื่องจากต้องดูสภาพฝนฟ้า ถึงโรงเรือนจะสามารถกันฝนก็จริงแต่น้ำก็สามารถซึมเข้าทางดินได้ ในช่วงหน้าฝนนี้รสชาติของมะเดื่อฝรั่งจะค่อนข้างหวานน้อยกว่าปกติ เนื่องจากรากสามารถดูดน้ำจากน้ำฝนได้ ไม่สามารถคุมน้ำได้เหมือนในฤดูร้อนและฤดูหนาว การที่ไม่สามารถคุมน้ำได้จะทำให้ผลแตกและความหวานลดลง เพราะดูดน้ำเข้าไปมากเกิน เรื่องนี้เป็นเรื่องที่อยู่นอกเหนือการควบคุม

แผนการตลาดของครูรัตน์

จากการที่ครูรัตน์เปิดเพจ เกษียณแล้วทำไร ดีวะ ที่สื่อสารกับคนในโลกโซเชียล จึงมีคนติดตามอยู่ส่วนหนึ่ง และมีการอัพเดตข้อมูลในนั้นตลอดเวลา ทำให้คนอื่นรู้ว่าครูรัตน์คิดทำอะไร เมื่อมีผลิตเพจใหม่ชื่อ สวนมะเดื่อฝรั่งครูรัตน์ จึงเกิดขึ้น นับเป็นการตลาดที่มีลูกค้าติดตามชมมาตั้งแต่ต้น ทำให้คนชมเพจมีความรู้สึกร่วมตั้งแต่เริ่ม ปัจจุบันมะเดื่อฝรั่งของครูรัตน์ ผลผลิตอยู่วันละ 7-10 กิโลกรัม จึงไม่พอขาย ทำให้ต้องสร้างโรงเรือนขึ้นมาใหม่อีกหลังหนึ่งซึ่งใกล้จะมีผลผลิตแล้ว

ถึงแม้จะเลยวัยเกษียณมาหลายปี แต่ความที่ครูรัตน์คิดไม่เหมือนการทำเกษตรยุคเก่าที่ปลูกแล้วค่อยหาตลาด แต่ครูรัตน์สื่อสารช่องทางการตลาดตั้งแต่เริ่มปลูกซึ่งเป็นวิธีคิดทางการตลาดยุคใหม่ เรื่องการตลาดและเทคโนโลยีเป็นเรื่องที่เป็นจุดอ่อนของเกษตรกรไทยยุคเก่า ทางแก้คือให้ลูกหลานหรือเด็กยุคใหม่สื่อสารทางการตลาดควบคู่ไปด้วย

ในยุคนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่าโซเชียลมีเดียและเทคโนโลยีเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ครองเมืองไปทั่วทุกพื้นที่ โดยมีการนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาเป็นเครื่องทุ่นแรง เพื่อช่วยในการทำงานทั้งภาคการเกษตรและภาคอุตสาหกรรม ซึ่งในช่วงแรกของการลงทุนอาจจะดูเหมือนเป็นการใช้เงินที่มหาศาล แต่เมื่อมองไปถึงระยะยาวถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าของการนำเทคโนโลยีต่างๆ มาปรับใช้ให้การผลิตสินค้ามีคุณภาพที่แน่นอนมากขึ้น

ซึ่งในขณะนี้สังเกตเห็นว่า การทำฟาร์มเห็ดกำลังได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางมากขึ้น เพราะเห็ดมีคุณค่าทางโภชนาการและมีความอร่อยเฉพาะตัว จึงทำให้เห็ดหลายชนิดเป็นที่ต้องการของตลาด แต่ด้วยสภาพอากาศที่ไม่แน่นอน มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ รวมถึงเรื่องของโรคและแมลงที่ก่อให้เกิดความเสียหายกับเห็ด ส่งผลให้เกษตรกรบางรายที่เพาะเห็ดได้ผลผลิตไม่เต็มที่ มีจำนวนไม่มากพอต่อความต้องการของตลาด ทำให้ส่งจำหน่ายได้ไม่ต่อเนื่อง เป็นเหตุให้สูญเสียโอกาสหลายด้านในการค้าขาย

คุณพัชรพล โพธิ์พันธุ์ เจ้าของฟาร์มเห็ด “จาวา” ตั้งอยู่เลขที่ 60/7 หมู่ที่ 8 ตำบลแพรกศรีราชา อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท เป็นคลื่นลูกใหม่ไฟแรงที่มองว่าอาชีพทางการเกษตรหากนำมาพัฒนาและต่อยอด สามารถยึดเป็นอาชีพหลักที่ทำรายได้แบบยั่งยืนได้ดี เขาจึงได้หันมาเพาะเห็ดโดยปลูกในโรงเรือนระบบอีแวป ที่สามารถทำให้เขาผลิตดอกเห็ดจำหน่ายได้ตลอดทั้งปี โดยเห็ดที่เพาะหลักๆ คือ เห็ดนางฟ้าภูฏาน

คุณพัชรพล เล่าให้ฟังว่า จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ต่อมามีความสนใจที่อยากจะกลับมาอยู่บ้านที่จังหวัดชัยนาท จึงได้มาศึกษาถึงอาชีพที่สามารถทำรายได้ให้กับเขาได้ โดยในระหว่างนั้นค่อนข้างมีความสนใจเรื่องเห็ดหลายชนิด ทำให้ศึกษาหาความรู้และวิธีการผลิตในวิธีการต่างๆ ด้วยตนเอง มีการปรับสูตรและเรียนรู้อยู่เสมอ ทำให้เห็ดที่เพาะอยู่ในฟาร์มมีผลผลิตได้ตลอดทั้งปี

“ปัจจุบัน ผู้บริโภคค่อนข้างใส่ใจในเรื่องของสุขภาพมากขึ้น ผมเลยมองว่าเห็ดยังถือเป็นอีกหนึ่งสินค้าที่ตลาดต้องการสูง แต่กำลังการผลิตและการจัดการอื่นๆ ยังทำให้เห็ดที่เพาะออกดอกไม่ตลอดทั้งปี เลยมีแนวความคิดที่ต้องมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย คือการดูแลให้อยู่ในสภาพแวดล้อมระบบโรงเรือน แบบที่เราสามารถควบคุมเรื่องอุณหภูมิ ความชื้น และการสเปรย์น้ำให้โรงเพาะเห็ด ถ้าองค์ประกอบและสภาพแวดล้อมลงตัว ก็จะสามารถทำให้มีเห็ดเก็บขายได้ตลอดทั้งปี ผมจึงเลือกเพาะเห็ดในระบบอีแวป” คุณพัชรพล เล่าถึงที่มา

คุณพัชรพล บอกว่า หลักการของระบบอีแวป (EVAP) ทำให้สามารถควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น และการสเปรย์น้ำภายในโรงเรือนเพาะเห็ดโดยไม่ต้องใช้คนทำงาน โดยจะสั่งงานผ่านระบบแบบอัตโนมัติ คือติดตั้งการสั่งงานต่างๆ ให้ผ่านสมาร์ทโฟน ไปยังแผงควบคุมที่อยู่ภายในโรงเรือน ซึ่งระบบอัตโนมัติจะทำหน้าที่สั่งงานตามสภาพอากาศได้เอง หากอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ก็จะปรับสภาพแวดล้อมต่างๆ ในโรงเรือนให้เหมาะสมกับเห็ดแต่ละชนิดอยู่ตลอดเวลา เพื่อทำให้เห็ดมีดอกที่สมบูรณ์และออกดอกในปริมาณที่มาก ที่สำคัญช่วยลดต้นทุนแรงงานคนลงได้อย่างมากอีกด้วย

“ช่วงแรกที่ทำก็คิดว่า ระบบนี้มันจะง่าย เพราะเราออกแบบการทำงานของโรงเรือนให้เหมือนกับโรงเลี้ยงไก่ แต่ถ้าทำแบบนั้นมากเกินไปจนทำให้ต้นทุนในเรื่องของค่าน้ำ ค่าไฟ เราสูงขึ้น ผมจึงนำปัญหาที่เกิดมาปรับปรุงระบบ คือมีการให้เกิดช่วงกระตุ้น บางช่วงพักตัว และมีการใส่ใจในเรื่องของการคุมปริมาณอากาศ ที่ส่งผลต่อความยาวของก้านดอกและความแก่ของดอก เพราะฉะนั้นผมมองว่าระบบเราก็ยังต้องมีการพัฒนาเรื่อยๆ เพื่อให้เหมาะสมกับการเพาะเห็ดมากที่สุด ผมมองว่าจากการพัฒนามาตอนนี้ก็เริ่มนิ่ง สามารถช่วยงานเกษตรกรอย่างผมได้ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ในการทำงาน ส่วนอีก 10 เปอร์เซ็นต์ ยังต้องมีการพึ่งพาแรงงานคนเข้ามาช่วย เช่น การเก็บดอกช่วงเช้าและเย็น จากที่ใช้มากกว่า 2 คน มาดูแลในทุกๆ วัน แต่พอมาทำด้วยระบบนี้ คนงานเราก็จ้างมาเพื่อเก็บดอกช่วงเวลาต่างๆ ต่อโรงเรือนเราก็ใช้แรงงานเพียงคนเดียว” คุณพัชรพล บอก

ในเรื่องของต้นทุนสร้างโรงเรือนนั้น คุณพัชรพล บอกว่า ถึงแม้จะลงทุนสูงหน่อยในช่วงแรกเป็นเงินประมาณทุนเริ่มต้น 200,000-300,000 บาท เป็นค่าวัสดุโรงเรือนและอุปกรณ์ต่างๆ แต่ถ้ามองถึงระยะยาวก็ถือว่าคุ้มค่า โดยขนาดโรงเรือนที่ใช้เพาะเห็ด อยู่ที่ 6×15 เมตร สามารถบรรจุก้อนเชื้อเห็ดได้ถึง 15,000 ก้อน ทั้งนี้แม้จะมีต้นทุนในการก่อสร้างที่สูงแต่อายุการใช้งานของโรงเรือนนานถึง 10 ปีทีเดียว

“ต้นทุนโรงเรือนหลายๆ คนอาจจะมองว่าแพง แต่ถ้ามีการจัดการที่ดี และทำตามระบบอย่างที่ฟาร์มเราทำ ก็สามารถคืนทุนได้ภายใน 2-3 ปี และโรงเรือนยังมีอายุการใช้งานที่นานถึง 10 ปี จึงไม่ต้องกังวลว่าหลังจากคืนทุนแล้วโรงเรือนจะพังต้องลงทุนใหม่ แต่สามารถใช้งานได้นาน พอหลายๆ คนมองเห็นว่าสามารถทำงานได้ดีผลผลิตที่ได้ก็มีคุณภาพด้วย เกษตรกรหลายๆ ท่าน ก็เริ่มให้ความสนใจ เริ่มมาทำกันเป็นเครือข่ายเป็นลูกฟาร์มของเรา ซึ่งเราก็มีบริการทั้งก้อนเชื้อให้กับผู้ที่ต้องการซื้อไปเพาะ พอผลผลิตออกมาจะขายเองก็ได้ หรือเข้ามาขายในเครือข่ายเราก็ยินดีทำการตลาดร่วมกัน” คุณพัชรพล บอก

ซึ่งการผลิตดอกเห็ดให้ได้คุณภาพ คุณพัชรพล บอกว่า จะนำก้อนเชื้อเห็ดที่มีเชื้อเดินเต็มถุงมาแขวนภายในโรงเรือนประมาณ 15,000 ก้อน พร้อมทั้งควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือน อยู่ที่ 27-30 องศาเซลเซียส หากช่วงใดมีสภาพอากาศที่ร้อนจนเกินไป จะตั้งระบายอากาศ 5 นาที ทุก 50 นาที ถ้าเป็นช่วงฤดูหนาวจะระบายอากาศ 2 นาที ทุกครึ่งชั่วโมง โดยก้อนเห็ดทั้งหมดจะมีอายุให้เก็บดอกเห็ดจำหน่ายได้อยู่ที่ 5 เดือน เมื่อครบกำหนดแล้วควรนำออกและเปลี่ยนก้อนเชื้อใหม่ เพื่อไม่ให้เกิดการสะสมของเชื้อราและโรคแมลงต่างๆ ช่วยทำให้ไม่เกิดการสิ้นเปลืองในการจัดการ

ตลาดรับซื้อหมด

จากการศึกษาและเก็บข้อมูลมาโดยตลอดในช่วงที่ทดลองเพาะเห็ด บวกกับการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ควบคุมในทุกๆ เรื่อง คุณพัชรพล บอกว่า ทำให้เขาสามารถคำนวณและคาดการณ์ผลผลิตได้อย่างแน่นอน สามารถต่อรองในเรื่องของราคาได้สูงกว่าปกติ เพราะเห็ดที่เพาะในโรงเรือนระบบปิดค่อนข้างมีความสะอาด ไม่มีสิ่งปนเปื้อนเหมือนการเพาะในโรงเรือนทั่วไป จึงทำให้เห็ดที่ออกจากฟาร์มของเขาสามารถยืดอายุการเก็บรักษาได้นาน จึงเป็นจุดเด่นที่ลูกค้าค่อนข้างไว้วางใจในคุณภาพ

โดยราคาก้อนเชื้อเห็ด จำหน่ายอยู่ที่ ก้อนละ 7.50-8 บาท ส่วนดอกเห็ดสวยๆ ดอกสมบูรณ์มีคุณภาพ จำหน่ายได้ราคาอยู่ที่ 60 บาท ต่อกิโลกรัม เมื่อถึงช่วงที่ราคาลดลง แต่ที่ฟาร์มของเขาก็ยังจำหน่ายอยู่ที่ราคาเดิม โดยไม่มีลดราคาลงไปกว่านี้ เพราะเป็นเหมือนสัญญาทางการค้าที่ซื้อขายกันแบบระยะยาว

“ช่วงที่ฟาร์มผมยังไม่ได้ทำก้อนเอง ช่วงนั้นเราก็มีรับก้อนเชื้อมาจากที่อื่น ช่วงที่ลองผิดลองถูกเราไม่มีความรู้ในเรื่องการเปิดดอก ทำให้การเพาะเห็ดแรกๆ เกิดความเสียหายมาก เพราะเราซื้อมาจากที่ไกลๆ พอเรามาศึกษาจริงๆ การเดินทางขนส่งมีความสำคัญมาก ในเรื่องของคุณภาพการเปิดดอก พอผมมีโอกาสได้มาทำก้อนเชื้อเอง ผมจะคัดลูกค้าถ้าอยู่ไกลผมจะไม่ขายให้ เพราะจะทำให้ก้อนเชื้อเสียหาย มันมีความร้อนจากการขนส่งเกิดขึ้น ดอกเห็ดที่ได้ก็ไม่มีคุณภาพ ก้อนเชื้ออยู่ได้ไม่นานเกิดราเขียว ผมจึงต้องควบคุมคุณภาพเรื่องนี้ด้วย ดังนั้น ทุกคนที่ได้มีศึกษาในการทำเห็ดกับผมจะต้องไม่ลงทุนเสียเปล่า ทำแล้วต้องได้เงิน ได้กำไร” คุณพัชรพล บอก

สำหรับท่านใดที่สนใจในเรื่องของการเพาะเห็ด หรือจะศึกษาเข้าดูงาน สับปะรด ก็คือ สับปะรด เหมือนกันจริงหรือ “สับปะรดห้วยมุ่น” หลายคนได้ลิ้มรสอันแสนเลิศมาแล้ว และประทับใจ จำได้มิมีวันลืม แต่ก็มีอีกหลายคนที่ยังอยู่ในความรู้สึกอยากลองชิมบ้าง ระยะนี้สับปะรดอยู่ในช่วงฤดูของรุ่นแรก เชื่อแน่ว่าหลายคนคงได้ชิมสมใจอยากแล้ว ในประเทศไทยและต่างประเทศหลายแห่ง ที่ไม่สามารถหาสับปะรด เป็นผลไม้สดจากสวนกินได้ ก็อาศัยสับปะรดกระป๋องแทน ที่อุตรดิตถ์ สับปะรดห้วยมุ่นมีให้กินตลอดปี เพียงแต่จะมีมากมีน้อยเป็นช่วงเวลาเท่านั้น

ประเทศไทย เป็นผู้ผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์สับปะรดเป็น อันดับ 1 ของโลก มูลค่าประมาณปีละกว่า 20,000 ล้านบาท เป็นน้ำพักน้ำแรงของเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรด ประมาณ 20 จังหวัด และสับปะรดห้วยมุ่น ซึ่งเป้าหมายเบื้องต้น คือปลูกเพื่อการบริโภคผลสด ก็มีหลายส่วนที่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนเป้าหมายการผลิตเพิ่มจากสับปะรดบริโภคสด เป็นสับปะรดโรงงาน แต่แค่บางส่วนเท่านั้น จึงเป็นคำตอบสำหรับหลายๆ ท่านที่กังขาในความเป็น “สับปะรดห้วยมุ่น” ที่อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ เพราะบางครั้งบางที ที่ซื้อสับปะรดห้วยมุ่นไปแล้วรสชาติ สีสัน ขนาด ไม่เหมือนที่ได้รู้จักอย่างที่เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ไว้

สับปะรด มีชื่อสามัญ Bromellacae เว็บเล่นสล็อต ชื่อวิทยาศาสตร์ Ananas Comosus Merr. มีชื่อเรียกในไทยหลายๆ ชื่อ ภาคกลาง หรือชื่อกลาง เรียก “สับปะรด” คนอีสาน เรียก “บักนัด” คนเหนือเรียก “มะขะนัด”, “มะนัด”, “บะนัด” คนภาคใต้ เรียก “ย่านัด”, “ย่านนัด” หรือ “ขนุนทอง” สับปะรดเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว เป็นพืชล้มลุกแต่มีอายุให้ผลหลายปี สืบต่ออายุจากต้นลูกที่แตกหน่อจากต้นแม่ ลักษณะคล้ายต้นกล้วย ต้นที่ให้ผลแล้วจะแตกหน่อให้ผลต่อไปเรื่อยๆ ผลสับปะรด คือ ผลย่อยๆ ที่เจริญเติบโตอัดแน่นติดกันเป็นผลใหญ่ ตามที่เห็น 1 ตา คือ 1 ผลย่อย เกิดมาจากดอก ต้นสับปะรดที่จริงคือส่วนของ “เหง้า” ที่มีปล้องสั้นๆ และแตกใบยาวๆ เรียงซ้อนกันเป็นวงรอบต้น ต้นละ 70-80 ใบ

ในประเทศไทย สันนิษฐานว่ามีเข้ามาประมาณปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 ไม่แน่ชัดว่าใครนำเข้ามาครั้งแรก ช่วง ค.ศ. 1680-1700 หรือ พ.ศ. 2223-2243 สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีการติดต่อสัมพันธ์ทางการค้ากับชาติโปรตุเกส คงมีการนำเอาสับปะรดเข้ามาเผยแพร่ เชื่อว่าจะเป็นพันธุ์อินทรชิต ซึ่งตอนนี้เหมือนจะถือเป็นพันธุ์พื้นเมืองของไทยที่มีอยู่ทั่วๆ ไปนั่นแหละ มีพันธุ์ดีเข้ามาปลูกทางภาคใต้ก่อน ในสมัยท่านคอซิมเต็ก ณ ระนอง เจ้าเมืองหลังสวนชุมพร หรือชื่อ พระจรูญ ราชโภคาการ นำสับปะรดพันธุ์หนึ่งจากเกาะปีนัง มาเลเซีย เข้ามาปลูก เรียก สับปะรดฝรั่ง

เพราะปีนังเป็นเมืองอาณานิคมของฝรั่งอังกฤษ เอามาปลูกแซมสวนยางที่ภูเก็ต จึงมีชื่อสับปะรดดัง “สับปะรดภูเก็ต” หรือ “พันธุ์สวี” แพร่หลายในภาคใต้ สับปะรดภูเก็ต หรือพันธุ์สวี หรือพันธุ์ตราดสีทอง เป็นสับปะรดรุ่นแรกๆ ที่ทำชื่อเสียงให้กับวงการสับปะรด เป็นผลไม้เศรษฐกิจที่ทำรายได้ให้ประเทศจำนวนมาก และขยายพื้นที่ปลูกไปหลายแหล่ง เช่นเดียวกับ “สับปะรดห้วยมุ่น” หนึ่งเดียวของอุตรดิตถ์ หนึ่งเดียวในประเทศไทย

ในวงการผู้บริโภคสับปะรด ต่างให้ความเห็นว่า กินสับปะรดสดจากไร่ได้จากสวนนั้นดีที่สุด เช่น สับปะรดห้วยมุ่น ถ้าจะให้ดีต้องเข้าไปสัมผัส ตัด ชิม กินที่ตำบลห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด เพราะจะได้เข้าไปชมไร่สับปะรดกว่า 30,000 ไร่ ที่มองเห็นเป็นแปลงสับปะรดผืนใหญ่ พื้นที่เกษตรของตำบลห้วยมุ่น กว่าร้อยละ 95 เป็นพื้นที่ปลูกสับปะรด ความแตกต่างทั้งสภาพพื้นที่ ลักษณะดิน ลักษณะภูมิอากาศ ยิ่งเป็นช่วงฤดูหนาว สับปะรดห้วยมุ่นออกสู่ตลาด ท่ามกลางบรรยากาศที่เย็นฉ่ำตามธรรมชาติ เช้าขึ้นมารับไอหมอกและลมหนาว ต้มน้ำชงกาแฟดื่มข้างกองไฟ กลางไร่สับปะรด ในขณะเดียวกัน สับปะรดที่บอกไว้ตอนต้นว่า เป็นสับปะรดโรงงานก็จะไม่มีให้เห็น สับปะรดห้วยมุ่นคุณภาพดี ก็มีให้ลิ้มรสกันอย่างเต็มอิ่ม รสชาติที่แท้จริงต้องสัมผัสด้วยลิ้น จึงจะรู้