วิโรจน์อธิบายว่า แนวคิดการทำออนไอทีวัลเลย์ของเขา

เป็น Social Enterprise คือเป็นธุรกิจที่แสวงหากำไร แต่ไม่ได้แสวงหากำไรสูงสุด เพราะกำไรจากการทำทุกกิจกรรมจะแบ่งปันให้กับคนและสังคมใครไม่มีโอกาสก็สามารถเดินเข้ามาในพื้นที่แห่งนี้ได้โดยเฉพาะเอสเอ็มอีที่ต้องการซอฟต์แวร์แต่ยังไม่มีเงินทุนเขาก็จะให้ใช้ซอฟต์แวร์ฟรี2 ปี จนกว่าจะตั้งตัวได้ โดยไม่มีข้อผูกมัดใด ๆ

ขณะเดียวกัน ที่นี่จะเป็นพื้นที่ต้นแบบการทำเกษตรอินทรีย์-ออร์แกนิกให้กับชุมชน เป็นโมเดลให้เกษตรกรเติบโตได้ ทำเกษตรแบบไม่มีหนี้สิน และเป็นการเกษตรที่เพิ่มมูลค่าสูง ไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง เป็นเกษตรในรูปแบบ Smart Farm และใช้ไอทีเข้ามาทำการตลาดในลักษณะ e-Market Place ที่เกษตรกรสามารถขายสินค้าให้กับผู้ซื้อได้โดยตรง เป็นแหล่งสร้างงานให้คนในพื้นที่ได้มีงานทำ และคนในชุมชนสามารถมาเรียนรู้เพื่อนำไปต่อยอดในกิจการของตัวเอง

ดังนั้น ภายในโครงการจึงประกอบด้วยหลายธุรกิจ ส่วนแรก คือ “Creative Park” เป็นอาคาร 3 ชั้น ขนาด 2,000 ตารางเมตร จุได้ราว 250 คน จะเปิดให้บริการภายในเดือนมิถุนายน 2560 นี้ โดยจะเป็นสถานที่ทำงาน เป็นศูนย์ฝึกอบรมสัมมนา เป็นศูนย์เทรนนิ่งรองรับกลุ่ม SMEs Startup และ Tech Startup คาดว่าภายใน 5 ปี หรือราวปี 2566 จะเกิดการสร้างงาน สร้างคนให้กับทั้งสองกลุ่มนี้ราว 1,000 คน

นอกจากนี้ กลุ่มลูกค้าหลักของโปรซอฟท์คอมเทค ที่มีฐานอยู่กว่า 5,000 รายทั่วประเทศ ก็เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักที่จะเข้ามาใช้บริการภายใน Creative Park ทั้งในลักษณะการประชุมสัมมนา การฝึกอบรม และการพัฒนาเอสเอ็มอีเกี่ยวกับซอฟต์แวร์และไอที ขณะเดียวกันก็ยังมองถึงเอสเอ็มอีอีก 50,000-100,000 รายทั่วประเทศ ที่จะเป็นกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่เข้ามาใช้บริการ รวมถึงยังเปิดให้เป็นพื้นที่ทำงานในรูปแบบ Coworking Space ให้กับสตาร์ตอัพด้วย

ส่วนที่สอง “Oon Organic” เป็นพื้นที่ทำการเกษตรอินทรีย์และออร์แกนิก เบื้องต้นทำบนพื้นที่ราว 10 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ปลูกข้าวไรซ์เบอรี่และข้าวหอมมะลิ 4 ไร่ และผัก/ผลไม้อีก 6 ไร่ อาทิ มะเขือเทศ พริกหวาน เมล่อน ซึ่งทั้งหมดเป็นการสร้างผลผลิตที่สามารถนำมาบริโภคได้ตลอดปี และสามารถแบ่งปันผลผลิตให้กับพนักงานโปรซอฟท์ฯและลูกค้า และยังสามารถนำไปขายให้กับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวภายในโครงการได้ด้วย

ท่องเที่ยวสไตล์ “ดัตช์ฟาร์ม”

ส่วนที่สาม “Dutch Farm” ตั้งอยู่บนพื้นที่ 15 ไร่ เป็นพื้นที่ท่องเที่ยวสไตล์ฟาร์มชนบท ที่จะได้สัมผัสกับม้าแคระที่นำเข้ามาจากอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และเนเธอร์แลนด์ กว่า 50 ตัว และแกะอีกราว 80 ตัว ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถสัมผัสสัตว์ทั้งสองชนิดได้อย่างใกล้ชิด รวมถึงยังมีสัตว์ชนิดอื่นทั้งกระต่าย ไก่แจ้ ฯลฯ ซึ่งในช่วงวันหยุดเทศกาลและวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ มีนักท่องเที่ยวเข้าชมราว 1,000-2,000 คน โดย 3 เดือนแรกที่เปิดบริการ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท

ส่วนที่สี่ “Oon Academy” เป็นพื้นที่เสริมสร้างประสบการณ์และฝึกทักษะกีฬาฟุตบอลให้กับเด็ก-เยาวชนที่ขาดโอกาสและฐานะไม่ดี รวมถึงเด็กและเยาวชนทั่วไปที่มีความสนใจเรียนรู้โดยนำโค้ชทีมชาติมาฝึกสอน แต่ไม่ได้กำหนดเรื่องคอร์สค่าเรียน เด็กและเยาวชนที่มาเรียนรู้ที่นี่ อาจตอบแทนด้วยการช่วยเหลืองานจิตอาสา เช่น ทำความสะอาดอาคาร ช่วยเก็บกวาด ทำความสะอาด ซักชุดฟุตบอล ฯลฯ และพื้นที่อีกส่วนจะสร้างอาคาร Campus เน้นเป็นแหล่งเรียนรู้และการสร้างประสบการณ์ใหม่หลาย ๆ ด้านให้กับเด็กและเยาวชน โดยจะใช้เงินลงทุนราว 25 ล้านบาท ซึ่งผลกำไรจากทุกธุรกิจในโครงการ Oon IT Valley จะนำมาพัฒนาโครงการนี้เป็นหลัก

ส่วนที่ห้า โครงการสร้างโรงแรมและรีสอร์ต บนพื้นที่ราว 9 ไร่ เพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าของโปรซอฟท์ คอมเทค และนักท่องเที่ยวทั่วไป ขนาด 60 ห้อง ใช้งบฯลงทุนราว 50 ล้านบาท จะเริ่มก่อสร้างได้ราวปี 2561 ขณะเดียวกันก็จะสร้างที่พักราคาถูกในรูปแบบ Coliving Space เพื่อรองรับกลุ่มสตาร์ตอัพ คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ราวปี 2562 และส่วนที่หก คือ ร้านกาแฟ ภายใต้แบรนด์ ทุ่งนากาแฟ ซึ่งเปิดให้บริการแล้ว ส่วนร้านอาหารอยู่ระหว่างการก่อสร้าง

ซื้อที่ดินเพิ่มรับกลุ่มลองสเตย์

วิโรจน์บอกว่ากลุ่มเป้าหมายหลักประกอบด้วยลูกค้าจากโปรซอฟท์คอมเทคสัดส่วน 50% จากฐานลูกค้าที่มีอยู่ 5,000 บริษัท กลุ่มเอสเอ็มอีที่จะให้ใช้ซอฟต์แวร์ฟรี สัดส่วน 20% กลุ่มนักท่องเที่ยว 10% กลุ่มเกษตรกรที่เข้ามาศึกษาเรียนรู้ 10% และกลุ่มพนักงานบริษัทโปรซอฟท์ฯ 10% ซึ่งคาดว่าจะมีรายได้ต่อปีราว 50-60 ล้านบาท

“ตอนนี้ผมกำลังเจรจาซื้อที่ดินเพิ่มอีกราว 100 ไร่ มูลค่าที่จะซื้อ 50-60 ล้านบาท ติดกับโครงการออน ไอที วัลเลย์ เพื่อเตรียมขยายการลงทุนในอีก 5-10 ปีข้างหน้า โดยจะขยายพื้นที่โครงการ Academy เพิ่มเติม และทำที่พักรองรับกลุ่มลองสเตย์”

Oon IT Valley เป็นโมเดลธุรกิจที่มีหัวใจหลักคือ IT เป็นตัวเชื่อมต่อและสร้างมูลค่าเพิ่ม เป็นพื้นที่สร้างโอกาสให้กับ Startup และเป็นพื้นที่ต้นแบบการทำเกษตรในวิถีอยู่ดี กินดี มีสุข ปลอดสารเคมี ที่ผู้สร้างอาณาจักรแห่งนี้นิยามไว้ว่า ที่นี่เป็นเมืองไอที วิถีล้านนา วิถีแห่งการแบ่งปัน

กาแฟรสชาติดีต้องมาจากสถานที่ดีด้วย แต่ความใส่ใจน่าจะเป็นหัวใจสำคัญในทุกกระบวนการผลิต บนพื้นที่กว่า 85 ไร่ บนดอยตุง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย เป็นที่ตั้งของ “ไร่เนสกาแฟ” ยี่ห้อกาแฟดังที่คุ้นเคย บรรยากาศเย็นสบายในช่วงต้นปี มองเห็นต้นกาแฟเรียงรายกันเป็นระเบียบแบบขั้นบันไดมองดูแล้วสบายตา

คณะผู้บริหารเนสกาแฟ อภิวัฒน์ อิริยาภิชาติŽ ผู้จัดการฝ่ายการตลาดอาวุโส กลุ่มธุรกิจเนสกาแฟพรีเมี่ยม และ สุจิน สุดสะอาดŽ ผู้จัดการฝ่ายสนับสนุนการผลิต กลุ่มธุรกิจกาแฟและครีมเทียม พาคณะสื่อมวลชนเดินชมไร่กาแฟ พาไปดูตั้งแต่กรรมวิธีการปลูกไปจนถึงการเก็บเกี่ยวอย่างพิถีพิถันกว่าจะออกมาเป็นเมล็ดกาแฟที่หอมกรุ่นในแก้วว่าต้องทำอย่างไรบ้าง

ไร่เนสกาแฟที่ดอยตุงแห่งนี้ ใช้วิธีการปลูกแบบขั้นบันได ช่วยลดการกัดเซาะการพังทลายของหน้าดินได้เป็นอย่างดี

วันนี้เรายังมีโอกาสได้เก็บเมล็ดกาแฟสด ๆ จากไร่

ก่อนอื่นทุกคนจะต้องสวมถุงมือให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันมดแมลงที่อยู่ตามต้นกาแฟ และใส่รองเท้าบูต เนื่องจากพื้นค่อนข้างชื้น และเพื่อความสะดวกในการเก็บมากขึ้น สำหรับวิธีการเก็บเมล็ดกาแฟ สามารถเก็บได้ตั้งแต่เมล็ดสีเหลืองจนถึงสีแดง แต่ถ้าจากแดงจนกลายเป็นสีดำ แบบนี้ถือว่าสุกเกินไป เพราะช่วงของเมล็ดกาแฟที่ให้รสชาติดีที่สุดคือเมล็ดที่สุกเต็มที่และมีสีแดงสด

เมล็ดกาแฟที่คณะสื่อมวลชนได้มีโอกาสเก็บในวันนี้เรียกว่า กาแฟเชอรี่ หลังจากที่เก็บเมล็ดกาแฟมาเรียบร้อยแล้วก็มาถึงขั้นตอนการคัดล้าง ทำความสะอาด และเอาผลกาแฟที่เราเก็บมาลอยน้ำ เพื่อคัดผลที่ไม่ได้คุณภาพออกไป

เมล็ดกาแฟที่ลอยน้ำจะคัดทิ้ง เลือกเฉพาะเมล็ดกาแฟที่จมน้ำเท่านั้น

หลังจากคัดเมล็ดกาแฟได้แล้ว ก็มาถึงขั้นตอน การปอกเปลือกและการล้างเมือก โดยไร่แห่งนี้จะทำการคัดแยกแล้วนำลงเครื่องปอกเปลือก การทำงานของเครื่องนี้จะเป็นในลักษณะของการบี้เอาเปลือกออก จะได้เมล็ดกาแฟประกบกันอยู่สองเม็ด โดยนอกเปลือกหุ้มเมล็ดจะเป็นเมือก ต้องขัดออกให้หมด ไม่เช่นนั้นจะทำให้มีปัญหาตอนที่เรานำไปสีเป็นเมล็ดกาแฟ และจะทำให้มีกลิ่น เหมือนไม่สะอาด

ถ้าไม่มีเครื่องจักรวิธีการกำจัดเมือก จะทำได้โดยการหมักธรรมชาติประมาณ 12 ชั่วโมง แล้วปล่อยน้ำออกและทิ้งให้แห้งอีก 12 ชั่วโมง แล้วนำไปแช่น้ำอีก 24 ชั่วโมง และเปลี่ยนน้ำหมักใหม่อีก 24 ชั่วโมง รวม ๆ แล้วใช้เวลาหมักทั้งหมดประมาณ 60 ชั่วโมง

จากนั้นจึงนำไปตากให้แห้งอย่างน้อย 7-10 วัน แต่ถ้าอากาศเย็นหรืออากาศชื้น ต้องใช้เวลาประมาณ 15 วัน ซึ่งตากเฉพาะตอนกลางวันเท่านั้น ตอนกลางคืนจะต้องเก็บเพื่อไม่ให้โดนน้ำค้าง พอแห้งก็จะกลายเป็นเมล็ดกาแฟ แล้วนำไปสีเพื่อเอาเปลือกหุ้มเมล็ดนี้ออกก่อนจะนำไปคั่ว

หลังจากที่ชมไร่กาแฟรวมถึงกรรมวิธีการผลิตแล้ว ผู้จัดการฝ่ายการตลาดอาวุโส กลุ่มธุรกิจเนสกาแฟพรีเมี่ยม ยังได้แนะนำผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ “เนสกาแฟ โกลด์” จากกาแฟพันธุ์อราบิก้า ซึ่งต้องผ่านกระบวนการคัดสรรเมล็ด และทำการคั่วบดโดยผู้ชำนาญการจากเนสกาแฟ รวมถึงขั้นตอนการใส่นมเพื่อทำให้รสชาติออกมาดีที่สุด ซึ่งต้องผ่านการวิจัยก่อนจะถึงมือผู้บริโภคจริง ๆ

“การคั่วและบดกาแฟถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการคัดสรรกาแฟชั้นเลิศ ที่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในการคั่วและบดเมล็ดกาแฟให้ผสมผสานกันอย่างสมบูรณ์แบบ จากเมล็ดกาแฟดิบจะถูกคั่วจนเปลี่ยนเป็นกาแฟเมล็ดสีน้ำตาลทอง ต้องอาศัยความชำนาญเพื่อดึงเอกลักษณ์เฉพาะของเมล็ดกาแฟออกมาในเวลาและอุณหภูมิที่เหมาะสม” ผู้จัดการฝ่ายการตลาดอาวุโส กลุ่มธุรกิจเนสกาแฟพรีเมี่ยมอธิบายเพิ่ม

คณะนี้มีโอกาสได้ชิม “เนสกาแฟ โกลด์” ของบริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด รสชาติใหม่ก่อนใคร มีให้เลือก 3 รสชาติ ได้แก่ คาปูชิโน่, ลาเต้ มัคคิอาโต้ และไวท์เอสเพรสโซ เพื่อเป็นการตอบโจทย์ของคนไทยในการเพิ่มรสชาติ และได้ผ่านกระบวนการคัดสรรอย่างพิถีพิถันจากกาแฟคุณภาพ และการวิจัยจากผู้เชี่ยวชาญ พร้อมนวัตกรรมใหม่ในการเพิ่มฟองให้มากขึ้น

ได้ชมทั้งไร่และดูกระบวนการผลิตปิดท้ายด้วยการชิมกาแฟ เรียกว่าทริปกาแฟคราวนี้ได้สัมผัสรสชาติกาแฟอย่างจริง…จริง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ผลักดันจ.จันทบุรี เป็นมหานครแห่งผลไม้ของประเทศ และเป็นฮับผลไม้แห่งเอเชีย หวังรายได้กว่า 5 แสนล้านบาท ใน 5 ปี

​เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2560 นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะมือสร้างเศรษฐกิจการตลาดเชิงรุก ของ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมการค้าภายใน และนายวิชัย โภชนกิจ รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ ประชุมร่วมกับจังหวัดจันทบุรี โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นางกานต์เปรมปรีด์ ชิตานนท์) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประธานสภาหอการค้า กลุ่มสหกรณ์ และตัวแทนภาคประชาชนต่างๆ

นายสนธิรัตน์ กล่าวภายหลังการประชุมว่า ตั้งใจเดินหน้าผลักดันให้จังหวัดจันทบุรีเป็นมหานครแห่งผลไม้ ศูนย์กลางอัญมณีโลก โดยมีเป้าหมายการสร้างรายได้ เพื่อสร้างจีดีพีของประเทศ 5 แสนล้านบาท ใน 5 ปี เพราะจังหวัดจันทบุรีเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจที่สูงมาก ทั้งในด้านประมง การเป็นเมืองแห่งเพชรพลอย และยังเป็นพื้นที่ปลูกผลไม้ที่สำคัญของประเทศ ปัจจุบันมีผลไม้ที่สำคัญกว่า 10 ชนิด โดยเฉพาะทุเรียน ซึ่งกลายเป็นสินค้ายอดนิยมของผู้บริโภคชาวจีน จนสามารถสร้างรายได้ให้กับจังหวัดอย่างก้าวกระโดด จันทบุรีจึงมีความพร้อมที่จะก้าวขึ้นเป็นมหานครแห่งผลไม้ และฮับแห่งเอเชียได้ ซึ่งจะนำไปสู่รายได้ 5 แสนล้านบาท ใน 5 ปี

ทั้งนี้ รัฐบาลมีนโยบายในการผลักดันให้มีตลาดเฉพาะสินค้าขึ้น ซึ่งตลาดเฉพาะสินค้าเป็นสถานที่จำหน่ายสินค้าโดยเฉพาะ เช่น ผัก- ผลไม้ อาหารทะเล หรือสินค้าเกษตรอินทรีย์ เป็นต้น มีจุดเด่นที่ชนิดสินค้าที่เป็นที่ต้องการของกลุ่มเป้าหมาย เช่น นักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ โดยมีของสดและแปรรูปชนิดต่างๆเพื่อรองรับความต้องการของนักท่องเที่ยว ซึ่งอาจจะอยู่ในที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ให้นักท่องเที่ยวสามารถซื้อหาผลไม้ได้ตามต้องการ เช่น เชียงใหม่ ภูเก็ต พัทยา เป็นต้น หรืออยู่ในแหล่งผลิตสินค้า เพื่อสะดวกในการรวบรวมและกระจายสินค้าไปยังภูมิภาคต่างๆ และตลาดปลายทาง เป็นแหล่งรองรับผลผลิตและเป็นช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้า โดยอาจเป็นได้ทั้งตลาดกลางและตลาดระดับท้องถิ่น ทั้งนี้ จังหวัดจันทบุรีมีผลไม้เป็นสินค้าสำคัญ จึงเป็นเป้าหมายในการจัดตั้งตลาดเฉพาะสินค้าผลไม้และตลาดแปรรูปผลไม้ เพื่อรองรับผลผลิตที่จะออกสู่ตลาดในตลอดฤดูกาลผลิต และยังเป็นการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรและผู้ปลูกผลไม้และคนในท้องถิ่น

นายสนธิรัตน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดตั้งตลาดเฉพาะสินค้าในจังหวัดจันทบุรี จะทำให้จันทบุรีเป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่มีความโดดเด่นในภาคตะวันออก เป็นแหล่งผลิตผลไม้ที่สำคัญ ช่วยเชื่อมโยงการจำหน่ายผลไม้ในพื้นที่ไปสู่ตลาดปลายทางได้อย่างเหมาะสม กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ จึงพยายามผลักดันให้เกิดการบริหารจัดการด้านคุณภาพสินค้าที่มีคุณภาพ มาตรฐาน จากการสนับสนุนให้มีการจัดตั้งศูนย์กลางการจำหน่ายผลไม้ในจังหวัดแหล่งท่องเที่ยว เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวในภาคตะวันออกและภูมิภาคต่างๆ เพื่อสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างเศรษฐกิจให้ชุมชนมีความเข็มแข็งอย่างยั่งยืน

บริเวณริมถนนสาย อ.ศรีรัตนะ – บ้านศรีแก้ว ต.ศรีแก้ว อ.ศรีรัตนะ จ.ศรีสะเกษ ได้มีชาวบ้านบ้านเหล็ก ต.ศรีแก้ว จำนวน 7 คน กำลังช่วยกันใช้มีดตัดดอกดาวเรืองที่กำลังออกดอกบานสะพรั่งเต็มท้องทุ่งบนเนื้อที่ 7 ไร่ ซึ่งแปลงดอกดาวเรืองนี้ นายพิชิต คำเสน อายุ 54 ปี ประชาชนใน หมู่ 10 บ้านเหล็ก ต.ศรีแก้ว อ.ศรีรัตนะ ได้ปลูกขึ้น โดยใช้เวลาปลูกนานประมาณ 2 เดือน ดอกดาวเรืองกว่า 20,000 ต้น ก็ออกดอกบานสะพรั่ง สามารถตัดเก็บส่งไปขายที่ตลาดปากคลองตลาด กรุงเทพฯ ได้ โดยชาวบ้านต้องใช้ความระมัดระวังในการตัดดอกดาวเรือง ไม่ให้ดอกดาวเรืองช้ำเสียหาย จากนั้น นำเอามาใส่เข่ง เพื่อเตรียมนำไปคัดแยกส่งไปขายต่อไป

นายพิชิต คำเสน เจ้าของไร่ดอกดาวเรือง กล่าวว่า ในช่วงหลังจากฤดูการทำนา ตนจะปลูกต้นดาวเรืองขึ้นมาหมุนเวียนในที่นา ซึ่งในปีนี้ตนได้ปลูกต้นดาวเรือง จำนวน 40,000 ต้น ใช้เนื้อที่ในการปลูก จำนวน 7 ไร่ โดยปลูกได้นานประมาณ 1 เดือนครึ่ง ก็จะสามารถเก็บดอกดาวเรืองขายได้ โดยในช่วงตรุษจีนที่ผ่านมา ดอกดาวเรืองจะมีราคาดีมาก เบอร์ 0 ราคาดอกละ 1.80 บาท เบอร์ 1 ราคาดอกละ 70 สต.เบอร์ 2 ราคาดอกละ 30 สต.ตนได้ตัดดอกดาวเรืองไปขายแล้ว จำนวน 8 มีด ขายครั้งแรกได้ 70,000 บาท ครั้งที่ 2 ได้ 90,000 บาท ครั้งที่ 3 ได้ 140,000 บาท โดยจะสามารถเก็บดอกดาวเรืองขาย จำนวนทั้งสิ้น กว่า 20 ครั้ง มีรายได้ปีละประมาณ 1 ล้านบาทเศษ ตนปลูกมาได้ 3 ปีแล้ว

“แต่ปีนี้ขายดอกดาวเรืองได้เงินมากกว่าทุกปีที่ผ่านมาก เพราะว่าไม่มีใครปลูกต้นดาวเรือง ทำให้ขายได้ราคาดี โดยมีค่าใช้จ่ายเป็นค่าแรงงานชาวบ้านที่มาช่วยตัดดอกดาวเรือง จำนวน 20 คน ๆ ละ 200 บาทต่อวัน ๆ ละ 4,000 บาท ค่าเมล็ดพันธุ์ดอกดาวเรืองและค่าบำรุงรักษา โดยหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว ตนจะมีเงินเหลือปีละ 1 ล้านบาท ปลูกมาแล้ว 3 ปี ทำให้มีรายได้ช่วงว่างเว้นจากการทำนาได้เป็นอย่างดี และไม่ต้องหวั่นภัยแล้ง เพราะว่าการปลูกต้นดาวเรือง ไม่ได้ใช้น้ำมากแต่อย่างใด เพียงแต่ต้องใส่ใจดูแลรักษามากเป็นพิเศษเท่านั้น” นายพิชิต กล่าว

“ไก่บ้านต้มผักติ้ว” ความโปร่งเบาที่น่าลองลิ้ม

ถ้าใครถามผมว่า สมมุติมีเนื้อที่บ้านกว้างๆ จะอยากปลูกไม้ยืนต้นกินดอกกินใบอะไรบ้าง คำตอบคงมีหลากหลายนะครับ แต่หนึ่งในนั้นย่อมคือ “ติ้ว” หรือ “แต้ว” ครับ ค่าที่ว่ามันมีทรงต้นที่สวย ใบได้ขนาดพอเหมาะ เมื่อยืนต้นแล้วสูงชะลูด ใต้ต้นจึงโปร่งโล่ง ปลูกพืชล้มลุกอื่นๆ ได้อีก ที่สำคัญ ดอกติ้วเล็กๆ ออกเป็นช่อสีขาวแซมชมพูอ่อนๆ นั้นสวยมาก แถมเป็นความสวยที่กินได้เช่นเดียวกับใบอ่อนของมันครับ

ติ้วถูกวางอยู่ในระดับแถวหน้าของพืชผักเปรี้ยวรสดีในวัฒนธรรมอาหารลาวอีสานนะครับ รสเปรี้ยวของติ้วมีความฝาดจากยางใบอ่อนตัดให้ออกขมนัวเล็กน้อย ซึ่งกลายเป็นเสน่ห์ไปในที่สุด ไม่ว่าจะกินใบอ่อนสดๆ กรอบๆ จิ้มป่นปลา แนมก้อยเนื้อดิบ หรือใส่ให้รสเปรี้ยวในต้มส้ม ซึ่งจะอร่อยกว่าถ้าได้ปนใบเพสลาดในอัตราส่วนอย่างน้อยครึ่งต่อครึ่งกับใบอ่อน

เวลาเรานั่งรถไปตามทางหลวงชนบทในภาคอีสานหรือภาคเหนือ ถ้าสังเกตให้ดี ก็จะเห็นติ้วขึ้นอยู่ข้างทาง ยอดอ่อนสีออกแดงช้ำๆ ถ้ามองไม่ทัน หรือไม่ได้ลงเก็บ ก็หาซื้อได้ตามตลาดเล็กๆ ที่มีแผงผักแบบลาว จะมีติ้วมัดเป็นกำๆ ขายแทบทุกแผง หรือถ้าเมื่อไหร่มีเห็ดป่าอีสาน อย่างเห็ดระโงก เห็ดตีนแฮด เห็ดเผาะขาย คนขายก็มักจะมียอดผักติ้วมัดเล็กๆ แถมให้คนซื้อเห็ดเอากลับไปต้มส้มเสมอๆ

การที่เราเห็นมันบ่อยๆ แบบนี้ ถ้าไม่ลองเอามาทำอะไรกินเสียหน่อยมันก็เหมือนเสียเชิงไป อย่ากระนั้นเลยครับ หาไก่บ้านมาต้มแบบลาวอีสานกินสักหม้อดีกว่า

หาไก่มาได้แล้วก็สับชิ้นใหญ่หน่อย ล้างให้สะอาด เอาลงต้มในหม้อน้ำเดือดพล่านที่ปรุงเค็มด้วยเกลือไว้ เคี่ยวไฟกลางไปสักเกือบครึ่งชั่วโมง จึงใส่หอมแดงทุบทั้งหัว ถ้าชอบกลิ่นหอมซ่าของข่า ก็หั่นใส่ไปด้วยนะครับ

ใครที่ยังไม่เคยทำต้มไก่บ้านดีๆ อย่าแปลกใจนะครับว่าถึงตอนนี้ทำไมกลิ่นน้ำต้มไก่ในหม้อจึงหอมยั่วยวนน้ำลายนัก นี่แหละครับความแตกต่างของมัน ซึ่งก็ทำให้บรรดานักกินไก่ดีๆ ต้องขวนขวายหามากินชนิดไม่รู้จักเหน็ดจักเหนื่อยเอาเลย

พอดูว่าไก่ในหม้อเปื่อยดีแล้ว จึงใส่ผักติ้วลงไป ตามด้วยพริกพานทุบพอแตก ถ้าชอบกลิ่นน้ำปลา ก็เติมได้นิดหน่อย ต้มต่อไปจนผักสุกนุ่มก็ใช้ได้ครับ

กลิ่นหอมของน้ำต้มกระดูกไก่และเนื้อไก่ กลิ่นเปรี้ยวปนฝาดของผักติ้ว และกลิ่นเผ็ดนวลๆ ของพริกพานสุก ตัดด้วยกลิ่นหอมหวานของหัวหอมแดง ส่งให้“ไก่บ้านต้มผักติ้ว” หม้อนี้เป็นต้มส้มรสเปรี้ยวที่ทำง่าย โปร่งโล่ง และลงตัวดีจริงๆ ครับ

คนภาคกลางที่ติดรสต้มยำบีบมะนาว หรือต้มโคล้งใส่น้ำมะขามเปียก ย่อมจะรู้สึกว่าต้มส้มแบบลาวอีสานนั้นรสโปร่งเบา บางทีดูเหมือนจะเบาเกินไป ผมอยากให้ลองสังเกตดูว่ารสของต้มส้มในวงสำรับลาวอีสานโบราณมันพอเหมาะพอดีแล้วกับกับข้าวร่วมสำรับ ไม่ว่าจะเป็นป่น หมก หรือก้อย ที่รสชาติไม่จัดจ้านมากนัก กินกับข้าวนึ่งได้อร่อยแซ่บดี

ลองนึกถึงว่าถ้าซดต้มยำบีบมะนาวเปรี้ยวจัดๆ ตามหลังปั้นข้าวเหนียวจ้ำป่นปลา มัน “ไม่คือ” อย่างไรก็บอกไม่ถูกนะครับ

แต่ท่ามกลางการเปลี่ยนปรับดัดแปลงพันธุกรรมพริกตามกลไกตลาด อีกทั้งบรรดาหอมแดงซึ่งแปลกออกไปจากพันธุ์ศรีสะเกษเดิมที่เคยสร้างชื่อ แถมไหนจะไก่ที่มีแต่ไก่ฟาร์ม หาพันธุ์พื้นเมืองยากเข้าทุกที ฯลฯ รสชาติของ “ไก่บ้านต้มผักติ้ว” หม้อนี้ก็อาจเปลี่ยนไปได้อีกมากในอนาคต

เราคงต้องรอดูกันต่อไปครับ แต่อย่างไรก็ดี eocforum.net เจ้าผักติ้วนี้คงยังไม่เปลี่ยนไปในเร็วๆ นี้ดอกกระมัง กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ แถลงผลดำเนินงานคูปองวิทย์เพื่อโอทอปรอบ 6 เดือน ปี 2560 อนุมัติคูปอง 381 ราย เดินหน้าพัฒนาผู้ประกอบการรุ่นใหม่ส่งออกสินค้าชุมชนไทย กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บูรณาการหน่วยงานในสังกัด แถลงผลสำเร็จการดำเนินงานคูปองวิทย์เพื่อโอทอบในรอบ 6 เดือน ประจำปีงบประมาณ 2560 ระบุจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ 587 ราย ผ่านการอนุมัติคูปองแล้ว 381 ราย พร้อมเดินหน้าโครงการครึ่งปีหลังมุ่งพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชน/โอทอปรุ่นใหม่ หวังส่งออกสินค้าชุมชนไทย กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก สร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน (ในวันที่ 30 มีนาคม 2560 ณ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ)

ดร.อรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กล่าวว่า ปีงบประมาณ 2560 กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการยกระดับโอทอปด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม จำนวน 199 ล้านบาท มีเป้าหมายในการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ผู้ประกอบการโอทอปภายใต้โครงการคูปองวิทย์เพื่อโอทอบ จำนวน 629 ราย เพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 โดยได้รับมอบหมายแนวทางดำเนินงานโครงการฯ จาก พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้มุ่งเน้นด้านการต่อยอดสนับสนุนผู้ประกอบการ ภายหลังจากได้รับงานบริการจากคูปองวิทย์ เพื่อให้เกิดความยั่งยืน ผู้ประกอบการสามารถยืนได้ด้วยลำแข้งของตัวเอง โดยการเชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่นๆทั้งภาครัฐและเอกชน ในด้านการสนับสนุนเงินทุนต่อยอด การจัดจำหน่ายสินค้า การส่งเสริมการส่งออกสินค้าไปขายยังตลาดต่างประเทศ พร้อมเน้นการทำงานประชารัฐเป็นหลัก

“…โครงการคูปองวิทย์เพื่อโอทอปของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ดำเนินงานตามนโยบายประชารัฐ โดยความสำเร็จที่บังเกิดขึ้นเป็นผลจากการบูรณาการของหน่วยงานในสังกัด รวมทั้งเครือข่ายหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ที่เข้าร่วมสนับสนุนการดำเนินงานในมิติต่างๆ ได้แก่ ความร่วมมือในการคัดเลือกผู้ประกอบการที่มีความพร้อมในการให้บริการผ่านคูปองวิทย์เพื่อโอทอป การสนับสนุนทางการเงินของสถาบันทางการเงิน เพื่อการต่อยอดขยายผลการดำเนินธุรกิจ การสนับสนุนด้านการพัฒนามาตรฐาน การสนับสนุนทางการตลาด และ E-Commerce พร้อมทั้งสร้างความตระหนักผ่านกิจกรรมการเผยแพร่เทคโนโลยีและการเชิดชูตัวอย่างที่ดีอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี ตามลำดับ…” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กล่าว

ทั้งนี้ โครงการคูปองวิทย์เพื่อโอทอป มีเป้าหมายมุ่งพัฒนาผู้ประกอบการ 3 ประเภทคือ 1.ผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการโอทอปที่เพิ่งเริ่มต้นธุรกิจ (New OTOP) เช่น ประชาชนทั่วไป กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนโอทอป 2.ผู้ประกอบการโอทอปที่ขึ้นทะเบียนแล้วและต้องการยกระดับดาว (Existing) และ 3.ผู้ประกอบการโอทอปที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนและต้องการเพิ่มศักยภาพในการส่งออก (Growth) โดยจะให้บริการ 6 เรื่อง คือ 1.พัฒนาคุณภาพวัตถุดิบ 2.พัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ 3.ออกแบบบรรจุภัณฑ์ 4.ออกแบบกระบวนการผลิต 5.ออกแบบเครื่องจักร และ 6.พัฒนาระบบมาตรฐาน