ศูนย์บอนไซ สวนชัยพร ราชบุรี ซึ่งตั้งอยู่ที่ บ้านเลขที่ 188

หมู่ที่ 8 ตำบลเกาะพลับพลา อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี นับเป็นรังบอนไซที่ใหญ่ติดอันดับ 1 ใน 3 ของประเทศไทย มีทั้ง ตะโก ไทร โพธิ์ ชาฮกเกียน มะนาวเทศ มะขามเปรี้ยว เชอรี่แคระ ฯลฯ ปลูกเพาะขยายอยู่มากมายภายใต้การบริหารงานและการดูแลสวนของ คุณชัยพร ศิริธนโชติ

คุณชัยพร กล่าวว่า บอนไซ เป็นไม้ที่เลี้ยงดูไม่ยาก แต่ต้องใช้เวลานานในการดูแลและเลี้ยงตำแหน่ง (กิ่ง) ของลำต้นให้ได้รูปทรงที่สวยงาม ต้องคอยตัดแต่งกิ่งอยู่หลายปีกว่าจะนำออกมาจำหน่าย เบ็ดเสร็จแล้วจะใช้เวลาถึง 2 ปี ในการเลี้ยงให้เป็นไม้ที่เกือบจบ (ได้กิ่งและรูปทรงเกือบครบ) แต่บางครั้งบอนไซบางที่จะสร้างเป็นรูปร่าง มีตำแหน่งกิ่ง มีราก ก็สามารถนำออกมาจำหน่ายให้กับคนที่สนใจนำไปเลี้ยงต่อได้เช่นกัน

“บอนไซ เดิมจะเป็นทรงโบราณ คือ จะปลูกให้มีตำแหน่ง 1, 2 และ 3 (กิ่ง) แต่พอช่วงหลังๆ มา จะนิยมปล่อยเป็นรูปทรงธรรมชาติ เก็บไว้ทุกตำแหน่งที่เห็นว่าเหมาะสม ดูความถี่ ห่าง ดูช่วงจังหวะของใบที่นำมาทำเป็นบอนไซ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นไม้ที่มีใบถี่และเล็ก ซึ่งไม้แต่ละชนิดที่นำมาทำเป็นบอนไซ จะมีเทคนิควิธีการดูแลและการขยายพันธุ์แตกต่างกันออกไป แล้วแต่ลักษณะนิสัยของพืช บางตัวชอบแดด บางตัวไม่ชอบแดด บางตัวใบใหญ่ บางตัวใบเล็ก”

เพาะขยายพันธุ์สร้างไม้ ราคาย่อมเยาการขยายพันธุ์ สามารถทำได้ 3 วิธี ด้วยกัน ดังนี้

การปักชำ เลือกกิ่งที่มีความพร้อม ไม่แก่ ไม่อ่อนเกินไป ตัดมาชุบน้ำยาเร่งรากแล้วนำลงไปปักในดิน ตั้งไว้ในพื้นที่แดดรำไร ประมาณ 1 เดือน กิ่งก็จะติดราก การตอน จะเหมือนการตอนต้นไม้ทั่วไปๆ โดยจะใช้ขุยมะพร้าวห่อหุ้มกิ่งตอนไว้ประมาณ 1 เดือน กิ่งก็จะเริ่มออกราก พร้อมนำมาปลูกลงดินตั้งไว้กลางแดด ซึ่งวิธีการนี้เราสามารถจัดตำแหน่งของรากได้ว่าจะให้อยู่แบบใด

การเพาะเมล็ด วิธีนี้ จะนำเมล็ดที่ผึงแดดไว้มาเพาะในถาด ที่มีขุยมะพร้าวแช่กับน้ำยาเร่งรากผสมกับทราย ปล่อยไว้ประมาณ 15 วัน เมล็ดก็จะงอกออกมา จากนั้นจะเลี้ยงไว้ประมาณ 1-2 เดือน ก่อนที่จะนำไปปลูกลงกระถางตั้งไว้กลางแดด เป็นวิธีการที่ต้องใช้เวลานานกว่าแบบอื่นๆ กว่าจะได้รูปทรงที่สวยงาม

ส่วนการปลูกและการดูแล เริ่มจากดินที่ใช้ปลูก จะต้องผสมใบก้ามปูและมะพร้าวสับ อัตราส่วน 3:2:1 ใส่มูลวัวเล็กน้อย ก่อนที่จะนำไปใส่กระถางปลูกที่มีความกว้าง ยาว และลึก ตามความเหมาะสมของต้นไม้

น้ำ จะให้ช่วงเช้า 1 รอบ ก็สามารถอยู่ได้ทั้งวัน นอกจากบางต้นที่ปลูกในกระถางที่บางครั้งก็จะให้ช่วงเย็นอีกรอบ แต่ไม่ต้องให้มากเท่ากับช่วงเช้าปุ๋ย จะให้มูลวัว สลับกับปุ๋ยชีวภาพ ประมาณ 1-2 เดือนครั้ง หากมีโรคและแมลงก็จะฉีดสารสกัดจากพืช (น้ำหมักชีวภาพ) 2 สัปดาห์ครั้ง

ส่วนเทคนิควิธีการปลูกเลี้ยงบอนไซให้สวย ต้นได้รูปทรง ใบเล็ก ควรเริ่มจากปลูกจนต้นได้รูปทรงตามที่ต้องการก่อน พอได้รูปทรงตามที่ต้องการแล้ว ต้นแข็งแรง เราก็จะเปลี่ยนกระถางโดยกระถางที่ใช้จะเล็กลงกว่าเดิม ลดปริมาณดินลง เพื่อเป็นการจำกัดอาหารของต้นไม้ ซึ่งการเปลี่ยนกระถางนั้น เราจะต้องตัดรากเก่าทิ้งบ้างเล็กน้อยก่อนที่จะนำไปปลูกให้มีรากใหม่ออกมาหาอาหาร ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้ต้นไม้คงสภาพความสวยงามอยู่ตลอดเวลา

นักวิจัยแผ่นดินไหว สกว. สำรวจความเสียหายพบมีทั้งระดับเหลืองถึงแดง ขณะที่ ศ.ดร. เป็นหนึ่ง วานิชชัย หัวหน้าทีมฯ ชี้ภาคเหนือมีความเสี่ยงทั้งหมด เพราะมีรอยเลื่อนฝังตัวใต้เปลือกโลกที่อาจทำให้เกิดธรณีพิโรธได้ทุกที่ กระตุ้นการสร้างความตระหนักและเสริมกำลังอาคารอ่อนแอ โรงเรียน โรงพยาบาล น่าห่วงสุด

หลังเหตุแผ่นดินไหวในพื้นที่อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 พบว่า มีความเสียหายของอาคารบ้านเรือนประชาชนในตำบลทุ่งฮั้ว และเจดีย์วัดพระเกิดที่ยอดฉัตรเอียง นอกจากนี้ ยังพบความเสียหายในตำบลวังแก้ว ตำบลวังซ้าย และตำบลวังเหนือ ล่าสุด ผศ.ดร. ธีรพันธ์ อรธรรมรัตน์ หัวหน้าโครงการปรับปรุงแผนที่ความเสี่ยงแผ่นดินไหวประเทศไทยแบบบูรณาการข้อมูล

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้ลงพื้นที่สำรวจความเสียหายในบริเวณทั้งหมดในหมู่ที่ 11 ตำบลทุ่งฮั้ว เบื้องต้นพบว่าอาคารองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งฮั้ว ได้รับความเสียหายในส่วนกำแพงเท่านั้น ส่วนโครงสร้างหลักอย่างเสาและคานไม่ได้รับเสียหายใดๆ ขณะที่อาคารบ้านเรือนของชาวบ้านในละแวกตำบล ทุ่งฮั้ว พบว่ามีบ้านคอนกรีตเสริมเหล็ก 1 หลัง ได้รับความเสียหายที่บริเวณเสา อยู่ในระดับสีเหลือง ส่วนอาคารทั่วไปมีเสาเสียหายจนเห็นเหล็กภายในและอยู่ในระดับสีแดง 1 หลัง ทั้งนี้ อาจจะต้องให้ช่างกะเทาะเสาดูว่าคอนกรีตได้รับความเสียหายหรือไม่ แต่โดยส่วนตัวแล้วคิดว่าไม่มาก

“ในภาพรวมทั่วไปแผ่นดินไหวครั้งนี้ไม่ได้สร้างความเสียหายมากนัก แต่ประชาชนก็ควรอยู่นอกอาคารสักระยะหนึ่ง เพราะไม่ทราบว่าอาคารผนังจะเสียหายถึงขั้นถล่มลงมาหรือไม่หากเกิดอาฟเตอร์ช็อครุนแรง ซึ่งเราไม่สามารถคาดการณ์ได้ แต่คิดว่าน่าจะเกิดขึ้นถี่ในช่วงนี้”

ทั้งนี้ นักวิจัยได้รายงานผลการสำรวจความเสียหายต่อ นายทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ที่ลงพื้นที่สำรวจความเสียหายแล้ว ซึ่งทางนายทรงพลจะสั่งการให้ทีมโยธาธิการจังหวัดลำปางและวิศวกรรมอาสามาสำรวจให้ครบถ้วนเพิ่มเติม รวมถึงสั่งการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังด้วย

ด้าน ผศ.ดร. ภาสกร ปนานนท์ นักวิจัยชุดโครงการลดภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวในประเทศไทย สกว. จากภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวเสริมว่า การเกิดอาฟเตอร์ช็อคถี่ๆ เป็นเรื่องปกติ เพราะแผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดจากรอยเลื่อนพะเยา ซึ่งเป็นหนึ่งในรอยเลื่อนมีพลังของไทย จึงตอบไม่ได้ว่าจะเกิดอีกกี่ครั้งและรุนแรงเท่าใด จะมีขนาดใหญ่กว่า 4.9 หรือไม่ หรือพลังงานจะลดลงเรื่อยๆ ดังนั้นประชาชนและหน่วยงานต่างๆ จึงควรจะต้องมีความตื่นตัวและเตรียมความพร้อมในการรับมือกับเหตุการณ์ที่ไม่มีใครสามารถคาดการณ์จะเกิดขึ้นเมื่อใด ติดตามข่าวสารจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่ก็ไม่ควรจะตื่นตระหนกกันมากนัก

“แผ่นดินไหวครั้งนี้แม้จะมีขนาดไม่ใหญ่นัก แต่ก็สร้างความเสียหายแก่อาคารบ้านเรือนหลายแห่ง สะท้อนได้ว่าโครงสร้างอาคารบ้านเรือนยังไม่ได้รับการเสริมแรงต้านทานแผ่นดินไหวมากนัก จึงเป็นประเด็นทางสังคมที่จะต้องมาต่อยอดขบคิดกันเพื่อเตรียมพร้อมรับมือให้มากกว่านี้”

ขณะที่ ศ.ดร. เป็นหนึ่ง วานิชชัย หัวหน้าชุดโครงการลดภัยพิบัติแผ่นดินไหวในประเทศไทย สกว. จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ระบุว่าโดยหลักวิชาการแล้วแผ่นดินไหวขนาด 4.9 ถือว่าเริ่มเข้าสู่อันตราย เพราะใกล้เคียงกับขนาด 5.0 ที่ถือว่าอันตราย และขนาด 6 ขึ้นไปถือว่าอันตรายมาก ส่วนสาเหตุที่คาดว่าเกิดจากรอยเลื่อนพะเยานั้น ตนคิดว่าเป็นความเข้าใจผิดของคนส่วนใหญ่ที่มักเชื่อมโยงแผ่นดินไหวกับรอยเลื่อนต่างๆ จริงๆ อาจเป็นเพียงส่วนหนึ่งของทั้งหมดที่ปรากฏอยู่ในแผนที่ของกรมทรัพยากรธรณี แต่ในความเป็นจริงแล้วยังมีรอยเลื่อนอีกจำนวนมากที่ฝังตัวอยู่ใต้เปลือกโลกกระจายอยู่ในหลายพื้นที่หลายตำแหน่ง แผ่นดินไหวครั้งนี้จึงอาจเกิดนอกแนวรอยเลื่อนที่เรารู้จักก็เป็นได้

“เราอาจจะห่วงประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีรอยเลื่อน แต่สำหรับผมแล้วเป็นห่วงทั้งภาคเหนือ เพราะมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวได้ตลอดเวลา ดังที่เคยเกิดขนาด 6.3 ที่จังหวัดเชียงรายเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2557 การเกิดที่ลำปางจึงทำให้เราตระหนักได้ว่าแผ่นดินไหวจะเกิดในพื้นที่ใดก็ได้ไม่ใช่แค่ที่เชียงราย สิ่งที่อยากเน้นย้ำคือเราต้องทำให้ประชาชนตระหนักและใส่ใจว่าตนมีความเสี่ยงเพียงใด ประการต่อมาคือการเสริมกำลังอาคารบ้านเรือนให้ต้านทานแผ่นดินไหว ด้วยการเสริมก้านเหล็กพิเศษ หรือพอกเสาให้ใหญ่ขึ้น ขณะนี้ทีมวิจัยได้ทดลองเสริมกำลังให้กับอาคารเรียนไปแล้ว 4 หลัง และจะดำเนินการเพิ่มอีก 4 หลัง หากรัฐบาลเอาจริงก็ควรทำเพิ่มให้ครอบคลุมทั่วประเทศ เพิ่มค่าใช้จ่ายในการเสริมกำลังอีกเพียง ร้อยละ 15 ของงบก่อสร้าง เราก็จะได้อาคารที่มีความปลอดภัยมากขึ้น ไม่ใช่เสียหายแล้วก็ทุบทิ้งสร้างใหม่ โดยอาคารที่อ่อนแอและน่าเป็นห่วงที่สุดคือ โรงพยาบาลและโรงเรียน โดยเฉพาะอาคารที่ชั้นล่างเปิดโล่งสำหรับทำกิจกรรมต่างๆ ชั้นบนมีผนังและห้องเรียน”

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2562 นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีประกาศเจตนารมณ์ “ทำความดีด้วยหัวใจ ลดภัยสิ่งแวดล้อม” เพื่อรณรงค์บุคลากรของหน่วยงาน ทั้งข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการ ร่วมกันลดการใช้ถุงพลาสติก แก้วพลาสติก กล่องโฟมบรรจุอาหาร และคัดแยกขยะก่อนทิ้งลงถังขยะ เพื่อสนองต่อนโยบายของรัฐบาลตามมาตรการลดและคัดแยกขยะมูลฝอยในอาคารสำนักงานและพื้นที่ของหน่วยงาน ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2561 ซึ่งทุกส่วนราชการต้องปฏิบัติพร้อมกันทั่วประเทศ เพื่อให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ภาคเอกชนและประชาชนในการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยของประเทศ

โอกาสนี้ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้นำคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และบุคลากรของกรมส่งเสริมสหกรณ์ ร่วมกันประกาศเจตนารมณ์ ลดการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้ว กล่องโฟมบรรจุอาหาร และคัดแยกขยะก่อนทิ้ง พร้อมทั้งจะสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับบุคลากรของกรมส่งเสริมสหกรณ์และประชาชนที่เข้ามาติดต่อราชการ เพื่อเผยแพร่และปลูกจิตสำนึกในร่วมกันรักษาความสะอาดและมีระเบียบในสถานที่ต่างๆ และส่งเสริมให้ใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติกหูหิ้ว ใช้แก้วน้ำหรือขวดน้ำแบบสแตนเลสหรือเซรามิกที่สามารถใช้ซ้ำได้ใหม่และใช้ได้เวลานาน เพื่อลดการใช้แก้วพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว และงดใช้โฟมบรรจุอาหาร พร้อมทั้งกระตุ้นให้ประชาชนเกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก เพื่อสร้างความยั่งยืนในการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมต่อไป

สำหรับการคัดแยกขยะ ได้แบ่งประเภทขยะออกเป็น 4 ประเภท และจะแยกถังขยะไว้รองรับขยะแต่ละประเภทอย่างชัดเจน ซึ่งถังขยะจะเป็น 4 สีตามประเภทของขยะ 4 ประเภท แบ่งเป็น ขยะย่อยสลายได้ หรือขยะอินทรีย์ คือ เศษอาหาร เศษใบไม้ วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ต้องทิ้งลงถังขยะสีเขียว ขยะรีไซเคิล หรือขยะแห้ง เป็นขยะที่ย่อยสลายได้ยาก เช่น แก้ว กระดาษ โลหะ สามารถนำไปรีไซเคิลได้ เพื่อนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ต้องทิ้งลงถังขยะสีเหลือง ขยะอันตราย คือ ขยะที่มีองค์ประกอบหรือปนเปื้อนวัตถุอันตรายชนิดต่างๆ เช่น สารพิษ หลอดไฟ ถ่านไฟฉาย กระป๋องสเปรย์ เป็นต้น ซึ่งจะต้องนำไปกำจัดอย่างถูกวิธีและทิ้งลงถังขยะสีแดง ขยะทั่วไป

เป็นขยะที่นอกเหนือจากขยะย่อยสลายได้ มีลักษณะย่อยสลายยาก ไม่คุ้มค่าต่อการนำกลับมาใช้ใหม่ เช่น ซองขนม กล่องโฟม ทิ้งลงถังขยะสีฟ้า ซึ่งการคัดแยกขยะเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วน เพื่อลดขยะมูลฝอยในพื้นที่ต่างๆ และคัดแยกขยะที่สามารถนำมารีไซเคิลกลับมาใช้ได้ใหม่ เพื่อเป็นการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งจะต้องมีการรณรงค์และปลูกฝังจิตสำนึกในการร่วมกันรักษาสิ่งแวดล้อมพื้นที่ของหน่วยงานอย่างต่อเนื่อง และร่วมกันจะเผยแพร่สิ่งดีๆ เหล่านี้ออกไปสู่ชุมชนและสังคมภายนอกด้วย เพื่อสร้างเมืองไทยให้มีความสะอาด เป็นระเบียบ เป็นสังคมที่น่าอยู่และปลอดภัยต่อไป

กล้วย ถูกนำมาใช้แทนคำเปรียบเปรยในประโยคบ่อยครั้ง เช่น เรื่องกล้วยๆ ของกล้วยๆ หรือแม้กระทั่ง คำว่า ง่ายกว่ากล้วย ก็แสดงให้เห็นว่า กล้วย เป็นไม้ผลชนิดหนึ่งที่พบเห็นได้ง่าย นำมาใช้ประโยชน์ได้ง่าย รวมถึง ปลูกง่าย

การันตีการปลูกว่า “ง่าย” ได้ไม่ยาก ลองพิจารณาจากตรงนี้พื้นที่เพียง 1 ตารางวา ก็สามารถปลูกกล้วย ให้ได้ผลผลิตดี งอกงาม ใช้ประโยชน์ในทุกส่วนจากต้นกล้วยได้ ไม่ยากจริงๆ หลุมปลูก ควรขุดหลุมขนาดประมาณ 50 คูณ 50 เซนติเมตร (กว้าง xยาว x สูง) ใส่ปุ๋ยรองก้นหลุม 3-4 กำมือ หากมีปุ๋ยคอก ให้ใช้ปุ๋ยคอก แต่ถ้าไม่มีให้ซื้อปุ๋ยชีวภาพมาใส่แทน

– พันธุ์ สายพันธุ์กล้วยจัดว่าเป็นสิ่งสำคัญ ถ้ามีสายพันธุ์ที่ดีก็วางใจไปเกินครึ่งว่า การปลูกกล้วยครั้งนี้จะประสบความสำเร็จ ได้เครือใหญ่ ผลสวย รสชาติดี แต่ถ้าสายพันธุ์ไม่แน่ชัด ก็ไม่ใช่เรื่องน่าตกใจ เพราะกล้วย อย่างไรก็คือ กล้วย ถ้าไม่ใช่กล้วยป่าก็ไม่ต้องกังวล เพราะอย่างไรเสียก็ไม่มีเมล็ดในผลกล้วยให้รำคาญยามกิน

หน่อกล้วย หาซื้อได้ตามชอบใจตามร้านจำหน่ายพันธ์ุไม้ หากพื้นที่เพียง 1 ตารางวา จำนวน 1 หน่อ จัดว่ากำลังดี เมื่อได้หน่อกล้วยมาแล้ว วางหน่อกล้วยลงในหลุมปลูก ควรกลบหลุมปลูกให้ดินพอกขึ้นคลุมโคนกล้วยพอสวยงาม

– การดูแลบำรุงรักษา หลังการปลูกเพียง 1 สัปดาห์ จะเริ่มเห็นใบอ่อนกล้วยแตกขึ้นใหม่ ควรเอาใจใส่ ดังนี้ 1. การรดน้ำ ให้รดน้ำทุก 2-3 วัน ถ้าฝนตกก็งดรดน้ำ แต่ถ้าไม่ได้อยู่บ้าน ขาดการรดน้ำ 1-2 สัปดาห์ ก็ไม่ได้เป็นปัญหาสำหรับกล้วย

2. การใส่ปุ๋ย ขอให้คำนึงถึงความสะดวก ใช้ปุ๋ยที่มีหรือหาซื้อง่าย ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี ปุ๋ยคอก ปุ๋ยชีวภาพ อัตราการใส่ปุ๋ย คำนวณจาก 1 กิโลกรัม ต้น/ปี แบ่งใส่ 3 เดือนครั้ง ครั้งละ 250 กรัม หรือมากกว่าก็ได้ ไม่มีผลกระทบอะไร

ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 หลังปลูก 1 สัปดาห์ สูตร 15-15-15
ใส่ปุ๋ยหลังครั้งที่ 1 ประมาณ 3 เดือน ใช้สูตร 15-15-15
ใส่ปุ๋ยหลังครั้งที่ 2 ประมาณ 3 เดือน ใช้สูตร 15-15-15
ใส่ปุ๋ยหลังครั้งที่ 3 ประมาณ 3 เดือน ใช้สูตร 13-13-21

ปุ๋ยพืชสด เมื่อกล้วยออกจากเครือจนเราสามารถตัดได้ ให้นำต้นเก่ามาสับเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำกลับมาใส่ จะช่วยป้องกันความชื้น และเป็นปุ๋ยรอให้กับหน่อใหม่ที่จะเกิดขึ้นด้วย 3.การตัดแต่งหน่อ และ ใบแก่

การไว้หน่อ และการตัดแต่งหน่อก็มีความสำคัญในการปลูกกล้วยมาก เพราะจะให้ต้นโต หรือต้นสมบูรณ์ดี พร้อมส่งผลไปถึง ลูก หรือเครือกล้วยด้วย หากเราไม่ตัดแต่งหน่อกล้วยออกทิ้งบ้าง ก็จะกลายเป็นกล้วยแคระแกร็น

การตัดแต่งหน่อ ให้ตัดแต่งหน่อกล้วยที่ขึ้นมาในทุกๆ ช่วงอยู่ตลอด หากยังไม่ถึงช่วงการไว้หน่อ

การตัดแต่งใบกล้วยที่ เหลืองเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ทิ้งไป พร้อมทั้งตัดใบที่งอหักลงไปด้วย เท่านี้ก็จะทำให้ ต้นกล้วยดูไม่รกรุงรัง และสวยงาม

การไว้หน่อกล้วย ควรเริ่มไว้หน่อแรก เมื่อกล้วยอายุ 4 เดือนไปแล้ว และหน่อต่อไปทุก 4 เดือน แต่ในช่วงการออกปลี ควรงดการไว้หน่อ เพื่อให้ผลกล้วยและเครือสมบูรณ์ดี

4. การตัดปลีกล้วย เมื่อปลีกล้วยแทงเครือออก มาจนเราเห็นว่าเครือกล้วยสมบูรณ์ หรือออกจนหมดปลีแล้ว ให้เราตัดปลีจากหวีสุดท้ายนับไปอีก 1-2 หวี แล้วตัด แล้วนำปูนแดงหรือยากันราทาป้องกันเน่า

5. การเก็บเกี่ยว ให้พิจารณาจากการนับจำนวนวัน โดยเฉลี่ยแล้ว ผลกล้วยจะแก่เมื่อมีอายุประมาณ 90 วัน หรือพิจารณาจากเหลี่ยมมุมของผล ผลแก่จะมีลักษณะค่อนข้างกลม เก็บเกี่ยวโดยใช้มือข้างหนึ่งจับปลายเครือ แล้วใช้มีดฟันก้านเครือให้ขาดออก

6. การป้องกันกำจัดศัตรูพืช

– โรคใบจุด ป้องกันโดยนำไปเผา หรือใช้สารเคมีคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ หรือสารป้องกันกำจัดเชื้อรา แมนโคเซบ หรือเบนโนมิล

– ด้วงงวง ป้องกันโดยใช้สารเคมีประเภทดูดซึม เช่น โตฟอส

– หนอนม้วนใบกล้วย ป้องกันโดยใช้สารเคมีคลอไพลิฟอส

– แมลงวันผลไม้ ใช้สารล่อแมลง สารเมทิลยูลินอลผสมสารฆ่าแมลงล่อทำลายแมลงวันเพศผู้หรือ ใช้สารฆ่าแมลงมาลาไธออน หรือไดเมทโทเอท

แต่โดยรวมแล้ว โรคในกล้วยก็จะมีน้อยมาก โรคหลักในที่ปลูกกล้วยมาก ก็จะเจอ โรคไฟทอปโทร่า หรือที่เรียกเชื้อไฟทอปโทร่า อาจทำให้รากเน่า โคนเน่า ใบเหลืองแห้ง หรือที่เรียกว่าตายพราย และก็มีหนอนม้วนใบ อย่างไรก็ตาม หากดูแลรักษากล้วยสมบูรณ์ดีแล้ว ปัญหาเรื่องโรคและแมลงที่อาจเกิดขึ้นได้มีน้อย โดยเฉพาะพื้นที่ปลูกกล้วยที่ไม่มากนักอย่างที่กล่าวมา

เพียงเท่านี้ แม้จะมีพื้นที่น้อย แต่กล้วยเพียง 1 หน่อ สามารถแตกหน่อออกได้อีก อาจขุดหน่อนำไปขยายพันธุ์ยังพื้นที่อื่น หรือปล่อยให้แตกหน่อเติบโตในกอเดียวกันก็ทำได้

เป็นเรื่องกล้วยๆ จริงๆ !! เรียน คุณหมอเกษตร ทองกวาว ที่นับถือ

ผมเป็นคนชอบรับประทานข้าวญี่ปุ่นคนหนึ่ง อยากทราบว่าประเทศไทยปลูกได้หรือไม่ ถ้าปลูกได้ มีที่ไหนบ้าง และความแตกต่างระหว่างข้าวไทยกับข้าวญี่ปุ่น นอกจากเมล็ดมีรูปร่างแตกต่างกันแล้ว มีอะไรอีกบ้างที่มีความแตกต่างกัน ขอคำอธิบายด้วยครับ

ข้าวไทย จัดเป็นชนิดอินดิก้า (Indica Type) ส่วน ข้าวญี่ปุ่น จัดอยู่ในชนิดจาโปนิก้า (Japonica Type) มาดูในรายละเอียดกันครับ

ข้าวไทย เป็นข้าวเมล็ดยาว หุงขึ้นหม้อ ลำต้นสูง ใบสีเขียวอ่อน หักล้มง่าย ไม่ตอบสนองต่อปุ๋ย เป็นข้าวที่ไวต่อช่วงแสง (Photo Sensitivity) คือออกดอกในฤดูที่กลางวันมีแสงแดดน้อยกว่า 11 ชั่วโมง จึงออกดอกและเก็บเกี่ยวในฤดูหนาว ตัวอย่างข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ขาวตาแห้ง เจ๊กเชย และขาวนางเนย สำหรับข้าวในสกุล กข เนื่องจากมีการปรับปรุงพันธุ์มาแล้ว จึงต่างจากชนิดอินดิกาไปบ้าง

ข้าวญี่ปุ่น เป็นข้าวเมล็ดสั้น ข้าวสารหุงไม่ขึ้นหม้อ หุงสุกแล้วคล้ายข้าวเหนียว ใช้ตะเกียบคีบเป็นคำได้ ข้าวชนิดนี้เป็นชนิดที่ตอบสนองต่ออุณหภูมิ (Thermo Sensitivita) คือเมื่อได้รับความร้อนสะสมครบตามความต้องการจะออกดอกทันที ตัวอย่าง ข้าวพันธุ์โอโซร่า ปลูกที่ญี่ปุ่นที่มีอากาศหนาวเย็น มีอายุเก็บเกี่ยว 180 วัน แต่เมื่อนำมาปลูกที่บางเขน กทม. ในเดือนเมษายน ปลูกได้เพียง 75 วัน ก็ออกดอกแล้ว แน่นอนผลผลิตย่อมต่ำ เนื่องจากมีเวลาสะสมแป้งและน้ำตาลน้อยเกินไป

แหล่งปลูกข้าวญี่ปุ่นในประเทศไทยได้ผลดีที่จังหวัดเชียงราย แต่ปัจจุบันข่าวเกี่ยวกับการผลิตข้าวญี่ปุ่นที่นั่นหายเงียบไป แม้แต่ร้านอาหารญี่ปุ่นยังใช้ข้าวหอมมะลิ 105 ทดแทนข้าวญี่ปุ่นไปแล้ว ผลสอบถามผู้เกี่ยวข้องได้รับคำตอบว่า ข้าวญี่ปุ่นมีจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้าใกล้ที่พักอาศัยของชาวญี่ปุ่นที่ทำงานอยู่ในประเทศไทย

“ไคติน” เป็นโครงสร้างแข็งของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จำพวกแมลง กุ้ง ปู ปลาหมึก เป็นต้น ส่วน “ไคโตซาน” เป็นองค์ประกอบอยู่ในเปลือกนอกของสัตว์พวก กุ้ง ปู แมลง และเชื้อรา เป็นสารธรรมชาติที่มีลักษณะโดดเด่นเฉพาะตัว คือ ที่เป็นวัสดุชีวภาพย่อยสลายตามธรรมชาติ มีความปลอดภัยในการนำมาใช้กับมนุษย์ ไม่เกิดผลเสียและปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม ไม่เกิดการแพ้ ไม่ไวไฟ เมื่อไคโตซานเกิดการสลายตัวจะเป็นการปลดปล่อยธาตุไนโตรเจนให้แก่ดิน

นอกจากนี้ ไคโตซาน ยังสามารถยึดธาตุโพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก ฟอสเฟต ที่เป็นประโยชน์ต่อพืชแล้วค่อยๆ ปลดปล่อยสารเหล่านี้แก่พืช ทั้งนี้เพราะไคโตซานเป็นสารชีวภาพ ฉะนั้น จึงช่วยลดการชะล้างและช่วยให้การใช้ปุ๋ยมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ดังนั้น เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้ประโยชน์ได้อย่างต่อเนื่อง ทางสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ภาคเหนือ (สวทช. ภาคเหนือ) กศน. ตำบลขี้เหล็ก กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ และสถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ จึงร่วมกันส่งเสริมให้เกษตรกรเรียนรู้การผลิต ไคติน-ไคโตซาน จากหอยเชอรี่

ไคติน-ไคโตซาน ให้ผลในแง่ของการเป็นสารธรรมชาติ ที่ช่วยลดความเสี่ยงของเกษตรกรและผู้บริโภค ต่อการได้รับสารพิษจากปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช พร้อมทั้งมีจุดเด่นที่สามารถช่วยเพิ่มผลผลิต ยืดอายุการเก็บรักษาพืชผลทางการเกษตร รวมถึงช่วยย่อยสลายทางชีวภาพได้และปลอดภัยต่อสภาพแวดล้อม โดยการใช้ประโยชน์จาก ไคติน-ไคโตซาน ทางด้านการเกษตร เช่น ใช้เป็นสารปรับสภาพดินสำหรับเพาะปลูก ใช้ในการเคลือบเมล็ดพืช เป็นสารกระตุ้นการเจริญเติบโต เป็นสารต้นทานโรคพืช และใช้เป็นสารยืดอายุการเก็บรักษาผลผลิตหลักการเก็บเกี่ยว

สถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เปิดเผยถึงขั้นตอนการผลิต ไคติน-ไคโตซาน จากหอยเชอรี่ว่า ขั้นแรกนำหอยเชอรี่ประมาณ 1 กิโลกรัม มาตากให้แห้งแล้วต้มในน้ำเดือด เพื่อแยกเนื้อออก ล้างเปลือกหอยที่นำเอาเนื้อออกให้สะอาดและตากให้แห้ง จากนั้นนำเปลือกหอยมาต้มในน้ำโซดาไฟ 4 เปอร์เซ็นต์ (สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์) เข้มข้น ร้อยละ 4 นาน 4 ชั่วโมง หรือ แช่ไว้ 1-2 วัน เพื่อกำจัดโปรตีนที่ติดมากับเปลือกหอย แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดทิ้งไว้ให้แห้ง บดเปลือกหอยเชอรี่ให้มีขนาดเล็กลงแล้วต้มในน้ำกรดเกลือเข้มข้น 4 เปอร์เซ็นต์ (สารละลายกรดไฮโดรคลอริก) เข้มข้น ร้อยละ 4 นาน 24 ชั่วโมง หรือแช่ไว้ 2-3 วัน เพื่อกำจัดแร่ธาตุที่บริเวณเปลือกหอย

ล้างเปลือกหอยด้วยน้ำสะอาด ตากให้แห้ง และนำเปลือกหอยที่แห้งแล้วมาบดพอละเอียด จะได้ไคติน นำไคติน มาละลายกับน้ำโซดาไฟ เข้มข้น 40 เปอร์เซ็นต์ (สารละลายโวเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น ร้อยละ 40) แล้วนำมาต้มในอ่างน้ำเดือด นาน 4 ชั่วโมง จากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาดแล้วนำไปละลายในน้ำโซดาไฟ ต้มในอ่างน้ำเดือดอีก 4 ชั่วโมง อีกครั้งหนึ่ง หลังจากนั้นให้ล้างออกด้วยน้ำสะอาดนำไปตากให้แห้งแล้วนำมาบดให้ละเอียดจะได้ไคโซซานที่นำไปใช้ประโยชน์ได้