สนใจการดำเนินงานในเรื่องของการปลูกข้าวหอมมะลิอินทรีย์

และการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชนบ้านโนนสวรรค์ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ จังหวัดหนองบัวลำภู ได้จัดงาน ท่องไปกิน…อินทผลัม ท่องเที่ยววิถีเกษตรหนองบัวลำภู เมืองน่าอยู่น่าเที่ยว เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังวิกฤตโควิด-19 เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา ณ ไร่คุณอนันต์อินทผลัม บ้านหนองแวง หมู่ที่ 3 ตำบลกุดดู่ อำเภอโนนสัง โดย คุณสมเจตน์ จงศุภวิศาลกิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภู เป็นประธานเปิดงาน

คุณกมล โสพัฒน์ เกษตรจังหวัดหนองบัวลำภู ได้กล่าวถึงอินทผลัมว่า อินทผลัม 1 ต้น สามารถทำรายได้ต้นละประมาณ 10,000 บาท (ให้ผลผลิตปีที่ 2-3) แต่หลังจากนั้นผลผลิตจะเพิ่มขึ้นและรายได้จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อาจถึงต้นละ 20,000-30,000 บาท หากปลูกระยะ 6×6 เมตร จะได้ 45 ต้น/ไร่ มีรายได้ไร่ละหลายแสนบาท ซึ่งมากกว่าการปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง พร้อมได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงานว่า

เปิดโอกาสให้ส่วนราชการ ภาคเอกชน และเกษตรกรชั้นนำ ได้มาเยี่ยมฟาร์ม พร้อมรับความรู้ บอกเล่าประสบการณ์ การผลิต และการตลาดอินทผลัม จากเจ้าของฟาร์มที่ประสบผลสำเร็จ
เพื่อตอบวิสัยทัศน์ จังหวัดหนองบัวลำภู เมืองน่าอยู่ น่าเที่ยว โดยการประชาสัมพันธ์ เชิญชวน นักท่องเที่ยวในจังหวัดและต่างจังหวัดให้มาเที่ยวให้มากขึ้น ซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจ และเป็นการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังวิกฤติโควิด-19 อีกด้วย
ภายในงานได้กำหนดกิจกรรม

จัดเป็นสถานีถ่ายทอดความรู้ 2 สถานี ได้แก่ เทคนิคการผลิตอินทผลัม เทคนิคการผสมเกสรและการตลาดอินทผลัม
ชมสภาพการผลิต ชิมและซื้ออินทผลัมไปฝากญาติๆ ผู้เข้าร่วมงานจะมีค่าใช้จ่าย คนละ 200 บาท จะได้รับอินทผลัม 2 เส้น เส้นละ 12 ผล และรับประทานอาหารกลางวัน การจัดงานครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมงาน จำนวน 210 คน สร้างความพึงพอใจให้กับผู้ร่วมงานมากพอสมควร โดยได้รับความร่วมมือจากองค์การบริหารส่วนตำบลกุดดู่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างดียิ่ง

คุณสมเจตน์ จงศุภวิศาลกิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภู กล่าวว่า จังหวัดหนองบัวลำภู มีรายได้ต่อหัวประชากรต่ำที่สุดของประเทศ จึงคิดหาวิธีที่จะยกระดับรายได้ให้สูงขึ้น ซึ่งได้เริ่มดำเนินการหลายอย่าง เช่น การปลูกข้าวโพดหวาน การเลี้ยงไก่พื้นเมือง ฯลฯ และอินทผลัม ก็เป็นสินค้าอีกตัวหนึ่งที่น่าสนใจ มีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของจังหวัดหนองบัวลำภู และที่สำคัญรายได้ดีกว่าการทำนาข้าว อ้อย มันสำปะหลัง หลายเท่าตัว น่าจะมีการปลูกเพิ่มมากขึ้น แต่ปลูกคนละไม่ต้องมาก ทั้งนี้ ควรปลูกควบคู่หรือผสมผสานกับพืชเศรษฐกิจอื่นๆด้วย เพราะในอนาคตหากอินทผลัมล้นตลาดจะมีรายได้จากสินค้าตัวอื่นด้วย รวมทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วย

ปรับที่นามาปลูกอินทผลัม
กว่าจะประสบผลสำเร็จต้องล้มลุกคลุกคลาน
คุณอนันต์ ส่วนเสมอ อายุ 37 ปี เจ้าของไร่คุณอนันต์อินทผลัม อยู่ที่บ้านเลขที่ 313 หมู่ที่ 3 บ้านหนองแวง ตำบลกุดดู่ อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู ซึ่งเป็นสถานที่จัดงาน ท่องไปกิน… อินทผลัม ในครั้งนี้ ให้ข้อมูลว่า ตนทำงานอยู่ บริษัท แอลจี ประเทศไทย จำกัด ที่บ้านมีพื้นที่ 46 ไร่ เป็นที่นาทั้งหมด เดิมคุณพ่อ คุณแม่ ทำนา แต่ละปีเมื่อถึงฤดูทำนาจะส่งเงินมาเป็นค่าใช้จ่าย จ้างดำนา 20,000-30,000 บาท ปุ๋ยเคมี 40,000-50,000 บาท ค่าเก็บเกี่ยว 40,000-50,000 บาท รวมประมาณ 100,000-130,000 บาท แต่ละปีขายได้ 150,000-200,000 บาท บางปีประสบภัยแล้ง น้ำท่วม ก็ขาดทุน จึงเปลี่ยนแนวคิดและตัดสินใจขุดสระน้ำและนำดินมาถมที่นา จากนั้นจึงปลูกอินทผลัม ลองผิดลองถูก ประสบปัญหามากมาย ในที่สุดก็ประสบผลสำเร็จ

ปัจจุบัน ปลูกอินทผลัม 16 ไร่ ประมาณ 500 ต้น แบ่งเป็นเพาะเมล็ด 200 ต้น ที่เหลือเป็นต้นตัวผู้, สายพันธุ์เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (พันธุ์บาฮี) 80 ต้น (ให้ผลแล้ว) และปลูกใหม่ (พันธุ์บาฮี) 30 ต้น โดยอินทผลัมจะให้ผลผลิตหลังปลูก 3 ปี หลังจากนั้นผลผลิตจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อาจถึงต้นละ 100 กิโลกรัม ซึ่งที่ไร่แห่งนี้เพิ่งให้ผลผลิตมา 2 ปี ราคาขาย กิโลกรัมละ 300-1,200 บาท ปีนี้ผลผลิตรวมกว่า 4 ตัน

คุณอนันต์ บอกอีกว่า ภายหลังจากอินทผลัมเริ่มให้ผลผลิตแล้ว จะต้องดูแลสวนเป็นอย่างดี มีการบริหารจัดการทั้งการผลิต การตลาด จึงให้พี่ชาย (คุณคมสันต์ ส่วนเสมอ โทร. 092-592-9792) ที่ทำงานเอกชนลาออกมาทำสวนอินทผลัม อย่างเต็มตัว

คุณคมสันต์ ส่วนเสมอ ให้ข้อมูลว่า อินทผลัมนั้น มีทั้งชนิดรับประทานผลสด ผลสุก และแปรรูป ที่ตนเองปลูกเป็นพันธุ์รับประทานผลสด ระยะปลูกมีหลายระยะ เช่น 8×8 เมตร (25 ต้น/ไร่) 6×6 เมตร (45 ต้น/ไร่) ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการ การปลูกเริ่มจากขุดหลุมขนาด 80x80x80 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยอินทรีย์คลุกเคล้ากับหน้าดินให้เข้ากัน ปล่อยไว้ 2-3 วัน จากนั้นนำต้นพันธุ์ลงปลูก ให้น้ำให้ชุ่มอยู่เสมอ ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือสูตรเสมอ ทุกเดือน 1-2ช้อน ควบคู่กับปุ๋ยอินทรีย์ (ขี้ไก่) เมื่อต้นโตให้ใส่ในปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

เมื่ออายุ 2 ปีเศษ ก่อนถึงระยะออกดอก (เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม) ให้ใช้ปุ๋ยสูตรเร่งดอก ได้แก่ สูตร 16-20-0ผสมยูเรีย หลังจากนั้น อีก 1 เดือน ใส่ปุ๋ยสูตร 8-24-24 อัตรา ต้นละ 1-2 กิโลกรัม (ทางดิน) และใช้ทางใบ สูตร 0-52-34 อัตรา 1 กิโลกรัม ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ 1-2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน จะทำให้ออกดอกดีขึ้น พอใกล้จะออกดอก (ก่อนออกดอก 7 วัน) ให้ใช้ผงชูรส ห่อละ 5 บาท ผสมน้ำ 20 ลิตร ผสมไข่ไก่ 10 ฟอง นมสดพาสเจอไรซ์ 2 กล่อง เอ็ม 150 จำนวน 2 ขวด และยูเรีย 1 กิโลกรัม ละลายน้ำให้เข้ากันฉีดพ่น 2 ครั้ง (ก่อน 09-00 น.) ห่างกัน 7 วัน และในช่วงนี้ต้องตัดหนามที่ก้านใบ โดยใช้กรรไกรตัด เพื่อให้เราเข้าไปดูแลได้สะดวกขึ้น

เทคนิคการเก็บเกสรตัวผู้และการผสมเกสร
เนื่องจาก อินทผลัม จะแยกต้นตัวผู้และตัวเมีย โดยปกติต้นตัวผู้จะออกดอกก่อนต้นตัวเมียราว 2 สัปดาห์ และจะทยอยออกดอกไปเรื่อยๆ ต้นตัวเมียก็จะทยอยออกจั่น (ช่อดอก) ไปเรื่อยๆ ให้ผลระยะแรกอาจออกจั่น 4-5 จั่น/ต้น ปีต่อไป 10-15 จั่น และเพิ่มขึ้นทุกปี ในการผสมเกสรหากปล่อยให้ผสมเกสรตามธรรมชาติจะทำให้ติดผลน้อย ดังนั้น จึงต้องช่วยในการผสม การผสมเกสรมี 2 วิธี คือ

การผสมเกสรสด คือการตัดช่อดอกเกสรตัวผู้ที่บานแล้ว (จะมีละอองเกสรจำนวนมาก) ในการตัด ให้ใช้ถุงพลาสติกสวมทั้งช่อดอก แล้วมัดปากถุงตรงโคนช่อดอก แล้วตัดตรงโคนช่อดอก การสวมถุงพลาสติกจะเป็นการป้องกันการฟุ้งกระจาย การหลุดร่วงของละอองเกสรขณะตัด เมื่อตัดแล้วนำช่อเกสรตัวผู้มาเคาะใส่ยอดเกสรตัวเมียที่เริ่มบานเช่นเดียวกัน ปกติเกสรตัวเมียจะบานเป็นเวลาประมาณ 4 วัน ต้องผสมภายใน 4 วันนี้เท่านั้น ช่วงเวลาในการผสม ควรทำในช่วงเช้าไม่เกิน 09-00 น. ใน 1 ช่อดอกตัวผู้ สามารถนำไปผสมกับช่อดอกตัวเมียได้ 2-3 ช่อ หรือมากกว่า หรือ ต้นตัวผู้ 1 ต้น ต่อตัวเมีย ประมาณ 10 ต้น วิธีนี้เหมาะสำหรับฟาร์มที่มีต้นตัวผู้เยอะ
การเก็บละอองเกสรไว้ใช้นานๆ (เมื่อต้องการ) เมื่อเกสรตัวผู้ออกช่อเริ่มบาน ให้นำถุงพลาสติกมาสวมทั้งช่อ แล้วใช้เชือกรัดที่ปากถุงตรงโคนช่อ เพื่อป้องกันละอองเกสรตัวผู้ฟุ้งกระจาย แล้วใช้กรรไกรตัด จากนั้นนำไปตากแดดให้แห้ง 1 แดด แล้วเคาะให้ละอองเกสรออกเยอะๆ จากนั้นนำไปผสมกับแป้งเค้ก ในอัตรา เกสรตัวผู้ 3 ส่วน ต่อแป้ง 1 ส่วน จะทำให้เก็บรักษาได้นาน โดยเก็บใส่ขวดไว้ (หากไม่ผสมแป้ง ละอองเกสรตัวผู้จะจับตัวกันและเน่าเสีย) เมื่อต้นตัวเมียออกช่อพร้อมผสมเกสร ให้นำเกสรตัวผู้ที่เก็บไว้แล้วมาผสม โดยใช้แปรงทาสีแตะที่เกสรตัวผู้แล้วนำมาเคาะที่ยอดเกสรตัวเมีย

หลังจากผสมแล้ว 3-4 สัปดาห์ ให้ห่อผลด้วยถุงกระดาษเคลือบมันสีขาว เพื่อไม่ให้ถูกแสงแดดจนเกินไป และป้องกันการทำลายของแมลงศัตรู จากนั้นอีก 1 เดือน ห่อด้วยถุงสีน้ำตาล

การตัดแต่งผล จะตัดแต่งช่อและผลออก เพื่อไม่ให้ติดผลมากจนเกินไป โดยจะให้มีผลเหลือที่ก้าน ก้านละ 20-25 ผล และมี 45-50 ก้าน ใน 1 ช่อ หลังผสมแล้ว 100-120 วัน ให้ใส่ปุ๋ยหวาน สูตร 13-13-21 หรือ 13-0-46 ต้นละ 1-2 กิโลกรัม เมื่อครบ 120 วัน ใส่เกลือแกง 3-4 กำมือ โรยรอบๆ ต้น จากนั้นอีกประมาณ 20-30 วัน ก็เก็บเกี่ยวได้

คุณคมสันต์ และ คุณอนันต์ บอกอีกว่า ปัจจุบัน ทำนา 20 ไร่ ผักหวานป่า 5 ไร่ สระน้ำ 3 ไร่ (5 สระ) และอินทผลัม 16 ไร่ ด้านการตลาดนั้น ส่วนใหญ่ขายออนไลน์ และมีผู้บริโภคมาซื้อที่สวน ซึ่งได้เปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวให้ท่านที่สนใจมาเยี่ยมชม ชิม และซื้อสินค้าด้วย สำหรับเทคนิคการปลูกการดูแลรักษาอินทผลัมให้ประสบผลสำเร็จนั้นมีอีกมาก ยินดีที่จะถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้กับท่านที่สนใจ รวมทั้งท่านที่ต้องการต้นพันธุ์ที่จะปลูกติดต่อได้ที่ คุณอนันต์ โทร. 082-684-2126 คุณคมสันต์ โทร. 092-592-9792

ท่านที่เคารพครับ จะเห็นว่า อินทผลัม ผลไม้ที่มีถิ่นกำเนิดแถวตะวันออกกลาง ที่คนไทยไม่คุ้นเคยกับการบริโภค แต่เชื่อว่าวันนี้คนไทยเริ่มรู้จักมากขึ้น รับประทานมากขึ้น รวมทั้งคุณประโยชน์ก็น่าสนใจ เช่น บำรุงร่างกาย เพิ่มพลังขจัดความเมื่อยล้า เพิ่มน้ำหนักตัวในกลุ่มคนที่มีน้ำหนักน้อยเกินไป บำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง ป้องกันกระดูกพรุน ลดน้ำตาลในเลือด บำรุงสายตา ควบคุมระบบประสาท ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ เพราะมีสารฟิลกูลินช่วยการบำรุงน้ำเชื้อของเพศชายได้ดี เป็นต้น

อินทผลัมเป็นพืชที่ให้ผลตอบแทนต่อไร่สูง จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับเกษตรกร แต่อย่างไรก็ตาม ควรศึกษาข้อมูลให้รอบด้าน อย่าปลูกตามกระแส เพราะในวันข้างหน้า เมื่อเกษตรกรปลูกมาก จัดการผลผลิตตนเองไม่ได้ จะมีปัญหา และที่สำคัญหากตัดสินใจปลูก ควรปลูกควบคู่กับการเกษตรอย่างอื่นหลายๆ อย่างด้วย จะลดความเสี่ยงด้านการตลาดและราคา

เทคโนโลยีชาวบ้านจัดงานใหญ่ประจำปี! “นวัตกรรมใหม่ เพื่อเกษตรกรไทยยุค 5G” ในวันที่ 29 ตุลาคม 2563 ที่ห้องประชุมใหญ่ บริษัท ข่าวสด จำกัด แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร

เดือนตุลาคมของทุกปี เป็นเดือนที่เปรียบเสมือนการเริ่มต้นก้าวเดินในปีต่อมา ของนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน และปีนี้ก้าวเข้าสู่ปีที่ 33 ของการก่อตั้ง

ด้วยนวัตกรรมในภาคเกษตรที่ก้าวกระโดด และด้วยความปรารถนาดีส่งต่อองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมให้กับผู้อ่าน เป็นการคืนกำไร ในโอกาสนี้จึงจัดการสัมมนาขึ้นในหัวข้อ “นวัตกรรมใหม่ เพื่อเกษตรกรไทย ยุค 5G INNOVATION FOR NEW NORMAL” ในวันที่ 29 ตุลาคม 2563 เวลา 13.00-16.00 น. ที่ห้องประชุมใหญ่ บริษัท ข่าวสด จำกัด แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ โดยมีผู้นำด้านนวัตกรรมที่หลากหลายมาผ่อนถ่ายความรู้

โดย คุณอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปาฐกถาพิเศษ หัวข้อนวัตกรรมนำเกษตรไทยรุ่งเรือง จากนั้นนำเข้าสู่การสัมมนานวัตกรรมสร้างอนาคต โดย คุณอรนุช ทัพพสารดำรง รองกรรมการผู้จัดการและผู้บริหารศูนย์วิจัย-พัฒนา ซีพีเอฟ บริษัท เจริญ โภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) คุณวุฒิชัย ชะนะมา เจ้าของผลิตภัณฑ์ “บานาน่า โซไซตี้” เมืองสองแคว และ คุณวีรพงศ์ สุโอสถ จากฟาร์มลุงแดง เมล่อน & ผักสลัด จังหวัดปทุมธานี ต่อด้วยการสัมมนาในหัวข้อฝ่าวิกฤตเกษตรจากห้องปฏิบัติการ โดย ดร.เกรียงไกร โมสาลียานนท์ นักวิจัยห้องปฏิบัติการสรีรวิทยาและชีวเคมีด้านพืช ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ BIOTEC และ คุณสุภัทร เมฆิยานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สำนักวิจัยและพัฒนา บริษัท เจียไต๋ จำกัด

จึงขอหยิบยกตัวอย่างผู้นำด้านนวัตกรรมการเกษตร มาไว้ให้อ่านเบื้องต้น บานาน่า โซไซตี้ ยกระดับ กล้วยตากบ้านๆ

สู่ แบรนด์เวิลด์คลาส ด้วย พาราโบล่าโดม บานาน่า โซไซตี้ (Banana Society) แปลตรงตัว คือ สังคมกล้วย ซึ่งหมายถึงกระบวนการที่เกี่ยวกับกล้วยแบบครบวงจร และนี่คือชื่อของบริษัท ซึ่ง คุณวุฒิชัย ชะนะมา ผู้จัดการกล้วยตาก “Banana Society” ก่อตั้งขึ้น

จากเดิมเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกล้วยตากบุปผา ที่เริ่มจากกิจการกล้วยตากภายในครัวเรือน โดยคุณแม่เป็นหัวเรือใหญ่ ทั้งผลิตเอง ส่งกล้วยสุกให้ลูกบ้านผลิต แต่คัดคุณภาพ เพื่อนำไปส่งขายตามร้านค้าต่างๆ ในจังหวัดพิษณุโลก กระทั่งจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจชุมชนกล้วยตากบุปผา เดิมก่อตั้งและจดทะเบียนเมื่อปี พ.ศ. 2548 ภายใต้แนวคิด ต้องการเปลี่ยนรูปแบบกระบวนการผลิตกล้วยตากแบบดั้งเดิมให้ได้มาตรฐานระบบการผลิตอาหารปลอดภัย เพื่อยกระดับสินค้าสู่สากล ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) โดยมีทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยศิลปากรออกแบบสร้างเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์กรีนเฮ้าส์ หรือพาราโบล่าโดม เพื่อลดการปนเปื้อนของกล้วยน้ำว้า อันเกิดจากการตากแดดในที่โล่งแจ้ง อีกทั้งช่วยให้กล้วยมีสีผิวสม่ำเสมอ คงไว้ซึ่งรสชาติที่ดีกว่ากรรมวิธีดั้งเดิม

คุณวุฒิชัย ยอมรับว่า พบปัญหาอีกหลายประการกว่าจะพัฒนามาให้พาราโบล่าโดมได้ผลดี ใช้เวลาต่อเนื่องมาอีกเกือบ 2 ปี คุณวุฒิชัย เล่าว่า ก่อนหน้าการจดทะเบียนเป็นบริษัท Banana Society กลุ่มอยู่ในรูปของวิสาหกิจชุมชนกล้วยตากบุปผา และใช้แบรนด์กล้วยตากบุปผามาโดยตลอด เมื่อเริ่มนำพาราโบล่าโดมเข้ามาใช้ จึงมองถึงนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อให้ได้กล้วยตากที่มีมาตรฐาน ต้องการการยอมรับในแบบสากล จึงปรับเปลี่ยนระบบการผลิต จากเดิมตากบนลานตากหรือแคร่ ให้เป็นการตากกล้วยในพาราโบล่าโดม เพื่อให้มีความเป็นสากลและได้มาตรฐาน

พาราโบล่าโดม จะช่วยให้กล้วยตากที่ได้ปลอดจากแมลง ฝุ่น มีความสะอาด ทั้งยังช่วยย่นระยะเวลาจากเดิมที่ต้องตากกล้วยนานถึง 7 วัน ลดลง เหลือเพียง 4-5 วัน ต่อการตากกล้วย 1 ครั้ง ซึ่งช่วยได้ดีในช่วงฤดูฝน ที่การตากกล้วยประสบปัญหามาก ที่นอกจากจะตากกล้วยไม่แห้งตามระยะเวลาแล้ว อาจเกิดเชื้อแบคทีเรียสะสมในกล้วย ก่อให้เกิดปัญหาเน่าเสีย ระยะเวลาจัดเก็บเพื่อบริโภคค่อนข้างน้อย นอกจากนี้ การตากกล้วยในช่วงระยะเวลาที่แดดน้อย จะทำให้กล้วยสีดำเข้ม และสีไม่สม่ำเสมอ สีออกมาไม่สวย ไม่น่ารับประทาน

“พาราโบล่าโดม ทำให้ปัญหาที่ผมต้องการแก้หมดไป โอกาสเกิดความสูญเสียน้อยมาก ไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์” บานานา โซไซตี้ นับเป็นกล้วยตากบางกระทุ่มแห่งแรก ที่นำพาราโบล่าโดมมาใช้ในการตากกล้วยให้ได้มาตรฐาน

“อย่างที่ผมบอก หลังติดตั้งพาราโบล่าโดมแล้ว ยังประสบปัญหา ซึ่งต้องเรียกว่าอยู่ในขั้นทดลองนานต่อเนื่องมาอีก 2 ปี กว่าจะได้มาตรฐานการผลิต โดยการลงทุนโรงเรือนพาราโบล่าโดมต่อแห่งอยู่ที่ 800,000 บาท ถือว่าไม่สูง เมื่อเทียบกับกำลังการผลิตที่ทำให้สามารถผลิตกล้วยตากได้มากถึง 1,400 กิโลกรัม ต่อวัน ภายในพื้นที่ 160 ตารางเมตร”

ไอเดียมากมายผุดขึ้นในความคิดของคุณวุฒิชัย สมัคร GClub V2 ที่มองเห็นช่องทางการตลาด เขาเห็นว่า การขายกล้วยตากแบบเดิมไม่ว่าจะที่ไหนก็สามารถผลิตได้ แม้ว่ากล้วยตากที่ผลิตได้จากบริษัทของเราจะมีคุณภาพก็ตาม ไม่นานก็จะมีแหล่งผลิตอื่นสามารถทำได้เช่นเดียวกัน จึงมองตลาดให้ไกลกว่านั้น โดยคิดค้นกล้วยตากรสชาติใหม่ๆ เช่น กล้วยตากเคลือบช็อกโกแลต อัลมอนด์ ชาเขียว สตรอเบอรี่ และอีกหลายรสชาติ เพื่อตีตลาดในกลุ่มที่ไม่ได้ชอบรสชาติกล้วยตากธรรมชาติแต่อย่างเดียว

ความสำเร็จของ Banana Society ได้รับการยอมรับและคัดสรรให้เป็นผลิตภัณฑ์โอท็อป ซึ่งนอกเหนือจากครองตลาดในประเทศแล้ว ยังส่งออกไปต่างประเทศ สัดส่วนการส่งออกก่อนประสบภาวะโควิด-19 มีมากถึงร้อยละ 35 ของยอดการผลิตทั้งหมด

Plant Factory หรือ Vertical Farming System-Plant Factory with Artificial Lighting (PFAL) นวัตกรรมในการทำการเกษตรรูปแบบใหม่ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูงและสม่ำเสมอ มีความแข็งแรงปราศจากโรค แมลง สารเคมีปนเปื้อน และมีเสถียรภาพในการผลิต โดยไม่ขึ้นกับฤดูกาลแห่งผลผลิต และปัจจัยของธรรมชาติ

Plant Factory คือ โรงงานผลิตพืช เป็นระบบการปลูกพืชที่ควบคุมสภาพแวดล้อมในการเพาะปลูก ได้แก่ แสง อุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และสารละลายธาตุ ช่วยให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูง ได้ผลผลิตสม่ำเสมอ Plant Factory มีการใช้เทคนิค Soilless Culture ในการปลูกพืช เช่น ระบบไฮโดรโปนิกส์ คือการปลูกพืชโดยให้รากแช่อยู่ในสารละลายโดยตรง สารละลายธาตุอาหารจะไหลผ่านในรางปลูกพืช โดยใช้ปั๊มดูดสารละลายให้ไหลผ่านรางมาที่รากพืช และไหลเวียนกลับมายังถังเก็บสารละลาย

ข้อแตกต่างระหว่าง Plant Factory กับ ระบบไฮโดรโปนิกส์ คือ ระบบ Plant Factory สามารถปลูกพืชในแนวตั้งได้หลายชั้น อาจมากถึง 10 ชั้น ซึ่งเป็นการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เหมาะกับสถานที่ที่มีพื้นจำกัด โดยชนิดพืชที่เหมาะสมในการปลูกด้วยระบบ Plant Factory ได้แก่ กลุ่มพืชอาหารหลัก เช่น ข้าว ข้าวสาลี มันฝรั่ง และอ้อย กลุ่มพืชเพื่อสุขภาพ เช่น พืชผัก และพืชสมุนไพร รวมถึงไม้ดอก เพื่อเป็นวัตถุดิบสำหรับสกัด “สารสำคัญมูลค่าสูง” ป้อนตลาดยา-อาหารเสริม-เวชสำอาง เสริมจุดแข็งทรัพยากร มุ่งสู่เศรษฐกิจชีวภาพ