สภาเกษตรกรแห่งชาติ ร่วมกับ อิสราเอล จัดงานแสดงนวัตกรรม

การเกษตรนายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า จากการที่ นายดะกัน อโลนี ที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจและการค้า สถานเอกอัครราชทูตอิสราเอล เข้าพบเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2562 เพื่อหารือแนวทางการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเกษตรระหว่างประเทศอิสราเอลกับเกษตรกรไทย โดยทางประเทศอิสราเอลจะจัดให้ผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีระบบจัดการน้ำ การจัดการฟาร์ม เพื่อการเกษตรมาประเทศไทยเพื่อพบกับเกษตรกร ผู้แทนองค์กร ผู้นำเกษตรกรของไทย

“การเติบโตของอุตสาหกรรมการเกษตรประเทศอิสราเอลนั้นเริ่มมาจากความร่วมมือระหว่างนักวิจัย ภาคธุรกิจ เกษตรกร รวมถึงอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ความพยายามเหล่านี้ได้นำไปสู่ความสำเร็จที่ก้าวหน้า ด้วยความสำเร็จนี้ประเทศอิสราเอลได้ทำการตลาดทางด้านเทคโนโลยีด้านการเกษตรผ่านการส่งออกไปยังนานาประเทศทั่วโลก ผลได้ที่รับคือ

การเกษตรสมัยใหม่ผ่านกระบวนการคิด ระบบ และผลิตภัณฑ์ จากประเทศเล็กๆ ที่เกือบทั้งประเทศปกคลุมไปด้วยทะเลทราย เขาก้าวข้ามการขาดแคลนน้ำ ที่ดิน สู่ประเทศอุตสาหกรรมการเกษตร จึงเป็นความน่าสนใจอย่างยิ่ง จึงนำมาสู่การจัดงานแสดงนวัตกรรมการเกษตรอิสราเอล “Israeli Agriculture Roadshow 2019: Implementing Farming 4.0” ในวันอังคารที่ 29 มกราคม 2562 เวลา 13.00 – 16.00 น. ณ ห้อง 303 อาคารวชิรานุสรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กทม. เพื่อการนำความรู้ ประสบการณ์ในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมการเกษตรต่างๆ มาพบกับเกษตรกรไทย” นายประพัฒน์ กล่าว

อย่างไรก็ตาม ในงาน “Israeli Agriculture Roadshow 2019: Implementing Farming 4.0” นี้เกษตรกรไทยจะได้พบกับ ระบบการบริหารจัดการด้านการเกษตรที่ลดความเสี่ยง การพัฒนาผลผลิตอย่างยั่งยืน การใช้งานที่เหมาะสมของอุปกรณ์ ปุ๋ย และเคมีภัณฑ์/เทคโนโลยีทางเลือกไล่ต้อนเข้า – ออกของฝูงโคเพื่อพัฒนาขีดความสามารถของฟาร์ม/ตัวช่วยในการทำชลประทานผ่านความต้องการและข้อจำกัดทางการเกษตร

พืชสวน เรือนกระจก รวมถึงสวนภูมิทัศน์/เรือนกระจกและระบบชลประทานน้ำหยดโดยปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับภูมิอากาศที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่/ระบบชลประทานน้ำหยดแบบใช้น้ำน้อย และเรือนกระจกเพื่ออนาคต ชาวนา ชาวไร่ ได้ผลผลิตสูงสุด กระทบสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด เพื่อการสร้างผลผลิตที่ยั่งยืน/เครื่องจักรกลและเทคโนโลยีที่ใช้หลังการเก็บเกี่ยวและสามารถใช้กับผลไม้สดและผักสดได้หลากหลายชนิด/ผลิตภัณฑ์ที่สามารถยืดอายุของดอกไม้ตัดแต่ง เป็นต้น โดยเกษตรกรและผู้สนใจเข้าร่วมงานสามารถลงทะเบียนล่วงหน้าได้ที่ QR CODE

โดยไม่เสียค่าใช่จ่าย และรับจำนวนจำกัด หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ คุณสุรารักษ์ ไตรราษฎร์ โทร. 02-561-2797 ในเวลาราชการ เอสซีจี ชูผลิตภัณฑ์จากกระดาษรีไซเคิลส่วนหนึ่งของนวัตกรรม Green Meeting สู่การประชุม ASEAN SUMMIT 2019 ที่ จ.เชียงใหม่ ผลักดันการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)

เอสซีจี ร่วมนำเสนอ นวัตกรรม “Green Meeting” ในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งประเทศไทยในฐานะประธานอาเซียนปี 2562 ได้จัดขึ้น ณ จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยการนำผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และผ่านการใช้ในงานแถลงข่าวการเป็นประธานอาเซียน (ASEAN SUMMIT 2019) เมื่อเดือนธันวาคม 2561 ที่ผ่านมากลับมาใช้ซ้ำ ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เพื่อใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่าที่สุด อาทิ ฉากหลังสำหรับถ่ายภาพ

เก้าอี้กระดาษ แท่นบรรยาย กล่องกระดาษสำหรับรับคืนป้ายชื่อคล้องคอ รวมถึงกระเป๋าถุงปูน และตะกร้าสานจากเส้นเทปกระดาษ ที่นำวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิตของเอสซีจีมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่ม เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยรณรงค์สร้างจิตสํานึก และเชิญชวนผู้ร่วมงานร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่ทุกคนสามารถร่วมกันปฏิบัติได้

ในโอกาสเดียวกันนี้ ภายหลังการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการดังกล่าว นายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ยังได้มอบฉากหลังสำหรับถ่ายภาพ เก้าอี้กระดาษ และแท่นบรรยาย ให้กับโรงเรียนบ้านเวียงฝาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ สำหรับหมุนเวียนนำไปใช้ใหม่เป็นสื่อการเรียนการสอนให้เยาวชนตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าด้วย

ก้าวต่อไป เอสซีจี จะยังคงมุ่งสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยการพัฒนาต่อยอดความยั่งยืนโดยใช้ประโยชน์จากทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ผสานกับการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ภายในองค์กร ซึ่งจะช่วยยกระดับกระบวนการดำเนินงานตลอดห่วงโซ่คุณค่า เพื่อเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งให้ธุรกิจเติบโตควบคู่กับการสร้างความยั่งยืนให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ตลอดจนเดินหน้าสร้างความร่วมมือ เพื่อขับเคลื่อนอาเซียนให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก และพร้อมที่จะเป็นหนึ่งในองค์กรต้นแบบที่ช่วยถ่ายทอดและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้แก่ผู้ที่สนใจ ด้วยเชื่อมั่นว่าจะมีส่วนช่วยยกระดับอุตสาหกรรมของประเทศไทยให้เจริญก้าวหน้าต่อไป

เกษตรฯ เผย โครงการสานพลังประชารัฐเพื่อสนับสนุนการปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนา ชี้เกษตรกรให้ความสนใจตอบรับเข้าร่วมปลูกข้าวโพดเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ภายหลังภาครัฐและเอกชนระดมความร่วมมือ ทั้งการเตรียมถ่ายทอดองค์ความรู้ ให้ได้ผลผลิตคุณภาพ สร้างความเชื่อมั่นด้านตลาดและราคา

นายสำราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยถึงความสำเร็จตามแผนบริหารโครงการสานพลังประชารัฐสนับสนุนการปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนาว่า จากที่กรมส่งเสริมการเกษตรได้เริ่มดำเนินการตามกระบวนการ ตั้งแต่การประชาสัมพันธ์เชิญชวนเกษตรกรและองค์กรต่างๆ สำรวจพื้นที่ วิเคราะห์ ตรวจสอบ คัดเลือก รับสมัคร ถ่ายทอดความรู้ ทั้งด้านการแนะนำพันธุ์ปลูกให้เหมาะสมในแต่ละสภาพพื้นที่ การหว่านไถ การบำรุงดูแลต้นพันธ์ุ ตั้งแต่เริ่มการเพาะปลูก ไปจนถึงวิธีการเก็บเกี่ยวอย่างถูกวิธี ให้ได้คุณภาพ ด้วยการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีการปลูกที่ทันสมัย

จนถึงขณะนี้ การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโครงการ อยู่ในระยะการเก็บเกี่ยวผลผลิต ซึ่งจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้ดำเนินการจัดงานวันสาธิตและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดูการทำนาขึ้นเมื่อวันที่ 9 มกราคม ที่ผ่านมา เกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีกำไร เฉลี่ยเมื่อหักต้นทุนแล้วไม่ต่ำกว่า 4,000 บาท ต่อไร่ เมื่อเทียบกับการทำนาปรัง โดยหลังจากหักต้นทุนแล้วจะเหลือกำไรสูงสุดเพียง 600-1,000 บาท ต่อไร่ เท่านั้น

“ โดยใน วันที่ 15 มกราคม 2562 ที่ผ่านมา กรมส่งเสริมการเกษตร ได้ปิดระบบรับสมัครเกษตรผู้เข้าร่วมโครงการสานพลังประชารัฐสนับสนุนการปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนาแล้วฯ 127,316 ราย จำนวน 1,083,156 ไร่ สมัครแล้ว 96,730 ราย จำนวน 815,206 ไร่ และมีเกษตรกรแจ้งความต้องการสินเชื่อเพื่อการลงทุนแล้ว 5 หมื่นราย (ข้อมูล ณ วันที่16 มกราคม 2562) โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จะไม่มีการนำสินเชื่อค้างชำระของเกษตรกรมาเป็นเงื่อนไขในการพิจารณาการกู้ยืมเงิน

สำหรับการรับซื้อผลผลิตนั้น ทางกรมส่งเสริมสหกรณ์และภาคเอกชน ได้เปิดจุดรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากเกษตรกรโดยตรงในทุกอำเภอที่มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ มีสหกรณ์การเกษตรสนับสนุนเปิดจุดรับซื้อ 292 จุด และเอกชนอีก 32 จุด ครอบคลุมพื้นที่ 386 อำเภอ ใน 37 จังหวัด ขณะนี้ ราคาเฉลี่ยของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ความชื้น 14.5% อยู่ที่ 8.29 บาท ซึ่งเป็นราคาที่เกษตรกรพึงพอใจ ลดทอนตามชั้นคุณภาพและระยะทางอย่างเป็นธรรมแก่เกษตรกร โดยกำหนดมาตรฐานในการรับซื้อเดียวกัน ซึ่งมีตารางหักความชื้นของกระทรวงพาณิชย์เป็นเกณฑ์”

“ จากความสำเร็จในครั้งนี้ จึงถือได้ว่าโครงการสานพลังประชารัฐสนับสนุนการปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนา เป็นการปฏิรูปภาคการเกษตรโดยการปรับปรุงโครงสร้างการผลิต ปรับปรุงขั้นตอนวิธีการทำงานของหน่วยงานในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่งผลต่อการสร้างรายได้ที่มั่นคงให้แก่เกษตรกรได้อย่างแท้จริง ก่อให้เกิดอาชีพที่มั่นคง ส่งผลให้ผลผลิตมีความสอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ เกิดเสถียรภาพในการผลิตสินค้า และลดการพึ่งพาจากภายนอกประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรม” อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรกล่าวในที่สุด

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เตรียมจัดงานสัมมนาและลงพื้นที่พบปะเกษตรกรและผู้ประกอบการกาแฟในจังหวัดน่าน ระหว่าง วันที่ 24 – 25 มกราคม 2562 ชี้ช่องทางการใช้ประโยชน์จาก เอฟทีเอ และผลักดันอุตสาหกรรมกาแฟไทยรุกสู่ตลาดโลก

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เปิดเผยว่า กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ร่วมกับสมาคมกาแฟไทย หอการค้าไทย สำนักงานพาณิชย์จังหวัดน่าน และสำนักงานเกษตรจังหวัดน่าน เตรียมจัดสัมมนาและลงพื้นที่พบปะเกษตรกรและผู้ประกอบการกาแฟตลอดห่วงโซ่การผลิต ในวันที่ 25 ม.ค. 2562 ณ โรงแรมน้ำทองน่าน จังหวัดน่าน

เพื่อให้ความรู้และการใช้ประโยชน์จากความตกลง เอฟทีเอ ที่ไทยทำกับประเทศต่างๆ ส่งออกผลิตภัณฑ์กาแฟไทย และนำเข้าวัตถุดิบราคาถูกเพื่อต่อยอด ตลอดจนพัฒนาศักยภาพสินค้ากาแฟไทย ผ่านการแปรรูปและสร้างผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย พัฒนาคุณภาพกาแฟไทยให้ได้มาตรฐาน เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคไทยและต่างประเทศ เพื่อดันอุตสาหกรรมกาแฟไทยเจาะตลาดโลก

การลงพื้นที่และจัดสัมมนาครั้งนี้ ถือเป็นกิจกรรมที่กรมเจรจาฯ จัดต่อเนื่องจาก ปี 2561 ที่ได้ร่วมกับกรมวิชาการเกษตร สำนักงานพาณิชย์จังหวัด สำนักงานเกษตรจังหวัด และสมาคมกาแฟไทย เป็นต้น ลงพื้นที่พบปะเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟทั้งในภาคเหนือที่ จ.เชียงราย และภาคใต้ที่ จ.ชุมพร ซึ่งเป็นแหล่งปลูกกาแฟสำคัญของประเทศไทย ให้ความรู้และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับเกษตรกร ผู้ปลูกกาแฟ ผู้คั่วกาแฟ ร้านกาแฟ ผู้ประกอบการ และผู้ส่งออก เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือการเปิดเสรี ทั้งการเพาะปลูก การผลิต การรักษาคุณภาพ มาตรฐานกาแฟไทยให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค

ซึ่งจากการสัมมนาและลงพื้นที่ในครั้งนั้น ได้ข้อสรุปว่า อุตสาหกรรมกาแฟไทยยังมีโอกาสในการขยายตัวได้อีกมาก เนื่องจากผู้บริโภคกาแฟทั้งในไทยและทั่วโลกมีแนวโน้มที่จะขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ซึ่งไทยในฐานะที่เป็นประเทศที่มีการปลูกกาแฟ และยังเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์กาแฟเป็น อันดับ 6 ของโลก สามารถพัฒนาด้านการผลิต การแปรรูป การสร้างคุณภาพมาตรฐานที่น่าเชื่อถือ และการสร้างอัตลักษณ์เฉพาะให้กับกาแฟไทยเป็นที่รู้จักใน

“สินค้าเมล็ดกาแฟและผลิตภัณฑ์กาแฟ ถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย ไทยมีพื้นที่เพาะปลูกกว่า 258,000 ไร่ ทั่วประเทศ ไทยส่งออกผลิตภัณฑ์กาแฟเป็น อันดับที่ 6 ของโลก โดยผลิตภัณฑ์กาแฟส่วนใหญ่ที่ส่งออก เช่น กาแฟ 3 in 1 และกาแฟสำเร็จรูป ไปประเทศในอาเซียน เช่น เมียนมา สปป. ลาว และฟิลิปปินส์ เนื่องจากการบริโภคกาแฟของโลกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และอุตสาหกรรมกาแฟไทยก็มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องเช่นกัน” นางอรมน กล่าว

พิจารณาจากความต้องการใช้เมล็ดกาแฟของโรงงานแปรรูปในประเทศไทย ในปี 2561 ที่สูงกว่า 95,000 ตันต่อปี เพิ่มขึ้นกว่า 6.08% จากปี 2560 ขณะที่ไทยผลิตเมล็ดกาแฟได้ 23,617 ตันต่อปี จึงมีการนำเข้าเมล็ดกาแฟประมาณ 68,000 ตันต่อปี ซึ่งจากความต้องการกาแฟของโลกที่เพิ่มสูงขึ้นและมีความหลากหลาย ทำให้ไทยมีโอกาสในการส่งออกเมล็ดกาแฟและผลิตภัณฑ์กาแฟเพิ่มมากขึ้นด้วย กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศจึงได้ลงพื้นที่พบปะเกษตรกรและผู้ประกอบการกาแฟตลอดห่วงโซ่มูลค่า เพื่อชี้โอกาสของกาแฟไทยในโลกการค้าเสรี

ทั้งนี้ ผู้สนใจเข้าร่วมการสัมมนา สามารถติดต่อสอบถามและลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ที่ สำนักพัฒนาความพร้อมทางการค้า กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ 0 2507 7222 และ 0 2507 7863 หรือสำนักงานพาณิชย์จังหวัดน่าน 054 771 655

โครงการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ที่ยั่งยืนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากสหภาพยุโรป (EU) เพื่อดำเนินงานด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและความปลอดภัยในภาคการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ในประเทศกัมพูชา สปป. ลาว เมียนมา เวียดนาม และไทย บรรลุเป้าในการช่วยเหลือและสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) กว่า 500 ราย ให้สามารถประหยัดเชื้อเพลิงและเกิดการขับขี่ที่ปลอดภัย มีระบบการขนส่งสินค้าอันตรายที่ปลอดภัย มีการพัฒนาแผนธุรกิจสำหรับการเข้าถึงบริการทางการเงิน ตลอดจนเกิดการตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการขนส่งสีเขียว

ตลอดระยะเวลา 3 ปี ของการดำเนินงาน (ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2559 – มกราคม 2562) โครงการได้ฝึกอบรม SMEs จำนวน 513 ราย ในภูมิภาค ซึ่งครอบคลุมพนักงานขับรถบรรทุกมากกว่า 600 คน ส่งผลให้เกิดการประหยัดเชื้อเพลิงโดยเฉลี่ย ร้อยละ 15.90 สำหรับรถหนักวิ่งเปล่า และร้อยละ 16.86 สำหรับรถหนักบรรทุกสินค้า ในส่วนที่เกี่ยวกับการขนส่งสินค้าอันตราย โครงการได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับกระทรวงคมนาคมของประเทศเป้าหมายต่างๆ เพื่อปรับปรุงกฎระเบียบและข้อบังคับ ส่งผลให้กระทรวงคมนาคมและการสื่อสารของประเทศเมียนมาสามารถออกกฎกระทรวงได้ทั้งหมด 6 ฉบับ อย่างเป็นทางการ ขณะที่กระทรวงของประเทศเวียดนาม กัมพูชา และ สปป.ลาว กำลังแก้ไขพระราชกฤษฎีกาที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้าอันตราย ในแง่ของการสนับสนุนนโยบาย

โครงการยังได้สนับสนุนกระทรวงคมนาคมของประเทศเวียดนาม ในการพัฒนาคู่มือมาตรฐานสำหรับการขนส่งสินค้าสีเขียวและได้ประกาศใช้แล้วเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561 นอกจากนี้ มาตรการด้านการขนส่งสินค้าสีเขียว ยังถูกนำเสนอในวาระ “การมีส่วนร่วมของประเทศ” (NDC) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของประเทศไทย และยังถูกหยิบยกมากล่าวเป็นวาระสำคัญในการประชุม ครั้งที่ 24 ของภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (COP24) ด้วย

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวในพิธีปิดโครงการ ซึ่งจัดขึ้นภายใต้ความร่วมมือระหว่างกระทรวงคมนาคมและสหภาพยุโรปว่า การคมนาคมขนส่ง ถูกยอมรับว่าเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาและบูรณาการเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค เพราะการคมนาคมขนส่งมีบทบาทสำคัญในการขนย้ายสินค้า บริการและประชาชน นอกจากนี้ การคมนาคมขนส่ง ยังช่วยสนับสนุนให้เกิดการเชื่อมโยงเศรษฐกิจของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) ความพยายามผลักดันให้เกิดการพัฒนาถูกดำเนินการผ่านข้อตกลงและกรอบความร่วมมือระดับภูมิภาค เช่น ความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกด้านขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (CBTA) และการอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งของอาเซียน

ซึ่งโครงการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ที่ยั่งยืนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงได้ให้การสนับสนุน 5 ประเทศเป้าหมาย ในการดำเนินงานตามข้อตกลงและกรอบความร่วมมือดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยเอง ก็มุ่งดำเนินงานเพื่อส่งเสริมการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์อย่างยั่งยืน เช่น การขับขี่ที่ปลอดภัยและประหยัดพลังงาน การขนส่งสินค้าอันตรายให้ปลอดภัย

และการพัฒนามาตรฐานสำหรับการให้บริการรถบรรทุก นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมุ่งมั่นในการดำเนินงานตามวาระการประชุมระดับโลกของข้อตกลงปารีส ที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงให้ได้ ร้อยละ 20 เนื่องจากภาคคมนาคมขนส่งถือว่าเป็นภาคที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากเป็นอันดับต้นๆ ความพยายามของเราในการลดการใช้เชื้อเพลิงและลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากโครงการนี้ จึงช่วยสนองต่อความมุ่งมั่นในวาระระดับโลก

ฯพณฯ เปียร์ก้า ตาปิโอลา เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย กล่าวว่า “แผนงาน SWITCH-Asia เป็นหนึ่งในเครื่องมือทางการเงินของสหภาพยุโรปที่จะสนับสนุนประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชีย ให้มีการส่งเสริมการบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืน และจนถึงปัจจุบัน มีโครงการจำนวนกว่า 100 โครงการ ที่ได้รับเงินทุนนี้แล้ว ด้วยการสนับสนุนเงินทุนของสหภาพยุโรป จำนวน 2.16 ล้านยูโร

โครงการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ที่ยั่งยืนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง นับว่าประสบผลสำเร็จในการดำเนินกิจกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงด้วยการมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งของ SMEs ด้านการขนส่ง ส่งผลให้เกิดการประหยัดเชื้อเพลิงโดยรวมเฉลี่ย ร้อยละ 16 และสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วย นอกจากนี้ โครงการยังให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนกระทรวงคมนาคมทั้ง 5 ประเทศ

ในการปรับปรุงกฎระเบียบและข้อบังคับที่เกี่ยวกับการขนส่งสินค้าอันตราย ผลลัพธ์ที่น่าพอใจเหล่านี้ เกิดจากความร่วมมือที่ดีจากพันธมิตรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ SMEs ด้านการขนส่งสินค้า และสมาคมการขนส่งต่างๆ แนวทางการปฏิบัติที่ดีและบทเรียนที่ได้จากการดำเนินโครงการจะถูกนำไปเผยแพร่ต่อเพื่อพัฒนาการขนส่งสินค้าที่ยั่งยืนในภาคการขนส่งให้กว้างขวางและมีประสิทธิภาพมากขึ้น”

โครงการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ที่ยั่งยืนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ได้รับเงินทุนสนับสนุน จำนวน 2.4 ล้านยูโร จากแผนงาน SWITCH-Asia ของสหภาพยุโรปและจากกระทรวงเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (BMZ) โดยมีองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ดำเนินงานหลักและได้รับความร่วมมืออย่างใกล้ชิดจากสถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง (MI) สมาคมขนส่งอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS-FRETA) รวมถึงโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานและการบรรเทาผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภาคการขนส่งทางบกของภูมิภาคอาเซียนของ GIZ

สามพรานโมเดล อะคาเดมี่ (Sampran Model Academy) เปิด 5 เทรนด์น่ารู้ สำหรับผู้บริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ ปี 2562 จากประสบการณ์ทำงานขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ ทั้งงานต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ บวกการศึกษาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของตลาดทั้งในและต่างประเทศ พร้อมเปิด 6 หลักสูตรเข้มข้น รองรับการเติบโตของสินค้าเกษตรอินทรีย์ หวังยกระดับการขับเคลื่อน ขยายพื้นที่ และสร้างฐานสังคมอินทรีย์ให้มั่นคงยั่งยืน

นายอรุษ นวราช ผู้ก่อตั้งสามพรานโมเดล และสามพรานโมเดล อะคาเดมี่ กล่าวว่า จากประสบการณ์ทำงานขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ภายใต้สามพรานโมเดล ช่วง 8 ปีที่ผ่านมา พบว่า การบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง และเกิดความเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจในหลายมิติ โดยเฉพาะใน ปี 2562 มีเทรนด์น่ารู้สำหรับผู้บริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ 5 ประเด็น ที่น่าจับตา ประกอบด้วย

1.ตลาดอินทรีย์มีเฮ ในภาพรวมคาดว่า ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์จะมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องด้วยปัจจัยสนับสนุน เช่น ความตื่นตัวเรื่องภัยสารพิษ และความรู้ ความเข้าใจ เรื่องโภชนาการ และการดูแลตัวเองพร้อมๆ กันกับการร่วมดูแลสังคมสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้น ยังมีการหนุนเสริมของภาครัฐด้วยยุทธศาสตร์พัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ. 2560-2564 รวมถึงการตอบรับของผู้ประกอบการ ที่เล็งเห็นโอกาสสร้างจุดขาย นับเป็นข่าวดีสำหรับผู้บริโภคอินทรีย์ที่จะมีช่องทางเข้าถึงสินค้าอย่างกว้างขวางในราคาจับต้องได้มากขึ้น

2.แปรรูปเป็นเรื่อง (เป็นราว) ในปี 2562 คาดว่า จะพบการเติบโตของสินค้าเกษตรอินทรีย์แปรรูปมากขึ้น โดยเฉพาะหมวดขนม เครื่องดื่มต่างๆ ทำให้ผู้บริโภคอินทรีย์มีทางเลือกที่หลากหลายมากขึ้น และยังเป็นการช่วยสนับสนุนเกษตรกรในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิต โดยมีการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐหลายแห่งที่พร้อมให้งบประมาณกระตุ้นการพัฒนาสินค้า สำหรับรสชาติแนวโน้มไปในทางการคงความเป็นธรรมชาติให้มากที่สุด เช่น การได้ความหวานแบบธรรมชาติ (Natural Sweetness) ที่มีปริมาณน้ำตาลน้อยลง และยังพบกระแสความสนใจสูตร และรสชาติเฉพาะของท้องถิ่น ซึ่งเข้ามาสร้างความแตกต่างตื่นเต้น พร้อมกันกับความรู้สึกว่าได้สนับสนุนคนในชุมชนไปด้วย

3.อินทรีย์ทั้งตัว วิถีอินทรีย์ ไม่ได้มีแค่เรื่องของกิน แต่ยังรวมไปถึงของใช้ เทรนด์โลกพบการเติบโตอย่างสูงของกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับการดูแลตัวเอง เช่น ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ผม และเครื่องสำอาง ด้วยแนวคิดของผู้บริโภคที่ว่า อะไรก็ตามที่มาถึงตัว (ถึงไม่ได้นำเข้าปาก) ก็จะพยายามลด หรือเลี่ยงการใช้สารเคมีให้มากที่สุด จึงเห็นการนำเสนอสินค้าใหม่ๆ ที่ผลิตมาจากวัตถุดิบอินทรีย์ชนิดต่างๆ อย่าง ช็อกโกแลต น้ำผึ้ง สาหร่าย โดยทิศทางไปในการพัฒนาสินค้าพรีเมี่ยม ที่โดดเด่นทั้งในคุณภาพและภาพลักษณ์

4.เชื่อมือจึงเชื่อมั่น ประเด็นความเชื่อมั่นของผู้บริโภคกับสินค้าอินทรีย์ยังคงมีบทบาทสำคัญ แต่แนวโน้มจะเริ่มขยับจากการมองหาตรารับรองต่างๆ เป็นการเปิดกว้างรับเครื่องมือทำงานอื่นๆ เช่น ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม (Participatory Guarantee System หรือ PGS) ซึ่งแสดงให้เห็นได้ถึงความโปร่งใส เป็นธรรมในกระบวนการทำงานของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในห่วงโซ่อินทรีย์ (เช่น เกษตรกร ผู้ประกอบการ) ในปีที่ผ่านมายังมีการก่อตั้งสมาพันธ์เกษตรอินทรีย์ไทย พีจีเอส ที่คาดว่าจะสร้างการรับรู้ระบบนี้อย่างแพร่หลายมากขึ้น

5. บริโภคทวนน้ำ ใครว่าผู้บริโภคต้องอยู่ที่ปลายน้ำในห่วงโซ่อินทรีย์เท่านั้น แนวโน้มปัจจุบันพบความตื่นตัวของผู้บริโภคที่จะมีส่วนร่วม ทั้งในกระบวนการตรวจเยี่ยมแปลงของเกษตรกรต้นน้ำในระบบ PGS การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเวทีเสวนา และหลักสูตรอบรม เช่น ที่พบความสนใจเข้าร่วมกับสามพรานโมเดล อะคาเดมี่ รวมถึงการสนับสนุนกิจกรรมสัมพันธ์กับผู้ประกอบการ เช่น Go Green กับตลาดสุขใจ

อย่างไรก็ตาม คาดว่า ปี พ.ศ. 2562 จะเป็นปีที่เห็นการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์หลากมิติ ซึ่งในส่วนของสามพรานโมเดล ภายใต้กลยุทธ์ Organic Social Movement มีแนวทางชัดเจน ที่จะจุดประกายให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ ร่วมทำงานกับภาคีที่ต้องการองค์ความรู้จากสามพรานโมเดลเพื่อขยายต่อยอด รวมถึงจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงาน นอกจากนี้ ยังจะเป็นปีที่จะได้เห็นพลังของนักขับเคลื่อน Organic Social Mover เพื่อร่วมผลักดันสังคมอินทรีย์สู่ชีวิตที่สมดุล ซึ่งเบื้องต้นมีผู้สนใจสมัครร่วมขับเคลื่อนแล้วกว่าหนึ่งพันคน

สำหรับการเผยแพร่องค์ความรู้สามพรานโมเดล และการสร้างผู้นำร่วมเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงให้ระบบอาหาร ในปีนี้ทางสามพรานโมเดล อะคาเดมี่ ได้เปิด 6 หลักสูตรเข้มข้น รองรับผู้สนใจ เข้ามาเรียนรู้โดยเป็นหลักสูตร 2 วัน 1 คืน ครอบคลุมเรื่องการบริหารจัดการฟาร์มอินทรีย์ การท่องเที่ยววิถีอินทรีย์ ระบบการรับรองอย่างมีส่วนร่วม การสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก และเชิงระบบ โดยหลักสูตรแรกจะเป็นการอบรมขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ในแนวทางสามพรานโมเดล ซึ่งจะจัดขึ้นที่สวนสามพราน ในวันเสาร์-อาทิตย์ที่ 2-3 กุมภาพันธ์ 2562

“หลักสูตรการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ตามแนวทางสามพรานโมเดลนี้สำคัญ และเป็นสิ่งที่เราตั้งใจมาก เพราะหลายคนอยากรู้ว่า เราทำได้อย่างไร อยากรู้ประสบการณ์การทำงานร่วมกับคนต้นน้ำ คือ เกษตรกรอินทรีย์ การเชื่อมโยงตลาด รวมถึงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ การขยายสู่การท่องเที่ยววิถีอินทรีย์ ซึ่งเชื่อว่าหลักสูตรเบื้องต้น ที่เราจะพาทุกคนลงแปลงจริง เจอเกษตรกรตัวจริง นำโจทย์ที่แต่ละคนมี และอยากพัฒนามาคุยกัน ให้เห็นภาพทั้งงานต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ จะทำให้ผู้ที่สนใจ ที่มีใจอยากทำ หรือทำงานด้านการส่งเสริม หรือทำแล้วอยากขยายเชื่อมโยงกับชุมชน หรือกับสามพรานโมเดลได้เข้าใจการทำงานของเรา เข้าใจการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ที่ให้คุณค่า มีความหมายมากกว่าผลผลิต และสามารถนำองค์ความรู้ประสบการณ์ที่จะได้จากเราไปทำได้จริง หรือนำกลับไปปรับปรุงสิ่งที่กำลังทำให้ดีขึ้น” นายอรุษ กล่าว

ผู้สนใจสมัครเข้าร่วมกิจกรรม สามารถขอรายละเอียดหลักสูตร และสอบถามค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้ที่สามพรานโมเดล อะคาเดมี่ “หนู” ที่ถูกจับมาใหม่ๆ กลายเป็นเมนูยอดฮิตในช่วงวันหยุด… ผู้คนต่างแห่ไปที่ตลาดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียที่เป็นตลาดผู้เชี่ยวชาญสำหรับหนูจากเขตในท้องถิ่น

ตลาดที่พูดถึงนี้เป็นตลาดวันอาทิตย์ ในหมู่บ้าน Kumarikata ในรัฐอัสสัม ที่ซึ่งมีเมนูจากหนู ไม่ว่าจะเป็นต้ม ลอกหนังออก หรือปรุงสุกในน้ำซอสเกรวี่แบบเผ็ด ได้รับความนิยมมากกว่าเนื้อไก่ และเนื้อหมู