ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง มีความพร้อมของพันธุ์ที่นำไปปลูก

ขยายต่อในแปลงของเกษตรกร ในปี 2562 ได้ท่อนพันธุ์ประมาณ 50,000 ท่อน สามารถปลูกได้ในพื้นที่จำนวน 25 ไร่ และในปี 2563 คาดว่าจะได้ท่อนพันธุ์ประมาณ 250,000 ท่อน เพื่อใช้ปลูกในพื้นที่จำนวน 125 ไร่ เกษตรกรที่สนใจสามารถติดต่อขอรอรับพันธุ์มันสำปะหลังระยอง 15 ได้ ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง กรมวิชาการเกษตร โทรศัพท์ 0-3868-1514 ถือเป็นการมอบของขวัญให้เกษตรกร เนื่องจากที่ผ่านมาเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังจำนวนมากรอพันธุ์ที่สามารถเก็บเกี่ยวได้เร็วมานาน

ช่วงนี้อากาศเย็นมีหมอกในตอนเช้า และมีอุณหภูมิลดต่ำลง กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรผู้ปลูกพืชผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด อาทิ กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก กวางตุ้ง คะน้า ผักกาดขาว ผักกาดหอม และบร็อกโคลี่ ให้เตรียมรับมือการระบาดของโรคราน้ำค้าง สามารถพบได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของพืช ระยะต้นกล้า ใบเลี้ยงจะเกิดจุดแผลสีน้ำตาล ทำให้ลำต้นเน่าหรือแคระแกร็น ระยะต้นโต จะพบอาการเริ่มแรกบริเวณด้านบนใบเป็นจุดแผลสีเหลือง หรืออาจเป็นปื้นสีเหลือง

กรณีสภาพอากาศชื้นในตอนเช้า ถ้าพลิกดูด้านใต้ใบมักจะพบเส้นใยเชื้อราสีขาวหรือเทาคล้ายปุยฝ้าย หากพบโรคระบาดรุนแรง แผลจะลามมีขยายใหญ่ ทำให้เนื้อใบเป็นสีน้ำตาลและแห้งตาย ส่วนในกะหล่ำดอกและบร็อกโคลี่ ถ้าพบเชื้อราเข้าทำลายรุนแรง ก้านดอกจะยืดและดอกอาจจะบิดเบี้ยวเสียรูปทรงได้

เกษตรกรควรเลือกใช้เมล็ดพันธุ์สะอาดที่มีคุณภาพดีจากแหล่งปลอดโรค และก่อนปลูกควรแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำอุ่น อุณหภูมิประมาณ 50 องศาเซลเซียส (ต้มน้ำจนเดือดแล้วเติมน้ำอุณหภูมิปกติลงไปผสมอีก 1 เท่า) นาน 20-30 นาที หรือคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชเมทาแลกซิล 35% ดีเอส อัตรา 10 กรัม ต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม จากนั้น เกษตรกรควรปลูกพืชให้มีระยะห่างกันพอสมควร ไม่เบียดแน่นจนเกินไป เพราะจะทำให้เกิดความชื้นสูง อากาศไม่ถ่ายเท และโรคระบาดได้รวดเร็ว

หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตเรียบร้อยแล้ว ให้เกษตรกรควรเก็บเศษซากพืชส่วนที่หลงเหลือในแปลง และหมั่นกำจัดวัชพืชในแปลงนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกทันที เพื่อลดการสะสมเชื้อราสาเหตุโรค หลีกเลี่ยง การปลูกพืชชนิดเดียวกันซ้ำในพื้นที่แปลงเดิม ควรปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน และควรทำความสะอาดเครื่องมืออุปกรณ์ทางการเกษตรที่ใช้กับต้นเป็นโรคก่อนนำกลับมาใช้ใหม่กับต้นปกติทุกครั้ง

หากพบโรคเริ่มระบาด ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารเมทาแลกซิล 25% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารไดเมโทมอร์ฟ 50% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารแมนโคเซบ 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารแมนโคเซบ+เมทาแลกซิล-เอ็ม 64%+4% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 80 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่นให้ทั่วทั้งด้านบนใบและใต้ใบ ทุก 5-7 วัน

อาชีพเกษตรกรรม นับเป็นรายได้หลักของคนไทยจำนวนมาก แต่ในวันนี้ เมืองไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยแล้ว ดังนั้น ปัญหาการขาดแคลนแรงงานคนในภาคเกษตร จึงเป็นอุปสรรคสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ไปสู่ THAILAND 4.0 ของรัฐบาล กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยดำเนินนโยบายเกษตรอัจฉริยะ ส่งเสริมการใช้นวัตกรรมเครื่องจักรกลการเกษตรเข้ามาทดแทนแรงงานคน และส่งเสริมการทำเกษตรแปลงใหญ่ เพื่อขับเคลื่อนภาคเกษตรไทยให้เติบโตอย่างเข้มแข็งและยั่งยืนในอนาคต

กลุ่มผลิตข้าวพันธุ์ดีครบวงจร ตำบลห้วยเตย ต้นแบบนาแปลงใหญ่ของจังหวัดมหาสารคาม

วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตข้าวพันธุ์ดีครบวงจร ตำบลห้วยเตย อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มชาวนา ภายใต้การนำของ นายบุญมา พลภักดี ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 4 ตำบลห้วยเตย เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีในท้องถิ่น พวกเขารวมกลุ่มกันเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีและกระจายเมล็ดพันธุ์ดีให้เพียงพอต่อความต้องการของชุมชน รวมทั้งลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลผลิตข้าวให้สูงขึ้น

ในปี 2559 พวกเขาเริ่มจัดตั้งศูนย์ข้าวชุมชน ก่อนจะพัฒนาเป็นวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตข้าวพันธุ์ดีครบวงจร ตำบลห้วยเตย ในเวลาต่อมาทางกลุ่มฯ เข้าร่วมโครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) มีพื้นที่เพาะปลูกรวม 3,000 ไร่ กรมการข้าว ได้เข้ามาสนับสนุนองค์ความรู้เรื่องการบริหารจัดการแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ แนะนำขั้นตอนการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ได้แก่ การวางแผนการผลิตการจัดหาปัจจัยการผลิต การปลูกข้าวที่ถูกวิธี การตรวจแปลง การตัดข้าวพันธุ์ปนในระยะต่างๆ การดูแลแปลงนา การเก็บเกี่ยว การนวดข้าว การทำความสะอาดเมล็ด การตากลดความชื้น การปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ การบรรจุและการเก็บรักษา การกระจายพันธุ์และการจำหน่ายผลผลิต

ทางกลุ่มฯ ได้รับเมล็ดข้าวพันธุ์ดีจากกรมการข้าว ประมาณ 5 ตัน ส่งมอบให้สมาชิกนำไปปลูกขยายเมล็ดพันธุ์ และรวบรวมเมล็ดพันธุ์ที่ได้นำไปปลูกขยายให้กับสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการเกษตรแปลงใหญ่ ช่วงฤดูการทำนาและการเก็บเกี่ยว กลุ่มฯ ให้บริการเครื่องจักรกลที่สมาชิกได้ลงหุ้นซื้อ และได้รับการสนับสนุนจากส่วนราชการ รวมไปถึงการรวบรวมผลผลิตไปจำหน่าย

กลุ่มวิสาหกิจฯ แห่งนี้ นับเป็นต้นแบบที่เข้มแข็งในระบบนาแปลงใหญ่อย่างครบวงจร เชื่อมโยงกิจกรรมการรวบรวม การแปรรูป การตลาด ตลอดจนใช้อุปกรณ์เครื่องจักรกลการเกษตรร่วมกับกลุ่มที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน รวมทั้งเครือข่ายศูนย์ข้าวชุมชนและกลุ่มนาแปลงใหญ่ของจังหวัดมหาสารคามสามารถลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ ทางกลุ่มฯ ได้สร้างเครือข่ายในการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง รวมทั้งทำข้อตกลงการรับซื้อข้าว (MOU) กับโรงสีข้าวตามที่หน่วยงานภาครัฐจัดหาให้ ขณะเดียวกัน ทางกลุ่มฯ รณรงค์ลดการเผาฟางและตอซัง ส่งเสริมการใช้ประโยชน์และสร้างมูลค่าเพิ่มจากฟางข้าว ทางกลุ่มฯ มีเครื่องอัดฟางเป็นของตนเอง จึงรับจ้างอัดฟางก้อนสำหรับใช้เลี้ยงสัตว์และจำหน่ายเป็นการสร้างรายได้ให้กับสมาชิกและกลุ่มได้อีกทางหนึ่ง

ที่ผ่านมา ทางกลุ่มฯ ได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุน ความรู้ จากหน่วยงานต่างๆ เช่น ธ.ก.ส. สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด สำนักงานเกษตรจังหวัด สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ สำนักงานพาณิชย์จังหวัด สหกรณ์การเกษตร โรงสีข้าว และบริษัท สยามคูโบต้า จำกัด ส่งผลให้กลุ่มฯ แห่งนี้สามารถเพิ่มขีดความสามารถด้านการผลิต การแปรรูป และมีการบริหารจัดการเครื่องจักรร่วมกัน ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงและต่อยอดโครงการเกษตรแปลงใหญ่ สามารถลดต้นทุนการผลิต เพิ่มมูลค่าของสินค้าเกษตร เกิดความยั่งยืนของชุมชน ตามแผนพัฒนาจังหวัดมหาสารคาม

ช่วยลดต้นทุน-เพิ่มผลกำไร

ที่ผ่านมา ทางกลุ่มฯ มีทรัพย์สินที่ได้มาจากงบพัฒนาจังหวัด การสนับสนุนจากหน่วยงานราชการ ภายใต้โครงการบริหารจัดการเครื่องจักรกลเกษตรเพื่อทดแทนแรงงานที่มีประสิทธิภาพ (Motor Pool) ตามนโยบายรัฐบาลประกอบด้วย โรงสีข้าว ลานตาก รถเกี่ยวนวดข้าวขนาดใหญ่ รถไถ ฉางข้าว เครื่องอัดฟาง และเครื่องหยอดข้าว 8 แถว ของคูโบต้า ฯลฯ ทำให้ทางกลุ่มฯ มีรายได้หมุนเวียนจากการให้บริการรถเกี่ยวนวดข้าว รถอัดฟางข้าว รถไถนา แก่สมาชิกอย่างต่อเนื่อง

ผู้ใหญ่บุญมา พลภักดี ในฐานะประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตข้าวพันธุ์ดีครบวงจร ตำบลห้วยเตย กล่าวว่า ทางกลุ่มฯ มีรถแทรกเตอร์คูโบต้าที่ติดตั้งอุปกรณ์พ่วง ประกอบด้วยชุดผาลไถ ชุดเตรียมดิน ชุดเครื่องหยอดข้าว รถเกี่ยวนวดข้าว เครื่องอัดฟาง ซึ่งเครื่องจักรกลเหล่านี้ ช่วยแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานทำนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทางกลุ่มฯ คิดค่าบริการจากสมาชิกตั้งแต่เริ่มเตรียมแปลงปลูก-เก็บเกี่ยว ในอัตราต่ำกว่าท้องตลาดทั่วไป เช่น เอกชนรับจ้างไถเตรียมดิน ในอัตรา ไร่ละ 200 บาท แต่กลุ่มฯ คิดค่าบริการแค่ 180 บาท/ไร่ ส่วนการปั่นดิน ปกติทั่วไปคิดค่าบริการ ไร่ละ 300 บาท ทางกลุ่มฯ คิดแค่ 200 บาท/ไร่ ส่วนรถหยอดข้าว 8 แถว ทั่วไปคิดค่าบริการ ไร่ละ 200 บาท ทางกลุ่มฯ คิดแค่ 150 บาท เท่านั้น ทางกลุ่มฯ ให้บริการสมาชิกอย่างทั่วถึง ช่วยให้สมาชิกประหยัดต้นทุนการทำนาและมีผลกำไรเพิ่มขึ้นกว่าเดิม

ผู้ใหญ่บุญมา บอกว่า ทุกวันนี้ ทางกลุ่มฯ บริหารจัดการนาแปลงใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะเครื่องจักรกลคูโบต้ามาพร้อมกับนวัตกรรมอัจฉริยะ Kubota Intelligent Solutions หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “KIS” ซึ่งเป็นระบบติดตามการทำงานของเครื่องจักร สามารถติดตามการทำงานตลอดเวลาแบบ realtime มีการรายงานผลการทำงานของอุปกรณ์เครื่องจักรกลทุกๆ 2 นาที นั่งอยู่บ้าน ก็สามารถติดตามตรวจสอบการทำงานของเครื่องจักรกลที่อยู่ในแปลงไร่นาได้

แถมมีระบบ GPS ติดตามรถ ช่วยป้องกันการโจรกรรมและแจ้งเตือนระยะเวลาการบำรุงรักษาของตัวเครื่องจักรกล สะดวกต่อการบำรุงรักษา รวมทั้งวางแผนการใช้งานเครื่องจักรใช้งานได้อย่างคุ้มค่ามากขึ้น

นอกจากนี้ ระบบKIS ตอบโจทย์เรื่องการจัดการเอกสารข้อมูลได้ดี เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการเครื่องจักรกลคูโบต้าได้ทุกรุ่น ช่วยให้กลุ่มเกษตรกรฯ สามารถตรวจสอบการทำงานย้อนหลัง เพื่อรายงานผลแก่หน่วยงานภาครัฐ หรือนำข้อมูลการใช้งานมาวิเคราะห์ปรับปรุงการทำงานต่างๆ ในอนาคตได้อีก เรียกว่า นวัตกรรมอัจฉริยะของคูโบต้าช่วยเกษตรกรลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้อย่างคุ้มค่าเงิน ลดต้นทุน ประหยัดเงินและเวลาการทำงาน ช่วยให้ชาวนามีผลกำไรเพิ่มมากขึ้นกว่าในอดีต

สำหรับผู้อ่านที่สนใจแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องการทำนาแปลงใหญ่ ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตข้าวพันธุ์ดีครบวงจร ตำบลห้วยเตย สามารถเยี่ยมชมกิจการหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับ ผู้ใหญ่บุญมา พลภักดี ได้ที่ บ้านเลขที่ 59 หมู่ที่ 7 ตำบลห้วยเตย อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม โทรศัพท์ 098-752-4365 ได้ทุกวัน

การปลูกพืชผักบนดาดฟ้าหรือพื้นที่ขนาดเล็ก เป็นอีกหนึ่งความฝันของใครหลายๆคน ยิ่งปลูกแบบไม่ใช้ดิน หรือ ไฮโดรโปรนิกส์ด้วยแล้วตอนนี้กำลังเป็นที่นิยม

ในวันนี้จะไปเจาะลึกเทคนิคการปลูกผักด้วยระบบนี้กับกับหนุ่มใหญ่เจ้าของโรงงานเมล็ดพลาสติกที่มีหัวใจรักในการทำเกษตร ประยุกต์พื้นที่เล็กๆที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์มาปลูกเมลอนด้วยระบบโฮโดรโปรนิกส์ แต่ที่น่าสนใจ คือ เขาปลูกถั่วยาวและฟักทองด้วยระบบนี้

คุณรุ่งโรจน์ เวชสิทธิ์ เจ้าของไอเดีย เล่าให้ฟังว่า การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน หรือ ระบบไฮโดรโปรนิกส์ เป็นวิธีการปลูกพืชผักในสารละลายธาตุอาหารในภาชนะที่ไม่มีการหมุนเวียนของน้ำครับ ซึ่งการปลูกด้วยระบบนี้จะปลูกได้ 2 ลักษณะ คือ การใช้ระบบปั๊มอากาศ กับไม่ใช่ระบบการปั๊มอากาศ

“แนวคิดนี้เกิดจากการได้ไปดูงานที่ประเทศอิสลาเอล ทำให้ได้เห็นการปลูกพืชด้วยระบบนี้ ซึ่ง 7-8 ปีที่ผ่านมาระบบไฮโดรโปรนิกส์ในบ้านนั้นยังเกิดขึ้นได้ไม่นานและยังไม่มีคนปลูกกันมานัก” คุณรุ่งโรจน์ ยังกล่าวอีกว่า โดยทั่วไปหลายคนจะเห็นการปลูกผักด้วยระบบไฮโดรโปรนิกส์ในรูปแบบของระบบรางพลาสติกยาวๆ ภายในรางมีน้ำที่ผสมธาตุอาหาร A และ B ไหลผ่านรากของต้นพืชที่ปลูกอยู่ในฟองน้ำ หรือ วัสดุปลูกอื่นๆตลอดเวลา แต่สำหรับจุดเด่นของพี่รุ่งโรจน์ นอกจากการใช้ช้พื้นที่บนดาดฟ้าของโรงงานสร้างโรงเรือนที่มีขนาดพื้นที่จำกัดแล้ว วัสดุที่ใช้ปลูกยังเป็นหินภูเขาไฟที่เก็บความเย็น รากพืชยึดเกาะได้ดี ที่สำคัญหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว หินยังสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกด้วย ซึ่งคุณรุ่งโรจน์บอกว่าการปลูกวิธีนี้จะช่วยหนีปัญหาเรื่องของวัชพืชและลดต้นทุนการผลิตลงได้เยอะมากๆ

สำหรับระบบการปลูกผักไฮโดรโปรนิสก์ของคุณรุ่งโรจน์ จะใช้ถังพลาสติกกลมที่เจาะรูด้านข้างเป็นภาชะปลูก โดยภายในถังจะใส่หินภูเขาไฟเม็ดกลมๆเป็นวัสดุปลูกแทนดิน ซึ่งกลไกลการทำงานก็จะเหมือนกับการปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์ทั่วไป

“ระบบนี้ ผักอย่างฟักทอง ถั่วฟักยาวก็สามารถปลูกได้ ซึ่งขั้นตอนก็จะเหมือนกับการปลุกเมล่อน คือ ต้องเพาะต้นกล้าให้แตกใบเลี้ยงคู่แรกก่อน จากนั้นก็ย้ายลงในถังปลูกพลาสติกที่มีหินภูเขาไฟและท่อน้ำตามภาพ”

เมื่อได้สัมผัสลมหนาว หอมกลิ่นไอกรุ่นๆ แรงบันดาลใจที่จะเขียนงานให้เป็นวิชาการ ผสมผสานกับการอยากจะให้ผู้อ่านได้รู้จักตัวตนที่แท้จริง ได้เข้าถึงงานที่ผู้เขียนได้ทำได้ปฏิบัติมา ซึ่งค่อนข้างจะนานพอควร เนื้อหาในฉบับนี้จึงหนักไปที่เรื่องของการปรับปรุงพันธุ์ต้นไม้…หรือไม้ป่า นั่นเอง…

การปรับปรุงพันธุ์ไม้ป่า (Forest tree improvement) ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการปรับปรุงพันธุ์เพื่อเพิ่มผลผลิต และคุณภาพไม้จากธรรมชาติ โดยควบคุมการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ร่วมกับการจัดการป่าไม้ หรือวนวัฒนวิธี การปรับปรุงพันธุ์ไม้ป่าจะประกอบด้วยกิจกรรมหลักๆ ดังนี้

การคัดเลือก (Selection) คือ การคัดเลือกแม่ไม้หรือต้นไม้ที่มีลักษณะที่ต้องการตามวัตถุประสงค์ของการปรับปรุงพันธุ์
การผสมพันธุ์ (Breeding) คือ การคัดพันธุ์แม่ไม้ หรือต้นไม้ที่คัดเลือกไว้ โดยมีการกำหนดรูปแบบของการผสมพันธุ์ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการปรับปรุงพันธุ์
การทดสอบทางพันธุกรรม (Testing) คือ การทดสอบทางพันธุกรรมของแม่ไม้หรือต้นไม้ที่คัดเลือกไว้ เพื่อยืนยันลักษณะการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากรุ่นพ่อ-แม่ ไปสู่รุ่นลูกในการปรับปรุงพันธุ์
และเมื่อได้พันธุกรรมที่ต้องการแล้ว จำเป็นแล้วล่ะที่จะต้องขยายเพิ่มจำนวนให้มีเยอะๆ เพื่อจะได้มีเพียงพอที่จะนำไปปลูกสร้างสวนป่า หรือปลูกเพื่อกิจการอื่นๆ

การขยายพันธุ์ไม้ป่าพันธุ์ดี ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่การขยายพันธุ์โดยอาศัยเพศ (เมล็ด) ส่วนการขยายพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศ เช่น การปักชำ การตอนกิ่ง การติดตา ก็เป็นวิธีการที่สะดวก ไม่ต้องลงทุนมาก แต่ต้องใช้ระยะเวลานานพอสมควรที่จะได้กิ่งพันธุ์ หรือต้นกล้าจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังมีการขยายพันธุ์ที่ไม่ได้อาศัยเพศอีกวิธีการหนึ่งที่มีประโยชน์อย่างมากในการปรับปรุงพันธุ์ นั่นก็คือ การขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (tissue culture) เป็นการนำชิ้นส่วนของพืช เช่น ยอด ลำต้น ใบ ราก ดอก ผล หรือส่วนต่างๆ มาเพาะเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์ในสภาพปลอดเชื้อ (aseptic condition) วิธีการนี้จะช่วยแก้ปัญหาจำนวนกิ่งพันธุ์ที่ไม่เพียงพอ และกิ่งพันธุ์ที่ได้นี้จะมีลักษณะเหมือนเดิมทุกประการ หรือที่เรียกว่า clone

เนื่องจากเป็นการขยายพันธุ์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเซลล์สืบพันธุ์ จึงมีข้อได้เปรียบมากกว่าการผลิตกล้าด้วยเมล็ด คือ มีศักยภาพในการนำลักษณะทางพันธุกรรมมาใช้ได้อย่างสูงสุด และมีศักยภาพในการผลิตกล้าที่มีความสม่ำเสมอ (uniformity)

ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ มีดังนี้ การเตรียมอาหารเป็นการนำธาตุอาหารที่พืชต้องการใช้ในการเจริญเติบโต มาผสมกับวุ้น วิตามิน น้ำตาล และสารควบคุมการเจริญเติบโต หรือฮอร์โมนพืช แล้วนำไปทำให้ปลอดเชื้อด้วยหม้อนึ่งความดันไอน้ำ (Autoclave) ที่อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส ความดัน 15 ปอนด์ ต่อตารางนิ้ว เป็นเวลา 15-20 นาที จากนั้นจึงนำไปเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชต่อไป
การฟอกฆ่าเชื้อชิ้นส่วนเนื้อเยื่อเป็นวิธีการทำให้ชิ้นส่วนของพืชที่นำมาเลี้ยงในอาหารเลี้ยงปราศจากเชื้อจุลินทรีย์ต่างๆ ทำโดยใช้สารเคมี เช่น ไฮเตอร์ แอลกอฮอล์ หรืออื่นๆ

การย้ายเนื้อเยื่อ (sub culture) เป็นการนำเอาชิ้นส่วนของพืชที่ฟอกฆ่าเชื้อ หรือการตัดชิ้นส่วนให้เป็นท่อนเล็กๆ แล้วเลี้ยงบนอาหารปลอดเชื้อ โดยใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ปลอดเชื้อ ได้แก่ ตู้ย้ายเนื้อเยื่อ (Larminar flow)
การเลี้ยงเนื้อเยื่อ (culture) เป็นการนำเนื้อเยื่อไปเลี้ยงไว้บนชั้นที่มีแสงไฟเลียนแบบธรรมชาติ คือมีความเข้มแสงประมาณ 3,000 ลักซ์ ระยะเวลา 8-10 ชั่วโมง และอุณหภูมิในห้องเลี้ยงประมาณ 25 องศาเซลเซียส ซึ่งสภาพนี้พืชจะเจริญเติบโตได้ดีที่สุด

การย้ายเนื้อเยื่อออกจากขวดหลังจากแยกต้นอ่อนออกจากกันแล้ว จึงนำไปเลี้ยงบนอาหารเลี้ยงใหม่ จนต้นอ่อนแข็งแรงดี มีรากที่สมบูรณ์ จากนั้นจึงค่อยนำต้นอ่อนออกปลูกเลี้ยงในสภาพธรรมชาติต่อไป ซึ่งในขั้นตอนนี้สำคัญที่สุดเพราะจะต้องให้แสง ความชื้น และอุณหภูมิที่เหมาะสมแก่พืช ให้พืชปรับสภาพ หรือปรับตัวให้ได้ก่อนจึงนำออกปลูกในแปลงเลี้ยง หรือโรงเรือน
อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหลายๆ วิธีการที่ใช้การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเป็นส่วนหนึ่งในขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นการใช้รังสี การถ่ายยีนที่ต้องการ เช่น ต้านทานโรค ต้านทานแมลง ทนแล้ง หรือทนเค็ม เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อได้ให้ต้นมีลักษณะตามที่ต้องการ

การปรับปรุงพันธุ์ลูกผสมของพืชเศรษฐกิจหลายชนิด เช่น ข้าวโพด นิยมใช้พืชพันธุ์แท้ ตั้งแต่ 2 สายพันธุ์ขึ้นไป มาผสมกัน จากนั้นก็ปลูกพืชลูกผสมเพื่อให้ผสมตัวเองแล้วเก็บเมล็ด แล้วปลูกให้ผสมตัวเองซ้ำอีกหลายชั่วอายุ ซึ่งจะใช้เวลานานชั่ว แต่ถ้าเอาวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อโดยเอาเซลล์สืบพันธุ์มาเลี้ยง จะทำให้ได้เมล็ดพันธุ์ หรือต้นพันธุ์เร็วขึ้น ดังนั้น จึงนับว่าการเพาะเลี้ยงอับเรณู เซลล์สปอร์ หรือเซลล์ไข่ มีความสำคัญในการสร้างสายพันธุ์แท้

การเพาะเลี้ยงอับเรณู (anther culture) เป็นการเลี้ยงเซลล์ที่มีโครโมโซมชุดเดียวของเซลล์สืบพันธุ์ เช่น อับเรณู มาเลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อให้เจริญเป็นต้นในสภาพปลอดเชื้อ แต่ต้นพืชที่ได้จะมีโครโมโซมครึ่งหนึ่งของปกติ (haploid plant) จะต้องนำมาสร้าง สายพันธุ์แท้ โดยใช้สารโคลชิซีน (colchicine) เพิ่มจำนวนชุดโครโมโซมเพื่อให้ได้พืชพันธุ์แท้ที่มีโครโมโซมเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวก่อน วิธีนี้จะช่วยย่นระยะเวลาให้สั้นลง แถมยังช่วยประหยัดต้นทุน และแรงงานได้มาก

การปรับปรุงพันธุ์พืชบางชนิดอาจทำโดยการผสมข้ามชนิดพืช แต่หลังการผสมหากไม่ติดเมล็ด หรือมีเมล็ดลีบ เราก็จำเป็นต้องช่วยชีวิตเอ็มบริโอให้โตเป็นต้นให้ได้ หรือที่เรียกว่า การกู้คัพภะ (embryo rescue)

การกู้คัพภะ (embryo rescue) คือ การนำเอ็มบริโอจากเมล็ดอ่อนที่ได้หลังจากการผสมเกสรมาเลี้ยงด้วยอาหารสังเคราะห์ในสภาพปลอดเชื้อ สาเหตุที่เอ็มบริโอไม่พัฒนา หรือโตต่อไปไม่ได้ สาเหตุเป็นเพราะความแตกต่างของสายพันธุ์ และชนิดพืชนั่นเอง

นอกจากวิธีการผสมพันธุ์ด้วยมือ (conventional breeding) แล้ว ยังมีการผสมพันธุ์ระดับเซลล์ ที่เรียกว่า เซลล์ฟิวชั่น (cell fusion) หรือโปรโตพลาสต์ฟิวชั่น (protoplast fusion) อีกด้วย

การสร้างลูกผสม ด้วยวิธีการรวมโปรโตพลาสต์
โปรโตพลาสต์ (protoplast) คือ เว็บบาคาร่าออนไลน์ เซลล์ที่ผ่านการย่อยเอาผนังเซลล์ออก เหลือเพียงเยื่อหุ้มเซลล์ เมื่อนำมารวมกันโดยใช้สารเคมี หรือกระแสไฟฟ้า จะสามารถเหนี่ยวนำให้มีการรวมกันเป็นโปรโตพลาสต์ลูกผสมได้ เมื่อนำโปรโตพลาสต์ลูกผสมไปเพาะเลี้ยงในอาหารที่เหมาะสม ก็สามารถชักนำเป็นพืชลูกผสมต้นใหม่ได้โดยไม่ต้องผ่านการผสมเกสร

หากจะให้เขียนเรื่องการปรับปรุงพันธุ์ก็สามารถเขียนได้มากเป็นสิบๆ หน้านะ หรืออาจได้มากเป็นเล่มหนาๆ แต่มันจะทำให้ผู้อ่านเบื่อหน่ายไปเสียก่อน พานจะเลิกติดตาม…คอลัมน์ ป่าเดียวกัน…ไปเสียก่อน

เอกสารอ้างอิง

รังสฤษดิ์ กาวีต๊ะ. 2545. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช : หลักการและเทคนิค. พิมพ์ครั้งที่ 3. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 219 น.

สมเกียรติ กลั่นกลิ่น ชูจิตร อนันตโชค ทรรศนีย์ พัฒนเสรี มโนชญ์ มาตรพลากร สมบูรณ์ บุญยืน คงศักดิ์ มีแก้ว พรเทพ เหมือนพงษ์. 2552. เทพทาโร (Cinnamomum porrectum (Roxb.) Kosterm.) แผนงานวิจัยและพัฒนาไม้หอมเพื่อเศรษฐกิจ สำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้, กรมป่าไม้. 31 น.

การปักชำ เป็นวิธีง่ายและสะดวกมาก ทำได้จำนวนมาก แต่การชำมักได้ผลไม่มากนัก ถ้ามีกิ่งจำนวนมากก็ไม่ต้องเสียดาย เพราะส่วนมากจะพบปัญหากิ่งชำเน่าเสียก่อน เปอร์เซ็นต์ที่ได้ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ การปักชำควรทำในฤดูฝนตั้งแต่เดือนพฤษภาคม – เดือนกันยายน เคล็ดลับที่สำคัญอย่าเร่งปุ๋ยจนงามเกินไปเมื่อตัดกิ่งไปปักชำมักจะเหี่ยวง่าย ควรบำรุงต้นให้สมบูรณ์ก็เพียงพอ การคัดเลือกกิ่งที่จะนำมาปักชำควรเลือกกิ่งแก่ ห้ามใช้กิ่งอ่อน ดูกิ่งที่ตั้งตรง ยอดใบสมบูรณ์ ไม่มีโรคและเเมลงรบกวน ริดก้านใบให้หมดแล้วนำมาตัดเป็นท่อนๆ ยาว 6-10 นิ้ว ตัดใต้ข้อตาลงมาอย่างน้อย สัก 3-5 เซนติเมตร (รากจะออกบริเวณใกล้ข้อตา) หรือบางท่านอาจจะเพิ่มพื้นที่การออกรากโดยการใช้มีดกรีดที่เปลือก

จากนั้นนำท่อนพันธุ์มะเดื่อฝรั่งจุ่มด้วยน้ำยาเร่งราก ประมาณ 15-30 นาที นำไปปักในกระบะ หรือตะกร้าภายในตาข่ายพรางแสง โดยวัสดุชำใช้แกลบดำ 3 ส่วน ผสมทรายหยาบ 1 ส่วน หรือดินร่วน 1 ส่วน รดน้ำให้ชุ่ม แต่ไม่ควรรดน้ำบ่อยจนเกินไปทำให้กิ่งเน่าง่าย หลังปักชำ 1 สัปดาห์ ถ้าต้นยังสดอยู่มีแนวโน้มได้ผลดี ราว 7-15 วัน ตาใบจะเริ่มแตกและจะเริ่มออกรากตามมา รอให้กิ่งมะเดื่อแตกใบอย่างน้อย 4-5 ใบ และมองดูว่าแข็งแรง เพราะในช่วงแตกใบ รากจะเริ่มแตกตาม จึงค่อยแยกย้ายลงในถุงชำ (บางท่านอาจจะชำกิ่งในกระถางใบเล็ก ถุงดำ หรือแก้วพลาสติกเจาะรูก็ได้ หรือชำในตุ้มขุยมะพร้าวแล้วอบในกล่องโฟมปิดฝา, อบในวงบ่อซีเมนต์ปิดฝาด้วยพลาสติก, อบในถุงร้อนใบใหญ่ หรือตู้อบแบบมีระบบน้ำแบบแปลงพ่นหมอกด้วย ซึ่งการชำแล้วแต่ความถนัด และทรัพยากรใกล้ตัวของแต่ละท่าน) วัสดุชำในถุงดำควรระบายน้ำง่าย ไม่อุ้มน้ำเกินไป จะเกิดกิ่งมะเดื่อหรือรากเน่าได้ง่าย ควรใช้ดินร่วน, ทราย, ปุ๋ยหมัก และแกลบดิน หรือใช้ดินผสมใช้ปลูกไม้ประดับที่มีใบฉำฉาเป็นส่วนประกอบจะช่วยได้มาก เพราะมีความพรุนระบายน้ำดี