วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรทำนาหนองสาหร่าย เมืองกาญจน์

ก่อตั้งเพราะพ่อค้าคนกลางเอาเปรียบ พัฒนาจนได้กลุ่มดีเด่นแห่งชาติวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรทำนาหนองสาหร่าย ตั้งอยู่เลขที่ 100 หมู่ที่ 6 ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี จัดตั้งเมื่อ 19 มกราคม 2549

สมาชิกแรกตั้ง 53 คน สมาชิกปัจจุบัน 220 คนผลงานดีเด่น ความคิดริเริ่ม
วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรทำนาหนองสาหร่าย ก่อเกิดจากเกษตรกรทำนาในพื้นที่ตำบลหนองสาหร่าย ที่รวมตัวกันเพื่อแก้ไขปัญหาจากการถูกกดราคาผลผลิตจากพ่อค้าคนกลาง ปัญหาราคาปัจจัยการผลิตมีราคาแพง ปัญหาจากโรคแมลงระบาด และปัญหาจากภัยธรรมชาติ โดยวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรทำนาหนองสาหร่ายเป็นศูนย์กลางในการประสานงานการดำเนินงานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อสร้างอำนาจ การต่อรองในการซื้อขายข้าวเปลือก การจัดหาปัจจัยการผลิตมาสนับสนุนสมาชิกและการประชาสัมพันธ์ เตือนภัยการระบาดโรคแมลงและพยากรณ์อากาศเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ

วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรทำนาหนองสาหร่ายยังเป็นจุดรวบรวมข้าวเปลือกของสมาชิก และของเกษตรกรในแหล่งใกล้เคียง โดยให้พ่อค้ารับซื้อข้าวเปลือกมาประมูลราคาที่กลุ่ม เกิดความพึงพอใจ ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย เป็นการลดภาระค่าขนส่งสินค้าของเกษตรกรไปจำหน่ายด้วย

ความสามารถในการบริหารและการจัดการสถาบัน

วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรทำนาหนองสาหร่ายได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการบริหารจัดการงานกลุ่ม ดังนี้ ความพอประมาณ โดยการทำบัญชีครัวเรือน และลดรายจ่ายโดยสร้างผลิตภัณฑ์ที่สามารถ ทำขึ้นใช้เองในครอบครัว รวมถึงปลูกผักปลอดสารพิษ ความมีเหตุผล มีนโยบายมุ่งบริหารจัดการและพัฒนากลุ่มด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของสมาชิก และเน้นการขับเคลื่อนภารกิจความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม พร้อมกันทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านกลุ่ม ชุมชน/สังคม และด้านการทำงาน

มีภูมิคุ้มกันที่ดี โดยให้สมาชิกและเกษตรกรในชุมชนเป็นศูนย์กลางพัฒนาและแก้ปัญหาของชุมชน บ่มเพาะคณะกรรมการให้เป็นนักบริหารแบบมืออาชีพ และให้สมาชิกภายในกลุ่มมีความรู้เท่าทันสถานการณ์ต่างๆ ทั้งด้านสังคม ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและธุรกิจ

เงื่อนไขความรู้ เน้นเผยแพร่และนำความรู้ ความสามารถ ความชำนาญ ที่เป็นภูมิปัญญาในด้านต่างๆ ของสมาชิกและชุมชน โดยเริ่มจากการพัฒนาผู้นำ และสมาชิกในชุมชนให้มีความตื่นตัว เกิดจิตสำนึกร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เกิดความเชื่อมโยงการทำงานระหว่างหมู่บ้าน และมีกระบวนการสืบค้น เก็บรวบรวมภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งสามารถสรุปและถ่ายทอดเรื่องราวการทำงานเป็นเอกสารกระบวนการทำงานได้ โดยมีแนวทางและการดำเนินงาน ดังนี้

มีการกำหนดวิสัยทัศน์ที่มุ่งไปสู่การพึ่งตนเองอย่างยั่งยืน กำหนดกฎ ระเบียบ ข้อตกลง ข้อบังคับอย่างชัดเจน
มีแผนการดำเนินงานและกิจกรรมที่มีการประสานกับหน่วยงานอื่นๆ อย่างกว้างขวาง ทำให้หน่วยงานอื่นๆ เช่น องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น มีแผนงาน งบประมาณส่งเสริมและสนับสนุนวิสาหกิจชุมชนได้ต่อเนื่อง
การดำเนินงานและกิจกรรมมีความเหมาะสม สอดคล้องกับเงื่อนไขชุมชน
มีการระดมทุนจากสมาชิก และนำเงินทุน มาใช้ในแผนงานตามที่กำหนด

มีการทำบัญชีเป็นปัจจุบัน และเปิดเผยข้อมูลให้ที่ประชุมทราบ โดยสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ 3 ปี
มีการกำหนดบทบาทหน้าที่และมอบหมายงานตามความสามารถและความรู้ความถนัด
ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพได้มาตรฐานถูกต้องตามความต้องการของผู้บริโภค
มีการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ และนำมาประกอบการพิจารณาวางแผนการดำเนินงาน
มีการเตรียมสืบทอดกิจการในอนาคต โดยให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการทุก 2 ปี เพื่อสร้างคนรุ่นใหม่ให้เป็นผู้นำ
บทบาทและการมีส่วนร่วมของสมาชิกต่อสถาบัน

มีการประชุมคณะกรรมการทุกวันที่ 25 ของทุกเดือน เพื่อร่วมกันวางแผน และตัดสินใจเรื่องการผลิต การตลาด การจัดหาสินค้า และการพัฒนาผลิตภัณฑ์
สมาชิกมีบทบาทและส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ของกลุ่ม
คณะกรรมการเข้าร่วมการประชุมตามกำหนดการประชุมของตำบล เพื่อให้สมาชิกได้รับทราบข่าวสารความรู้ด้านการเกษตร และแจ้งความเคลื่อนไหวทางการเงินให้แก่สมาชิกภายในกลุ่มได้รับรู้ พร้อมทั้งรับฟังปัญหาต่างๆ ของสมาชิกเพื่อนำมาแก้ไขปรับปรุง
สมาชิกร่วมกันวางแผน บริหาร และตัดสินใจเรื่องการผลิต การตลาด การจัดหาสินค้า การพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าว รวมถึงการทำกิจกรรมในด้านต่างๆ
สมาชิกร่วมเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ในการดำเนินกิจกรรมของวิสาหกิจชุมชนให้แก่ผู้สนใจทั่วไป
ความมั่นคงและฐานะทางเศรษฐกิจของสถาบัน

วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรทำนาหนองสาหร่าย ได้รับการสนับสนุนความรู้และแหล่งเงินทุนจากมหาวิทยาลัยรังสิต และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และมีกิจกรรมในการดำเนินงานที่หลากหลายและมีความเชื่อมโยงกัน ดังนี้

กิจกรรมหลัก ได้แก่ ตลาดกลางข้าวเปลือก จำหน่ายปัจจัยการผลิต จำหน่ายข้าวสาร
กิจกรรมการรับ-ฝากถอนเงินของสมาชิก
กิจกรรมเพิ่มรายได้ให้แก่สมาชิกวิสาหกิจชุมชน
3.1 กิจกรรมการเลี้ยงไส้เดือน โดยนำมูลสัตว์จากกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์มาเลี้ยงไส้เดือน

3.2 กิจกรรมการปลูกหญ้า (ลดพื้นที่ทำนา) โดยปลูกหญ้าแพงโกล่าเพื่อนำมาใช้เลี้ยงสัตว์

3.3 กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในชุมชน ประกอบด้วย โฮมสเตย์ การทอผ้า การแปรรูป และการจักสาน

3.4 กิจกรรมการทำปุ๋ยอินทรีย์ โดยนำฝุ่นละอองข้าวและแกลบมาเป็นวัตถุดิบในการทำปุ๋ยอินทรีย์

3.5 กิจกรรมทำน้ำพริกแกง โดยใช้วัตถุดิบภายในหมู่บ้าน

3.6 กิจกรรมการเลี้ยงสัตว์ โดยนำฟางข้าวมาเป็นอาหารโค นำรำข้าวเป็นอาหารสัตว์ รวมถึงนำปลายข้าวมาเลี้ยงไก่ การจัดให้มีสวัสดิการสมาชิก
4.1 สมาชิกจะได้รับรายได้จากการขายข้าวเปลือกเพิ่มขึ้น เฉลี่ยตันละ 300 บาท

4.2 สมาชิกลดต้นทุนและค่าแรงโดยการเช่าเครื่องจักรของกลุ่ม อัตราไร่ละ 500 บาท

4.3 สมาชิกมีเงินออมโดยการออมเงิน และสามารถกู้ยืมเงินลงทุนได้โดยใช้ความดีเป็นเครื่องค้ำประกัน

มีการเตรียมการสืบทอดกิจการในอนาคต โดยให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการทุก 2 ปี เพื่อให้คนรุ่นใหม่มีส่วนร่วม
การทำกิจกรรมด้านสาธารณประโยชน์ และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

มีการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกในการเสียสละเป็นธนาคารความดี สามารถนำไปค้ำประกันในการกู้เงินมาลงทุนได้ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น รณรงค์ไม่เผาตอซัง ลดการใช้สารเคมี มีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ทดแทน เป็นต้น

ส่งเสริมการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยนำสิ่งเจือปนจากการสีข้าวไปทำปุ๋ยอินทรีย์ แกลบดิบใช้ทำเชื้อเพลิงแกลบที่เผาแล้วนำไปผสมทำปุ๋ยอินทรีย์ (Zero Waste)

สมาชิกได้เข้าร่วมโครงการผลิตข้าวอินทรีย์ ข้าวปลอดภัย GAP และข้าวอินทรีย์

สมาชิกลด ละ เลิก การใช้สารเคมีในนาข้าว

สมาชิกมีการรวมกลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ น้ำหมักชีวภาพ เพื่อลดต้นทุนการผลิต

สมาชิกมีการรวมกลุ่มผลิตแก๊สชีวภาพเพื่อใช้ในครัวเรือน

สมาชิกร่วมกันปรับปรุงภูมิทัศน์ชุมชน พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

บริหารจัดการขยะในครัวเรือน มีการคัดแยกขยะ นำกลับมารีไซเคิล เพื่อรักษาสภาพแวดล้อม กลุ่มมีความร่วมมือและเชื่อมโยงกับกลุ่มเครือข่ายอื่นๆ ที่มีอยู่ในชุมชนอย่างต่อเนื่อง โดยเข้าร่วมกิจกรรมหรือทำประโยชน์ต่อสาธารณะหรือชุมชน เช่น การพัฒนาถนนในชุมชน การเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้านในวันสำคัญต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ เช่น วันพ่อ วันแม่ และวันสำคัญอื่นๆ

ให้ทุนสนับสนุนโรงเรียนและโรงเรียนนำเด็กนักเรียนมาเรียนรู้เรื่องวิถีชีวิตชาวนา มีพระในวัดท้องถิ่นเป็นที่ปรึกษาในการบริหารงาน จัดสวัสดิการชุมชน โดยให้การสนับสนุนสวัสดิการสมาชิกตั้งแต่เกิดจนตาย เช่น สนับสนุนบุตรแรกเกิดของสมาชิก สนับสนุนทุนการศึกษาแก่บุตรของสมาชิก เงินช่วยเหลือสมาชิกเจ็บป่วย เงินผู้สูงอายุ เป็นต้น

จากผลงานที่แนะนำมา ทำให้กลุ่มเกษตรกรทำนาหนองสาหร่าย ได้รับคัดเลือกให้เป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนดีเด่นประจำปี 2562 นายฉัตรชัย ดอยพนาวัลย์ ปัจจุบันอายุ 18 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 26 จังหวัดลำพูน ปัจจุบันอยู่บ้านเลขที่ 130 หมู่ที่ 15 ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์ 089-565-5840

ผลงานดีเด่น
นายฉัตรชัย เป็นชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง (สะกอ) เติบโตบนพื้นที่สูงหมู่บ้านแม่ปอน ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ มีพี่น้อง 2 คน พ่อแม่มีอาชีพทำไร่ทำนา ครอบครัวมีรายได้ไม่แน่นอน เมื่อมาเรียนต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 26 จังหวัดลำพูน ได้ขึ้นเป็นนักเรียนประจำหอชาย 4 ซึ่งอยู่ใกล้กับศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง และที่ทำการกลุ่มยุวเกษตรกร เห็นว่ากิจกรรมต่างๆ น่าสนใจมาก ตอนนั้นมีการปลูกผักต่างๆ การเลี้ยงปลาดุก การเลี้ยงสุกร การเพาะเห็ด การเลี้ยงไก่เนื้อ ไก่ไข่ การเลี้ยงเป็ด และการเลี้ยงโค กระบือ จึงมีความสนใจที่จะทำกิจกรรม เนื่องจากมีความใกล้เคียงกับอาชีพที่บ้าน กิจกรรมจะสามารถทำให้สืบต่ออาชีพจากพ่อแม่ สร้างรายได้เลี้ยงตัวเอง และครอบครัว อีกทั้งยังสามารถผลิตอาหารที่มีคุณภาพให้กับตนเอง ครอบครัว ชุมชน และผู้บริโภคด้วย จึงอาสาขอเข้าไปช่วยงานในกลุ่มยุวเกษตรกร พร้อมทั้งขอไปพักที่บ้านพักเกษตรและได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลกิจกรรมต่างๆ

จุดเริ่มต้นของการทำกิจกรรมกลุ่มยุวเกษตรกรคือ เลี้ยงกบคอนโดฯ และกบในบ่อ และพยายามเรียนรู้ ปรับปรุงและพัฒนากิจกรรมของยุวเกษตรกรต่าง ๆ ในทุกกิจกรรมตลอดระยะเวลา ที่เข้าเป็นสมาชิกยุวเกษตรกร และได้ลงมือทำงาน/กิจกรรมต่างๆ ของกลุ่มยุวเกษตรกร ได้เกิดการเรียนรู้ว่าการทำงานเกษตร นอกจากเป็นงานที่ต้องใช้ความคิด ความขยัน ความอดทน ความเอาใจใส่งาน และวางแผนแล้ว ยังได้เรียนรู้การบูรณาการกับการเรียน และบูรณาการกับการใช้ชีวิตประจำวัน จึงทำให้รู้สึกสนุกกับการทำกิจกรรมนี้ ทำให้รู้จักการวางแผน และการแก้ปัญหา

นายฉัตรชัย เป็นเด็กที่มีอุปนิสัยสุภาพเรียบร้อย ซื่อสัตย์สุจริต ขยันหมั่นเพียร อดทน ประหยัด อดออม มีความรับผิดชอบสูง ตั้งใจใฝ่หาความรู้ใหม่ๆ เพื่อพัฒนาตนเอง มีระเบียบวินัย ประพฤติ ปฏิบัติตนตามกฎระเบียบของโรงเรียนและสังคมอย่างเคร่งครัด ปฏิบัติตนตามขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงาม มีน้ำใจให้ความช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความเต็มใจและเต็มกำลัง

อุทิศตนและเวลาให้กับการทำงานอย่างเต็มกำลังความสามารถ ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี เป็นที่ปรึกษา และเป็นตัวอย่างที่ดีแก่เพื่อนๆ และน้องๆ นักเรียนในโรงเรียน ประกอบกับเป็นผู้มีแนวความคิดที่เป็นระบบ ชัดเจน มีการวางแผนการดำเนินงาน และการวางแผนการจัดการทั้งในชีวิตตนเอง และการบริหารจัดการกลุ่ม ในฐานะประธาน ก็มีแนวคิดในการที่จะพัฒนางานของกลุ่มยุวเกษตรกรให้มีผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

มีกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อสร้างและกระตุ้นความสนใจให้กับสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกร รวมทั้งให้สมาชิกยุวเกษตรกร และน้องๆ ในโรงเรียน มองเห็นคุณค่าของการทำการเกษตร ให้มองเป็นงานที่สร้างคุณค่า ไม่หนัก ไม่เหนื่อย และสร้างรายได้เลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้ อีกทั้งอาชีพเกษตรกรยังเป็นอาชีพที่มีความน่าภาคภูมิใจ โดยมีความพยายามที่จะเริ่มกิจกรรมที่พัฒนากลุ่มยุวเกษตรกร ดังนี้

1. ริเริ่ม/ทดลองทำกิจกรรมใหม่ คือการเลี้ยงไส้เดือนดิน และการปลูกพืชไร้ดิน (ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์) และนำน้ำไส้เดือนมาผสมกับสาร AB 2. เป็นผู้คิดค้นและจัดทำการทดลองการปลูกเมล่อนในโรงเรือนแบบอัตโนมัติ โดยใช้ Kid Bright คือแผงวงจรและระบบควบคุมน้ำ และอุณหภูมิ (อัตโนมัติ)

3. การหาเงินทุนและบริหารทุนเพื่อพัฒนากลุ่มยุวเกษตรกร

4. ร่วมกับครูที่ปรึกษากลุ่มยุวเกษตรกร ในการส่งเสริมและสนับสนุนให้สมาชิกทุกคนได้ทำอาชีพตามความถนัดและความสนใจ 5. ทำกิจกรรมต่างๆ ให้มีความหลากหลาย และเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับผู้อื่น และชุมชน

ผลงานและความสำเร็จ
นายฉัตรชัย ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 26 ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2558 โดยได้ปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับกลุ่มยุวเกษตรกรมาโดยตลอด ทำให้ในปี 2561 ได้รับคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานสภายุวเกษตรกร โดยมีบทบาทหน้าที่ในฐานะประธานกลุ่มทำหน้าที่ในการดูแลกิจกรรมทุกประเภท เป็นผู้ดูแล ควบคุม กำกับ และติดตามผลการดำเนินกิจกรรมที่กลุ่มยุวเกษตรกรดำเนินการ โดยแบ่งกิจกรรมออกเป็น 2 ประเภท คือ งานรวมและงานกลุ่มย่อย และยังมีผลงานงานส่วนบุคคล อีกด้วย

3) การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ และผักปลอดสารพิษที่แปลงเกษตรของกลุ่มยุวเกษตรกรได้เน้นการปลูกผักอายุสั้นและผักสวนครัว

4) การเลี้ยงไส้เดือนเพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์

5) การเลี้ยงปลาดุก

6) การเลี้ยงสุกรขุน

7) การเลี้ยงจิ้งหรีด

8) การทำกล้วยฉาบ

9) การทำน้ำยาล้างจาน

10) การปลูกเมล่อนในโรงเรือนแบบอัตโนมัติ โดยใช้ Kid Bright

งานส่วนบุคคล นายฉัตรชัย ได้นำความรู้ด้านการเกษตรที่ได้ปฏิบัติและเรียนรู้ในกลุ่มยุวเกษตรกร มาขยายผลสู่ครอบครัวและชุมชนโดยรอบ เน้นการส่งเสริมการปลูกผักแบบปลอดสารพิษ และยังจัดทำแปลงปลูกผักเพื่อบริโภคด้วยตนเองภายในหอนอนของโรงเรียน

ซึ่งในทุกกิจกรรมต้องมีการแผนการดำเนินงานและแผนการปฏิบัติงานอย่างชัดเจน รวมทั้งมีการจดบันทึกรายละเอียดการปฏิบัติงาน มีการทำบัญชีรับจ่าย และมีการรายงานผลการปฏิบัติงานเมื่อมีการประชุมสภายุวเกษตรกรประกอบกับนายฉัตรชัย ไม่หยุดในการหาความรู้มาปรับปรุงงานของตนเองอยู่ตลอดเวลาโดยจะอาศัยความรู้จากผู้รู้ คุณครู และสืบค้นหาความรู้จากอินเตอร์เน็ต จนทำให้ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษา และสามารถวางแผน กำกับการดำเนินงานกิจกรรมของกลุ่มยุวเกษตรกรได้ทุกกิจกรรม รวมทั้งติดตามผลอย่างต่อเนื่องด้วย ซึ่งนายฉัตรชัย ยังเป็นตัวอย่างให้กับเพื่อนๆ รุ่นน้องในโรงเรียน เป็นบุคคลที่คุณครูที่ปรึกษาไว้ใจให้ดูแลกิจกรรมทางการเกษตรทั้งหมดแทนคุณครูที่ปรึกษาได้

ความเป็นผู้นำและการเสียสละ
นายฉัตรชัย ได้เสียสละเวลา อุทิศตนในการทำงานและเผยแพร่การดำเนินกิจกรรมของงานยุวเกษตรกร ส่งผลให้เกิดความสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ ทำให้กลุ่มยุวเกษตรกรได้รับรางวัลต่างๆ มากมายและยังได้รับการคัดเลือกให้เป็นประธานกลุ่มยุวเกษตรกร และยังเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ เพื่อสาธารณประโยชน์ ยกตัวอย่างเช่น

1) นำสมาชิกยุวเกษตรกรร่วมงานประเพณีถวายเทียนเข้าพรรษา ณ อารามสันป่าฮัก

2) เป็นวิทยากรให้ความรู้กับกลุ่มเกษตรกรในชุมชนและบุคคลทั่วไปที่มาศึกษาดูงานหรือมาเยี่ยมศูนย์การเรียนรู้

3) นำสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกรทำกิจกรรมปลูกข้าววันแม่เกี่ยววันพ่อ

4) ร่วมงานกิจกรรมชุมนุมยุวเกษตรกรและที่ปรึกษากลุ่มยุวเกษตรกรระดับประเทศ ประจำปี 2560 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

5) เป็นผู้แทนสมาชิกยุวเกษตรกรระดับภาคในการพูดในที่ชุมชนในงานชุมนุมยุวเกษตรกรและที่ปรึกษากลุ่มยุวเกษตรกรระดับประเทศ ประจำปี 2560 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

6) เป็นฝ่ายวิชาการกลุ่ม ขับเคลื่อนกลุ่มวิสาหกิจตั้งต้นในสถานศึกษา (Start Up club)

7) เป็นผู้นำในงานชุมนุมยุวเกษตรกรและที่ปรึกษายุวเกษตรกร ระดับเขตภาคเหนือตอนบน ณ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
นายฉัตรชัย ส่งเสริม สนับสนุน และตั้งใจมุ่งมั่นที่จะสร้างผลผลิตที่ได้จากกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเลือกวัตถุดิบและวิธีการผลิตที่เป็นมิตรกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น

1) ทำการเกษตรแบบปลอดภัยไม่ใช้สารเคมี แต่ใช้ปุ๋ยคอกและสารชีวภาพแทนการใช้สารเคมี เช่น การใช้น้ำส้มควันไม้ การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา บิวเวอเรีย จุลินทรีย์หยวกกล้วย น้ำไส้เดือน ฯลฯ พร้อมทั้งแนะนำให้สมาชิกทุกคนได้ปฏิบัติ รวมถึงครอบครัว ญาติมิตรพี่น้อง คนในชุมชน

2) ใช้น้ำไส้เดือนผสมกับสาร AB ในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

3) เลี้ยงสุกร โดยไม่ใช้สารเร่งเนื้อแดง

4) ใช้ซากก้อนเห็ดนางฟ้าทำปุ๋ยใส่ต้นไม้

5) นำขวดน้ำดื่มที่ใช้แล้วนำมาบรรจุน้ำยาล้างจาน

6) นำสมาชิกยุวเกษตรกรเก็บขยะ ทำความสะอาดในโรงเรียน วัด ในวันสำคัญต่างๆ

7) นำสมาชิกยุวเกษตรกรไปร่วมปลูกต้นไม้/ปลูกป่าในชุมชน

8) ปล่อยพันธุ์ปลาสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ

9) ทำกิจกรรมทักษะการดำรงชีวิต : การอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม (ทุกวันเสาร์)

10) ไม่ใช้สารเคมีในการปรับพื้นที่เกษตร (ยาฆ่าหญ้า) แต่ใช้วิธีการตัดหญ้า การไถกลบ

ขอบคุณข้อมูล กรมส่งเสริมการเกษตร บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้นำธุรกิจเครื่องจักรกลการเกษตรในภูมิภาคอาเซียน พร้อมเป็นผู้นำนวัตกรรมเกษตรเพื่ออนาคต แก้ปัญหาการเผาภาคการเกษตรอย่างยั่งยืน เริ่มเดินหน้าโครงการด้วยการส่งเสริมชาวนาไทย ทำเกษตรปลอดการเผา เพิ่มมูลค่าฟางข้าวเหลือทิ้งเป็นรายได้เสริม ไถกลบตอซังเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่แปลงนา พร้อมจับมือกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมการข้าว กรมส่งเสริมการเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน และกรมวิชาการเกษตร ให้ความรู้และสนับสนุนการทำนาข้าวด้วยเครื่องจักรกลแบบครบวงจร รวมถึงธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ภายใต้ โครงการ Zero Burn เกษตรปลอดการเผา ตอน ชาวนาไทยไร้ฝุ่นควัน

นายสุพัฒน์ เอี้ยวฉาย ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า มลพิษที่เกิดจากฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน หรือ PM 2.5 เป็นปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุ ส่วนหนึ่งมาจากการเผาในที่โล่งกว่า 50% โดยเฉพาะในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบน สถานการณ์จะหนักในช่วงพฤศจิกายนถึงพฤษภาคม

ส่วนในภาคกลางมักจะได้รับผลกระทบจากการเผาตอซังในนาข้าว เนื่องจากเป็นแหล่งปลูกข้าวในเขตชลประทานที่ทำนาปีละ 2 ครั้ง ซึ่งปัญหาฝุ่นควัน PM 2.5 ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชน เพื่อลดปัญหาการเผาจากภาคการเกษตร จึงได้กำหนดแนวทางปฏิบัติให้สอดคล้องกับนโยบายและมาตรการต่างๆ ของรัฐบาลที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง เช่น การดำเนินการควบคุมการเผาตอซังข้าวในพื้นที่เกษตรกรรมและควบคุมการเผาในที่โล่ง โดยกรมส่งเสริมการเกษตรจัดส่งเจ้าหน้าที่เร่งสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการหยุดเผาในพื้นที่เกษตร

สร้างเครือข่ายเกษตรกรปลอดการเผาให้ถ่ายทอดความรู้และพัฒนาศักยภาพเกษตรกรในชุมชนให้นำเทคโนโลยีนวัตกรรมเกษตรจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้ประโยชน์ทดแทนการเผา ล่าสุดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมการข้าว กรมส่งเสริมการเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน กรมวิชาการเกษตร ได้รับความร่วมมือจาก บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด จัดตั้ง โครงการ Zero Burn เกษตรปลอดการเผา ขึ้น เพื่อส่งเสริมเกษตรกรไทยทำการเกษตรแบบไม่เผา ด้วยเครื่องจักรกลการเกษตรอย่างครบวงจรในพืชที่กระทรวงดูแลรับผิดชอบอยู่ ได้แก่ ข้าวและข้าวโพด โดยตั้งเป้าพื้นที่เกษตรของไทยกว่า 140 ล้านไร่ ให้เป็นเกษตรปลอดการเผา 100% ภายใน 3 ปี

นายประสงค์ ประไพตระกูล อธิบดีกรมการข้าว กล่าวว่า ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวปีละประมาณ 70 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 46.40 ของพื้นที่ทำการเกษตร ในแต่ละปีมีฟางข้าวเหลือทิ้งในนาเฉลี่ย 27 ล้านตัน และมีตอซังข้าวที่ตกค้างอยู่ในนาข้าว ประมาณ 18 ล้านตัน ซึ่งฟางข้าวและตอซังข้าวเป็นวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่มีปริมาณมากที่สุดเมื่อเทียบกับตอซังพืชอื่น

โดยในพื้นที่ปลูกข้าว 1 ไร่ มีปริมาณฟางข้าวและตอซัง โดยเฉลี่ยปีละ 650 กิโลกรัม นับเป็นปัจจัยหลักที่เกษตรกรส่วนมากนิยมเผาตอซังข้าวเพื่อให้เกิดความสะดวกในการไถเตรียมดิน ง่ายต่อการกำจัดวัชพืชและแมลงศัตรูพืช ซึ่งวิธีดังกล่าวจะทำให้โครงสร้างของดินเปลี่ยนไป สูญเสียอินทรียวัตถุและธาตุอาหารในดิน คิดเป็นมูลค่ากว่า 5 พันล้านบาท ต่อปี

แต่หากเปลี่ยนเป็นวิธีไถกลบตอซังข้าวในพื้นที่ 1 ไร่ จะเป็นการเพิ่มธาตุอาหารหลักลงในดิน ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม คิดเป็นมูลค่า 900 บาท/ไร่ ซึ่งช่วยให้เกษตรกรลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้ อีกทั้งทำลายจุลินทรีย์และแมลงที่เป็นประโยชน์ การเผาตอซังพืชทำให้ผิวดินมีอุณหภูมิสูงถึง 90 องศาเซลเซียส ทำให้สูญเสียน้ำในดิน

ส่งผลให้ความชื้นในดินลดลง โดยกรมการข้าวได้จัดโครงการรณรงค์งดเผาฟางและไถกลบตอซังพืชอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกษตรกรตระหนักถึงผลกระทบจากการเผาฟาง ชี้ให้เห็นถึงข้อดีของการไถกลบตอซังพืชที่สามารถช่วยปรับปรุงสมบัติทางกายภาพ ทำให้ดินโปร่ง ร่วนซุย ง่ายต่อการเตรียมดิน เพิ่มธาตุอาหารทางเคมีตรงตามที่พืชต้องการ ต้านทานความเป็นกรด-ด่าง

และยังช่วยเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ในดิน อีกทั้งนำฟางข้าวไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ เช่น คลุมดินทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ไว้ใช้เอง หรืออัดฟางก้อนไปขายเพื่อเป็นอาหารสำหรับเลี้ยงโค นอกจากนี้ สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์จากฟางข้าว เพื่อสร้างรายได้เสริมทดแทนการเผาอีกด้วย สำหรับโครงการ Zero Burn เกษตรปลอดการเผา ตอน ชาวนาไทยไร้ฝุ่นควัน

จะเป็นการเข้าไปให้ความรู้แก่เกษตรกรชาวนาในการเก็บเกี่ยวข้าวหลังฤดูกาลเพาะปลูก ร่วมถึงการทำเกษตรปลอดการเผาด้วยการไถกลบตอซัง และนำฟางข้าวที่เหลือทิ้งมาอัดเป็นฟางก้อนเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรด้วยเครื่องจักรกลการเกษตร โดยจะเน้นในพื้นที่เกษตรที่มีการเผาสูง หรือจุด Hotspot 10 จังหวัด ทั่วประเทศ เพื่อยับยั้งการเกิดจุดความร้อนเพิ่มขึ้น และช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางอากาศ

นายสมศักดิ์ มาอุทธรณ์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวถึงที่มาของ โครงการ Zero Burn เกษตรปลอดการเผา ว่า บริษัทได้ตระหนักถึงความสำคัญของการแก้ไขปัญหาในภาคการเกษตรอย่างเร่งด่วน จึงได้ร่วมมือกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย กรมการข้าว กรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน พร้อมด้วยกระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จัดโครงการ “Zero Burn เกษตรปลอดการเผา” ขึ้น เพื่อรณรงค์ให้เกษตรกรทำการเกษตรแบบไม่เผา ในพืชเศรษฐกิจหลัก ได้แก่ ข้าว อ้อย และข้าวโพด พร้อมลงพื้นที่สนับสนุนการทำเกษตรด้วยเครื่องจักรกลการเกษตรแบบครบวงจร และให้ความรู้ในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มรายได้จากวัสดุ

เหลือใช้ทางการเกษตร รวมถึงส่งเสริมให้เกษตรกรตระหนักถึงความสำคัญของอินทรียวัตถุ การรักษาความชื้นในดิน เพื่อการทำเกษตรอย่างยั่งยืนด้วยองค์ความรู้ KUBOTA (Agri) Solutions เกษตรครบวงจร ซึ่งจะช่วยเพิ่มผลผลิตและรายได้ให้เกษตรกรมากขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะใช้ระยะเวลาดำเนินงานร่วมกันในทุกภาคส่วน 3 ปี หลังจากนี้ เพื่อให้ประเทศไทยเป็นพื้นที่เกษตรปลอดการเผา 100%

โครงการ Zero Burn เกษตรปลอดการเผา จะเริ่มรณรงค์จากเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ภายใต้ชื่อ ตอน
“ชาวนาไทยไร้ฝุ่นควัน” ซึ่งหลังการเก็บเกี่ยวข้าว เศษวัสดุเหลือใช้จากนาข้าวทั้งฟางข้าวและตอซังข้าว ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นประโยชน์ต่อชาวนาเป็นอย่างมาก หากเกษตรกรมีการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรเข้ามาใช้งานอย่างครบวงจร ในส่วนของฟางข้าว เกษตรกรสามารถเพิ่มมูลค่าของฟางข้าวได้ด้วยการอัดฟางข้าว จากเครื่องอัดฟางคูโบต้า รุ่น HB135

ซึ่งเป็นอุปกรณ์ต่อพ่วงที่ใช้ในการอัดฟาง ทำให้ได้ก้อนฟางที่แน่น ตรงสวย ลดการหลุดร่วงและการสูญเสียฟางข้าว โดยสามารถอัดฟางได้วันละ 40-50 ไร่ (เฉลี่ย 20-25 ก้อน ต่อไร่) ได้ก้อนฟางสูงถึง 1,250 ก้อน ต่อวัน ซึ่งรายได้จากการรับจ้างอัดฟางจะมีมูลค่าอยู่ที่ 13 บาท ต่อก้อน โดยก้อนฟางเหล่านี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเลี้ยงสัตว์ อาทิ โคนม โคเนื้อ สัตว์เคี้ยวเอื้องเพื่อการพาณิชย์ ช่วยให้เกษตรกรลดต้นทุนสำหรับฟาร์มโคเนื้อ ตลอดจนสร้างรายได้เสริมด้วยการใช้เครื่องอัดฟางอีกด้วย นอกจากนี้ หากมีการฉีดพ่นน้ำหมักชีวภาพ

ที่ผ่านกรรมวิธีการหมักผสมสารเร่งซุปเปอร์ พด. 2 ซึ่งเป็นสารจุลินทรีย์ที่ผลิตโดยกรมพัฒนาที่ดิน มีคุณสมบัติในการย่อยสลายวัสดุการเกษตรในลักษณะสด อวบน้ำ หรือมีความชื้นสูงเพื่อผลิตเป็นน้ำหมักชีวภาพ ด้วยเครื่องพ่นอเนกประสงค์ ตราช้าง รุ่นBS350 ที่มีคุณสมบัติฉีดละอองละเอียดถึง 70 ไมครอน กระจายตัวแทรกซึมทั่วพื้นที่ สม่ำเสมอทั่วทั้งแปลง สามารถเปลี่ยนหัวฉีดได้หลากหลายให้เหมาะกับพืชแต่ละชนิด ระบบหมุนวนภายในถังทำให้สารที่ต้องการฉีดพ่นไม่ตกตะกอน ได้คุณภาพคงที่ หรือจะเป็นนวัตกรรมใหม่

โดรนเพื่อการเกษตร รุ่น MG1-K ซึ่งจะฉีดพ่นน้ำหมักชีวภาพก่อนการไถกลบตอซัง เพื่อช่วยปรับปรุงบำรุงดินเพิ่มธาตุอาหารและฮอร์โมนพืช สุดท้าย เป็นการไถกลบตอซังข้าว ด้วยผาลพรวน ตราช้าง
รุ่น DH245-6F-HP ซึ่งเป็นอุปกรณ์ต่อพ่วงสำหรับไถกลบเศษตอซัง ที่ถูกออกแบบให้เป็นกระทู้แยกสำหรับใบจานแต่ละใบ ทำให้ใช้งานได้อเนกประสงค์ สามารถไถพรวนดินได้ลึก ละเอียด ตลอดจนกลบหรือสาดดินได้ดี

อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาฟางหมุน ปรับตั้งได้ตามความเหมาะสมในการใช้งานในแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะช่วยทำให้ดินมีความโปร่ง ร่วนซุย ดินมีการระบายอากาศได้ดียิ่งขึ้น ทำให้ง่ายต่อการเตรียมดินในการเพาะปลูกครั้งต่อไป ด้วยวิธีการใช้รถดำนาและรถหยอดข้าว ทดแทนการทำนาหว่าน ในโครงการ Zero Broadcast เพื่อส่งเสริมเกษตรกรปลูกข้าวคุณภาพสูง ได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า