ศูนย์อุตุฯภาคใต้ฝั่งตะวันออกเตือน “8 จังหวัด” รับมือฝนตกหนัก

มาก น้ำท่วมฉับพลัน น้ำล้นตลิ่งศูนย์อุตุฯภาคใต้ฝั่งตะวันออก “เผย” หย่อมความกดอากาศต่ำ ส่งผลให้ 8 จังหวัดฝนตกหนักมาก ระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำล้นตลิ่ง คลื่นซัดหาฝั่ง

วันที่ 28 พ.ย. รายงานข่าวจากศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก จ.สงขลา ระบุว่าประกาศศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก ฉบับที่ 22 (162/2560) เรื่อง คลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทยและฝนตกหนักในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันออก ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนล่างเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง โดยหย่อมความกดอากาศนี้ มีแนวโน้มเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกอย่างช้าๆ เข้าปกคลุมภาคใต้ตอนล่างลักษณะเช่นนี้ ทำให้ภาคใต้ฝั่งตะวันออกในวันที่ 28 พ.ย. มีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ ในบริเวณ จ.นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และจ.นราธิวาส

“ในช่วงวันที 29-30 พ.ย. มีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่บริเวณ จ.ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และ จ.นราธิวาส ขอให้ประชาชนในพื้นที เสี่ยงภัยของจังหวัดดังกล่าว ระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนัก ถึงหนักมาก ฝนสะสม น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและน้ำล้นตลิ่ง”

รายงานข่าวว่าคลื่นลมในอ่าวไทยมีก่าลังแรง ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ประชาชนที่อาศัยบริเวณชายฝั่งทะเลระมัดระวังอันตรายที่เกิดจากลมแรง และคลื่นซัดเข้าหาฝั่ง ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง เรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง ในช่วงวันที 28-30 พ.ย.60

นางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ ชี้แจงกรณีที่มีผู้วิจารณ์ว่าการส่งออกของไทยขยายตัวต่ำกว่าของประเทศเพื่อนบ้าน ว่าการส่งออกไทยในช่วง 10 เดือนแรกขยายตัวร้อยละ 9.7 เกิดจากสาเหตุสำคัญหลายประการ เช่น การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และการปรับตัวของราคาน้ำมัน แต่อีกปัจจัยที่สาคัญ ที่ไม่ควรมองข้าม คือ ศักยภาพของสินค้าไทยที่ยังแข็งแกร่งและสามารถแข่งขันได้สะท้อนจากสัดส่วนการส่งออกของไทยจากการส่งออกรวมของกลุ่มอาเซียนทั้งหมด อยู่ลำดับที่ 2 รองจากสิงคโปร์และมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสที่ผ่านมา และมีแนวโน้มที่อยู่ขาขึ้น นอกจากนี้ ประเทศไทยยังสามารถกระจายตลาดและประเภทสินค้าส่งออกไปได้อย่างน่าพอใจ โดยดูจากว่า สินค้าส่งออก 50 อันดับแรก มีอัตราการเติบโตเป็นบวกถึง 43 รายการ อีกทั้งยังมีการปรับตัวการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมให้เป็นกลุ่มที่มีเทคโนโลยีเพิ่มสูงขึ้น

สำหรับประเด็นที่ว่าอัตราการขยายตัวของการส่งออกไทยต่ำกว่าประเทศอื่นในอาเซียน นางสาวพิมพ์ชนกฯ ชี้แจงว่า เป็นเพราะในปี 2559 ประเทศอาเซียนอื่น ยกเว้นเวียดนาม ต่างมีการส่งออกที่ติดลบมาก ในขณะที่ไทยไม่ติดลบ ดังนั้น ในปีนี้ที่ดูเหมือนว่าประเทศเหล่านั้นมีการขยายตัวการส่งออกที่สูงกว่าไทย เกิดจากการที่เขาเริ่มจากตัวเลขฐานที่ต่ำกว่าไทยมาก
ทั้งนี้ อัตราการขยายตัวของการส่งออกในปี 2560 เป็นการเทียบกับมูลค่าการส่งออกในช่วงเดียวกันของปี 2559 ซึ่งสถานการณ์การส่งออกของไทยในปี 2559 ดีกว่าประเทศอื่นในอาเซียน (ยกเว้นเวียดนาม) โดยถ้าดูตัวเลขทั้งปี 2559 การส่งออกไทยขยายตัวเป็นบวกที่ร้อยละ 0.5 ในขณะที่ประเทศอาเซียนอื่นหดตัว โดยอินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ ส่งออกติดลบที่ร้อยละ -3.7 -4.8 -2.5 และร้อยละ -2.4 ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม หากปรับฐานการคำนวณของประเทศอาเซียนในปี 2559 ให้มีอัตราการขยายตัวเท่ากับประเทศไทย (ขยายตัวร้อยละ 0.5) จะพบว่า ประเทศเหล่านี้จะมีอัตราการขยายตัวในปี 2560 ต่ำกว่าไทย โดยหลังจากการปรับฐานแล้ว อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ จะมีอัตราการขยายตัวในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2560 เพียงร้อยละ 8.9 5.9 4.8 และร้อยละ 7.6 ซึ่งต่ำกว่าไทยที่ขยายตัวร้อยละ 9.3

นางสาวพิมพ์ชนกฯ ชี้แจงว่า การพิจารณาการส่งออกไทยกับอาเซียน ควรต้องเข้าใจที่มาที่ไปและภูมิหลังของข้อมูลด้วย ไม่ใช่ดูเพียงตัวเลขตามที่บางฝ่ายนำมาวิพากษ์วิจารณ์ แต่ในขณะเดียวกัน กระทรวงพาณิชย์ก็ไม่ได้ต้องการให้ทุกฝ่ายนิ่งนอนใจ เพราะแม้ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา กระทรวงฯ จะได้ปรับแนวทางการสนับสนุนการส่งออก ให้เน้นเป็นยุทธศาสตร์รายประเทศตามนโยบายสร้างหุ้นส่วนเศรษฐกิจ (Strategic Partnership) ของรองนายกรัฐมนตรี (ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์) และเน้นการเจาะตลาดเพื่อนบ้านและภูมิภาค ลงไปถึงเมืองรองแล้ว แต่ก็ยังมีสิ่งที่ต้องทำอีกมากในการยกระดับการส่งออกไทยให้ดีขึ้นไปอีกให้ได้แบบยั่งยืนระยะยาว โดยเฉพาะสินค้าเกษตรที่ต้องเร่งสร้างมูลค่าเพิ่ม และสินค้าอุตสาหกรรมที่ควรเร่งสนับสนุนการเข้าสู่อุตสาหกรรมใหม่ให้เร็วขึ้น เช่น ควรขยายการผลิตสินค้ากลุ่ม Internet of Things (IoT) เพราะเรามีฐานอุตสาหกรรมที่เป็นกลุ่ม IoT มากอยู่แล้ว เช่น กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ภายในบ้าน ยานยนต์ เป็นต้น ซึ่งขณะนี้ นโยบายของรัฐบาลก็กาลังผลักดันอยู่อย่างเข้มข้นเป็นเอกภาพ ทั้งนโยบาย Thailand 4.0 นโยบาย EEC และ New S-Curve

นอกจากนี้ ยังมีภาคบริการที่รัฐบาลกำลังจะสร้างให้เข้มแข็งขึ้น ทั้งบริการที่จะสร้างรายได้ สร้างอาชีพสร้างงานให้ประชาชนในประเทศ เช่น ภาคสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ธุรกิจที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว บริการด้านดิจิทัล บริการโลจิสติกส์ และธุรกิจก่อสร้างรวมไปถึงบริการที่จะช่วยสนับสนุนการขยายตัวของภาคเกษตรและ
อุตสาหกรรม เช่น การทำวิจัยและพัฒนา การทดสอบมาตรฐาน การให้คำปรึกษา การซ่อมบารุง การออกแบบการโฆษณา บริการวิชาชีพต่าง ๆ ทั้งกฎหมาย บัญชี วิศวะ สถาปัตย์ ตกแต่ง และที่สำคัญที่สุดคือ การศึกษา ซึ่งทั้งหมดนี้จะมีส่วนช่วยให้การพัฒนาประเทศในอนาคต เป็นไปอย่างเข้มแข็งและกระจายลงสูงระดับท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

หลายคน หลายฝ่ายต่างคาดหวังกับ ครม.บิ๊กตู่ 5Ž จะช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ที่ค้างคาให้เห็นผล จึงมีข้อเรียกร้อง ข้อเสนอแนะไปถึง ครม.ชุดใหม่

อย่างเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสังคมและองค์กรชุมชนภาคใต้ 97 คน ที่ลงชื่อและยื่นจดหมายเปิดผนึกถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ใจความตอนหนึ่งระบุว่า เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสังคมและองค์กรชุมชนภาคใต้ มีความเห็นว่านโยบายยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคใต้ ที่ให้ความสำคัญกับการลงทุนภาคอุตสาหกรรม โครงข่ายคมนาคมและพลังงาน รวมถึงการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค และนโยบายการพัฒนาต่างๆ อาจส่งผลกระทบกับวิถีชีวิต เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และความยั่งยืนของกลุ่มคนต่างๆ ในภาคใต้ในระยะยาว ขณะที่ปัญหาเร่งด่วนเฉพาะหน้าที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตในประจำวัน ไม่ได้รับการตอบสนองจากรัฐบาล

เครือข่ายจึงขอเสนอแนะ ดังนี้ 1.เร่งรัดแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของเกษตรกร อันเนื่องมาจากราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ โดยเฉพาะราคายางพาราและราคาปาล์มน้ำมัน ซึ่งรัฐบาลยังไม่มีการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม แสดงให้เห็นถึงการ ไม่รู้สึกใส่ใจไยดีต่อชีวิตและปากท้องของเกษตรกรŽ ทั้งที่มีความพยายามเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเครือข่ายเกษตรกร กลับถูกปิดกั้นจากหน่วยงานด้านความมั่นคงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาโดยตลอด จึงขอให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาของเกษตรกรอย่างจริงจัง โดยตระหนักว่าการแก้ไขปัญหาของเกษตรกรคือวาระสำคัญของรัฐบาล

2.ขอให้หยุดการดำเนินนโยบายและโครงการในภาคใต้ ที่ส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ละเมิดสิทธิมนุษยชน และหลักมนุษยธรรม ไม่ว่าจะเป็นโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหิน ที่มีรายงานวิจัยยืนยันถึงผลกระทบและส่งผลเชื่อมโยงต่อการทำลายศักยภาพของภาคใต้อย่างชัดเจนแล้ว โครงการเวนคืนผืนป่า พร้อมทั้งกำหนดมาตรการความยั่งยืนให้เกษตรกรได้มีที่ดินเป็นปัจจัยการผลิต รวมทั้งปัญหาความรุนแรงจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างเร่งด่วน

3.ให้รัฐบาลทบทวนนโยบาย ทิศทาง และยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคใต้ทั้งระบบ โดยจัดให้มีการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment: SEA) ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยบูรณาการมิติด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี การเปรียบเทียบทางเลือกที่เหมาะสม ด้วยหลักการ กระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนของสังคม โดยเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับโครงการทั้งหมดที่จะช่วยให้มองเห็นภาพรวมการพัฒนา แก่สาธารณชนอย่างตรงไปตรงมา

4.ส่งเสริมและสนับสนุนวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์การพัฒนาเพื่อให้บรรลุ ภาคใต้แห่งความสุขอย่างยั่งยืนŽ ที่ให้ความสำคัญกับการสร้างความมั่นคงในชีวิต แหล่งผลิตอาหาร การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น การสร้างนวัตกรรมพัฒนาเศรษฐกิจและการประกอบการฐานราก อันเป็นศักยภาพ ทุน ภูมิทัศน์วัฒนธรรมและการพัฒนาของภาคใต้ที่มีมาอย่างยาวนาน

ทั้งนี้ ควรเปิดพื้นที่การมีส่วนร่วมของประชาชน ประชาสังคมในการเข้ามากำหนดอนาคตภาคใต้อย่างทั่วถึง กว้างขวางและครอบคลุม โดยเริ่มต้นจากการวางแผนร่วมอย่างเป็นระบบ ลดความขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้นในสังคม บนพื้นฐานของความหลากหลายทางคุณค่าของพื้นที่

5.ข้อเสนอในข้างต้นสัมพันธ์และโยงใยอย่างยิ่งยวดกับระบบการเมืองแบบเปิดที่เป็นประชาธิปไตย ดังนั้น รัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ต้องคืนประชาธิปไตย ด้วยการเคารพอย่างมั่นคง จริงใจในโรดแมป การเลือกตั้ง ไม่ลิดรอนสิทธิ เสรีภาพ และการใช้อำนาจที่ทำให้ประชาชนหวาดกลัว

ส่วนข้อเสนอด้านแรงงาน ชาลี ลอยสูง รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) พูดถึง ครม.ชุดใหม่ที่โยก พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว จาก รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ว่า พล.ต.อ.อดุลย์มีความมุ่งมั่น และท่านเป็นตำรวจ ทำงานผ่านมวลชนมาพอสมควร ซึ่งมวลชนก็คือกลุ่มคนแรงงาน

ที่ผ่านมา พล.ต.อ.อดุลย์เป็นคนตั้งใจและจริงจังกับการทำงาน แต่จะให้ดีท่านต้องมีนโยบายที่โดนใจ ชนิดว่าหากพูดถึงนโยบายนี้ต้องนึกถึง พล.ต.อ.อดุลย์

ในส่วนของแรงงาน คือการให้ความเป็นธรรมกับแรงงานทั่วประเทศในการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ ที่ไม่ใช่แค่ปรับในบางกลุ่มจังหวัด เพราะจริงๆ แล้วคนทำงานมีทั่วทุกภาค ผมทราบมาว่าจะมีการประชุมคณะกรรมการค่าจ้างในวันที่ 13 ธันวาคมนี้ และจะพิจารณาปรับเพิ่มค่าแรงใน 30 จังหวัด หากเป็นจริงถือว่าไม่เป็นธรรมมากๆ เพราะคนมีรายได้น้อยซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศยังลำบาก ค่าครองชีพไม่เพียงพอ หากฐานล่างยังไม่ดี แล้วเศรษฐกิจจะดีได้อย่างไร

ที่สำคัญกระทรวงแรงงานต้องปฏิรูปตัวเองด้วย เพราะทำงานรูปแบบข้าราชการเกินไป ต้องเน้นทำงานเชิงรุกมากขึ้น และต้องทำงานเชิงป้องกัน ไม่ใช่ทำงานที่ปลายเหตุ คือเมื่อมีการร้องเรียนเรื่องจ้างงานไม่เป็นธรรมจึงเข้าไปช่วยเหลือ ซึ่ง คสรท.จะหารือร่วมกันเกี่ยวกับข้อเสนอต่างๆ เพื่อขอเข้าพบ พล.ต.อ.อดุลย์ต่อไป

เชื่อว่าท่านอดุลย์จะเดินหน้าช่วยให้ค่าครองชีพของแรงงานเพียงพอ ซึ่งปัจจุบันตามหลักสากลแรงงาน 1 คน ต้องเลี้ยงดูครอบครัว 2 คน จึงจะเพียงพอ ประมาณ 600-700 บาท ทุกวันนี้ได้ค่าแรงวันละ 300 บาท ต้องทำงานโอที เพื่อให้ได้ค่าจ้างเพิ่มเป็นวันละ 500-600 บาทŽ ชาลีเสนอด้วยความหวัง

มนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย และประธานเครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน (คปค.) บอกว่า ในวันที่ 9 ธันวาคมนี้ คปค.จะหารือร่วมกัน เพื่อรวบรวมข้อเสนอต่อ พล.ต.อ.อดุลย์ และจะทำเรื่องขอเข้าพบภายใน 1-2 สัปดาห์ ข้อเสนอยังคงยืนยันเหมือนเดิมในเรื่องการปฏิรูปประกันสังคม โดยเฉพาะการเลือกตั้งคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.) ซึ่งหมดวาระตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน และบอร์ดนี้แต่งตั้งโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อหมดวาระตามอำนาจ คสช.ไม่ได้ระบุให้รักษาการ ดังนั้น ควรเลือกตั้งโดยเร็วที่สุด จะได้เดินหน้าปฏิรูปแบบมีส่วนร่วมจริงๆ มีผู้ประกันตนเข้าไปร่วมอยู่ในบอร์ดด้วย

นอกจากนี้ จะเสนอข้อเท็จจริงกรณีการเพิ่มเงินสมทบในกลุ่มผู้ประกันตนเงินเดือน 16,000 บาทขึ้นไปว่า คปค.ได้รับเสียงตอบรับจากผู้ประกันตนกลุ่มนี้ต้องการเพิ่มเงินสมทบ แต่มีบางคนไม่เข้าใจและคัดค้าน จึงกังวลว่าจะทำให้เรื่องยุติลง ทั้งๆ ที่การเพิ่มเงินสมทบกรณีกลุ่มเงินเดือน 16,000-20,000 บาทขึ้นไป โดยจ่ายเฉลี่ยรายเดือนสูงสุดไม่เกิน 1,000 บาท ส่งผลดีต่อการออมของผู้ประกันตน ก็จะเสนอเรื่องนี้ด้วย

รวมทั้งขอให้ พล.ต.อ.อดุลย์เร่งรัดเรื่องสิทธิประโยชน์อื่นๆ อย่างการเพิ่มเงินสงเคราะห์บุตร ที่ สปส.บอกว่าเป็นของขวัญปีใหม่ให้ผู้ประกันตน โดยปรับเพิ่มจาก 400 บาทเป็น 600 บาท ให้ผู้ประกันตนที่มีบุตรอายุตั้งแต่แรกคลอดจนถึง 6 ขวบ จำกัดแค่ 3 คนนั้น หากจะดีกว่านี้ควรเพิ่มเป็นตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงอายุ 12 ปี และต้องไม่จำกัดจำนวนบุตร ซึ่งจะล้อตามกฎหมายที่ให้ค่าคลอด 13,000 บาทต่อคน ไม่จำกัดจำนวนครั้ง

นอกจากนี้ คปค.จะติดตามความคืบหน้าเรื่องการนิรโทษกรณีผู้ประกันตนมาตรา 39 ที่เป็นกลุ่มจ่ายเงินสมทบเอง แต่หลุดจ่าย ซึ่งปัจจุบันยังไม่ได้คืนสิทธิ รวมถึงการเพิ่มค่าชดเชยเลิกจ้าง 400 วัน ก็ยังไม่แล้วเสร็จเช่นกัน ทั้งหมดจึงอยู่ที่รัฐมนตรีคนใหม่จะสานต่อ เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้ผู้ประกันตนŽ มนัสสรุป

ในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา เกิดปัญหาปลาหมอสีคางดำระบาดใน จังหวัดสมุทรสงคราม และ จังหวัดเพชรบุรี สร้างความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในพื้้นที่ ตำบลยี่สาร และ ตำบลแพรกหนามแดง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ขณะที่ นางสาวนภสร สุขพันธุ์ นักวิชาการประมงชำนาญการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดเพชรบุรี ระบุว่า ปลาหมอสีคางดำเป็นสายพันธุ์เดียวกับปลาหมอสี มีรูปร่างคล้ายปลาหมอทะเล และปลานิล แต่เป็นปลาหมอสีชนิดไม่มีราคา เป็นปลากินเนื้อ ปากกว้าง ดังนั้นเมื่อแพร่ระบาดก็จะกินสัตว์น้ำต่างๆ ชนิดอื่นที่ตัวเล็กๆ จนหมด จะคล้าย “เอเลี่ยนสปีชีส์” ที่มาทำลายสัตว์น้ำประจำถิ่นจนหมด ทำให้เกษตรกรได้รับความเดือดร้อน

นายสมศักดิ์ ริ้วทอง เกษตรกร ตำบลแพรกหนามแดง เผยว่า เลี้ยงกุ้งมานานกว่า 30 ปี ขนาดบ่อ 80 ไร่ ก็ได้ดีมาตลอด เพิ่งมาได้รับความเสียหายในช่วง 2 ปีนี้ ปล่อยกุ้งเป็นล้านตัว บางครั้งก็หมดไม่เหลือ ทำให้เป็นหนี้จำนวนมาก จึงอยากให้ภาครัฐลงมาแก้ไขโดยเร็ว

นายปัญญา โตกทอง เกษตรกร ตำบลแพรกหนามแดง บอกว่า มีบริษัทแห่งหนึ่งนำปลาหมอสีเข้ามาจากต่างประเทศ เมื่อปลายปี 2553 ซึ่งเกษตรกรเชื่อว่าเหตุการณ์สัมพันธ์กันที่มาระบาดในปี 2555 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งตนไม่ได้โทษว่าใครถูกใครผิด แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ระบาดขึ้นแล้ว ทั้ง 3 ฝ่ายคือผู้นำเข้า ภาครัฐ และเกษตร ต้องช่วยกันกำจัดโดยเร็วที่สุด ซึ่งเชื่อว่าคงจะต้องใช้เวลานานหลายปี ที่ผ่านมา พล.อ. ประยุทธิ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็สั่งให้แก้ไขแต่เรื่องก็เงียบหายไป

ล่าสุด นางเตือนใจ ดีเทศน์ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ในฐานะประธานอนุกรรมการสิทธิชุมชนและฐานทรัพยากร พร้อมคณะลงพื้นที่ ตำบลยี่สาร และ ตำบลแพรกหนามแดง พร้อมเข้าพบ นายคันฉัตร ตันเสถียร ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อร่วมหารือถึงแนวทางการแก้ไขปัญหา

นายคันฉัตรเผยว่า จังหวัดทราบปัญหานี้มาตั้งแต่ต้นปี 2560 และดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องรวม 9 ครั้ง อาทิ แจ้งต่อ นางสาวชุติมา บุณยประภัศร์ รมช.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่มาตรวจติดตามการเลี้ยงกุ้งอินทรีย์ ขอให้กรมประมงควบคุมหรือกำจัดปลาหมอสีไม่ให้แพร่กระจายในแหล่งน้ำธรรมชาติ นอกจากนี้สหกรณ์ประมงแม่กลอง จำกัด ให้ใช้พื้นที่ตลาดปลาแม่กลองประมูลปลาหมอสี เพื่อเพิ่มมูลค่าจูงใจให้ชาวบ้านจับปลาหมอสีมาขาย แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้

“อย่างไรก็ตามจังหวัดตั้งธงชัดเจนว่าต้องกำจัดให้หมดไป จึงฝากเจ้าหน้าที่กรมประมงกำหนดแผนยุทธการในการวางแผนขั้นตอน และวิธีการกำจัดให้ชัดเจน ครอบคลุม เนื่องจากอาจจะต้องใช้เครื่องมือต่างๆ ที่ผิดกฎหมายมาช่วยด้วย เพื่อให้สามารถกำจัดได้เร็วที่สุด” นายคันฉัตร กล่าว

ด้านนางเตือนใจ เผยว่า demconwatchblog.com จากข้อมูลพบว่าบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งนำเข้าปลาหมอสีจากประเทศกานา เมื่อปี 2553 ซึ่งใช้เวลา 3 ปีกว่าจะรวบรวมนำเข้ามาได้แค่ 600 ตัว ซึ่งปลาหมอสีทั้งหมดกระทบกระเทือนจากการขนส่ง ทำให้ไม่สามารถเจริญเติบโตได้ บริษัทจึงกำจัดด้วยการโรยปูนขาวและฝังกลบ ซึ่งเป็นความบกพร่องทั้งบริษัท และกรมประมงที่ไม่ได้บันทึกตรวจรับและทำลายซากปลาหมอสีคางดำอย่างเป็นระบบ ต่อมาในปี 2555 พบการแพร่ระบาดของปลาหมอสีเข้ามาในบ่อเลี้ยง ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำใน จังหวัดเพชรบุรี และ จังหวัดสมุทรสงคราม ได้รับผลกระทบมาก โดยบริษัทเชื่อว่าการนำเข้าในครั้งนั้นไม่น่าจะทำให้เกิดการระบาด แต่อาจจะมีผู้ลักลอบนำเข้าโดยผิดกฎหมาย แต่บริษัทก็รับว่าจะช่วยกำจัดรวมทั้งรับซื้อปลาหมอสีที่เกษตรกรจับได้ นอกจากนี้เจ้าหน้าที่กรมประมงยังรับปากกับชาวบ้านว่าจะรับซื้อปลาหมอสีกิโลกรัมละ 20 บาท รวม 3 เดือน ซึ่งจะต้องเสนอผู้ใหญ่ในกรมพิจารณาต่อไป

นางเตือนใจระบุว่า จากนี้ไปจะขอซากปลาหมอสีคางดำที่กรมประมงดองไว้ เพื่อมาตรวจดีเอ็นเอว่าตรงกับปลาหมอสีที่แพร่ระบาดในแหล่งน้ำ ว่าเป็นสายพันธุ์เดียวกันหรือไม่ และรวบรวมข้อมูลทั้งหมดเสนอเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี กรมประมง สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมและกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐ บริษัทเอกชน และเกษตรกร ร่วมมือกันแก้ไขปัญหาปลาหมอสีคางดำระบาดในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม และ จังหวัดเพชรบุรี ให้เป็นไปตามหลักการสหประชาชาติ เรื่อง “ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน” ซึ่ง พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นผู้แสดงปาฐกถาในงานสัมมนาวิชาการเรื่อง “การเผยแพร่และขับเคลื่อน หลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติในประเทศไทย” ตามที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจัดขึ้นเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2560

ทย.อัดงบ 1.3 หมื่นล้าน ปรับ 24 สนามบินให้ทันสมัย ยัน 29 พ.ย. สรุปยกสนามบิน อุดรฯ-ตากให้ ทอท. ชี้ต้องควัก 8 พันล้านเพิ่มศักยภาพ เล็งเปิดเอกชนเข้าร่วมลงทุน 4 สนามบินปลายปีหน้า

นายดรุณ แสงฉาย อธิบดีกรมท่าอากาศยาน (ทย.) เปิดเผยในงานวันคล้ายวันสถาปนาครบรอบ 84 ปีของ ทย.ว่า ทิศทางธุรกิจการบินของไทยจะเติบโตอย่างต่อเนื่องภายหลังปลดธงแดงขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ไอเคโอ) ทย.จึงเตรียมแผนลงทุนโดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในท่าอากาศยาน โดยเตรียมว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาจัดทำแผนแม่บทด้านการนำเทคโนโลยีมาใช้ในท่าอากาศยาน คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในเดือนธันวาคมนี้ เบื้องต้นแผนลงทุนเทคโนโลยีมีระยะ 5 ปี วงเงินรวม 13,037 ล้านบาท ประกอบด้วย การติดตั้งระบบลำเลียงกระเป๋าและสายพาน และระบบตรวจสอบวัตถุระเบิด วงเงินรวม 8,837 ล้านบาท รวม 24 แห่ง เริ่มปีนี้ก่อน 3 แห่ง และทยอยติดตั้งทั้งหมดเสร็จในปี 2562

นายดรุณ กล่าวว่า ส่วนโครงการติดตั้งระบบเคาน์เตอร์เช็กอินร่วมเพื่อแก้ไขปัญหาความแออัดที่ท่าอากาศยานนั้นวงเงินรวมอยู่ที่ 4,200 ล้านบาท โดยจะเป็นการเช่าระบบเทคโนโลยีจากเอกชนระยะเวลาสัญญารวม 5 ปี หรือเฉลี่ย 150 ล้านบาท ต่อท่าอากาศยาน เบื้องต้นได้นำร่องติดตั้งที่ท่าอากาศยานกระบี่ไปแล้วและจะทยอยติดตั้งให้ครบทุกท่าอากาศยานต่อไป นอกจากนี้มีแผนของบประมาณเพื่อติดตั้งเครื่องตรวจหนังสือเดินทางอัตโนมัติภายในท่าอากาศยานที่มีผู้โดยสารจำนวนมากเพื่อลดความแออัดด้วย

นายดรุณ กล่าวว่า สำหรับความคืบหน้าการนำเสนอผลการศึกษาการให้บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เข้าไปบริหารจัดการท่าอากาศยานอุดรธานี และท่าอากาศยานตากนั้น ทย.ได้เสนอกระทรวงคมนาคมแล้ว และจะมีการประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันเพื่อหาข้อสรุปในวันที่ 29 พฤศจิกายนนี้ เบื้องต้น 2 ท่าอากาศยานจะใช้เงินลงทุนเพิ่มประมาณ 8,000 ล้านบาท เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์กลาง (ฮับ) ทางการบินภาคตะวันตกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ นอกจากนี้ ทย.ได้เสนอผลการศึกษาแนวทางการเปิดให้เอกชนร่วมพัฒนาท่าอากาศยานในสังกัดทั้ง 28 แห่งให้กระทรวงคมนาคมพิจารณา เบื้องต้นจะเป็นท่าอากาศยานขนาดเล็ก 4 แห่ง ได้แก่ ลำปาง เพชรบูรณ์ นครราชสีมา และชุมพร หากกระทรวงคมนาคมเห็นชอบจะเริ่มดำเนินการศึกษารูปแบบการเปิดประมูลให้เอกชนร่วมลงทุน (พีพีพี) คาดว่าใช้เวลาศึกษาประมาณ 8 เดือน หรือประมาณเดือนสิงหาคม 2561 ว่าจะให้เอกชนบริหารทั้งสนามบิน หรือเฉพาะพื้นที่เชิงพาณิชย์ สำหรับปัญหาการเดินทางจากตัวเมืองไปยังท่าอากาศยานในภูมิภาคซึ่งค่อนข้างไกลนั้นภายหลังจากร่วมมือกับกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ปัจจุบันได้มีการจัดรถสาธารณะทั้งรถเมล์ รถตู้รองรับไว้แล้ว 4 ท่าอากาศยาน ได้แก่ สุราษฎร์ธานี ขอนแก่น อุดรธานี และนครศรีธรรมราช ทั้งนี้ ภายในปี 2561 จะเร่งจัดรถโดยสารไว้รองรับให้ได้ครบทุกท่าอากาศยานเพื่อเชื่อมโยงการเดินทางของผู้โดยสารและนักท่องเที่ยว