วิสาหกิจชุมชนสวนศักดิ์ศรีทุเรียนเบตงคุณโอ ให้ความสำคัญ

กับสุขภาพของเกษตรกรชาวสวนทุเรียน หากใช้สารเคมีในระยะยาวจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสภาพแวดล้อม จึงเป็นแกนนำรวมกลุ่มเกษตรกร ทุเรียนเบตง ภายใต้ชื่อ วิสาหกิจชุมชนสวนศักดิ์ศรีทุเรียนเบตง เมื่อปี 2564 โดยเน้นการทำสวนเกษตรอินทรีย์ผลิตทุเรียนปลอดสารพิษ และได้รับมาตรฐานรับรอง GAP ซึ่งช่วยยกระดับคุณภาพและราคาของทุเรียนให้เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งสินค้าหลัก ได้แก่ ทุเรียนพันธุ์มูซานคิง พันธุ์โอวฉี หรือหนามดำ ( Musang King Biack Thorn Ochee) มีรสชาติอร่อย สินค้าขายดีอีกชนิดหนึ่งของมาเลเซีย พร้อมเพาะพันธุ์กล้าทุเรียนมูซานคิง กล้าพันธุ์ทุเรียนโอฉี หรือหนามดำ ส่งขายทั่วประเทศผ่านตลาดออนไลน์ ในราคาต้นละ 100 บาท ไม่ต่ำกว่าปีละ 60,000-80,000 ต้น

ที่ผ่านมา วิสาหกิจชุมชนสวนศักดิ์ศรีทุเรียนเบตง ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการรวบรวมทุเรียนเกรดพรีเมียมคุณภาพ ทุเรียนคัดบรรจุกล่องส่งจำหน่ายในประเทศและส่งออกประเทศมาเลเซีย ในราคาประมาณกิโลกรัมละ 80-100 เหรียญมาเลย์ ส่วนทุเรียนที่ไม่ได้คุณภาพตามที่กำหนดจะนำไปเข้าสู่กระบวนการแปรรูป อาทิ ทุเรียนแช่แข็งเพื่อเพิ่มมูลค่า

ภาคใต้ มีพื้นที่ปลูกทุเรียนมากกว่า 586,307 ไร่ โดยจังหวัดยะลา มีพื้นที่ปลูกทุเรียนมากเป็นอันดับ 3 ของภาคใต้ โดยแหล่งปลูกทุเรียนสำคัญที่มีเนื้อที่มากสุด 3 อันดับของจังหวัดยะลา คือ อำเภอเบตง รองลงมาคือ อำเภอบันนังสตา และอำเภอธารโต โดยพันธุ์ทุเรียนที่นิยมปลูกในพื้นที่ คือ พันธุ์หมอนทอง ชะนี ก้านยาว พวงมณี และมูซานคิง ตามลำดับ (ที่มา : สำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา)

โรคและแมลงศัตรูพืช นับเป็นอุปสรรคสำคัญของการทำสวนทุเรียนในพื้นที่จังหวัดยะลา โดยเฉพาะ โรครากเน่าโคนเน่า และแมลงศัตรูสำคัญ ได้แก่ หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน หนอนเจาะผลทุเรียน ด้วงหนวดยาวเจาะลำต้น มอดเจาะลำต้น เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยไฟ ไรแดง และเพลี้ยหอย เมื่อเกิดโรค เกษตรกรทั่วไปทำได้คือ การจัดการด้วยสารเคมี

เนื่องจากสวนศักดิ์ศรีทำสวนทุเรียนโดยไม่ใช้สารเคมีในการกำจัดโรคและแมลง ในอดีตสวนแห่งนี้ เคยประสบปัญหาโรคแมลง จากปัญหาหนอนไชเข้าไปอยู่ในทุเรียนก็เคยเจอมาแล้ว จนถึงขั้นต้องยกเลิกยอดจองทั้งหมด และแจกจ่ายให้ผู้หลักผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือและเพื่อนฝูงได้ชิมกันถ้วนหน้า

นับเป็นความโชคดีของวิสาหกิจชุมชนสวนศักดิ์ศรีทุเรียนเบตง ที่ได้ รศ.ดร. วรภัทร ลัคนทินวงศ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เข้ามาเป็นที่ปรึกษาด้านวิชาการ ทำให้การจัดการปัญหาโรคแมลงกลายเป็นเรื่องง่าย ทั้งนี้ รศ.ดร. วรภัทร แนะนำให้ใช้นวัตกรรมการชักนำรากของทุเรียน (Reborn Root Ecosystem : RRE) ช่วยแก้ปัญหารากเน่าโคนเน่า และลดการใช้ปุ๋ยทางใบต่อรอบ กว่า 50,000 บาท ต่อไร่

สำหรับนวัตกรรมการชักนำรากของทุเรียน เริ่มจากหมักซากพืชด้วยจุลินทรีย์ที่ดี ประมาณ 2 เดือน แล้วนำมาวางรอบทรงพุ่ม ใส่ธาตุอาหารรอง ใช้เชื้อไตรโครเดอร์ม่าพ่นบริเวณโคนต้นและรอบทรงพุ่ม รากทุเรียนฟื้นตัวได้ดีภายใน 15 วัน หลังการใช้นวัตกรรมนี้ ทุกวันนี้เกษตรกรต้องแบกภาระต้นทุนการผลิตสูงเนื่องจากปัญหาปุ๋ยราคาแพง ทางกลุ่มฯ จึงร่วมมือกับ รศ.ดร. วรภัทร เร่งศึกษาวิจัยเรื่องการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่เหมาะสมสำหรับสวนทุเรียน เพื่อลดต้นทุนการผลิตในระยะยาวต่อไป

รางวัลเกษตรกรดีเด่น จ.ยะลา

คุณโอ นับเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ที่มีบทบาทในกระบวนการพัฒนากิจการเกษตรตลอดจนเศรษฐกิจของชุมชนให้ดีขึ้น ทำงานร่วมกันระหว่างเกษตรกรทุกรุ่น สร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรในชุมชนได้อย่างยั่งยืน พร้อมยึดหลักเรื่องคุณภาพ-สุขภาพ-ความจริงใจ ต้องมาก่อน จึงมั่นใจได้ว่า ทุเรียนมูซังคิงออกมาจากสวนศักดิ์ศรี ต้องปลอดสารเคมี เพื่อสุขภาพของลูกค้าทุกท่าน ด้วยผลงานที่โดดเด่นดังกล่าวทำให้ คุณโอ รับรางวัลเกษตรกรดีเด่น สาขาอาชีพทำสวนได้จัดประกวดเกษตรกรดีเด่น สาขาอาชีพทำสวน จังหวัดยะลา ประจำปี 2565

เมื่อเร็วๆ นี้ นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้ลงพื้นที่เยี่ยมชมวิสาหกิจชุมชนสวนทุเรียนศักดิ์ศรี อำเภอเบตง จังหวัดยะลา เพื่อพบหารือกับผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน และเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน กรุยทางให้ผลผลิตทุเรียนภาคใต้ที่เริ่มทยอยออกสู่ตลาดในเดือนกรกฎาคมนี้ ได้ใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี (FTA) ที่ไทยทำกับคู่ค้า 18 ประเทศ ได้แก่ อาเซียน จีน ฮ่องกง ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย ชิลี และเปรู ที่ได้ยกเลิกการเก็บภาษีนำเข้าทุเรียนจากไทยแล้ว เหลือเพียงเกาหลีใต้ที่ยังคงเก็บภาษีนำเข้าที่ ร้อยละ 36 แต่จะทยอยลดเหลือ ร้อยละ 0 ในปี 2574 ภายใต้ความตกลง RCEP ซึ่งถือเป็นข้อได้เปรียบและโอกาสทางการค้าของวิสาหกิจชุมชน เกษตรกร และผู้ประกอบการไทย ในการขยายส่งออกสินค้าทุเรียนไปตลาดโลก

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพทางการค้าของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน เกษตรกร ในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยตั้งแต่ปี 2561 ได้ดำเนินโครงการ “สร้างเครือข่ายเชื่อมโยง 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สู่ตลาดการค้าเสรีอาเซียน” มาอย่างต่อเนื่องทุกปี ได้แก่ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสงขลา โดยลงพื้นที่ทำงานควบคู่กับการจัดสัมมนาแบบบูรณาการร่วมกับกับหน่วยงานพันธมิตร เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องการใช้ประโยชน์จาก FTA ให้กับเกษตรกรวิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการที่มีสินค้าทุเรียน มังคุด ส้ม ลองกอง และกล้วยหิน ที่มีศักยภาพและความพร้อมส่งออก

ในระยะที่โลกกำลังผจญกับปัญหาภัยคุกคามด้วยโรคติดต่อที่รุนแรงเช่นขณะนี้ วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของประชาชนคนบ้านเราก็หลีกหนีไม่พ้น เกิดความลำบากยากเข็ญ แร้นแค้น การหาอาหารเลี้ยงดูประทังชีวิตก็อยู่ในขั้นขัดสน หมู เห็ด เป็ด ไก่ ไข่ กุ้ง หอย ปู ปลา เกลือ กะปิ น้ำปลา ปลาร้า น้ำมัน ผงปรุงรส ข้าวสาร พริก หอม กระเทียม พืชผักนานา ก็ขยับราคาขึ้น ท่ามกลางความทุกข์ยากของชาวชน

ชาวบ้านเขาออกหาเก็บ “ผักกูด” ตามแหล่งธรรมชาติ เพื่อเอามาบริโภค หรือเอามาแบ่งปัน หรือขายเป็นรายได้ เมื่อก่อนส่วนใหญ่หาเก็บเอามาทำเป็นอาหาร คนเข้าป่าก็หาผักง่ายๆ เอามาประกอบอาหารกินกัน หาพืชพื้นบ้าน พืชตามป่าเขา ต้นพืชไหนที่นำมากินได้ ก็จะเลือกสรรมาปรุงแต่งประกอบอาหารกิน เรียกพืชที่เอามากินว่า “ผัก” แต่มีพืชกินได้บางอย่างที่ไม่เรียกว่าผักนำหน้า เช่น “หน่อไม้” คือต้นอ่อนไผ่ “หัวปลี” คือดอกกล้วย และพวก เผือก บอน ซึ่งความนิยมชมชอบก็ขึ้นอยู่กับคนกิน ที่ชัดเจนแน่นอนที่สุด คือความผูกพันที่ชาวบ้านกับพืชป่า ผักป่า ผักพื้นบ้าน มีความลึกซึ้งซึมลึกกันมาแต่เนิ่นนาน ยากเกินกว่าจะสืบค้นหาหลักฐานความเป็นมาได้ สันนิษฐานว่าจะมีสัมพันธ์กันมาตั้งแต่สมัยโบราณ ก่อนกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีไทย โน่นละกระมัง

“ผักกูด” ชื่อสามัญ Paco Fern หรือ Small Vegetable Fern ชื่อวิทยาศาสตร์ Diplazium esculentum (Retz) Sw พบการกระจายตัวอยู่ในบริเวณเขตร้อนของเอเชีย จนถึงตอนกลางของจีน ตอนใต้ของญี่ปุ่น และหมู่เกาะแปซิฟิก ผักกูดที่นิยมนำมารับประทานคือ ผักกูดน้ำ ซึ่งจะขึ้นเจริญเติบโตได้ดีในที่โล่งมีน้ำขัง ชุ่มชื้น ตามแหล่งน้ำธรรมชาติที่สะอาด ก้านใบจะยาวได้ถึง 1 เมตร ยอดเป็นมันวาวเลื่อมแสง ใบสีเขียว เมื่อเด็ดยอดจะมียางเหนียวใส บริเวณโคนต้นมีขนสีขาวเทา ถ้าต้นแก่มีขนอ่อนสีน้ำตาลคลุมต้น

เป็นพืชผักในตระกูลเฟิร์น (Fern) หรือ เฟิน หรือวงศ์ ATHYRIACEAE คำว่า กูด แปลว่า หงิกงอ มีเรียกชื่อกันหลายอย่าง เช่น ผักกูดกิน ผักกูดครึ ผักกูดขาว หรืออาจเรียกตามชนิด เช่น ผักกูดก๊อง ผักกูดน้ำ ผักกูดดอย ผักกูดเครือ ที่สุราษฎร์ฯ และโคราช เรียก หัสดำ นอกจากนี้ ยังมีชื่อที่เรียกต่างกันไป เช่น ผักกูดเกลี้ยง ผักกูดซาง ผักกูดขน ผักกูดแดง ผักกูดนกยูง มีอีกหลายชนิดที่ไม่ถือว่าเป็นผัก คือกินไม่ได้ เรียกรวมๆ กันว่า “เฟิร์น” หรือ “เฟิน” ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับสวนสวยงาม เช่น เฟินหางกระรอก เฟินใบมะขาม เฟินใบพาย เป็นต้น

ลักษณะทั่วไปของผักกูด จะมีความแตกต่างกันไปแต่ละชนิด ส่วนใหญ่เป็นไม้ล้มลุก ในช่วงแล้งต้นจะแห้ง ใบจะเหี่ยวเฉาแห้ง และแตกหน่อแตกใบใหม่ในฤดูฝน ต้นผักกูด จะแทงออกจากเหง้าโดยตรง อาจจะเป็นไม้เลื้อย ใบมีสีเขียว มีรูปร่างแตกต่างกัน ขยายพันธุ์ด้วยสปอร์ เฟินในประเทศไทยมีมากกว่าร้อยชนิด ชนิดที่กินได้เรียกกันว่า “ผักกูด” อย่างที่กล่าวมา มักพบบริเวณลำห้วย หนองน้ำ ลำธาร ต้นน้ำ ป่าละเมาะ ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา ป่าผลัดใบผสม ชะง่อนหินที่มีความชันสูงของป่าดิบชื้นก็มี เช่นที่ภูพญาพ่อ อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ พบผักกูดดอย และเฟิร์นร้อยปี หรือเฟิร์นยักษ์ ก็คือต้นตระกูลผักกูดดอย นั่นแล

ชาวบ้านหลายพื้นที่มีอาชีพเก็บผักกูดขาย บางแห่งรับจ้างเก็บ หรือรวบรวมส่งให้พ่อค้าผัก ส่งออกไปต่างประเทศก็มี เช่น ญี่ปุ่น นำไปทำผักดอง “วาราบิ” บางพื้นที่หาเก็บตามแหล่งธรรมชาติไม่พอขาย ก็หันมาปลูกเพาะเป็นแปลงเกษตรอาชีพ รอเก็บจากธรรมชาติก็เก็บ 2 สัปดาห์ครั้ง ไม่พอต่อความต้องการของตลาด เมื่อต้องปลูกเอง ต้องทำการปลูกดูแลรักษา หาวิธีการเพาะขยายเหมือนเช่นการดูแลผลิตผักเศรษฐกิจอื่นๆ วิธีการปลูกผักกูด เริ่มจากการไถดินเตรียมแปลงปลูก ปรับปรุงบำรุงดิน ใส่ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมักรองหลุม หรือผสมดินทั้งแปลง

ขุดหลุมปลูกระยะ 30×50 เซนติเมตร ใช้หัวไหล หรือหน่อผักกูด วางปลูกตื้นๆ กลบโคน คลุมแปลงด้วยฟางแห้ง รดน้ำ เมื่อต้นผักกูดแตกยอดตั้งตัวได้แล้ว ใส่ปุ๋ยยูเรีย ผสมปุ๋ยสูตร 15:15:15 อัตรา 50 กิโลกรัม ต่อไร่ ให้น้ำวันละ 1 ครั้ง ต้นผักกูดที่ปลูกเมื่ออายุประมาณ 5 เดือน จะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้ว 3 วันเก็บยอดครั้งหนึ่ง เป็นผักที่อายุยาวมาก ดูแลบำรุงรักษาดี ให้ผลผลิตยาวนานหลายปี และเมื่อเวลาผ่านนานมากเข้า ผักกูดก็จะแก่ตัว ให้ผลผลิตลดลง ยอดจะเล็กลง ใบแก่จะเหี่ยวแห้ง โคนกอจะยกสูงขึ้นพ้นดิน เรียกว่า รากลอย ก็ทำการล้มแปลง หรือล้มกอปลูกใหม่แทนที่ ควรทำสลับแปลงเพื่อให้มีผลผลิตให้เก็บตลอดปี และโดยเฉพาะมียอดให้เก็บเกี่ยว ช่วงที่ไม่มีผักกูดจากธรรมชาติออกมาสู่ตลาด ราคาไม่น้อยเลย

ทุกวันนี้ชาวบ้านมีผักกูดมาวางขาย โดยจะเก็บส่วนที่เป็นยอด หรือก้านใบอ่อนที่แทงขึ้นมาจากเหง้าใต้ดิน เป็นก้านใบที่อวบอ้วน มีใบอ่อนติดปลายม้วนขดงอคล้ายก้นหอย สวยงามเป็นศิลปะจากธรรมชาติเนรมิต ภาษาวิชาการเรียกว่า ฟรอนด์ (Frond) นำมามัดเป็นกำขาย กำหนึ่งหนักประมาณ 2 ขีด หรือ 5 กำ ต่อกิโล ขายกำละ 10-15 บาท กิโลกรัมละ 50-75 บาท นับว่าได้ราคาดีพอสมควร เกษตรกรที่ปลูกเป็นแปลงผักกูดเพื่อการค้า หรือทำนาผักกูด ปลูกปีแรกจะได้ผลผลิตประมาณ 200-300 กิโลกรัม ต่อไร่ ปีต่อมาจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนอาจได้ถึง 3,000 กิโลกรัม ต่อไร่ ราคา รายได้ขึ้นกับกรรมวิธีการขาย จะมีการตกลงซื้อขายกันหลายวิธี บ้างก็ขนไปขายส่งตลาดกลาง ศูนย์การค้า บ้างก็ขายส่งให้พ่อค้ารายย่อย บ้างก็มีการนัดหมายมารับถึงสวนทุกวันก็มี ตลอดจนส่งขึ้นห้างสรรพสินค้า ส่งภัตตาคารร้านอาหาร สถานบริการด้านสุขภาพ

ด้านเกษตรกรผู้ผลิต ได้มีการปรับวิธีการปลูกผักกูดเป็นหลายแบบ ปลูกเป็นพืชแซม หรือร่วมกับพืชอื่นในร่องสวน แซมสวนพืชผลอื่นๆ หลายอย่าง เช่น สวนกล้วย สวนมะม่วง สวนยางพารา ปลูกเป็นโรงเรือนคลุมพรางแสง และควบคุมความชื้นด้วยระบบน้ำพ่นฝอย ปลูกสวนหลังบ้าน ปลูกตามแนวกำแพงรั้วบ้าน ซึ่งผักกูดเป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในที่มีแสงรำไร มีความชื้นสูง ด้านต้นทุนการปลูกผักกูดเพื่อการค้าจะใช้มากเกี่ยวกับค่าปุ๋ย และค่าแรงเก็บเกี่ยว แต่ถ้าขยัน ทำเองในครอบครัว ทำ 1 ไร่ จะพอเหมาะพอดี ผู้สนใจอาจจะศึกษาหาความรู้จากแหล่งปลูก เช่น ที่ศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง ที่แก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ที่ลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา ที่ศาลาแดง เมืองอ่างทอง ที่บ้านนา จังหวัดนครนายก หรือจะศึกษาเปรียบเทียบกับแหล่งเก็บผักกูดตามธรรมชาติที่ห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี ที่น้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ และอีกหลายที่ทุกทิศทั่วไทย

สารพัดคุณค่าของผักกูด เมื่อเป็นผักอาหารคน มีสรรพคุณช่วยเสริมสร้างบำรุงร่างกายให้แข็งแรง มีพลัง มีภูมิคุ้มกัน เพราะมีแร่ธาตุที่สำคัญ เช่น ธาตุเหล็กมีสูงมาก ยิ่งเมื่อกินร่วมกับเนื้อสัตว์ จะช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุอาหารได้ดี บำรุงโลหิต แก้โรคโลหิตจาง เป็นผักเย็นกินดับร้อน แก้ไข้ตัวร้อน ช่วยบำรุงสายตา ลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ลดความดันโลหิตสูง ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน มีเส้นใยอาหารสูงมาก ช่วยระบบการย่อยอาหาร และการขับถ่าย มีสรรพคุณช่วยขับปัสสาวะได้อย่างสุดยอด ใบขยี้ปิดแผลห้ามเลือดได้ ต้มน้ำอาบแก้ผื่นคันตามผิวหนัง เป็นส่วนผสมทำยาผงกินรักษาริดสีดวงทวาร และที่สำคัญ ผักกูดจะสามารถดูดซับเอาสารพิษที่ติดค้างในร่างกาย ในอาหาร และขับทิ้งออกจากร่างกาย แก้พิษอักเสบภายใน นั่นคือกระบวนการต่อต้านสารอนุมูลอิสระตัวก่อมะเร็งภัยร้ายที่ใครๆ ก็ไม่อยากได้ ไม่อยากพานพบ

การนำผักกูดมาเป็นอาหาร แนะนำว่าอย่านำมากินแบบสดๆ เพราะมีสารออกซาเลตมาก จะทำให้เป็นนิ่ว และไตอักเสบได้ ผักกูดเป็นพืชที่มีรสชาติจืดอมหวาน และเนื้อกรอบ นิยมนำเอายอดอ่อนที่มีลักษณะม้วนงอ และใบอ่อนมากินเป็นอาหาร โดยนำมาประกอบอาหารเป็นแกงจืดผักกูดหมูสับ แกงเลียง แกงส้ม แกงกะทิใส่ปลาย่าง แกงรวมกับผักอื่นๆ หรือจะใช้เป็นผักต้ม ผักนึ่งจิ้มน้ำพริกต่างๆ หรือปรุงเป็นยำผักกูดหมูสับ ยำผักกูดใส่กุ้ง ไข่เจียวผักกูด ผัดผักกูดใส่แหนม ผัดผักกูดใส่ไข่ ผัดผักกูดน้ำมันหอย ปรุงแต่งเป็นอาหารตามความนิยมของเราได้มากมายหลายเมนู ซึ่งผักกูดฤดูแล้งจะกรอบอร่อยกว่าฤดูอื่น แม้ว่ายอดจะไม่ค่อยสวยอวบอิ่มสักเท่าไหร่

ผักกูด คือสุดยอดนักสำรวจตรวจวิจัยธรรมชาติ เพราะโดยปกติแล้วผักกูดจะเจริญเติบโตขึ้นได้ดี เฉพาะในบริเวณสภาพแวดล้อมที่ดี มีความบริสุทธิ์เท่านั้น ถ้าบริเวณไหนอากาศไม่บริสุทธิ์ ดินน้ำไม่ดี มีสารเคมีเจือปน หรือเป็นแหล่งที่มีการใช้สารเคมี ผักกูดจะไม่ยอมเจริญเติบโตเด็ดขาด นับว่าเป็นสุดยอดพืชที่จะเป็นดัชนีชี้วัด ว่าทำเลพื้นที่นั้นดี สมบูรณ์ บริสุทธิ์ เหมาะสมแก่การจะนำไปใช้เป็นที่ปลูกพืชดีๆ ให้แก่คนดีๆ กินอยู่แบบคนดี เพื่อชีวิตที่ดี จะอยู่บนโลกที่ดีใบนี้ได้ คืออยู่อย่างเปี่ยมด้วยความดีนั่นเอง พบกันที่สำรับอาหารนะผักกูดที่รัก

หนึ่งในปัญหาที่เกษตรกรผู้ปลูก “มันสำปะหลัง” มักเจอคือ ผลผลิตตกต่ำจากดินเสื่อม เนื่องจากพื้นที่ปลูกส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทรายหรือดินทราย ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ และง่ายต่อการชะล้าง หากปลูกมันสําปะหลังต่อเนื่องกันนานๆ โดยขาดการปรับปรุงดิน อาจส่งผลให้ ผลผลิตลดลงเรื่อยๆ เฉลี่ยปีละ 300 กิโลกรัม/ไร่

ทั้งนี้ ในความเป็นจริงแล้ว เกษตรกรมักปลูกมันสำปะหลังกันบนพื้นที่หลักสิบหรือหลักร้อยไร่ จึงไม่สามารถเปลี่ยนพื้นที่ปลูกได้ง่ายนัก แล้วจะทำอย่างไรถึงจะได้ผลผลิตที่ดีสม่ำเสมอ? เราจะพาไปพบกับเกษตรกรรุ่นใหม่ แต่ฝีมือไม่ธรรมดา เพราะสามารถคิดค้นแนวทางการพัฒนาผลผลิตให้เพิ่มขึ้นได้จาก 5 เป็น 7 ตัน/ไร่ เลยทีเดียว

คุณสุเมธ เกลอกระโทก อำเภอเสิงสาง a href=”https://www.mo-rpg.com/”>mo-rpg.com จังหวัดนครราชสีมา วัย 34 ปี เกษตรกรดีกรีปริญญาตรีนิติศาสตร์ เผยว่า ตนเองนั้นปลูกมันสำปะหลังบนพื้นที่ 200 ไร่ สืบทอดจากพ่อแม่มานานกว่า 8 ปีแล้ว ซึ่งด้วยความที่เป็นคนรุ่นใหม่และไม่มีประสบการณ์มาก่อน จึงเริ่มเส้นทางการเกษตรด้วยการสังเกตและเรียนรู้จากแนวทางจากรุ่นพ่อรุ่นแม่ จนพบว่า จุดสำคัญของการปลูกมันสำปะหลังให้ประสบความสำเร็จ คือต้องควบคุมต้นทุนให้ได้ และวางแผนการปลูกให้เป็นระบบ ต้องอาศัยความใส่ใจในขั้นตอนที่สำคัญ เช่น ช่วงการเตรียมแปลง การเตรียมท่อนพันธุ์ และการบำรุง ถ้าเราทำอย่างพิถีพิถัน ถูกหลัก ถูกช่วงเวลา ก็จะทำให้ควบคุมต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

อ่านมาถึงตรงนี้ อยากรู้แล้วว่า คุณสุเมธ มีสูตรสำเร็จอะไรที่ทำให้ปลูกมันสำปะหลังได้ผลผลิตกว่า 7 ตัน/ไร่ ต้องตามไปดูกัน เตรียมท่อนพันธุ์อย่างพิถีพิถัน
ช่วยลดโรค คุมต้นทุนได้มีประสิทธิภาพ
กระบวนการการคัดเลือกท่อนพันธุ์ นั้นมีความสำคัญใน 2 เรื่องหลัก คือ

1) หากเลือกสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงและเหมาะสมกับพื้นที่ จะถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ช่วยให้ได้ผลผลิตน้ำหนักดี

2) หากมีกระบวนการเตรียมท่อนพันธุ์ที่เหมาะสม จะช่วยลดโรคและควบคุมต้นทุนการดูแลได้มีประสิทธิภาพ สำหรับสายพันธุ์มันสำปะหลังที่คุณสุเมธเลือกปลูก คือ “ระยอง 81” เนื่องจากทนแล้ง ผลผลิตสูง เหมาะสำหรับปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมีภูมิต้านทานต่อ “โรคไวรัสใบด่าง” ที่ระบาดในพื้นที่ได้มากที่สุด

ด้านการเตรียมท่อนพันธุ์ จะใช้ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังที่อายุ 10-12 เดือน ตัดทิ้งไว้ไม่เกิน 15 วัน มีความยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร มีตาถี่และมีจำนวนตาไม่น้อยกว่า 5 ตา จะมีโอกาสในการงอกสูง โดยก่อนปลูกคุณสุเมธ จะตั้งท่อนพันธุ์ไว้มัดละ 25 ท่อน จำนวน 4 มัด โดยกองเรียงไว้แล้วพ่นสารป้องกันเพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟไรแดง ปลวก และยาเร่งรากให้ชุ่ม เพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคจะลงไปที่หัวมันสำปะหลังได้

ทั้งนี้ คุณสุเมธ จะพิถีพิถันในการเลือกท่อนพันธุ์เป็นอย่างมาก หากพบท่อนพันธุ์ที่มีโรค หรือมีไวรัสใบด่าง จะคัดทิ้งทันที ซึ่งแม้ว่าขั้นตอนนี้จะใช้เวลาค่อนข้างมาก แต่ก็คุ้มค่า เนื่องจากช่วยป้องกันการระบาดของโรคไวรัสใบด่างในแปลงได้เป็นอย่างดี

“ก่อนหน้านี้ผมเคยใช้วิธีฉีดพ่นสาร “ไทอะมิโทแซม” ทุก 3-4 เดือน เพื่อป้องกันและกำจัดพวกเพลี้ย แมลงปากดูดต่างๆ ที่เป็นพาหะของไวรัสใบด่าง ซึ่งมีค่าใช้จ่ายหลักหมื่นต่อรอบ ทำให้ไม่คุ้มทุน พอหันมาใช้วิธีคัดเลือกท่อนพันธุ์ให้ปลอดโรคก่อนปลูก ก็พบว่าช่วยควบคุมต้นทุนได้ดีมากครับ” คุณสุเมธ เผยถึงความสำคัญในการเตรียมท่อนพันธุ์

ต้องใส่ใจเรื่องการเตรียมแปลง
ปัจจัยหนึ่งที่ช่วยเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังได้โดยไม่เพิ่มต้นทุน คือ การเตรียมดินให้พร้อมทำการเพาะปลูกและกำจัดวัชพืชให้หมด เนื่องจากมีผลทำให้มันสำปะหลังที่ปลูกมีเปอร์เซ็นต์การงอกสูง ลงหัวได้ลึก สามารถดูดซับธาตุอาหารในดินและสะสมแป้งได้ดี ส่งผลให้ได้หัวมันน้ำหนักดีตามไปด้วย