สภาเกษตรกรอุตรดิตถ์ จี้รัฐดูแลหลง-หลินลับแล หลังเสียหาย

จากฝนตกหนัก หนอนระบาดเมื่อวันที่ 27 เมษายน นายบัญชา อรุณเขต ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดอุตรดิตถ์ กล่าวว่า แม้จะเป็นช่วงฤดูร้อน ซึ่งเป็นช่วงที่ผลไม้ อ.ลับแล กำลังออกดอกติดผล โดยเฉพาะทุเรียนพันธุ์หลงลับแล และหลินลับแล เป็นทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองของ อ.ลับแล ที่มีรสชาติอร่อยที่สุดในโลก จึงเป็นที่นิยมของผู้บริโภคอย่างมาก แต่ละปีมักจะมีคำสั่งซื้อมากไม่พอกับความต้องการของผู้บริโภค แต่ปีนี้กลับเกิดฝนตกหนักในพื้นที่ปลูกทุเรียนดังกล่าวและผลไม้ชนิดอื่นๆ ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยจะเกิดขึ้นบ่อยครั้งนัก เกษตรกรจำนวนมากยังไม่ทราบว่าหลังจากนี้ผลผลิตที่ออกมาจะมีคุณภาพหรือปริมาณมากน้อยแค่ไหน

นายบัญชา กล่าวว่า ฝนที่ตกลงมาใส่ดอกผลไม้ของชาวสาวลับแลนั้น ในน้ำฝนจะมีธาตุไนโตรเจนหรือที่ชาวบ้านรู้จักดี คือ ธาตุอาหารที่อยู่ในปุ๋ยยูเรียที่อยู่ในอากาศผสมมาด้วย จะทำให้เกิดการแตกใบอ่อนของทุเรียนและพืชอื่นได้ง่าย ถ้าพืชได้รับปริมาณที่มากเกินไป จะทำให้ลำต้นนำไปเลี้ยงส่วนอื่นมากกว่านำไปเลี้ยงดอกและผลอาจจะไม่ได้ปริมาณที่เพียงพอ ลำต้นก็อาจจะสลัดดอกและผลทิ้งได้ ซึ่งก็หมายความว่า ผลผลิตก็จะเสียหายทันที

“อีกปัญหาหนึ่งที่เกษตรกรจำนวนมากยังไม่มีความรู้เรื่องการจำกัดหนอนเจาะทุเรียนที่สร้างความเดือดร้อนให้กับทุเรียนมหาศาลในแต่ละปี ทำลายชื่อเสียงของทุเรียนลับแลอย่างหนักช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ แม้หน่วยงานจะมีการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันหนอนเจาะทุเรียนหรือหนอนใต้ แต่ยังไม่ครอบคลุมทั้งหมด หรือเกษตรกรที่อบรมไปแล้วก็ไม่นำไปปฏิบัติจริง จึงยังมีหนอนเจาะทุเรียนระบาดในพื้นที่ปลูกทุเรียนของชาวสวน” นายบัญชา กล่าว

ประธานสภาเกษตรกร จ.อุตรดิตถ์ กล่าวว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้จะต้องทำงานเชิงรุกให้มากกว่านี้ โดยการเร่งให้ความรู้ ชี้แจงให้ครอบคลุม 100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งอาจจะสนับสนุนปัจจัยการกำจัด งบประมาณ นักวิชาการ หากมีการระบาดหมายความว่าความเสียหายจะต้องเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นมากชาวสวนก็เดือดร้อน จะมีหน่วยงานใดยื่นมือเข้ามาช่วยหรือเยียวยาให้กับเกษตรกรหรือไม่

“อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญคือ สัปปะรดห้วยมุ่น ต.ห้วยมุ่น อ.น้ำปาด เป็นสัปปะรดที่มีรสชาติอร่อยกว่าสัปปะรดที่ปลูกพื้นที่อื่น บ่อยครั้งที่เกษตรกรชาวสวนเดือดร้อนจากราคาผลผลิตที่ตกต่ำ จนต้องนำมาขายกันเองในตัวเมืองอุตรดิตถ์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องเข้าไปดูแลเรื่องกลไกตลาด ช่วยพยุงราคา หาตลาดแหล่งใหม่ให้กับชาวสวน หากไม่มีก็ควรจะกระจายผลผลิตไปยังพื้นที่ใกล้เคียง หรือส่งเสริมให้มีการแปรรูปให้มากกว่านี้ หรือส่งเสริมให้เกษตรกรวมกลุ่มเพื่อกำหนดราคาขายไม่ใช่ให้พ่อค้าคนกลางเป็นผู้กำหนดราคาเสียเอง ถึงเวลาแล้วที่หน่วยงานจะต้องหันมามองว่าศักยภาพของ จ.อุตรดิตถ์คือ ด้านเกษตรและผลไม้ ไม่ใช่เดินไม่ถูกทางเหมือนที่เป็นอยู่ทุกวันนี้” นายบัญชา กล่าว

วันที่ 27 เมษายน 2560 กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเตือนฉบับที่ 7 เรื่อง“พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน”

ประกาศฉบับดังกล่าวระบุว่า ในช่วงวันที่ 27-29 เมษายน 2560 ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองและ ลมกระโชกแรงเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ กับมีลูกเห็บตกและฟ้าผ่าบางพื้นที่ โดยอากาศจะคลายความร้อนลง มีผลกระทบตามภาคต่างๆ ดังนี้ วันที่ 27 เมษายน 2560 เกิดพายุฤดูร้อนบริเวณ :

ด้านตะวันออกของภาคเหนือ จังหวัดพะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ และนครราชสีมา ภาคตะวันออก จังหวัดสระแก้ว ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

วันที่ 28-29 เมษายน 2560 เกิดพายุฤดูร้อนเพิ่มมากขึ้น และครอบคลุมบริเวณ

ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง ตาก กำพงเพชร พิจิตร สุโขทัย พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดเลย ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ และนครราชสีมา

ภาคตะวันออก จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคกลาง จังหวัดลพบุรี สระบุรี นครสวรรค์ อุทัยธานี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี และราชบุรี รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ในขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ในช่วงวันและเวลาดังกล่าวไว้ด้วย ทั้งนี้บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนจะแผ่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และทะเลจีนใต้ ในช่วงวันที่ 27-29 เมษายน ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น

ประกาศ ณ วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2560 เวลา 05.00 น.

กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไป ใน วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2560 เวลา 11.00 น. ฟาเบียง คอสติเยอร์ นักสำรวจใต้น้ำและนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมระดับแนวหน้าของโลก ผู้ก่อตั้ง “ศูนย์เพื่อการเรียนรู้มหาสมุทรฟาเบียงคอสติเยอร์” ยืนยันว่า “เกรท แบร์ริเออร์ รีฟ” แนวปะการังใหญ่ที่สุดในโลก นอกชายฝั่งตอนเหนือของประเทศออสเตรเลีย และถือเป็นสิ่งมหัศจรรย์ทางธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ตกอยู่ในระยะสุดท้ายของชีวิตแล้วอย่างแท้จริง หลังจากเกิดอาการ “ฟอกขาว” ขึ้นเป็นระยะๆ และสภาพฟอกขาวขนานใหญ่ในเวลานี้ทำให้แนวปะการังอยู่ในสภาพที่เกินที่จะเยียวยาแล้ว

อาการปะการังฟอกขาวเกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทร เพิ่มสูงขึ้นมากถึงระดับที่แนวปะการังไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า ภาวะโลกร้อนเป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาดังกล่าวนี้ขึ้น และทำนายเรื่องนี้เอาไว้ก่อนหน้านี้แล้ว เพียงแต่ไม่คิดว่าสภาพจะรุนแรงและเลวร้ายลงอย่างรวดเร็วถึงขนาดนี้ โดยเชื่อกันในเวลานั้นว่า เกรท แบร์ริเออร์ รีฟ น่าจะอยู่รอดต่อไปได้อีกราว 30 ปี

คอสติเยอร์ เตือนว่า การที่ภาวะโลกร้อนส่งผลถึงขั้นทำลายการอยู่รอดของแนวปะการังได้ นับว่าเป็นเครื่องสะท้อนเป็นอย่างดีว่าสิ่งต่างๆที่หลงเหลืออยู่บนโลกนี้อาจล้มตายลงหรือระบบต่างๆล้มเหลวลงได้ในอนาคต เพราะความเสียหายที่เกิดขึ้นจากภาวะโลกร้อนจะไม่หยุดเพียงแค่นี้แน่นอน

คอสติเยอร์ ระบุว่า “เกรท แบร์ริเออร์ รีฟ” เป็นโครงสร้างที่มีชีวิตเพียงอย่างเดียวบนโลกนี้ที่สามารถมองเห็นได้จากห้วงอวกาศ ใช้เวลาในการเจริญเติบโตจนเป็นแนวปะการังมหึมานานหลายแสนปี และเป็นสถานที่บนโลกแห่งหนึ่งซึ่งมีระบบนิเวศที่สลับซับซ้อนมากที่สุด ในเวลานี้ส่วนใหญ่หลงเหลือเพียงซากหินปะการังที่ไม่มีชีวิต ทั้งๆที่ในบริเวณแนวปะการังแห่งนี้มีปะการังชนิดที่เรียกว่า “ฮาร์ด โครอล” ซึ่งสามารถต่อต้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกได้ดีกว่าชนิดอื่นๆ อยู่มากมายหลายร้อยสปีชีส์ภายในระบบนิเวศแห่งนี้ก็ตาม แต่โชคร้ายที่ไม่สามารถเอาชีวิตรอดต่อไปได้จากความผันผวนของอุณหภูมิและปัจจัยประกอบอื่นๆ

อย่างไรก็ตาม คอสติเยอร์กล่าวว่า ธรรมชาตินั้นนับเป็นปรากฏการณ์ที่ยิ่งใหญ่ และการปรับตัวเองก็เป็นหลักการอยู่รอดของธรรมชาติที่สำคัญเช่นเดียวกัน เมื่อสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งตายไป เกิดช่องว่างขึ้นในระบบนิเวศของแนวปะการัง สิ่งมีชีวิตอื่นๆก็จะเข้ายึดครองช่องว่างนั้นทดแทน แต่ไม่ใช่สิ่งที่เราคุ้นเคยกัน หรือเป็นแนวปะการังที่เราเคยเพลิดเพลิน แต่เป็นสิ่งอื่นซึ่งสามารถใช้ช่องว่างที่หายไปเป็นประโยชน์ได้เต็มที่ อาจเป็นปะการังชนิดใหม่ สีใหม่ แต่ที่แน่นอนก็คือระบบนิเวศของมันจะไม่มากมายและซับซ้อนเหมือนที่เคยเป็น

การสูญเสียแนวปะการังแห่งนี้ ตามทัศนะของคอสติเยอร์ ถือเป็นการสูญเสียแหล่งความรู้ที่มนุษย์อาจไม่มีโอกาสได้เรียนรู้อีกแล้ว แม้ว่าในเวลานี้นักวิทยาศาสตร์จะพยายามหาทางแก้ไขภัยคุกคามนี้อยู่ด้วยการทดลองนำโครงสร้างปะการังที่พิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติไปติดตั้งไว้ในทะเลแคริบเบียน, เมดิเตอเรเนียน, อ่าวเปอร์เซียและออสเตรเลีย โดยหวังว่าจะทำให้ “ซูแซนเทลลี” สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ในเนื้อปะการังและทำให้ปะการังมีสีสันหลากหลายและสวยงามจะใช้เป็นที่อยู่และเจริญเติบโตได้

เมื่อถูกรบกวนหรืออุณหภูมิร้อนขึ้น ซูแซนเทลลี จะดีดตัวออกมาจากเนื้อปะการัง ส่งผลให้ปะการังกลายเป็นสีซีดขาวที่เรียกว่าอาการฟอกขาวนั่นเอง

นอกเหนือจากความพยายามสร้างปะการังเทียมจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติแล้ว นักวิทยาศาสตร์ยังพยายามใช้วิชาการช่วย เพื่อให้ปะการังปรับตัวเข้ากับภาวะโลกร้อนให้ได้ แต่คอสติเยอร์เตือนว่า ทั้งหมดนั้นเป็นเพียงมาตรการชั่วคราว ไม่สามารถใช้เป็นการแก้ปัญหาถาวรได้

ยกเว้นว่ามนุษย์จะยุติพฤติกรรมย่ำแย่ที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนลงให้ได้นั่นเอง คุณอาจจะเคยนั่งบนเก้าอี้ไม้ไผ่ สร้างสิ่งของจากไม้ไผ่ และอาจเคยกิน แต่รู้หรือไม่ว่า รถยนต์ของคุณอาจจะเป็นสิ่งต่อไปที่ได้รับประโยชน์จากไม้ไผ่ ถือเป็นหนึ่งในวัสดุธรรมชาติที่แข็งแกร่งที่สุด

ในขณะที่การลงทุนในการวิจัยช่วยให้เราคิดค้นวัสดุใหม่ๆ เช่น คาร์บอนไฟเบอร์ที่ทนทานเป็นพิเศษ และอะลูมิเนียมน้ำหนักเบา วัสดุธรรมชาติก็เติบโตไปในเวลาเดียวกัน ในสวนหลังบ้านของเรานี่เอง “ไม้ไผ่เป็นสิ่งมหัศจรรย์” เจเน็ต ยิน หัวหน้าฝ่ายวิศวกรรมวัสดุ ศูนย์วิจัยและวิศวกรรมฟอร์ดหนานจิง กล่าว “มันแข็งแกร่งแต่ยืดหยุ่น สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ และยังมีอยู่มากทั้งในประเทศจีน และพื้นที่อื่นๆ ในเอเชีย”

ประโยชน์ของไม้ไผ่เป็นที่ยอมรับมานานกว่าศตวรรษ แม้แต่โธมัส เอดิสัน ก็ยังเคยทดลองใช้ไม้ไผ่ระหว่างการประดิษฐ์หลอดไฟหลอดแรกของโลกสำหรับภายในอาคาร ความทนทานจากแรงดึงของไม้ไผ่นั้น เทียบเท่าหรือเหนือกว่าเหล็กบางชนิดเสียอีก และเนื่องจากไม้ไผ่สามารถเติบโตถึงจุดเจริญเติบโตเต็มที่ได้ในระยะเวลาเพียง 2 ถึง 5 ปีเท่านั้น จึงถือว่าเติบโตใหม่ได้อย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับต้นไม้ชนิดอื่นที่ใช้เวลาหลายสิบปี

ในระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา เจเน็ตและทีมทำงานร่วมกับคู่ค้าเพื่อประเมินความเป็นไปได้ในการใช้ไม้ไผ่ภายในตัวรถยนต์ และเพื่อผลิตชิ้นส่วนที่แข็งแรงเป็นพิเศษด้วยการผสานเข้ากับพลาสติก ทางทีมได้ค้นพบว่าไม้ไผ่มีความทนทานยิ่งกว่าทั้งเส้นใยสังเคราะห์และธรรมชาติ ใช้ในการทดสอบต่างๆ ทั้งในแง่ของความทนจากแรงดึงไปจนถึงความสามารถในการรับแรงกระแทก นอกจากนี้ ไม้ไผ่ยังผ่านการทดสอบด้วยความร้อนสูงกว่า 100 องศาเซลเซียส เพื่อให้แน่ใจว่าจะสามารถคงคุณสมบัติอยู่ได้แม้ในภาวะความร้อนสูง

ระหว่างที่การทดสอบคุณสมบัติของไม้ไผ่ยังดำเนินต่อไป ฟอร์ดได้ริเริ่มใช้วัสดุที่มีความยั่งยืนและวัสดุรีไซเคิลในรถยนต์สำหรับตลาดเอเชีย-แปซิฟิก

ก่อนจะถูกนำมาใช้งานจริง วัสดุที่มีความยั่งยืนหรือวัสดุรีไซเคิลเหล่านั้นจะต้องผ่านมาตรฐานระดับโลกของฟอร์ดก่อน สำหรับเอเชีย-แปซิฟิก เจเน็ตเป็นผู้นำทีมที่ทำการทดสอบและวิเคราะห์วัสดุแต่ละชนิด เพื่อให้แน่ใจว่าวัสดุเหล่านั้นดีกว่าและทนทานกว่าวัสดุเดิมที่ใช้อยู่ วัสดุชนิดหนึ่งที่ผ่านการทดสอบและถูกนำไปใช้ในรถฟอร์ดทั่วเอเชียแปซิฟิก คือเส้นใยไนลอนคุณภาพสูงจากโรงงานพรมและเสื้อผ้า ทางทีมได้ใช้เส้นใยไนลอนนี้ผลิตใบพัดลมทำความเย็นในฟอร์ด โฟกัส และฟอร์ด เอสคอร์ท ด้วยการทำงานร่วมกับคู่ค้าเพื่อนำเส้นใยไนลอนหรือเส้นด้ายดิบส่วนเกินนี้มาใช้ มีปริมาณประมาณ 1-3 เปอร์เซ็นต์ของด้ายดิบที่ใช้ในการผลิตทั้งหมดของโรงงานบางแห่ง ฟอร์ดได้ช่วยลดปริมาณเส้นด้ายดิบเหลือทิ้งมากกว่า 700,000 กิโลเมตรต่อปีในทวีปเอเชียแปซิฟิก เกือบเท่ากับระยะทางไป-กลับระหว่างโลกและดวงจันทร์

สิ่งที่น่าประหลาดใจอีกอย่างหนึ่งคือ ฟอร์ดใช้ชิ้นส่วนจากเครื่องซักผ้าทนทานและผ่านการคัดเลือกอย่างพิถีพิถัน เพื่อนำมาผลิตแผ่นเบนทางลมใต้ท้องรถ ช่วยลดแรงต้านลมและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิง สามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายให้แก่เจ้าของรถได้ วัสดุรีไซเคิลไม่ได้จำกัดอยู่เพียงชิ้นส่วนที่มองไม่เห็นจากภายนอกเท่านั้น ฟอร์ดใช้เส้นใยจาก REPREVE ทำมาจากวัสดุรีไซเคิล 100 เปอร์เซ็นต์ เช่น ขวดพลาสติก เพื่อผลิตผ้าบุเบาะที่นั่งในฟอร์ด มอนดีโอ ฟอร์ด เอสคอร์ท และฟอร์ด เอดจ์ ในเอเชียแปซิฟิก จนถึงปัจจุบันการใช้เส้นใยผลิตเบาะจาก REPREVE ของฟอร์ดนั้น ช่วยลดปริมาณการทิ้งขวดพลาสติกได้มากถึงเกือบ 25 ล้านขวด

ในการผลิตแต่ละชิ้นส่วนที่ยกตัวอย่างมานั้น วัสดุดั้งเดิมจะถูกตีเป็นแผ่นบางๆ เพื่อให้สามารถดัดแปลงรูปทรงเป็นชิ้นส่วนที่ใช้ในรถยนต์ฟอร์ด สำหรับวัสดุรีไซเคิลนั้น ก่อนจะกลายเป็นใบพัดลมทำความเย็นและแผ่นเบนทางลม เส้นด้ายและชิ้นส่วนเครื่องซักผ้าจะถูกอัดเป็นเม็ดเรซินทรงกลมขนาดเล็ก ในขณะที่ขวดพลาสติกจะถูกหลอมเป็นเส้นใย PET (พอลิเอทิลีน เทเรฟทาเลต) ก่อนจะกลายเป็นเส้นด้าย และทอเป็นผ้าบุเบาะที่นั่งต่อไป

และเนื่องจากการจินตนาการถึงขวดพลาสติกในเบาะที่นั่งและเส้นด้ายในใบพัดลมเป็นเรื่องยาก บทบาทของเจเน็ตในฐานะผู้สนับสนุนวัสดุเพื่อสิ่งแวดล้อมจึงขยายไปยังนอกห้องวิจัยด้วย

“เวลาที่อธิบายถึงวิธีการใช้วัสดุยั่งยืนและรีไซเคิลในรถยนต์ ถ้าคนฟังไม่รู้สึกชื่นชอบในไอเดียทันที ก็จะต้องการความแน่ใจว่าวัสดุที่ใช้มีคุณภาพสูงจริงๆ การทำงานของทีมไม่เพียงแต่ควบคุมวัสดุให้มีคุณภาพยอดเยี่ยมเท่านั้น แต่ยังแข็งแกร่งและยั่งยืนในทุกแง่มุมอีกด้วย เมื่อเข้าใจถึงกระบวนการต่างๆ แล้ว พวกเขาก็สนับสนุนในไอเดียนี้” เจเน็ตกล่าว
ความมุ่งมั่นในการลด การนำกลับมาใช้ใหม่ และการรีไซเคิล คือส่วนหนึ่งของกลยุทธ์เพื่อความยั่งยืนในระดับโลกของฟอร์ด เพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งขับเคลื่อนการพัฒนาเทคโนโลยีรถยนต์ประสิทธิภาพเชื้อเพลิงสูงทั่วโลก

ในระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา ฟอร์ดได้เพิ่มปริมาณการใช้วัสดุรีไซเคิลที่ไม่ใช่โลหะและวัสดุชีวภาพอย่างต่อเนื่อง เมื่อนับรวมความสำเร็จล่าสุดในการผลิตชิ้นส่วนคอนโซลรถจากเส้นใยเซลลูโลสเสริมแรงและแป้นหูช้างกระจังหน้ารถแบบไฟฟ้าที่ทำจากเปลือกข้าวแล้ว ปัจจุบันฟอร์ดใช้วัสดุชีวภาพในการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์มากถึง 8 ชนิดด้วยกัน โดยตัวอย่างอื่นๆ ที่ใช้ในระดับโลก ได้แก่ วัสดุที่ใช้ส่วนประกอบหลักจากมะพร้าว ส่วนประกอบเส้นใยปอสำหรับผลิตยางขอบประตูด้านใน และโฟมถั่วเหลืองสำหรับผลิตเบาะที่นั่งและพนักพิงศีรษะ
ที่มา : ยานยนต์ มติชนรายวัน

วันที่ 27 เมษายน 2560 นายนเรศ ฝีปากเพราะ เกษตรจังหวัดน่าน เปิดเผยว่า นโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เกี่ยวกับเรื่อง “เกษตรแปลงใหญ่” จ.น่านไม่ได้ส่งเสริมเกษตรกรรายใดทำเป็นแปลงใหญ่ แต่ให้โอกาสกับเกษตรกรรายย่อยที่ผลิตพืชชนิดเดียวกันคนละเล็กน้อย รวมตัวกันบริหารจัดการและรับผลประโยชน์ร่วมกันเป็นกลุ่มหรือวิสาหกิจชุมชน เช่นสวนลำไยต่างๆ รวมกันเอาข้อมูลพื้นฐานมาคุยกัน เพราะแนวทางเกษตรแปลงใหญ่ ตั้งธงไว้ต้องการผลผลิตที่มีคุณภาพ ที่เป็นรูปธรรมชัดเจนคือ ต.พญาแก้ว อ.เชียงกลาง จ.น่าน โดยกระทรวงเกษตรฯให้ขวัญกำลังใจให้กลุ่มที่ทำดีมาประกวดแข่งขันกันทั่วประเทศ เพื่อคัดเลือกเป็นแปลงตัวอย่างและแปลงลำไยของ ต.พญาแก้ว สามารถฟันฝ่าอุปสรรคชนะเลิศ 17 จังหวัดของภาคเหนือ เป็นตัวแทน 1 ใน 4 แปลงเข้าแข่งขันต่อระดับประเทศ

“เป็นเรื่องของการบริหารจัดการ และสุดท้ายคือแปลงลำไยเชียงกลางตอนนี้เนื้อหอมมากเลย เมื่อเราทำผลผลิตให้มีคุณภาพได้ จากที่ผ่านมาเคยรับซื้อจากแปลงพญาแก้วไม่เกิน 5 ล้ง ที่ผู้ซื้อเคยกำหนดราคาให้เกษตรกร ตอนนี้พลิกผันเป็นโอกาสแล้วเพราะรวมกลุ่มกันเข้มแข็ง มีเรื่องนวัตกรรม การตลาดและไอเข้ามาเชื่อมโยง สามารถรวบรวมผลผลิตและมีอำนาจต่อรอง โดยเฉพาะปีที่ผ่านมาพากันขอซื้อลำไยที่ดังกล่าวถึง 16 ล้ง เกษตรกรไปไล่ช็อปดูราคากันก่อนว่าใครให้ราคาเท่าไหร่” นายนเรศกล่าว และว่าอีกส่วนเป็นตลาดลำไยสดที่ซื้อขายกันไว้ล่วงหน้า ดังนั้น จ.น่านจึงขยายผลเรื่องเกษตรแปลงใหญ่ไปแล้ว 41 แปลง ในจำนวนนี้มีกลุ่มปลูกข้าว 6 แปลง มาสมัครกับอนุกรรมการพัฒนาการเกษตรระดับจังหวัด และคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายแบบเบ็ดเสร็จของกระทรวงเกษตรฯ หรือซิงเกิลคอมมาน (เอสซี) หลังให้องค์ความรู้และจัดระบบให้เขาแล้ว สามารถลดต้นทุนและลดสารเคมีที่ไม่จำเป็นลง ปลูกให้เหมาะสมกับพื้นที่หรือ “โซนนิ่งบายอกรีแม็บ” นายนเรศ กล่าว

เกษตรจังหวัดน่าน กล่าวว่า เคยใช้พันธุ์ข้าวในนาหว่านถึง 20-30 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อหันมาทำนาแบบถูกวิธีก็ใช้เพียงไม่เกิน 10 กิโลกรัมต่อไร่ ยิ่งทำนาดำแบบต้นข้าวเส้นเดียวแล้ว ใช้ไม่เกิน 300 กรัมเท่านั้น ไม่ว่าเกษตรกรจะปลูกข้าวไว้บริโภคเอง สำหรับขายเมล็ดพันธุ์หรือขายข้าวให้ตลาด ในกระบวนการแปลงใหญ่นี้ยังทำให้ผลผลิตมีความปลอดภัยด้วย เพราะเราตรวจสอบย้อนกลับ แนะนำให้ใช้สารเคมีอย่างถูกต้องเหมาะสม เก็บเกี่ยวผลผลิตตามกำหนดเวลา เมื่อต้นน้ำสามารถทำผลผลิตได้มีคุณภาพ ปลายน้ำหรือตลาดก็จะมีลูกค้าเข้ามาจองข้ามปี เช่นวิสาหกิจชุมชนบ้านยอด อ.สองแคว ผลิตมะนาวส่งให้บริษัทสยามแม็กโคร จากเมื่อ 2 ปีก่อนยังเป็นศูนย์ ปัจจุบันมีเงินทุนหมุนเวียน 3 ล้านกว่าบาท มีเครื่องคัดมะนาวแทนแรงงาน ส่วนการส่งเสริมปลูกกล้วยและได้ของบจากยุทธศาสตร์จังหวัดไว้ ส่งจำหน่ายให้บริษัท รวมถึงกาแฟ หม่อนไหม ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มะขามเปรี้ยวฝักโต เงาะ สวนส้มสีทองชื่อดังแบบอินทรีย์ ล้วนเป็นความสำเร็จเรื่องนโยบายแปลงใหญ่แบบ จ.น่าน

วันที่ 27 เมษายน 2560 นายทวี นริสศิริกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เปิดเผยว่า จากการเกิดสถานการณ์น้ำท่วมรุนแรงในพื้นที่ อ.บางสะพาน เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา จังหวัดตั้งคณะทำงานเพื่อวางแนวทางป้องกันแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งอย่างยั่งยืน โดยขณะนี้ได้สั่งการให้โครงการชลประทานจังหวัดเร่งจัดทำแผนงานโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดกลางเพิ่ม 2 แห่ง คืออ่างเก็บน้ำคลองลอย ความจุ 17 ล้านลูกบาศก์เมตร ( ลบ.ม.) และอ่างเก็บน้ำไทรทองความจุ 13 ลบ.ม เพื่อกักเก็บน้ำที่ไหลหลากจากเทือกเขาตะนาวศรีไม่ให้ไหลเข้าท่วมพื้นที่อำเภอบางสะพานกรณีที่เกิดภาวะฝนตกหนัก คาดว่าต้องใช้งบประมาณกว่า 900 ล้านบาท โดยให้จัดทำแผนงานให้เสร็จในเดือนพฤษภาคมนี้ เพื่อเร่งศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างก่อนขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากส่วนกลาง และงบพัฒนาจังหวัด ในปีงบประมาณ 2561 ซึ่งจะเป็นโครงการต่อเนื่อง ขณะที่ในระยะเร่งด่วนได้มีการสำรวจเส้นทางน้ำในพื้นที่ทั้งหมดแล้ว

ด้านนายอภิชาต ชาญธัญกร ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงประจวบคีรีขันธ์ กล่าวว่า ขณะนี้แขวงทางหลวงฯ ได้จัดทำโครงการรวมใจต้านภัยแล้ง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนที่ขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคในพื้นที่ 8 อำเภอ โดยได้สั่งการให้หมวดทางหลวงในสังกัดเตรียมพร้อมรถบรรทุกน้ำจำนวน 6 คัน ซึ่งปกติใช้ในภารกิจก่อสร้างปรับปรุงเส้นทาง แต่หากมีการประสานงานร้องขอจาก สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย( ปภ.) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ( อปท.) เพื่อนำรถบรรทุกน้ำให้ความช่วยเหลือประชาชน ก็จะมีการปรับเปลี่ยนภารกิจ โดยร่วมกับการประปาส่วนภูมิภาคนำน้ำออกแจกจ่ายให้กับประชาชนทันที

วันที่ 27 เมษายน 2560 ที่บริเวณเชิงเขาน้อยกับเขาตังกวน ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวใกล้กับแหลมสมิหลา เขตเทศบาลนคร เป็นที่อาศัยของลิงแสมหรือลิงหางยาวและฝูงนกพิราบจำนวนมาก ทุกวันที่นี่จะมีฝูงลิงแสมกับฝูงนกพิราบมาอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ เพื่อรอรับอาหารจากนักท่องท่องเที่ยวที่มาซื้ออาหารให้

สำหรับฝูงลิงและฝูงนกพิราบจะยื้อแย่งอาหารที่นักท่องเที่ยวโปรยให้โดยไม่มีใครยอมใคร จนกลายเป็นอีกหนึ่งสีสันของการท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวสามารถชมได้อย่างใกล้ชิดในทุกๆวัน โดยเฉพาะลิงซึ่งค่อนข้างเชื่องและไม่ทำร้ายนักท่องเที่ยว แต่ได้มีการแจ้งเตือนให้นักท่องเที่ยวอย่างสัมผัสกับสัตว์โดยตรง โดยเฉพาะนกพิราบซึ่งเสี่ยงที่จะติดเชื้อโรคไข้สมองอักเสบ

นายสมชาย เมฆาอภิรักษ์ อดีตรองนายก ทน.สงขลากล่าวว่าประชาลิงและนกพิราบของน้อยและเขาตังกวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จะส่งผลกระทบต่อการขาดแคลนอาหารโดยเฉพาะหน้ามรสุม เพราะจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวน้อยลง จะสร้างความเดือดร้อนกับประชาชนที่อยู่เชิงเขา ตนได้เสนอแนะให้ปศูสัตว์เข้าไปควบคุมประชากรลิงและนกพิราบ

วันที่ 26 เมษายน 2560 ที่สวนบัวอมรรัตน์ ในหมู่ 10 ต.วัดจันทร์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก นายธรรมรงค์ สิริพัฒนา อายุ 53 ปี เจ้าของสระบัวอมรรัตน์ ได้ดูแลบำรุงสระบัวพันธุ์วิคตอเรีย หรือชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า “บัวกระด้ง” ซึ่งใบใหญ่ 1-2 เมตร หลังจากเริ่มมีสาหร่าย พันธุ์ไม้น้ำขยายเพิ่มมากจนกระทบต่อการแตกใบและแตกดอกของบัวพันธุ์วิคเตอเรีย ที่พยายามผุดพ้นเหนือน้ำ

นายธรรมรงค์กล่าวว่า ในช่วงนี้มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาชมสวนบัวมากเฉพาะในช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ ในวันธรรมดามีบ้างแต่ไม่มากนัก แต่ก็มีมาแวะชมเรื่อยๆ ก็เป็นส่วนหนึ่งในการให้กำลังใจเจ้าของสวน แม้ว่าสภาพอากาศที่ร้อนจัดก็ไม่มีผลต่อการขยายพันธุ์ การแตกหน่อ ผลิดอกออกใบของบัวแต่อย่างใด สระบัวยังสามารถอยู่ได้ พร้อมมีให้นักท่องเที่ยวชมตลอดทั้งปี ซึ่งการที่นักท่องเที่ยวน้อยลงทางสวนก็มีการพัฒนาสระบัว ขุดขยายสระเพิ่มพื้นที่ปลูกบัวให้มากขึ้น เพื่อรองรับคณะนิสิตนักศึกษา 2 มหาวิทยาลัยใหญ่ที่จะรับปริญญาในปลายปีจะได้มีสถานที่สวยๆ ไว้ถ่ายรูป เพื่ออวดกันในโลกโซเชียลมีเดีย

“นอกจากนี้ พื้นที่ปลูกบัวพันธุ์วิคเตอเรีย เพิ่มขึ้นแล้ว ทางสวนยังได้นำพันธุ์บัวนำเข้าจากต่างประเทศหลากหลายสีสัน และหลากหลายพันธุ์ ส่วนใหญ่เป็นบัวสาย ที่จะออกดอกบานได้ตลอดทั้งวัน ขณะที่บัวสายของไทยจะออกดอกบานเฉพาะช่วงเช้าเท่านั้น โดยสระบัวนี้จะเป็นจุดให้นักท่องเที่ยว สามารถนั่งเรือเพื่อลงไปถ่ายภาพกับบัวสีสันต่างๆ ที่ชื่นชอบได้อย่างใกล้ชิด” นายธรรมรงค์กล่าว

นายธรรมรงค์กล่าวอีกว่า ตนเองยึดตามแนวหลักเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 ในการหันมาทำเกษตรปลูกต้นไม้หลากหลายชนิด แต่ช่วงนี้เน้นการปลูกบัวพันธุ์วิคตอเรีย และบัวสายพันธุ์อื่น โดยเพาะขยายพันธุ์ขายหน่อบัว พร้อมกับนำพื้นที่กว่า 8 ไร่ เป็นจุดท่องเที่ยวชมบัวแปลกสีสันสวยงามหลากหลายสายพันธุ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศจุดใหญ่ที่สุดของจังหวัดพิษณุโลกอีกด้วย

วันที่ 26 เมษายน นางอรสา อาวุธคม nforcershq.com ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานประจวบคีรีขันธ์นำคณะสื่อมวลชนเดินทางไปที่ศูนย์ศึกษาธรรมชาติบึงบัว อุทยานสามร้อยยอด เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวจากความงดงามของบึงบัวธรรมชาติในพื้นที่ชุมน้ำหรือแรมซาร์ไซต์ที่มีความสำคัญระดับโลก แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศชื่อดังในพื้นที่ อ.สามร้อยยอด หลังจากหลายปีที่ผ่านมาประสบปัญหาภัยแล้งอย่างหนักทำให้สภาพน้ำภายในบึงบัวแห้งขอดและมีผลกระทบกับระบบนิเวศวิทยา แต่ล่าสุดมีระดับน้ำในบึงบัวสูงกว่า 80 เซนติเมตร (ซม.) ทำให้พืชพันธุ์ไม้น้ำหลากหลายชนิด และบัวสายพันธุ์พื้นเมืองเริ่มฟื้นตัว รวมทั้งเป็นที่อยู่อาศัยของนกประจำถิ่น

สำหรับการเดินทางไปบึงบัวสามร้อยยอด หากเดินทางจาก อ.หัวหิน ไปตามถนนเพชรเกษมขาล่องใต้ จากนั้นเลี้ยวซ้ายบริเวณทางแยกเข้าวัดสามร้อยยอด ผ่านทางรถไฟ ถึงศูนย์ศึกษาธรรมชาติระยะทาง 14 กิโลเมตร (กม.) เส้นทางที่มีความสวยงามเป็นสถานที่ยอดนิยมในการถ่ายทำภาพยนตร์โฆษณาทั้งของไทยและต่างประเทศ สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการชมความงามของบึงบัว ไม่ต้องเดินทางไปถึงที่ศูนย์ศึกษาธรรมชาติโดยจะต้องจ่ายค่าผ่านอุทยานคนละ 40 บาท

ส่วนการเข้าพื้นที่ ให้จอดรถบริเวณริมถนนหน้าโรงเจลุ่ยอิมยี่ที่มีรูปปั้นนกกระเต็น จะมีเรือของชาวบ้านรอให้บริการรวม 6 ลำ ลำใหญ่นั่งได้ 5 คน ลำเล็ก 3 คน ค่าบริการคนละ 150 บาท จากนั้นชาวบ้านจะใช้ไม้ถ่อเรือพาไปชมบึงบัวระยะทางห่างจากฝั่งราว 7 กม.ใช้เวลาเดินทางประมาณ 30 นาที จะพบดอกบัวสีบานเย็นออกดอกบานสะพรั่ง โดยเฉพาะบัวหลวง และนกน้ำนานาชนิดและวิวมุมกว้างของเทือกเขาสามร้อยยอด การเดินทางจะใช้เวลาไปกลับราว 2 ชั่วโมงครึ่ง การเดินทางปลอดภัยเนื่องจากมีระดับน้ำสูงเฉลี่ย 80 ซม.หากสนใจติดต่อเรือได้ที่ ป้าหนู หมายเลขโทรศัพท์ 08-7008-1538

บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด เปิดตัวเว็บไซต์ www.kubotasolutions.com ศูนย์รวมข้อมูลด้านการเกษตรแบบครบวงจร ชูจุดเด่นด้วยองค์ความรู้ KUBOTA (Agri) Solutions ที่นำนวัตกรรมเครื่องจักรกลการเกษตรและการเพาะปลูกที่มีประสิทธิภาพมาให้เกษตรกรและบุคคลทั่วไปได้ศึกษา เรียนรู้ และนำเทคนิคต่างๆ ไปประยุกต์ใช้ในการเกษตรของตนเอง พร้อมเปิดให้ใช้งานได้แล้วตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

นายสมศักดิ์ มาอุทธรณ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ การจัดการโครงการ บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า ภายหลังจากบริษัทฯ ได้ดำเนินโครงการ KUBOTA (Agri) Solutions มาได้ระยะหนึ่ง จึงได้พัฒนาต่อยอดที่จะนำองค์ความรู้มาเผยแพร่ออกสู่สาธารณชน จึงได้จัดทำเว็บไซต์ www.kubotasolutions.com เพื่อเป็นคลังความรู้ให้แก่เกษตรกรและบุคคลทั่วไปได้เข้ามาสืบค้น และนำไปพัฒนาการเกษตรของตนเอง รวมทั้งยังใช้เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการนำเสนอเทคนิคต่างๆ ด้านการเกษตรและการจัดการเครื่องจักรกลการเกษตรด้วย

“ในปัจจุบันเศรษฐกิจภาคการเกษตรมีการแข่งขันที่สูงขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรต้องใช้แนวทางทำการเกษตรแบบลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต จึงจำเป็นที่จะต้องใช้องค์ความรู้หลายด้าน ไม่เพียงเฉพาะด้านการเกษตรอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังอาศัยองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการเครื่องจักรกลการเกษตรที่นำมาใช้ในขั้นตอนต่างๆ ในระบบเกษตรกรรมด้วย เช่น การเตรียมดิน การปลูก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยวผลผลิต การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวและการขนส่งผลผลิต ดังนั้น เว็บไซต์ www.kubotasolutions.com จึงเข้ามาช่วยตอบโจทย์นี้ เนื่องจากมีข้อมูลข่าวสารด้านการเกษตรหลายด้าน อีกทั้งยังมีรายละเอียดของโครงการ KUBOTA (Agri) Solutions จากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ร่วมมือกับสยามคูโบต้าอีกด้วย” นายสมศักดิ์ มาอุทธรณ์ กล่าวเพิ่มเติม