สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง น้ำตกอ่างเบง จุดชมวิวผาหินกูบ

(ถึงทางขึ้น) เขื่อนทุ่งเพล ศูนย์พัฒนาไม้ผลตามพระราชดำริจังหวัดจันทบุรี พระบาทพลวง อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฎ
ที่อยู่ : เลขที่ 35 หมู่ที่ 7 ตำบลฉมัน อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี “วุฒิชัย เจริญศุภกุล” อดีตมนุษย์เงินเดือน ตัดสินใจทำธุรกิจเกษตร เพื่อเป็นเจ้านายตัวเอง โดยเปิด บริษัท พลังผัก จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายสลัดผักและผลไม้พร้อมรับประทาน ตรา Oh! Veggies (โอ้! เวจจี้) โกยยอดขายสูงกว่าปีละ 120 ล้านบาท

จากประสบการณ์นักการตลาดมืออาชีพ คุณวุฒิชัย เชื่อว่าสินค้าอาหารโดยเฉพาะกลุ่มผัก ผลไม้ อินทรีย์ (สินค้าออร์แกนิก) เป็นตลาดที่มีอนาคตสดใสมาก เพราะตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ใส่ใจในสุขภาพ

เขาสำรวจตลาดซุปเปอร์มาร์เก็ต พบว่า “สลัดพร้อมทาน” เป็นสินค้าทางเลือกใหม่สำหรับหนุ่มสาววัยทำงานในสังคมเมืองหลวง แต่ผักสลัดที่วางขายส่วนใหญ่ปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์ ยังไม่มีผักสลัดที่ปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์ จึงเป็นช่องว่างทางการตลาดที่น่าสนใจ และน่าเจาะตลาดในสินค้ากลุ่มนี้

“ผมปลูกผักไม่เป็น และปลูกไม่เก่งเท่ากับเกษตรกรมืออาชีพ จึงมุ่งส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชผัก ผลไม้ อินทรีย์ และรับซื้อในราคาประกัน โดยนำผักสลัดที่รับซื้อมาล้างทำความสะอาดและขายบรรจุกล่องในลักษณะผักสลัดที่สะดวกพร้อมทาน และออกแบบบรรจุภัณฑ์ต่างจากท้องตลาดทั่วไป โดยทดลองเปิดตลาดใน ปี 2551 เริ่มจากวางขายในร้านอาหารเพื่อสุขภาพ จัดตั้งบู๊ธให้ลูกค้าชิม เพื่อสร้างการรับรู้ของผู้บริโภค ก่อนขยายตลาดเข้าห้างสรรพสินค้าและร้านสะดวกซื้อในเวลาต่อมา” คุณวุฒิชัย เจริญศุภกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท พลังผัก จำกัด กล่าว

การคัดเลือกพื้นที่เพาะปลูกและเกษตรกร

คุณวุฒิชัย เล่าว่า ทางบริษัทคัดเลือกเฉพาะพื้นที่ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ จากสถาบันที่ได้รับมาตรฐานสากล (Organic Thailand) รวมทั้งได้ใบรับรองการผลิตพืชอินทรีย์จากกรมวิชาการเกษตร และเป็นพื้นที่ที่ไม่มีการใช้สารเคมีอย่างน้อย 1 ปี ก่อนการเพาะปลูก

มีแหล่งน้ำที่ปราศจากการปนเปื้อนจากสารเคมี ดินมีความอุดมสมบูรณ์ และมีระบบนิเวศที่ดี มี Buffer Zone หรือกำแพงลมตามธรรมชาติ หรือต้นไม้เพื่อป้องกันการปนเปื้อนจากแหล่งข้างเคียงและเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีความตั้งใจในการปลูกพืชอินทรีย์

ทุกวันนี้ บริษัทรับซื้อผักสลัดอินทรีย์ และผลไม้อินทรีย์ เช่น มะม่วง ฝรั่ง มะเขือเทศราชินี ฯลฯ จากเกษตรกรทั่วประเทศ โดยวางแผนการผลิตร่วมกับเกษตรกร โดยกำหนดราคารับซื้อล่วงหน้า ช่วยให้เกษตรกรเกิดความมั่นคงด้านการตลาดและมีรายได้ที่แน่นอน ขณะเดียวกัน ก็ช่วยให้บริษัทมีความมั่นคงในเรื่องวัตถุดิบ ลดความผันผวนของราคาสินค้าเกษตร

“บริษัทเลือกใช้มะม่วงที่ปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์ จำนวน 2 ชนิด คือ มะม่วงมันเดือนเก้า และมะม่วงโชคอนันต์ โดยรับซื้อมะม่วงที่มีลักษณะผลไม่อ่อน ไม่แก่เกินไป น้ำหนักประมาณ 3 ลูก ต่อกิโลกรัม นำมาผ่านกระบวนการทำความสะอาด ปอกเปลือก ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อด้วยสารคลอรีนไดออกไซด์ หลังจากนั้นนำมาหั่นและเข้าเครื่องจักรเพื่อปั่นให้เนื้อมะม่วงแห้งเพื่อยืดอายุการเก็บรักษา เมื่อผู้บริโภคนำมะม่วงมารับประทานกับน้ำปลาหวานจะได้รสชาติอร่อยลงตัว ถูกปาก ถูกใจผู้บริโภค” คุณวุฒิชัย กล่าว

จุดเด่น ของสลัดผัก “โอ้! เวจจี้”

สลัดผักอินทรีย์ (Organic) พร้อมรับประทาน “โอ้! เวจจี้” ผลิตด้วยระบบธรรมชาติปลูกบนดินไม่ใช้ปุ๋ยเคมี และยาฆ่าแมลงตลอดกระบวนการปลูก จึงปลอดภัยจากเคมีได้วิตามินและแร่ธาตุจากธรรมชาติ มีหลากหลายรสชาติ หลากหลายความอร่อย ผักอินทรีย์ อร่อย กรอบ สด สะอาด น้ำสลัดสูตรพิเศษ ซีซาร์ ญี่ปุ่น อิตาเลี่ยน เทาซั่น ครีม พร้อมด้วยท็อปปิ้งที่เข้ากั๊นเข้ากัน อร่อยไม่เหมือนใคร

โอ้! เวจจี้ คัดสรรผักสลัดอินทรีย์จากไร่เกษตรอินทรีย์ที่ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง เมล็ดพันธุ์ GMO และควบคุมการปนเปื้อนจากสารเคมีอื่น เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ สะอาด ปลอดภัย อุดมด้วยคุณค่าสารอาหาร

เมื่อเทรนด์รักสุขภาพกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน การรับประทานผักและผลไม้ให้ได้ 5 สี จะทำให้ร่างกายของเราแข็งแรงมีภูมิคุ้มกันที่ดีขึ้น เพราะแร่ธาตุและวิตามินในผัก ผลไม้แต่ละสีที่แตกต่างกันจะช่วยส่งเสริมกันและกัน (Phytochemical Effect) ร่างกายดูดซึมนำไปใช้ประโยชน์ได้ดีกว่า

“เพราะเราใส่ใจในสุขภาพของผู้บริโภค จึงออกแบบสินค้าผักสลัดที่มี 5 สี เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับประทานผักสลัด 5 สีแบบสะดวกๆ ในกล่องเดียว กินอร่อยและมีประโยชน์ทุกคำ” คุณวุฒิชัย กล่าว

ปัจจัยสู่ความสำเร็จ

เมื่อสินค้าผักสลัดพร้อมรับประทานประสบความสำเร็จทางการตลาดอย่างงดงาม คุณวุฒิชัยได้พัฒนาสินค้า ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ ทำให้สินค้าโดดเด่นและแตกต่างจากคู่แข่ง โดยมีน้ำสลัดและเครื่องจิ้ม เช่น น้ำปลาหวาน น้ำตาลปี๊บปรุงรส ที่อร่อย ให้ผู้บริโภคสะดวกในการซื้อรับประทานมากยิ่งขึ้น

มะม่วงน้ำปลาหวานพร้อมรับประทาน ยำมะม่วง อร่อยแบบรสชาติไทยๆ ที่ขายดีมาก เพราะนำสินค้าผลไม้ในรถเข็น ยกระดับสู่โมเดิร์นเทรด เมื่อเปิดตัวเข้าสู่ตลาด ปรากฏว่าสร้างยอดขายถล่มทลาย เพราะมีรสชาติอร่อย สะอาด ปลอดภัย สะดวกต่อการรับประทานและที่สำคัญราคาไม่แพงอีกต่างหาก

ปี 2555 ฝ่ายจัดซื้อของ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อให้บริษัทนำสินค้าเข้าไปทดลองขายในร้านเซเว่นฯ โดยให้คำแนะนำเรื่องการปรับปรุงคุณภาพสินค้าให้เหมาะสมกับพฤติกรรมผู้บริโภค การเก็บรักษาคุณภาพสินค้า การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น

ปัจจุบัน บริษัทมีสินค้าจำหน่ายในร้านเซเว่น อีเลฟเว่น กว่า 8,000 สาขา ทั่วประเทศ ได้แก่ สลัดผักพร้อมรับประทาน มะม่วงน้ำปลาหวาน ฝรั่งจิ้มพริกเกลือน้ำตาลปี๊บ ยำมะม่วง และมะเขือเทศเชอร์รี่ โดยจะมีการพัฒนาสินค้าใหม่ร่วมกับเซเว่นฯ อย่างต่อเนื่อง

“บริษัท พลังผัก ยึดมั่นในการคัดสรรผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพปลอดภัยและสะดวกในการบริโภค รวมทั้งมุ่งมั่นพัฒนาสินค้าที่แตกต่าง และตรงตามความต้องการของผู้บริโภค พยายามมองช่องว่างที่ยังไม่มีใครทำ แล้วนำมาปรับใช้เพื่อตอบสนองความต้องการนั้น ขณะเดียวกันบริษัทได้พันธมิตรที่เข้มแข็ง อย่าง บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้ดำเนินกิจการร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ในประเทศไทย เป็นช่องทางการจำหน่ายที่สะดวก เข้าถึงลูกค้าทั่วประเทศได้ง่าย จึงเป็นตัวช่วยสำคัญที่ช่วยผลักดันให้กิจการของบริษัทก้าวสู่ธุรกิจร้อยล้านได้ในทุกวันนี้” คุณวุฒิชัย กล่าว

เซเว่นฯ หนุนสร้างอาชีพ กลุ่ม SME

ด้าน คุณบัญญัติ คำนูณวัฒน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้ก่อตั้งร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ในประเทศไทย กล่าวว่า บริษัทมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนสินค้าของผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก หรือ เอสเอ็มอี ที่ผลิตสินค้ามีคุณภาพมาตรฐานและเป็นที่นิยมจากประชาชนมาตลอด โดยบริษัทจะเป็นช่องทางการจำหน่ายสินค้าให้กับผู้ประกอบการ SME เพื่อส่งสินค้าตรงถึงมือผู้บริโภคผ่านร้านเซเว่นฯ ทั่วประเทศ และผ่านช่องทางของบริษัท ทเวนตี้โฟร์ ช้อปปิ้ง จำกัด

โดยจำหน่ายสินค้าผ่านนิตยสารทเวนตี้โฟร์ แคตตาล็อก ศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์ และอีคอมเมิร์ซ ปัจจุบัน ทั้งเซเว่น อีเลฟเว่น และทเวนตี้โฟร์ ช้อปปิ้ง ได้จัดจำหน่ายสินค้า เอสเอ็มอี รวมทั้งสิ้นกว่า 22,000 รายการ และมีการพัฒนา SME ให้เจริญก้าวหน้าเพื่อเป็นบริษัทที่มีขนาดใหญ่ขึ้นอย่างต่อเนื่อง
“ร้านเซเว่น อีเลฟเว่น และทเวนตี้โฟร์ ช้อปปิ้ง มีสินค้า เอสเอ็มอี ที่จำหน่ายหลายประเภท โดยเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค เช่น ผลไม้แปรรูป เครื่องดื่ม เบเกอรี่ ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม เป็นต้น ซึ่งสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปของกลุ่มธุรกิจ SME จะทำให้ผลผลิตทางการเกษตรมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น ช่วยให้เกษตรกรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น” คุณบัญญัติ กล่าว

สำหรับผู้ประกอบการ SME ที่มีความต้องการนำสินค้ามาจำหน่ายในร้านเซเว่นฯ เหมือน บริษัท พลังผัก สามารถนำสินค้ามาเสนอได้ที่เซเว่น อีเลฟเว่น และ บริษัท ทเวนตี้โฟร์ ช้อปปิ้ง จำกัด หรือเว็บไซต์

“แมลงทับ” เป็นแมลงปีกแข็งชนิดหนึ่ง มีปีกสวยงาม ปีกสีเขียวสดเป็นประกายวาววับ หรือเขียวมรกต สีไม่ตก มีความคงทนสูง จึงมีคนนำไปทำเครื่องประดับเพิ่มมูลค่า อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันแมลงทับในธรรมชาติหายากขึ้น จึงมีเกษตรกรหัวใส ใช้ภูมิปัญญาศึกษาวงจรชีวิตของแมลงทับ แล้วนำมาเลี้ยงจนประสบผลสำเร็จ อย่างเช่น

คุณสมัคร นามสีฐาน อายุ 62 ปี อยู่บ้านเลขที่ 19 หมู่ที่ 2 บ้านกุดกระสู้ ตำบลเก่ากลอย อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู โทร. (089) 937-9257, แม่อ้วน (ภรรยา) โทร. (085) 274-9288 เป็นผู้ที่ประสบผลสำเร็จในการทำการเกษตรจนได้รับความไว้วางใจให้เป็นประธานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) อำเภอนากลาง และยังเป็นเลขานุการเครือข่าย ศพก.ระดับจังหวัดด้วย

คุณสมัคร เล่าให้ฟังว่า ตนมีอาชีพหลักคือทำนาและทำสวน โดยทำการเกษตรหลายอย่าง เช่น ปลูกผักหวานป่ากว่า 1,200 หลุม กล้วยน้ำว้า 400 กอ ไผ่กิมซุ่ง 200 กอ ไผ่เลี้ยง 80 กอ มะนาว 150 ต้น ข่า 800 กอ เลี้ยงปลา เลี้ยงเป็ดไก่ ฯลฯ แต่ละปีทำรายได้หลายแสนบาท แต่ยังมีรายได้น้อยกว่าแมลงทับ

ปี 2546 ป่าไม้จังหวัดขณะนั้นได้จัดอบรมและพาไปฝึกอบรมที่ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานหนองบัวลำภู ได้สอนการใช้ประโยชน์จากปีกแมลงทับ ทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อเพิ่มมูลค่า เช่น แมลงทับกางปีก ผีเสื้อกางปีก แมลงปอ ปิ่นปักผม ต่างหู ชุดสร้อยคอ เป็นต้น แต่หลังจากนั้นไม่นานแมลงทับที่มีในธรรมชาติก็เริ่มขาดแคลน หายากขึ้น

ปี 2550-2557 มีแนวคิดอยากจะเลี้ยง จึงศึกษาหาความรู้ ศึกษาการอยู่ในธรรมชาติของแมลง ได้จับจากธรรมชาติมาปล่อยเลี้ยงก็ไม่ได้ผลเท่าที่ควร คุณสมัครบอกอีกว่า ปี 2558 เลี้ยงในพื้นที่ 1 งาน โดยปลูกต้นไม้และอนุรักษ์ต้นไม้เดิมที่มีอยู่แล้ว เพื่อเป็นแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัย พืชที่แมลงทับชอบกิน ได้แก่ ใบต้นแดง ใบมะขามป้อม ใบมะขามเทศ ใบเพ็ก เป็นต้น จากนั้นนำตาข่าย (มุ้งเขียว) มาล้อมด้านข้างสูงประมาณ 3-4 เมตร (ไม่คลุมด้านบน) จากนั้นหาแมลงทับจากธรรมชาติมาปล่อยรวมทั้งรับซื้อจากเพื่อนบ้านมาปล่อยด้วย

สำหรับวงจรชีวิตของแมลงทับ จะมีระยะตัวเต็มวัย-ระยะไข่-ระยะตัวอ่อน-ระยะเข้าฝัก (ดักแด้) โดยหลังจากผสมพันธุ์กันแล้วตัวเมียจะวางไข่ไว้ในดินราวเดือนสิงหาคม จากนั้นราวเดือนกันยายน ทั้งเพศผู้และเพศเมียจะตายเนื่องจากสิ้นอายุขัย เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม ไข่จะถูกฟักออกเป็นตัวซึ่งอาศัยกินรากไม้ที่อยู่ในดินแล้วเข้าฝักอยู่ในดินเป็นเวลาหลายเดือน จากนั้นจะเห็นตัวเต็มวัยออกมากินใบพืชราวปลายเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม เพื่อผสมพันธุ์และวางไข่เป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ดังนั้น ในเดือนกันยายน จะเข้าไปเก็บแมลงทับที่ตายร่วงหล่นอยู่บนพื้นดินนำมาทำเป็นเครื่องประดับชนิดต่างๆ โดยในปีที่ผ่านมาสามารถเลี้ยงแมลงทับได้กว่า 10,000 ตัว

ผลิตภัณฑ์ เครื่องประดับจากแมลงทับ

ปัจจุบันได้ทำผลิตภัณฑ์จากปีกแมลงทับดังนี้ แมลงทับกางปีก ราคาขายส่ง 180 บาท ขายปลีก 200 บาท, ผีเสื้อหุบปีก ขายส่ง 130 บาท ขายปลีก 150 บาท, แมลงทับกางปีกคาดเพชร ขายส่ง 130 บาท ขายปลีก 150 บาท, ผีเสื้อกางปีก ขายส่ง 130 บาท ขายปลีก 150 บาท, แมลงปอ ขายส่ง 100 บาท ขายปลีก 120 บาท, ปิ่นปักผม ขายส่ง 25 บาท ขายปลีก 30 บาท, ต่างหู ขายส่ง 130 บาท ขายปลีก 150 บาท, นกยูง ขายส่ง 160 บาท ขายปลีก 180 บาท, ทานตะวัน ขายส่ง 160 บาท ขายปลีก 180 บาท, ชุดสร้อยคอรวมต่างหู ขายส่ง 1,840 บาท ขายปลีก 2,200 บาท ซึ่งผลิตภัณฑ์ได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) จากกระทรวงอุตสาหกรรม

ตลาดสำคัญ

ส่วนใหญ่อยู่กรุงเทพฯ 6 ราย สั่งครั้งละ 2-3 โหล ส่งให้ทางไปรษณีย์ นอกนั้นยังมี เชียงใหม่ เชียงราย กาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครราชสีมา ฯลฯ นอกจากนี้ ยังออกขายตามงานต่างๆ โดยมีรายได้ปีละกว่า 1 ล้านบาท

คุณชนะ ไชยฮ้อย เกษตรจังหวัดหนองบัวลำภู กล่าวว่า จังหวัดหนองบัวลำภู ได้จัดตั้งศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทุกอำเภอ อำเภอละ 1 แห่ง และยังมี ศพก.เครือข่ายกระจายอยู่ตามหมู่บ้านต่างๆ เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรแก่เกษตรกร มีเกษตรกรที่ประสบผลสำเร็จเป็นเกษตรกรต้นแบบ มีฐานการเรียนรู้ด้านต่างๆ โดยส่วนราชการสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมบูรณาการ

สำหรับศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรอำเภอนากลาง ซึ่งตั้งอยู่ที่ฟาร์มนายสมัคร นามศรีฐาน ทำการเกษตรในรูปแบบผสมผสาน มีกิจกรรมทั้งด้านพืช สัตว์ ประมง รวมทั้งการเลี้ยงแมลงทับที่เริ่มจะหายากมากขึ้น หากศึกษาการเลี้ยง (จำกัดบริเวณ) และอนุรักษ์ไว้ ควบคู่กับการนำมาทำผลิตภัณฑ์เครื่องประดับจะเป็นสร้างงานสร้างอาชีพให้เกษตรกรในชุมชน หากส่งเสริมให้เลี้ยงกันอย่างกว้างขวางเชื่อว่าจะเป็นแมลงเศรษฐกิจที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยววิถีเกษตรอีกด้วย

ไผ่ นอกจากจะเป็นไม้ที่ขึ้นง่าย ตายยาก และอยู่ได้ในพื้นดินทุกชนิดแล้ว ยังมีประโยชน์มากอีกด้วย ทั้งใช้เป็นของประดับตกแต่งสร้างที่อยู่อาศัย หรือข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้านต่างๆ ยังสามารถนำหน่อมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนูอีกด้วย ส่วนการขยายพันธุ์ก็สามารถทำได้ทั้งวิธีการตอนและปักชำ เพราะสามารถเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว

คุณโชคดี ปรโลกานนท์ หรือ ลุงโชค เจ้าของสวนลุงโชค อยู่บ้านเลขที่ 14 หมู่ที่ 6 บ้านคลองทุนเรียน ตำบลวังน้ำเขียว อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา เป็นอีกหนึ่งเกษตรกรที่ทำสวนแบบวนเกษตร โดยเน้นการปลูกพืชพรรณหลายชนิดรวมกันในพื้นที่กว่า 100 ไร่ นอกจากนี้ ยังชื่นชอบและเพาะพันธุ์ไผ่หลากหลายสายพันธุ์อีกด้วย

คงต้องเกริ่นก่อนว่าการทำสวนแบบวนเกษตรคือ แนวทางการทำเกษตรอย่างยั่งยืนที่เน้นการปลูกไม้ยืนต้นที่ใช้ประโยชน์จากเนื้อไม้เป็นหลักร่วมกับการปลูกพืชเศรษฐกิจและพืชผักสวนครัว การทำสวนในลักษณะผสมผสาน หรือการทำเกษตรที่มีลักษณะคล้ายกับเลียนแบบระบบนิเวศของธรรมชาตินั่นเอง

ลุงโชค เล่าถึงการเริ่มทำสวนให้ฟังว่า ก่อนที่จะหันมาทำการเกษตรแบบยั่งยืน หรือวนเกษตรนั้น เริ่มต้นจากการนำความรู้ที่ได้เรียนมาจากสาขาวิชาพืชไร่ ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยเน้นการปลูกพืชเศรษฐกิจ อาทิ ปลูกข้าวโพด มันสำปะหลัง เป็นต้น ซึ่งเริ่มแรกก็เรียกได้ว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี แต่หลังจากทำมาระยะหนึ่งก็พบว่าหากยังทำสวนโดยปลูกเพียงแต่พืชเศรษฐกิจอย่างเดียวคงยังไม่พอ เนื่องจากประสบปัญหาทั้งในเรื่องการลงทุน และเรื่องของระบบชลประทาน คล้ายกับเป็นการทำการเกษตรที่ต้องพึ่งพาสภาพดินฟ้าอากาศเพียงอย่างเดียว และยังมองว่าการทำสวนในลักษณะนี้จะส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมด้วย จึงเริ่มหันมาสนใจเรื่องการทำวนเกษตร

เมื่อเข้าสู่ปี 2531 ลุงโชค บอกว่า เริ่มทำสวนแบบวนเกษตรโดยเน้นปลูกต้นไม้เป็นหลัก แต่ก็ปลูกพวกพืชผักสวนครัวเอาไว้สำหรับกินเองด้วย ส่วนที่เหลือก็สามารถนำไปจำหน่ายได้

“ตอนนั้นมีที่แค่ 50 ไร่ แต่เราไม่ได้ปลูกทั้งแปลงแต่อาศัยปลูกปนกัน ผสมผสานกันไป เริ่มทำจากเล็กๆ ก่อน เพื่อให้ได้ประสบการณ์ เรื่องการลดต้นทุนและการขยายพันธุ์ไม้ด้วย ยอมรับว่าตอนนั้นเปลี่ยนวิธีคิดไปเลย จากที่เมื่อก่อนเราปลูกเพื่อขาย ตอนหลังเราปลูกเพื่อกินแทนแล้วพอเหลือจากกินก็เอาไปขายได้ หลังจากเริ่มทำก็ใช้เวลา 6-7 ปี ทุกอย่างก็ลงตัว ต่อมาก็เริ่มมีรายได้จากการขายผลผลิต ซึ่งรายได้ที่มีก็มาจากทั้งการขายผลผลิตและการขายพันธุ์พืช” ลุงโชค กล่าว

จุดเริ่มต้นอาณาจักรไผ่

สำหรับจุดเริ่มต้นในการหันมาปลูกไผ่นั้น เริ่มในปี 2543 เนื่องจากในสวนจะมีบริเวณหนึ่งที่โครงสร้างดินไม่ค่อยดี ปลูกอะไรก็ไม่ขึ้น ประกอบกับตอนนั้นคุณตาของลุงโชค มีไผ่เลี้ยงอยู่กอหนึ่งที่เขาปลูกเอาไว้ จึงขอเอามาลงดินปลูกดูเผื่อว่ามันจะขึ้น ปรากฏว่าปลูกขึ้น ทำให้สนใจการปลูกไผ่ขึ้นมา และเริ่มสะสมไผ่สายพันธุ์ต่างๆ มาเรื่อย จนกลายมาเป็นอาณาจักรไผ่สวนลุงโชคอย่างทุกวันนี้

“ระหว่างที่ทำสวนวนเกษตรตอนนั้นยังมีหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่า และฟื้นฟูป่าที่เขาแผงม้า ทำให้ต้องแบ่งเวลาทั้งในการปฏิบัติหน้าที่และการทำสวน แต่ก็ไม่ได้ทิ้งเรื่องการทำสวนเสียทีเดียว พอถึงปี 2550 บทบาทหน้าที่ในการฟื้นฟูป่าสิ้นสุดลง จึงกลับมาทุ่มเทให้กับการทำสวนที่ตนเองรักอย่างเต็มที่อีกครั้ง และยังเริ่มเปิดสวนให้คนเข้าเยี่ยมชม และให้ความรู้เกี่ยวกับการทำสวนด้วย ต้นไม้ที่ปลูกก็เป็นพวกไม้ยืนต้น เช่น พะยูง ตะเคียนทอง เพราะคิดว่าต่อไปพันธุ์ไม้พวกนี้จะหายากก็เลยปลูกไว้ ส่วนหลักในการเลือกปลูกต้นไม้ส่วนใหญ่มักจะคำถึงถึงเรื่องของถิ่นดั้งเดิมด้วย ทำให้มีพันธุ์ไม้ที่ปลูกกว่า 300 ชนิด” ลุงโชค กล่าว

นอกจากการเพาะพันธุ์ไผ่แล้วสิ่งที่ลุงโชคกำลังให้ความสำคัญคือ เรื่องการแปรรูปและการใช้ประโยชน์จากไผ่

“โดยตอนนี้ก็ได้นำไผ่เลี้ยงมาจัดการตัด เจาะ แล้วก็แช่ด้วยเกลือบอแรกซ์ เพื่อให้อาหารที่อยู่ในไผ่เหลือน้อย พอเหลือน้อยมอดก็ไม่กิน ผลตอนนี้ก็ออกมาดี ส่วนสูตรก็ใช้ 10 กิโลกรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร แช่ประมาณ 7 วัน และกำลังจะทำในเรื่องถ่านชีวภาพ หรือไบโอชาร์ด้วย เพื่อให้สามารถนำผลผลิตที่มีไปใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ ได้” ลุงโชค บอก

“ไผ่” ประโยชน์ที่มี มากกว่าความอร่อย

ประโยชน์ของไผ่นอกจากจะสามารถนำหน่อมาเป็นส่วนประกอบในการทำอาหารได้หลากหลายเมนูแล้ว ไผ่ยังมีประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมและการดำรงชีพอีกด้วย เพราะใบของไผ่เมื่อร่วงลงมาก็เหมือนเป็นการสร้างหน้าดิน ส่วนรากก็ยังเป็นตัวยึดหน้าดินในช่วงฤดูฝน ทั้งยังสามารถช่วยป้องกันพายุฤดูร้อนได้ สำหรับสวนของลุงโชคนั้น ก็มีนวัตกรรมในเรื่องการเพาะเห็ดเยื่อไผ่เสริมเข้ามา ดังนั้น หากมีโอกาสได้มาเยี่ยมชมสวนลุงโชคก็จะเห็นว่าตามโคนไผ่ตอนนี้จะมีการเพาะเห็ดเยื่อไผ่เสริมอยู่ด้วย

“ผมคิดว่าไผ่ให้คำตอบได้ทุกเรื่อง อย่างปัญหาเรื่องเขาหัวโล้นก็เชื่อว่าไผ่จะสามารถช่วยแก้ปัญหาได้ แต่เราอย่าไปปลูกไผ่อย่างเดียว คือปลูกให้มันหลากหลาย คือผมมีทั้งไผ่ล้วนๆ ไผ่ในป่า ไผ่ตามคันนา ไผ่ตามคลอง ผมปลูกให้เห็นว่ามันสามารถช่วยแก้ปัญหาได้จริงๆ”

“วิถีฅน วิถีไผ่” งานสัมมนาให้ความรู้สังคม

หลังจากลุงโชคเริ่มเปิดตัวเรื่องการปลูกไผ่ ก็มีหลายคนทยอยกันมาเยี่ยมชม บางส่วนก็มีเข้ามาดูเพื่อนำไปเป็นตัวอย่าง ซึ่งก็ตรงกับความต้องการของลุงโชคที่มีการเปิดค่ายเด็กเพื่อให้การเรียนรู้กับสังคม ไม่ใช่เฉพาะเด็กเท่านั้น สำหรับคนที่สนใจก็สามารถเข้ามาเรียนรู้ด้วยเช่นกัน

เมื่อวันที่ 8-10 ธันวาคม 2560 ทางสวนลุงโชคได้จัดงานสัมมนาในชื่อ “วิถีฅน วิถีไผ่” เพื่อให้ความรู้แก่สังคม และผู้ที่สนใจเรียนรู้เรื่องการทำสวนและการเพาะพันธุ์ไผ่

รศ.ธัญพิสิฐ พวงจิก จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ที่ศึกษาไผ่อย่างจริงจังคนหนึ่ง ได้นำพันธุ์ไผ่มาให้ลุงโชคปลูก เมื่อรวมกับของเดิมที่มีอยู่แล้ว สวนลุงโชคมีพันธุ์ไผ่ไม่น้อยกว่า 80 พันธุ์ ซึ่งต่อไปจะมีการดำเนินการเรื่องธนาคารพันธุ์ไผ่ ให้ผู้สนใจยืมปลูก แต่ต้องปฏิบัติตามระเบียบของธนาคาร

คุณนิมิตร สื่อเจริญสม เอกชนที่สนใจเรื่องไผ่ ก็เริ่มตั้งสถาบันวิจัยไผ่อย่างจริงจัง ที่นครราชสีมา ซึ่งก็ได้ประสานงานกับสวนลุงโชค ในการพัฒนาไผ่อย่างต่อเนื่อง

ผู้สนใจเรื่องการปลูกไผ่ เห็ดเยื่อไผ่ ธนาคารพันธุ์ไผ่ รวมทั้งการแปรรูปอื่นๆ ถามได้ที่ เบอร์โทรศัพท์ (091) 876-8199 หรือผ่านทางเฟซบุ๊ก “สวนลุงโชค”

“หมู่บ้านเกษตรสันติราษฎร์” เป็นอีกหนึ่งโครงการดีๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตข้าราชการตำรวจชั้นผู้น้อยและครอบครัว ให้มีที่อยู่และมีรายได้เสริมเพียงพอสำหรับเลี้ยงดูครอบครัว

ล่าสุด พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ และ นายชายชาญ เอี่ยมเจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ร่วมกันเป็นประธานในพิธีเปิดงาน 10 ปี หมู่บ้านเกษตรสันติราษฎร์ และ พิธีมอบกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ข้าราชการตำรวจ โครงการหมู่บ้านเกษตรสันติราษฎร์ ที่หมู่บ้านเกษตรสันติราษฎร์ ต.นาวังหิน อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี เนื้อที่ 230 ไร่ เมื่อวันที่ 4 มกราคมที่ผ่านมา

กรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าว บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด สำนักงานตำรวจแห่งชาติและธนาคารทหารไทย ร่วมกันดำเนินโครงการหมู่บ้านเกษตรสันติราษฎร์บนพื้นที่ 230 ไร่ เพื่อใช้ประโยชน์ในการสร้างอาชีพเสริมจากการเกษตร และให้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง โดยมีข้าราชการตำรวจชั้นผู้น้อยเข้าร่วมโครงการ 31 นาย

โครงการ หมู่บ้านเกษตรสันติราษฎร์Ž BETFLIX เกิดขึ้นเมื่อปี 2540 โดยเจ้าสัวธนินท์มีโครงการจัดสรรที่ดินและธุรกิจให้กับตำรวจ สภ.เกาะจันทร์ จ.ชลบุรี จากนั้นได้จัดหาที่ดินเนื้อที่กว่า 200 ไร่ พัฒนาจากที่ดินที่แห้งแล้งขาดความสมบูรณ์ในพื้นที่ ต.นาวังหิน อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี จำนวน 230 ไร่

โครงการจัดสรรที่ดินและธุรกิจแบ่งเป็นที่พักอาศัย 50 ไร่ นำมาจัดสรรเป็นบ้านพัก 2 ชั้น บนที่ดินครอบครัวละ 600 ตารางวา สร้างโรงเรือนไก่พื้นเมือง 1 หลัง และทำธุรกิจการเกษตร มีการสนับสนุนการปลูกผัก เลี้ยงกบและเลี้ยงสุกร ภายใต้การดูแลของบริษัท เกษตรสันติราษฎร์ จำกัด ครอบครัวตำรวจทั้ง 31 ครัวเรือนเป็นผู้ถือหุ้น

สำหรับพื้นที่ปลูกผักตั้งอยู่บนที่ดิน 97 ไร่ ประกอบด้วย โรงเรือนปลูกผัก จำนวน 56 หลัง ช่วงแรกปลูกเมล่อนและองุ่น ปัจจุบันได้พัฒนาเป็นการผลิตต้นกะเพราครบวงจร และยังส่งเสริมให้เกษตรกรรอบๆ โครงการจำนวน 75 ครอบครัวปลูกต้นกะเพรา

เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการกล่าวว่า กะเพรา 1 ไร่ สามารถสร้างรายได้ถึง 40,000 บาท ผลผลิตจะส่งเป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารแก่บริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้แก่ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ซีพีแรม จำกัด ในอนาคตจะมีการปลูกผักชนิดอื่นๆ เพื่อสร้างรายได้ อาทิผักสลัด มะเขือเทศ และพริก ได้มีการดำเนินการแล้วในพื้นที่บางส่วน

นอกจากนี้ ยังส่งเสริมการเพาะเลี้ยงกบบนที่ดิน 13 ไร่ สร้างเป็นบ่อเลี้ยงจำนวน 168 บ่อ ผลผลิตส่งจำหน่ายในประเทศและต่างประเทศโดยมีตลาดส่งออกสำคัญคือ ฮ่องกง และสิงคโปร์

ส่วนอาชีพการเลี้ยงสุกรดำเนินการบนพื้นที่ 56 ไร่ มีโรงเรือน 10 หลัง เป็นฟาร์มสุกรขุนสายพันธุ์ซีพี คูโรบูตะ สามารถผลิตสุกรขุนได้ 16,000 ตัว/ปี ดำเนินธุรกิจโดยบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ในรูปแบบของการเช่าที่ดิน ปัจจุบันยังมีสัญญาดำเนินธุรกิจต่อไปอีก 5 ปี หลังจากนั้น ทรัพย์สินทั้งหมดในส่วนนี้จะเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท หมู่บ้านเกษตรกรรมสันติราษฎร์ จำกัด ข้าราชการตำรวจที่ได้เข้าร่วมโครงการถือหุ้นทั้งหมด 31 รายจะได้เป็นเจ้าของอีกด้วย