สมัครรอยัลออนไลน์ สมัครรอยัลสล็อต สมัครรอยัลคาสิโน จีคลับ

สมัครรอยัลออนไลน์ สมัครรอยัลสล็อต สมัครรอยัลคาสิโน จีคลับ คนรุ่นใหม่สร้างรายได้เสริม เพาะเห็ดในท่อซีเมนต์ ประหยัดพื้นที่ ใช้งบน้อย มี 200 บาท ก็ทำได้ ปัจจุบัน ผู้คนส่วนใหญ่หันมาให้ความสำคัญและใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้ที่รักสุขภาพจำนวนไม่น้อยสนใจอยากที่จะปลูกผักเพื่อสุขภาพไว้รับประทานเองที่บ้าน แต่ต้องประสบปัญหาในเรื่องของพื้นที่ ที่มีอย่างจำกัด ครั้งนี้ผู้เขียนได้มีโอกาสได้พูดคุยกับ คุณเขมจิรา กิตติสิทธิการ เกษตรกรโครงการสมาร์ทฟาร์มเมอร์ ได้แนะนำวิธีการเพาะเห็ดที่แสนง่าย มีเงินลงทุนเพียงหลักร้อย ใช้พื้นที่ข้างบ้านก็สามารถเพาะเห็ดได้ ส่วนวิธีการเพาะ การดูแล ก็ทำได้ไม่ยาก งานนี้ได้ทั้งสุขภาพและราคาที่ดีต่อใจ

คุณเขมจิรา กิตติสิทธิการ หรือ คุณเขม อยู่บ้านเลขที่ 60 หมู่ที่ 10 ตำบลธวัชบุรี อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด รู้จักกันในนาม “บ้านสวนเห็ดคุณยาย” โดยก่อนหน้าที่จะมาเพาะเห็ด คุณเขม เล่าให้ฟังว่า ตนได้ผ่านมาหลายอาชีพ ตั้งแต่ทำงานเสริมความงามที่กรุงเทพฯ แต่มีเหตุที่ต้องกลับต่างจังหวัด เพราะแม่ไม่สบาย พอกลับมาอยู่กับแม่ก็เริ่มมองหาอาชีพเพื่อเลี้ยงตัวเอง ตอนนั้นมองว่าอาชีพขายหมูปิ้งนมสดน่าจะดี จึงลองทำดู ช่วงแรกๆ ก็ขายดี อยู่ไปสักพักเหมือนคนตกงานใครก็อยากมาขายหมูปิ้ง เราจึงหยุดการขายหมูปิ้ง หลังจากเลิกขายหมูปิ้งก็ยังไม่หยุดความพยายามแค่นี้ คุณเขมมองเห็นว่าคนในตลาดใครเดินผ่านไปผ่านมา ก็มีถุงเห็ดอยู่ในมือ จึงเกิดไอเดียเพาะเห็ดขายเป็นอาชีพเสริม

ด้วยความคิดว่ากลุ่มคนต้องการบริโภคเห็ดยังเยอะ ตนจึงไปรับก้อนเห็ดเอามาขายในหมู่บ้าน โดยเห็ดที่เริ่มเพาะอย่างแรกคือ เห็ดขอน รับมารอบแรกได้กำไร รอบที่ 2 เกิดปัญหาเห็ดติดเชื้อ ไรไข่ป่า ไรไข่ป่าก็คือตัวที่กินเชื้อเห็ดมันจะขยายได้เร็วมาก ถ้าโดนอากาศร้อนๆ ก็ขาดทุนหมดเลย จึงตัดสินใจไปเรียนที่โครงการลูกพระดาบส ใช้เวลาเรียนเพียง 7 วัน ได้ทั้งการแปรรูป และการอบรมหลักสูตรในการทำเห็ด

อุปกรณ์เพาะเห็ดในท่อซีเมนต์

ท่อซีเมนต์ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 60 เซนติเมตร ราคา 60 บาท
ซาแรน หรือผ้ากระสอบป่าน ไว้คลุมก้อนเห็ด
ก้อนเห็ด 11 ก้อน ราคา ก้อนละ 9 บาท
ไม้ไผ่ ทำเป็นที่วางก้อนเห็ด

วางท่อซีเมนต์พิงกำแพง ผนัง ในลักษณะตะแคง เพื่อให้เก็บความชื้นได้ดี
วางไม้กระดานที่ด้านในท่อซีเมนต์
นำก้อนเชื้อเห็ดวางเรียงในวงบ่อเป็นแนวนอนให้เต็มท่อ เปิดจุกฝาเห็ดออก แล้วรดน้ำ
ใช้ซาแรนหรือผ้ากระสอบป่านคลุม เพื่อไม่ให้มีลมเข้า ทำให้เห็ดแห้ง
รดน้ำเช้า-เย็น แต่ถ้าทำเยอะๆ ต้องการกักเก็บความชื้น ให้รดน้ำ เช้า-กลางวัน-เย็น
จากนั้น 7-10 วัน ดอกจะออกครั้งแรก ในส่วนของผลผลิต เห็ด 11 ก้อน จะให้ผลผลิตประมาณครึ่งกิโลกรัม

การให้ผลผลิตของเห็ดในกรณีที่เพาะน้อยๆ แบบนี้ คุณเขม บอกว่าเราสามารถเก็บผลผลิตได้นานถึง 6 เดือน

เห็ดแต่ละชนิดจะออกอยู่ที่ความชื้น ก้อนหนึ่งถ้าหน้าแล้งเขาจะเลื่อนเวลาออกไปนิดหนึ่ง เห็ดต้องการความชื้น เห็ดที่เหมาะกับการเพาะในท่อซีเมนต์ คือเห็ดกลุ่มนางฟ้า กลุ่มนางรม แต่ถ้าเห็ดขอนจะชอบความร้อน

ข้อดีของการเพาะเห็ดในท่อซีเมนต์ คือเพาะง่าย ประหยัดพื้นที่ ซึ่งถ้าท่านใดมีปัญหาเรื่องพื้นที่ แค่มีชุดเพาะเห็ดเซ็ตนี้จะหมดปัญหาไปเลย
ประหยัดเงิน ต้นทุนต่ำ สำหรับท่านใดอยากที่จะเพาะเห็ดไว้รับประทานเอง ชุดเพาะเห็ดในท่อซีเมนต์เหมาะมาก ใช้เงินลงทุนเพียง 200 บาท
เรื่องเชื้อราหมดห่วงได้เลย เพราะเป็นการเพาะเห็ดในปริมาณน้อย อีกอย่างท่อซีเมนต์สามารถเคลื่อนที่ได้ จากปลูกตรงนี้ แล้วย้ายไปปลูกตรงนั้น การสะสมของเชื้อโรคก็จะไม่มี แต่ถ้าเราทำประจำ การหมักหมมของเชื้อโรคก็จะเยอะตามมา

ที่ฟาร์มเห็ดของคุณเขม ไม่ได้ขายแค่เฉพาะเซ็ตเพาะเห็ดต้นทุนต่ำเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีการผลิตและจำหน่ายก้อนเชื้อเห็ดเอง เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าทุกประเภท ทั้งกลุ่มอยากเพาะเพื่อประกอบอาชีพ หรืออยากเพาะไว้รับประทานเอง ที่นี่ตอบโจทย์ลูกค้าได้ทั้งหมด ราคาก้อนเห็ดทุกชนิด ขายเพียง ก้อนละ 9 บาท ยกเว้นเห็ดเป๋าฮื้อ จำหน่ายในราคาก้อนละ 15 บาท และยังมีเทคนิคการขายจับกลุ่มลูกค้าที่รักสุขภาพ เน้นเห็ด 3 อย่าง หรือ 5 อย่าง

แนะนำสำหรับท่านที่สนใจ

ถ้าลูกค้าหรือท่านใดสนใจอยากเพาะเห็ดเพื่อการค้า หรือเพาะไว้รับประทานเอง คุณเขมจะแนะนำวิธีการปลูกให้ลูกค้า และยังมีตัวอย่างการเพาะเห็ดในท่อซีเมนต์ที่หน้าฟาร์มให้ดู คุณเขม บอกว่า ซื้อก้อนเห็ดจากฟาร์มของคุณเขมไม่ต้องห่วง ไม่มีความรู้มาก่อนก็สามารถทำได้ ทางเจ้าของจะสอนวิธีการดูแล การเปิดหน้าก้อนว่าต้องดูแลยังไง รดน้ำวันละกี่ครั้ง เพราะทุกวันนี้จะมีกลุ่มอาจารย์ หรือผู้ที่ต้องการศึกษาการเพาะเห็ดเข้ามาศึกษาที่ฟาร์มของคุณเขมอยู่เป็นประจำ

“ทฤษฎีใหม่” ทฤษฎีที่ถูกคิดค้นขึ้นโดยใช้แนวคิดแห่งการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและการบริหารงานในการทำการเกษตร ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้วางรากฐานและพระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย เพื่อแก้ไขปัญหาการเกษตร เพื่อให้เกษตรกรได้มีชีวิตอยู่โดยหลุดพ้นบ่วงแห่งความยากจน

หลายชุมชนน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ปรับใช้กับอาชีพเพื่อสร้างความมั่นคงและปลอดภัยให้กับครอบครัว ดังเช่น คุณณรงค์ กลิ่นถือศีล ที่วันนี้เขาหันหลังให้กับเงิน เดินกลับมารับหน้าที่เป็นหมอดินอาสาประจำตำบลทุ่งบัว อำเภอนครชัยศรี พัฒนาสานอาชีพเกษตรกรรมต่อจากพ่อแม่

คุณณรงค์ หรือ ป๊อป เล่าให้ฟังว่า ตนเรียนจบด้านศิลปะ เคยทำงานออกแบบดิสเพลย์สินค้าให้แก่บริษัทในกรุงเทพฯ ก่อนไปเป็นทหารรับใช้ชาติ 2 ปี หลังจากหมดหน้าที่ตั้งใจจะกลับไปหางานทำใหม่อีกครั้งในกรุงเทพฯ แต่ในขณะเดียวกัน จังหวะนั้นทางบ้านประสบปัญหาทางการเงิน เป็นหนี้ที่เกิดจากการลงทุนทำนา

“หนี้สินที่เกิดขึ้นเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ หมดไปกับปัจจัยการผลิต อาทิ ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ฮอร์โมนพืช และสารเคมีต่างๆ ครับ เนื่องจากที่ผ่านมาครอบครัวมีความรู้เรื่องการใช้สารเคมีน้อย จะฉีดพ่นสารเคมีหรือใส่ปุ๋ยจะกำหนดตามระยะเวลา ตามรอบที่เคยทำมา ซึ่งบางช่วงเวลาต้นข้าวไม่ได้ต้องการสารเคมีบางตัว ส่งผลต่อต้นทุนเพิ่มขึ้นโดยที่ปริมาณข้าวกลับได้เท่าเดิม บางปีลดลง” คุณป๊อป เล่าถึงการผันตัวมาทำการเกษตร

คุณป๊อป หันหลังจากเมืองกรุง กลับบ้านเกิดที่ตำบลแหลมบัว อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม มาช่วยพ่อแม่ทำการเกษตร ภายใต้แนวคิด “เงินดิน” แทน “เงินเดือน” ทั้งๆ ที่ตัวเองขณะนั้นมีความรู้การทำนาไม่มาก แม้ครอบครัวจะทำนามายาวนาน แต่ตนเองไม่เคยทำมาก่อน แต่การเข้ามารับช่วงต่อเขากลับมีหลักคิดว่านาของเขาจะต้องไม่ทำลายธรรมชาติและไม่ทำร้ายผู้คนเด็ดขาด

“ผมย้อนกลับไปคิดถึงรุ่น ปู่ ย่า ตา ยา ว่าที่ผ่านมาพวกเขาทำการเกษตรกันได้โดยไม่ต้องพึ่งพาสารเคมี ผลผลิตยังออกมาดีและมีคุณภาพได้ ถึงแม้ยุคจะเปลี่ยนผ่านมาถึงปัจจุบันที่ความต้องการด้านอาหารเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ผลิตหลายคนเพิ่มปริมาณโดยที่ไม่คิดถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค”

บทเรียนที่ผ่านมาผลักดันให้คุณป๊อปให้ความสนใจการทำเกษตรอินทรีย์ ลด ละ เลิกการใช้สารเคมีทุกประเภท โดยมีหน่วยงานภาครัฐเข้ามามีบทบาทให้ความรู้อบรม การบริหารจัดการพื้นที่ทำการเกษตร การทำนาอย่างถูกวิธี โดยเฉพาะการวิเคราะห์ดิน ตรวจแร่ธาตุในดิน รวมถึงการทำเกษตรผสมผสาน ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ เกื้อกูลกันอย่างลงตัว

พื้นที่นากว่า 60 ไร่ คุณป๊อป ปรับแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ นาข้าว 40 ไร่ อีก 20 ไร่ ประยุกต์มาปลูกสร้างที่อยู่อาศัย โรงสีข้าว ถมดินสร้างทางเดิน ปลูกผัก ไม้ผล เลี้ยงสัตว์ และขุดสระทำการประมง กักเก็บน้ำไว้ใช้ในพื้นที่ในช่วงฤดูแล้ง เพื่อสร้างห่วงโซ่อาหารที่ปลอดภัย และสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค

“ปัจจุบันเราทำให้รูปแบบผสมผสาน กระบวนการทุกอย่างภายในฟาร์มที่ผลิตออกมาสามารถใช้วนอยู่ในฟาร์มได้ โดยทุกอย่างเน้นทำเป็นเกษตรอินทรีย์ 100 เปอร์เซ็นต์ รอบแปลงนาข้าวจะขุดร่องน้ำ ปลูกไม้ขนาดกลางและใหญ่ เป็นแนวป้องกันลม คันบ่อปลูกหญ้าแฝกเพิ่มความชุ่มชื้น ผสมกับปลูกกล้วยหอม มะละกอ และพืชผักสวนครัวอื่นๆ ซึ่งการปลูกผสมผสานนี้ ทำให้เรามีรายได้เข้ามาตลอด อีกทั้งยังเป็นการสร้างสมดุลให้กับธรรมชาติอีกทางหนึ่ง”

การนำแนวทางที่อบรมมาปรับใช้ หยุดใช้สารเคมี ไม่เผาตอซังข้าว หันมาเลือกใช้ปุ๋ยอินทรีย์จากมูลวัว หมู ไก่ เป็ด ที่เลี้ยงไว้ โดยใช้วัสดุเหลือใช้ในไร่นานำมาเป็นอาหารสัตว์ ส่วนหนึ่งนำไปผลิตเป็นปุ๋ยหมักจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 และนำน้ำหมักชีวภาพจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ทำให้ธาตุอาหารในดินสมบูรณ์ขึ้น ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตที่ลดลงและมีรายได้เพิ่มขึ้น

พูดถึงรายได้ คุณป๊อป บอกว่า มีรายได้เข้ามาทุกวัน พืชผัก อย่างชะอม ไข่จากเป็ดและไก่ คือรายได้รายวัน รายเดือนเป็นกล้วยหอม มะละกอ ส่วนรายปีคือข้าว ที่แม้ปริมาณผลผลิตจะน้อยกว่าแปลงนาทั่วไป แต่หากพูดถึงคุณค่าทางอาหารและความปลอดภัยแล้ว ข้าวที่ผลิตจากแปลงนาที่ลด ละ เลิกสารเคมีแห่งนี้ สร้างทั้งกำไรชีวิตให้กับเขาและครอบครัว

วันนี้บนพื้นที่ 60 ไร่ ได้พัฒนากลายเป็นโรงเรียนชาวนาของเยาวชน ตำบลทุ่งบัว เป็นแปลงนาสาธิตเกษตรกรรมธรรมชาติ ที่ใช้คัดเลือกและอนุรักษ์ข้าวสายพันธุ์ “นครชัยศรี” ที่เกือบสูญพันธุ์ไปแล้ว โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการผลิตเมล็ดพันธุ์ การปลูก การสี จนไปถึงการตลาดที่เริ่มต้นจากตลาดในชุมชน เพื่อให้คนในพื้นที่ได้บริโภคของที่ดีและปลอดภัย

“การทำงานทุกอาชีพมีความสำคัญหมดทุกอาชีพ มีเกียรติ การได้รักษาเกียรติและศักดิ์ศรีของอาชีพตนเอง มันย่อมนำมาถึงความภาคภูมิใจของตนเอง ในการที่เราเลือกแล้วในอาชีพนั้น ผมภูมิใจในอาชีพชาวนา ได้รักษาเกียรติของชาวนา ก็คือการได้ทำข้าวที่ปลอดภัย”

“จากอาชีพคนเมือง พลิกตัวเองจนกลายเป็นเกษตรกรต้นแบบ ที่ผ่านการเรียนรู้ ลงมือทำ ผ่านช่วงเวลาท้อแท้ ผิดหวัง ท้อใจ เหมือนคนทั่วไป ถึงอย่างนั้นก็ไม่เคยท้อถอย จนสามารถลุกขึ้นยืนหยัดอย่างสง่างาม ด้วยการสานต่ออาชีพของบรรพบุรุษ” คุณป๊อป ฝากทิ้งท้าย

ข้าวเป็นอาหารหลักที่คนในถิ่นสุวรรณภูมิบริโภคมาช้านาน ในยุค 100 ปีที่ผ่านมา มีข้าวพันธุ์ต่างเป็นพันชนิด เนื่องจากการคมนาคมไม่สะดวกต้องทำให้ชาวนาเก็บพันธุ์ของตัวเองไว้ เพราะพันธุ์เหล่านั้นเหมาะสมกับการปลูกในท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นความไวแสง ระยะเวลาการเก็บเกี่ยว ฤดูกาล ปริมาณน้ำซึ่งอาจไม่เหมาะกับที่อื่น ประกอบกับการสมัยก่อนการปลูกข้าวมีเพื่อการบริโภคภายในครัวเรือน ไม่ได้คำนึงว่าจะต้องขาย จึงทำให้พันธุ์ข้าวของไทยมีหลากหลายซึ่งเหมาะสมกับการเพาะปลูกในแต่ละท้องถิ่น

ข้าวนอกจากปลูกในนาได้แล้ว ชาวบ้านที่อยู่ในที่ดอนไม่มีน้ำขังเหมือนนาในที่ลุ่ม ก็สามารถปลูกข้าวได้ เราเรียกว่า ข้าวไร่ เคยได้ไปสัมผัสกับตัวเองบนดอยที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ข้าวที่นั่นตำทุกวันเฉพาะกินได้ตลอดวันนั้น ลักษณะข้าวเมล็ดจะสั้นๆ ป้อมๆ เหมือนข้าวญี่ปุ่น กินข้าวเปล่าเข้าไปคำแรกหวานมาก นึกเปรียบเทียบกับข้าวที่เรากินในเมืองจะสู้ไม่ได้เลย มีโอกาสกินได้หลายมื้อ ประทับใจข้าวดอยอยู่ไม่รู้ลืม

ส่วนในภาคใต้เป็นภาคที่มีเกษตรกรทำนาน้อยที่สุด ส่วนใหญ่พื้นที่เกษตรจะเป็นสวน ในการคมนาคมสมัยก่อนก็ไม่สะดวก ชาวบ้านที่ไม่มีพื้นที่ลุ่มที่สามารถมาทำนาได้ก็ต้องปลูกข้าวไร่เพื่อไว้บริโภคในครัวเรือนเอง ต่อมาเมื่อการคมนาคมสะดวกข้าวไร่ก็ลดความจำเป็นลงเนื่องจากการซื้อหาสะดวกกว่า จึงทำให้ชาวบ้านทอดทิ้งสายพันธุ์ข้าวต่างๆ ไป แต่มีกลุ่มชาวบ้านหลายท้องถิ่นที่อนุรักษ์สายพันธุ์ข้าวไว้จำนวนหนึ่งจนในปัจจุบันเป็นที่รู้จักกัน เช่น ข้าวพันธุ์สังข์หยดของจังหวัดพัทลุง

ข้าวไร่ดอกข่าเป็นพันธุ์ข้าวที่ชาวบ้านในแถบอำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา อนุรักษ์ไว้ เนื่องจากถิ่นนี้ในสมัยก่อนการคมนาคมยากลำบาก การมาซื้อข้าวในตลาดเป็นไปได้ยาก จึงต้องปลูกข้าวกินกันเอง แต่พื้นที่ก็ไม่ได้เป็นที่ลุ่มเหมาะกับการทำนา จึงต้องใช้พันธุ์ข้าวในที่ดอนปลูก ซึ่งเป็นที่มาของการอนุรักษ์พันธุ์ข้าวไร่ดอกข่า ของตำบลบางทอง ในเขตอำเภอท้ายเหมือง

กลุ่มปลูกข้าวไร่ดอกข่าหมู่ที่ 1 บ้านกลาง ตำบลบางทอง อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา โดย คุณเกรียงไกร เจียมรา ประธานกลุ่ม เปิดเผยให้เราฟังว่า ชาวบ้านในตำบลบางทอง ได้ปลูกข้าวไร่ดอกข่ากินกันตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย ผู้สูงอายุในหมู่บ้านเล่าว่า สมัยก่อนมีข้าวไร่หลายพันธุ์ แต่มาในช่วงหลังคนไม่เห็นความสำคัญจึงทำให้พันธุ์ข้าวเหล่านั้นสูญหายไป เหลือแต่พันธุ์ข้าวไร่ดอกข่าที่ชาวบ้านที่นี่นิยมปลูกกินกัน

นอกจากการอนุรักษ์พันธุ์ข้าวท้องถิ่นไว้แล้ว ชาวบ้านในถิ่นนี้ได้อนุรักษ์การปลูกข้าวและการเก็บเกี่ยวแบบดั้งเดิมไว้อีกด้วย ซึ่งเป็นที่น่าภาคภูมิใจในภูมิปัญญาท้องถิ่น การปลูกข้าวไร่ดอกข่าเริ่มจากชาวบ้านจะตัดไม้เนื้อแข็งในป่าขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว เลือกชนิดไม้ที่มีน้ำหนักดี ยาวประมาณ 2 เมตร เสี้ยมปลายให้แหลม เรียกว่า “ไม้สัก” (สักเป็นกริยา หมายถึงการจิ้มลงไปเหมือนการสักลายบนผิวหนังไม่ใช่ชื่อต้นไม้) 1 คน ใช้ไม้ 2 อัน เดินเรียงหน้ากระดานจิ้มไม้ลงบนพื้นให้เป็นหลุมเรียกว่าการ “แทงสัก” แล้วจะมีผู้ตามนำเอาเมล็ดข้าวไร่บรรจุไว้ในกระบอกไม้ไผ่หรือกระบอกพลาสติกพีวีซีที่ปิดก้นไว้ หยอดตามหลุมที่แทงไว้ กระบวนการทั้งหมดเรียกว่า “หนำข้าว” เป็นภาษาถิ่น ซึ่งภาคใต้หลายจังหวัดใช้คำนี้อยู่

เนื่องจากการแทงสักจำเป็นต้องใช้กำลังข้อมือที่แข็งแรง ผู้ชายจึงรับหน้าที่นี้ ส่วนผู้หญิงจะรับหน้าที่หยอดเมล็ดข้าว แต่ละหลุมจะใช้จำนวน 3 เมล็ด แล้วใช้ก้นกระบอกเกลี่ยดินกลบเมล็ดข้าวที่หยอดไว้ สำหรับระยะห่างจะใช้ระยะประมาณ 20 เซนติเมตรเป็นเกณฑ์ การที่จะแทงสักจะทำในช่วงเดือนสิงหาคมจะดูวันถัดจากวันฝนตกเป็นหลักเพราะดินจะนุ่มเหมาะสำหรับการแทงสักโดยไม่ต้องใช้แรงมาก ในช่วงหลังจากหยอดข้าวมักจะมีนกเขามาคุ้ยหลุมกินเมล็ดข้าว ต้องคอยเฝ้าระวังนกให้ดี หลังจากนั้นประมาณ 1 สัปดาห์ เมล็ดข้าวจะงอกโผล่ทะลุดินออกมา ระยะนี้ชาวบ้านเรียกว่าระยะ “แทงเข็ม” เพราะต้นข้าวจะแทงใบขึ้นมาจากดินคล้ายเข็ม

ช่วงนี้เรื่องนกจะไม่มีปัญหา เมื่อผ่านเวลาไปอีก 7 วัน ใบที่แทงเหมือนเข็มจะเริ่มคลี่ออกเรียกว่าระยะ “ยอดสร้อย” ในระยะนี้เกษตรกรจะเริ่มเดินสำรวจหลุมที่หยอดไป ถ้าหลุมไหนเสียหายไม่ขึ้นก็จะถอนเอาต้นข้าวในหลุมที่มีจำนวนมากว่า 3 ต้น มาปลูกซ่อมในหลุมดังกล่าว การจำกัดไว้ไม่ให้มีต้นข้าวเกินหลุมละ 3 ต้น ทำให้ข้าวเติบโตได้ดี

ปลูกแซมในสวนยางหรือสวนปาล์มปลูกใหม่

พื้นที่ปลูกข้าวไร่ดอกข่าจะเป็นพื้นที่ในสวนปาล์มน้ำมันหรือสวนยางพาราที่เพิ่งปลูกใหม่เพราะยังไม่มีร่มเงาบังต้นข้าว พื้นที่ปลูกยางพาราจะสามารถปลูกข้าวไร่ได้ 3 ปี ส่วนสวนปาล์มน้ำมันจะปลูกได้แค่ 2 ปี เพราะใบปาล์มจะคลุมแปลง แสงแดดที่ได้จะไม่เพียงพอสำหรับต้นข้าว พื้นที่ที่ปลูกนี้ไม่ใช่เป็นของคนปลูกข้าวแต่คนปลูกข้าวจะทำความตกลงกับเจ้าของสวนยางหรือปาล์ม โดยเจ้าของสวนจะให้ใช้พื้นที่ฟรีแลกกับการดูแลต้นยางหรือต้นปาล์มตอบแทน เป็นการได้ประโยชน์ด้วยกันทั้งสองฝ่าย สมัยก่อนครัวเรือนหนึ่งจะใช้พื้นที่ปลูกแค่ 1 หรือ 2 ไร่ ซึ่งเพียงพอสำหรับการบริโภคในครัวเรือน ผลผลิตข้าวเปลือกต่อไร่ของข้าวไร่ดอกข่าอยู่ที่ 500-600 กิโลกรัม

การปลูกข้าวไร่ของชาวบ้านเป็นการคัดสายพันธุ์ไปตามธรรมชาติ ข้าวไร่ดอกข่าสามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินชุดของจังหวัดพังงาโดยไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์ในปีแรกที่ปลูก แต่มีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในระยะการปลูกครั้งที่สองและสาม อาจเป็นเพราะเนื่องจากมีการสืบทอดสายพันธุ์มาหลายชั่วอายุคน ในระยะเจริญเติบโตแทบจะไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยและดูแลเลย

มีการนำมาปลูกที่จังหวัดชัยนาทภาคกลางปรากฏว่าไม่มีกลิ่นหอม และจากการปลูกที่อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช มีกลิ่นหอมไม่มากเมื่อหุง แสดงถึงพันธุกรรมที่ตอบสนองเฉพาะดิน เพราะข้าวไร่ดอกข่าเมื่อหุงจะมีกลิ่นหอมคล้ายใบเตย และจากทดลองใส่ปุ๋ยเคมี ข้าวไร่ดอกข่าจะตอบสนองต่อปุ๋ยโดยจะมีการเจริญเติบโตของต้นข้าวได้ดีกว่าปกติ แต่ข้าวจะมีผลผลิตไม่เต็มรวง ต้นข้าวมีความสูงกว่าปกติล้มได้ง่าย รวงข้าวมักหักคอรวง

เมื่อข้าวเข้าระยะน้ำนมจะมีนกกระจาบมารบกวน ชาวบ้านจะใช้กรับไม้ไผ่ไล่นก หรือถังทำให้มีเสียงดัง หลังจากนั้น 1 สัปดาห์ ข้าวเริ่มสุกจะไม่มีศัตรู ข้าวไร่ดอกข่าจะปลูกเดือนสิงหาคมและเก็บเกี่ยวเดือนธันวาคม ข้าวทางภาคใต้จะไม่ใช้เคียวเกี่ยวเหมือนทางภาคอื่น แต่จะใช้ แกละ แทน แกละมีลักษณะเป็นแผ่นไม้มีขนาดเท่าประมาณครึ่งฝ่ามือ มีใบมีดฝังอยู่ การเกี่ยวจะเก็บทีละรวงมากำไว้เป็นกำ ใช้ต้นข้าวผูกมีขนาดสองมือกำ เรียกว่า รวบ มีน้ำหนักประมาณ 1.5-2 กิโลกรัม เรียงตากแดดไว้ในแปลง ประมาณสองสามแดดก็เอามานวดด้วยเครื่อง แล้วเอาข้าวเปลือกมาตากแดดอีกสองสามแดดก็จะนำใส่ยุ้งฉาง

ปัจจุบันชาวบ้านนำมาใส่กระสอบปุ๋ยขนาดใหญ่เก็บไว้ในบ้าน เมื่อต้องการกินก็จะเอามาสีที่โรงสีของชุมชน โดยทางโรงสีชุมชนจะเอาข้าวเปลือกเป็นค่าสีในอัตรา 1 กิโลกรัม ต่อข้าวเปลือก 12 กิโลกรัม ในวันหนึ่งๆ โรงสีชุมชมจะมีข้าวเปลือกจากชาวบ้านสีวันละประมาณ 300-400 กิโลกรัมเสมอ ข้าวที่ชาวบ้านนำไปกินในบ้านจะเป็นข้าวที่สีนานกว่าข้าวกล้องอีกหน่อยแต่ไม่ถึงกับขัดขาวเนื่องจากชาวบ้านจะนำข้าวไปหุงกินโดยไม่มีการปนข้าวอ่อน ส่วนที่สีจำหน่ายมักจะเป็นข้าวกล้อง ผู้บริโภคมักจะนำไปปนข้าวหอมมะลิหรือข้าวอ่อน

ราคาซื้อขายข้าวเปลือกของข้าวไร่ดอกข่า ขายกันอยู่ที่ตันละ 30,000-33,000 บาท แล้วแต่ผลผลิตที่มีหรือช่วงฤดูกาล และราคาข้าวสารต่อกิโลกรัมคือ 80 บาท บางปีผลผลิตน้อยชาวบ้านก็จะหวงไว้บริโภคในครัวเรือนไม่จำหน่ายออกมา ทำให้ข้าวไร่ดอกข่าในปีนั้นแพงกว่าปกติ สนใจข้าวไร่ดอกข่า

จากอดีตที่ผ่านมาทำให้เกษตรกรไทยประจักษ์แล้วว่า การทำเกษตรกรรมที่ไม่ได้เล็งเห็นเรื่องของการตลาดเป็นตัวนำ ทำให้เกิดสภาวะสินค้าเกษตรล้นตลาด หรือเรียกง่ายๆ ว่า ปลูกมาแล้วก็ไม่รู้จะนำไปขายในช่องทางใด จึงเป็นผลทำให้เกษตรกรไทยมีทางเลือกในการทำตลาดได้ไม่มาก ทำให้ต้องขายผลผลิตทางการเกษตรให้มีราคาเท่าทุน หรือขายต่ำกว่าทุนการผลิตจนเกิดการขาดทุนก็มี จึงทำให้เกษตรกรบางส่วนมีภาวะหนี้สินที่เพิ่มมากขึ้นทำให้คุณภาพชีวิตลดน้อยลง

นอกจากจะเกิดสภาวะเรื่องการตลาดแล้ว แม้แต่สภาพแวดล้อมจากธรรมชาติก็เป็นสิ่งที่เกษตรกรกำหนดไม่ได้เช่นกัน คือ สภาพอากาศที่มีความแปรปรวนจนไม่สามารถรับมือได้ทันทวงที เมื่อเกิดภัยทางธรรมชาติขึ้นก็ทำให้เกษตรกรไม่ทันได้รับมือ จึงทำให้ผลผลิตทางการเกษตรได้รับความเสียหายและเป็นที่แน่นอนทีเดียวว่า ผลผลิตที่รอดพ้นจากปัญหาเหล่านั้นก็ไม่มีคุณภาพและต้องขายในราคาที่ลดลงอีกแน่นอน ยิ่งเป็นเกษตรกรรายใหม่ด้วยแล้วเจอสถานการณ์เช่นนี้คงถึงกับท้อในการทำการเกษตรกันเลยทีเดียว

ดังนั้น คงจะถึงเวลาแล้วที่เกษตรกรไทยโดยเฉพาะเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ซึ่งนับว่าเป็น กสิกรรมหลักของประเทศก็ว่าได้ ต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการปลูกข้าวให้มีคุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาด ด้วยการวางแผนการปลูกให้มีความทันสมัยมากขึ้น เพื่อทำให้ผลผลิตมีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของตลาด โดยเกษตรกรสามารถมีรายได้จากการทำเกษตรกรรมเป็นอาชีพที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ของการทำเกษตรในยุค 4.0

ซึ่ง กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องนี้ จึงได้จัดทำแอพพลิเคชั่น ชาวนาไทย อาจเรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรไทย โดยเน้นมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวและรักษาเสถียรภาพราคาข้าวจากภาครัฐ จึงนับได้ว่าเป็นแอพพลิเคชั่นที่ดีที่สุด ที่มีการอัพเดทข้อมูลทุกวัน เพื่อให้เกษตรกรได้รับความรู้ทางด้านการเกษตร โดยเฉพาะการปลูกข้าวที่ทันสมัยอาศัยการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทยให้ดีขึ้น ด้วยการวางแผนการผลิต วางแผนการเงิน วางแผนการตลาด เพื่อเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน สร้างรายได้และแหล่งที่มาของเงินทุนให้กับเกษตรกร ผ่านระบบการบริหารจัดการและหน่วยงานต่างๆ ที่ช่วยวางแผนแบบครบวงจรมากที่สุด เพื่อช่วยพัฒนาให้เกษตรกรไทยเข้าสู่การเป็น ชาวนายุค 4.0 ได้อย่างสมบูรณ์

โดยความโดดเด่นของแอพพลิเคชั่นชาวนาไทย เป็นระบบจัดการข้อมูลที่ใช้งานง่าย แม้เกษตรกรที่ไม่เคยมีประสบการณ์ก็สามารถใช้งานได้ง่ายๆ เพียงแค่ใส่ข้อมูล ระบบก็จะประมาณการกำไร ต้นทุน เพื่อช่วยในการตัดสินใจก่อนทำการเพาะปลูก รวมทั้งสร้างปฏิทินการเพาะปลูกข้าวที่คอยแนะนำเกษตรกรว่าต้องทำอะไรบ้างในช่วงเวลาไหนพร้อมกับการบันทึกต้นทุน เช่น การใส่ปุ๋ย การกำจัดวัชพืช เพื่อให้เกษตรกรรับมือได้อย่างทันท่วงทีและประเมินต้นทุนไปพร้อมกัน และเมื่อผลผลิตเจริญเติบโตสามารถขายสู่ตลาดได้แล้ว ภายในแอพพลิเคชั่นนี้ยังมีการขายบนตลาดกลางที่มีทั้งผู้ซื้อและผู้ขายพร้อมกัน จึงสร้างความสะดวกในการหาตลาดให้กับเกษตรกรได้อีกด้วย

ซึ่งแอพพลิเคชั่น ชาวนาไทย ประกอบด้วย 5 ฟังก์ชั่น ดังนี้
1.มาตรการช่วยเหลือ คือ การช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวและรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ทำให้เกษตรกรได้รับรู้ได้อย่างรวดเร็ว เข้าถึง และมีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น

2.ข้อมูลข่าวสาร โดยภายในแอพพลิเคชั่นตัวนี้จะมีสรุปข้อมูลภาพรวมเกษตรทั่วไป เป็นข่าวสารจากภาครัฐ ประเด็นเด่น ข้อมูลสภาพอากาศ พร้อมทั้งให้มีการตั้งกระทู้ ถาม-ตอบ แต่ละจังหวัด แต่ละภาคของประเทศเพื่อแลกเปลี่ยนแนวโน้มราคาสินค้าการเกษตรได้อีกด้วย

3.การเพาะปลูก คือ ระบบสามารถช่วยคำนวณกำไรต้นทุนเพื่อเป็นข้อมูลให้เกษตรกรได้พิจารณาตัดสินใจก่อนที่จะทำการเพาะปลูกข้าวจริง เพียงใส่พื้นที่ และพันธุ์ข้าวที่ต้องการปลูก พร้อมทั้งสร้างปฏิทินการเพาะปลูกข้าว เพื่อให้เกษตรกรได้วางแผนการทำนาและบันทึกต้นทุนที่เกิดขึ้นในแต่ละระยะการเพาะปลูก ลงพิกัดพื้นที่ที่ต้องการเพาะปลูกพร้อมการแนะนำเรื่องดิน เรื่องน้ำ เรื่องสายพันธุ์ข้าว ในการเพาะปลูกแบบถูกต้องและทันสมัย

4.ตลาดการเกษตร หรือ Marketplace เป็นศูนย์กลางที่รวบรวม ผู้ซื้อ ผู้ขาย ให้ได้มาพบปะพูดคุยโดยที่ไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง จึงถือว่าเป็นช่องทางที่อำนวยความสะดวกให้กับเกษตรกรเป็นอย่างมากในการทำตลาดสินค้าเกษตร

5.ข้อมูลส่วนตัว คือ ผู้ใช้สามารถบันทึกข้อมูลส่วนตัว และประวัติการใช้งานที่เปรียบเสมือนเป็นไดอารี่ออนไลน์เน้นเรื่องการเพาะปลูกและผลผลิต ตลอดจนบัญชีรายรับ รายจ่ายส่วนตัว เพื่อบันทึกข้อมูลบัญชีครัวเรือน กันได้อย่างสะดวก

จึงนับได้ว่า แอพพลิเคชั่น ชาวนาไทย เป็นนวัตกรรมที่เหมาะกับเกษตรกรไทยในยุค 4.0 เพื่อให้การทำกสิกรรมของเกษตรกรมีความทันสมัยมากขึ้น เพื่อให้ทิศทางผลผลิตเป็นไปตามที่ตลาดต้องการ และเกษตรกรยังสามารถศึกษาข้อมูลความเสี่ยงในเรื่องของผลตอบแทนก่อนทำการเพาะปลูกได้อย่างแม่นยำ จึงนับได้ว่านวัตกรรมชิ้นนี้จัดว่าเป็นสิ่งที่จะช่วยให้การเกษตรของไทยก้าวไกลได้อย่างแน่นอน

น้อยหน่าพันธุ์ “เพชรปากช่อง” เกิดจากการผสมระหว่าง พันธุ์เซริมัวย่า (cherimoya x หนังครั่ง) x หนังเขียว มีลักษณะต้นใหญ่และสูงกว่าน้อยหน่าพันธุ์ทั่วไป ใบเป็นรูปหอกสีเขียวเข็ม ต้นพุ่มโปร่งปานกลาง ดอกใหญ่ ผลเป็นรูปหัวใจ ผิวค่อนข้างเรียบ ร่องตาตื้นคล้ายน้อยหน่าหนัง ผลอ่อนสีเขียวเข้ม เมื่อแก่จัดจะมีสีเขียวอ่อนถึงขาวนวล ผลไม่แตกเมื่อแก่ เปลือกบางลอกออกจากเนื้อได้เมื่อสุกจัด เนื้อเหนียวคล้ายน้อยหน่าหนัง หลังจากปลูกอายุ 2 ปี จะเริ่มให้ผลผลิตเต็มทีและเพิ่มขึ้นทุกๆปี

น้อยหน่าพันธุ์ “เพชรปากช่อง” มีจุดเด่นที่น่าใจอย่างหนึ่งก็คือ เมื่อปลูกไปนานปีก็จะยิ่งให้ผลผลิตที่เพิ่มพูนมากขึ้น คุณสุรพลบอกว่า การปลูกน้อยหน่าพันธุ์เพชรปากช่องในปีแรกจะให้ผลผลิตไม่เกิน 3 ลูก ต่อต้น ปีที่ 2 ก็จะให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 10 -15 ลูกและจะเพิ่มขึ้นทุกๆปี เรียกว่าปลูกครั้งเดียวสามารถที่เก็บผลผลิตได้นานนับ 10 ปี ถ้าหากดุแลรักษาให้ดีๆ

สำหรับพื้นที่แหล่งผลิตน้อยพันธุ์เพชรปากช่องที่มีคุณภาพและมีพื้นที่การปลูกมากที่สุดในประเทศไทย คงจะหนี้ไม่พ้นพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา โดยเฉพาะในเขตพื้นที่อำเภอปากช่อง ซึ่งบริเวณนี้มีสภาพดินแดงหรือดินชุดปากช่องเป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมต่อการปลูกน้อยหน่าพันธุ์เพชรปากช่องมากที่สุด ผลผลิตที่ออกมานั้นจะมีขนาดใหญ่ มีเนื้อมาก เมล็ดเล็กและรสชาติหวานจัด ที่สำคัญราคาขายผลผลิตจากสวนเกรดเอ ที่มีน้ำหนักผลประมาณ 1 กิโลกรัมขึ้นไป สามารถขายได้กิโลกรัมละ 100 บาทโดยเฉพาะผลผลิตที่มาจากสวนของคุณสุรพล พลแก้ว

คุณสุรพล พลแก้ว อายุ 43 ปี อยู่บ้านเลขที่ 16 หมู่ที่ 10 ตำบลจันทึก อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ปลูกน้อยหน่าพันธุ์เพชรปากช่องทั้งหมด 240 ไร่ เริ่มต้นจาก 40 ไร่ก่อน แล้วขยายเพิ่มอีก 200 ไร่ หลังจากปลูกไปแล้ว 2 ปี

คุณสุรพลเลือกซื้อกิ่งพันธุ์มาจากเพื่อนชาวสวนที่ปากช่องด้วยกันเองนำมาปลูก โดยหลุมที่ใช้ปลูกมีความกว้าง ยาว และลึก 40 เซนติเมตร หลังจากขุดหลุมเสร็จก็นำปุ๋ยคอกเก่าใส่ลงไปหลุมๆ ละครึ่งบุ้งกี๋ จากนั้นเอาเดินที่ขุดขึ้นมาลงไปคลุกเคล้ากับปุ๋ยคอกเก่า หลังจากนั้นก็ปลูกน้อยหน่าพันธุ์เพชรปากช่องลงไป จนเต็ม โดยมีระยะปลูกห่างกันประมาณ 4×4 เมตร ต้น

เมื่อปลูกน้อยหน่าพันธุ์เพชรปากช่องไปได้ 3 เดือน สมัครรอยัลออนไลน์ จะตัดยอดให้ต้นมีความสูงจากพื้นดินประมาณ 30 เซนติเมตร เมื่อตัดเสร็จต้นน้อยหน่าจะมีการแตกตาข้างออกมามาก จะเลือกเฉพาะกิ่งที่สมบูรณ์และไม่ชิดกันไว้ ประมาณ 2-3 กิ่ง ที่เหลือตัดทิ้ง เลี้ยงกิ่งที่เหลือไว้ประมาณ 3 เดือน และตัดยอดแบบเดิมอีกโดยให้ความยาวจากรอยตัดครั้งแรกประมาณ 1 คืบ จาก 2-3 กิ่ง ที่เหลือก็จะแตกตาข้างออกมามาก ให้ตัดออกเหลือไว้กิ่งละ 2-3 กิ่งที่สมบูรณ์ เมื่อต้นน้อยหน่า 1 ต้น อายุ 6 เดือน หลังจากตัดแต่งทรงต้นแล้วจะได้จำนวนกิ่ง 6-9 กิ่ง เมื่อต้นน้อยหน่ามีอายุครบ1 ปี ก็จะตัดแต่งกิ่งอย่างเดิม จนได้กิ่งใหม่ทั้งหมด 27 กิ่ง ซึ่งเป็นการดูแลรักษาต้นน้อยหน่าพันธุ์เพชรปากช่องในระยะปีแรก

ต้นน้อยหน่าเพชรปากช่อง มีอายุครบ 2 ปี จะเริ่มมีผลบ้างเล็กน้อย ต้นละ 1-2 ลูก ซึ่งยังไม่มากนัก ช่วงปีที่ 2 นี้จะตัดแต่งกิ่งเพื่อจะผลิตน้อยหน่าให้ได้ปีละ 2 รุ่น โดยการหนีบกิ่งกระโดงออกจากลำต้น ซึ่งธรรมชาติของต้นไม้นั้นถ้าหนีบกิ่งออกไปแล้วต้นก็จะสร้างกิ่งใหม่ออกมา และเมื่อสร้างกิ่งออกมาแล้วก็จะมีดอกออกมาใหม่ด้วยเช่นกัน ซึ่งเรียกน้อยหน่าช่วงนี้ว่าน้อยหน่าทวาย

การผลิตน้อยหน่าพันธุ์เพชรปากช่องรุ่นที่สอง จะทำหลังจากที่เก็บเกี่ยวผลผลิตรุ่นแรกเสร็จ และก่อนที่จะผลิตน้อยหน้าพันธุ์เพชรปากช่องรุ่นที่สองจะต้องมีการบำรุงต้นใหม่อีกครั้ง โดยใส่ปุ๋ยคอกต้นละ 1-2 บุ้งกี๋ หลังจากนั้นให้ตัดแต่งกิ่ง แต่ในการตัดแต่งกิ่งรุ่นนี้จะมีความแตกต่างจากการตัดแต่งกิ่งรุ่นแรกซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาวจะตัดแต่งกิ่งทั้งหมดไม่เหลือใบเลย แต่การตัดแต่งกิ่งในครั้งนี้จะตัดออกประมาณ 60-70% จะเหลือกิ่งไว้ช่วงสร้างอาหารเพื่อบำรุงต้น