สปสช.จ่าย “ยาดีเฟอร์ราซิร็อก”ดูแลคนไข้ธาลัสซีเมียเริ่ม ปี’61

บอร์ด สปสช.มีมติให้ “ดีเฟอร์ราซิร็อก” ยาขับธาตุเหล็กช่วยผู้ป่วยธาลัสซีเมียกลุ่มที่เกิดอาการข้างเคียงหลังใช้ “ดีเฟอริโพรน” เริ่มปี 2561 ตั้งเป้าดูแลผู้ป่วยในระบบบัตรทอง 15,000 คน

เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน นพ. ชูชัย ศรชำนิ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยว่า ในประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคเลือดธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงประมาณ 600,000 คน ผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องได้รับเลือดอย่างต่อเนื่องเพื่อทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยเฉพาะในผู้ป่วยเด็ก แต่การให้เลือดอย่างต่อเนื่องมีผลต่อผู้ป่วยทำให้เกิดภาวะธาตุเหล็กเกินความต้องการของร่างกาย ก่อให้เกิดผลแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่างๆ ได้ เช่น ตับแข็ง เบาหวาน และหัวใจวาย ฯลฯ ดังนั้น ในกระบวนการรักษาต่อเนื่อง ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับยาขับธาตุเหล็กด้วย ซึ่งที่ผ่านมาเด็กจะได้รับยาดีเฟอริโพรน (Deferiprone) ซึ่งเป็นยาขับเหล็กชนิดกินโดยองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ซึ่งคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ได้กำหนดให้สิทธิประโยชน์การรักษาโรคเลือดธาลัสซีเมียครอบคลุมยาดีเฟอริโพรน ตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา

“อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคเลือดธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงมีส่วนหนึ่งที่มีภาวะแพ้ยาดีเฟอริโพรน มีผลข้างเคียงให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดข้อ การทำงานของตับผิดปกติ และระดับเอ็นไซม์ในตับเพิ่มขึ้น เมื่อแพทย์ต้องงดให้ยาดังกล่าวจะทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะธาตุเหล็กเกิน แต่เพื่อให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีคุณภาพชีวิตที่ดี จำเป็นต้องได้รับยาดีเฟอร์ราซิร็อก (Deferasirox) ซึ่งเป็นนวัตกรรมยาที่มีราคาแพงกว่ามาแทน และต้องกินเป็นประจำทุกวัน ที่ผ่านมาผู้ป่วยธาลัสซีเมียกลุ่มนี้เข้าไม่ถึงการรักษาและทุกข์ทรมานจากภาวะความเจ็บป่วย ในปี 2561 บอร์ด สปสช.จึงจัดสรรงบประมาณ 250 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2560 เพื่อจัดหายาดีเฟอร์ราซิร็อกไว้ในสิทธิประโยชน์ดูแลผู้ป่วยธาลัซเมียในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือบัตรทอง

เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ที่ส่วนใหญ่เป็นเด็กเข้าถึงการรักษาที่จำเป็นและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และขยายความครอบคลุมการเข้าถึงการให้เลือดสำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ โดยตั้งเป้าดูแลผู้ป่วยในระบบจำนวน 15,000 คน” นพ. ชูชัย กล่าวรองเลขาธิการ สปสช.กล่าวอีกว่า จากการดำเนินสิทธิประโยชน์ดูแลผู้ป่วยโรคเลือดธาลัสซีเมีย ส่งผลให้มีผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปี 2557 มีผู้ป่วยธาลัสซีเมียในระบบ จำนวน 4,532 ราย ปี 2558 เพิ่มเป็น 9,835 ราย และในปี 2560 เพิ่มเป็นจำนวน 11,439 คน และการขยายการเข้าถึงยาดีเฟอร์ราซิร็อกและการให้เลือดกับผู้ป่วย

ซึ่งบอร์ด สปสช.ได้อนุมัติสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมในปี 2561 จะช่วยให้ผู้ป่วยธาลัสซีเมียเข้าถึงการรักษาเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงเป็นกลุ่มที่ต้องดูแลต่อเนื่อง จึงส่งผลต่อภาระค่ารักษาพยาบาลที่เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเข้าถึงการรักษา โดยในผู้ป่วยเด็ก 1 ราย จะมีค่ารักษาพยาบาลเฉลี่ย 10,500 บาท ต่อเดือน หากรวมตลอดอายุของเด็กจะมีค่าใช้จ่ายในการรักษาประมาณ 6.6 ล้านบาท ต่อคน

นายปวิณ ชำนิประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานพิธีสถาปนาคณะกรรมการสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2560-2561 ที่ภัตตาคารตูลู่ ถนนนันทาราม ตำบลหายยา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีนายเหริน ยี่ เซิง กงสุลใหญ่สาธารณรัฐประชาชนจีนประจำเชียงใหม่ พล.อ. เจน คีรีทวีป ประธานที่ปรึกษาสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ นายอิทธิฤทธิ์ กิ่งเล็ก ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย นายนพดล จริภักดิ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ นายบุญทา ชัยเลิศ นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวเชียงใหม่ พร้อมผู้ประกอบการท่องเที่ยว ร่วมพิธี

นายปวิณกล่าวว่า สถานการณ์ท่องเที่ยวเชียงใหม่ เมื่อปี 2559 มีนักท่องเที่ยวกว่า 9.6 ล้านคน สร้างรายได้ 86,000 ล้านบาท ปีนี้คาดว่ามีนักท่องเที่ยวเกิน 10 ล้านคน ทำรายได้ 90,000 ล้านบาท คิดเป็น 10% ของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ของเชียงใหม่ ซึ่งจังหวัดใช้คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) ผลักดันขับเคลื่อนส่งเสริมและพัฒนาท่องเที่ยวแบบบูรณาการ ตามนโยบายท่องเที่ยววิถีไทยและอารยธรรมล้านนาที่สืบทอดมากว่า 720 ปี รายได้ท่องเที่ยวของเชียงใหม่สูงเป็นอันดับ 5 ของประเทศ ปีหน้าตั้งเป้าเพิ่มรายได้ท่องเที่ยวเป็นอันดับ 4 ของประเทศ

นายอิทธิฤทธิ์ กล่าวว่า คณะกรรมการบริหารสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่เป็นคนหนุ่มสาว เชื่อว่าสามารถผลักดันขับเคลื่อนท่องเที่ยวเชียงใหม่ และจังหวัดใกล้เคียงไปในทิศทางเดียวกัน พร้อมเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวเขตภาคเหนือตอนบน 1 คือ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง และแม่ฮ่องสอน โดยเชียงใหม่มีศักยภาพสูงที่รองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านลุ่มน้ำโขงอาเซียน โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจีนเข้ามาท่องเที่ยวและจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น

นายเหริน ยี่ เซิง กล่าวว่า มีนักท่องเที่ยวจีนเข้าไทยรวม 9.5 ล้านคน สร้างรายได้ทั่วประเทศกว่า 90,000 ล้านบาท ปี 2559 มีชาวจีนมาท่องเที่ยวเชียงใหม่ 1.5 ล้านคน ปีนี้เชื่อว่ามากกว่าปีที่ผ่านมา เพราะนโยบายรัฐบาลจีนต้องการเชื่อมโยงประชาชนทั้งด้านท่องเที่ยว การศึกษา และเศรษฐกิจไปพร้อมกัน สังเกตจากมีการขยายสนามบิน มีสายการบินตรงสู่เชียงใหม่เพิ่มขึ้น มีโรงแรมเกิดใหม่หลายแห่ง และชาวเชียงใหม่ต้อนรับดี

พิจิตร – นายสมชัย สิบหย่อม เกษตรกรชาวนา ต.หนองโสน อ.สามง่าม เผยว่าเกษตรกรเป็นลูกค้าของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมนาข้าวจากน้ำยม และน้ำป่า จังหวัดพิจิตรประสบภัยอย่างนี้มา 2-3 รอบในปีนี้ ภาวะน้ำท่วมขังยังไม่คลี่คลายยังคงท่วมขังบ้านเรือน นาข้าวเสียหาย ชาวนาหมดตัวแทบอดตายไม่มีเงิน หนำซ้ำยังมีหนี้สินทั้งของ ธ.ก.ส. ค่าปุ๋ย ค่ายา ค่ารถเกี่ยว หนี้นอกระบบ

จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาล หรือ ธ.ก.ส.ช่วยเหลือ พิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ย ปรับโครงสร้างหนี้ หรือพักชำระหนี้อย่างน้อย 3 ปี เพื่อช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรผู้ประสบน้ำท่วม เพราะส่วนใหญ่มีหนี้สินจากการกู้ยืมเงิน ธ.ก.ส.มาลงทุนทำนา แต่ปีนี้นาข้าวที่เป็นความหวังเดียวของเกษตรกร กลับถูกน้ำท่วมเสียหายเกือบทั้งหมด ไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตไปขายได้ และยังไม่รู้จะหาเงินจากที่ไหนมาใช้หนี้ ธ.ก.ส. และหนี้นอกระบบ ตอนนี้ ธ.ก.ส. มีหนังสือเร่งรัดหนี้แล้ว ส่วนเงินที่รัฐบาลจะช่วยเกษตรกรจ่ายค่าชดเชยให้กับเกษตรกรที่ถูกน้ำท่วมนาข้าวเสียหาย เมื่อจ่ายแล้วก็อยากให้จ่ายเป็นเงินสดจะนำไปลงทุนในการทำนาครั้งใหม่ หากมีการจ่ายผ่าน ธ.ก.ส. ก็ต้องหักชำระหนี้ ชาวนาจะเอาตรงไหนมาลงทุน ทำนาข้าวแต่ละครั้งตกไร่ละประมาณ 4,000- 5,000 บาท หรือจะให้เกษตรกรเป็นหนี้ต่อไป หากรัฐบาลมีความจริงใจที่จะช่วยเหลือชาวนา ขอให้มีการประสานไปทาง ธ.ก.ส.ว่าเงินชดเชยจำนวนนี้จ่ายโดยตรง ไม่ต้องหัก

ด้านนางสนิท กระโห้ เกษตรกรหมู่ที่ 4 ต.สายคำโห้ อ.เมือง ล่าสุดมีหนังสือแจ้งจาก ธ.ก.ส.ให้ชาวนานำเงินทั้งต้นและดอกเบี้ยไปชำระ ชาวนาก็เข้าใจ เป็นหนี้ก็ต้องชำระ อยากจะวิงวอนภาครัฐ และ ธ.ก.ส.ผ่อนปรนลดดอกเบี้ยบางส่วนได้หรือไม่ เนื่องจากชาวนาได้ข้าวไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยหากไปใช้หนี้ ธ.ก.ส.หมด ชาวนาจะเอาเงินตรงไหนไปลงทุน

เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน นพ. สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ได้รับรายงานโรคหัดในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-17 พฤศจิกายน 2560 พบผู้ป่วย 2,637 ราย ไม่พบผู้เสียชีวิต กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด คือ แรกเกิด-4 ปี อายุ 10-14 ปี และอายุ 5-9 ปี ตามลำดับ โดยเป็นสัญชาติไทย ร้อยละ 88.6 ต่างชาติ ร้อยละ 11.4 ในรอบสัปดาห์มีรายงานผู้ป่วยโรคหัดเป็นกลุ่มก้อน 1 เหตุการณ์ที่จังหวัดเชียงใหม่ พบผู้ป่วย 48 ราย เป็นชาวพม่า 40 ราย หรือ ร้อยละ 83 โดยพบว่า 44 ราย ไม่เคยได้รับวัคซีน อีก 3 ราย ไม่ทราบประวัติวัคซีน และ 1 ราย ได้รับวัคซีนเพียง 1 เข็ม

“คาดว่ามีโอกาสจะพบผู้ป่วยโรคหัดเพิ่มขึ้น เนื่องจากประเทศไทยเข้าสู่ฤดูหนาวแล้ว ซึ่งอากาศที่เย็นลงทำให้เสี่ยงเจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น โรคนี้พบได้ทุกวัย แต่ที่พบบ่อยคือในกลุ่มเด็กเล็ก โดยเกิดจากเชื้อไวรัส Measles ซึ่งสามารถพบได้ในจมูกและลำคอของผู้ป่วย ติดต่อโดยการไอ จาม หรือพูดกันในระยะใกล้ชิดแล้วเข้าสู่ร่างกายทางการหายใจ อาการคล้ายกับไข้หวัด คือมีไข้ จากนั้นเริ่มมีผื่นนูนแดงขึ้นที่หลังหูแล้วลามไปยังหน้า กระจายตามลำตัว แขนและขา มีน้ำมูกไหล มักจะไอแห้งๆ ตลอดเวลา ตาแดงก่ำและแฉะ อาจพบจุดขาวๆ เล็กขอบสีแดงอยู่ในกระพุ้งแก้ม หลังผื่นผิวหนังลดจะปรากฏเป็นสีแดงคล้ำอยู่หลายวัน” นพ. สุวรรณชัย กล่าวและว่า ส่วนโรคแทรกซ้อนที่พบบ่อย คือ อุจจาระร่วง หูชั้นกลางอักเสบ ปอดบวม สมองอักเสบ โดยเฉพาะในเด็กที่มีภาวะขาดอาหารหรือภาวะทุพโภชนาการ อยู่ในชุมชนแออัดและในศูนย์เด็กเล็ก ทั้งนี้จะต้องรักษาตามอาการ ถ้าผื่นออกแล้ว 3-4 วัน แต่ไข้ยังสูงอยู่หรือว่าไข้ลงวันเดียวแล้วก็ขึ้นอีก มีอาการไอมาก และหอบ แสดงว่าผิดปกติ อาจมีปอดบวมหรือหลอดลมอักเสบแทรกได้ ต้องรีบพาไปพบแพทย์ทันที นอกจากนี้ให้แยกผู้ป่วยที่สงสัยเป็นหัดจนถึง 4 วันหลังผื่นขึ้น

นพ. สุวรรณชัย กล่าวว่า วิธีที่ดีที่สุดคือการไปรับวัคซีนเพื่อป้องกันโรค โดยเด็กเล็กควรรับวัคซีนรวมป้องกันโรคหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน (MMR) ให้ครบ 2 ครั้ง เมื่ออายุ 9-12 เดือน และ 2 ปีครึ่ง รวมทั้งหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วย

เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน ผู้สื่อข่าวจังหวัดหนองคาย รายงานว่า บรรยากาศการท่องเที่ยวในจังหวัดหนองคายเป็นไปอย่างคึกคัก มีนักท่องเที่ยวทั้งในจังหวัดหนองคายและจากจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ ทยอยเดินทางไปชมทะเลหมอกเหนือลำแม่น้ำโขงสองฝั่งไทย-ลาว ทั้งที่ภูห้วยอีสัน ภูหนอง ภูผาดัก และภูโล้น ในเขตตำบลบ้านม่วง อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย ในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ จำนวนมาก โดยเฉพาะที่ภูห้วยอีสัน มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาชมทะเลหมอกกันตั้งแต่เช้า มีทะเลหมอกเกิดขึ้นหนาแน่นอย่างสวยงามเป็นวันแรกในรอบสัปดาห์ ท่ามกลางอุณหภูมิที่ยอดภู อยู่ที่ 15-16 องศาเซลเซียส นอกจากภูห้วยอีสันแล้ว ที่ภูผาดัก ภูบ้านหนอง และภูโล้น ที่อยู่ใกล้กันก็สามารถชมทะเลหลอกที่สวยงามได้เช่นกัน

ที่ศูนย์ฝึกอบรมและวิจัยทางการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา หรือสวนเกษตร 100 ไร่ ข้างสวนสัตว์นครราชสีมา ตำบลไชยมงคล อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากส่วนใหญ่เป็นกลุ่มครอบครัว และบรรดาวัยรุ่นได้เดินทางมาเที่ยวชมและถ่ายรูปเซลฟี่ทุ่งดอกทานตะวันที่กำลังออกดอกบานสะพรั่งเต็มพื้นที่ 10 ไร่

กระทรวงอุตสาหกรรมเด้งรับโครงการเมืองต้นแบบ “สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ผ่าน ศอ.บต. เชื่ออีก 6 เดือนผุดเมืองต้นแบบเกษตรอุตสาหกรรม 3.6 พันไร่ ลงทุน 1.2 หมื่นล้านบาท ในพื้นที่เซฟตี้โซน

นายสุรพล ชามาตย์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยในฐานะรองโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรมว่า กระทรวงให้การสนับสนุนโครงการเมืองต้นแบบ “สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” เพื่อพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจเฉพาะ นำร่องในพื้นที่ที่มีความพร้อมด้านความปลอดภัย กระตุ้นให้เกิดการลงทุนนำไปสู่การสร้างธุรกิจอุตสาหกรรมอย่างเต็มที่

โดยเฉพาะการขออนุญาตตั้งเป็นเขตประกอบการอุตสาหกรรมของกลุ่มบริษัทปาล์มพัฒนาชายแดนใต้ ที่แจ้งความประสงค์จะพัฒนาพื้นที่ 3,600 ไร่ ให้กลายเป็นเมืองต้นแบบเกษตรอุตสาหกรรม ภายในจะมีโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม โรงงานปุ๋ย โรงงานไบโอแก๊ส โรงงานผลิตวัสดุก่อสร้าง และกำลังยื่นโรงงานแปรรูปน้ำมะพร้าว โดยเป็นไปตามนโยบาย 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายเกษตรแปรรูป เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตจากการสร้างงานและรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ ซึ่ง พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะเดินทางไปเยี่ยมชมพื้นที่เกษตรอุตสาหกรรมแปรรูปโรงงานน้ำมันปาล์ม ที่ ต.บางเขา อ.หนองจิก จ.ปัตตานี ที่ได้รับการคัดเลือกตามโครงการเมืองต้นแบบในการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ หรือ ครม.สัญจร ในวันที่ 28 พ.ย.นี้ ที่ จ.สงขลา

ทางศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) จะนำเสนอความก้าวหน้าของเมืองต้นแบบเกษตรอุตสาหกรรมก้าวหน้าผสมผสาน เป็นการร่วมทุนระหว่างเอกชนรายใหญ่และเอกชนในพื้นที่หลายแห่ง เพื่อดำเนิน 4 ธุรกิจ ในวงเงินประมาณ 12,000 ล้านบาท ได้แก่ ธุรกิจการเกษตร ธุรกิจผลิตไฟฟ้า ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง และธุรกิจบริการ

พร้อมการดำเนินการที่น่าสนใจ คือ 1. การปลูกปาล์ม 5,000 ไร่ มะพร้าว 5,000 ไร่ ทั้งสองเป็นพืชเศรษฐกิจที่ใช้น้ำน้อย โดยเฉพาะมะพร้าว แปรรูปได้ทั้งมะพร้าวน้ำหอมและมะพร้าวกะทิ ซึ่งทางภาคเอกชนมีความต้องการ 2. การปศุสัตว์ เช่น เลี้ยงแพะ ซึ่งสัมพันธ์กับวิถีชีวิตชาวมุสลิม และมาเลเซียที่มีความต้องการเนื้อแพะเพื่อการบริโภค เกษตรกรจะมีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 12,000 บาทต่อการเลี้ยงแพะ 100 ตัว รวมทั้งการเลี้ยงไก่เบตง ที่ตลาดในและต่างประเทศมีความต้องการสูงเช่นกัน และ 3. การตั้งโรงไฟฟ้าชีวมวล

จันทบุรี – นายสมบูรณ์ จริตงาม นายกเทศมนตรีตำบล (ทต.) วันยาว อ.ขลุง เผยว่า บอกว่าโครงการ “ปลูกแคเพื่อพ่อ มะละกอเพื่อแม่” โครงการที่จัดทำขึ้นในครั้งนี้ เพื่อให้ท้องถิ่นร่วมกับชาวบ้านในชุมชน สานต่อแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 ให้เราอยู่อย่างพอเพียง ช่วยเหลือเกื้อกูล พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันใช้พื้นที่ริมถนน เข้าหมู่บ้านทั้ง 2 ฝั่ง ในพื้นที่ ม.8 ต.วันยาว อ.ขลุง จ.จันทบุรี รอบหมู่บ้าน เดิมทีจะเป็นพื้นที่ป่ารก จากนั้นร่วมกันแผ้วถางปรับพื้นที่สร้างแปลงปลูกต้นแค ต้นมะละกอ และต้นขี้เหล็ก เว้นระยะห่างประมาณ 5-10 เมตร ต่อต้น เพื่อให้เปิดเป็นครัวของหมู่บ้าน เมื่อเติบโตจนออกดอก ออกผลชาวบ้านในชุมชนและนอกชุมชน

ทุกวันจะมีชาวบ้านแวะเวียนมาเก็บดอกแค มะละกอ ตลอดจนยอดขี้เหล็ก ไปประกอบอาหารกันไม่เว้นแต่ละวัน โดยเฉพาะดอกแคที่ออกดอกเกือบทุกวัน

เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน น.ต.นพ. บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ปัจจุบันมีโรคที่น่าห่วง คือโรคบีดีดี (Body Dysmorphic Disorder: BDD) หรือโรคคิดหมกมุ่นในรูปลักษณ์ของตนเองมากเกินไป หรือไม่สามารถยอมรับรูปลักษณ์ของตนเองจนเกิดความทุกข์ เครียด วิตกกังวลอย่างซ้ำซาก ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โดยเฉลี่ยพบผู้ป่วยโรคนี้ได้ร้อยละ 1.7 ในผู้หญิงพบ ร้อยละ 1.9 ผู้ชาย ร้อยละ 1.4 “ทางจิตวิทยาเชื่อว่า สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดมาจากค่านิยมความงาม และความเชื่อทางสังคม

จึงพยายามทำทุกทางเพื่อให้เป็นอย่างที่หวัง howlerband.com ประเด็นที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง และอาจทำให้อัตราการป่วยโรคนี้เพิ่มสูงขึ้น คือมีการโฆษณาตามสื่อต่างๆ จำนวนมาก จนเป็นตัวกระตุ้นอยากจะให้ตัวเองดูดี หรือที่นิยมพูดกันว่า ปัง เป๊ะ เว่อร์ เหมือนกับพรีเซ็นเตอร์ ผู้ที่น่าห่วงที่สุด คือผู้ที่ทำแล้วผลไม่เป็นไปตามคาดหวัง ยิ่งก่อให้เกิดความกังวล เครียดจากการคิดหมกมุ่น มีผลกระทบต่อการใช้ชีวิต โดยพบว่ากว่าร้อยละ 90 ลงท้ายด้วยการมีภาวะซึมเศร้า เก็บตัว หลีกหนีสังคม โดยร้อยละ 70 มีภาวะเครียดรุนแรง และพบร้อยละ 20 มีการทำร้ายตัวเองในที่สุด” น.ต.นพ. บุญเรือง กล่าว นพ. ธิติพันธ์ ธานีรัตน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจิตเวชนครสวรรค์ราชนครินทร์ จังหวัดนครสวรรค์ กล่าวว่า ในช่วง 10 ปี ผลการวิจัยในแถบยุโรป อเมริกา

ประชาชนทั่วโลกมีความคิดหมกมุ่นกังวลเกี่ยวกับร่างกายตัวเอง แต่ยังไม่ถึงขั้นป่วยเฉลี่ย ร้อยละ 34 ในผู้หญิงพบได้ ร้อยละ 41 ผู้ชายพบ ร้อยละ 27 และเป็นที่น่าสังเกตว่า ในกลุ่มผู้ชายพบแนวโน้มเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัว จะพบมากในกลุ่มคนโสดอายุ 15-30 ปี ในส่วนของประเทศไทยผู้เชี่ยวชาญคาดว่าสถิติไม่แตกต่างกัน ทั้งนี้ ส่วนของร่างกายที่มีการคิดหมกมุ่นมาก อันดับ 1 ได้แก่ ปัญหาเส้นผม เช่น ผมบาง/หนาเกินไป รองลงมา คือปัญหาเกี่ยวกับจมูก เช่น จมูกไม่โด่ง จมูกเบี้ยว และปัญหาสุขภาพผิว เช่น สิว ปาน ไฝ การสังเกตว่าตนเองหรือคนใกล้ตัวเป็นโรคบีดีดีหรือไม่ ให้พิจารณาว่ามีความกังวลข้อใดข้อหนึ่ง เช่น 1. กังวลว่าคนอื่นจะเห็นความผิดปกติของตัวเอง 2. พยายามปกปิดส่วนนั้นของร่างกายไว้ 3. ส่องกระจกตรวจสอบความผิดปกติบ่อยครั้ง 4. หลีกเลี่ยงการส่องกระจกหรือเงาสะท้อน 5.พยายามอย่างมากที่จะแก้ไขความผิดปกติ หากพบแสดงว่าเริ่มเป็น และแนะนำให้ปรึกษาจิตแพทย์

เชียงใหม่ – นายชาตรี สุวรรณพันธ์ เกษตรกรบ้านสันทราย ตำบลป่าไหน่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ อาชีพเผาถ่านขาย เผยว่าจากการเผาน้ำส้มควันไม้ นั้นผลพลอยได้คือถ่าน เป็นถ่านที่ปลอดจากสารก่อมะเร็งเนื่องจากน้ำมันทาร์ที่อยู่ในเนื้อไม้จะถูกเผาไหม้จนกลายเป็นน้ำส้มควันไม้ จึงปลอดจากสารก่อมะเร็ง ช่วงหน้าอากาศเริ่มหนาวเย็นทำให้ประชาชนนิยมรับประทานหมูกระทะ และอาหารประเภทปิ้งย่าง จึงขายดีไปด้วย ทุกวันนี้เผาถ่านขายเฉพาะในอำเภอพร้าวก็ยังไม่พอขาย มีพ่อค้าจากเมืองเชียงใหม่มาขอซื้อก็ยังไม่ได้ เพราะต้องทำเตาเผาเพิ่มอีก

เคยไปทำงานต่างประเทศเห็นการทำน้ำส้มควันไม้ที่ประเทศฟิลิปปินส์ใช้เตาเผาอีวาเตะ จึงสนใจศึกษาและทดลองสร้างเตาเผาน้ำส้มควันไม้ขาย โดยใช้ไม้ลิ้นจี่ ไม้มะขามและไม้ลำไยเป็นเชื้อเพลิง เนื่องจากเมื่อนำมาเผาเป็นถ่านแล้วจะให้ความร้อนสูงและอยู่ทน

เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน นายธีรยุทธ บุญมี อาจารย์ประจำวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้ประสานเครือข่ายวัฒนธรรมข้าวใหม่ กล่าวในงานเสวนา “มองการณ์ไกลประเทศไทย ทิศทางเกษตรยั่งยืน” ณ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ว่าภาคการเกษตรของไทยถือว่ามีพัฒนาการมาโดยตลอด หากแบ่งเป็นช่วงตามนโยบายของไทยแลนด์ 4.0 ภาคเกษตรของไทยในยุค 1.0 เริ่มต้นในยุครัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 จากการผลิตสินค้าข้วา จนเกือบอีก 100 ปีต่อมา ประมาณปี 2500 ยุคของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ภาคเกษตรถึงขยับเป็นยุค 2.0 เริ่มมีการปลูกพืชเพื่ออุตสาหกรรม อาทิ ข้าวโพด มันสำปะหลัง ปอ และยางพารา รวมทั้งภาคอุตสาหกรรม เริ่มต้นจากผลิตสิ่งทอและสินค้าทดแทนนำเข้า จนถึงปัจจุบันพบว่า ภาคเกษตรไทยยังไม่สามารถก้าวพ้นจากยุค 2.0 ไปสู่ยุค 3.0 ได้ อาจเป็นบางส่วนเท่านั้น เนื่องจากเกษตรกรไทยติดปัญหาหลายเรื่อง โดยเฉพาะการเข้าถึงเทคโนโลยีจากแรงงานวัยหนุ่มสาวลดลง เหลือแต่แรงงานสูงวัย ไม่ชำนาญการใช้เทคโนโลยี ภาคสหกรณ์ไม่มีความเข้มแข็งเพียงพอ เหมือนประเทศในยุโรป